วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 22:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2019, 12:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
เอามาทดไว้ก่อน
viewtopic.php?f=2&t=28255&p=168064&hilit=%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94#p168064

เพื่อเอกอนได้รื้อฟื้นได้ ว่าสภาวะบางอย่าง
อะไรเป็นปัจจัย :b32:
เพราะดูท่าทางเพื่อนเราจะยิงคำถามเก่งมาก
:b1: :b1: :b1:

เอกอนก็ต้องเอากระดาษทดมาไว้ก่อน
เพื่อเป็นเครื่องช่วยดึงความทรงจำ :b32: :b32: :b32:

และผักกาดก็ดูจะเล็งคำถามเข้าสู่การสำรวม ขัดเกลา เสียเหลือเกิน

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2019, 20:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b12:
เอามาทดไว้ก่อน
viewtopic.php?f=2&t=28255&p=168064&hilit=%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94#p168064

เพื่อเอกอนได้รื้อฟื้นได้ ว่าสภาวะบางอย่าง
อะไรเป็นปัจจัย :b32:
เพราะดูท่าทางเพื่อนเราจะยิงคำถามเก่งมาก
:b1: :b1: :b1:

เอกอนก็ต้องเอากระดาษทดมาไว้ก่อน
เพื่อเป็นเครื่องช่วยดึงความทรงจำ :b32: :b32: :b32:

และผักกาดก็ดูจะเล็งคำถามเข้าสู่การสำรวม ขัดเกลา เสียเหลือเกิน

:b32: :b32: :b32:


เห็นกระทู้โชว์โง่ของตัวเอง..ละก็..อายจริงๆเรยเรา

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2019, 22:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:
:b12:
เอามาทดไว้ก่อน
viewtopic.php?f=2&t=28255&p=168064&hilit=%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94#p168064

เพื่อเอกอนได้รื้อฟื้นได้ ว่าสภาวะบางอย่าง
อะไรเป็นปัจจัย :b32:
เพราะดูท่าทางเพื่อนเราจะยิงคำถามเก่งมาก
:b1: :b1: :b1:

เอกอนก็ต้องเอากระดาษทดมาไว้ก่อน
เพื่อเป็นเครื่องช่วยดึงความทรงจำ :b32: :b32: :b32:

และผักกาดก็ดูจะเล็งคำถามเข้าสู่การสำรวม ขัดเกลา เสียเหลือเกิน

:b32: :b32: :b32:


เห็นกระทู้โชว์โง่ของตัวเอง..ละก็..อายจริงๆเรยเรา

:b32: :b32: :b32:


:b32: ...อย่าคิดอย่างนั้นสิ่ บางครั้งเรื่องเปิ่น ๆ ก็เป็นสาระได้น๊าาาา :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2019, 08:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:
:b12:
เอามาทดไว้ก่อน
viewtopic.php?f=2&t=28255&p=168064&hilit=%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94#p168064

เพื่อเอกอนได้รื้อฟื้นได้ ว่าสภาวะบางอย่าง
อะไรเป็นปัจจัย :b32:
เพราะดูท่าทางเพื่อนเราจะยิงคำถามเก่งมาก
:b1: :b1: :b1:

เอกอนก็ต้องเอากระดาษทดมาไว้ก่อน
เพื่อเป็นเครื่องช่วยดึงความทรงจำ :b32: :b32: :b32:

และผักกาดก็ดูจะเล็งคำถามเข้าสู่การสำรวม ขัดเกลา เสียเหลือเกิน

:b32: :b32: :b32:


เห็นกระทู้โชว์โง่ของตัวเอง..ละก็..อายจริงๆเรยเรา

:b32: :b32: :b32:




ก็ทำให้เห็นไม่ใช่หราครับว่าเราพัฒนาขึ้น :b12: :b12: :b12:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2019, 10:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โลกธรรม ๘ กับ ทาน และ ศีล

- เพราะเห็นความเสื่อมในโลกธรรม อยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น จิตจึงคลายความหวงแหน น้อมเข้าทานอริยะทรัพย์
- เพราะเห็นโทษ พิษ ภัย และทุกข์ ที่มีต่อกายใจตนของการเอาใจเข้ายึดครองในโลกธรรม จิตจึงละเว้น น้อมเข้าศีลอริยะทรัพย์
- เพราะเห็นคุณและโทษ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เป็นทุกข์ในโลกธรรม จิตจึงคลายความหลงไม่เอาใจเข้ายึดครอง น้อมใจเข้าปัญญาอริยะทรัพย์


**หมายเหตุ ผมใช้คำสั่ง TD ไม่ได้เพื่อทำตาราง จึงใช้ Quote แทน มันจึงขึ้นว่าอ้างอิงคำพูด**



---------------------------------------------------------------------


ขยายความในธรรม


๑. โลกธรรม ๔ ในส่วนของความเจริญ คือ ลาภ(ชัย ชนะ โภคทรัพย์สมบัติ), ยศ(บรรดาศักดิ์ ฐานันดร), สรรเสริญ(ยกยอ เชิดชู), สุข(ความแช่มชื่นรื่นรมย์ สะดวกสบาย สำราญกายใจจากการได้สมปารถนานั้น)

.. เพราะความต้องตาต้องใจในโลกธรรม ๔ ฝ่ายเจริญนี้ แล้วเอาใจเข้ายึดครองในมันไว้เป็นตัวตนแห่งประโยชน์สุขสำเร็จของตน จึงทำให้เกิดความโลภในสิ่งนี้ สืบต่อให้ดิ้นรนแสวงหาให้ได้มาเสพย์ได้ครอบครอง
.. เพราะความต้องตาต้องใจในโลกธรรม ๔ ฝ่ายเจริญนี้ แล้วเอาใจเข้ายึดครองในมันไว้เป็นตัวตนแห่งประโยชน์สุขสำเร็จของตน จึงทำให้เกิดความโทสะในสิ่งนี้ สืบต่อให้ไม่พอใจในสิ่งที่มี ตับแค้นกายใจที่ตนไม่มีไม่ได้ จึงเกิดกระทำดิ้นรนเพื่อผลักไสความไม่มีไปจากตน
.. ความเอาใจเข้ายึดครองหลงอยู่ในสิ่งนั้นว่ามีค่ามาเป็นประโยชน์สุขสำเร็จของตน เกินกว่าความจำเป็นใช้สอยเลี้ยงชีพนี้แล คือ โมหะ
.. ด้วยประการดังนี้เป็นต้น..ก็พอเมื่อเห็นเขามี ตนไม่มี ตามีเขาไม่มี ตนมีด้อยกว่าเขา เขามีด้อยกว่า สัตว์จึงเกิดคววามอิจฉา(อยากได้อย่างเขา) ริษยา(เห็นเขาดีกว่าตนแล้วทนอยู่ไม่ได้) อภิชฌา(เพ่งภัณฑะเขา คือ อยากได้บุคคล-สิ่งของอันมีค่าของเขามาตรอบครอง) โทมนัส(สภาวะที่ใจให้ทนอยู่ได้ยาก ใจไม่เป็นปรกติ)
.. ดังนั้น..จึงเกิดการมุ่งร้าย เบียดเบียน หมายพราก ลักขโมย แก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น ทำร้าย ช่วงชิง รบราฆ่าฟันกันตามมา เพื่อให้ได้โลกธรรม ๔ ข้างฝ่ายเจริญนี้มาครอบครอง (ดังที่เราเห็นคนที่อิจฉา ริษยากัน เบียดเบียนทำร้ายกัน ทำให้อีกฝ่ายฉิบหาย ให้ตนได้โลกธรรม ๔ ฝ่ายเจริญนี้มาครอบครอง ซึ่งจะมีทุกสถานที่ทำงาน การค้าขาย การดำรงชีพอาชีพทั้งปวง ธุรกิจทั้งปวง ในครอบครัว แม้ในตนเองนี้ก็มีมาก)
.. คนที่ประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ เอาใจเข้ายึดครองโลกธรรมทั้งหลายนี้ ย่อมยังอภิชฌา โทมนัสให้เกิดมีคนผู้นั้น เป็นเหตุที่ให้ผู้คนไม่อยากอยู่ใกล้เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัย อยู่ด้วยไม่สนิทใจบ้าง ด้วยหวาดกลัวถูกขโมยบ้าง ระแวงว่าจะถูกทำร้ายบ้าง กลัวถูกแย่งชิงบ้าง อยากจะหลีกหนีไปให้พ้นๆ
.. เมื่อพิจารณาภายนอกสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา เราย่อมรู้สึกอย่างระอา ระแวง กลัว รู้สึกไม่ปลอดภัย..ต่อผู้ที่มีใจอิจฉา-ริษยาผู้อื่น, มีใจมุ่งร้ายเป็นผู้เพ่งภัณฑะ-มีใจไม่ปรกติอยู่ทุกๆขณะใช่หรือไม่ ก็ย่อมเป็นจริงดังนั้นใช่ไหม
.. ก็เมื่อเรารู้สึกต่อผู้อื่นดังนี้แล้ว ..แม้เมื่อเป็นเราเองที่เอาใจเข้ายึดครองโลกธรรมมีใจประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ เป็นผู้มีใจอิจฉา ริษยา อภิชฌา โทมนัส ..ผู้อื่นเขาก็ย่อมเกรงกลัว หวาดระแวง รู้สึกไม่ปลอดภัย อยากจะหลีกหนีเราไปด้วยเหมือนกันฉันนั้น

- โลกธรรม ๔ ในส่วนของความเจริญนี้ เมื่อเอาใจเข้ายึดครองสิ่งอันต้องตาต้องใจนี้แลจึงเกิดความเศร้าหมอง และการกระทำอันหยาบช้า
.. แม้ขณะที่ต้องตาต้องใจตน ก็เกิดความรู้สึกอาการที่หน่วงตรึงจิต ดึงใจให้ล่องลอยน้อมไปในสิ่งนั้น จิตอ่อนกำลังไม่เป็นปรกติให้ทนอยู่ได้ยาก
.. เมื่อเอาใจเข้ายึดครอง ก็เกิดความกระหายโหยหาใคร่เสพย์ กระวนกระวายทนอยู่ไม่ได้
.. เมื่อไม่ได้เสพย์สมดั่งใจหวังต้องการปารถนา ก็โทมนัสเป็นทุกข์ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ อัดอั้นคับแค้นกายใจ โศรกเศร้าร่ำไร รำพัน สมดั่งคำพระศาสดาตรัสสอนไว้ว่า.. "ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง" ปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ จะทุกข์มากหรือน้อยก็ตามแต่ความกระสันอยากได้ครอบครองนั้น สมดั่งคำสอนพระพุทธศาสดาที่ว่า..ปารถนามากก็ทุกข์มาก ปารถนาน้อยก็ทุกข์น้อย ไม่ปารถนาเลยก็ไม่ทุกข์เลย

- ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ การเอาใจเข้ายึดครองโลกธรรม ๔ ในส่วนของความเจริญหวังปรนเปรอตนจนเกินความจำเป็นเหล่านี้ มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์เล่า ย่อมเป็นทุกข์ใช่ไหม.. ก็แม้ขนาดยังไม่กระทำทางวาจา และกาย อันหยาบช้าออกไป แค่เพียงติดตรึงนึกคิดที่ใจก็ยังทำใจให้เศร้าหมองโทมนัสทนอยู่ได้ยากขนาดนี้.. อย่างนี้ยิ่งหากเมื่อกระทำสิ่งใดทางวาจาและกายลงไปในทางที่มุ่งร้ายเบียดเบียนมันจะยิ่งก่อให้เกิดความทุกข์ระทมตามมาอีกมากแค่ไหนกันเล่า
..ควรแล้วหรือหนอที่เราจะเอาใจเข้ายึดครองยึดกอดมันไว้ให้ค่ามันสูงกินกว่าความจำเป็นใช้สอยดำรงชีพตามควร
..หรือ ควรที่เราจะเห็นว่ามีไว้จับจ่ายใช้สอย ดำรงชีพ ตามความจำเป็นที่ไม่ลำบากตน ละความตระหนี่หวงแหนจนเกินควร ละความสำำคัญใจให้ค่าติดสุขกับมันจนเกินพอดี
..บุคคลเมื่อพิจารณาดังนี้ๆ ย่อมรู้ได้ว่าความหลงอยู่ในสิ่งนี้เป็นทุกข์


๒. ก็พระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ เป็นผู้เห็นโทษ เห็นพิษ เห็นภัย และทุกข์..ของการเอาใจเข้ายึดครองใน..ลาภ(ชัย ชนะ โภคทรัพย์สมบัติ), ยศ(บรรดาศักดิ์ ฐานันดร), สรรเสริญ(ยกยอ เชิดชู), สุข(ความแช่มชื่นรื่นรมย์ สะดวกสบาย สำราญกายใจจากการได้สมปารถนานั้น)..ว่าเป็นตัวตนแห่งประโยชน์สุขสำเร็จของตนทั้งหมดนี้อยู่เนืองๆ ..จึงละเว้นเสียซึ่งสิ่งนี้ เมื่อดำรงตนอยู่ในที่ใดก็ตาม ย่อมละการเอาใจเข้ายึดครองในโลกธรรม ๔ คือ ลาภสักการะ ยศ สรรเสริญ และสุขที่ได้เสพย์ในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น "เพื่อยังจิตให้ผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน" ให้เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ต้อนรับ..


------------------------------------------------------------------------


.. ก็พระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ละการเอาใจเข้ายึดครองใน ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขที่เนื่องด้วยกายนั้นอย่างไร..

ก. เพราะเป็นผู้เห็นเล็งเห็น โลกธรรม ๔ ในส่วนของความเสื่อม คือ เสื่อมลาภ(ปราชัย แพ้ สูญโภคทรัพย์สมบัติ), เสื่อมยศ(สูญสิ้นบรรดาศักดิ์ ฐานันดร), นินทา(พูดในทางไม่ดีลับหลัง แทงข้างหลังทะลุถึงหัวใจ), ทุกข์(ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความอันอั้น คับแค้นกายใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน สิ่งที่ทนยู่ได้ยาก)

.. ก็ลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุขที่เนื่องด้วยกายนี้ มันอยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น มีลาภก็มีเสื่อมลาภ, มียศก็มีเสื่อมยศ, มีสรรเสริญก็มีนินทา, มีสุขก็มีทุกข์ ไม่มีสิ่งใดตั้งอยู่คงทนยั่งยืนนาน การเอาใจเข้ายึดครองสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นเป็นทุกข์ เพราะมันไม่อาจจะอยู่กับเราตลอดไปได้ ไม่สามารถติดตามเราไปเมื่อตายด้วยได้ เมื่อตายไปสิ่งทั้งปวงในโลกนี้ก็จบลงจากความเป็นเจ้าของครอบครองของเราแล้ว

.. ก็ลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุขที่เนื่องด้วยกายนี้ เราจะบังคับให้มันไม่มีความเสื่อม ให้มันไม่สูญสิ้นไป ให้มันไม่ผุพัง ให้มันติดตามเราไปทุกภพทุกภูมิทุกที่เมื่อตายไปก็ไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนที่จะบังคับให้มันเป็นไปดังใจได้

.. ความตระหนี่หวงแหน ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน มันทำให้ยึดกอดไว้แค่ความโลภ ความกำหนัด ทำให้ผู้อื่นก็เกลียดชัง ไม่อยากเข้าใกล้ ไม่อยากร่วมกิจ และกายใจตนก็ร้อนเร่าด้วยความหวาดกลัวจะสูญเสีย

.. ความอิจฉาอยากได้อย่างเขา และ ความริษยาเห็นใครได้ดีกว่าไม่ได้ ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เพราะเอาใจเข้ายึดครองสุขจาก ลาภ ยศ สรรเสริญนั้น ทำให้ผู้อื่นก็เกลียดชัง ไม่อยากเข้าใกล้ ไม่อยากร่วมกิจ และกายใจตนก็ร้อนเร่าด้วยความกระหายได้ครอบครอง และเกลียดชัง

.. ความหมายปองสิ่งอันเป็นที่รักที่มีค่าของผู้อื่น และความมีใจที่ปกติเศร้าหมองด้วยกิเลสรุมเร้า จิตตั้งอยู่ไม่ได้ ทนกิเลสรุมเร้าไม่ได้ ต่อสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เพราะเอาใจเข้ายึดครองสุขจาก ลาภ ยศ สรรเสริญนั้น ก่อให้เกิดการเบียดเบียน มุ่งร้าย หมายพราก ขโมย ฉุดคร่า ทำร้าย ชัวิต บุคคลอันเป็นที่รัก สิ่งของอันมีค่าของผู้อื่นเพื่อให้ได้ครอบครองสมใจตนตามที่เอาใจเข้ายึดหลงว่าสิ่งนั้นเป็นสุขตน.. "และในขณะใดที่ตนกำลังกระทำความเบียดเบียนนั้น แม้ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ก็เท่ากับตนกำลังทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนมีอยู่ไม่ว่าจะเป็นลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญ สุขที่ตนมี และความดีที่ตนเฝ้าทำสะสมมา ให้ถูกช่วงชิงและสูญสลายตามไปด้วย เพราะการกระทำแห่งไฟกิเลสนั้นมันเผาไหม้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีไปในชั่วพริบตา".. ดังนี้..ทั้งก่อนทำ ขณะทำ หลังทำ กายใจก็ประกอบไปด้วยความเร้าร้อนสุมกายใจตน


_______________

ข. การเอาใจเข้ายึดครองในกุศลความดีนี้เป็นอริยะทรัพย์ การกระทำในสิ่งที่เป็นกุศลดีงามนี้มันไม่มีพิษ ไม่มีภัย ไม่มีโทษ ไม่มีเร่าร้อน ไม่มีทุกข์ต่อตนเองและผู้อื่น เราทำแล้วมันเย็นใจ ไม่ต้องหวาดกลัว หวาดระแวง ผลที่เป็นโทษ เป็นพิษ เป็นภัยแก่ตนเองตามมา ไปที่ใดก็สบายเย็นใจไม่เร่าร้อน มีความเป็นปรกติของใจไม่เร่าร้อนเศร้าหมอง มีจิตแจ่มใสเบิกบาน ก็กุศลดีงามอันเป็นอริยะทรัพย์นั้นทำอย่างไร..

.. ไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งที่มีความเสื่อมเป็นปรกติ ไม่เอาใจเข้ายึดครองที่ที่ไม่ใช่ตัวตน ตายไปก็พ้นความเป็นเจ้าของเอาติดตามไปด้วยไม่ได้ เพราะยึดกอดไว้ก็ล้วนแต่เป็นทุกข์

.. สิ่งใดที่เอาใจเข้ายึดครองแล้วไม่ว่าทางกายหรือใจที่เมื่อยึดมั่นถือมั่นแล้ว..ทำให้สติสัมปะชัญญะเกิดมีขึ้น ระลึกรู้เท่าทัน มีกำลังยับยั้ง แยกแยะ ดี ชั่ว ถูก ผิด คุณ โทษก่อนจะกระทำสิ่งใดลงไป ทำให้เกิดความรู้ตัวรู้ปัจจุบันในการกระทำกิจการงานใดๆ รู้กิจที่ควรทำ ไม่ติดหลงอยู่ในสมมติแห่งอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เร่าร้อน สิ่งนั้นควรเจริญให้มากเพราะนั่นคืออริยะทรัพย์

.. สิ่งใดเมื่อเอาใจเข้ายึดครองแล้ว กระทำแล้ว เสพย์แล้ว ทำให้มีสติตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นานไม่สัดส่ายฟุ้งซ่าน ทำให้จิตตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวได้นานตามมา มีความรู้ตัว แยกแยะของจริงกับสมมติกิเลสของปลอมที่เกาะจิตที่ทำให้ใจเศร้าหมองออกได้ สิ่งนั้นควรเจริญให้มากเพราะนั่นคืออริยะทรัพย์

.. ไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งทั้งปวงไม่ว่าทางกายหรือใจที่เมื่อยึดมั่นถือมั่นแล้ว..ทำให้กุศลความดีนี้เสื่อมลง แล้วทำให้อกุศลความชั่วไฟกิเลสเกิดมีพอกพูนขึ้น

.. สิ่งใดที่เอาใจเข้ายึดครองแล้วไม่ว่าทางกายหรือใจที่เมื่อยึดมั่นถือมั่นแล้ว..ทำให้กุศลเกิดมีพอกพูนขึ้นทำให้จิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน แล้วอกุศลความชั่วไฟกิเลสเสื่อมลง สิ่งนั้นควรเจริญให้มากเพราะนั่นคืออริยะทรัพย์

- สิ่งนี้แลทำให้จิตแจ่มในเบิกบาน ผ่องใสชื่นบานกายใจยิ่งนั้น มีสติสัมปะชัญญะเกิดขึ้นยังใจให้ฉลาดในการเลือกเสพย์ธรรมและการกระทำ เป็นอริยะทรัพย์


_______________

ค. การสละให้ เป็นการละสิ่งปรนเปรอตนจนเกินความจำเป็น ทำให้เรารู้จักอิ่มเป็น พอเป็น ละความอยากตระหนี่หวงแหนได้ นี้คือ ทาน เป็นอริยะทรัพย์

.. พึงเป็นผู้ให้ ผู้สละ ดังที่รู้เห็นโลกธรรมทั้งปวงมีความเสื่อม ตายไปก็เอาไปไม่ได้ แต่สิ่งที่ติดตามไปได้นี้มีแต่บุญกับบาปเท่านั้น มีแต่อริยะทรัพย์ที่จะติดตามเราไปได้ ดังนี้เราพึงเป็รผู้สละสิ่งอันเปรอตนเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น

.. ต่อให้การทำทานด้วยใจสละให้ของเรานี้ ผลบุญมันจะมีจริงหรือผลบุญไม่มีจริง หรือตายแล้วสูญบ้าง หรือตายแล้วเวียนว่ายเกิดใหม่ไม่สิ้นสุดบ้างจะได้รับหรือไม่ได้รับผลบุญแห่งอริยะทรัพย์นี้ก็ตาม หรือทานที่เราทำด้วยใจสละนี้เขาว่าไม่ได้บุญ..แต่เป็นการทำชั่วเป็นบาป

.. อย่างน้อยสิ่งที่เราทำก็ไม่ได้เบียดเบียนใคร แต่เป็นไปเพื่อใจเกื้อกูลประโยชน์สุขต่อผู้อื่น ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีเวร ไม่มีพิษ ไม่มีภัย ไม่มีโทษต่อใคร คนเราเมื่อรู้จักเพียงพอก็จึงสละได้ดังนั้นขณะใดที่เราสละให้ก็แสดงว่าขณะนั้นเรารู้จักเพียงพอแล้ว เมื่อสละแล้วก็ยังความอิ่มใจมาให้แก่ตน ยังความสุขอิ่มใจรู้จักปล่อย ละ วางไม่เอาใจเข้ายึดครองสิง่ที่ปรนเปรอตน รู้จักอิ่มเป็น เมื่ออิ่มก็ไม่โหยหา ไม่เอาใจเข้ายึดครองอีก ไม่มีสิ่งใดมาทำให้เราต้องกระหายได้เสพย์ ไม่หวาดกลัว หวาดระแวงจะสูญหาย.. เพราะขณะที่เราสละให้เกิดมีขึ้นในเมื่อใด ขณะนั้นความหวนแหนก็ถูกสละคืนทิ้งไปแล้ว ไม่มีในกายใจเราอีก

.. ต่อให้บาป บุญ โลกนี้ โลกหน้าไม่มีจริง หรือทำแล้วไปพระนิพพานไม่ได้จริง เราก็ได้รับผลเป็นสุข อิ่มใจ แจ่มใส เบิกบานจากสิ่งที่ทำด้วยใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลนั้นได้ทันที..ดังนี้


_______________

ง. การเป็นผู้ทีใจเป็นปรกติ มีปรกติเย็นไม่เร่าร้อนเศร้าหมอง เป็นผู้ไม่เบียดเบียน ไม่มีพิษ ไม่มีภัย ไม่มีโทษ ไม่เป็นทุกข์ต่อตนเองและผู้อื่น นี้คือ ศีล เป็นอริยะทรัพย์ การจะทำตนเองให้มีัความเย็นใจไปที่ได้ก็สบายไม่เร่าร้อน ไม่เป็นพิษ ไม่เป็นเวร ไม่เป็นภัย ไม่เป็นโทษแก่ใคร เราต้องเป็นผู้มีใจละเว้นเพื่อดับความเร่าร้อนในตน ราต้องเป็นผู้มีใจละเว้นเพื่อความไม่เป็นพิษภัยต่อตนอื่น ก็ความละเว้นนั้นเป็นไฉน

.. ละเว้นซึ่งความใจแคบ เห็นแก่ตัว ยึดถือประโยชน์ส่วนตนแต่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น มีใจกว้างเปิดออกเอื้อเฟื้อเกื้อกูล เห็นความเสมอกันทั่วทั้งคนและสัตว์.. ก็สิ่งใดเราไม่ชอบ-กลัว-เกลียด-ชัง-ไม่อยากพบ-ไม่อยากเจ- ไม่อยากให้เกิดมีขึ้นแก่เรา ด้วยเห็นว่าเป็นบ่อนทำลาย-เป็นข้าศึกที่เข้ามาช่วงชิงให้สูญสิ้นไปแก่..ชีวิต-บุคคล-สิ่งของอันเป็นที่รัก-ที่หวงแหน-ที่มีค่าของเรา สิ่งนั้นพึงละเว้น อย่าไปทำอย่างนั้นกับผู้อื่น

.. เห็นความเสมอด้วยตนต่อผู้อื่น คือ ความประกอบไปด้วยประโยชน์สุขสำเร็จดีงามเป็นที่สบายกายใจเป็นสุขกายใจเหล่าใดมีแก่เรา ก็มีความเอื้อเฟื้อให้เขาได้รับประโยชน์สุขสำเร็จทั่วกันอย่างนั้นเสมอกันกับเรา ซึ่งประโยชน์สุขสำเร็จที่คนและสัตว์ต้องการคือ มีชีวิตที่ดี มีอายุยืน มีทรัพย์สินบริวาร มีวรณะที่ดี มีความสุขเย็นใจไม่เร่าร้อน ไม่ต้องคอบหวาดกลัว หวาดระแวง อยู่ที่ใดก็เย็นใจ ได้รับประโยชน์สุขสำราญสะดวกสบายกายใจ มีกำลังใจมีสติสัมปะชัญญะ มีจิตแจ่มใสเบิกบาน ดังนี้พระอริยะสาวกของพระพุทธเจ้าเมื่อจะไปที่ได้จึงเป็นผู้ละเว้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลซึ่งอายุ วรรณะ สุข พละแก่คนและสัตว์ในที่นั้น

.. สิ่งใดที่ทำให้อกุศลธรรมพอกพูนขึ้นเข้าครอบงำจิต แล้วกุศลธรรมคุณงามความดีทั้งปวงเสื่อมลง สูญไป สิ่งนั้นพระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าไม่เสพย์
.. สิ่งใดที่ทำให้กุศลธรรมพอกพูนขึ้นเข้าครอบงำจิต แล้วอกุศลธรรมอันเร่าร้อนหยาบช้าทั้งปวงเสื่อมลง สูญไป สิ่งนั้นพระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเสพย์
.. สิ่งใดที่ทำให้กุศลธรรมคงไว้ แต่อกุศลธรรมอันเร่าร้อนหยาบช้าก็ไม่เพิ่มขึ้น สิ่งนั้นพระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าก็รู้กาลอันควรปักวางใจไว้แน่วแน่ไม่หวั่นไหวต่อธัมารมณ์ทั้งปวง

.. ก็เมื่อเป็นผู้ละเว้นอยู่ดังนี้ รู้ธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ มีใจปารถนาเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์ซึ่ง..อายุ วรรณะ สุขะ พละ ต่อผู้อื่นอยู่ดังนี้ ไม่ว่าจะไปในที่ใดแล้ว พระอริยะสาวกนั้นจะเป็นผู้มีพิษ มีเวร มีภัย มีโทษต่อ ชีวิต บุคคล บริวาร โภคทรัพยฺสมบัติ และกุศลคุณงามความดีของผู้อื่นได้หรือไม่..ก็ย่อมหาไม่ได้ซึ่งความเบียดเบียนนั้น ดังนี้ควรแก่การกราบไหว้ต้อนรับหรือไม่เล่า

ด้วยเหตุดังนี้พระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านี้ จึงมีความอุ่นใจ ๔ อยู่ทุกขณะว่า..

1. ก็ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง เหตุนี้เป็นเครื่องให้เราเมื่อแตกกายตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๑ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

2. ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วไม่มี เราไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์เป็นสุข บริหารตนอยู่ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๒ นี้พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

3. ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ชื่อว่าทำบาป เราไม่ได้คิดความชั่วให้แก่ใครๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเราผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมเล่า ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๓ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

4. ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ไม่ชื่อว่าทำบาป เราก็ได้พิจารณาเห็น ตนว่าเป็นคนบริสุทธิ์ แล้วทั้งสองส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๔ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

- กุลบุตรผู้ฉลาดผู้แสวงหาทางหลุดพ้นพึงเจริญปฏิบัติตามในสิ่งที่พระอริยะบรรลุบทอันกระทำแล้ว มีดังนี้เป็นต้น


---------------------------------------------------------------------

โลกธรรม ๘ มีความเกี่ยวเนื่องต่อ..ทาน และ ศีลดังนี้เป็นต้น ด้วยทำให้เห็นใน โภคทรัพย์สมบัติทางโลกที่มีความเสื่อม พรัดพราก ไม่ใช่ตัวตน เอาใจเข้ายึดครองแล้วเร่าร้อน กับ อริยะทรัพย์ที่เป็นในภาวในใจ เป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ กระทำแล้วเย็นกายสบายใจไม่เร่าร้อน เมื่อเอาใจครองย่อมยังประโยชน์สุขมาให้

---------------------------------------------------------------------

เอามาต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๒ ครับ โลกธรรม ๘ ให้ผลเกี่ยวเนื่องยังไงครับกับ ทาน และศีล
แต่ถ้าเมื่ออ่านแล้วใคคราจะสละโภคทรัพย์สมบัติให้ผม ผมก็ยินดีรับนะครับ เพราะให้ทานผม ผมก็ได้มาโดยชอบธรรม :b32: :b32: :b32: :b32:


---------------------------------------------------------------------

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2019, 10:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามที่ ๘ คำถามต่อไป :b32: :b32: :b32: :b32:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2019, 11:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
อ้างคำพูด:
โลกธรรม ๘ กับ ทาน และ ศีล

- เพราะเห็นความเสื่อมในโลกธรรม อยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น จิตจึงคลายความหวงแหน น้อมเข้าทานอริยะทรัพย์
- เพราะเห็นโทษ พิษ ภัย และทุกข์ ที่มีต่อกายใจตนของการเอาใจเข้ายึดครองในโลกธรรม จิตจึงละเว้น น้อมเข้าศีลอริยะทรัพย์
- เพราะเห็นคุณและโทษ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เป็นทุกข์ในโลกธรรม จิตจึงคลายความหลงไม่เอาใจเข้ายึดครอง น้อมใจเข้าปัญญาอริยะทรัพย์


**หมายเหตุ ผมใช้คำสั่ง TD ไม่ได้เพื่อทำตาราง จึงใช้ Quote แทน มันจึงขึ้นว่าอ้างอิงคำพูด**



---------------------------------------------------------------------


ขยายความในธรรม


๑. โลกธรรม ๔ ในส่วนของความเจริญ คือ ลาภ(ชัย ชนะ โภคทรัพย์สมบัติ), ยศ(บรรดาศักดิ์ ฐานันดร), สรรเสริญ(ยกยอ เชิดชู), สุข(ความแช่มชื่นรื่นรมย์ สะดวกสบาย สำราญกายใจจากการได้สมปารถนานั้น)

.. เพราะความต้องตาต้องใจในโลกธรรม ๔ ฝ่ายเจริญนี้ แล้วเอาใจเข้ายึดครองในมันไว้เป็นตัวตนแห่งประโยชน์สุขสำเร็จของตน จึงทำให้เกิดความโลภในสิ่งนี้ สืบต่อให้ดิ้นรนแสวงหาให้ได้มาเสพย์ได้ครอบครอง
.. เพราะความต้องตาต้องใจในโลกธรรม ๔ ฝ่ายเจริญนี้ แล้วเอาใจเข้ายึดครองในมันไว้เป็นตัวตนแห่งประโยชน์สุขสำเร็จของตน จึงทำให้เกิดความโทสะในสิ่งนี้ สืบต่อให้ไม่พอใจในสิ่งที่มี ตับแค้นกายใจที่ตนไม่มีไม่ได้ จึงเกิดกระทำดิ้นรนเพื่อผลักไสความไม่มีไปจากตน
.. ความเอาใจเข้ายึดครองหลงอยู่ในสิ่งนั้นว่ามีค่ามาเป็นประโยชน์สุขสำเร็จของตน เกินกว่าความจำเป็นใช้สอยเลี้ยงชีพนี้แล คือ โมหะ
.. ด้วยประการดังนี้เป็นต้น..ก็พอเมื่อเห็นเขามี ตนไม่มี ตามีเขาไม่มี ตนมีด้อยกว่าเขา เขามีด้อยกว่า สัตว์จึงเกิดคววามอิจฉา(อยากได้อย่างเขา) ริษยา(เห็นเขาดีกว่าตนแล้วทนอยู่ไม่ได้) อภิชฌา(เพ่งภัณฑะเขา คือ อยากได้บุคคล-สิ่งของอันมีค่าของเขามาตรอบครอง) โทมนัส(สภาวะที่ใจให้ทนอยู่ได้ยาก ใจไม่เป็นปรกติ)
.. ดังนั้น..จึงเกิดการมุ่งร้าย เบียดเบียน หมายพราก ลักขโมย แก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น ทำร้าย ช่วงชิง รบราฆ่าฟันกันตามมา เพื่อให้ได้โลกธรรม ๔ ข้างฝ่ายเจริญนี้มาครอบครอง (ดังที่เราเห็นคนที่อิจฉา ริษยากัน เบียดเบียนทำร้ายกัน ทำให้อีกฝ่ายฉิบหาย ให้ตนได้โลกธรรม ๔ ฝ่ายเจริญนี้มาครอบครอง ซึ่งจะมีทุกสถานที่ทำงาน การค้าขาย การดำรงชีพอาชีพทั้งปวง ธุรกิจทั้งปวง ในครอบครัว แม้ในตนเองนี้ก็มีมาก)
.. คนที่ประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ เอาใจเข้ายึดครองโลกธรรมทั้งหลายนี้ ย่อมยังอภิชฌา โทมนัสให้เกิดมีคนผู้นั้น เป็นเหตุที่ให้ผู้คนไม่อยากอยู่ใกล้เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัย อยู่ด้วยไม่สนิทใจบ้าง ด้วยหวาดกลัวถูกขโมยบ้าง ระแวงว่าจะถูกทำร้ายบ้าง กลัวถูกแย่งชิงบ้าง อยากจะหลีกหนีไปให้พ้นๆ
.. เมื่อพิจารณาภายนอกสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา เราย่อมรู้สึกอย่างระอา ระแวง กลัว รู้สึกไม่ปลอดภัย..ต่อผู้ที่มีใจอิจฉา-ริษยาผู้อื่น, มีใจมุ่งร้ายเป็นผู้เพ่งภัณฑะ-มีใจไม่ปรกติอยู่ทุกๆขณะใช่หรือไม่ ก็ย่อมเป็นจริงดังนั้นใช่ไหม
.. ก็เมื่อเรารู้สึกต่อผู้อื่นดังนี้แล้ว ..แม้เมื่อเป็นเราเองที่เอาใจเข้ายึดครองโลกธรรมมีใจประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ เป็นผู้มีใจอิจฉา ริษยา อภิชฌา โทมนัส ..ผู้อื่นเขาก็ย่อมเกรงกลัว หวาดระแวง รู้สึกไม่ปลอดภัย อยากจะหลีกหนีเราไปด้วยเหมือนกันฉันนั้น

- โลกธรรม ๔ ในส่วนของความเจริญนี้ เมื่อเอาใจเข้ายึดครองสิ่งอันต้องตาต้องใจนี้แลจึงเกิดความเศร้าหมอง และการกระทำอันหยาบช้า
.. แม้ขณะที่ต้องตาต้องใจตน ก็เกิดความรู้สึกอาการที่หน่วงตรึงจิต ดึงใจให้ล่องลอยน้อมไปในสิ่งนั้น จิตอ่อนกำลังไม่เป็นปรกติให้ทนอยู่ได้ยาก
.. เมื่อเอาใจเข้ายึดครอง ก็เกิดความกระหายโหยหาใคร่เสพย์ กระวนกระวายทนอยู่ไม่ได้
.. เมื่อไม่ได้เสพย์สมดั่งใจหวังต้องการปารถนา ก็โทมนัสเป็นทุกข์ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ อัดอั้นคับแค้นกายใจ โศรกเศร้าร่ำไร รำพัน สมดั่งคำพระศาสดาตรัสสอนไว้ว่า.. "ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง" ปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ จะทุกข์มากหรือน้อยก็ตามแต่ความกระสันอยากได้ครอบครองนั้น สมดั่งคำสอนพระพุทธศาสดาที่ว่า..ปารถนามากก็ทุกข์มาก ปารถนาน้อยก็ทุกข์น้อย ไม่ปารถนาเลยก็ไม่ทุกข์เลย

- ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ การเอาใจเข้ายึดครองโลกธรรม ๔ ในส่วนของความเจริญหวังปรนเปรอตนจนเกินความจำเป็นเหล่านี้ มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์เล่า ย่อมเป็นทุกข์ใช่ไหม.. ก็แม้ขนาดยังไม่กระทำทางวาจา และกาย อันหยาบช้าออกไป แค่เพียงติดตรึงนึกคิดที่ใจก็ยังทำใจให้เศร้าหมองโทมนัสทนอยู่ได้ยากขนาดนี้.. อย่างนี้ยิ่งหากเมื่อกระทำสิ่งใดทางวาจาและกายลงไปในทางที่มุ่งร้ายเบียดเบียนมันจะยิ่งก่อให้เกิดความทุกข์ระทมตามมาอีกมากแค่ไหนกันเล่า
..ควรแล้วหรือหนอที่เราจะเอาใจเข้ายึดครองยึดกอดมันไว้ให้ค่ามันสูงกินกว่าความจำเป็นใช้สอยดำรงชีพตามควร
..หรือ ควรที่เราจะเห็นว่ามีไว้จับจ่ายใช้สอย ดำรงชีพ ตามความจำเป็นที่ไม่ลำบากตน ละความตระหนี่หวงแหนจนเกินควร ละความสำำคัญใจให้ค่าติดสุขกับมันจนเกินพอดี
..บุคคลเมื่อพิจารณาดังนี้ๆ ย่อมรู้ได้ว่าความหลงอยู่ในสิ่งนี้เป็นทุกข์


๒. ก็พระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ เป็นผู้เห็นโทษ เห็นพิษ เห็นภัย และทุกข์..ของการเอาใจเข้ายึดครองใน..ลาภ(ชัย ชนะ โภคทรัพย์สมบัติ), ยศ(บรรดาศักดิ์ ฐานันดร), สรรเสริญ(ยกยอ เชิดชู), สุข(ความแช่มชื่นรื่นรมย์ สะดวกสบาย สำราญกายใจจากการได้สมปารถนานั้น)..ว่าเป็นตัวตนแห่งประโยชน์สุขสำเร็จของตนทั้งหมดนี้อยู่เนืองๆ ..จึงละเว้นเสียซึ่งสิ่งนี้ เมื่อดำรงตนอยู่ในที่ใดก็ตาม ย่อมละการเอาใจเข้ายึดครองในโลกธรรม ๔ คือ ลาภสักการะ ยศ สรรเสริญ และสุขที่ได้เสพย์ในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น "เพื่อยังจิตให้ผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน" ให้เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ต้อนรับ..


------------------------------------------------------------------------


.. ก็พระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ละการเอาใจเข้ายึดครองใน ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขที่เนื่องด้วยกายนั้นอย่างไร..

ก. เพราะเป็นผู้เห็นเล็งเห็น โลกธรรม ๔ ในส่วนของความเสื่อม คือ เสื่อมลาภ(ปราชัย แพ้ สูญโภคทรัพย์สมบัติ), เสื่อมยศ(สูญสิ้นบรรดาศักดิ์ ฐานันดร), นินทา(พูดในทางไม่ดีลับหลัง แทงข้างหลังทะลุถึงหัวใจ), ทุกข์(ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความอันอั้น คับแค้นกายใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน สิ่งที่ทนยู่ได้ยาก)

.. ก็ลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุขที่เนื่องด้วยกายนี้ มันอยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น มีลาภก็มีเสื่อมลาภ, มียศก็มีเสื่อมยศ, มีสรรเสริญก็มีนินทา, มีสุขก็มีทุกข์ ไม่มีสิ่งใดตั้งอยู่คงทนยั่งยืนนาน การเอาใจเข้ายึดครองสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นเป็นทุกข์ เพราะมันไม่อาจจะอยู่กับเราตลอดไปได้ ไม่สามารถติดตามเราไปเมื่อตายด้วยได้ เมื่อตายไปสิ่งทั้งปวงในโลกนี้ก็จบลงจากความเป็นเจ้าของครอบครองของเราแล้ว

.. ก็ลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุขที่เนื่องด้วยกายนี้ เราจะบังคับให้มันไม่มีความเสื่อม ให้มันไม่สูญสิ้นไป ให้มันไม่ผุพัง ให้มันติดตามเราไปทุกภพทุกภูมิทุกที่เมื่อตายไปก็ไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนที่จะบังคับให้มันเป็นไปดังใจได้

.. ความตระหนี่หวงแหน ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน มันทำให้ยึดกอดไว้แค่ความโลภ ความกำหนัด ทำให้ผู้อื่นก็เกลียดชัง ไม่อยากเข้าใกล้ ไม่อยากร่วมกิจ และกายใจตนก็ร้อนเร่าด้วยความหวาดกลัวจะสูญเสีย

.. ความอิจฉาอยากได้อย่างเขา และ ความริษยาเห็นใครได้ดีกว่าไม่ได้ ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เพราะเอาใจเข้ายึดครองสุขจาก ลาภ ยศ สรรเสริญนั้น ทำให้ผู้อื่นก็เกลียดชัง ไม่อยากเข้าใกล้ ไม่อยากร่วมกิจ และกายใจตนก็ร้อนเร่าด้วยความกระหายได้ครอบครอง และเกลียดชัง

.. ความหมายปองสิ่งอันเป็นที่รักที่มีค่าของผู้อื่น และความมีใจที่ปกติเศร้าหมองด้วยกิเลสรุมเร้า จิตตั้งอยู่ไม่ได้ ทนกิเลสรุมเร้าไม่ได้ ต่อสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เพราะเอาใจเข้ายึดครองสุขจาก ลาภ ยศ สรรเสริญนั้น ก่อให้เกิดการเบียดเบียน มุ่งร้าย หมายพราก ขโมย ฉุดคร่า ทำร้าย ชัวิต บุคคลอันเป็นที่รัก สิ่งของอันมีค่าของผู้อื่นเพื่อให้ได้ครอบครองสมใจตนตามที่เอาใจเข้ายึดหลงว่าสิ่งนั้นเป็นสุขตน.. "และในขณะใดที่ตนกำลังกระทำความเบียดเบียนนั้น แม้ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ก็เท่ากับตนกำลังทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนมีอยู่ไม่ว่าจะเป็นลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญ สุขที่ตนมี และความดีที่ตนเฝ้าทำสะสมมา ให้ถูกช่วงชิงและสูญสลายตามไปด้วย เพราะการกระทำแห่งไฟกิเลสนั้นมันเผาไหม้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีไปในชั่วพริบตา".. ดังนี้..ทั้งก่อนทำ ขณะทำ หลังทำ กายใจก็ประกอบไปด้วยความเร้าร้อนสุมกายใจตน


_______________

ข. การเอาใจเข้ายึดครองในกุศลความดีนี้เป็นอริยะทรัพย์ การกระทำในสิ่งที่เป็นกุศลดีงามนี้มันไม่มีพิษ ไม่มีภัย ไม่มีโทษ ไม่มีเร่าร้อน ไม่มีทุกข์ต่อตนเองและผู้อื่น เราทำแล้วมันเย็นใจ ไม่ต้องหวาดกลัว หวาดระแวง ผลที่เป็นโทษ เป็นพิษ เป็นภัยแก่ตนเองตามมา ไปที่ใดก็สบายเย็นใจไม่เร่าร้อน มีความเป็นปรกติของใจไม่เร่าร้อนเศร้าหมอง มีจิตแจ่มใสเบิกบาน ก็กุศลดีงามอันเป็นอริยะทรัพย์นั้นทำอย่างไร..

.. ไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งที่มีความเสื่อมเป็นปรกติ ไม่เอาใจเข้ายึดครองที่ที่ไม่ใช่ตัวตน ตายไปก็พ้นความเป็นเจ้าของเอาติดตามไปด้วยไม่ได้ เพราะยึดกอดไว้ก็ล้วนแต่เป็นทุกข์

.. สิ่งใดที่เอาใจเข้ายึดครองแล้วไม่ว่าทางกายหรือใจที่เมื่อยึดมั่นถือมั่นแล้ว..ทำให้สติสัมปะชัญญะเกิดมีขึ้น ระลึกรู้เท่าทัน มีกำลังยับยั้ง แยกแยะ ดี ชั่ว ถูก ผิด คุณ โทษก่อนจะกระทำสิ่งใดลงไป ทำให้เกิดความรู้ตัวรู้ปัจจุบันในการกระทำกิจการงานใดๆ รู้กิจที่ควรทำ ไม่ติดหลงอยู่ในสมมติแห่งอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เร่าร้อน สิ่งนั้นควรเจริญให้มากเพราะนั่นคืออริยะทรัพย์

.. สิ่งใดเมื่อเอาใจเข้ายึดครองแล้ว กระทำแล้ว เสพย์แล้ว ทำให้มีสติตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นานไม่สัดส่ายฟุ้งซ่าน ทำให้จิตตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวได้นานตามมา มีความรู้ตัว แยกแยะของจริงกับสมมติกิเลสของปลอมที่เกาะจิตที่ทำให้ใจเศร้าหมองออกได้ สิ่งนั้นควรเจริญให้มากเพราะนั่นคืออริยะทรัพย์

.. ไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งทั้งปวงไม่ว่าทางกายหรือใจที่เมื่อยึดมั่นถือมั่นแล้ว..ทำให้กุศลความดีนี้เสื่อมลง แล้วทำให้อกุศลความชั่วไฟกิเลสเกิดมีพอกพูนขึ้น

.. สิ่งใดที่เอาใจเข้ายึดครองแล้วไม่ว่าทางกายหรือใจที่เมื่อยึดมั่นถือมั่นแล้ว..ทำให้กุศลเกิดมีพอกพูนขึ้นทำให้จิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน แล้วอกุศลความชั่วไฟกิเลสเสื่อมลง สิ่งนั้นควรเจริญให้มากเพราะนั่นคืออริยะทรัพย์

- สิ่งนี้แลทำให้จิตแจ่มในเบิกบาน ผ่องใสชื่นบานกายใจยิ่งนั้น มีสติสัมปะชัญญะเกิดขึ้นยังใจให้ฉลาดในการเลือกเสพย์ธรรมและการกระทำ เป็นอริยะทรัพย์


_______________

ค. การสละให้ เป็นการละสิ่งปรนเปรอตนจนเกินความจำเป็น ทำให้เรารู้จักอิ่มเป็น พอเป็น ละความอยากตระหนี่หวงแหนได้ นี้คือ ทาน เป็นอริยะทรัพย์

.. พึงเป็นผู้ให้ ผู้สละ ดังที่รู้เห็นโลกธรรมทั้งปวงมีความเสื่อม ตายไปก็เอาไปไม่ได้ แต่สิ่งที่ติดตามไปได้นี้มีแต่บุญกับบาปเท่านั้น มีแต่อริยะทรัพย์ที่จะติดตามเราไปได้ ดังนี้เราพึงเป็รผู้สละสิ่งอันเปรอตนเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น

.. ต่อให้การทำทานด้วยใจสละให้ของเรานี้ ผลบุญมันจะมีจริงหรือผลบุญไม่มีจริง หรือตายแล้วสูญบ้าง หรือตายแล้วเวียนว่ายเกิดใหม่ไม่สิ้นสุดบ้างจะได้รับหรือไม่ได้รับผลบุญแห่งอริยะทรัพย์นี้ก็ตาม หรือทานที่เราทำด้วยใจสละนี้เขาว่าไม่ได้บุญ..แต่เป็นการทำชั่วเป็นบาป

.. อย่างน้อยสิ่งที่เราทำก็ไม่ได้เบียดเบียนใคร แต่เป็นไปเพื่อใจเกื้อกูลประโยชน์สุขต่อผู้อื่น ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีเวร ไม่มีพิษ ไม่มีภัย ไม่มีโทษต่อใคร คนเราเมื่อรู้จักเพียงพอก็จึงสละได้ดังนั้นขณะใดที่เราสละให้ก็แสดงว่าขณะนั้นเรารู้จักเพียงพอแล้ว เมื่อสละแล้วก็ยังความอิ่มใจมาให้แก่ตน ยังความสุขอิ่มใจรู้จักปล่อย ละ วางไม่เอาใจเข้ายึดครองสิง่ที่ปรนเปรอตน รู้จักอิ่มเป็น เมื่ออิ่มก็ไม่โหยหา ไม่เอาใจเข้ายึดครองอีก ไม่มีสิ่งใดมาทำให้เราต้องกระหายได้เสพย์ ไม่หวาดกลัว หวาดระแวงจะสูญหาย.. เพราะขณะที่เราสละให้เกิดมีขึ้นในเมื่อใด ขณะนั้นความหวนแหนก็ถูกสละคืนทิ้งไปแล้ว ไม่มีในกายใจเราอีก

.. ต่อให้บาป บุญ โลกนี้ โลกหน้าไม่มีจริง หรือทำแล้วไปพระนิพพานไม่ได้จริง เราก็ได้รับผลเป็นสุข อิ่มใจ แจ่มใส เบิกบานจากสิ่งที่ทำด้วยใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลนั้นได้ทันที..ดังนี้


_______________

ง. การเป็นผู้ทีใจเป็นปรกติ มีปรกติเย็นไม่เร่าร้อนเศร้าหมอง เป็นผู้ไม่เบียดเบียน ไม่มีพิษ ไม่มีภัย ไม่มีโทษ ไม่เป็นทุกข์ต่อตนเองและผู้อื่น นี้คือ ศีล เป็นอริยะทรัพย์ การจะทำตนเองให้มีัความเย็นใจไปที่ได้ก็สบายไม่เร่าร้อน ไม่เป็นพิษ ไม่เป็นเวร ไม่เป็นภัย ไม่เป็นโทษแก่ใคร เราต้องเป็นผู้มีใจละเว้นเพื่อดับความเร่าร้อนในตน ราต้องเป็นผู้มีใจละเว้นเพื่อความไม่เป็นพิษภัยต่อตนอื่น ก็ความละเว้นนั้นเป็นไฉน

.. ละเว้นซึ่งความใจแคบ เห็นแก่ตัว ยึดถือประโยชน์ส่วนตนแต่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น มีใจกว้างเปิดออกเอื้อเฟื้อเกื้อกูล เห็นความเสมอกันทั่วทั้งคนและสัตว์.. ก็สิ่งใดเราไม่ชอบ-กลัว-เกลียด-ชัง-ไม่อยากพบ-ไม่อยากเจ- ไม่อยากให้เกิดมีขึ้นแก่เรา ด้วยเห็นว่าเป็นบ่อนทำลาย-เป็นข้าศึกที่เข้ามาช่วงชิงให้สูญสิ้นไปแก่..ชีวิต-บุคคล-สิ่งของอันเป็นที่รัก-ที่หวงแหน-ที่มีค่าของเรา สิ่งนั้นพึงละเว้น อย่าไปทำอย่างนั้นกับผู้อื่น

.. เห็นความเสมอด้วยตนต่อผู้อื่น คือ ความประกอบไปด้วยประโยชน์สุขสำเร็จดีงามเป็นที่สบายกายใจเป็นสุขกายใจเหล่าใดมีแก่เรา ก็มีความเอื้อเฟื้อให้เขาได้รับประโยชน์สุขสำเร็จทั่วกันอย่างนั้นเสมอกันกับเรา ซึ่งประโยชน์สุขสำเร็จที่คนและสัตว์ต้องการคือ มีชีวิตที่ดี มีอายุยืน มีทรัพย์สินบริวาร มีวรณะที่ดี มีความสุขเย็นใจไม่เร่าร้อน ไม่ต้องคอบหวาดกลัว หวาดระแวง อยู่ที่ใดก็เย็นใจ ได้รับประโยชน์สุขสำราญสะดวกสบายกายใจ มีกำลังใจมีสติสัมปะชัญญะ มีจิตแจ่มใสเบิกบาน ดังนี้พระอริยะสาวกของพระพุทธเจ้าเมื่อจะไปที่ได้จึงเป็นผู้ละเว้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลซึ่งอายุ วรรณะ สุข พละแก่คนและสัตว์ในที่นั้น

.. สิ่งใดที่ทำให้อกุศลธรรมพอกพูนขึ้นเข้าครอบงำจิต แล้วกุศลธรรมคุณงามความดีทั้งปวงเสื่อมลง สูญไป สิ่งนั้นพระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าไม่เสพย์
.. สิ่งใดที่ทำให้กุศลธรรมพอกพูนขึ้นเข้าครอบงำจิต แล้วอกุศลธรรมอันเร่าร้อนหยาบช้าทั้งปวงเสื่อมลง สูญไป สิ่งนั้นพระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเสพย์
.. สิ่งใดที่ทำให้กุศลธรรมคงไว้ แต่อกุศลธรรมอันเร่าร้อนหยาบช้าก็ไม่เพิ่มขึ้น สิ่งนั้นพระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าก็รู้กาลอันควรปักวางใจไว้แน่วแน่ไม่หวั่นไหวต่อธัมารมณ์ทั้งปวง

.. ก็เมื่อเป็นผู้ละเว้นอยู่ดังนี้ รู้ธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ มีใจปารถนาเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์ซึ่ง..อายุ วรรณะ สุขะ พละ ต่อผู้อื่นอยู่ดังนี้ ไม่ว่าจะไปในที่ใดแล้ว พระอริยะสาวกนั้นจะเป็นผู้มีพิษ มีเวร มีภัย มีโทษต่อ ชีวิต บุคคล บริวาร โภคทรัพยฺสมบัติ และกุศลคุณงามความดีของผู้อื่นได้หรือไม่..ก็ย่อมหาไม่ได้ซึ่งความเบียดเบียนนั้น ดังนี้ควรแก่การกราบไหว้ต้อนรับหรือไม่เล่า

ด้วยเหตุดังนี้พระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านี้ จึงมีความอุ่นใจ ๔ อยู่ทุกขณะว่า..

1. ก็ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง เหตุนี้เป็นเครื่องให้เราเมื่อแตกกายตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๑ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

2. ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วไม่มี เราไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์เป็นสุข บริหารตนอยู่ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๒ นี้พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

3. ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ชื่อว่าทำบาป เราไม่ได้คิดความชั่วให้แก่ใครๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเราผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมเล่า ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๓ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

4. ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ไม่ชื่อว่าทำบาป เราก็ได้พิจารณาเห็น ตนว่าเป็นคนบริสุทธิ์ แล้วทั้งสองส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๔ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

- กุลบุตรผู้ฉลาดผู้แสวงหาทางหลุดพ้นพึงเจริญปฏิบัติตามในสิ่งที่พระอริยะบรรลุบทอันกระทำแล้ว มีดังนี้เป็นต้น


---------------------------------------------------------------------

โลกธรรม ๘ มีความเกี่ยวเนื่องต่อ..ทาน และ ศีลดังนี้เป็นต้น ด้วยทำให้เห็นใน โภคทรัพย์สมบัติทางโลกที่มีความเสื่อม พรัดพราก ไม่ใช่ตัวตน เอาใจเข้ายึดครองแล้วเร่าร้อน กับ อริยะทรัพย์ที่เป็นในภาวในใจ เป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ กระทำแล้วเย็นกายสบายใจไม่เร่าร้อน เมื่อเอาใจครองย่อมยังประโยชน์สุขมาให้

---------------------------------------------------------------------

เอามาต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๒ ครับ โลกธรรม ๘ ให้ผลเกี่ยวเนื่องยังไงครับกับ ทาน และศีล
แต่ถ้าเมื่ออ่านแล้วใคคราจะสละโภคทรัพย์สมบัติให้ผม ผมก็ยินดีรับนะครับ เพราะให้ทานผม ผมก็ได้มาโดยชอบธรรม :b32: :b32: :b32: :b32:


---------------------------------------------------------------------


:b25: :b25: :b25:

ว๊าวววว ซุ่มมาได้เป็นหน้า ๆ เลย

:b27: :b27: :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2019, 13:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

:b25: :b25: :b25:

ว๊าวววว ซุ่มมาได้เป็นหน้า ๆ เลย

:b27: :b27: :b27:



:b9: :b9: :b9: :b9: เหอๆๆ ป่าวซุ่มนะ รอท่านทั้ง 2 ตอบก่อน ค่อยเอาลงแค่นั้นเอง

จะได้เห็นอย่างหนึ่งที่ตรงกันตามที่ผมเคยพูดไว้ก่อนหน้านี้

ซึ่งท่าน อ๊บ ผม ท่านเอกอน ก็เห็นเหตุที่ไม่ต่างกันหรอกครับ เหมือนผมเคยพูดไว้ไหมครับ ทุกๆธรรม แต่ละคนอาจจะต่างกันตามแต่ข้อที่ตนเอาเป็นตัวกลางยึดให้เข้าถึง แต่ก็จะมีจุดที่เหมือนกัน เช่น เรื่องโลกธรรม ๘ คือ มีได้มีเสื่อมเป็นของคู่กัน ตรงนี้เราเห็น เห็นความไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เป็นทุกข์..ตรงกันทุกคน ซึ่งแต่ละคนจะมนสิการเอา อนิจจัง อนัตตา ทุกขัง..นี้ใช้ให้เข้าถึงข้อธรรมที่ต่างกันบ้างตามแต่จริตนิสัยของคน เพราะมันต่างกันอยู่แล้ว ความลึกซึ้งในแต่ละจริตก็ต่างกันไป แต่เป็นเพื่อความสุจริต ๓ ที่ตรงกัน :b16: :b16: :b16:

แต่ถ้ากน่ายโลกธรรม ๘ ก่อนผม เอามาให้ผมได้นะครับ ผมยินดีรับ เช่น เงินสักล้าน สองล้าน บ้านสักหลัง รถสักคัน ที่ดิน ที่ทำมาหากิน :b22: :b22: :b22:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2019, 13:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
eragon_joe เขียน:

:b25: :b25: :b25:

ว๊าวววว ซุ่มมาได้เป็นหน้า ๆ เลย

:b27: :b27: :b27:



:b9: :b9: :b9: :b9: เหอๆๆ ป่าวซุ่มนะ รอท่านทั้ง 2 ตอบก่อน ค่อยเอาลงแค่นั้นเอง

จะได้เห็นอย่างหนึ่งที่ตรงกันตามที่ผมเคยพูดไว้ก่อนหน้านี้

ซึ่งท่าน อ๊บ ผม ท่านเอกอน ก็เห็นเหตุที่ไม่ต่างกันหรอกครับ เหมือนผมเคยพูดไว้ไหมครับ ทุกๆธรรม แต่ละคนอาจจะต่างกันตามแต่ข้อที่ตนเอาเป็นตัวกลางยึดให้เข้าถึง แต่ก็จะมีจุดที่เหมือนกัน เช่น เรื่องโลกธรรม ๘ คือ มีได้มีเสื่อมเป็นของคู่กัน ตรงนี้เราเห็น เห็นความไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เป็นทุกข์..ตรงกันทุกคน ซึ่งแต่ละคนจะมนสิการเอา อนิจจัง อนัตตา ทุกขัง..นี้ใช้ให้เข้าถึงข้อธรรมที่ต่างกันบ้างตามแต่จริตนิสัยของคน เพราะมันต่างกันอยู่แล้ว แต่เป็นเพื่อความสุจริต ๓ ที่ตรงกัน :b16: :b16: :b16:

แต่ถ้ากน่ายโลกธรรม ๘ ก่อนผม เอามาให้ผมได้นะครับ ผมยินดีรับ เช่น เงินสักล้าน สองล้าน บ้านสักหลัง รถสักคัน ที่ดิน ที่ทำมาหากิน :b22: :b22: :b22:


:b32: :b32: :b32:

เล่นกันอย่างนี้ ก็ตื่นเต้นดีเหมือนกันนะ

:b32:

ให้ด้นกันมาก่อนแล้ว ค่อยมาหาจุดที่ตรงกัน

:b32: :b32: :b32:

นี่ถ้าไม่ หน้าด้าน แน่จริง นี่ไม่กล้าด้นสดกันเลยก็ว่าได้ :b32:

เพราะการด้นสดมันก็เสี่ยงหน้าแตกกันได้ตลอดเวลา

smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2019, 14:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
eragon_joe เขียน:

:b25: :b25: :b25:

ว๊าวววว ซุ่มมาได้เป็นหน้า ๆ เลย

:b27: :b27: :b27:



:b9: :b9: :b9: :b9: เหอๆๆ ป่าวซุ่มนะ รอท่านทั้ง 2 ตอบก่อน ค่อยเอาลงแค่นั้นเอง

จะได้เห็นอย่างหนึ่งที่ตรงกันตามที่ผมเคยพูดไว้ก่อนหน้านี้

ซึ่งท่าน อ๊บ ผม ท่านเอกอน ก็เห็นเหตุที่ไม่ต่างกันหรอกครับ เหมือนผมเคยพูดไว้ไหมครับ ทุกๆธรรม แต่ละคนอาจจะต่างกันตามแต่ข้อที่ตนเอาเป็นตัวกลางยึดให้เข้าถึง แต่ก็จะมีจุดที่เหมือนกัน เช่น เรื่องโลกธรรม ๘ คือ มีได้มีเสื่อมเป็นของคู่กัน ตรงนี้เราเห็น เห็นความไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เป็นทุกข์..ตรงกันทุกคน ซึ่งแต่ละคนจะมนสิการเอา อนิจจัง อนัตตา ทุกขัง..นี้ใช้ให้เข้าถึงข้อธรรมที่ต่างกันบ้างตามแต่จริตนิสัยของคน เพราะมันต่างกันอยู่แล้ว แต่เป็นเพื่อความสุจริต ๓ ที่ตรงกัน :b16: :b16: :b16:

แต่ถ้ากน่ายโลกธรรม ๘ ก่อนผม เอามาให้ผมได้นะครับ ผมยินดีรับ เช่น เงินสักล้าน สองล้าน บ้านสักหลัง รถสักคัน ที่ดิน ที่ทำมาหากิน :b22: :b22: :b22:


:b32: :b32: :b32:

เล่นกันอย่างนี้ ก็ตื่นเต้นดีเหมือนกันนะ

:b32:

ให้ด้นกันมาก่อนแล้ว ค่อยมาหาจุดที่ตรงกัน

:b32: :b32: :b32:

นี่ถ้าไม่ หน้าด้าน แน่จริง นี่ไม่กล้าด้นสดกันเลยก็ว่าได้ :b32:

เพราะการด้นสดมันก็เสี่ยงหน้าแตกกันได้ตลอดเวลา

smiley smiley smiley



แล้วท่านเอกอนอ่านทโลกธรรม 8 ที่ผมโพสท์แล้วยังครับ อิอิ ก๊อปแปะไว้ก่อน 555 แล้วด฿ูความแตกต่างกันสิ่งครับ ระหว่าง ผม ท่านอ๊บ ท่านเอกอน แล้วอันไหนที่เหมือนกัน :b32: :b32: :b32:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2019, 14:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
ต้องเข้าใจก่อนว่า ศีล นี้..แท้จริงแล้ว คือ กรรม

1. มโนกรรม คือ เจตนาเป็นใหญ่ เจตนาละเว้นเป็นศีล ตือ เจตนากุศลละเจตนาอกุศล(นามดับนาม) เมื่อจงใจในสิ่งใด ตกลงใจอันใด ย่อมเกิด วิตกวิจาร ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวงล้วนเป็นใหญ่ให้เกิดการตกลงใจจงใจกระทำทั้งปวงตามมา

2. วจีกรรม คือ การกระทำทางวาจา คือ การพูดนั้นเอง ซึ่งการกระทำทางวาจาก็อาศัยเจตนาในสัญญาทั้งปวงทำให้จิตตรึกถึง นึกถึง ครองถึง คำนึงถึง สังเกตุได้ว่า..ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกนึกคิดอันใดก็มีเสียงวจีเราในใจให้กระทำไพูดกล่าวออกมา ยิ่งถ้าคิดมากมันคิดๆอยู่ก็พูดออกมาทันทีสังเกตุดูคนที่เพ้อบ่อยๆเพราะเขาติดคิด คิดมากจึงเกิดวจีกรรมออกมาก่อนเลย จึงชื่อว่าวิตก วิจารเป็นวจีสังขาร สมดั่งพระพุทธศาสดาตรัสสอน ละมิจฉาวาจาไม่ติดสมมติความคิด รู้อยู่กับปัจจุบัน คือ เว้นวจีกรรม

3. กายกรรม คือ การการะทำทางกายทั้งปวง ซึ่งการกระทำทางกายก็อาศัยเจตนาความจงใจเป็นตัวสั่งให้กระทำกายในสิ่งต่างๆ การละเว้นมิจฉากัมมันโต คือ เว้นกายกรรม



อ้างคำพูด:

ทาน และ ศีล จะเกิดขึ้นมีแก่เรา หรือใคร หรือสัตว์ใดทั้งปวงได้นั้น ต้องอาศัยเหตุปัจจัย คือ.. รู้พระสัทธรรม ในที่นี้คือ ความจริงที่ยังให้เกิดศรัทธา เป็นการศรัทธาด้วยปัญญา แล้วจะเกิดศรัทธาพละ ศรัทธาอันประกอบด้วยศีลเพื่อความพ้นทุกข์ตามมา กล่าวคร่าวๆตามลำดับการรับรู็ที่ลงใจได้ดังนี้

1. โลกธรรม ๘ เห็นความเสื่อมในโภคทรัพย์สมบัติสุขที่เนื่องด้วยกาย กามคุณ ๕ ที่สู้ลำบากขวานขวายกระทำหามา แย่งชิง ฉกชิงมา แล้วยึดกอดหวงแหนไว้ อภิชฌา โทมนัส ตระหนี่ อิจฉา ริษยา ..กับ..อริยะทรัพย์

2. รู้กรรม วิบากกรรม เราทีกรรมเป็นของๆตน ให้ผล เป็นแดนเกิด ติดตาม อาศัย เป็นทายาทกรรม

3. พิจารณา คุณ และ โทษ จากการกระทำทั้งปวง เป็นการกำหนดรู้ทุกข์ เห็นพิษ เห็นภัย เห็นโทษ

4. หิริ และ โอตัปปะ


* ข้อที่ 1-2 นี้เป็นธรรมจริง ความเป็นไปตามจริง พิสูจน์ได้ เห็นได้ สัมผัสได้, ข้อที่ 2-3 นี่เป็นปัญญา พิจารณาให้ปัญญาเกิดขึ้นแก่กายใจตน, ข้อที่ 3-4 นี่เป็น นิพพิทาให้ใจแสวงหาทางพ้นทุกข์ ทำให้จิตอ้อมควรแก่การเรียนรู้ศึกษาธรรมเพื่อความหลุดพ้นทุกข์ เพราะจิตโอปนะยิโกได้ง่าย *


อ้างคำพูด:

ศีล มีหลักๆอยู่ ๓ ประการ คือ

1. ละเว้นจากการกระทำที่หมายใจอยากได้ เบียดเบียน ทำร้าย ฉุดคร่า ฉกชิง พรากเอาซึ่ง..ชีวิต, ทรัพย์สินสมบัติสิ่งของ,ถิ่นอาศัย, แหล่งทำมาหากิน, ตลอดถึงบุคคลอันเป็นที่รัก ที่มีค่า ที่หวงแหนของผู้อื่น ที่เขาไม่ได้ให้มากครอบครองเป็นของตน หรือทำลายให้ฉิบหาย

2. ละเว้นจากวาจาที่เป็นการเบียดเบียน ทำร้าย และยังความฉิบหายมาสู่ผู้อื่น

3. ละเว้นการกระทำที่ทำให้ใจลุ่มหลง ไม่รู้ปัจจุบัน ระลึกไม่ได้ แยกแยะไม่ได้ ทำให้จิตไม่มีกำลังอ่อนไหวฟุ้งซ่านสัดส่ายพล่านไปง่าย ทำให้ใจมัวหมอง หน่วงตรึง อ่อนล้าเสื่อมสูญความรู้ตัว




-------------------------------------------------------------------


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
เอาเป็น ข้อที่ 7 ละกันครับเลขพระพุทธเจ้า

มีคำถามส่งท้ายปีเก่าต้อยรับปีใหม่ครับ

โลกธรรม 8 สำคัญอย่างไรต่อ ทาน กับ ศีล

ตอนแรกว่าจะโพสท์เปลี่ยนใจเป็นคำถามดีกว่าให้ท่านทั้งสองมาตอบ ท่านอ๊บไม่ตอบนู๋แช่งให้ไม่ถูกรางวัลที่ 1 นะ งวด 16 มกราคม 62 อิอิ


:b14: :b14: :b14:

ขนาดปีใหม่ยังวายมีการบ้าน

:b32: :b32: :b32:

เอกอนตอบก่อนมาหลายรอบแล้ว

มีลาภ เสื่อมลาภ
มียศ เสื่อมยศ
นินทา สรรเสริญ
สุข และ ทุกข์

งวดนี้ยกให้อ๊บซ์

:b13: :b13: :b13:

เพราะสำหรับเอกอนก็อยู่กับโลกธรรมนั่นล่ะ :b32:
การมีชีวิตที่ยังต้องทำงาน ทำมาหากินก็คลุกคลีอยู่กับเรื่องพวกนี้ล่ะ
แต่หลัก ๆ ที่เอกอนเข้าใจ คือ ถ้าหากมีมรรคเป็นบาทฐานในการดำเนินชีวิต
เรื่องโลกธรรมก็ไม่ค่อยเข้ามาทำให้หวั่นไหวสักเท่าไรนะ
ชีวิตมันก็ค่อนข้างดำเนินไปในทางที่อยู่ในฐานะที่พึ่งมีพึงได้นั่นล่ะ
เรื่องลาภ เอกอนไม่ค่อยมีลาภทางทรัพย์นะ
แต่จะมีลาภในลักษณะของผู้ใหญ่มักจะให้ความเมตตา เอ็นดู
นั่นก็น่าจะเป็นผลมาจากความดีของเรา
ซึ่งถ้าหากว่าเราเป็นพวกดีแบบลมเพลมพัด ดีแบบไม่แน่ไม่นอน
ลาภมันก็คงจะลมเพลมพัดเช่นกัน :b32:

คือจริง ๆ ในสภาพสังคมปัจจุบันที่ผู้คนต่างแก่งแย่งแข่งขัน หวังผลประโยชน์ใส่ตน
เราไม่ควรจะไปยึดมั่นในเรื่องใด ๆ เพราะเราจะมีค่าเมื่อเขาเห็นประโยชน์
แต่พอหมดประโยชน์ ก็คือหมดประโยชน์นั่นล่ะ :b32:
ดังนั้น การอยู่ในสังคม เรื่องโลกธรรมเป็นอะไรที่ทุกอย่างพัดกระพือราวพายุ
ซึ่งผู้ที่ศึกษาปฏิบัติธรรม ก็พึงยึดมั่นอยู่ในธรรม เพราะผลทางธรรมมันตกอยู่ที่ผู้ทำนั่นล่ะ
ส่วนโลกธรรมจะดำเนินไปอย่างไรก็ปล่อยให้มันเป็นไป

ในทางด้านยศ ก็เช่นกัน ถ้าหากว่าเราประกอบอาชีพอย่างสุจริตกาย วาจา ใจ
ทุกอย่างมันก็เป็นไปตามที่มันพึงมีพึงได้ ซึ่งมันอาจจะยอกย้อนไปตามโลกธรรม

เรื่อง สรรเสริญ นินทา นี่เป็นปกติ :b32:
บางเรื่องที่เขา นินทา ก็มีจริงบ้าง อย่างเช่นเอกอนไม่ค่อยแต่งหน้า แต่งตัว
เขาก็เอาเราไปนินทาได้ว่า ไม่รู้จักแต่งเนื้อแต่งตัวให้สวย ทั้ง ๆ ที่หน้าก็มีดี :b32: :b32:
:b32: แทนที่เขาจะชมเรา ว่านี่เธอ เธอแทบจะถือศีล 8 ได้เลยนะนี่ :b32:

คือ ทาน เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดการเอาออก การละ คลายความตะหนี่ คลายความเห็นแก่ตัว
ส่วน ศีล เป็นเครื่องที่ทำให้เราเป็นผู้อยู่ง่าย
ทำให้การรักษาตนให้ถึงซึ่ง กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ก็เป็นไปโดยลำดับ
ซึ่ง โลกธรรม ก็ดำเนินไปนั่นล่ะ แต่ไม่เป็นภัยกับเรา
คือจะมีลาภ เสื่อมลาภ
มียศ เสื่อมยศ
มีชื่นชม มีนินทา
ก็มีสุข ทุกข์เวียนวนไปกับมันนั่นล่ะ แต่สิ่งเหล่านั้นไม่เป็นภัยกับเรา

ก็น่าจะเป็นว่า ศีล ทำให้ โลกธรรมไม่เป็นภัยกับเรา
ส่วนโลกธรรม ก็น่าจะเป็นเหมือนสนามฝึกวิทยายุทธ ที่จะทำให้ ศีลมีความคล่องแคล่ว มั่นคงขึ้น

แต่สำหรับผู้ปฏิบัติที่เขาฝึกจิตเขาก็น่าจะได้เห็นว่าโลกธรรมมันเป็นของชั่วคราว
ซึ่งเมื่อโลกธรรมใดปรากฏ ผู้ปฏิบัติก็เท่าทันและสำรวมใจไว้แล้ว
ซึ่งใจเมื่อได้ลาภมันก็ไม่ฟูฟ่อง และเมื่อถึงคราวเสื่อมลาภ
เพราะในเมื่อใจมันไม่ได้ฟูฟ่องในตอนมี ดังนั้นในตอนเสื่อมมันก็ไม่ได้แฟ้บ ...

ทุกอย่างล้วนเป็นเพียงสิ่งที่ผ่านมาเพียงชั่วคราว ...

ซึ่งผู้ที่ฝึกสมาธิ และเห็นเกิดดับในสมาธิ น่าจะเป็นพวกที่มี sense ในเรื่องนี้ไปโดยปริยาย
และน่าจะเป็นผู้ที่เห็นความเอร็ดอร่อยของอาการฟูฟ่อง และความรู้สึกที่เจ็บใจ เหี่ยวแห้งเมื่อมันแฟ้บ
ดังนั้นคนที่ฝึกสมาธิ เขาน่าจะจับอาการฟูฟ่องได้ และน่าจะเป็นผู้ที่เท่าทัน แลสำรวมต่อโลกธรรมได้ไว

ไม่รู้สิ ถ้าเขานำวิชาที่เขาได้จากการปฏิบัติสมาธิออกมาใช้นะ

:b1:


-------------------------------------------------------------------


กบนอกกะลา เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
เอาเป็น ข้อที่ 7 ละกันครับเลขพระพุทธเจ้า

มีคำถามส่งท้ายปีเก่าต้อยรับปีใหม่ครับ

โลกธรรม 8 สำคัญอย่างไรต่อ ทาน กับ ศีล

ตอนแรกว่าจะโพสท์เปลี่ยนใจเป็นคำถามดีกว่าให้ท่านทั้งสองมาตอบ ท่านอ๊บไม่ตอบนู๋แช่งให้ไม่ถูกรางวัลที่ 1 นะ งวด 16 มกราคม 62 อิอิ


ต้องรีบตอบข้อนี้ก่อนละ...อีกไม่ถึงชั่วโมง..ก็จะหมดเวลาตอบ..
:b32: :b32: :b32:
เนื่องจากเวลาเหลือน้อย...ตอบแบบลัดสั้น..ละกัน

โลกธรรม8 สำคัญอย่างไรต่อ ทาน กับ ศีล?

ก็เพราะ...มีโลกธรรม4 เป็นอามิส...คนจำนวนมากจึงทำทาน...รักษาศีล

คนบางคน...ประสพกับความทุกข์เพราะขาดโลกธรรม4...ปรารถณาโลกธรรม4..เขาเหล่านั้นจึงทำทาน..รักษาศีล...

จึงกล่าวได้ว่า...เพราะโลกธรรม8 ..เป็นเหตุ...คนจำนวนมาก.จึงทำทาน..จึงมารักษาศีล...


-------------------------------------------------------------------

เห็นความเหมือนความต่างกันมั้ยครับ อิอิอิ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2019, 14:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:

สิ่งที่เราเห็นเหมือนกันในโลกธรรม ๘ ที่มีต่อ ทาน และ ศีล ก็คือ

1. ข้อแรกสุดจะเห็นความไม่เที่ยงใช่ไหมครับ

2. เพราะเห็นทุกข์ใช่ปะครับ

3. เห็นครบไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง ขาด ไม่มี ไม่ใช่ตัวตน เป็นทุกข์ หรือ อยากมีสิ่งที่ยั่งยืนติดตามไปทุกภพชาิต จึงน้อมเข้าธรรม ยังความสุจริต ๓ ให้เกิดมีขึ้น เพื่อเป็นอริยะทรัพย์ หรือบารมีติดตามเราไปด้วยใช่ปะครับ




.. เช่น..


------------------------------------------------------------------------------------

ก. ท่านอ๊บกล่าวไว้ว่า..

- ก็เพราะ...มีโลกธรรม 4 เป็นอามิส...คนจำนวนมากจึงทำทาน...รักษาศีล
- คนบางคน...ประสพกับความทุกข์เพราะขาดโลกธรรม 4 ...ปรารถณาโลกธรรม 4 ..เขาเหล่านั้นจึงทำทาน..รักษาศีล...


------------------------------------------------------------------------------------

ข. ท่านเอกอนกล่าวไว้ว่า

คือ ทาน เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดการเอาออก การละ คลายความตะหนี่ คลายความเห็นแก่ตัว
ส่วน ศีล เป็นเครื่องที่ทำให้เราเป็นผู้อยู่ง่าย
ทำให้การรักษาตนให้ถึงซึ่ง กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ก็เป็นไปโดยลำดับ
ซึ่ง โลกธรรม ก็ดำเนินไปนั่นล่ะ แต่ไม่เป็นภัยกับเรา
คือจะมีลาภ เสื่อมลาภ
มียศ เสื่อมยศ
มีชื่นชม มีนินทา
ก็มีสุข ทุกข์เวียนวนไปกับมันนั่นล่ะ แต่สิ่งเหล่านั้นไม่เป็นภัยกับเรา

ก็น่าจะเป็นว่า ศีล ทำให้ โลกธรรมไม่เป็นภัยกับเรา
ส่วนโลกธรรม ก็น่าจะเป็นเหมือนสนามฝึกวิทยายุทธ ที่จะทำให้ ศีลมีความคล่องแคล่ว มั่นคงขึ้น

แต่สำหรับผู้ปฏิบัติที่เขาฝึกจิตเขาก็น่าจะได้เห็นว่าโลกธรรมมันเป็นของชั่วคราว
ซึ่งเมื่อโลกธรรมใดปรากฏ ผู้ปฏิบัติก็เท่าทันและสำรวมใจไว้แล้ว

ทุกอย่างล้วนเป็นเพียงสิ่งที่ผ่านมาเพียงชั่วคราว ...


------------------------------------------------------------------------------------

ค. ผมกล่าวไว้ว่า

- เพราะเอาใจเข้ายึดครองโลกธรรม ๔ ฝ่ายข้างเจริญ มันทำให้เกิด..ความเร่าร้อน กระหายได้ครอบครอง อิจฉา ริษยา อภิชฌา โทมนัส จึงแสวงหาสิ่งที่ใจเข้ายึดครองแล้วไม่มีโทษ ไม่มีภัย ไม่เป็นทุกข์ จึงทำจิตให้ผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน
- เพราะเห็นโลกธรรม ๔ ฝ่ายข้างเสื่อม มันไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ตายไปก็เอาไปด้วยไม่ได้ ยึดกอดไว้ก็มีแต่ทุกข์เร่าร้อนกายใจ จึงแสวงหา "อริยะทรัพย์" พิจารณาธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ ยังจิตให้ผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน


------------------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------------

ทีนี้อะไรที่เหมือน หรือต่างกันครับ :b32: :b32: :b32: แต่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อเจริญ ทาน ศีล ภาวนาใช่มะครับ


.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2019, 15:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
eragon_joe เขียน:

:b25: :b25: :b25:

ว๊าวววว ซุ่มมาได้เป็นหน้า ๆ เลย

:b27: :b27: :b27:



:b9: :b9: :b9: :b9: เหอๆๆ ป่าวซุ่มนะ รอท่านทั้ง 2 ตอบก่อน ค่อยเอาลงแค่นั้นเอง

จะได้เห็นอย่างหนึ่งที่ตรงกันตามที่ผมเคยพูดไว้ก่อนหน้านี้

ซึ่งท่าน อ๊บ ผม ท่านเอกอน ก็เห็นเหตุที่ไม่ต่างกันหรอกครับ เหมือนผมเคยพูดไว้ไหมครับ ทุกๆธรรม แต่ละคนอาจจะต่างกันตามแต่ข้อที่ตนเอาเป็นตัวกลางยึดให้เข้าถึง แต่ก็จะมีจุดที่เหมือนกัน เช่น เรื่องโลกธรรม ๘ คือ มีได้มีเสื่อมเป็นของคู่กัน ตรงนี้เราเห็น เห็นความไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เป็นทุกข์..ตรงกันทุกคน ซึ่งแต่ละคนจะมนสิการเอา อนิจจัง อนัตตา ทุกขัง..นี้ใช้ให้เข้าถึงข้อธรรมที่ต่างกันบ้างตามแต่จริตนิสัยของคน เพราะมันต่างกันอยู่แล้ว แต่เป็นเพื่อความสุจริต ๓ ที่ตรงกัน :b16: :b16: :b16:

แต่ถ้ากน่ายโลกธรรม ๘ ก่อนผม เอามาให้ผมได้นะครับ ผมยินดีรับ เช่น เงินสักล้าน สองล้าน บ้านสักหลัง รถสักคัน ที่ดิน ที่ทำมาหากิน :b22: :b22: :b22:


:b32: :b32: :b32:

เล่นกันอย่างนี้ ก็ตื่นเต้นดีเหมือนกันนะ

:b32:

ให้ด้นกันมาก่อนแล้ว ค่อยมาหาจุดที่ตรงกัน

:b32: :b32: :b32:

นี่ถ้าไม่ หน้าด้าน แน่จริง นี่ไม่กล้าด้นสดกันเลยก็ว่าได้ :b32:

เพราะการด้นสดมันก็เสี่ยงหน้าแตกกันได้ตลอดเวลา

smiley smiley smiley



แล้วท่านเอกอนอ่านทโลกธรรม 8 ที่ผมโพสท์แล้วยังครับ อิอิ ก๊อปแปะไว้ก่อน 555 แล้วด฿ูความแตกต่างกันสิ่งครับ ระหว่าง ผม ท่านอ๊บ ท่านเอกอน แล้วอันไหนที่เหมือนกัน :b32: :b32: :b32:


^^ ยังไม่ได้อ่านเลย แค่จับเป็นตัวประกันไว้ก่อน
เดี๋ยวทำงานเสร็จตอนเย็น ๆ จึงจะได้เข้ามาอ่าน :b16:

แค่อากาศ เขียน:
อ้างคำพูด:

สิ่งที่เราเห็นเหมือนกันในโลกธรรม ๘ ที่มีต่อ ทาน และ ศีล ก็คือ

1. ข้อแรกสุดจะเห็นความไม่เที่ยงใช่ไหมครับ

2. เพราะเห็นทุกข์ใช่ปะครับ

3. เห็นครบไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง ขาด ไม่มี ไม่ใช่ตัวตน เป็นทุกข์ หรือ อยากมีสิ่งที่ยั่งยืนติดตามไปทุกภพชาิต จึงน้อมเข้าธรรม ยังความสุจริต ๓ ให้เกิดมีขึ้น เพื่อเป็นอริยะทรัพย์ หรือบารมีติดตามเราไปด้วยใช่ปะครับ




.. เช่น..


------------------------------------------------------------------------------------

ก. ท่านอ๊บกล่าวไว้ว่า..

- ก็เพราะ...มีโลกธรรม 4 เป็นอามิส...คนจำนวนมากจึงทำทาน...รักษาศีล
- คนบางคน...ประสพกับความทุกข์เพราะขาดโลกธรรม 4 ...ปรารถณาโลกธรรม 4 ..เขาเหล่านั้นจึงทำทาน..รักษาศีล...


------------------------------------------------------------------------------------

ข. ท่านเอกอนกล่าวไว้ว่า

คือ ทาน เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดการเอาออก การละ คลายความตะหนี่ คลายความเห็นแก่ตัว
ส่วน ศีล เป็นเครื่องที่ทำให้เราเป็นผู้อยู่ง่าย
ทำให้การรักษาตนให้ถึงซึ่ง กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ก็เป็นไปโดยลำดับ
ซึ่ง โลกธรรม ก็ดำเนินไปนั่นล่ะ แต่ไม่เป็นภัยกับเรา
คือจะมีลาภ เสื่อมลาภ
มียศ เสื่อมยศ
มีชื่นชม มีนินทา
ก็มีสุข ทุกข์เวียนวนไปกับมันนั่นล่ะ แต่สิ่งเหล่านั้นไม่เป็นภัยกับเรา

ก็น่าจะเป็นว่า ศีล ทำให้ โลกธรรมไม่เป็นภัยกับเรา
ส่วนโลกธรรม ก็น่าจะเป็นเหมือนสนามฝึกวิทยายุทธ ที่จะทำให้ ศีลมีความคล่องแคล่ว มั่นคงขึ้น

แต่สำหรับผู้ปฏิบัติที่เขาฝึกจิตเขาก็น่าจะได้เห็นว่าโลกธรรมมันเป็นของชั่วคราว
ซึ่งเมื่อโลกธรรมใดปรากฏ ผู้ปฏิบัติก็เท่าทันและสำรวมใจไว้แล้ว

ทุกอย่างล้วนเป็นเพียงสิ่งที่ผ่านมาเพียงชั่วคราว ...


------------------------------------------------------------------------------------

ค. ผมกล่าวไว้ว่า

- เพราะเอาใจเข้ายึดครองโลกธรรม ๔ ฝ่ายข้างเจริญ มันทำให้เกิด..ความเร่าร้อน กระหายได้ครอบครอง อิจฉา ริษยา อภิชฌา โทมนัส จึงแสวงหาสิ่งที่ใจเข้ายึดครองแล้วไม่มีโทษ ไม่มีภัย ไม่เป็นทุกข์ จึงทำจิตให้ผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน
- เพราะเห็นโลกธรรม ๔ ฝ่ายข้างเสื่อม มันไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ตายไปก็เอาไปด้วยไม่ได้ ยึดกอดไว้ก็มีแต่ทุกข์เร่าร้อนกายใจ จึงแสวงหา "อริยะทรัพย์" พิจารณาธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ ยังจิตให้ผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน


------------------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------------

ทีนี้อะไรที่เหมือน หรือต่างกันครับ :b32: :b32: :b32: แต่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อเจริญ ทาน ศีล ภาวนาใช่มะครับ


แค่อากาศ เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
ต้องเข้าใจก่อนว่า ศีล นี้..แท้จริงแล้ว คือ กรรม

1. มโนกรรม คือ เจตนาเป็นใหญ่ เจตนาละเว้นเป็นศีล ตือ เจตนากุศลละเจตนาอกุศล(นามดับนาม) เมื่อจงใจในสิ่งใด ตกลงใจอันใด ย่อมเกิด วิตกวิจาร ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวงล้วนเป็นใหญ่ให้เกิดการตกลงใจจงใจกระทำทั้งปวงตามมา

2. วจีกรรม คือ การกระทำทางวาจา คือ การพูดนั้นเอง ซึ่งการกระทำทางวาจาก็อาศัยเจตนาในสัญญาทั้งปวงทำให้จิตตรึกถึง นึกถึง ครองถึง คำนึงถึง สังเกตุได้ว่า..ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกนึกคิดอันใดก็มีเสียงวจีเราในใจให้กระทำไพูดกล่าวออกมา ยิ่งถ้าคิดมากมันคิดๆอยู่ก็พูดออกมาทันทีสังเกตุดูคนที่เพ้อบ่อยๆเพราะเขาติดคิด คิดมากจึงเกิดวจีกรรมออกมาก่อนเลย จึงชื่อว่าวิตก วิจารเป็นวจีสังขาร สมดั่งพระพุทธศาสดาตรัสสอน ละมิจฉาวาจาไม่ติดสมมติความคิด รู้อยู่กับปัจจุบัน คือ เว้นวจีกรรม

3. กายกรรม คือ การการะทำทางกายทั้งปวง ซึ่งการกระทำทางกายก็อาศัยเจตนาความจงใจเป็นตัวสั่งให้กระทำกายในสิ่งต่างๆ การละเว้นมิจฉากัมมันโต คือ เว้นกายกรรม



อ้างคำพูด:

ทาน และ ศีล จะเกิดขึ้นมีแก่เรา หรือใคร หรือสัตว์ใดทั้งปวงได้นั้น ต้องอาศัยเหตุปัจจัย คือ.. รู้พระสัทธรรม ในที่นี้คือ ความจริงที่ยังให้เกิดศรัทธา เป็นการศรัทธาด้วยปัญญา แล้วจะเกิดศรัทธาพละ ศรัทธาอันประกอบด้วยศีลเพื่อความพ้นทุกข์ตามมา กล่าวคร่าวๆตามลำดับการรับรู็ที่ลงใจได้ดังนี้

1. โลกธรรม ๘ เห็นความเสื่อมในโภคทรัพย์สมบัติสุขที่เนื่องด้วยกาย กามคุณ ๕ ที่สู้ลำบากขวานขวายกระทำหามา แย่งชิง ฉกชิงมา แล้วยึดกอดหวงแหนไว้ อภิชฌา โทมนัส ตระหนี่ อิจฉา ริษยา ..กับ..อริยะทรัพย์

2. รู้กรรม วิบากกรรม เราทีกรรมเป็นของๆตน ให้ผล เป็นแดนเกิด ติดตาม อาศัย เป็นทายาทกรรม

3. พิจารณา คุณ และ โทษ จากการกระทำทั้งปวง เป็นการกำหนดรู้ทุกข์ เห็นพิษ เห็นภัย เห็นโทษ

4. หิริ และ โอตัปปะ


* ข้อที่ 1-2 นี้เป็นธรรมจริง ความเป็นไปตามจริง พิสูจน์ได้ เห็นได้ สัมผัสได้, ข้อที่ 2-3 นี่เป็นปัญญา พิจารณาให้ปัญญาเกิดขึ้นแก่กายใจตน, ข้อที่ 3-4 นี่เป็น นิพพิทาให้ใจแสวงหาทางพ้นทุกข์ ทำให้จิตอ้อมควรแก่การเรียนรู้ศึกษาธรรมเพื่อความหลุดพ้นทุกข์ เพราะจิตโอปนะยิโกได้ง่าย *


อ้างคำพูด:

ศีล มีหลักๆอยู่ ๓ ประการ คือ

1. ละเว้นจากการกระทำที่หมายใจอยากได้ เบียดเบียน ทำร้าย ฉุดคร่า ฉกชิง พรากเอาซึ่ง..ชีวิต, ทรัพย์สินสมบัติสิ่งของ,ถิ่นอาศัย, แหล่งทำมาหากิน, ตลอดถึงบุคคลอันเป็นที่รัก ที่มีค่า ที่หวงแหนของผู้อื่น ที่เขาไม่ได้ให้มากครอบครองเป็นของตน หรือทำลายให้ฉิบหาย

2. ละเว้นจากวาจาที่เป็นการเบียดเบียน ทำร้าย และยังความฉิบหายมาสู่ผู้อื่น

3. ละเว้นการกระทำที่ทำให้ใจลุ่มหลง ไม่รู้ปัจจุบัน ระลึกไม่ได้ แยกแยะไม่ได้ ทำให้จิตไม่มีกำลังอ่อนไหวฟุ้งซ่านสัดส่ายพล่านไปง่าย ทำให้ใจมัวหมอง หน่วงตรึง อ่อนล้าเสื่อมสูญความรู้ตัว




-------------------------------------------------------------------


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
เอาเป็น ข้อที่ 7 ละกันครับเลขพระพุทธเจ้า

มีคำถามส่งท้ายปีเก่าต้อยรับปีใหม่ครับ

โลกธรรม 8 สำคัญอย่างไรต่อ ทาน กับ ศีล

ตอนแรกว่าจะโพสท์เปลี่ยนใจเป็นคำถามดีกว่าให้ท่านทั้งสองมาตอบ ท่านอ๊บไม่ตอบนู๋แช่งให้ไม่ถูกรางวัลที่ 1 นะ งวด 16 มกราคม 62 อิอิ


:b14: :b14: :b14:

ขนาดปีใหม่ยังวายมีการบ้าน

:b32: :b32: :b32:

เอกอนตอบก่อนมาหลายรอบแล้ว

มีลาภ เสื่อมลาภ
มียศ เสื่อมยศ
นินทา สรรเสริญ
สุข และ ทุกข์

งวดนี้ยกให้อ๊บซ์

:b13: :b13: :b13:

เพราะสำหรับเอกอนก็อยู่กับโลกธรรมนั่นล่ะ :b32:
การมีชีวิตที่ยังต้องทำงาน ทำมาหากินก็คลุกคลีอยู่กับเรื่องพวกนี้ล่ะ
แต่หลัก ๆ ที่เอกอนเข้าใจ คือ ถ้าหากมีมรรคเป็นบาทฐานในการดำเนินชีวิต
เรื่องโลกธรรมก็ไม่ค่อยเข้ามาทำให้หวั่นไหวสักเท่าไรนะ
ชีวิตมันก็ค่อนข้างดำเนินไปในทางที่อยู่ในฐานะที่พึ่งมีพึงได้นั่นล่ะ
เรื่องลาภ เอกอนไม่ค่อยมีลาภทางทรัพย์นะ
แต่จะมีลาภในลักษณะของผู้ใหญ่มักจะให้ความเมตตา เอ็นดู
นั่นก็น่าจะเป็นผลมาจากความดีของเรา
ซึ่งถ้าหากว่าเราเป็นพวกดีแบบลมเพลมพัด ดีแบบไม่แน่ไม่นอน
ลาภมันก็คงจะลมเพลมพัดเช่นกัน :b32:

คือจริง ๆ ในสภาพสังคมปัจจุบันที่ผู้คนต่างแก่งแย่งแข่งขัน หวังผลประโยชน์ใส่ตน
เราไม่ควรจะไปยึดมั่นในเรื่องใด ๆ เพราะเราจะมีค่าเมื่อเขาเห็นประโยชน์
แต่พอหมดประโยชน์ ก็คือหมดประโยชน์นั่นล่ะ :b32:
ดังนั้น การอยู่ในสังคม เรื่องโลกธรรมเป็นอะไรที่ทุกอย่างพัดกระพือราวพายุ
ซึ่งผู้ที่ศึกษาปฏิบัติธรรม ก็พึงยึดมั่นอยู่ในธรรม เพราะผลทางธรรมมันตกอยู่ที่ผู้ทำนั่นล่ะ
ส่วนโลกธรรมจะดำเนินไปอย่างไรก็ปล่อยให้มันเป็นไป

ในทางด้านยศ ก็เช่นกัน ถ้าหากว่าเราประกอบอาชีพอย่างสุจริตกาย วาจา ใจ
ทุกอย่างมันก็เป็นไปตามที่มันพึงมีพึงได้ ซึ่งมันอาจจะยอกย้อนไปตามโลกธรรม

เรื่อง สรรเสริญ นินทา นี่เป็นปกติ :b32:
บางเรื่องที่เขา นินทา ก็มีจริงบ้าง อย่างเช่นเอกอนไม่ค่อยแต่งหน้า แต่งตัว
เขาก็เอาเราไปนินทาได้ว่า ไม่รู้จักแต่งเนื้อแต่งตัวให้สวย ทั้ง ๆ ที่หน้าก็มีดี :b32: :b32:
:b32: แทนที่เขาจะชมเรา ว่านี่เธอ เธอแทบจะถือศีล 8 ได้เลยนะนี่ :b32:

คือ ทาน เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดการเอาออก การละ คลายความตะหนี่ คลายความเห็นแก่ตัว
ส่วน ศีล เป็นเครื่องที่ทำให้เราเป็นผู้อยู่ง่าย
ทำให้การรักษาตนให้ถึงซึ่ง กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ก็เป็นไปโดยลำดับ
ซึ่ง โลกธรรม ก็ดำเนินไปนั่นล่ะ แต่ไม่เป็นภัยกับเรา
คือจะมีลาภ เสื่อมลาภ
มียศ เสื่อมยศ
มีชื่นชม มีนินทา
ก็มีสุข ทุกข์เวียนวนไปกับมันนั่นล่ะ แต่สิ่งเหล่านั้นไม่เป็นภัยกับเรา

ก็น่าจะเป็นว่า ศีล ทำให้ โลกธรรมไม่เป็นภัยกับเรา
ส่วนโลกธรรม ก็น่าจะเป็นเหมือนสนามฝึกวิทยายุทธ ที่จะทำให้ ศีลมีความคล่องแคล่ว มั่นคงขึ้น

แต่สำหรับผู้ปฏิบัติที่เขาฝึกจิตเขาก็น่าจะได้เห็นว่าโลกธรรมมันเป็นของชั่วคราว
ซึ่งเมื่อโลกธรรมใดปรากฏ ผู้ปฏิบัติก็เท่าทันและสำรวมใจไว้แล้ว
ซึ่งใจเมื่อได้ลาภมันก็ไม่ฟูฟ่อง และเมื่อถึงคราวเสื่อมลาภ
เพราะในเมื่อใจมันไม่ได้ฟูฟ่องในตอนมี ดังนั้นในตอนเสื่อมมันก็ไม่ได้แฟ้บ ...

ทุกอย่างล้วนเป็นเพียงสิ่งที่ผ่านมาเพียงชั่วคราว ...

ซึ่งผู้ที่ฝึกสมาธิ และเห็นเกิดดับในสมาธิ น่าจะเป็นพวกที่มี sense ในเรื่องนี้ไปโดยปริยาย
และน่าจะเป็นผู้ที่เห็นความเอร็ดอร่อยของอาการฟูฟ่อง และความรู้สึกที่เจ็บใจ เหี่ยวแห้งเมื่อมันแฟ้บ
ดังนั้นคนที่ฝึกสมาธิ เขาน่าจะจับอาการฟูฟ่องได้ และน่าจะเป็นผู้ที่เท่าทัน แลสำรวมต่อโลกธรรมได้ไว

ไม่รู้สิ ถ้าเขานำวิชาที่เขาได้จากการปฏิบัติสมาธิออกมาใช้นะ

:b1:


-------------------------------------------------------------------


กบนอกกะลา เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
เอาเป็น ข้อที่ 7 ละกันครับเลขพระพุทธเจ้า

มีคำถามส่งท้ายปีเก่าต้อยรับปีใหม่ครับ

โลกธรรม 8 สำคัญอย่างไรต่อ ทาน กับ ศีล

ตอนแรกว่าจะโพสท์เปลี่ยนใจเป็นคำถามดีกว่าให้ท่านทั้งสองมาตอบ ท่านอ๊บไม่ตอบนู๋แช่งให้ไม่ถูกรางวัลที่ 1 นะ งวด 16 มกราคม 62 อิอิ


ต้องรีบตอบข้อนี้ก่อนละ...อีกไม่ถึงชั่วโมง..ก็จะหมดเวลาตอบ..
:b32: :b32: :b32:
เนื่องจากเวลาเหลือน้อย...ตอบแบบลัดสั้น..ละกัน

โลกธรรม8 สำคัญอย่างไรต่อ ทาน กับ ศีล?

ก็เพราะ...มีโลกธรรม4 เป็นอามิส...คนจำนวนมากจึงทำทาน...รักษาศีล

คนบางคน...ประสพกับความทุกข์เพราะขาดโลกธรรม4...ปรารถณาโลกธรรม4..เขาเหล่านั้นจึงทำทาน..รักษาศีล...

จึงกล่าวได้ว่า...เพราะโลกธรรม8 ..เป็นเหตุ...คนจำนวนมาก.จึงทำทาน..จึงมารักษาศีล...


-------------------------------------------------------------------

เห็นความเหมือนความต่างกันมั้ยครับ อิอิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2019, 21:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b35: :b35: :b35:

:b1: :b16: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2019, 14:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


------------------------------------------------------------------------------------

ก. ท่านอ๊บกล่าวไว้ว่า..

- ก็เพราะ...มีโลกธรรม 4 เป็นอามิส...คนจำนวนมากจึงทำทาน...รักษาศีล
- คนบางคน...ประสพกับความทุกข์เพราะขาดโลกธรรม 4 ...ปรารถณาโลกธรรม 4 ..เขาเหล่านั้นจึงทำทาน..รักษาศีล...

------------------------------------------------------------------------------------

ข. ท่านเอกอนกล่าวไว้ว่า

คือ ทาน เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดการเอาออก การละ คลายความตะหนี่ คลายความเห็นแก่ตัว
ส่วน ศีล เป็นเครื่องที่ทำให้เราเป็นผู้อยู่ง่าย
ทำให้การรักษาตนให้ถึงซึ่ง กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ก็เป็นไปโดยลำดับ
ซึ่ง โลกธรรม ก็ดำเนินไปนั่นล่ะ แต่ไม่เป็นภัยกับเรา
คือจะมีลาภ เสื่อมลาภ
มียศ เสื่อมยศ
มีชื่นชม มีนินทา
ก็มีสุข ทุกข์เวียนวนไปกับมันนั่นล่ะ แต่สิ่งเหล่านั้นไม่เป็นภัยกับเรา

ก็น่าจะเป็นว่า ศีล ทำให้ โลกธรรมไม่เป็นภัยกับเรา
ส่วนโลกธรรม ก็น่าจะเป็นเหมือนสนามฝึกวิทยายุทธ ที่จะทำให้ ศีลมีความคล่องแคล่ว มั่นคงขึ้น

แต่สำหรับผู้ปฏิบัติที่เขาฝึกจิตเขาก็น่าจะได้เห็นว่าโลกธรรมมันเป็นของชั่วคราว
ซึ่งเมื่อโลกธรรมใดปรากฏ ผู้ปฏิบัติก็เท่าทันและสำรวมใจไว้แล้ว

ทุกอย่างล้วนเป็นเพียงสิ่งที่ผ่านมาเพียงชั่วคราว ...

------------------------------------------------------------------------------------

ค. ผมกล่าวไว้ว่า

- เพราะเอาใจเข้ายึดครองโลกธรรม ๔ ฝ่ายข้างเจริญ มันทำให้เกิด..ความเร่าร้อน กระหายได้ครอบครอง อิจฉา ริษยา อภิชฌา โทมนัส จึงแสวงหาสิ่งที่ใจเข้ายึดครองแล้วไม่มีโทษ ไม่มีภัย ไม่เป็นทุกข์ จึงทำจิตให้ผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน
- เพราะเห็นโลกธรรม ๔ ฝ่ายข้างเสื่อม มันไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ตายไปก็เอาไปด้วยไม่ได้ ยึดกอดไว้ก็มีแต่ทุกข์เร่าร้อนกายใจ จึงแสวงหา "อริยะทรัพย์" พิจารณาธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ ยังจิตให้ผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน

-----------------------------------------------------------------------------------


คำถามที่ (7.Ω) ถามท่านเอกอน ท่านอ๊บ นะครับว่า..

๑. เห็นอะไรที่แตกต่างกันครับ เรื่องมุมมอง การน้อมมาสู่ตน การเจริญ การมนสิการ เข้าทาน ศีล ภาวนา ในโลกธรรม ๘ ของเรา ๓ คน

๒. เห็นอะไรที่เหมือนกันครับ เรื่องมุมมอง การน้อมมาสู่ตน การเจริญ การมนสิการ เข้าทาน ศีล ภาวนาในโลกธรรม ๘ ของเรา ๓ คนครับ

๓. ทำไมแต่ละคนถึงกล่าวถึง มุมมอง วิธีน้อมมาสู่ตน วิธีเจริญ วิธีมนสิการ เข้าทาน ศีล ภาวนาในโลกธรรม ๘ แบบนั้น


คำถามนี้สำคัญมากนะครับ มาตอบทั้ง ๒ ท่านด้วยครับ อิอิ


.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 67 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร