วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 12:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2020, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่เปลี่ยน เมตตาตอบปัญหาธรรม

หลวงปู่เปลี่ยน : เรื่องภัยพิบัตินั้น ก็จะเกิดมีอยู่
อาตมาเห็นอยู่ แต่อาตมาไม่ทราบว่า จะเกิดขึ้นช่วงไหน
จึงขอเตือน ให้ญาติโยมภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ กันไว้

โยมถาม : คนที่ภาวนาพุทโธ แล้วจะรอดพ้นจากภัยพิบัติหรือครับหลวงปู่

หลวงปู่เปลี่ยน : เปล่า.. คนภาวนาพุทโธ ตายแล้วจะไปสู่สุคติ

หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป







การงานชอบคืออะไร. เดินจงกรม. นั่งสมาธิ. ภาวนา. นี่เป็นหลักสำคัญ.

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน








#โอวาทธรรมเรื่อง #บารมี

สมบัติในโลก มันไม่ใช่ของใคร มันเป็นของทุกคน ขึ้นอยู่กับวาสนาของใครจะได้ตอนไหน

#อย่าพูดว่าไม่มี

ถ้าถึงเวลาของเราแล้ว ทุกคนก็จะได้แน่นอน มะม่วงกว่าจะมันสุกทั้งลูก แล้วจึงหล่นลงจากต้น ถึงเวลานั้นก็สามารถเก็บมากินได้

บารมีที่เราสร้างไว้แต่หนหลังมันก็ต้องมี แต่บางคนนั้นมันยังไม่ถึงเวลาเท่านั้นเอง

————
หลวงพ่อไพบูลย์ สุมงฺคโล










ความคิด.เกิดขึ้นมาหลายๆอย่าง. อย่าไปยึดมัน. ให้ดูมัน.

หลวงปู่ชา สุภัทโท








ถ้าเรารู้ถึงทุกข์. เราก็จะไม่เป็นทุกข์.

หลวงปู่ชา สุภัทโท








เราทุกคนปรารถนาชีวิตที่มีความสุข แต่ว่าความจริงอย่างหนึ่งที่เราต้องตระหนักและหนีไม่พ้นก็คือ เราทุกคนต้องตาย ไม่ว่าจะอยู่ดีมีสุขเพียงใด ประสบความสำเร็จในชีวิตหรือไม่ ในที่สุดเราทุกคนก็ต้องตาย

ส่วนใหญ่ เรามักจะคำนึงถึงแต่เรื่องการอยู่ดี แต่มองข้ามเรื่องการตายดีไป แท้ที่จริงแล้วอยู่ดีกับตายดีเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ถ้าหากว่าเรามองไม่เห็นถึงความเชื่อมโยงดังกล่าว เราก็จะสนใจแต่เพียงการอยู่ดีเท่านั้น ทั้งที่การตายดีนับเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องคำนึงถึงด้วย ไม่ใช่นึกถึงแต่เรื่องการอยู่ดีเพียงอย่างเดียว

เวลาพูดถึงความตาย คนส่วนใหญ่ก็จะรู้สึกเสียวสยองไปถึงหัวใจ ไม่อยากคิดหรือไม่อยากฟังแม้แต่คำว่าความตาย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าเรามองว่าความตายเป็นสิ่งที่น่ากลัวเสียเหลือเกิน แต่ความจริงแล้ว ความตายไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเลย สิ่งที่น่ากลัวกว่าก็คือ ใจของเรานั่นเองที่วางไว้ไม่ถูกต้อง เช่น กลัวตาย หรือไม่เข้าใจความตายดีพอ ถ้าหากว่าเรารู้จักวางใจอย่างถูกต้อง ความตายก็ไม่น่ากลัว และเมื่อถึงเวลาที่จะต้องตาย ก็สามารถตายอย่างสงบได้

การตายอย่างสงบ จะเรียกว่าเป็นการตายดีก็ได้ คือตายไม่ทุรนทุราย ตายเพราะใจพร้อมน้อมรับความจริงโดยดุษณี ความจริงที่ว่านี้ก็คือความตายเป็นธรรมดาของทุกชีวิต ทุกชีวิตเมื่อเกิดแล้วก็ต้องแตกดับไป การตายดีนั้นเกิดขึ้นได้กับคนที่เตรียมพร้อมและยอมรับความจริงดังกล่าว ดังนั้น แม้ว่ายังไม่มีความปรารถนาที่จะตาย แต่เมื่อถึงเวลาตายก็สามารถจากไปอย่างสงบได้

ความตายเป็นหน้าที่ของทุกชีวิต สัตว์ทั่วไปไม่รู้จักหน้าที่นี้ แต่มนุษย์เราทุกคนต้องรู้จัก เมื่อรู้จักแล้วต้องทำหน้าที่นั้นให้ดี คือการเตรียมพร้อมที่จะตาย รวมทั้งการยอมรับความตายเมื่อถึงเวลา ไม่หลีกหนี ไม่คิดที่จะโกงความตาย ไม่คิดที่จะเอาชนะความตาย เพราะตระหนักดีว่ามันเป็นหน้าที่ที่จะต้องตาย เราต้องพร้อมยอมรับเมื่อเวลานั้นมาถึง

แต่ก่อนที่เวลานั้นจะมาถึง เราก็ต้องเตรียมตัว ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ของพ่อของแม่ หน้าที่ของข้าราชการ หน้าที่ของครู หน้าที่นั้นจะทำได้ดีเมื่อมีการฝึกฝน ฝึกปรือ หน้าที่ที่จะตายก็เช่นกัน มันเรียกร้องให้เราต้องฝึกฝนเช่นเดียวกับหน้าที่อื่นๆ

ดังนั้นการพร้อมตายหรือการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะตาย เป็นหน้าที่ของทุกคน โดยเฉพาะชาวพุทธที่ตระหนักดีว่าชีวิตนั้นไม่เที่ยง พร้อมตายหรือการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะตายหมายความได้หลายประการ

ประการแรก หมายถึงการระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ใช่ความตายของคนอื่น แต่เป็นความตายของเราเอง เมื่อระลึกถึงความตายแล้ว ก็เตรียมตัวตายอยู่เสมอ การเตรียมตัวตายหมายถึงการทำหน้าที่ หรือ การใช้ชีวิตให้ดีที่สุด มีสิ่งสำคัญใดในชีวิตก็ควรเร่งรีบขวนขวายทำให้แล้วเสร็จ ไม่ให้คั่งค้าง แต่นั้นเป็นเพียงงานภายนอก ที่สำคัญพอๆ กันก็คือ งานภายใน คือการเปิดใจยอมรับความจริง และฝึกใจให้รู้จักปล่อยวางสิ่งต่างๆ ที่คิดว่าเป็นของเรา สิ่งที่เรามี สิ่งที่เราเป็นอยู่ในขณะนี้

ด้วยเหตุนี้ มรณสติจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชาวพุทธ มรณสติจัดว่าเป็นกรรมฐานหนึ่งในสี่สิบ ที่พระอรรถกถาจารย์ได้รวบรวมเอาไว้ และเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรจะน้อมนำมาประพฤติมาปฏิบัติ ถ้าหากว่าเราละเลยมรณสติ พยายามหนีความตาย พยายามปฏิเสธความตาย เราก็จะต้องถูกความตายนั้นคุกคาม ไม่ใช่แค่คุกคามชีวิตแต่คุกคามถึงจิตใจ ความตายก็เลยกลายเป็นศัตรู

แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราระลึกถึงความตายอยู่เสมอ เจริญมรณสติอยู่เป็นประจำ จนกระทั่งคุ้นชินกับความตายที่จะเกิดขึ้นกับเราหรือกับคนที่เรารัก ความตายก็จะกลายเป็นมิตร กลายเป็นครู กลายเป็นอาจารย์ ที่จะเคี่ยวเข็ญเราให้ใช้เวลาทุกนาทีอย่างมีคุณค่า ซึ่งจะช่วยทำให้เราเข้าใกล้ธรรมะ หรือเข้าใกล้จุดหมายสูงสุดในฐานะชาวพุทธที่แท้

ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล









องค์ท่านหลวงปู่มั่น พูดกับท่านทั้งสองว่า.. "ท่านชอบ ท่านขาว ต่อไปนี้พวกท่านบ่ต้องมาขอนิสัยกับเราอีกนะ อ้ายเฒ่าผู้นี้บ่มีนิสัยที่จะมาอบรมสั่งสอนอีหยังให้พวกท่านอีกแล้ว พวกท่านพ้นนิสัยวิมุตติธรรม เป็นครูบาอาจารย์สอนโลกสอนธรรมแทนเราได้แล้ว

ต่อไปนี้เรื่องการขอนิสัยให้เป็นเรื่องของพระหนุ่มเณรน้อยพวกน้อง​ ๆไปเสีย พวกท่านนั้นเป็นพี่ใหญ่พ้นนิสัยกันแล้ว

เรื่องสอนธรรมในศาสนาต่อไปพวกท่านก็ให้เป็นแขนขาแทนเรา เรื่องนี้เราขอฝากพวกท่านเอาไว้ พ่อแม่เลี้ยงมาจนใหญ่กล้าหน้าบาน ก็หวังได้อาศัยกินเหงื่อกินแรงจากลูก ให้พวกท่านพากันพิจารณาในเรื่องนี้ดู

จากหนังสือ หลวงปู่ชอบ​ ฐานสโม​ พระอรหันต์ผู้ทรงฤทธิ์แห่งยุค หน้าที่ ๒๔๕











ทำบุญให้ทานไม่รู้กี่ครั้ง กฐินผ้าป่ากี่สิบกี่ร้อยกอง มันก็ไม่ได้บุญเท่าจิตเราสงบรวมเป็นสมาธิ เพราะว่าอันนั้นมันไปถึงบ่อบุญแท้

ถึงเราอาศัยวัตถุทาน อาศัยข้าวอาหารปัจจัย แต่มันก็เป็นวัตถุที่มีอายุสั้น ถ้าเราทำจิตของเราให้สงบได้

"ปฎิบัติบูชามีค่ากว่าวัตถุ เทียบกันไม่ได้" เราต้องเข้าใจของเราอย่างนี้

หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร










มีสติแยกให้ออกระหว่าง
รักตัวเอง กับ เห็นแก่ตัว

คนรักตัวเอง
พร้อมจะฝึกฝนพัฒนาตนเอง
ล้มแล้วลุก อดทน เข้มเเข็ง สู้ไม่ถอย
ใช้ปัญญาเห็นประโยชน์ระยะยาว

คนเห็นแก่ตัว
พร้อมจะกอบโกยเอาแต่ใจตนเอง
มักง่าย เอาตัวรอด ไม่สนใจคนอื่น
ตรรกะป่วยอ้างเหตุผลโง่ ๆ ตลอด

โอวาทธรรม : พระอาจารย์คม อภิวโร










เราเริ่มภาวนาที่แรกกิเลสมารต้องกีดขวางทุกๆ ครั้งทุกๆ รายไป ไม่มีกลัวใครและไว้หน้าใคร พอหลายครั้งหลายหนเข้าธรรมแทรกเข้าถึงใจ ความสงบไม่เคยมีก็เริ่มปรากฏขึ้นมา เอ๊ จิตสงบเป็นอย่างนี้ แต่ก่อนไม่เคยรวมสงบตัวเข้ามาให้มีความสุขความสบายกายที่หนักยิ่งกว่าภูเขาทั้งลูกมาแต่ระยะก่อนนั้นกลับเบาหวิวเหมือนสำลี จิตใจที่เคยฟุ้งซ่านรำคาญกับสิ่งต่างๆ ด้วยความคึกคะนอง ก็สงบตัวเข้ามาสู่แดนแห่งความสงบ ผลแห่งความสงบปรากฏขึ้นเป็นความสุขความสบาย เบาทั้งใจเบาทั้งกาย นี่สมถธรรมเริ่มปรากฏเด่นขึ้นแล้ว นี่คือธรรมโดยซึมซาบเข้าหัวใจ ใจมีความกระหยิ่มยิ้มย่องต่อผลแห่งความดีความสงบเย็นใจของตน นั่นเป็นการวางเชื้อลงไปแล้ว เกิดความศรัทธาเชื่อมั่นในผลอันพึงใจ ได้ปรากฏจากการกระทำภาวนาเรื่อยๆ มา
ต่อจากนั้นจิตก็มีกำลังขึ้นมาโดยลำดับ การเจ็บปวดนี้ค่อยๆหายไป เพราะฝ่ายต่ำมันทดลองเรา หยั่งเสียงหยั่งเชิงเราลองดู เห็นเราไม่หวั่นไม่ไหวต่อสู้มันไม่ถอย มันก็ถอยทัพไป กองทัพธรรมเราก็ขึ้นหน้าเรื่อยๆ

หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโณ
วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี







การทำบุญให้ผู้ตายนี้ ท่านแสดงไว้ว่ายากนักที่ผู้ตายจะได้รับ เหมือนกับงมเข็มอยู่ในก้นบ่อ แต่ผู้ยังมีชีวิตอยู่ก็ชอบทำ นับว่าเป็นความดีของผู้นั้นอย่างยิ่ง

ท่านเปรียบไว้ สมมุติว่าบุญที่ทำลงไปนั้นแบ่งออกเป็น ๑๖ ส่วน แล้วเอาส่วนที่ ๑๖ นั้นมาแบ่งอีก ๑๖ ส่วน ผู้ตายไปจะได้รับเพียง ๑ ส่วน เท่านั้น ฟังดูแล้วน่าใจหาย

เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจึงไม่ควรประมาท ในเมื่อยังมีชีวิตอยู่นี้ มีสิ่งใดควรจะทำก็ให้รีบทำเสีย ตายไปแล้วเขาทำบุญไปให้ ไม่ทราบว่าจะได้รับหรือไม่ ถึงแม้จะได้รับก็น้อยเหลือเกิน....

พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (องค์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย












...พอปล่อยได้แล้ว พอปล่อยให้ร่างกายแก่
ร่างกายเจ็บร่างกายตายได้แล้ว
ใจก็จะไม่ทุกข์กับร่างกายอีกต่อไป

.อันนี้แหละเป็นขั้นที่ ๒ ต่อจากขั้น.."สติ"
ถ้าใครสามารถปฏิบัติถึงขั้น ๒ ขั้นนี้ได้
ก็จะรู้ตอนนี้แหละว่า.."ได้บรรลุธรรมหรือยัง"

.ถ้าไม่เดือดร้อนกับความเจ็บ
ความตายของร่างกายในตอนนี้
รู้สึกเฉยๆเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
นั่นแหละแสดงว่าใจผู้นั้นแหละ
ได้หลุดพ้นแล้วจากการ.."ยึดติดในร่างกาย".
........................................
.
สนทนาธรรม
ธรรมะหน้ากุฏิ 2/4/2563
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร