วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 09:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย. 2018, 07:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสุขเหนือกาล เมื่อเหนือการสนองความต้องการ

ในตอนก่อนโน้น ได้บอกความหมายของความสุขว่า คือ การได้สนองความต้องการ แต่ก็บอกไว้ด้วยว่า เป็นความหมายที่ไม่ครอบคลุม

ทำไมจึงไม่ครอบคลุม คือ ไม่ครอบคลุมทั้งหมด ถ้าใช้ภาษาทางพระ ก็อาจจะบอกว่า นั่นคลุมแค่ในระดับโลกิยะ แต่ความสุขยังมีเลยขึ้นไปอีก เป็นความสุขในระดับโลกุตระ พอพูดอย่างนี้ บางทีรู้สึกว่ายากไป

เพื่อให้ชัด ก็ต้องพูดถึงขั้นระดับของความสุขอีกครั้งหนึ่ง

@ ที่ผ่านมานั้น เราแบ่งความสุขเป็น ๒ ตามประเภทของความต้องการ

@ แต่ตอนนี้ ตรงข้ามกับ “ต้องการ” ยังมี “ไม่ต้องต้องการ” ก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงตอนนี้ ก็เลยต้องแบ่งขั้น หรือระดับของความสุข ขยายกว้างออกไปอีก เป็น ๒ ระดับใหญ่ และย่อย เป็น ๓ ขั้น คือ

ระดับ ๑. ความสุขที่เกิดจากการสนองความต้องการ

ก) ขั้น ๑ ความสุขเมื่อได้สนองตัณหา (ความสุขจากการสนองความต้องการที่เป็นอกุศล)

ข) ขั้น ๒ ความสุขเมื่อได้สนองฉันทะ (ความสุขจากการสนองความต้องการที่เป็นกุศล)

ระดับ ๒. ขั้น ๓ ความสุขที่ไม่ต้องสนองความต้องการ (ความสุขทุกกาล โดยไม่ต้องสนองความต้องการ)

จะเห็นว่า สุขระดับที่ ๒ หรือขั้นที่ ๓ ไม่เข้ากับความหมายที่ได้บอกไว้ คือ ความสุขที่ไม่ต้องขึ้นต่อการสนองความอยากใดๆ ไม่ต้องขึ้นต่อการสนองตัณหา และไม่ต้องขึ้นต่อการสนองฉันทะ เป็นความสุขที่ไม่ต้องขึ้นต่อการสนองความอยากใดๆ ไม่ต้องขึ้นต่อการสนองตัณหา และไม่ต้องขึ้นต่อการสนองฉันทะ เป็นความสุขที่เป็นอิสระ เพราะเป็นความสุขที่มีอยู่ในตัว เป็นคุณสมบัติภายใน มีอยู่เป็นประจำตลอดเวลา ไม่ต้องพึ่งพาการได้หรือการทำอะไรทั้งนั้น

ถ้าเราต้องสนองอะไร จึงจะได้ความสุข ก็แสดงว่าความสุขนั้นยังไม่มีอยู่ จึงต้องรอการได้สนอง ต้องหาบ้าง ต้องสร้างขึ้นมาบ้าง ก็ต้องทำให้มีขึ้นมาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ความสุขขั้นที่ ๓ นี้ มีเป็นคุณสมบัติในตัวอยู่แล้ว จึงไม่ต้องขึ้นต่อการสนอง ทั้งไม่ต้องหา และไม่ต้องสร้าง

ตรงนี้ ก็จะมีผู้สงสัยว่า ผู้ที่มีความสุขขั้นนี้ ไม่มีความต้องการอะไรเลยหรือ เป็นคนที่หมดความต้องการแล้วใช่ไหม หมดตัณหานั่นไม่ว่าอะไร แต่หมดฉันทะด้วย หรืออย่างไร

สงสัยอย่างนี้แล้ว ถามออกมา เป็นความดี เพราะจะได้รู้ชัดกันไป ก็ตอบว่า มี สิ ฉันทะน่ะ ท่านที่ถึงขั้นนี้แล้ว มีฉันทะอยู่เต็มที่ เพียงแต่ว่าความสุขของท่าน ไม่ต้องขึ้นกับการสนองฉันทะนั้นแล้ว

นี่คือข้อที่ขอย้ำ คือบุคคลผู้มีความสุขที่ไม่ขึ้นต่อการสนองทั้งตัณหา และฉันทะ โดยที่ผู้นั้นมีฉันทะอยู่เต็มเปี่ยมด้วย นี่แหละ คือ คนที่ได้พัฒนาความสุขมาครบจบแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กว่าจะพัฒนาชีวิตมาถึงขั้นนี้ได้ ก็มีแต่ฉันทะอย่างเดียว และยังอยู่เหนือฉันทะนั้นอีกด้วย

ยกตัวอย่างสูงสุด คือ พระพุทธเจ้า มีหลักว่า พระพุทธเจ้าทรงมีคุณสมบัติชุดหนึ่ง เรียกว่า พุทธธรรม ๑๘ ประการ ไม่ต้องแจกแจงว่ามีอะไรบ้าง เอาเฉพาะข้อที่ประสงค์ในที่นี้ คือ ข้อว่า พระพุทธเจ้า “ทรงมีฉันทะไม่ลดถอยเลย” (นตฺถิ ฉนฺทสฺส หานิ)

พอยกคุณสมบัติข้อนี้ขึ้นมา ก็เห็นชัดทันที พระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจมากมายแค่ไหน นั่นก็คือเป็นไปด้วยฉันทะ ซึ่งฉายออกมากับพระมหากรุณา พระพุทธเจ้า ไม่ทรงหยุดเลยตลอด ๔๕ พรรษา พูดอย่างภาษาชาวบ้านว่า นอนกลางดินกินกลางทราย เสด็จดำเนินไปทั้งวันทั้งคืน ไปบำเพ็ญพุทธกิจ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชาวโลก


เราพูดกันว่า พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจด้วยพระมหากรุณา และได้บอกแล้วว่า กรุณานั้นมีจุดเริ่มตั้งแต่จากฉันทะ และด้วยฉันทะ ก็ออกสู่ปฏิบัติการในการเสด็จไปทำงานสั่งสอน และไม่ว่าจะทรงปฏิบัติกิจอะไรๆ พระองค์ทรงมีฉันทะนั้นเต็มเปี่ยมเสมอไป ไม่รู้จักลดน้อยลง นี่คือพุทธธรรมอย่างหนึ่งใน ๑๘ ประการ

พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย มีฉันทะเต็มบริบูรณ์ แต่ความสุขของท่านไม่ขึ้นต่อการสนองฉันทะ คือ ท่านมีความสุขอยู่แล้วเป็นธรรมดาอย่างนั้นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในที่นี้ก็ได้จัดแบ่งความสุขเป็น ๓ ขั้น หรือ ๒ ระดับนี้แล้ว ถ้าจะเรียกสุข ๓ ขั้นนี้ เป็นภาษาง่ายๆ อาจเสนอคำทำนองต่อไปนี้ ท่านผู้ใดช่วยหาคำที่ชัดและถนัดกว่าได้ ก็ยิ่งดี

ความสุข ๓ อย่างนั้น คือ

๑. ความสุขที่ต้องหา ได้แก่ สุขแบบสนองตัณหา
๒. ความสุขที่สร้างเองได้ ได้แก่ สุขแบบสนองฉันทะ
๓. ความสุขที่มีในตัวทุกเวลา ได้แก่ สุขที่ไม่อาศัยการสนอง

ความสุขขั้นที่ ๑ คือ สุขด้วยการสนองตัณหา เรียกว่า ความสุขที่ต้องหา ก็เพราะว่า สิ่งเสพที่จะสนองตัณหานั้น เป็นวัตถุสิ่งของ เป็นกามอามิส ซึ่งอยู่ข้างนอก เราต้องไปหา ต้องไปเอามาเสพ ต้องเอาของข้างนอกนั้นมาเจอกับผัสสะของเรา จึงเป็นความสุขที่ต้องหา

ความสุขขั้นที่ ๒ คือ สุขด้วยการสนองฉันทะ เรียกว่า ความสุขที่สร้างเองได้ เพราะว่า ความอยากเรียน อยากรู้ อยากศึกษา อยากทำโน่นทำนี่ให้ดี ความชื่นชมธรรมชาติอะไรเหล่านี้ เราสนองได้ด้วยความตั้งจิตตั้งใจของเราเอง ด้วยการกระทำของเราเอง ไม่ต้องพึ่งพา ไม่ต้องรอ ไม่ต้องขึ้นต่อวัตถุสิ่งเสพที่ไหน จึงสร้างขึ้นเองได้

ความสุขขั้นที่ ๓ คือ สุขที่ไม่ขึ้นต่อการสนองความต้องการ ไม่ว่าจะสนองฉันทะหรือสนองตัณหา เรียกว่า ความสุขที่มีอยู่กับตัวทุกเวลา ข้อนี้ ก็เป็นธรรมดา เพราะว่า เมื่อเรามีความสุขเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของชีวิตของเราแล้ว เรามีความสุขอยู่เสมอเป็นประจำอยู่แล้ว เราก็ไม่ต้องไปหาไปทำอะไรอีกเพื่อจะให้มีความสุข

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นอันว่า สุข ๓ คือ สุขต้องหา สุขสร้างขึ้นมาเองได้ และ สุขมีในตัวทุกเวลา ตอนนี้รู้จักคร่าวๆไว้ก่อน แต่ก็ควรคิดหมายว่า ทำอย่างไรเราจะมีให้ครบทั้ง ๓ อย่าง ถ้ามีได้ครบ ก็น่าจะเป็นคนที่สมบูรณ์แบบทีเดียว ใครหนอคือบุคคลที่มีสุขครบทั้ง ๓ อย่างนี้

อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า ผู้ที่มีสุขขั้น ๓ สมบูรณ์จริงแล้ว ทั้งที่ถ้าต้องการ จะเสวยสุขให้ครบพร้อมหมดทั้ง ๓ ได้อย่างสบายๆ แต่กลายเป็นว่า เขาพอใจอยู่กับสุขในขั้นที่เป็นอิสระ ไม่แยแสสุขอย่างแรกที่พึ่งพาขึ้นต่อสิ่งเสพอีกต่อไป เรื่องเป็นอย่างไร เพราะอะไร ก็ค่อยๆ ดูต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบตอน ต่อ

"สุขเพราะได้เกาที่คัน กับ สุขเพราะไม่มีที่คันจะต้องเกา"

ที่

viewtopic.php?f=1&t=56743

แล้วจะเห็นคำตอบ "ใครหนอคือบุคคลที่มีสุขครบทั้ง ๓ อย่างนี้"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 153 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร