วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 18:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2019, 16:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:

คำถามที่ (7.Ω) ถามท่านเอกอน ท่านอ๊บ นะครับว่า..

๑. เห็นอะไรที่แตกต่างกันครับ เรื่องมุมมอง การน้อมมาสู่ตน การเจริญ การมนสิการ เข้าทาน ศีล ภาวนา ในโลกธรรม ๘ ของเรา ๓ คน

๒. เห็นอะไรที่เหมือนกันครับ เรื่องมุมมอง การน้อมมาสู่ตน การเจริญ การมนสิการ เข้าทาน ศีล ภาวนาในโลกธรรม ๘ ของเรา ๓ คนครับ

๓. ทำไมแต่ละคนถึงกล่าวถึง มุมมอง วิธีน้อมมาสู่ตน วิธีเจริญ วิธีมนสิการ เข้าทาน ศีล ภาวนาในโลกธรรม ๘ แบบนั้น


คำถามนี้สำคัญมากนะครับ มาตอบทั้ง ๒ ท่านด้วยครับ อิอิ



ข้อ 1. เอกอนเห็นว่าต่างคนต่างก็แสดงถึงการเห็นคุณแห่งการเจริญไปในธรรมอันเป็นกุศลน่ะ

ข้อ 2. เอกอนเห็นอ๊บซ์ กับ อากาศ มีแบบแผนในการเจริญธรรมอันเป็นกุศลน่ะ
คือมีการเจริญอย่างเป็นรูปแบบ ดูมีรูปแบบการศึกษาธรรมจากครูบาอาจารย์
การแสดงอะไรออกมาดูจะมีความละเอียดละออ และมีหลักการ
ดูมีการฝึกฝนเรียนรู้อย่างมีแบบแผนน่ะ
ส่วนเอกอน เหมือนเป็นการเจริญธรรมมาแบบ เป็นการปลูกฝังมาแบบชาวบ้าน ๆ น่ะ
เหมือนตาสีตาสาสอนลูกน่ะ แต่เป็นการนำ ธรรมแบบชาวบ้านมาใช้กับชีวิตประจำวันจริง ๆ
ซึ่งแม้ไม่มีความรู้ทางตำรามากนัก แต่การเจริญในธรรมมันเป็นไปโดยลำดับเอง
แบบน้ำซึมบ่อทราย ... :b32: ... เดาไปโน่น :b32:

ข้อ 3. ทั้งอากาศ และ อ๊บซ์ ต่างเป็นผู้ที่มีความรู้ มีการศึกษา
มีการเข้าหาครูบาอาจารย์ ที่ให้ธรรมชี้แนะ แนะนำ สั่งสอน
หรือมีครอบครัวที่เป็นผู้รักการปฏิบัติธรรม จึงมีการเจริญในธรรมที่เป็น step ชัดเจน
ส่วนเอกอน :b9: ... มาแบบลูกทุ่ง ๆ น่ะ :b32:

แต่ทั้งหมดก็ดูจะไหลลงไปในเส้นทาง ทาน ศีล ภาวนา

ดูทุกคนจะเห็นโทษ และเห็นแววของความ หน่าย ความคลายกำหนัด

:b9: ไม่รู้สิ่ มันก็เห็นความต่างและความเหมือนมากมายนะ
แต่ตามประสาเอกอน เอกอนถนัดแต่ไหลไปเรื่อย จับออกมาเป็นประเด็นไม่ค่อยถนัด

:b16: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2019, 17:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:

คำถามที่ (7.Ω) ถามท่านเอกอน ท่านอ๊บ นะครับว่า..

๑. เห็นอะไรที่แตกต่างกันครับ เรื่องมุมมอง การน้อมมาสู่ตน การเจริญ การมนสิการ เข้าทาน ศีล ภาวนา ในโลกธรรม ๘ ของเรา ๓ คน

๒. เห็นอะไรที่เหมือนกันครับ เรื่องมุมมอง การน้อมมาสู่ตน การเจริญ การมนสิการ เข้าทาน ศีล ภาวนาในโลกธรรม ๘ ของเรา ๓ คนครับ

๓. ทำไมแต่ละคนถึงกล่าวถึง มุมมอง วิธีน้อมมาสู่ตน วิธีเจริญ วิธีมนสิการ เข้าทาน ศีล ภาวนาในโลกธรรม ๘ แบบนั้น


คำถามนี้สำคัญมากนะครับ มาตอ

บทั้ง ๒ ท่านด้วยครับ อิอิ



ข้อ 1. เอกอนเห็นว่าต่างคนต่างก็แสดงถึงการเห็นคุณแห่งการเจริญไปในธรรมอันเป็นกุศลน่ะ

ข้อ 2. เอกอนเห็นอ๊บซ์ กับ อากาศ มีแบบแผนในการเจริญธรรมอันเป็นกุศลน่ะ
คือมีการเจริญอย่างเป็นรูปแบบ ดูมีรูปแบบการศึกษาธรรมจากครูบาอาจารย์
การแสดงอะไรออกมาดูจะมีความละเอียดละออ และมีหลักการ
ดูมีการฝึกฝนเรียนรู้อย่างมีแบบแผนน่ะ
ส่วนเอกอน เหมือนเป็นการเจริญธรรมมาแบบ เป็นการปลูกฝังมาแบบชาวบ้าน ๆ น่ะ
เหมือนตาสีตาสาสอนลูกน่ะ แต่เป็นการนำ ธรรมแบบชาวบ้านมาใช้กับชีวิตประจำวันจริง ๆ
ซึ่งแม้ไม่มีความรู้ทางตำรามากนัก แต่การเจริญในธรรมมันเป็นไปโดยลำดับเอง
แบบน้ำซึมบ่อทราย ... :b32: ... เดาไปโน่น :b32:

ข้อ 3. ทั้งอากาศ และ อ๊บซ์ ต่างเป็นผู้ที่มีความรู้ มีการศึกษา
มีการเข้าหาครูบาอาจารย์ ที่ให้ธรรมชี้แนะ แนะนำ สั่งสอน
หรือมีครอบครัวที่เป็นผู้รักการปฏิบัติธรรม จึงมีการเจริญในธรรมที่เป็น step ชัดเจน
ส่วนเอกอน :b9: ... มาแบบลูกทุ่ง ๆ น่ะ :b32:

แต่ทั้งหมดก็ดูจะไหลลงไปในเส้นทาง ทาน ศีล ภาวนา

ดูทุกคนจะเห็นโทษ และเห็นแววของความ หน่าย ความคลายกำหนัด

:b16: :b9: :b9:


[----------------------------------------------------------------------------------]


หูยๆๆ กล่าวเกินไปแล้ว ท่านเอกอนเองก็รู้เยอะถึงเยอะ ท่านอ๊บก็เก่ง ผมอะของปลอม ในส่วนของผมที่มองนะ ผมมองอีกอย่างอะว่า..


[----------------------------------------------------------------------------------]


ท่านกบ

๑. กล่างถึง ความอยาก
- เพราะมันเป็นของล่อใจภายนอก จึงอยากทำให้มีภายใน
- เพราะเสื่อม หรือเพราะไม่มี และยังต้องการใช้จ่ายทั้งตามความจำเป็นต้องใช้ที่ใจคิดว่าเพียงพอ จึงอาศัยอานิสงส์เพื่อจะมี จึงกล่าวในตัณหาละตัณหา

๒. ผมมองว่า ท่านกบก็มีกินมีใช้ไม่ลำบาก แต่เห็นความไม่ยั่งยืนในสิ่งล่อใจ และ ความต้องการที่จะมีใช้ดำรงชีพได้เพียงพอดังต้องการไม่ลำบากตน


[----------------------------------------------------------------------------------]


ท่านเอกอน

๑. กล่าวถึง ปรกติพบเจอทั่วไป ของโลก
- เพราะอยากจึงแก่งแย่งช่วงชิงกัน จึงกล่าวถึง กลัวไม่ความปลอดภัย จึงทำเพื่อความสบายใจ และเป็นเกราะป้องกันภัย
- เพราะมันแค่ของชั่วคราวจึงกล่าวถึงความไม่หวั่นไหว ปล่อย ละ วาง

๒. ผมมองว่า เพราะท่านเอกอนมีอยู่แล้วไม่ดิ้นรนมาก ไม่ลำบากการอยู่การกิน แต่เห็นความอยาก ความเบียดเบียนกัน และความไม่ยั่งยืน ทั้งทุกข์ในความโหยหาจากการสูญเสีย


[----------------------------------------------------------------------------------]


.ผมกล่าวถึง

๑. ความหลง
- เพราะหลงจึงนำทุกข์มาให้ จึงทำเพื่อละหลงให้ตนไม่มุกข์ร้อนและอิ่มเป็น
- เพราะมันเสื่อมไม่ยั่งยืน หลงโหยหาแล้วเป็นทุกข์ จึงทำสิ่งที่เป็นสุขที่เนื่องด้วยใจที่ยั่งยืน

๒. ส่วนผมก็มีบ้าง อิ่มพอบ้าง อดบ้าง อยากได้บ้าง สบายบ้าง ลำบากบ้าง(จึงรู้จักทั้งความมีและความไม่มี ToT) แต่เห็นทุกข์จากความหลงเกินประโยชน์ความจำเป็นต้องมีต้องใช้(ยังจำเป็นต้องใช้ดำรงชีพอยู่ ยังดิ้นรนอยู่ แต่เห็นโทษและทุกข์ในความหมกมุ่นกระหายเสพย์ จึงน้อมลงธรรมเพื่อลด ปล่อย ละ วาง กามคุณ ๕) และ ความเสื่อม ไม่ใช่ตัวตน(เพราะบังคับให้มันเกิดมีแก่เราและติดตามเราไปทุกภพชาติไม่ได้)


[----------------------------------------------------------------------------------]


๓. นี่เห็นได้ถึงฐานะ จริตนิสัยเลยนะ แค่คำถามข้อเดียว และยังได้รู้ว่าสภาวะของแต่ละคนต่างกัน เพราะได้รับอานิสงส์ผลบุญมาต่างกัน ทำให้คนเราจึงมีไม่เท่ากัน ดังนั้นการแสดงธรรมให้คนที่ในสภาพฐานะความเป็นอยู่ นิสัยต่างกัน เราก็ต้องมีธรรมชักจูงเขาต่างกันตามจริตเขาไป


[----------------------------------------------------------------------------------]


คำถามข้อนี้มันปัญญาล้วนๆนะครับ ลองมองนอกกรอบเรื่องราวสิครับ ลองเปลี่ยนวิธีคิด คิดแบบพระอริยะสัจ ๔

๑. ที่เขาพูดแบบนั้นเพราะเขามีความรู้สึกอย่างไรอยู่ พูดเพื่ออะไร จะสื่ออะไร หรือสื่อถึงสิ่งใด
๒. มีเหตุปัจจัยในความเป็นมาอย่างไร หรือ ความต้องการของใจเขาคืออะไร จึงทำให้เขาพูดออกมาอย่างนั้น
๓. ผลจากคำพูดเขานั้นน้อมเป็นไปในทิศทางใด
๔. มีเหตุปัจจัยแนวทางให้สืบต่อไปสู่ผลตามทิศทางนั้นๆอย่างไรบ้าง

$$ ระดับผู้บริหารยังรู้ไม่ได้แบนักปฏิบัติธรรมเลยนะครับ อิอิ ถ้าเราใช้ปัญญาแก้ปัญหา ไม่ใช้ความรู้สึก $$



[----------------------------------------------------------------------------------]

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 03 ม.ค. 2019, 17:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2019, 17:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:

เห็นอีกอย่างที่เหมือนกัน การไม่ยกตนข่มท่าน

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2019, 17:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b32: :b32: :b32:

เห็นอีกอย่างที่เหมือนกัน การไม่ยกตนข่มท่าน

:b32: :b32: :b32:



Kiss Kiss Kiss

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2019, 17:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:


คำถามข้อนี้มันปัญญาล้วนๆนะครับ ลองมองนอกกรอบเรื่องราวสิครับ ลองเปลี่ยนวิธีคิด คิดแบบพระอริยะสัจ ๔

๑. ที่เขาพูดแบบนั้นเพราะเขามีความรู้สึกอย่างไรอยู่ พูดเพื่ออะไร จะสื่ออะไร หรือสื่อถึงสิ่งใด
๒. มีเหตุปัจจัยในความเป็นมาอย่างไร หรือ ความต้องการของใจเขาคืออะไร จึงทำให้เขาพูดออกมาอย่างนั้น
๓. ผลจากคำพูดเขานั้นน้อมเป็นไปในทิศทางใด
๔. มีเหตุปัจจัยแนวทางให้สืบต่อไปสู่ผลตามทิศทางนั้นๆอย่างไรบ้าง

$$ ระดับผู้บริหารยังรู้ไม่ได้แบนักปฏิบัติธรรมเลยนะครับ อิอิ ถ้าเราใช้ปัญญาแก้ปัญหา ไม่ใช้ความรู้สึก $$


[----------------------------------------------------------------------------------]


นี่คำถามอีกข้อแล้วใช่มั๊ยยยย

:b32: :b32: :b32:

ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

คือจริง ๆ พูดเรื่องธรรมนั้นยาววววว :b1:

ค่อย ๆ ว่าไปแบบไม่มีลำดับละกัน :b32: :b32: :b32:

แต่ กระทู้นี้ต้องยอมรับว่า การสนทนาดำเนินมาได้ด้วยดี
ผู้สนทนาแต่ละคนต่างรักษาสภาพแวดล้อมการสนทนา ประคองการสนทนา

เหมือน บัณฑิต พึงสนทนากัน

แม้เอกอนมีความรู้น้อย แต่ อ๊บซ์ กับ ผักกาด ก็ไม่เคยยกภูมิธรรมมาข่มเอกอน
มีการถ้อยทีถ้อยอาศัย การสนทนาที่อัตตาไม่ล้ำหน้า
คือ ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่สนทนาในที่นี้ จะไม่เหลืออัตตา
เพียงแต่ เป็นการสนทนาที่เราต่างไม่เอาอัตตามาเข่นกัน
ต่างฝ่ายต่างสนทนาด้วยความเคารพในกันและกัน ให้เกียรติกัน รับฟัง เปิดใจ เข้าใจ
ฯลฯ
ทำให้การสนทนาเป็นไปอย่างค่อนข้างราบรื่น และเป็นมิตร

:b1:

ดังนั้น ประการ 1 คือ อัตตา ยังความเดือดร้อน นั่นก็สมเหตุสมผลด้วยประการฉะนี้

:b16:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 03 ม.ค. 2019, 18:21, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2019, 18:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:


คำถามข้อนี้มันปัญญาล้วนๆนะครับ ลองมองนอกกรอบเรื่องราวสิครับ ลองเปลี่ยนวิธีคิด คิดแบบพระอริยะสัจ ๔

๑. ที่เขาพูดแบบนั้นเพราะเขามีความรู้สึกอย่างไรอยู่ พูดเพื่ออะไร จะสื่ออะไร หรือสื่อถึงสิ่งใด
๒. มีเหตุปัจจัยในความเป็นมาอย่างไร หรือ ความต้องการของใจเขาคืออะไร จึงทำให้เขาพูดออกมาอย่างนั้น
๓. ผลจากคำพูดเขานั้นน้อมเป็นไปในทิศทางใด
๔. มีเหตุปัจจัยแนวทางให้สืบต่อไปสู่ผลตามทิศทางนั้นๆอย่างไรบ้าง

$$ ระดับผู้บริหารยังรู้ไม่ได้แบนักปฏิบัติธรรมเลยนะครับ อิอิ ถ้าเราใช้ปัญญาแก้ปัญหา ไม่ใช้ความรู้สึก $$


[----------------------------------------------------------------------------------]


นี่คำถามอีกข้อแล้วใช่มั๊ยยยย

:b32: :b32: :b32:



เปล่าๆครับแค่วิธีที่ผมมองการพูดจาของอีกฝ่ายในแบบธรรมครับ ในคำถามข้อ 7.Ω ครับ

ส่วนข้อที่ ๘ กำลังตามมาเร็วๆนี้ครับ อิอิ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2019, 19:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:


คำถามข้อนี้มันปัญญาล้วนๆนะครับ ลองมองนอกกรอบเรื่องราวสิครับ ลองเปลี่ยนวิธีคิด คิดแบบพระอริยะสัจ ๔

๑. ที่เขาพูดแบบนั้นเพราะเขามีความรู้สึกอย่างไรอยู่ พูดเพื่ออะไร จะสื่ออะไร หรือสื่อถึงสิ่งใด
๒. มีเหตุปัจจัยในความเป็นมาอย่างไร หรือ ความต้องการของใจเขาคืออะไร จึงทำให้เขาพูดออกมาอย่างนั้น
๓. ผลจากคำพูดเขานั้นน้อมเป็นไปในทิศทางใด
๔. มีเหตุปัจจัยแนวทางให้สืบต่อไปสู่ผลตามทิศทางนั้นๆอย่างไรบ้าง

$$ ระดับผู้บริหารยังรู้ไม่ได้แบนักปฏิบัติธรรมเลยนะครับ อิอิ ถ้าเราใช้ปัญญาแก้ปัญหา ไม่ใช้ความรู้สึก $$


[----------------------------------------------------------------------------------]


นี่คำถามอีกข้อแล้วใช่มั๊ยยยย

:b32: :b32: :b32:

ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

คือจริง ๆ พูดเรื่องธรรมนั้นยาววววว :b1:

ค่อย ๆ ว่าไปแบบไม่มีลำดับละกัน :b32: :b32: :b32:

แต่ กระทู้นี้ต้องยอมรับว่า การสนทนาดำเนินมาได้ด้วยดี
ผู้สนทนาแต่ละคนต่างรักษาสภาพแวดล้อมการสนทนา ประคองการสนทนา

เหมือน บัณฑิต พึงสนทนากัน

แม้เอกอนมีความรู้น้อย แต่ อ๊บซ์ กับ ผักกาด ก็ไม่เคยยกภูมิธรรมมาข่มเอกอน
มีการถ้อยทีถ้อยอาศัย การสนทนาที่อัตตาไม่ล้ำหน้า
คือ ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่สนทนาในที่นี้ จะไม่เหลืออัตตา
เพียงแต่ เป็นการสนทนาที่เราต่างไม่เอาอัตตามาเข่นกัน
ต่างฝ่ายต่างสนทนาด้วยความเคารพในกันและกัน ให้เกียรติกัน รับฟัง เปิดใจ เข้าใจ
ฯลฯ
ทำให้การสนทนาเป็นไปอย่างค่อนข้างราบรื่น และเป็นมิตร

:b1:

ดังนั้น ประการ 1 คือ อัตตา ยังความเดือดร้อน นั่นก็สมเหตุสมผลด้วยประการฉะนี้

:b16:




เหอๆๆท่านเอกอนถล่มตัวเกินไปแระครับ ท่านเอกอนอะรู้เยอะ เก่ง ผมยังต้องขอคำชี้แนะจากท่านและความกรุณาจากท่านอีกมาก
..ผมแค่คนไม่รู้ธรรม ไม่ถึง จะเอาอะไรพูดข่มเขา มีแต่ต้องขอความกรุณาจากทุกท่านครับ เมตตานู๋ด้วย นู๋จะเป็นเด็กดี Kiss Kiss Kiss ท่านอ๊บป่านนี้ไปหาหลวงพ่อครูบาอาจารย์แระมั้ง ..ปีใหม่


ชอบคำนี้ท่านเอกอนมองธรรมสวยมากที่ว่า.. "อัตตายังความเดือดร้อน นั่นก็สมเหตุสมผลอยู่ด้วยประการฉะนี้"
:b35: :b35: :b35:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2019, 09:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลังจากที่เราสนทนาธรรมกันเรื่อง พรหมวิหาร ๔ ทาน ศีล ทั้งภายใน และภายนอกตนแล้ว ซึ่งจำแนกได้ว่า

1. ภายในตน เราพึงทำความรู้ทุกข์ที่เกิดมีในกายใจตน ความอยากอยู่อย่างปรกติสุขเย็นใจไม่เร่าร้อน อานิสงส์ของการเจริญปฏิบัติใน พรหมวิหาร ๔ ทาน ศีล ทำความเข้าใจในอามิสเครื่องล่อใจว่า ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เป็นทุกข์ ซึ่งจะทำได้ไม่ยากเพราะเราจะรู้ใจตนว่าอันไหนทุกข์ อันไหนไม่ทุกข์ พร้อมทั้งอานิสงส์

2. ภายนอกตน เรารู้ว่าเรามีทาน ศีลได้อย่างไร อาศัยธรรมจริง คือ โลกธรรม ๘ กรรม วิบากกรรม หิริ โอตัปปะ ตัณหาละตัณหา(อานิสงส์การเจริญปฏิบัติ เป็นอริยะทรัพย์)
.. ที่ยกโลกธรรม ๘ ก่อนเรื่องกรรมนี้ เพราะว่า..บางคนรู้ว่าเสื่อม ความไม่ติดตามไปด้วยเมื่อตายก็จริง รู้ว่ามีคู่กันคือมีได้มีเสีย แต่เขาหาได้ไม่ยาก ไม่ลำบาก เพราะมีฐานะดี โภคทรัพย์สมบัติดีหมด จึงต้องซ้อนด้วยกรรมในภายหลัง ให้เขากำหนดรู้ทุกข์ในปัจจุบันเป็นต้น จนถึงกรรมสืบต่อ (เหมือนที่ผมถามท่านเอกอนว่ามีอะไรที่ต่างกันบ้างระหว่างคำตอบของเรา 3 คน เพื่อให้มองจุดนี้แหละครับ) จากนั้นตามด้วยอานิสงส์ คือความ อิ่มใจ เย็นใจ ความไม่มีใจเร่าร้อนมัวหมองเศร้าหมองในภายหลัง

.. อภิชฌา และ โทมนัส นี้.. โดย .."อภิชฌา" เป็นความอยากเพ่งภัณฑะเขา อยากได้ของเขา เพราะต้องตาต้องใจ ตราตรึงใจ ติดตรึงใจ เพลิดเพลิน อยาก กระหายเสพย์ใคร่ครอบครอง อิ่มไม่เป็น และ .. "ความโทมนัส" แปลตรงๆก็เสียใจ แปลในศีลผมแปลเข้าความหมายที่ว่า..ความไม่ปรกติของใจ คือ มีใจเศร้าหมองคือใจมีกิเลสความเร่าร้อน เพราะชังบ้าง ริษยาบ้าง เห็นเขาดีกว่าตนไม่ได้ ไม่ยินดี อัดอั้นคับแค้นกายใจบ้าง ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ร่ำไร รำพัน รู้สึกขาดโหยหา ทั้งหมดนี้เป็นสภาวะที่ทนอยู่ได้ยาก ถึงคำแปลจะต่างแต่ทั้งหมดที่แปลนี้ก็สงเคราะห์ลงที่ไม่สบายใจ เพราะไม่สบายใจ เสียใจ "ก็ทำให้ใจก็ไม่เป็นปรกตินั่นเอง" ผมจึงกล่าวว่าศีลไม่ใช่อะไรปรกติทั้งนั้น มันหมายถึงใจเรานี้แหละปรกติ ข้อนี้เรารู้ได้ด้วยตัวเองหากศีลลงใจ ไม่มีครูบาอาจารย์ท่านสอน ท่านจะสอนแค่ว่า ศีล คือ ความปรกติ ส่วนอะไรที่ปรกติคนมีศีลจะรู้ได้เอง เพราะคนที่เจริญศีลไม่ได้จะท่องจำกันมาเพราะเห็นว่าศีลคือกายและวาจา ความปรกติของเขาจึงตีความเป็น มีกายและวาจาปรกติเป็นต้น ยกตัวอย่าง..เหมือนเวทนานุปัสสนาและพระพุทธเจ้าตรัสสอนทางวิธีพิจารณาไม่ขยายความมาก แต่คนปฏิบัติถึงได้จะรู้ว่าคืออะไร เพราะเป็นคำตอบของผู้ปฏิบัติเท่านั้นที่จะรู้ได้ ต่างกับใบลานเปล่าที่ไม่อาจจะรู้ได้เกินตัวหนังสือ

.. ดังนี้การเผยแพร่ธรรมกับผู้อื่นว่านี้ธรรมของพระพุทธเจ้า พวกเธอจงมาดูเถิด ไม่ใช่ไปท่องจำอภิธรรมไปโม้ให้เขาฟัง ไม่ใช่เพียงบอกเขาว่ามันดีจงมาดูเถิด แต่การจะบอกเขาได้ เริ่มแรกเราต้องรู้สภาวะความเป็นอยู่ของเขา จริตนิสัยเขา สิ่งที่เขารัก สิ่งที่เขาชัง สภาพจิตใจเขาในขณะนั้นๆเพื่อจะสื่อถึงใจเขา ความเชื่อเก่าก่อนของเขา ความเชื่อที่มีต่อพระพุทธศาสนาของเขา กล่าวสิ่งที่เขาลูบคลำได้จริง สัมผัสได้ด้วยตนเอง ความ้เป็นเหตุเป็นผล สมเหตุ สมผล ทลทวนตรวจสอบได้จริง (เหมือนที่ผมถามท่านเอกอนว่ามีอะไรที่ต่างกันบ้างระหว่างคำตอบของเรา 3 คน เพื่อให้มองจุดนี้แหละครับ ถ้าลองเอาของเราทั้ง 3 คนมารวมกัน มันจะเป็นธรรมที่ครบพร้อมเลยใน 3 ฐานะ ไม่เชื่อลองดูสิ :b18: :b18: :b16: :b16: )

"ความเสื่อม" (เห็นตรงกัน) -> ..
..> "ไม่ใช่ตัวตน" (เห็นตรงกัน) -> ..
..> "เป็นทุกข์เร่าร้อน และความเบียดเบียนกัน" (เห็นตรงกัน) -> ..
..>
[
"อามิส (ท่านอ๊บ) + "ความอยากในอานิสงส์" (ท่านอ๊บ) + "ความปลอดภัย" (ท่านเอกอน) + "ความไม่หวั่นไหว" (ท่านเอกอน) + "ความหลง" (ของผม) + "ความไม่ปรกติของใจ" (ของผม) + "ความอุ่นใจ" (ของผม)"]


** สังเกตุมั้ยครับว่า..มันลำดับกันได้ เกื้อหนุนกัน เห็นเลยว่าแต่ละสถานะภาพความเป็นอยู่และจริตจะให้ความรู้สึกมุมมองที่ต่างกัน แต่มีส่วนที่เหมือนกัน และเอาในมุมมองของแต่ละฝ่ายสงเคราะห์รวมกันได้ เห็นประโยชน์สูง เพราะเราแค่ปัถุชนกันก็รู้กันคนละเล็กละน้อย ถ้าเอามารวมกันมันก็มีคุณสูง ..ดังนี้

.. ข้อนี้..แม้ในทางโลกที่ทำงาน เราก็เอาไปใช้ได้นะครับ เขาเรียก พุทธบริหาร พุทธเศรษฐศาสตร์ มีเศรษฐกิจพอเพียงเป็นต้นนั่นแลที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทำให้ดู นั่นคือ จรณะ ๑๕ ล้วนๆ ที่เข้าสู่อิทธิบาท ๔


[-----------------------------------------------------------------------]


ดังที่เห็นว่าการสนทนาธรรมขอเราในกระทู้นี้ มันปัญญาล้วนๆ แค่ ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ ยังมีค่ามากเพียงนี้ นี่ยังไม่เข้าถึงปัญญาญาณเลยนะ พระพุทธเจ้าทรงมีพระปัญญาเลิศล้ำเพียงใดเรารู้ได้เลย

ต่อมา..เรามาเรื่องอบรมจิตกันต่อครับ จะขอยกกรรมฐานเป็นบางข้อในคำถาม อาจจะมีเคยถามไปแล้วครับ เอาอนุสสติ ๖ กับ อานาปานสติ และ อุปสมานุสสติ ละกันครับเพราะขาดไม่ได้เป็นกรรมฐานของพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสรู้ อิอิ


คำถามที่ ๘ ถามว่า..จาก พรหมวิหาร ๔ มาทาน มาศีล เราเอาข้ากรรรมฐานในอนุสสติ ๖ ยังไงได้บ้าง เจริญแบบใดได้บ้างครับ เราจะได้มาดูกันต่อว่าแต่ละอย่างเราเหมือนกันตรงไหน ต่างกันยังไง บ่งบอกถึงวิธีเจริญของแต่ละคน แล้วมันเกื้อหนุนกันยังไงในการปฏิบัติ
:b18: :b18: :b18:



อ้างคำพูด:
[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น
ผู้จำแนกธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต
สมัยนั้น จิตของพระอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้ม
รุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป
หลุดไปจากความอยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของ
เบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิต
ไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำธรรมานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์
ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น
ยิ่งกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำ
สังฆานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ฯลฯ
เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกใน
โลกนี้ ทำสีลานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของ
เราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำจาคานุสสติแม้นี้
ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราช
มีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่
เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัดดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหม
มีอยู่ เทวดาที่สูงกว่านั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเรามีอยู่ เทวดา
เหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด ด้วยสุตะเช่นใด ด้วยจาคะเช่นใด ด้วย
ปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเรา
ก็มีอยู่ ..ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็น
จิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก


ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ สัตว์บางพวกใน
โลกนี้ ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้แล ฯ


ขอขอบพระคุณที่มาจาก http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=7387&Z=7430

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 04 ม.ค. 2019, 14:11, แก้ไขแล้ว 27 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2019, 12:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามที่ 8 คงเป็นหมันแล้ว อิอิ


s002 s002 s002 s002 cry cry cry

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2019, 19:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:

ไม่หรอก

ก็คำถามยากอ่ะ

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2019, 22:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


งั้นแยกเป็นข้อๆละกันครับ

ข้อที่ ๘ ถามว่าเอาเมตตาลงพุทธานุสสติยังไง ยี่ ๒ กรรมฐารใน ๑ เดัยวเลยนะครับ


คำใบ้จากผม คือ พระพุทธคุณ ๓ ประการ ดังว่า..

พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว,
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ ;

โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน,
พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด ;

โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก ;

วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.


หรือหากมีทางอื่นที่ดีกว่าก็เชิญแบ่งปันกันครับ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 00:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
ข้อที่ ๘ ถามว่าเอาเมตตาลงพุทธานุสสติยังไง ยี่ ๒ กรรมฐารใน ๑ เดัยวเลยนะครับ
คำถามที่ ๘ ถามว่า..จาก พรหมวิหาร ๔ มาทาน มาศีล เราเอาข้ากรรรมฐานในอนุสสติ ๖ ยังไงได้บ้าง เจริญแบบใดได้บ้างครับ เราจะได้มาดูกันต่อว่าแต่ละอย่างเราเหมือนกันตรงไหน ต่างกันยังไง บ่งบอกถึงวิธีเจริญของแต่ละคน แล้วมันเกื้อหนุนกันยังไงในการปฏิบัติ
:b18: :b18: :b18:

งั้นแยกเป็นข้อๆละกันครับ
คำใบ้จากผม คือ พระพุทธคุณ ๓ ประการ ดังว่า..

[b]พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว,

พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ ;

โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน,
พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด ;

โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก ;

วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.

หรือหากมีทางอื่นที่ดีกว่าก็เชิญแบ่งปันกันครับ


จริง ๆ คำถามข้อนี้เป็นคำถามข้อที่ยากมากเลยนะ ... :b20: :b20: :b32: :b32:

เพราะเอกอนไม่เคยเจริญพุทธานุสติ อาจจะมีบ้างที่กำหนดลมหายใจเข้าออก
และบริกรรม พุธ-โธ แต่เอกอนทำอย่างนั้นไม่มากนัก

เพราะถ้าให้เริ่มต้นจริง ๆ
คนเรา ใกล้พระสงฆ์มากกว่าพระพุทธเจ้าเสียด้วยซ้ำ
ดังนั้น ความเลื่อมใส(ศรัทธา)ในพระสงฆ์ เคารพในพระสงฆ์น่าจะเป็นจุดเริ่มที่เข้าถึงง่ายอยู่
เหมือนกับพระสารีบุตร กับ พระอัสสชิ
และมีความเลื่อมใส(ศรัทธา)ในพระธรรม
แล้วจึงเลื่อมใส(ศรัทธา)ในพระพุทธ
:b1:

ถ้าพูดถึงศรัทธา ใครก็จะนึกถึงคำกล่าวง่าย ๆ ที่กล่าวกันได้ การกล่าวบูชาพุทธคณ
เมื่อใครกล่าวคำบูชาพุทธคุณ หมายว่า เป็นผู้มีศรัทธา ใช่ หรือ ไม่

ในมุมมองของเอกอน
เอกอนเห็นว่า ศรัทธาเป็นสิ่งที่อยู่ที่ใจ ไม่ได้อยู่ที่ วาจา กริยา
ให้ท่องจนปากฉีกถึงหู ก็ไม่ง่ายที่ปรากฏ ศรัทธา(เจตสิก)
สิ่งที่ยากคือ จะกระทำไว้ในใจอย่างไร จึงจะเกิด ศรัทธา

นึกถึงพระสารีบุตร แสดงว่าท่านต้องเป็นผู้มีปัญญาพอตัวนั่นล่ะ
ท่านต้องมีบางอย่างที่ตะหงิดอยู่ในใจ
จนกระทั่งพบพระอัสสชิ และเกิดชื่นชมในกริยาอาการของพระอัสสชิ
เมื่อชื่มชนจึงเข้าไปหา และได้เกิดความเลื่อมใส และได้ฟังธรรม
ก็ปิ๊ง เลื่อมใสในธรรม และจึงมุ่งมั่นไปพบพระพุทธองค์
และได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ จึงเลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธองค์
ลำดับศรัทธาลงใจมันเป็นเช่นนั้น
แม้กระนั้น ตอนนั้นยังไม่มีบทบูชาพุทธคุณ ก็ตาม

นั่นคือ ลักษณะการปรากฏ ศรัทธา ที่เป็น ศรัทธา จริง ๆ

ลักษณะของ ศรัทธา ที่เป็นกำลังอันเป็นคุณต่อการเจริญในธรรม คือ
การที่ตัวเราเหมือนกับเสือที่หมอบราบคาบสิ้นลายแทบเท้านั่นล่ะ
ไม่ใช่ กริยาการกราบพระพุทธรูป 3 ครั้ง ที่เราทำทุกวัน (ถ้าทำนะ :b32:)

ซึ่งการเจริญพุทธานุสติ ก็เป็นอุบายในการเวียนย้ำใจ เพื่อย้ำให้เกิดศรัทธา

ซึ่งเอกอนไม่ได้เจริญมาทางพทุธานุสติ
แต่เอกอนลำดับจะเหมือนกับพระสารีบุตร
ตรงที่พื้นฐานชีวิตมีการเจริญในธรรมมาลำดับหนึ่ง
เมื่อเจอครูบาอาจารย์ ก็เกิดเลื่อมใสในครูบาอาจารย์
และก็ศึกษาเบื้องต้นจากครูบาอาจารย์
และเมื่อธรรมเริ่มหยั่งลงลึกขึ้น ก็ยิ่งเลื่อมใส และน้อมไปในธรรมที่ยิ่งกว่า
จึงเห็นคุณค่าของพระธรรมคำสอน
และจึงมีจิตที่เลื่อมใสในพระพุทธองค์ อย่างสยบราบคาบ
อารมณ์ที่เราสยบราบคาบ จึงเป็น อารมณ์ที่ตราตรึง ชุ่มอยู่ในใจ
พุทธานุสติ ก็ดำเนินไป ศรัทธา ก็เป็นไป

ถ้าคนที่เคย บริกรรมบูชาพุทธคุณ
และถ้าคนนั้นเคยเกิดอาการ เสือสิ้นลาย สยบ หมอบราบคาบ
เขาจะรู้ว่า อารมณ์ทั้งสองที่ปรากฏนั้น ต่างกัน

และความก้าวหน้าในธรรมจะค่อย ๆ จะปรากฏแก่ผู้ หมอบราบคาบ อย่างค่อนข้างมีนัยยะสำคัญ

เพราะนั่น คือ สัทธาเจตสิก

คือ ศรัทธาจะเกิด ก็ต่อเมื่อ อารมณ์อันเป็นไปในทางเคลืบแคลงจะต้องดับไป
ซึ่งผู้ปฏิบัติไม่เท่าทันความเคลือบแคลงใจที่อยู่ภายในลึก ๆ หรอก เอกอนก็ไม่เท่าทัน
เพราะถ้าใช้ความคิดทบทวน ทุกคนจะหาความเคลือบแคลงไม่เจอ เอกอนก็หาไม่เจอ

แต่เมื่อ ใจมันสยบราบคาบต่อพระพุทธ
เมื่อนั่นมันก็ประจักษ์ของมันเองว่า ความเคลือบแคลงมันได้มลายไปหมดสิ้น

ผู้ปฏิบัติทุกคน ล้วนมีศรัทธา เป็นคำตอบที่คิดไว้ในใจ
แต่ ศรัทธาที่ใช่ คือ ศรัทธาที่ลงเส้น :b32:

:b12:

เหมือนจะไม่ได้ตอบคำถามเลย

:b32: :b32: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 06 ม.ค. 2019, 01:07, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 00:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เกี่ยวกับการตอบ

:b1: แต่เป็นอาหารเสริม... :b16: :b12:

Quote Tipitaka:
๖. พลสังยุต
ว่าด้วยพละ ๕

[๑๐๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ
สัทธาพละ ๑ วิริยพละ ๑ สติพละ ๑ สมาธิพละ ๑ ปัญญาพละ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ
๕ ประการ นี้แล.
[๑๑๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่า
ไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ อย่างไรเล่า
ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เจริญสัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญ
วิริยพละ ... สติพละ ... สมาธิพละ ... ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ อย่างนี้แล
ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
[๑๑๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อัน
เป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.
[๑๑๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล พละ ๕ เป็นไฉน? ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละ ... วิริยพละ ... สติพละ ... สมาธิพละ ปัญญาพละ อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ เหล่านี้
อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน
๕ เหล่านี้แล.
[๑๑๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่า
ไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๑๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ อย่างไรเล่า
ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เจริญสัทธาพละ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ...
ย่อมเจริญปัญญาพละ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็น
ที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไป
สู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
[๑๑๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็น
ส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน เหล่านี้แล.
[๑๑๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล พละ ๕ เป็นไฉน? ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด
มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ... ย่อมเจริญปัญญาพละ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะ
เป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด พละ ๕ เหล่านี้แล อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.
จบ พลสังยุต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 05:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
คำถามที่ ๘ ถามว่า..จาก พรหมวิหาร ๔ มาทาน มาศีล เราเอาข้ากรรรมฐานในอนุสสติ ๖ ยังไงได้บ้าง เจริญแบบใดได้บ้างครับ เราจะได้มาดูกันต่อว่าแต่ละอย่างเราเหมือนกันตรงไหน ต่างกันยังไง บ่งบอกถึงวิธีเจริญของแต่ละคน แล้วมันเกื้อหนุนกันยังไงในการปฏิบัติ
:b18: :b18: :b18:



eragon_joe เขียน:
:b32: :b32: :b32:

ไม่หรอก

ก็คำถามยากอ่ะ

:b32: :b32: :b32:


มันยาก..จริงจริง..นั้นแหละ.. :b32: :b32: :b32:

ก็จะหยิบ..จะจับ...จะเอาพรหมวิหาร..เอาเข้าอนุสติ..ก็หยิบจับไม่ได้.
.เลยไม่รู้จะเอาอะไร.เข้าไปในอะไรได้

:b13: :b13:

มันเป็นลักษณะ เป็นปัจจัยเกื้อหนุน..ให้น้อมไปได้ง่าย...ให้จิตมีสภาพเหมาะสมให้เกิดญาณของจิตเอง

แต่ตอนฝึกอนุสติ..ก็ทำตามอนุสติ...บทสวดเป็นบทให้ย้อนรำลึกถึงญาณ..ไม่ใช่เป็นบทเพื่อฝึก
(จริงจริง.ส่วนตัว.เป็นตอนไม่ฝึก...ตอนฝึกไม่เป็น.. :b9: :b9: )

ตอนจิตเข้าอนุสติ...ผมจะเป็นอย่างที่เอกอน.พูด..คือ..เข้าทางพระสงฆ์ก่อน..ที่เสียสละ..ฝึกฝนตนอย่างยากลำบากกว่าจะได้คำจริงสักคำมาบอกมาสอนเราเรา...เราเรานั่งฟังสบายๆง่ายๆ.. Kiss
เมื่อเห็นพระสงฆ์....จิตก็ควานหาว่า..แล้วพระสงฆ์มาจากใคร..เกิดได้อย่างไร?

ก็เห็น...พระสงฆ์เกิดจากธรรมขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า...

แล้วจิตจึงโน้นน้อมไปในอดีต2500 กว่าปี ไปหาพระพุทธเจ้า...ย้อนไปที่เจ้าชายสิทธัตถะ..ย้อนไปในทศชาติ...ย้อนจนไปถึงสุเมธดาบส..คำนึงถึงการไปได้แต่ไม่ไป...คำนึงถึงวลีบางวลีของสุเมธดาบส...ความยากลำบากตลอด 4 อสงไขย์แสนกัป..กว่าจะสะสมพลัง...ให้จิตมีกำลังสร้างศรัทธาแก่คนหูหนาตาบอดให้เกิดศรัทธาได้..ยอมมาฟังธรรมได้...เราเราก็แค่นั่งๆนอนๆ.รอ....ลำบากนิดๆหน่อยๆ..ก็เข้าถึงความจริงนั้นได้..ชุกมือเปิบ..กินข้าวอิ่มเหมือนกับพระองค์ได้.. :b2: :b2:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 09:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.. การศรัทธาด้วยปัญญานี้ พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าคือ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ศรัทธาจากอะไร เมื่อโอปนะยิโกพระธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือธรรมเทศนาของพระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยนี้แล้ว เราพึงพิจารณาเจริญปฏิบัติเข้ารู้เห็นตามจริง มีความตรึกตรองในขณะที่ตนอยู่ในสภาวะนั้นๆ(เข้าถึงจริงเห็นในสภาวะนั้นๆอยู่) ไม่ใช่คิดในสิ่งที่คนไม่เคยเห็นไม่รู้จริงหรืออ่านอ้างตำรามาแล้วอนุมานคิดตามไม่เคยได้สัมผัสเลย
.. ก็เมื่อใดที่เกิดเห็นชัดแจ้งว่า..นี่จริง พระพุทธศาสดาตรัสความจริง สอนความจริง เมื่อโอปนยิโกให้ผลใน ๓ ระดับ เป็นไปในขั้นต้น ท่ามกลาง และที่สุด นี่คือปัญญา นี่คือสิ่งที่ร้อน นี่คือสิ่งที่เย็น นี่คือทุกข์ นี่คือสุข นี่คืออกุศล นี่คือกุศลจริง ทานมีผลจริง ศีลมีผลจริง ภาวนามีผลจริงเป็นต้น ชนทั้งหลายจึงปลงใจตกลงใจเชื่อในพระพุทธเจ้าแล้วประกอบด้วย ทาน ศีล ภาวนา ทำบุญกริยาวัตถุ ๑๐ เป็นต้น นี่เรียกว่า ศรัทธาด้วยปัญญา คือ ศรัทธาพละ มีศรัทธาอันประกอบด้วยศีลเป็นผล ..นำไปสู่ วิริยะพละ ก็ด้วยวิริยะพละนี้ทำให้เกิดสติบริสุทธิ์ผุดผ่องตั้งมั่น เมื่อสติตั้งมั่นจิตก็ตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวได้นานตาม ก็ความเข้าไปแล้วในสิ่งนี้ อาศัยวิเวก อยู่แต่วิเวก จิตก็ดำเนินไปเพื่อรู้ชัดแทงตลอด เห็นของจริง นี่เป็นปัญญา
.. จิตทำความรู้อยู่ในสังขารุเปกขา เห็นไตรลักษณ์ ทำไว้ในใจโดยแยบคายในไตรลักษณ์ ถึงความสำรอกสละออก จิตเดินเข้ามรรคที่ยิ่งๆขึ้นจนสามัคคีกัน จิตทำกิจในพระอริยะสัจ ๔ เพื่อละสังโยชน์ เช่นความว่าคนทนอยู่ไม่ได้ ไม่ปรกติเป็นทุกข์ ว่าโดยย่อขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ กำหนดเข้ารู้เห็นจริงในขันธ์ ๕ ทุกข์นี้เรากำหนดรู้แล้ว ดังนี้เป็นต้น.. เกิดความสลดสังเวช ถึงความสละคืน สมดั่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาตรัสไว้ดีแล้ว งามแล้วนั้น
.. ธรรมแท้ไม่มีอะไรมากเกินไป ยากเกินไป ไม่มีอะไรง่ายเกินไป ไม่มีน้อยเกินไป เป็นความอยู่ในท่ามกลาง เป็นไปตามแต่ชนทั้งหลายสะสมเหตุให้เข้าถึงได้ บางคนไม่มีก็ต้องทำมาเพียรมาก บางคนมมีแล้วเพียรนิดหน่อยก็ได้ บางคนสะสมมากลสงๆก็เพิ่มอย่างละนิดละหน่อยก็ได้ ดังนี้จึงมี "อิทธิบาท ๔" ธรรมแห่งความสำเร็จ ดังนี้..

ตอนนี้เรากลับมาที่กรรมฐานเราต่อครับ จำแนกแยกเป็นข้อๆไปครับ

คำถามที่ ๘ เอาเมตตาลงในพุทธานุสสติยังไงครับ

อ้างคำพูด:
ข้อที่ ๘ ถามว่าเอาเมตตาลงพุทธานุสสติยังไง นี่ ๒ กรรมฐารใน ๑ เดัยวเลยนะครับ

คำใบ้จากผม คือ พระพุทธคุณ ๓ ประการ ดังว่า..

พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว,
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ ;

โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน,
พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด ;

โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก ;

วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.


หรือหากมีทางอื่นที่ดีกว่าก็เชิญแบ่งปันกันครับ



ท่านเอกอนลองดูคำแปลสิครับ สังเกตุดูว่าความหมายหมายถึงอะไร พระพุทธคุณ ๓ ใช่ไหม แล้ว ๓ ข้อนั้นเป็นอย่างไรครับ เกี่ยวอะไรกับเมตตา พรหมวิหาร ๔ อันนี้เป็นกรรมฐานจากบทสวดมนต์เลยนะครับ จะได้รู้ว่าที่พระท่านบอกการสวดมนต์คือการภาวนา ไม่ใช่เพียงทำสติจดจ่ออยู่ในบทสวดมนต์เป็นอารมณ์เดียวได้นานเพื่อทำให้สติตั้งมั่น เกิดสมาธิเท่านั้น ท่านทำความแยบคายอย่างนี้แหละ

( ข้อนี้ไม่เคยมีครูบาอาจารย์สอนผมนะ ถ้าจะผิด ก็ผิดที่ผมคนเดียวไม่เกี่ยวกับ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ผมนอกคอกทำเอง เป็นการเจริญปฏิบัติตามบทสวดมนต์ให้ผลได้ของผมเองอาจจะผิดทางก็ได้พึงใช้วิจารณาญาณด้วย อย่าได้เชื่อผม Kiss Kiss Kiss
ก็ถ้าหากทำแล้วได้ผลจริง ขอให้ท่านทั้งหลายจงรู้ไว้เลยว่า นี่คือการโอปนยิโกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สามารถพลิกแพลงประยึุกต์ใช้ได้ไม่จำกัดกาล ไม่จำกัดคน ไม่จำกัดฐานะ วรรณะใด
- พระพุทธเจ้านั้นทรงบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑
- มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ ๑
- มีพระปัญญา คือ ญาณอันยิ่งไม่มีประมาณ ปหานสิ้นซึ่งกิเลสทั้งปวง ทรงจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ไพเราะทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด ๑
แม้ข้อธรรมนั้นดูเหมือนสั้น เหมือนเล็กน้อย แต่เมื่อโอปนยิโกแล้วย่อมประกอบไปด้วยคุณ ธรรมทั้งปวง สงฆ์สาวทั้งปวง เกิดมีได้เพราะพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จงเชื่อในพระรัตนตรัยด้วยปัญญาให้เข้าถึงได้เห็นรับรู้ได้จริงดังนี้..)

- พระอริยะสาวกทุกท่านจะรู้ว่า บทสวดมนต์ คือ กรรมฐานล้วนๆ, พระปริตร คือ คุ้มภัย มีผลอันเกิดจากทาน ศีล ภาวนาแล้วตั้งกระทำสัจจะอธิษฐานเป็นต้น ก็เป็นหนึ่งในอธิษฐานบารมี, พระสูตร คือ แนวทางเจริญปฏิบัติ
- เราจะเป็นปุถุชนที่เป็นกุลบุตรผู้ฉลาดที่กระทำตามสิ่งอันพระอริยะบรรลุบทอันกระทำแล้ว นี่เราจะเข้าใจเลยว่าทำไมหนอสมัยพุทธกาล พระอนุพุทธสาวกท่านเห็น อะไรก็เป็นธรรมไปหมด ถึงบรรลุธรรมได้ ทำไมมันง่ายขนาดนั้น :b18: :b18: :b18:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 43 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร