วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2019, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-4601.jpg
Image-4601.jpg [ 56.51 KiB | เปิดดู 1857 ครั้ง ]
ฌานาทิกํ นิวาเรนฺตีติ ฯ
ธรรมเหล่าใดที่ขัดขวางกุศลธรรม มีฌาน เป็นต้น
ไม่ให้เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า นิวรณ์

มีความหมายว่า นิวรณ์ เป็นเครื่องขัดขวางในการกระทำความดี
เป็นเครื่องกั้นเครื่องห้ามไม่ให้ ฌาน มัคค ผล อภิญญา สมาบัติ เกิดขึ้นได้

นิวรณ์ ๖ ประการก็คือ

๑. กามฉันทนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความชอบใจ อยากได้ในกามคุณอารมณ์
เมื่อชอบใจและต้องการในกามคุณอารมณ์แล้ว ก็ย่อมขาดสมาธิในอันกระทำความดี
มี ฌาน มัคค ผล เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘

๒. พยาปทนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะไม่ชอบในอารมณ์ เมื่อจิตใจมีแต่ความขุ่นเคือง
ไม่ชอบใจแล้ว ก็ย่อมขาดปีติความอิ่มใจในการกระทำความดี มี ฌาน เป็นต้น
องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในมูลจิต ๒

๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ขัดขวางเพราะความหดหู่ท้อถอยในอารมณ์ เมื่อจิตใจหดหู่ท้อยถอยแล้ว
ก็ย่อมขาดวิตก คือไม่มีแก่ใจที่จะนึกคิดอยู่ในอารมณ์ ที่จะกระทำความดี
องค์ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก ที่ในอกุศลสสังขาริจิต ๕

๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ขัดขวางความฟุ้งซ่าน รำคาญใจเมื่อจิตใจเป็นดังนี้ ก็ย่อมขาดความสุขใจ
อันที่จะกระทำความดี องค์ธรรมได้แก่ อุทธัจจเจตสิก กุกกุจจเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒

๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความสงสัย ลังเลใจ เมื่อจิตใจเกิดความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ
ก็ย่อมขาดวิจารในอันพินิจในอันพิจารณา ในการกระทำความดี องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก
ที่ในวิจิกิจฉาสหคตจิต ๑

๖. อวิชชานิวรณ์ ขัดขวางเพราะความไม่รู้ มีการทำให้หลงลืมก็ย่อมขาดสติ ไม่ระลึกนึกถึงความดี
ที่ตนจะกระทำ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิกที่ในอกุศลจิต ๑๒

นิวรณ์มี ๖ แต่องค์ธรรมมี ๘ คือ โลภเจตสิก ๑ โทสเจตสิก ๑ ถีนเจตสิก ๑ มิทธเจตสิก ๑
อุทธัจจเจตสิก ๑ กุกกุจจเจตสิก ๑ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 06:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ถีนมิทธ นิวรณ์ นี้ เป็นเจตสิก ๒ ดวง คือ
ถีนเจตสิก ดวงหนึ่ง มิทธเจตสิก ดวงหนึ่ง แต่เมื่อจัดเป็นนิวรณ์
นับเป็นนิวรณ์ดวงเดียวดวงกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่ ถีนะก็ดี มิทธะก็ดี เมื่อว่าโดยกิจ
หน้าที่การงาน ก็มีหน้าที่ทำให้จิตหดหู่ท้อถอยต่ออารมณ์ ไม่จับอารมณ์ ไม่ยกขึ้นสู่อารมณ์
เมื่อว่าโดยอาการคือ เหตุ ก็เป็นเหตุที่เกียจคร้าน เมื่อว่าวิโรธิปัจจัยคือข้าศึก
ก็เป็นปฏิปักษ์กับวิริยะ เหมือนๆ กัน ดังนั้นจึงจัดเป็นนิวรณ์ดวงเดียวกัน

อุทธัจจะ และ กุกกุจจะ ที่จัดเป็นนิวรณ์ดวงเดียวกัน ก็ด้วยเหตุผลทำนองเดียวกัน
กล่าวคือ ว่าโดยกิจ ก็ทำให้ไม่สงบ ว่าโดยอาการ ก็เพราะเหตุที่คิดถึง พยสนะ ๕ ประการ
ว่าโดยวิโรธิปัจจัย ก็เป็นศัตรูกับความสุข คือ ถ้าไม่สงบก็ไม่เป็นสุข ต่อเมื่อสงบจึงจะเป็นสุข
เมื่อมีสุขเวทนาก็เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เอกัคคตา คือการตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว
การตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างแน่วแน่ ก็เรียกว่าสมาธิ

พยสนะ ๕ ประการ เรียกว่าวิบัติ ๕ ก็ได้นั้น ได้แก่ ญาติพยสนะ ความพินาศไปแห่งญาติ.
โภคพยสนะ ความพินาศไปแห่งสมบัติ. โรคพยสนะ โรคภัยเบียดเบียน สีลพยสนะ ความทุศีล
เสื่อมศีล สิกขาบทที่รักษาขาดไป ทิฏฐิพยสนะ ความเห็นผิด ทำให้สัมมาทิฏฐิพินาศไป

ในการเจริญสมถภาวนา ข่มนิวรณ์ ๕ ประการ คือ ประการที่ ๑ ถึง ๕ โดยวิกขัมภนปรหาร
ก็สามารถเข้าถึงฌานได้
ส่วนการเจริญวิปัสสนาภาวนา ต้องประหารนิวรณ์ ๖ ประการ โดยสมุทเฉทปหาน จึงจะบรรลุ มรรค ผล
โสดาปัตติมัคค ประหาร วิจิกิจฉานิวรณ์
อนาคามิมัคค ประหาร กามฉันทนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์ และพยาปาทนิวรณ์
อรหันตมัคค ประหาร นิวรณ์ที่เหลือได้ทั้งหมดเลย

อนึ่ง ใคร่จะกล่าวแทรกไว้ในที่นี้ด้วยว่า ถีนมิทธเจตสิก เป็นนิวรณ์ เป็น กิเลส
แต่ถีนมิทธะ ที่เป็นประจำกาย นั้น ไม่ใช่นิวรณ์ และไม่ใช่กิเลส

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


[๗๔๘] ธรรมเป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?
นิวรณ์ ๖ คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
วิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์.
[๗๔๙] บรรดานิวรณ์ ๖ นั้น กามฉันทนิวรณ์ เป็นไฉน?
ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่
ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่ ความสยบคือความใคร่
ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กามฉันทนิวรณ์.
[๗๕๐] พยาปาทนิวรณ์ เป็นไฉน?
อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้น
ได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสีย
แก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อม
เสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า
ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็น
ที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความ
กระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความประทุษร้าย
ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ
มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย
การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความ
ปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า พยาปาทนิวรณ์.
[๗๕๑] ถีนมิทธนิวรณ์ เป็นไฉน?
ถีนมิทธะนั้น แยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง.
ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน?
ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความถดถอย
ความหดหู่ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความซบเซา อาการที่ซบเซา ภาวะที่ซบเซาแห่งจิต
อันใด นี้เรียกว่า ถีนะ.
มิทธะ เป็นไฉน?
ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่งานแห่งนามกาย ความปกคลุม
ความหุ้มห่อ ความปิดบังไว้ภายใน ความง่วงเหงา ความหาวนอน ความโงกง่วง ความหาวนอน
อาการที่หาวนอน ภาวะที่หาวนอน อันใด นี้เรียกว่า มิทธะ.
ถีนะและมิทธะดังว่านี้ รวมเรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์.
[๗๕๒] อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ เป็นไฉน?
อุทธัจจกุกกุจจะนั้น แยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง กุกกุจจะอย่างหนึ่ง.
ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน?
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต อันใด
นี้เรียกว่า อุทธัจจะ.
กุกกุจจะ เป็นไฉน?
ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ความสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ความสำคัญว่ามี
โทษในของที่ไม่มีโทษ ความสำคัญว่าไม่มีโทษในของที่มีโทษ การรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความ
รำคาญ ความเดือดร้อนใจ ความยุ่งใจ ซึ่งมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า กุกกุจจะ.
อุทธัจจะและกุกกุจจะนี้ รวมเรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์.
[๗๕๓] วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นไฉน?
ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน
อดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม
นี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความ
คิดเห็นไปต่างๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทาง
สองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิด
คิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มี
ลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉานิวรณ์.
[๗๕๔] อวิชชานิวรณ์ เป็นไฉน?
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกข-
*นิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ในส่วนอดีตและ
ส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความเป็นจริง
ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความ
ไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความมีปัญญาทราม ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง
ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา
ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า
อวิชชานิวรณ์.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 4&item=749

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-2239.jpg
Image-2239.jpg [ 45.15 KiB | เปิดดู 1804 ครั้ง ]
นิวรณ์ ๕

นิวรณ์ ธรรมหรือสิ่งที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุถึงความดีงาม, สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าไปในคุณธรรม เป็นธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือปฏิปักษ์กันกับฌานสมาธิ กล่าวคือ เมื่อมีนิวรณ์ ก็ไม่สามารถเจริญฌานหรือสมาธิได้ เมื่อเจริญฌาน,สมาธิได้ดี นิวรณ์หรือกิเลสก็ตั้งอยู่ไม่ได้ในขณะนั้นเช่นกัน เป็นไปดังนี้ตามหลักปฎิจจสมุปบันธรรม นิวรณ์มี ๕ อย่าง คือ
๑. กามฉันท์ ความพอใจในกามคุณ คือ มีความพอใจ หรือราคะ หรือความอยาก หรือความไม่อยากใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฐทัพพะ(สัมผัส)
๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น ความโกรธแค้น ความเกลียดชัง ความอาฆาต ขุ่นเคือง คับแค้น
๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา, ถีนะ-ความหดหู่ ความท้อแท้ใจ ความซึมเศร้า, มิทธะ-ความง่วงเหงาหาวนอน ความง่วงงุน, จึงหมายความว่า ความหดหู่และเซื่องซึม, ความที่จิตหดหู่และเคลิมเคลิ้ม ความง่วงเหงาซึมเซา
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ หงุดหงิด ในสิ่งต่างๆที่สอดแทรกปรุงแต่งกระทบจิตอยู่ตลอดเวลาดุจดั่งระลอกคลื่นบนผิวนํ้า
๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยเพราะความไม่รู้อวิชชา หรือเพราะความอยากรู้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2021, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2021, 12:15 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร