วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 12:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงตอนนี้ อาจพิจารณาภาวะด้านการดำเนินชีวิตของผู้บรรลุนิพพานแล้ว โดยแยกเป็น ๒ อย่าง คือ
การทำกิจ หรือ การงานอย่างหนึ่ง
และ
กิจกรรมเนื่องด้วยชีวิตส่วนตัวอย่างหนึ่ง

ในด้านการงาน หรือ การทำกิจนั้น พระอรหันต์ ซึ่งเป็นผู้หลุดแล้วจากบ่วง ไม่มีอะไรจะหน่วงรั้งให้พะวง ย่อมอยู่ในฐานะเป็นสาวกชั้นนำ ซึ่งจะทำหน้าที่ของพุทธสาวกได้ดีที่สุด บริบูรณ์ที่สุด

ลักษณะการทำกิจการงานของพุทธสาวกนั้น ก็มีบ่งชัดอยู่แล้วในคำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสย้ำ

เริ่มตั้งแต่ทรงส่งสาวกออกประกาศพระศาสนาในพรรษาแรกแห่งพุทธกิจ คือ ทำเพื่อประโยชน์สุขของพหูชน (พหุชนหิตายะ พหุชนสุ ขายะ)
เพื่อเกื้อการุณย์แก่ชาวโลก (โลกานุกัมปายะ)
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เทวะและมนุษย์ทั้งหลาย (อัตถายะ หิตายะ สุขายะ เทวมนุสสานัง)
ความข้อนี้ ถือเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของพรหมจรรย์ คือ พระศาสนานี้ เป็นหลักวัดความประพฤติปฏิบัติของภิกษุสาวก และเป็นคุณประโยชน์ที่พึงเกิดมีจากบุคคลที่ถือว่าเลิศ หรือ ประเสริฐตามคำสอนของพระพุทธศาสนา ดังนั้น จึงเป็นข้อคำนึงประจำในการบำเพ็ญกิจ และทำการงานของพุทธสาวก


เนื่องด้วยประโยชน์ หรือ อรรถ มีความหมายดังได้กล่าวแล้วข้างต้น

ดังนั้น กิจหรืองานหลักของผู้บรรลุนิพพานแล้ว จึงได้แก่ การแนะนำสั่งสอน การให้ความรู้ การส่งเสริมสติปัญญาและคุณธรรมต่างๆ ตลอดจนการดำเนินชีวิต และประพฤติตัวเป็นแบบอย่าง ในทางที่มีความสุข มีคุณธรรม และเป็นชีวิตที่ดีงาม ซึ่งคนภายหลังจะถือเป็นทิฏฐานุคติ คือ เดินตามแบบอย่างที่ได้เห็น
โดยเฉพาะการแนะนำสั่งสอนให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้อื่นนั้นแทบจะเรียกได้ ว่า เป็นหน้าที่ หรือ สิ่งที่พึงต้องทำสำหรับผู้บรรลุนิพพานแล้ว (ดู ที.สี.9/358/289)

ในด้านการดำเนินชีวิตส่วนตัว ก็มีหลักคล้ายกับการทำกิจการงาน คือ มุ่งประโยชน์แก่พหูชน แม้ว่าพระอรหันต์จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำกิจเสร็จแล้ว
ข้อปฏิบัติต่างๆ ที่เคยต้องปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน เมื่อท่านบรรลุนิพพานแล้ว จะเลิกเสีย ไม่ปฏิบัติต่อไปก็ย่อมได้ แต่ก็ปรากฏ ว่า เมื่อเป็นการสมเหตุสมผล ท่านก็ปฏิบัติต่อไปอย่างเดิม

ทั้งนี้ ในด้านส่วนตัว เพื่อความอยู่สบายในปัจจุบัน ที่เรียก ว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหาร และในด้านที่เกี่ยวกับผู้อื่น เพื่ออนุเคราะห์ชุมชนที่จะเกิดตามมาภายหลัง (ปัจฉิมาชนตานุกัมปา) เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีที่ชนภายหลังจะได้ถือปฏิบัติตาม (ทิฏฐานุคติ) เช่น ในกรณีที่พระพุทธเจ้าทรงเสพเสนาสนะในราวป่า * (องฺ.ทุก.20/274/77) และ
พระมหากัสสปเถระถือธุดงค์ เป็นต้น (สํ.นิ.16/481/239)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้แต่บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ในหมู่ ซึ่งอาจจะยังมิได้บรรลุนิพพาน ก็ยังมีคำย้ำอยู่เสมอ ให้คำนึงถึงการประพฤติตัวเป็นแบบอย่างสำหรับชุมชนรุ่นหลัง* (องฺ.ทุก.20/289/90 ฯลฯ)
ดังนั้น สำหรับพระอรหันต์ ซึ่งเป็นบุคคลตัวอย่างสูงสุดอยู่แล้ว ความคำนึงหรือความรับผิดชอบในเรื่องนี้ จึงควรจะต้องมีเป็นพิเศษ และพึงสังเกตว่า สิกขาบท คือ กฎข้อบังคับทางพระวินัยบางข้อ ซึ่งมิใช่เป็นเรื่องความผิดชั่วร้าย แต่บัญญัติขึ้น เพราะถือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมโดยคำนึงถึงชุมชนรุ่นหลังก็มี * (วินย.7/20/8 ฯลฯ)

รวมความว่า การดำเนินชีวิตของพระอรหันต์ ทั้งด้านกิจการงาน และความประพฤติส่วนตัว มุ่งเพื่อประโยชน์สุขของพหูชน และคำนึงถึงความเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับชุมชนรุ่นหลัง ซึ่งเป็นเรื่องของการบำเพ็ญปรัตถะ หรือปรหิตปฏิบัติ สอดคล้องกับคุณธรรม คือ ความกรุณาที่เป็นแรงจูงใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้แจกแจงรายละเอียดชัดเจนลงไปว่า พระอรหันต์ได้ทำงานอะไร หรือ งานชนิดใดบ้าง ด้วยตัวอย่าง จากชีวประวัติของพุทธสาวกครั้งพุทธกาล เพื่อจะใช้เป็นเครื่องศึกษา ว่า ผู้บรรลุนิพพานแล้วมีขอบเขตกิจกรรมแค่ไหน เพียงใด มีลักษณะการงานที่ทำต่างจากคนสามัญอย่างไร

รายละเอียดถึงขั้นนี้ ยากที่จะหาได้ครบถ้วน จะต้องเก็บรวบรวมเอา จากเรื่องราวที่กระจายแทรกอยู่กับคำสอน บ้าง บทบัญญัติทางพระวินัย บ้าง เรื่องเล่าในคัมภีร์ชั้นหลังๆ บ้าง

ถึงอย่างนี้ก็ไม่บริบูรณ์ เพราะคัมภีร์ทั้งหลายเน้นคำสอน หรือ คำอธิบายเนื้อหา ธรรม วินัย
แม้เรื่องเล่าต่างๆ ก็มุ่งที่เกี่ยวกับธรรม วินัย โดยตรง หรือ มุ่งสอนธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้แต่เรื่องเอตทัคคะ ที่พระอรรถกถาจารย์ถือเป็นการแต่งตั้ง หรือ สถาปนาฐานันดร ซึ่งมีรายชื่อพระอรหันต์รวมอยู่มาก ก็เป็นแต่เพียงการประกาศยกย่องความสามารถพิเศษเฉพาะตัวของสาวกบางท่านบ้าง
จุดเด่น หรือ ข้อแตกต่างพิเศษอันเป็นที่เลื่องลือรู้กันทั่วไปเกี่ยวกับพระสาวกบางท่าน ซึ่งพระพุทธเจ้าเพียงแต่ทรงยกขึ้นมาตรัสในที่ประชุมบ้าง หรือ

ถ้าเป็นการปฏิบัติหน้าที่การงาน ก็มีเฉพาะกรณีที่ทำหน้าที่นั้นได้ดีเด่นยอดเยี่ยม เช่น พระทัพพมัลลบุตร เป็นเอตทัคคะในบรรดา เสนาสนปัญญาปกะ (ผู้จัดเสนาสนะ) เป็นต้น แต่ไม่มีผู้เป็นเอตทัคคะในบรรดา ภัตตุเทศก์ (ผู้แจกกิจนิมนต์ฉัน) จีวรภาชกะ (ผู้แจกจีวร) นวกัมมิกะ (ผู้อำนวยการก่อสร้าง) เป็นต้น ซึ่งก็เป็นเจ้าหน้าที่ที่สงฆ์แต่งตั้งตามพระวินัยเช่นเดียวกัน


พระอรหันต์ที่ได้รับยกย่องมีคุณสมบัติเป็นเอตทัคคะในรายชื่อนั้น อาจมีกิจที่ท่านกระทำเป็นประจำของท่านอีกต่างหาก ซึ่งคุณสมบัติที่ได้รับยกย่อง เป็นเพียงเครื่องเสริมการทำกิจนั้นก็ได้


นอกจากนั้น ยังมีปัญหาเกี่ยวกับความหมายของคำยกย่องเป็นเอตทัคคะนั้นเองบางคำ ซึ่งเข้าใจกันไม่ชัดเจนเพียงพออีกด้วย

ดังนั้น รายนามเอตทัคคะ จึงยังไม่ตรงเรื่องพอที่จะแสดงประเภท และขอบเขตงานของพระอรหันต์ได้ แต่กระนั้นก็ตาม ในรายนามเอตทัคคะเท่าที่ มีอยู่นั้นเอง ก็จะเห็นได้ว่า คุณสมบัติที่เป็นเอตทัคคะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับงานเทศนาสั่งสอนเสียหลายส่วน
อาจกล่าวได้ว่า งานเทศนาสั่งสอนแนะนำ ฝึกอบรม เพื่อการศึกษาของผู้อื่น เป็นกิจสำหรับผู้บรรลุนิพพานแล้วทุกท่าน ซึ่งจะพึงทำตามความสามารถ
ส่วนกิจการและกิจกรรมอย่างอื่น แตกต่างกันไปตามพื้นเพการศึกษาอบรม และตามธาตุ คือ ความถนัด และอัธยาศัยของแต่ละท่าน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คคห. นี้ ชาวพุทธบ้านเรา จะเห็นแนวคิดของพระพุทธศาสนากว้างขึ้น ไม่ใช่เอะอะๆก็อนัตตาๆๆ บังคับไม่ได้ เกิดดับแสนโกฏิขณะ กระพริบตาหายเกลี้ยง :b32: ดู


สำหรับท่านที่สามารถในการอบรมสั่งสอน และได้รับความเคารพนับถือ มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสมาก เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ มีศิษย์มาก
นอกจากมีงานเทศนาสั่งสอนทั่วไปแล้ว ยังมีภาระต้องให้หมู่ศิษย์จำนวนมากศึกษาอีกด้วย ดังจะเห็นได้ว่า พระมหาสาวกหลายท่าน เวลาเดินทางคราวหนึ่งๆ มีภิกษุสงฆ์ติดตามเป็นหมู่ใหญ่

การให้การศึกษาแก่ศิษย์เช่นนี้ รวมไปถึงการให้ศึกษาแก่สามเณรด้วย ดังเช่นพระสารีบุตร ซึ่งมีเรื่องราวหลายแห่งแสดงให้เห็นว่า ท่านคงจะมีความสามารถมากในการอบรมเด็ก และคงมีสามเณรอยู่ในความดูแลมิใช่น้อย
เมื่อพระราหุลจะบวชเป็นสามเณร พระพุทธเจ้าก็ทรงมอบให้พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์ สามเณรเล็กอายุน้อยๆ ที่เป็นศิษย์พระสารีบุตร มีชื่อเสียงเก่งกล้าสามารถหลายรูป

พระสารีบุตรเคยเดินบิณฑบาตไปพบเด็กกำพร้าอดโซ เที่ยวเร่ร่อนหาเศษอาหารเก็บกินอย่างอนาถา ก็สงสาร ชวนมาบวชเณร และให้ศึกษาธรรมวินัย เป็นตัวอย่างของการให้ทั้งการศึกษา และการสงเคราะห์แก่เด็กๆ

แม้พระพุทธเจ้าเอง ก็ตรัสเตือนให้ใส่ใจความเป็นอยู่ของเด็กๆ ที่มาบวช ไม่ให้ทอดทิ้ง * (ชา.อ.1/245)

ในเมื่อมีผู้มาอยู่ในความดูแลให้ศึกษาเป็นหมู่ใหญ่ ก็ย่อมเกิดมีกิจอีกอย่างหนึ่ง คือ การปกครอง งานบริหาร หรือ งานปกครองนี้ ท่านถือเป็นกิจสำคัญอย่างหนึ่ง เรียกอย่างสามัญก็คือ ท่านสอนให้มีความรู้สึกรับผิดชอบในงานปกครอง (ดู ม.ม.13/189/197)

อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่า การปกครองสงฆ์นี้ เป็นงานที่สืบเนื่องมาจากการศึกษา

ดังนั้น การปกครองสงฆ์ จึงมีความหมายเป็นการให้ศึกษานั่นเอง แต่เป็นการให้ศึกษาในขอบเขตที่กว้างขวาง เพื่อฝึกคนพร้อมกันจำนวนมาก และเพื่อทำสมาชิกทั้งหลายของหมู่ให้มีชีวิตเกื้อกูลแก่กัน ในการดำเนินก้าวหน้าไปสู่จุดหมายที่ดีงาม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากความรับผิดชอบในงานเทศนาสั่งสอน การให้ศึกษา และการปกครองแล้ว

หลักฐาน และเรื่องราวต่างๆ เท่าที่ปรากฏในคัมภีร์ แสดงให้เห็นว่า พระอรหันต์ได้ประพฤติเป็นตัวอย่างในการแสดงความเอาใจใส่รับผิดชอบต่อกิจการของส่วนรวม และความเคารพสงฆ์ ซึ่งเป็นความสำนึกที่สำคัญในฐานะที่ระบบชุมชนของพระพุทธศาสนาถือสงฆ์ คือ ส่วน รวมเป็นใหญ่ และพระพุทธเจ้าก็ทรงย้ำอยู่เสมอเกี่ยวกับความพร้อมเพรียงของหมู่
ทั้งโดยคำสอนทางธรรม เช่น หลัก อปริหานิยธรรม การถือธรรมเป็นใหญ่ และบทบัญญัติทางพระวินัย โดยเฉพาะเกี่ยวกับสังฆกรรมต่างๆ

เรื่องราวที่แสดงว่าพระอรหันต์เอาใจใส่ และพึงเอาใจใส่รับผิดชอบต่อกิจการของส่วนรวม และเคารพสงฆ์นั้น มีมากมาย เช่น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำอุโบสถสวดปาติโมกข์สอบทานความบริสุทธิ์ ของภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
พระมหากัปปินเถระได้เกิดความคิดขึ้นว่า ท่านควรจะไปทำอุโบสถสังฆกรรมหรือไม่ เพราะท่านเองเป็นพระอรหันต์ มีความบริสุทธิ์อย่างยอดยิ่งอยู่แล้ว

พระพุทธเจ้าทรงทราบความคิดของท่าน และได้เสด็จมาตรัสเตือนว่า "ถ้าท่านผู้เป็นพราหมณ์ (พระอรหันต์) ไม่เคารพอุโบสถแล้ว ใครเล่าจักเคารพอุโบสถ จงไปทำอุโบสถสังฆกรรมเถิด" *(วินย.4/153/208)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระทัพพมัลลบุตร สำเร็จพระอรหัตผลตั้งแต่อายุยังน้อย

ท่านจึงมาคิดว่า "เรานี้เกิดมาอายุ ๗ ปี ก็ได้สำเร็จอรหัตผลแล้ว สิ่งใดๆ ที่สาวกจะพึงบรรลุถึง เราก็ได้บรรลุหมดสิ้นแล้ว กรณียะที่เราจะต้องทำยิ่งไปกว่านี้ ก็ไม่มี หรือ กรณียะที่เราทำเสร็จแล้ว ก็ไม่ต้องกลับมาสั่งสมอีก เราควรจะช่วยขวนขวายงานอะไรของสงฆ์ดีหนอ"

ต่อมาท่านเกิดความคิดว่า "เราควรจัดแจงบเสนาสนะของสงฆ์ และจัดแจงอาหารแก่สงฆ์"

ครั้นแล้วท่านจึงไปกราบทูลความสมัครใจของท่านแก่พระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานสาธุการ แล้วให้สงฆ์ประชุมพิจารณาตกลงกัน (สมมติ) แต่งตั้งท่านเป็นพระเสนาสนปัญญาปกะ (พระผู้จัดแจงที่พักอาศัย) และพระภัตตุเทศก์ (พระผู้จักแจกอาหาร)" (วินย. 6/589-593/304-7)

เมื่อมีเรื่องราวที่อาจกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยของการพระศาสนา

พระอรหันตเถระจะขวนขวายดำเนินการอย่างเอาจริงเอาจัง เพื่อระงับเรื่องราว หรือ จัดกิจการให้เสร็จเรียบร้อย ทั้งที่ตามปกติท่านเหล่านั้น ชอบอยู่สงบในที่วิเวก ดังเช่น พระมหากัสสปเถระ ริเริ่มดำเนินการสังคายนาครั้งที่ ๑ พระยสกากัณฑบุตร พระสัมภูตสารวาวี และพระเรวัต ริเริ่มการสังคายนาครั้งที่ ๒ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการสังคายนาครั้งที่ ๑ ภายหลังจบการประชุมเสร็จสังฆกรรมในการสังคายนาแล้ว
พระเถระที่มาร่วมสังคายนาได้กล่าวว่าตำหนิพระอานนท์ เกี่ยวกับความบกพร่องบางอย่างของท่านปฏิบัติหน้าที่โดยไม่บกพร่อง
แต่ท่านก็ยอมรับคำตำหนิของเหล่าพระเถระ โดยได้ชี้แจงเหตุผลเหล่านั้นแก่สงฆ์อย่างชัดเจนเสียก่อน (วินย.7/662/387)

เมื่อพระสงฆ์ประชุมพิจารณาระงับอธิกรณ์ในคราวสังคายนาครั้งที่ ๒ พระอรหันต์ ๒ รูป มาไม่ทันประชุม พระเถระที่ประชุมก็ลงโทษ ทำทัณฑกรรมแก่ทั้งสองท่าน โดยมอบภารกิจบางอย่างให้ทำ* (วินย.อ.1/35 ฯลฯ)

เมื่อครั้งพระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีกในอินเดียภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ทรงปรีชาในหลักศาสนา และปรัชญา ทรงท้าโต้วาทะกับลัทธิศาสนาต่างๆ ทำให้วงการพระศาสนาสั่นสะเทือนมาก

พระอรหันต์เถระประชุมกันพิจารณาหาทางแก้ไขสถานการณ์ มีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อโรหณะ ไปเข้านิโรธสมาบัติเสียที่ภูเขาหิมาลัย ยังไม่ทันทราบเรื่อง จึงไม่ได้ไปร่วมประชุม
ที่ประชุมก็ส่งทูตไปนิมนต์ท่านมา และลงโทษทำทัณฑกรรมแก่ท่าน โดยให้ท่านรับมอบภาระในการเอาตัวเด็กชายนาคเสนมาบวช

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในคัมภีร์สมัยหลังต่อมาอีก ก็มีเรื่องเล่าคล้ายกัน เช่น เมื่อคราวที่คณะสงฆ์กำลังช่วยอุดหนุนพระเจ้าอโศกมหาราชในการทำนุบำรุงพระศาสนา
พระอรหันต์ชื่ออุปคุตต์ ปลีกตัวไปทำที่สงัดเสวยสุขจากฌานสมาบัติเสีย ไม่ทราบเรื่อง ที่ประชุมสงฆ์ก็ส่งพระภิกษุไปตามท่านมา แล้วทำทัณฑกรรมลงโทษท่าน ในข้อที่ท่านไปหาความสบายผู้เดียว ไม่อยู่ในสามัคคีสงฆ์ และไม่เคารพสงฆ์ โดยให้รับภาระดูแลคุ้มกันงานสมโภชมหาสถูปของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งพระอุปคุตต์ก็รับภาระนั้นด้วยความเคารพต่อสงฆ์

เรื่องราวเหล่านี้ โดยเฉพาะเรื่องหลังๆ จะมีรายละเอียดถ่องแท้แค่ไหนก็ตาม แต่ก็เป็นเครื่องแสดงอย่างชัดเจนว่า คติทีถือว่า พระอรหันต์เป็นตัวอย่างความพระพฤติเกี่ยวกับการเคารพสงฆ์ และเอาใจใส่ต่อกิจการของส่วนรวม เป็นประเพณีปฏิบัติที่สืบเนื่องกันมาในพระพุทธศาสนา

เหตุผลที่เป็นข้อปรารภ (จะเรียกว่าเป็นแรงจูงใจก็ได้) สำหรับการกระทำเหล่านี้ ก็อย่างเดียวกับที่กล่าวมาแล้วแต่ต้น คือ "เพื่อให้การครองชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์คือพระศาสนา) นี้ ยั่งยืน ดำรงอยู่ชั่วกาลนาน เพื่อประโยชน์สุขแก่เทวะและมนุษย์ทั้งหลาย" * (เทียบ ที.ปา.11/225/225)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบ ภาวิตศีล: มีศีลที่ได้พัฒนาแล้ว

:b48: พุทธธรรม หน้า ๓๖๒ :b41:

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 128 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron