วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


"แต่เหตุร้ายเหล่านี้จะเกิดแก่สัตว์โลกทั่วๆ ไป และแก่พระศาสนาของพระพุทธองค์ในภายภาคหน้า เมื่อล่วงเลยพุทธกาลไปแล้ว 2500 ปี เมื่อศาสนาเสื่อมลง"


กล่าวกันว่า อายุพระพุทธศาสนาของพระสมณโคดม ยืนยาวเพียง 5,000 ปี หลังจากนั้น ต้องรอยุคของพระศรีอาริยเมตไตรย์ พระพุทธเจ้าองค์ต่อไปเสด็จมาโปรดสัตว์




พุทธทำนายในที่นี้ จะกล่าวถึงเรื่องที่ พระพุทธเจ้าทรงทำนายพระสุบิน (ความฝัน) ของพระเจ้าปเสนทิโกศล จำนวน 16 ข้อ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงทำนายว่า เหตุการณ์เหล่านั้นจะเกิดขึ้น ในยุคสมัยที่ศาสนาได้เสื่อมลง ซึ่งหลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน เนื้อความดังกล่าวปรากฏใน อรรถกถาพระไตรปิฎก มหาสุบินชาดก เอกนิบาตชาดก ขุททกนิกาย

วันหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้ครองกรุงสาวัตถี ได้เสด็จเข้าสู่นิทรารมย์ในราตรีกาล ครั้นล่วงปัจฉิมยามใกล้รุ่ง ได้ทอดพระเนตรเห็น พระสุบินนิมิตอันใหญ่หลวง ถึง 16 ประการ อันเป็นพระสุบินที่แปลกประหลาด จึงทรงตกพระทัยตื่นบรรทม และครั้นรุ่งเช้า ก็ได้ให้พวกพราหมณ์ปุโรหิตประจำราชสำนักทำนาย พวกพราหมณ์ปุโรหิต ก็พากันทำนายว่าเป็นพระสุบินที่ร้าย และว่าพระองค์จะต้องประสบภัยอันตราย 3 ประการ ไม่เสียราชทรัพย์ ก็จะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน หรือไม่ก็ต้องสวรรคต อย่างใดอย่างหนึ่ง และแนะให้พระองค์ทำพิธีบูชายัญสัตว์ เพื่อสะเดาะเคราะห์ เมื่อพระนางมัลลิกา พระมเหสีทราบเรื่องเข้า จึงทูลให้ไปขอคำแนะนำจากพระพุทธเจ้า



ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้ทรงทำนายว่า เหตุร้ายนั้นจะมีแน่นอน เพียงแต่มิใช่เกิดแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล หรือแว่นแคว้นของพระองค์ แต่เหตุร้ายเหล่านี้จะเกิดแก่สัตว์โลกทั่วๆ ไป และแก่พระศาสนาของพระพุทธองค์ในภายภาคหน้า เมื่อล่วงเลยพุทธกาลไปแล้ว 2500 ปี เมื่อศาสนาเสื่อมลง




11. ทรงฝันว่า คนนำแก่นจันทน์ที่มีราคาแพง ไปแลกกับเปรียงเน่า
(อ่านว่า เปฺรียง มี 3 ความหมาย คือ 1. นมส้มผสมน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน 2.น้ำมันจากไขข้อวัว และ 3.เถาวัลย์ เปรียง แต่ในที่นี้น่าจะหมายถึงเถาวัลย์เปรียง เทียบกับแก่นจันทน์ที่เป็นไม้เหมือนกันมากกว่า 2 ความหมายแรก)


พระพุทธองค์ทรงทำนายว่า กาลภายหน้า พระภิกษุอลัชชีเห็นแก่ได้ทั้งหลาย แทนที่จะนำธรรมะ ที่พระพุทธองค์สอน ไปสอนสั่งให้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ และละความโลภ กลับใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหากิน หาปัจจัยบริจาคเข้าตัวเอง เหมือนเอาแก่น จันทน์ (ธรรมะคำสอนที่ดี) ไปแลกเอาเถาวัลย์เน่า (ลาภอามิสที่ได้รับมา ซึ่งไม่จีรังและไม่ช่วย ให้พ้นทุกข์จริงๆ ได้)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เกี่ยวกับกรรมของการทำสัทธรรมปฏิรูป ระหว่าง ปถุชน กับ โสดาบัน ผลที่ได้รับความแตกต่างกัน

เปรียบระหว่าง บุรุษตาบอด กับ บุรุษตาดี ผลที่ได้รับก็แตกต่าง


โสดาบัน ผลที่ได้คือ ความรู้สึกทางใจ แต่บางคนเขาเลือกทำ แต่บางคนไม่เลือกทำ เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย

ส่วนปถุชน ผลที่ได้คือ สังสารวัฏ เหตุปัจจัยจากอวิชชา(ไม่แจ้งอริยสัจ 4)


ท้องฟ้า มีกว้างใหญ่ ก็ว่ากว้างแล้วนะ
จักรวาล ก็ว่ากว้างใหญ่ยิ่งกว่าแล้วนะ
ยังไม่บรรจุพอที่จะใส่ภาพอดีตชาติให้มองเห็น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฆราวาส ไม่มีอรหันต์
พระอรหันต์ มีเฉพาะภิกษุและภิกษุณีเท่านั้น






๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร


[๒๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปะ เขตพระนคร
ราชคฤห์. ครั้งนั้นแล ปริพาชกวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับ
พระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้
กราบทูลว่า ข้าพเจ้าเคยกล่าวกับท่านพระโคดมเป็นเวลานานแล้ว ข้าพเจ้าขอโอกาส ขอท่าน
พระโคดมจงทรงแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล แก่ข้าพเจ้าโดยย่อเถิด.

พ. ดูกรวัจฉะ เราพึงแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล แก่ท่านโดยย่อก็ได้
โดยพิสดารก็ได้ ก็แต่ว่าเราจักแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล แก่ท่านโดยย่อ ท่าน
จงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. วัจฉโคตตปริพาชกทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า
อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.




ธรรมที่เป็นอกุศลและกุศล

[๒๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรวัจฉะ โลภะแล เป็นอกุศล อโลภะ เป็น
กุศล โทสะเป็นอกุศล อโทสะเป็นกุศล โมหะเป็นอกุศล อโมหะเป็นกุศล ดูกรวัจฉะ
ธรรมสามข้อนี้เป็นอกุศล ธรรมสามข้อนี้เป็นกุศล ด้วยประการฉะนี้แล. ดูกรวัจฉะ ปาณาติบาต
แลเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นกุศล อทินนาทานเป็นอกุศล เจตนา
เครื่องงดเว้นจากอทินนาทานเป็นกุศล กาเมสุมิจฉาจารเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากกาเม-
*สุมิจฉาจารเป็นกุศล มุสาวาทเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากมุสาวาทเป็นกุศล ปิสุณาวาจา
เป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นกุศล ผรุสวาจาเป็นอกุศล เจตนาเครื่อง
งดเว้นจากผรุสวาจาเป็นกุศล สัมผัปปลาปะเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ
เป็นกุศล อภิชฌาเป็นอกุศล อนภิชฌาเป็นกุศล พยาบาทเป็นอกุศล อัพยาบาทเป็นกุศล
มิจฉาทิฏฐิเป็นอกุศล สัมมาทิฏฐิเป็นกุศล ดูกรวัจฉะ ธรรมสิบข้อนี้เป็นอกุศล ธรรมสิบข้อนี้
เป็นกุศล ด้วยประการฉะนี้แล. ดูกรวัจฉะ เพราะตัณหาอันภิกษุละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว
ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุนั้นเป็นพระ
อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มี
ประโยชน์ของตนถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้โดยชอบ.




ภิกขุปุจฉา

[๒๕๕] ท่านพระโคดมจงยกไว้ ก็ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดม ทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ มีอยู่หรือ?

ดูกรวัจฉะ พวกภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา
อาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันแล้ว เข้าถึงอยู่นั้น มี
ไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.

ท่านพระโคดมจงยกไว้ พวกภิกษุจงยกไว้ ก็ภิกษุณีแม้รูปหนึ่งผู้เป็นสาวิกาของท่านพระ
โคดม ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ มีอยู่หรือ?

ดูกรวัจฉะ พวกภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อัน
หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่นั้น
มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.




อุปาสกปุจฉา

[๒๕๖] ท่านพระโคดมจงยกไว้ พวกภิกษุจงยกไว้ พวกภิกษุณีจงยกไว้ ก็อุบาสก
แม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดมฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจารี เป็น
โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับ
จากโลกนั้นเป็นธรรมดา มีอยู่หรือ?

ดูกรวัจฉะ อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี
เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจาก
โลกนั้นเป็นธรรมดานั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย
ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.

ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยกไว้ อุบาสกทั้งหลาย
ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารีจงยกไว้ ก็อุบาสกแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของพระโคดม
ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ทำตามคำสอน ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว
ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของศาสดา มีอยู่หรือ?

ดูกรวัจฉะ พวกอุบาสกผู้เป็นสาวกของเรา ฝ่ายคฤหัสนุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ทำตาม
คำสอน ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็น
ผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของศาสดาอยู่นั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย
ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.

ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยกไว้ อุบาสกทั้งหลาย
ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารีจงยกไว้ อุบาสกทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็น
สพรหมจารีจงยกไว้ อุบาสกทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม จงยกไว้ ก็อุบาสิกา
แม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวิกาของท่านพระโคดม ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี เป็น
โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น อันมีไม่กลับจากโลก
นั้นเป็นธรรมดา มีอยู่หรือ.

ดูกรวัจฉะ พวกอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารีณี
เป็นโอปปาติกา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจาก
โลกนั้นเป็นธรรมดานั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย
ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.

ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยกไว้ อุบาสกทั้งหลาย
ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี จงยกไว้ อุบาสกทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภค
กาม จงยกไว้ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจารี ก็จงยกไว้ ส่วนอุบาสิกา
แม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวิกาของท่านพระโคดมฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ทำตามคำสอน
ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า
ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของศาสดา มีอยู่หรือ?

ดูกรวัจฉะ พวกอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม
ทำตามคำสอนผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความ
เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของศาสดาอยู่นั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย
ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.
ความเป็นผู้บำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์

[๒๕๗] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมเท่านั้นจักได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์
ส่วนพวกภิกษุจักไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วย
เหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดมได้เป็นผู้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุก็บำเพ็ญให้
บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จักบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น. ถ้าท่านพระโคดมจักได้บำเพ็ญ
ธรรมนี้ให้บริบูรณ์แล้วก็ดี พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้วก็ดี แต่พวกภิกษุณีจักไม่ได้บำเพ็ญ
ให้บริบูรณ์แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดม
ได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์และพวกภิกษุก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวกภิกษุณีก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์
เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.

[๒๕๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมจักได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และ
พวกภิกษุจักได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวกภิกษุณีจักได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว แต่พวกอุบาสก
ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี จักไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้
ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ
ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว
เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมจักได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุจักได้
บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีจักได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์และพวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว
เป็นสพรหมจารี จักได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม
ไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่าน
พระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญ
ให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และ
พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์
นี้ จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญ
ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี
ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสก ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
แล้ว แต่พวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี จักไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว
เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดมได้บำเพ็ญ
ธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก
ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว
บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี
ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญ
ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี
ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้
พรหมจรรย์นี้ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดม ได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์
พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว
เป็นสพรหมจารีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญ
ให้บริบูรณ์ พวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจาริณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และ
พวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์
นี้ จึงได้บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.



ปริพาชกวัจฉโคตรขอบรรพชา

[๒๕๙] ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา มีแต่จะน้อมไปโอนไป
เบนไปสู่สมุทร คงจรดสมุทรอยู่ ฉันใด บริษัทของท่านพระโคดมซึ่งมีคฤหัสถ์และบรรพชิต
ก็ฉันนั้น มีแต่จะน้อมไป โอนไป เบนไป สู่พระนิพพานคงจรดพระนิพพานอยู่ ฉันนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม
โดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา อุปสมบท ในสำนักของท่านพระโคดม.

ดูกรวัจฉะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์หวังจะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้น
จะต้องอยู่ปริวาสให้ครบสี่เดือน โดยล่วงสี่เดือนไป พวกภิกษุเต็มใจแล้ว จึงจะให้บรรพชา
อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างกันแห่งบุคคลในข้อนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์เมื่อหวังจะบรรพชาอุปสมบท
ในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสให้ครบสี่เดือน โดยล่วงสี่เดือนไป พวกภิกษุเต็มใจแล้ว
จึงจงให้บรรพชาอุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุได้ไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสให้ครบสี่ปี โดยล่วง
สี่ปีไป ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้ข้าพระองค์บรรพชาอุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุเถิด
วัจฉโคตตปริพาชก ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว.





สมถวิปัสสนา

[๒๖๐] ก็ท่านวัจฉโคตรอุปสมบทแล้วไม่นาน คือ อุปสมบทได้กึ่งเดือน เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว.
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลสามเบื้องต่ำที่กำหนดไว้เท่าใด ที่บุคคล
พึงบรรลุด้วยญาณของพระเสขะ ด้วยวิชชาของพระเสขะ ผลนั้นทั้งหมดข้าพระองค์บรรลุแล้ว
ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด.

ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไปเถิด
ดูกรวัจฉะ ธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสสนานี้ เธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทง
ตลอดธาตุหลายประการ.



อภิญญา ๖

[๒๖๑] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ
คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้
ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดดุจไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้
เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์
พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในอิทธิวิธีนั้นๆ เทียว.

[๒๖๒] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงฟังเสียงทั้งสองคือเสียงทิพย์และ
เสียงของมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตธาตุของมนุษย์
ดังนี้. เมื่อเหตุมีอยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในทิพยโสตธาตุ นั้นๆ เทียว.

[๒๖๓] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคล
อื่นด้วย คือ จิตมีราคะ พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ พึงรู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ
พึงรู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ พึงรู้ว่าจิตหดหู่
หรือจิตฟุ้งซ่าน พึงรู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต พึงรู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต
พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
พึงรู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ พึงรู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ พึงรู้ว่า
จิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น พึงรู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น
ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในเจโตปริยญาณนั้นๆ เทียว.

[๒๖๔] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ
พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง
ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง
แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏ-
*วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว
ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น
แล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ
ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้. เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในบุพเพนิ-
*วาสานุสติญาณนั้นๆ เทียว.


[๒๖๕] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ
เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง
จักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือ
การกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์
ดังนี้ เราพึงเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้. เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจเป็นผู้สามารถ
ในจูตูปปาตญาณนั้นๆ เทียว.


[๒๖๖] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา
วิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจเป็นผู้สามารถในอาสวักขยญาณนั้นๆ เทียว.



ท่านวัจฉโคตรสำเร็จเป็นพระอรหันต์

[๒๖๗] ครั้งนั้นแล ท่านวัจฉโคตรชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป. ครั้นแล้วหลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็น
ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ไม่นานเท่าไร ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มี
ธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญา
อันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ก็ท่านวัจฉโคตร ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง
ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.


[๒๖๘] ก็สมัยนั้น ภิกษุเป็นอันมากพากันไปเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค ท่านพระ
วัจฉโคตรได้เห็นภิกษุเหล่านั้น ผู้กำลังเดินไปแต่ไกล จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นจนถึงที่ใกล้ แล้ว
ได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะไปไหนกัน?

ดูกรท่านผู้มีอายุ เราทั้งหลายจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค.

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มี
พระภาคด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัจฉโคตรภิกษุกราบถวายบังคม
พระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าพระองค์ได้บำเรอ
พระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพระองค์ได้บำเรอพระสุคตแล้ว. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระวัจฉโคตร
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระวัจฉโคตรถวายบังคมพระบาทของพระผู้มี
พระภาคด้วยเศียรเกล้า และสั่งให้กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าพระองค์บำเรอพระผู้มีพระภาคแล้ว
ข้าพระองค์บำเรอพระสุคตแล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจวัจฉโคตรภิกษุด้วยใจก่อนแล้วว่า วัจฉโคตรภิกษุเป็น
เตวิชชะ มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก แม้เทวดาทั้งหลายก็บอกเนื้อความนี้แก่เราแล้วว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ วัจฉโคตรภิกษุเป็นเตวิชชะ มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก.


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 28 มี.ค. 2019, 17:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สันตติมหาอำมาตย์และภัททชิกุมาร

.

" วัจฉโคตตปริพาชกได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดม คฤหัสถ์บางคนยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ เมื่อตายไป ย่อมทำที่สุดทุกข์ได้มีอยู่หรือ?

ดูกรวัจฉะ คฤหัสถ์ที่ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้แล้ว เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ได้นั้น ไม่มีเลย"

.

แม้บุคคลเหล่าใดดำรงเพศคฤหัสถ์ คือ สันตติมหาอำมาตย์ อุคคเสนะเศรษฐีบุตร ภัททชิกุมาร ก็บรรลุพระอรหัตได้

แม้บุคคลเหล่านั้นก็ยังความใคร่ในสังขารทั้งปวงให้แห้งไปด้วยมรรคแล้วบรรลุได้ แต่เมื่อบรรลุแล้วก็ไม่ตั้งอยู่ด้วยเพศนั้น.

ชื่อว่าเพศคฤหัสถ์นี้เลว ไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้. เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งอยู่ในเพศคฤหัสถ์นั้นบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง.

.

๙. เรื่องสันตติมหาอำมาตย์ [๑๑๕]

ข้อความเบื้องต้น พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสันตติมหาอำมาตย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อลงฺกโต เจปิ สมญฺจเรยฺย" เป็นต้น.

สันตติมหาอำมาตย์ได้ครองราชสมบัติ ๗ วัน
ความพิสดารว่า ในกาลครั้งหนึ่ง สันตติมหาอำมาตย์นั้นปราบปรามปัจจันตชนบท ของพระเจ้าปเสนทิโกศล อันกำเริบให้สงบแล้วกลับมา. ต่อมา พระราชาทรงพอพระหฤทัย ประทานราชสมบัติให้ ๗ วัน ได้ประทานหญิงผู้ฉลาดในการฟ้อนและการขับนางหนึ่งแก่เขา. เขาเป็นผู้มึนเมาสุราสิ้น ๗ วัน ในวันที่ ๗ ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่างแล้ว ขึ้นสู่คอช้างตัวประเสริฐไปสู่ท่าอาบน้ำ เห็นพระศาสดากำลังเสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่ระหว่างประตู อยู่บนคอช้างตัวประเสริฐนั่นเอง ผงกศีรษะ ถวายบังคมแล้ว.

พระศาสดาทรงทำการแย้ม พระอานนท์ทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล? เป็นเหตุให้ทรงกระทำการแย้มให้ปรากฏ"

เมื่อจะตรัสบอกเหตุแห่งการแย้ม จึงตรัสว่า "อานนท์ เธอจงดูสันตติมหาอำมาตย์ ในวันนี้เอง เขาทั้งประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่างเทียว มาสู่สำนักของเรา จักบรรลุพระอรหัตในเวลาจบคาถาอันประกอบด้วยบท ๔ แล้ว นั่งบนอากาศ ชั่ว ๗ ลำตาล จักปรินิพพาน."

มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดา ผู้กำลังตรัสกับพระเถระอยู่

คน ๒ พวกมีความคิดต่างกัน

บรรดามหาชนเหล่านั้น พวกมิจฉาทิฏฐิคิดว่า "ท่านทั้งหลายจงดูกิริยาของพระสมณโคดม, พระสมณโคดมนั้นย่อมพูดสักแต่ปากเท่านั้น ได้ยินว่า ในวันนี้ สันตติมหาอำมาตย์นั่นมึนเมาสุราอย่างนั้น แต่งตัวอยู่ตามปกติ ฟังธรรมในสำนักของพระสมณโคดมนั้นแล้ว จักปรินิพพานในวันนี้ พวกเราจักจับผิดพระสมณโคดมนั้นด้วยมุสาวาท."

พวกสัมมาทิฏฐิคิดกันว่า "น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอานุภาพมาก ในวันนี้เราทั้งหลายจักได้ดูการเยื้องกรายของพระพุทธเจ้า และการเยื้องกรายของสันตติมหาอำมาตย์"

.
ส่วนสันตติมหาอำมาตย์เล่นน้ำตลอดวันที่ท่าอาบน้ำแล้ว ไปสู่อุทยาน นั่งที่พื้นโรงดื่ม

หญิงฟ้อนเป็นลมตาย
ฝ่ายหญิงนั้นลงไปในท่ามกลางที่เต้นรำ เริ่มจะแสดงการฟ้อนและการขับ เมื่อนางแสดงการฟ้อนการขับอยู่ในวันนั้น ลมมีพิษเพียงดังศัสตราเกิดขึ้นแล้วในภายในท้อง ได้ตัดเนื้อหทัยแล้ว เพราะความที่นางเป็นผู้มีอาหารน้อยถึง ๗ วัน เพื่อแสดงความอ้อนแอ้นแห่งสรีระ. ในทันทีทันใดนั้นเอง นางมีปากอ้าและตาเหลือก ได้กระทำกาละแล้ว.


โศกเพราะภรรยาตาย
สันตติมหาอำมาตย์กล่าวว่า "ท่านทั้งหลาย จงตรวจดูนางนั้น" ในขณะสักว่าคำอันชนทั้งหลายกล่าวว่า "หญิงนั้นดับแล้ว นาย" ดังนี้ ถูกความโศกอย่างแรงกล้าครอบงำแล้ว. ในขณะนั้นเอง สุราที่เธอดื่มตลอด ๗ วัน ได้ถึงความเสื่อมหายแล้ว ประหนึ่งหยาดน้ำในกระเบื้องที่ร้อนฉะนั้น.


เธอคิดว่า "คนอื่น เว้นพระตถาคตเสีย จักไม่อาจเพื่อจะยังความโศกของเรานี้ให้ดับได้" มีพลกายแวดล้อมแล้ว ไปสู่สำนักของพระศาสดาในเวลาเย็น ถวายบังคมแล้ว กราบทูลอย่างนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความโศกเห็นปานนี้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์, ข้าพระองค์มาแล้ว ก็ด้วยหมายว่า ‘พระองค์จักอาจเพื่อจะดับความโศกของข้าพระองค์นั้นได้’ ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์เถิด."


พระศาสดาระงับความโศกของบุคคลได้
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า "ท่านมาสู่สำนักของผู้สามารถเพื่อดับความโศกได้แน่นอน อันที่จริง น้ำตาที่ไหลออกของท่านผู้ร้องไห้ในเวลาที่หญิงนี้ตาย ด้วยเหตุนี้นั่นแล มากกว่าน้ำของมหาสมุทรทั้ง ๔" ดังนี้แล้ว

จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
"กิเลสเครื่องกังวลใด มีอยู่ในกาลก่อน เธอจงยังกิเลส เครื่องกังวลนั้นให้เหือดแห้งไป กิเลสเครื่องกังวล จงอย่ามีแก่ เธอในภายหลัง, ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ ในท่ามกลาง จักเป็น ผู้สงบระงับ เที่ยวไป."


ในกาลจบพระคาถา สันตติมหาอำมาตย์บรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาดูอายุสังขารของตน ทราบความเป็นไปไม่ได้แห่งอายุสังขารนั้นแล้ว จึงกราบทูลพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงอนุญาตการปรินิพพานแก่ข้าพระองค์เถิด."


พระศาสดา แม้ทรงทราบกรรมที่เธอทำแล้ว ก็ทรงกำหนดว่า "พวกมิจฉาทิฏฐิประชุมกัน เพื่อข่มขี่ (เรา) ด้วยมุสาวาท จักไม่ได้โอกาส, พวกสัมมาทิฏฐิประชุมกัน ด้วยหมายว่า ‘พวกเราจักดูการเยื้องกรายของพระพุทธเจ้า และการเยื้องกรายของสันตติมหาอำมาตย์’ ฟังกรรมที่สันตติมหาอำมาตย์นี้ทำแล้ว จักทำความเอื้อเฟื้อในบุญทั้งหลาย" ดังนี้แล้ว


จึงตรัสว่า "ถ้ากระนั้น เธอจงบอกกรรมที่เธอทำแล้วแก่เรา, ก็เมื่อจะบอก จงอย่ายืนบนภาคพื้นบอก จงยืนบนอากาศชั่ว ๗ ลำตาลแล้ว จึงบอก."


.
แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ในอากาศ
สันตติมหาอำมาตย์นั้นทูลรับว่า "ดีละ พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว จึงถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ขึ้นไปสู่อากาศชั่วลำตาลหนึ่ง ลงมาถวายบังคมพระศาสดาอีก ขึ้นไปนั่งโดยบัลลังก์บนอากาศ ๗ ชั่วลำตาลตามลำดับแล้ว ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงสดับบุรพกรรมของข้าพระองค์"
(ดังต่อไปนี้) :-

บุรพกรรมของสันตติมหาอำมาตย์
ในกัลป์ที่ ๙๑ แต่กัลป์นี้ ครั้งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี ข้าพระองค์บังเกิดในตระกูลๆ หนึ่ง ในพันธุมดีนคร คิดแล้วว่า ‘อะไรหนอแล? เป็นกรรมที่ไม่ทำการตัดรอนหรือบีบคั้น ซึ่งชนเหล่าอื่น’ ดังนี้แล้ว

เมื่อใคร่ครวญอยู่ จึงเห็นกรรม คือการป่าวร้องในบุญทั้งหลาย
จำเดิมแต่กาลนั้น ทำกรรมนั้นอยู่ ชักชวนมหาชนเที่ยวป่าวร้องอยู่ว่า ‘พวกท่านจงทำบุญทั้งหลาย จงสมาทานอุโบสถ ในวันอุโบสถทั้งหลาย จงถวายทาน จงฟังธรรม ชื่อว่า รัตนะอย่างอื่นเช่นกับพุทธรัตนะเป็นต้นไม่มี พวกท่านจงทำสักการะรัตนะทั้ง ๓ เถิด."


ผลของการชักชวนมหาชนบำเพ็ญการกุศล
พระราชาผู้ใหญ่ทรงพระนามว่าพันธุมะ เป็นพระพุทธบิดา ทรงสดับเสียงของข้าพระองค์นั้น รับสั่งให้เรียกข้าพระองค์มาเฝ้าแล้ว ตรัสถามว่า ‘พ่อ เจ้าเที่ยวทำอะไร?’

เมื่อข้าพระองค์ทูลว่า ‘ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์เที่ยวประกาศคุณรัตนะทั้ง ๓ ชักชวนมหาชนในการบุญทั้งหลาย.’

จึงตรัสถามว่า ‘เจ้านั่งบนอะไรเที่ยวไป?’

เมื่อข้าพระองค์ทูลว่า ‘ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์เดินไป’ จึงตรัสว่า ‘พ่อ เจ้าไม่ควรเพื่อเที่ยวไปอย่างนั้น จงประดับพวงดอกไม้นี้แล้ว นั่งบนหลังม้าเที่ยวไปเถิด’ ดังนี้แล้ว ก็พระราชทานพวงดอกไม้ เช่นกับพวงแก้วมุกดา ทั้งได้พระราชทานม้าที่ฝึกแล้วแก่ข้าพระองค์.

ต่อมา พระราชารับสั่งให้ข้าพระองค์ ผู้กำลังเที่ยวประกาศอยู่อย่างนั้นนั่นแล ด้วยเครื่องบริหารที่พระราชาพระราชทาน มาเฝ้า แล้วตรัสถามอีกว่า ‘พ่อ เจ้าเที่ยวทำอะไร?'

เมื่อข้าพระองค์ทูลว่า ‘ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทำกรรมอย่างนั้นนั่นแล’

จึงตรัสว่า ‘พ่อ แม้ม้าก็ไม่สมควรแก่เจ้า เจ้าจงนั่งบนรถนี้เที่ยวไปเถิด’ แล้วได้พระราชทานรถที่เทียมด้วยม้าสินธพ ๔.

แม้ในครั้งที่ ๓ พระราชาทรงสดับเสียงของข้าพระองค์แล้ว รับสั่งให้หา ตรัสถามว่า ‘พ่อ เจ้าเที่ยวทำอะไร’

เมื่อข้าพระองค์ทูลว่า ‘ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทำกรรมนั้นแล’

จึงตรัสว่า ‘แน่ะพ่อ แม้รถก็ไม่สมควรแก่เจ้า’ แล้วพระราชทานโภคะเป็นอันมาก และเครื่องประดับใหญ่ ทั้งได้พระราชทานช้างเชือกหนึ่งแก่ข้าพระองค์.

ข้าพระองค์นั้นประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง นั่งบนคอช้าง ได้ทำกรรมของผู้ป่าวร้องธรรมสิ้นแปดหมื่นปี กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากกายของข้าพระองค์นั้น กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้

นี่เป็นกรรมที่ข้าพระองค์ทำแล้ว."


.
การปรินิพพานของสันตติมหาอำมาตย์
สันตติมหาอำมาตย์นั้น ครั้นทูลบุรพกรรมของตนอย่างนั้นแล้ว นั่งบนอากาศเทียว เข้าเตโชธาตุ ปรินิพพานแล้ว. เปลวไฟเกิดขึ้นในสรีระไหม้เนื้อและโลหิตแล้ว. ธาตุทั้งหลายดุจดอกมะลิเหลืออยู่แล้ว.

พระศาสดาทรงคลี่ผ้าขาว ธาตุทั้งหลายก็ตกลงบนผ้าขาวนั้น.
พระศาสดาทรงบรรจุธาตุเหล่านั้นแล้ว รับสั่งให้สร้างสถูปไว้ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง ด้วยทรงประสงค์ว่า "มหาชนไหว้แล้ว จักเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ."


สันตติมหาอำมาตย์ควรเรียกว่าสมณะหรือพราหมณ์
พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า "ผู้มีอายุ สันตติมหาอำมาตย์บรรลุพระอรหัตในเวลาจบพระคาถาๆ เดียว ยังประดับประดาอยู่นั่นแหละ นั่งบนอากาศปรินิพพานแล้ว, การเรียกเธอว่า ‘สมณะ’ ควรหรือหนอแล? หรือเรียกเธอว่า ‘พราหมณ์’ จึงจะควร."

พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ?

เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลว่า "พวกข้าพระองค์นั่งประชุมกันด้วยกถาชื่อนี้"

จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย การเรียกบุตรของเรา แม้ว่า ‘สมณะ’ ก็ควร, เรียกว่า ‘พราหมณ์’ ก็ควรเหมือนกัน" ดังนี้

เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๙. อลงฺกโต เจปิ สมํ จเรยฺย๑-
สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี
สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ
โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ

แม้ถ้าบุคคลประดับแล้ว พึงประพฤติสม่ำเสมอ
เป็นผู้สงบ ฝึกแล้ว เที่ยงธรรม มีปกติประพฤติประเสริฐ วางเสียซึ่งอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก,
บุคคลนั้น เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ.
____________________________
๑- อรรถกถาเป็น สมญฺจเรยฺยย.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกโต ได้แก่ ประดับด้วยผ้าและอาภรณ์.

บัณฑิตพึงทราบความแห่งพระคาถานั้นว่า
"แม้หากว่าบุคคลประดับด้วยเครื่องอลังการมีผ้าเป็นต้น พึงประพฤติสม่ำเสมอด้วยกายเป็นต้น
ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะความสงบระงับแห่งราคะเป็นต้น,
ชื่อว่าเป็นผู้ฝึก เพราะฝึกอินทรีย์,
ชื่อว่าเป็นผู้เที่ยง เพราะเที่ยงในมรรคทั้ง ๔,
ชื่อว่าพรหมจารี เพราะประพฤติประเสริฐ,
ชื่อว่าวางอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก เพราะความเป็นผู้วางเสียซึ่งอาชญาทางกายเป็นต้นแล้ว,

ผู้นั้น คือผู้เห็นปานนั้น อันบุคคลควรเรียกว่า ‘พราหมณ์’
เพราะความเป็นผู้มีบาปอันลอยแล้ว ก็ได้,

ว่า ‘สมณะ’ เพราะความเป็นผู้มีบาปอันสงบแล้ว ก็ได้,

ว่า ‘ภิกษุ’ เพราะความเป็นผู้มีกิเลสอันทำลายแล้ว ก็ได้โดยแท้."

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องสันตติมหาอำมาตย์ จบ.

.

.

ก็เมื่อภัททชิกุมารนั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระศาสดาตรัสเรียกภัททิยเศรษฐีมาว่า บุตรของท่านประดับตกแต่งแล้ว ฟังธรรมอยู่ ตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ด้วยเหตุนั้น การบวชของภัททชิกุมารนั้น ในบัดนี้เท่านั้นสมควรแล้ว ถ้าไม่บวชจักต้องปรินิพพาน ดังนี้. ท่านเศรษฐีกราบทูลว่า เมื่อบุตรของข้าพระองค์ยังเล็กอยู่เช่นนี้ ยังไม่ควรปรินิพพาน ขอพระองค์จงทรงยังเขาให้บวชเถิด.

พระศาสดาทรงยังภัททชิกุมารให้บรรพชาแล้วให้อุปสมบท เสด็จประทับอยู่ในภัททิยนครนั้นตลอด ๗ วัน แล้วเสด็จถึงโกฏิคาม.

ก็บ้าน (โกฏิคาม) นั้นอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา ชาวบ้านโกฏิคามบำเพ็ญมหาทานถวายภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข.

พระภัททชิเถระ พอเมื่อพระศาสดาทรงปรารภเพื่อจะทรงกระทำอนุโมทนา ก็ออกไปนอกบ้าน คิดว่า เราจักออกจากสมาบัติในเวลาที่พระศาสดาเสด็จมาใกล้ทางที่ฝั่งน้ำคงคา แล้วนั่งเข้าสมาบัติ. แม้เมื่อพระมหาเถระทั้งหลายมาถึงก็ยังไม่ออกจากสมาบัติ ในเวลาที่พระศาสดาเสด็จมาแล้วนั่นแหละจึงออก

ภิกษุผู้เป็นปุถุชนทั้งหลายพากันกล่าวยกโทษว่า พระภัททชินี้บวชได้ไม่นาน เมื่อพระมหาเถระทั้งหลายมาถึง กลับเป็นผู้กระด้างเพราะมานะ ไม่ยอมออกจากสมาบัติ.

พวกชาวโกฏิคามผูกเรือขนานจำนวนมากเพื่อพระศาสดาและภิกษุสงฆ์.

พระศาสดาทรงพระดำริว่า เอาเถิด เราจักประกาศอานุภาพของพระภัททชิเถระดังนี้แล้ว ประทับยืนบนเรือขนาน ตรัสถามว่า ภัททชิอยู่ไหน?

พระภัททชิเถระขานรับว่า ข้าพระองค์ภัททชิอยู่นี่พระพุทธเจ้าข้า แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ประนมมือยืนอยู่แล้ว พระศาสดาตรัสว่า มาเถิดภัททชิ ท่านจงขึ้นเรือลำเดียวกันกับเรา. พระภัททชิเถระเหาะขึ้นแล้วไปยืนอยู่ในเรือลำที่พระศาสดาประทับในเวลาที่เรือไปถึงกลางแม่น้ำคงคา.

พระศาสดาตรัสว่า ภัททชิ รัตนปราสาทที่เธอเคยอยู่ในเวลาที่เธอเป็นพระราชามีนามว่ามหาปนาทะ อยู่ตรงไหน? พระภัททชิเถระกราบทูลว่า จมอยู่ในที่นี้พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ภัททชิ ถ้าเช่นนั้น เธอจงตัดความสงสัยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย.

ในขณะนั้น พระเถระถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ไปด้วยกำลังฤทธิ์ ยกยอดปราสาทขึ้นด้วยหัวแม่เท้าแล้วชะลอปราสาทสูง ๒๕ โยชน์ เหาะขึ้นบนอากาศ และเมื่อเหาะขึ้นได้ ๕๐ โยชน์ ก็ยกปราสาทขึ้นพ้นจากน้ำ.

ลำดับนั้น ญาติทั้งหลายในภพก่อนของท่าน เกิดเป็นปลาเป็นเต่าและเป็นกบ ด้วยความโลภอันเนื่องอยู่ในปราสาท เมื่อปราสาทนั้นถูกยกขึ้นก็หล่นตกลงไปในน้ำ.

พระศาสดาเห็นสัตว์เหล่านั้นตกลงไป จึงตรัสว่า ภัททชิ ญาติทั้งหลายของเธอจะลำบาก. พระเถระจึงปล่อยปราสาทตามคำของพระศาสดา ปราสาทกลับตั้งอยู่ในที่เดิมนั่นเทียว.

พระศาสดาเสด็จถึงฝั่ง อันภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปราสาทนี้ พระภัททชิเถระเคยอยู่เมื่อไร พระเจ้าข้า. จึงตรัสมหาปนาทชาดก แล้วยังมหาชนให้ดื่มน้ำอมฤตคือพระธรรม.

ก็พระเถระครั้นแสดงปราสาททองอันตนเคยอยู่อาศัยแล้ว พรรณนาด้วยคาถาทั้ง ๒ พยากรณ์พระอรหัตผลว่า

พระเจ้าปนาทะมีปราสาททอง กว้างโยชน์กึ่ง สูง ๒๕ โยชน์ มีชั้นพันชั้น ร้อยพื้น สร้างสลอนไปด้วยธง แวดล้อมไปด้วย แก้วมณีสีเขียวเหลือง ในปราสาทนั้นมีคนธรรพ์ประมาณหกพัน แบ่งเป็น ๗ พวก พากันฟ้อนรำอยู่ ดังนี้.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อุคคเสน

.

" วัจฉโคตตปริพาชกได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดม คฤหัสถ์บางคนยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ เมื่อตายไป ย่อมทำที่สุดทุกข์ได้มีอยู่หรือ?

ดูกรวัจฉะ คฤหัสถ์ที่ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้แล้ว เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ได้นั้น ไม่มีเลย"

.

แม้บุคคลเหล่าใดดำรงเพศคฤหัสถ์ คือ สันตติมหาอำมาตย์ อุคคเสนะเศรษฐีบุตร ภัททชิกุมาร ก็บรรลุพระอรหัตได้

แม้บุคคลเหล่านั้นก็ยังความใคร่ในสังขารทั้งปวงให้แห้งไปด้วยมรรคแล้วบรรลุได้ แต่เมื่อบรรลุแล้วก็ไม่ตั้งอยู่ด้วยเพศนั้น.

ชื่อว่าเพศคฤหัสถ์นี้เลว ไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้. เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งอยู่ในเพศคฤหัสถ์นั้นบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง.

.

๖. เรื่องบุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน [๒๔๕]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภอุคคเสน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มุญฺจ ปุเร" เป็นต้น.

อุคคเสนรักใคร่หญิงนักฟ้อน
ได้ยินว่า เมื่อครบปีหรือ ๖ เดือนแล้ว พวกนักฟ้อนประมาณ ๕๐๐ ไปยังกรุงราชคฤห์ ทำมหรสพ (ถวาย) แด่พระราชาตลอด ๗ วัน ได้เงินและทองเป็นอันมาก การตกรางวัลในระหว่างๆ ไม่มีสิ้นสุด. มหาชนต่างก็ยืนบนเตียงเป็นต้น ดูมหรสพ.

ลำดับนั้น ธิดานักหกคะเมนคนหนึ่ง ขึ้นไปสู่ไม้แป้น หกคะเมนเบื้องบนของไม้แป้นนั้น เดินฟ้อนและขับร้องบนอากาศ ณ ที่สุดแห่งไม้แป้นนั้น.

สมัยนั้น บุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน ยืนอยู่บนเตียงที่ (ตั้ง) ซ้อนๆ กันกับด้วยสหาย แลดูหญิงนั้น มีความรักเกิดขึ้นในอาการทั้งหลาย มีการแกว่งมือและเท้าเป็นต้นของนาง ไปสู่เรือนแล้วคิดว่า "เราเมื่อได้นางจึงจักเป็นอยู่, เมื่อเราไม่ได้ก็จะตายเสียในที่นี้แหละ" ดังนี้แล้ว ก็ทำการตัดอาหาร นอนอยู่บนเตียง, แม้ถูกมารดาบิดาถามว่า "พ่อ เจ้าเป็นโรคอะไร?" ก็บอกว่า "เมื่อฉันได้ลูกสาวของนักฟ้อนคนนั้น ก็จะมีชีวิตอยู่, เมื่อฉันไม่ได้ ก็จะตายเสียในที่นี้นี่แหละ" แม้เมื่อมารดาปลอบว่า "พ่อ เจ้าอย่าทำอย่างนี้เลย พวกเราจักนำนางกุมาริกาคนอื่น ซึ่งสมควรแก่ตระกูลและโภคะของพวกเรา มาให้แก่เจ้า" ก็ยังนอนกล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน.


.
อุคคเสนได้นางนักฟ้อนสมประสงค์
ลำดับนั้น บิดาของเขาแม้อ้อนวอนเป็นอันมาก เมื่อไม่สามารถจะให้เขายินยอมได้ จึงเรียกสหายของนักฟ้อนมา ให้ทรัพย์พันกหาปณะแล้ว ส่งไปด้วยสั่งว่า "ท่านจงรับเอากหาปณะเหล่านี้แล้ว ให้ลูกสาวของท่านแก่บุตรชายของฉันเถิด."

นักฟ้อนนั้นกล่าวว่า "ข้าพเจ้ารับเอากหาปณะแล้วก็ให้ไม่ได้ ก็ถ้าว่า บุตรชาย (ของท่าน) นั้นไม่ได้ลูกสาว (ของข้าพเจ้า) นี้แล้ว ไม่อาจจะเป็นอยู่ไซร้ ถ้ากระนั้น บุตรของท่านจงเที่ยวไปกับด้วยพวกข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจักให้ลูกสาวแก่เขา."

มารดาบิดาบอกความนั้นแก่บุตรแล้ว. เขาพูดว่า "ฉันจักเที่ยวไปกับพวกนักฟ้อนนั้น" ไม่เอื้อเฟื้อถ้อยคำของมารดาบิดาเหล่านั้น แม้ผู้อ้อนวอนอยู่ ได้ออกไปยังสำนักของนักฟ้อนแล้ว.

นักฟ้อนนั้นให้ลูกสาวแก่เขาแล้ว เที่ยวแสดงศิลปะในบ้านนิคมและราชธานี กับด้วยเขานั่นแหละ.

ฝ่ายนางนั้น อาศัยการอยู่ร่วมกับบุตรเศรษฐีนั้น ต่อกาลไม่นานนักก็ได้บุตร เมื่อจะเย้าบุตรนั้น จึงพูดว่า "ลูกของคนเฝ้าเกวียน, ลูกของคนหาบของ, ลูกของคนไม่รู้อะไรๆ."

ฝ่ายบุตรเศรษฐีนั้นขนหญ้ามาให้โคทั้งหลาย ในที่แห่งชนเหล่านั้นทำการกลับเกวียนพักอยู่แล้ว (และ) ยกเอาสิ่งของที่ได้ในที่แสดงศิลปะแล้วนำไป นัยว่า หญิงนั้นหมายเอาบุตรเศรษฐีนั้นนั่นเอง เมื่อจะเย้าบุตร จึงกล่าวอย่างนั้นนั่นแล. บุตรเศรษฐีนั้นทราบความที่นางขับร้องปรารภตน จึงถามว่า "หล่อนพูดหมายถึงฉันหรือ?"

ภรรยา. จ้ะ ฉันพูดหมายถึงท่าน.

บุตรเศรษฐี. เมื่อเช่นนั้น ฉันจักหนีละ.

นางกล่าวว่า "ก็จะประโยชน์อะไรของฉัน ด้วยท่านผู้หนีไปหรือมาแล้ว" ดังนี้แล้ว ก็ขับเพลงบทนั้นนั่นแลเรื่อยไป.

ได้ยินว่า นางอาศัยรูปสมบัติของตน และทรัพย์ซึ่งเป็นรายได้ จึงมิได้เกรงใจบุตรเศรษฐีนั้น ในเรื่องอะไรๆ.

บุตรเศรษฐีนั้นคิดอยู่ว่า "นางนี้ มีการถือตัวเช่นนี้ เพราะอาศัยอะไรเล่าหนอ?" ทราบว่า "เพราะอาศัยศิลปะ" จึงคิดว่า "ช่างเถิด เราก็จักเรียนศิลปะ" แล้วก็เข้าไปหาพ่อตา เรียนศิลปะอันเป็นความรู้ของพ่อตานั้น แสดงศิลปะ ในบ้านนิคมเป็นต้นอยู่ มาถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ให้ป่าวร้องว่า "ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ บุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน จักแสดงศิลปะแก่ชาวพระนคร."


.
อุคคเสนแสดงศิลปะ

ชาวพระนครให้ผูกเตียงซ้อนๆ กันเป็นต้นแล้ว ประชุมกันในวันที่ ๗.

ฝ่ายอุคคเสนนั้นได้ขึ้นไปสู่ไม้แป้น (สูง) ๖๐ ศอก ยืนอยู่บนปลายไม้แป้นนั้น.

ในวันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลก ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุคคเสนนั้น เข้าไปในข่ายคือพระญาณของพระองค์ จึงทรงใคร่ครวญอยู่ว่า "เหตุอะไรหนอ? จักมี" ได้ทราบว่า "พรุ่งนี้ บุตรเศรษฐีจักยืนบนปลายไม้แป้น ด้วยหวังว่า ‘จักแสดงศิลปะ’ มหาชนจักประชุมกันเพื่อดูเขา, เราจักแสดงคาถาประกอบด้วยบท ๔ บทในสมาคมนั้น การบรรลุธรรมจักมีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐ เพราะฟังธรรมนั้น แม้อุคคเสนก็จักตั้งอยู่ในพระอรหัต."

ในวันรุ่งขึ้น พระองค์ทรงกำหนดเวลาแล้ว มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต. ฝ่ายอุคคเสน เมื่อพระศาสดายังไม่ทันเสด็จเข้าไปภายในพระนครนั่นแล จึงให้สัญญาด้วยนิ้วมือแก่มหาชน เพื่อต้องการให้เอิกเกริก ยืนบนปลายไม้แป้นหกคะเมนในอากาศนั่นเองสิ้น ๗ ครั้ง ลงมาแล้วได้ยืนบนปลายไม้แป้นอีก.

.
อุคคเสนแสดงศิลปะแก่พระมหาโมคคัลลานะ

ขณะนั้น พระศาสดากำลังเสด็จไปสู่พระนคร ทรงกระทำโดยอาการที่บริษัทไม่แลดูเขา ให้ดูเฉพาะพระองค์เท่านั้น.

อุคคเสนแลดูบริษัทแล้ว ถึงความเสียใจว่า "บริษัทจะไม่แลดูเรา" จึงคิดว่า "ศิลปะนี้เราพึ่งแสดง (ประจำ) ปี ก็เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าไปยังพระนคร บริษัทไม่แลดูเรา แลดูแต่พระศาสดาเท่านั้น การแสดงศิลปะของเราเปล่า (ประโยชน์) แล้วหนอ."

พระศาสดาทรงทราบความคิดของเขา จึงตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานะมาแล้ว ตรัสว่า "โมคคัลลานะ เธอจงไปพูดกะบุตรเศรษฐีว่า ‘นัยว่า ท่าน๑- จงแสดงศิลปะ.’"
____________________________
๑- คำว่า ‘ท่าน’ ในที่นี้ เป็นปฐมบุรุษ.


พระเถระไปยืนอยู่ ณ ภายใต้ไม้แป้นนั่นแล เรียกบุตรเศรษฐีมาแล้ว กล่าวคาถานี้ว่า :-

"เชิญเถิด อุคคเสน บุตรคนฟ้อน ผู้มีกำลังมาก เชิญท่านจงดู, เชิญท่านทำความยินดีแก่บริษัทเถิด, เชิญท่านทำให้มหาชนร่าเริงเถิด."

เขาได้ยินถ้อยคำของพระเถระแล้ว เป็นผู้มีใจยินดี หวังว่า "พระศาสดามีพระประสงค์จะดูศิลปะของเรา" จึงยืนบนปลายไม้แป้นแล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-

"เชิญเถิด ท่านโมคคัลลานะ ผู้มีปัญญามาก มีฤทธิ์มาก เชิญท่านจงดู กระผมจะทำความยินดี แก่บริษัท จะยังมหาชนให้ร่าเริง."

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ก็กระโดดจากปลายไม้แป้น ขึ้นสู่อากาศ หกคะเมน ๑๔ ครั้งในอากาศแล้ว ลงมายืนอยู่บนปลายไม้แป้น (ตามเดิม).

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า "อุคคเสน ธรรมดาบัณฑิตต้องละความอาลัยรักใคร่ในขันธ์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันเสียแล้ว พ้นจากทุกข์ทั้งหลายมีชาติเป็นต้น จึงควร"

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๖. มุญฺจ ปุเร มุญฺจ ปจฺฉโต
มชฺเฌ มุญฺจ ภวสฺส ปารคู
สพฺพตฺถ วิมุตฺตมานโส
น ปุน ชาติชรํ อุเปหิสิ.

ท่านจงเปลื้อง (อาลัย) ในก่อนเสีย จงเปลื้อง (อาลัย)
ข้างหลังเสีย จงเปลื้อง (อาลัย) ในท่ามกลางเสีย
จึงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจหลุดพ้นในธรรมทั้งปวง
จะไม่เข้าถึงชาติและชราอีก.


แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า มุญฺจ ปุเร ความว่า จงเปลื้องอาลัย คือความยินดี หมกมุ่น ปรารถนา ขลุกขลุ่ย ความถือ ลูบคลำ ความอยาก ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอดีตเสีย.

บทว่า ปจฺฉโต ความว่า จงเปลื้องอาลัยเป็นต้น ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคตเสีย.

บทว่า มชฺเฌ ความว่า จงเปลื้องอาลัยเหล่านั้น ในขันธ์ทั้งหลายแม้ที่เป็นปัจจุบันเสีย.

สองบทว่า ภวสฺส ปารคู ความว่า เมื่อปฏิบัติได้อย่างนั้น จักเป็นผู้ถึงฝั่ง คือไปแล้วสู่ฝั่งแห่งภพแม้ทั้ง ๓ อย่างได้ ด้วยอำนาจแห่งอันกำหนดรู้ ละ เจริญ และทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง มีใจพ้นแล้วในสังขตธรรมทั้งปวง ต่างด้วยขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้นอยู่ ต่อไปไม่ต้องเข้าถึงชาติ ชราและมรณะ.

ในกาลจบเทศนา การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่สัตว์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ แล้ว.


.
อุคคเสนทูลขอบรรพชาอุปสมบท

ฝ่ายบุตรเศรษฐีกำลังยืนอยู่บนปลายไม้แป้น บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว ลงจากไม้แป้นมาสู่ที่ใกล้พระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาตรัสกะนายอุคคเสนนั้นว่า "ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด." อุคคเสนนั้นได้เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบริขาร ๘ ประหนึ่งพระเถระมีพรรษาตั้ง ๖๐ ในขณะนั้นนั่นเอง.

ต่อมา พวกภิกษุถามท่านว่า "คุณอุคคเสน เมื่อคุณลงจากปลายไม้แป้น (สูง) ตั้ง ๖๐ ศอก ขึ้นชื่อว่าความกลัว ไม่ได้มีหรือ?"

เมื่อท่านตอบว่า "คุณ ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผมเลย"
จึงกราบทูลแด่พระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า พระอุคคเสนพูดอยู่ว่า ‘ผมไม่กลัว’ เธอพูดไม่จริง ย่อมอวดคุณวิเศษ"

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้มีสังโยชน์อันตัดได้แล้ว เช่นกับอุคคเสนผู้บุตรของเรา หากลัว หาพรั่นพรึงไม่"

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ในพราหมณวรรคว่า :-

"เรากล่าวผู้ที่ตัดสังโยชน์ทั้งหมดได้ ไม่สะดุ้ง
ผู้ล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้อง ไม่ประกอบด้วยโยคะกิเลส
แล้วว่า เป็นพราหมณ์."

ในกาลจบเทศนา การบรรลุธรรมพิเศษได้มีแล้วแก่ชนเป็นอันมาก.

รุ่งขึ้นวันหนึ่ง พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย เหตุคือการอาศัยลูกสาวนักฟ้อน เที่ยวไปกับด้วยนักฟ้อนของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตอย่างนี้ เป็นอย่างไรหนอแล? เหตุแห่งอุปนิสัยพระอรหัตเป็นอย่างไร?"


.
พระศาสดาตรัสบอกอุปนิสัยของพระอุคคเสน

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร?"

เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วยเรื่องชื่อนี้" ดังนี้แล้ว

ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เหตุแม้ทั้งสองนั่น อันอุคคเสนนี้ผู้เดียวทำไว้แล้ว"

เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงทรงชักอดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า :-

ดังได้สดับมา ในอดีตกาล เมื่อสุพรรณเจดีย์สำหรับพระกัสสปทศพล อันเขากระทำอยู่ พวกกุลบุตรชาวพระนครพาราณสี บรรทุกของเคี้ยวของบริโภคเป็นอันมากในยานทั้งหลาย กำลังไปสู่เจดีย์สถาน ด้วยตั้งใจว่า "พวกเราจักทำหัตถกรรม" พบพระเถระองค์หนึ่งกำลังเข้าไปเพื่อบิณฑบาตในระหว่างทางแล้ว.

ลำดับนั้น นางกุลธิดาคนหนึ่ง แลเห็นพระเถระแล้ว จึงกล่าวกะสามีว่า "นาย พระผู้เป็นเจ้าของเราเข้ามาอยู่เพื่อบิณฑบาต อนึ่ง ของเคี้ยวของบริโภคของเราในยาน มีเป็นอันมาก, นายจงนำบาตรของท่านมา เราทั้งสองจักถวายภิกษา."

สามีนำบาตรมาแล้ว ภรรยายังบาตรนั้นให้เต็ม ด้วยของควรเคี้ยวของควรบริโภคแล้ว ให้สามีวางลงในมือของพระเถระ แม้ทั้งสองคนทำความปรารถนาว่า "ท่านเจ้าข้า ดิฉันทั้งสองคนพึงมีส่วนแห่งธรรมอันท่านเห็นแล้วนั่นเทียว."

พระเถระแม้นั้นเป็นพระขีณาสพ เพราะฉะนั้น เมื่อท่านเล็งดู ทราบภาวะ คืออันจะสำเร็จความปรารถนาของเขาทั้งสองนั้นแล้ว ได้ทำการยิ้ม.

หญิงนั้นเห็นอาการนั้นเข้า จึงพูดกะสามีว่า "นาย พระคุณเจ้าของเราย่อมทำอาการยิ้ม ท่านจักเป็นเด็กนักฟ้อน." ฝ่ายสามีของนางตอบว่า "นางผู้เจริญ ก็จักเป็นอย่างนั้น" ดังนี้แล้ว หลีกไป. นี้เป็นบุรพกรรมของเขาทั้งสองนั้น.

สามีภรรยานั้นดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นชั่วอายุแล้ว ก็เกิดในเทวโลก เคลื่อนจากที่นั้นแล้ว หญิงนั้นเกิดในเรือนของคนนักฟ้อน ชายเกิดในเรือนของเศรษฐี.

พระอุคคเสนนั้น เพราะความที่ให้คำตอบแก่ภรรยานั้นว่า "จักเป็นอย่างนั้น นางผู้เจริญ" จึงต้องเที่ยวไปกับพวกนักฟ้อน อาศัยบิณฑบาตที่ถวายแล้วแก่พระเถรผู้ขีณาสพ จึงบรรลุพระอรหัตแล้ว.

ฝ่ายธิดาของนักฟ้อนนั้น คิดว่า "อันใดเป็นคติของสามีของเรา อันนั้นเองก็เป็นคติแม้ของเรา" ดังนี้แล้ว บรรพชาในสำนักของภิกษุณีทั้งหลายแล้ว ดำรงอยู่ในพระอรหัต ดังนี้แล.

เรื่องบุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน จบ.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


"อาชีวกบางคน" ในพระสูตรจูฬวัจฉโคตตสูตร


"วัจ. ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็อาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะไปสวรรค์ได้ มีอยู่หรือ?

พ. ดูกรวัจฉะ แต่ภัทรกัปนี้ไปได้เก้าสิบเอ็ดกัปที่เราระลึกได้ เราจักได้รู้จักอาชีวกบางคนที่ไปสวรรค์หามิได้ นอกจากอาชีวกคนเดียว ที่เป็นกรรมวาที กิริยาวาที"






๕. ชีวกสูตร
เรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์

[๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพวันของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้นแล หมอชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้มาว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่า กล่าวตรงกับที่พระผู้มีพระภาคตรัส ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่เป็นจริง ชื่อว่ายืนยันธรรมอันสมควรแก่ธรรม การกล่าวและกล่าวตามที่ชอบธรรม จะไม่ถึงข้อติเตียนละหรือ?



เนื้อที่ไม่ควรบริโภค และควรบริโภค ๓ อย่าง

[๕๗] พ. ดูกรชีวก ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่ากล่าวตรงกับที่เรากล่าวหามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง

ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่า ไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ
คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน เนื้อที่ตนรังเกียจ
ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ นี้แล



ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ
คือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ
ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล.




การแผ่เมตตา

[๕๘] ดูกรชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เธอมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง อยู่ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไปใน ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี เข้าไปหาเธอแล้วนิมนต์ด้วยภัต เพื่อให้ฉัน

ในวันรุ่งขึ้น ดูกรชีวก เมื่อภิกษุหวังอยู่ ก็รับนิมนต์ พอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ภิกษุนั้นนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี แล้วนั่งลงบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ คฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดีนั้น อังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต ความดำริว่า

ดีหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ อังคาสเราอยู่ด้วยบิณฑบาตอันประณีต ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เธอ แม้ความดำริว่า

โอหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอัน ประณีตเช่นนี้ แม้ต่อไป ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอไม่กำหนัด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องถอนตน บริโภคอยู่

ดูกรชีวก ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนว่า
ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเพื่อเบียดเบียน ทั้งสองฝ่าย บ้างหรือ?

ไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ดูกรชีวก สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษมิใช่หรือ?

อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า พรหมมีปกติอยู่ด้วยเมตตา คำนั้นเป็นแต่ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมา คำนี้พระผู้มีพระภาคเป็นองค์พยานปรากฏแล้ว ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีปกติอยู่ด้วยเมตตา.

ดูกรชีวก บุคคลพึงมีความพยาบาท เพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ โมหะนั้น
ตถาคตละแล้ว มีมูลอันขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิด ต่อไปเป็นธรรมดา
ดูกรชีวก ถ้าแลท่านกล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้ เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้นแก่ท่าน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ และโมหะ เป็นต้นนี้.




การแผ่กรุณา มุทิตา อุเบกขา

[๕๙] ดูกรชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เธอมีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไปในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน คฤหบดีหรือ บุตรคฤหบดีเข้าไปหาเธอ แล้วนิมนต์ด้วยภัต เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น

ดูกรชีวก เมื่อภิกษุหวังอยู่ ย่อมรับนิมนต์ พอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ภิกษุนั้นนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี แล้วนั่งลงบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้.

คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น อังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต ความดำริว่า ดีหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ อังคาสเราอยู่ด้วยบิณฑบาตอันประณีต ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เธอ แม้ความดำริว่า

โอหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีตนี้ แม้ต่อไป ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอไม่กำหนัด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องถอนตน บริโภคอยู่

ดูกรชีวก ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนว่า ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย บ้างหรือ?

ไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ดูกรชีวก สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษมิใช่หรือ?

อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า พรหมมีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา คำนั้นเป็นแต่ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมา คำนี้พระผู้มีพระภาคเป็นองค์พยานปรากฏแล้ว ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา.


ดูกรชีวก บุคคลพึงมีความเบียดเบียน มีความไม่ยินดี มีความกระทบกระทั่งเพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ โมหะนั้น ตถาคตละแล้วมีมูลอันขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา
ดูกรชีวก ถ้าแลท่านกล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้ เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้นแก่ท่าน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้.




ทำบุญได้บาปด้วยเหตุ ๕ ประการ

[๖๐] ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา ดังนี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๑ นี้

สัตว์นั้น เมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์ โทมนัส ชื่อว่า ย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๒ นี้

ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๓ นี้

สัตว์นั้นเมื่อเขากำลังฆ่าย่อมเสวยทุกข์ โทมนัส ชื่อว่า
ย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๔ นี้

ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๕ นี้

ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกของตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.


[๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชีวกโกมารภัจจ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญไม่เคยมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายย่อมฉันอาหารอันไม่มีโทษหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉันใด

พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ชายผู้เดินทางข้ามเวลามาจากปี 2045 บอกเล่าเรื่องต่างๆ เผยมี ‘ประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด’ เกิดขึ้น!!

https://www.catdumb.com/2045-time-trave ... CzZDZS9Qyg


คนทั่วๆไปอ่านแล้วสงสัยว่า จริงหรือเท็จ







walaiporn เขียน:
"แต่เหตุร้ายเหล่านี้จะเกิดแก่สัตว์โลกทั่วๆ ไป และแก่พระศาสนาของพระพุทธองค์ในภายภาคหน้า เมื่อล่วงเลยพุทธกาลไปแล้ว 2500 ปี เมื่อศาสนาเสื่อมลง"


กล่าวกันว่า อายุพระพุทธศาสนาของพระสมณโคดม ยืนยาวเพียง 5,000 ปี หลังจากนั้น ต้องรอยุคของพระศรีอาริยเมตไตรย์ พระพุทธเจ้าองค์ต่อไปเสด็จมาโปรดสัตว์




พุทธทำนายในที่นี้ จะกล่าวถึงเรื่องที่ พระพุทธเจ้าทรงทำนายพระสุบิน (ความฝัน) ของพระเจ้าปเสนทิโกศล จำนวน 16 ข้อ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงทำนายว่า เหตุการณ์เหล่านั้นจะเกิดขึ้น ในยุคสมัยที่ศาสนาได้เสื่อมลง ซึ่งหลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน เนื้อความดังกล่าวปรากฏใน อรรถกถาพระไตรปิฎก มหาสุบินชาดก เอกนิบาตชาดก ขุททกนิกาย

วันหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้ครองกรุงสาวัตถี ได้เสด็จเข้าสู่นิทรารมย์ในราตรีกาล ครั้นล่วงปัจฉิมยามใกล้รุ่ง ได้ทอดพระเนตรเห็น พระสุบินนิมิตอันใหญ่หลวง ถึง 16 ประการ อันเป็นพระสุบินที่แปลกประหลาด จึงทรงตกพระทัยตื่นบรรทม และครั้นรุ่งเช้า ก็ได้ให้พวกพราหมณ์ปุโรหิตประจำราชสำนักทำนาย พวกพราหมณ์ปุโรหิต ก็พากันทำนายว่าเป็นพระสุบินที่ร้าย และว่าพระองค์จะต้องประสบภัยอันตราย 3 ประการ ไม่เสียราชทรัพย์ ก็จะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน หรือไม่ก็ต้องสวรรคต อย่างใดอย่างหนึ่ง และแนะให้พระองค์ทำพิธีบูชายัญสัตว์ เพื่อสะเดาะเคราะห์ เมื่อพระนางมัลลิกา พระมเหสีทราบเรื่องเข้า จึงทูลให้ไปขอคำแนะนำจากพระพุทธเจ้า



ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้ทรงทำนายว่า เหตุร้ายนั้นจะมีแน่นอน เพียงแต่มิใช่เกิดแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล หรือแว่นแคว้นของพระองค์ แต่เหตุร้ายเหล่านี้จะเกิดแก่สัตว์โลกทั่วๆ ไป และแก่พระศาสนาของพระพุทธองค์ในภายภาคหน้า เมื่อล่วงเลยพุทธกาลไปแล้ว 2500 ปี เมื่อศาสนาเสื่อมลง




11. ทรงฝันว่า คนนำแก่นจันทน์ที่มีราคาแพง ไปแลกกับเปรียงเน่า
(อ่านว่า เปฺรียง มี 3 ความหมาย คือ 1. นมส้มผสมน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน 2.น้ำมันจากไขข้อวัว และ 3.เถาวัลย์ เปรียง แต่ในที่นี้น่าจะหมายถึงเถาวัลย์เปรียง เทียบกับแก่นจันทน์ที่เป็นไม้เหมือนกันมากกว่า 2 ความหมายแรก)

พระพุทธองค์ทรงทำนายว่า กาลภายหน้า พระภิกษุอลัชชีเห็นแก่ได้ทั้งหลาย แทนที่จะนำธรรมะ ที่พระพุทธองค์สอน ไปสอนสั่งให้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ และละความโลภ กลับใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหากิน หาปัจจัยบริจาคเข้าตัวเอง เหมือนเอาแก่น จันทน์ (ธรรมะคำสอนที่ดี) ไปแลกเอาเถาวัลย์เน่า (ลาภอามิสที่ได้รับมา ซึ่งไม่จีรังและไม่ช่วย ให้พ้นทุกข์จริงๆ ได้)





ถ้าได้การอ่านแล้ว จะรู้สึกอัศจรรย์ในการแจ้งอนาคตงสญาณของพระพุทธเจ้า

ถึงแม้จะผ่านไป 2500ปีกว่า พระองค์ทรงตรัสไว้ล่วงหน้า เกี่ยวกับโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์ ที่มีเกิดขึ้นในปัจจุบันว่า จะเป็นอย่างไร

โดยไม่ต้องไปการทำนายจากบุคคลอื่นๆว่า นั้นเป็นโสดาบัน นี่เป็นสกิทาคา โน่นเป็นอนาคามี โน่นแล้วก็โน่นเป็นอรหันต์ สามารถรู้ด้วยตนเอง(ปฏิบัติและสิกขา)

แต่ยังต้องฟังจากพระอริยะ คือ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว แต่พระพุทธรรมที่พระองค์ทรงตรัสไว้ ยังคงมีปรากฏอยู่

แล้วโดยเฉพาะ ท่านพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร พระอานนท์ รวมทั้งพระอรหันต์ในพุทธกาล ก็ยังมาเกื้อกูล ให้ประโยชน์เพื่อสิ้นทุกข์




บทว่า ทสฺสนมฺปหํ ตัดบทเป็น ทสฺสนํปิ อหํ ก็การได้เห็นนี้นั้น มี ๒ อย่างคือ การเห็นด้วยจักษุ ๑ เห็นด้วยญาณ ๑. ในการได้เห็น ๒ อย่างนั้น

การได้เห็นคือการได้แลดูพระอริยะทั้งหลายด้วยจักษุ อันเลื่อมใสชื่อว่า การได้เห็นด้วยจักษุ.

ส่วนการได้เห็นลักษณะอันพระอริยะเห็นแล้วและการแทงตลอดลักษณะอันพระอริยะแทงตลอดแล้ว ด้วยฌาน ด้วยวิปัสสนา หรือด้วยมรรคและผล คือว่า การได้เห็นด้วยญาณ.

แต่ในการได้เห็น ๒ อย่างนี้ การได้เห็นด้วยจักษุ ประสงค์เอาในที่นี้. เพราะว่า แม้การได้แลดูพระอริยะด้วยจักษุอันเลื่อมใส มีอุปการะมากทีเดียว.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2019, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:


ภิกขุปุจฉา

[๒๕๕] ท่านพระโคดมจงยกไว้ ก็ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดม ทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ มีอยู่หรือ?

ดูกรวัจฉะ พวกภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา
อาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันแล้ว เข้าถึงอยู่นั้น มี
ไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.



ท่านพระโคดมจงยกไว้ พวกภิกษุจงยกไว้ ก็ภิกษุณีแม้รูปหนึ่งผู้เป็นสาวิกาของท่านพระ
โคดม ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ มีอยู่หรือ?

ดูกรวัจฉะ พวกภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อัน
หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่นั้น
มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.






อุปาสกปุจฉา

[๒๕๖] ท่านพระโคดมจงยกไว้ พวกภิกษุจงยกไว้ พวกภิกษุณีจงยกไว้ ก็อุบาสก
แม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดมฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจารี เป็น
โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับ
จากโลกนั้นเป็นธรรมดา มีอยู่หรือ?

ดูกรวัจฉะ อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี
เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจาก
โลกนั้นเป็นธรรมดานั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย
ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.



ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยกไว้ อุบาสกทั้งหลาย
ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารีจงยกไว้ ก็อุบาสกแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของพระโคดม
ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ทำตามคำสอน ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว
ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของศาสดา มีอยู่หรือ?

ดูกรวัจฉะ พวกอุบาสกผู้เป็นสาวกของเรา ฝ่ายคฤหัสนุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ทำตาม
คำสอน ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็น
ผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของศาสดาอยู่นั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย
ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.



ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยกไว้
อุบาสกทั้งหลายฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารีจงยกไว้
อุบาสกทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารีจงยกไว้
อุบาสกทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม จงยกไว้
ก็อุบาสิกาแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวิกาของท่านพระโคดม ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี
เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น
อันมีไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา มีอยู่หรือ.


ดูกรวัจฉะ พวกอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารีณี
เป็นโอปปาติกา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจาก
โลกนั้นเป็นธรรมดานั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย
ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.




ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยกไว้
อุบาสกทั้งหลายฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี จงยกไว้
อุบาสกทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม จงยกไว้
พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจารี ก็จงยกไว้
ส่วนอุบาสิกาแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวิกาของท่านพระโคดมฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม
ทำตามคำสอน ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง
ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของศาสดา มีอยู่หรือ?


ดูกรวัจฉะ พวกอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม
ทำตามคำสอนผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง
ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของศาสดาอยู่นั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว
ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.




ความเป็นผู้บำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์

[๒๕๗] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมเท่านั้นจักได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์
ส่วนพวกภิกษุจักไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น

แต่เพราะท่านพระโคดมได้เป็นผู้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์
เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จักบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.

ถ้าท่านพระโคดมจักได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์แล้วก็ดี พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้วก็ดี
แต่พวกภิกษุณีจักไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว
เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น

แต่เพราะท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์
และพวกภิกษุก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวกภิกษุณีก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์
เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.



[๒๕๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมจักได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และ
พวกภิกษุจักได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวกภิกษุณีจักได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว แต่พวกอุบาสก
ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี จักไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้
ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ
ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว
เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.


ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมจักได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุจักได้
บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีจักได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์และพวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว
เป็นสพรหมจารี จักได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม
ไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่าน
พระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญ
ให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และ
พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์
นี้ จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญ
ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี
ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสก ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
แล้ว แต่พวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี จักไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว
เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดมได้บำเพ็ญ
ธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก
ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว
บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี
ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.


ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์
พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์

เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น
แต่เพราะท่านพระโคดม ได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์
พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจาริณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
และพวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ จึงได้บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงพ่อฤาษี ท่านบอกว่า ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๐ พบเป็นสมุดข่อย คำพยากรณ์ของพระอรหันต์สมัยกรุงศรีอยุธยา พยากรณ์ไว้ตั้งแต่กรุงเทพยังไม่ปรากฏ แต่สมุดข่อยนั้นเก่า ขาดกระรุ่งกระริ่ง ข้อความก็ขาด จึงไปกราบเรียนหลวงพ่อปาน เดิมหนังสือเล่มนี้เป็นสมบัติของหลวงปู่คล้าย แต่ทว่ามันเก่าเต็มทีก็เลยจ้างเขาเขียนไว้ในสมุดข่อยอีกเล่มหนึ่ง หลวงพ่อใย ทำนายไว้ตั้งแต่ ยุคสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในสมุดข่อยของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(หลวงพ่อใย) พระอรหันต์เจ้าในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้พยากรณ์ไว้ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะแตกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2310) ไว้ว่า.....

รัชกาลที่ 1-มหากาฬผ่านมหายักษ์(ขอให้ท่านพุทธบริษัททั้งหลายจำให้ดี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ใย) ไม่ได้บอกว่ามหากาฬฆ่ามหายักษ์)

รัชกาลที่ 2- รู้จักธรรม

รัชกาลที่ 3-จำต้องคิด

รัชกาลที่ 4-สนิทธรรม

รัชกาลที่ 5-จำแขนขาด!!!

รัชกาลที่ 6-ราษฎร์ราชาโจร

รัชกาลที่ 7-นั่งทนทุกข์

รัชกาลที่ 8-ยุคทมิฬ

รัชกาลที่ 9-ถิ่นกาขาว

เมื่อถึงปลายรัชกาลผ่านเข้ามา
ประเทศชาติจะรุ่งเรืองและเฟื่องฟุ้ง น้ำมันผุดขึ้นมาจนเห็นค่า
พวกกาขาวจะบินรี้หนีเข้ามา เป็นประชาชนเต็มพระนคร
ชนทั่วโลกจะยกพระองค์ท่าน ชื่อกระฉ่อนร่อนทั่วทุกสิงขร
ออกพระนามลือชื่อดั่งทินกร องค์อมรเอกบุรุษแห่งแผ่นดิน
ชาวประชาจะปีติยิ้มสดใส แต่อกไหม้หนอนกินข้างในสิ้น
จะมีพวกกาฝากคอยกัดกิน เพื่อให้ได้สิ่งถวิลสมจินตนา
จะมีการต่อตีกันกลางเมือง ขุนนางเขื่องกังฉินกินทั่วหล้า
คอรัปชั่นจะกัดกร่อนทั้งพารา ประดุจปลวกกินฝานั้นปะไร
ข้าราชการตงฉินถูกประณาม สามคนหามสี่คนแห่มาลากไส้
เกิดวิกฤติผิดเพี้ยนโดยทั่วไป โกลาหลหม่นไหม้ไร้ความดี
ประชาชีจะสับสนเรื่องดีชั่ว ถ้วนทุกทั่วจะมุดขุดรูหนี
ไม่แน่ใจสิ่งที่ทำนำความดี เกรงเป็นผีตายตกไปตามกัน
พุทธศาสน์จะถูกรุกและล้ำ มิตรเคยค้ำเป็นศัตรูมุ่งอาสัญ
เกิดวิกฤติธรรมชาติอุบาทว์ครัน พายุลั่นน้ำถล่มดินทลาย
แผ่นดินแยกแตกเป็นสองปกครองยาก เกิดวิบากทุกข์เข็ญระส่ำระสาย
เกิดการปราบจลาจลชนล้มตาย เลือดเป็นสายน้ำตานองสองแผ่นดิน
ข้าเป็นนายนายเป็นข้าน่าสมเพช ผู้มีบุญมีเดชจะสูญสิ้น
ทั้งพฤฒาจารย์ลือระบิล จะร่วงรินดุจใบไม้ต้องสายลม
ความระทมจะถมทับนับเทวศ ดั่งดวงเนตรมืดบอดสุดขื่นขม
คนที่ดีจะก้มหน้าสุดระทม ส่วนคนชั่วหัวร่อทำท่าดัง
จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว ควงคทามุ่งสู่ดาวสร้างความหวัง
ผู้ปกครองจะเป็นหญิงพึงระวัง สายน้ำหลั่งกรากเชี่ยวหวาดเสียวใจ
ศิวิไลซ์จะบังเกิดในสยาม หลังฝนคร้ามลั่นครืนจะยืนได้
จะเข้าสู่ยุคมหาชนพาไป เปลี่ยนเมืองใหม่ศักราชแห่งประชา
คนชั่วจะถูกปราบราบคาบสิ้น แผ่นดินเดือดสูญหายไร้ปัญหา
ประเทศชาติผ่านวิกฤติด้วยศรัทธา ยามเมื่อฟ้าสีทองผ่องอำไพ




จากคำทำนายรัชกาลที่ 9 จะเอามาเฉพาะเกี่ยวกับพุทธศาสนา

"จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว ควงคทามุ่งสู่ดาวสร้างความหวัง"

หนึ่งนารี หมายถึง ผู้หญิง
ขี่ม้าขาว หมายถึง พุทธศาสนา
ควงคทามุ่งสู่ดาวสร้างความหวัง หมายถึง ความหวังเรื่อง "นิพพาน"

ซึ่งต่างกับปัจจุบันเรื่องนิพพาน ที่เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับนิพพาน
ไม่มีใครมีหลักฐานมาให้เห็นได้ ทำให้เกิดความสับสน
จะรู้ได้ยังไงว่า นิพพาน ที่มีสภาวะตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้


"ผู้ปกครองจะเป็นหญิงพึงระวัง สายน้ำหลั่งกรากเชี่ยวหวาดเสียวใจ"
คุณยิ่งลักษณ์ เป็นนายก


ตรงนี้คำทำนายน่ะ ที่ดังมากในประมาณปี 2553
ส่วนมากจะพูดกันว่า คำทำนายเหล่านี้หมายถึง พระศรีอารย์
"ประมาณปี 2553 ว่า. "...พระศรีอารย์ ท่านเกิดที่โลกนี้นี่ละ. ศาสนาท่านไม่ได้นุ่งห่ม ปฏิบัติแบบนี้. "
ท่านดึงผ้าอังสะท่าน. ประมาณได้ว่า. ศาสนาพระศรีอารย์ ไม่ได้ห่มเหลือง ไม่ได้ถือปฏิบัติเช่นศาสนาพุทธกาลนี้.




"เมื่อศาสนาของตถาคตล่วงมาได้ ๒๕๑๒ (ต่อจากปลายปีระกา ปีจอ พ.ศ. 2560)
พระจันทร์จะเริ่มเปล่งแสงฉายโลก

ครั้นล่วงได้ ๒๕๑๕ ( ปีชวด พ.ศ. 2563 ) นับพ้นระยะปี ๓๐ ปี ( จาก พ.ศ. 2533 - 2563 )"
จำไม่ได้นำมาจากที่ไหน แต่อ่านเจอมานานมากๆ



๓. นิฏฐังคตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เชื่อมั่นในตถาคต

[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา

บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
บรรดาบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเหล่านั้น
บุคคล ๕ จำพวกมีความสำเร็จในโลกนี้

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหนเชื่อมั่นในโลกนี้
คือ พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ ๑
พระโสดาบันผู้โกลังโกละ ๑
พระโสดาบันผู้เอกพีชี ๑
พระสกทาคามี ๑
พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้เชื่อมั่นในโลกนี้ ฯ



และ

เสขสูตร
ว่าด้วยพระเสขะและพระอเสขะ

[๑๐๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ
ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ มีอยู่หรือ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน.
[๑๐๓๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะมีอยู่.

[๑๐๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ เป็นไฉน?

ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็นพระเสขะ.

[๑๐๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
สมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาค มีอยู่หรือ?
พระเสขะนั้นย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาค ไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลายปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่าเราเป็นพระเสขะ.


[๑๐๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะย่อมรู้ชัด ซึ่งอินทรีย์ ๕
คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑
อินทรีย์ ๕ นั้น มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด
ภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ.



[๑๐๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ
ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ เป็นไฉน?

ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด
อริยสาวกผู้เป็นอเสขะถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัย และตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ.


[๑๐๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
ภิกษุผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๖ คือ
จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายยินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑

อริยสาวกผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดว่า อินทรีย์ ๖ เหล่านี้
จักดับไปหมดสิ้นโดยประการทั้งปวง ไม่มีเหลือ และอินทรีย์ ๖ เหล่าอื่น จักไม่เกิดขึ้นในภพไหนๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็นพระอเสขะ.

จบ สูตรที่ ๓

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 20 มิ.ย. 2021, 10:51, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่นาน

[๕๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว พระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาค อุปสมบทแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็ถ้าสตรีจักไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จักตั้งอยู่ได้นานสัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ตลอดพันปี
ก็เพราะสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บัดนี้ พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น

ดูกรอานนท์ สตรีได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด ธรรมวินัยนั้นเป็นพรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่ได้นาน เปรียบเหมือนตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีหญิงมาก มีชายน้อย ตระกูลเหล่านั้นถูกพวกโจรผู้ลักทรัพย์กำจัดได้ง่าย
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนหนอนขยอกที่ลงในนาข้าวสาลีที่สมบูรณ์ นาข้าวสาลีนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน

ดูกรอานนท์ บุรุษกั้นทำนบแห่งสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลไป แม้ฉันใด เราบัญญัติครุธรรม ๘ ประการแก่ภิกษุณี เพื่อไม่ให้ภิกษุณีละเมิดตลอดชีวิต ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ



พันปีแรก พระสัทธรรมตั้งอยู่ด้วยอำนาจพระขีณาสพ(อรหันต์) ผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทา
(ยกมาแสดงบางส่วน)..ครุธรรมเหล่านี้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรีบบัญญัติเสียก่อน เพื่อกันความละเมิด ในเมื่อยังไม่เกิดเรื่อง, เมื่อครุธรรมเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้มิได้ทรงบัญญัติ พระสัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ห้าร้อยปี
เพราะเหตุที่มาตุคามบวช, แต่เพราะเหตุที่ทรงบัญญัติครุธรรมเหล่านั้นไว้ก่อน พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้อีกห้าร้อยปี ข้อนี้ก็ฉันนั้นแล จึงรวมความว่า พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดพันปีที่ตรัสทีแรกนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้.


แต่คำว่า พันปี นั้น พระองค์ตรัสด้วยอำนาจพระขีณาสพผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทาเท่านั้น.
แต่เมื่อจะตั้งอยู่ยิ่งกว่าพันปีนั้นบ้าง

จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระอรหันต์ปัญญาวิมุติ

จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี,

จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระสกทาคามี,

จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจพระโสดาบัน,

รวมความว่า พระปฏิเวธสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดห้าพันปี ด้วยประการฉะนี้.

ฝ่ายพระปริยัติธรรม จักตั้งอยู่เช่นนั้นเหมือนกัน.
เมื่อปริยัติไม่มี ปฏิเวธจะมีไม่ได้เลย,
เมื่อปริยัติมี ปฏิเวธจะไม่มี ก็ไม่ได้.
แต่เมื่อปริยัติ แม้เสื่อมสูญไปแล้ว เพศจะเป็นไปตลอดกาลนาน ฉะนี้แล.



ปัจจุบันยังมีผู้เป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ อยู่หรือไม่.?
หากอ้างตาม อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ ภิกขุนีขันธกะ ที่ว่า

"แต่คำว่า พันปี นั้น พระองค์ตรัสด้วยอำนาจพระขีณาสพผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทา เท่านั้น.
แต่เมื่อจะตั้งอยู่ยิ่งกว่าพันปีนั้นบ้าง
จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพปัญญาวิมุติ
จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี,
จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระสกทาคามี,
จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจพระโสดาบัน,
รวมความว่า พระปฏิเวธสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดห้าพันปี ด้วยประการฉะนี้."


ปัจจุบันอยู่ในพันปีที่สาม "พระปฏิเวธสัทธรรมจักตั้งอยู่ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี"
หากพิจารณาแบบผิวเผิน พูดได้ว่า ไม่มีผู้เป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะในยุคนี้

แต่หากพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ไม่มีข้อความใดที่ระบุชัดเจนว่า
ในยุคนี้ไม่มีอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทัปปัตตะ ในอรรถกถาเพียงกล่าวว่า "ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี" เท่านั้น
อีกทั้งพระอนาคามี สามารถมีปฏิสัมภิทาได้เช่นเดียวกับพระขีณาสพ(อรหันต์)

หากใครจะถามว่า ยุคนี้มีแต่อนาคามีใช่ไหม.?
ขอตอบว่า ในปรินิพพานสูตร พระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดเจนว่า "ลัทธิใดมีมรรค ๘ ลัทธินั้นไม่ว่างจากอรหันต์"
ปัจจุบันมรรคมีองค์ ๘ ยังปรากฏอยู่ครบถ้วน




ปฏิสัมภิทาญาณปฏิบัติ
ปฏิสัมภิทาญาณ หรือปฏิสัมภิทัปปัตโตนี้ เป็นระดับของท่านผู้ทรงคุณพิเศษครอบงำเตวิชโชและฉฬภิญโญทั้งหมด
เพราะเหตุนี้ ท่านผู้ทรงปฏิสัมภิทาญาณนี้จึงต้องปฏิบัติในกสิณทั้งสิบได้ครบถ้วน ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ
เมื่อชำนาญในฉฬภิญโญ คือชำนาญในกสิณแล้ว ท่านเจริญในอรูปฌานอีก ๔ คือ

๑. อากาสานัญจายตนะ
๒. วิญญาณัญจายตนะ
๓. อากิญจัญญายตนะ
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2019, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน


ผู้ที่แจ้งนิพพานตามความเป็นจริง



ปุพพโกฏฐกสูตร
พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า

[๙๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว ตรัสว่า

[๙๘๔] ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.


[๙๘๕] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคว่า
สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา

ชนเหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด

ก็แลอมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา
ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2019, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงนี้เป็นการกล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เฉพาะตน


เพราะรู้เห็น ธรรม(ขันธ์ 5) ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
และรู้เห็น นิพพาน(ความดับภพ) ด้วยตน

โดยรู้จากการอบรมกาย อบรมจิต กล่าวคือ ตั้งใจความเพียรแบบตายยอมตาย
เป็นผู้มีใจแน่วแน่ จนทำปรมัตถสัจจะให้แจ้งชัดด้วยกาย(วิโมกข์ 8)
จนเห็นแจ้งแทงตลอดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา




พระธรรม
เหตุที่ทำให้เกิดการศึกษาเกี่ยวกับพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้
เพราะคำๆนี้เท่านั้น "นิพพาน คือ ความดับภพ"

พระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ แม้จะผ่านเวลาสองพันกว่าปีแล้ว
หากทุกคนตั้งใจทำความเพียรแบบไม่ท้อถอย ทุกคนก็รู้เหมือนๆกัน
ที่ยังไม่รู้ไม่เห็น ล้วนเกิดจาก กรรม คือ การกระทำทางกาย วาจา ใจ ของตน



พระสงฆ์ จึงมีพระคุณต่อข้าพเจ้า โดยเฉพาะหลวงพ่อจรัญ
สอนให้เชื่อเรื่องกรรม ผลของกรรม และให้ทำกรรมฐาน โดยการเจริญสติปัฏฐาน 4
ให้ฝึกกำหนดทุกอิริยาบาท โดยเฉพาะทำกรรมฐาน ให้เดินจงกรม ก่อนนั่ง


หลวงพ่อพระครูนุกูล วัดนาค บางปะหัน อยุธยา
คอยกำกับเรื่องการปรับอินทรีย์ 5 โดยเฉพาะสมาธิ ที่มีมากเกินกว่าสติ
ทำให้เข้าสู่ความว่าง มากกว่าที่จะรู้ชัดกาย

ฝึกจนกระทั่งแจ้งคำที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง


หากไม่เคยเข้าวัด ไม่พบพระสงฆ์ ไม่ได้ฟังพระสงฆ์ ไม่ได้เห็นพระสงฆ์เป็นตัวอย่าง
ชีวิตของข้าพเจ้า อาจจะใช้ชีวิตเปล่า เหมือนที่เคยเป็นในอดีต จมแช่กับโลกธรรม 8



พระอาจารย์ปรีชา วัดนาค บางปะหัน อยุธยา
ให้ปัญญา เกี่ยวกับคำเรื่อง รูปนาม อะไรคือรูป อะไรคือนาม
พระอาจารย์ให้การบ้านครั้งแรกคือ โสฬสธรรม
ข้าพเจ้าก็ท่องๆ จดจำได้ทั้งหมด ที่ท่องเพราะคิดว่า พระอาจารย์จะสอบเหมือนเรียนหนังสือ แต่การสอบอะไรทั้งสิ้น

ต่อมา พระอาจารย์ให้การบ้านว่า ให้ทำตัวเหมือนแมงมุม เพราะจับเหยื่อ
ท่านอธิบายว่า แมงมุมเปรียบเสมือนสติ จับเหยื่อคือ ทุกการกระทบ รู้ให้ทัน จับให้ทัน

จำได้ว่า พระอาจารย์เคยกล่าวชมครั้งหนึ่งว่า เราเป็นคนที่ปล่อยวางง่าย
เนื่องจากเวลาที่ติดขัดเรื่องการปฏิบัติ เช่น สภาวะต่างๆที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
เมื่อโทรฯถามท่าน(พระครูนุกูล) ท่านบอกมา ปฏิบัติตามตลอด ถึงสงสัยก็แค่สงสัย
เพราะเหตุนี้ พระอาจารย์ปรีชา ท่านจึงบอกว่า เจ้านี่ปล่อยว่างเลย
เราบอกว่า ก็ถามแล้ว หลวงพ่อพระนุกูล ก็พูดเดิมๆ ก็ไม่รู้ว่าจะถามอะไร
ก็ถามแล้ว ได้คำตอบเดิมๆ ก็เลยเลิกถามท่าน ตั้งใจทำความเพียรอย่างเดียว
ที่ท่านพูดบ่อย คือเรื่องปรับอินทรีย์





28 พค. ’51
ท่านจะบอกเสมอๆว่า เมื่อเกิดอะไรขึ้น อย่าไปชอบใจ อย่าไปชัง ให้ตั้งจิตไว้กลางๆ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าดู สักแต่ว่าเห็น อย่าไปให้ค่าหรือความหมายใดๆในสิ่งที่พบเห็นหรือเกิดขึ้นในขณะนั้นๆ ให้ทำจิตให้ได้อย่างนี้ตลอดเวลา
เพราะเมื่อก่อนเราก็ไม่รู้อะไรเลยจริงๆ ได้แต่ปฏิบัติอย่างเดียว เพราะรู้ว่าถามไปแล้วก็จะได้คำตอบแบบนี้ เลยเลิกหาคำตอบ


22 ม.ค. ’51
วันนี้เดินจงกรม มันแปลกมากๆ ปกติแล้ว เราเคยเดินแค่ระยะที่ 5 ระยะที่ 6 ไม่เคยเดิน เพราะฐานสติยังไม่แน่นพอ มันจะเซ
ที่ว่าแปลกมากๆก็คือ มันเดินได้เอง คือเราเก็บรายละเอียดทุกย่างก้าวที่เดิน ตั้งแต่ ยก ย่าง วาง ถูก เหยียบ กด เรากำหนดดูตามทุกอริยาบทที่เท้าก้าวไป เห็นว่าอาการมันเกิดคล้ายๆกับในสมาธิ
เห็นการเกิดดับขาดออกเป็นตอนๆของทุกย่างก้าวที่เดิน มันชัดเจนมากๆ

แม้แต่เวลายืน ปกติจะต้องกำหนดยืนหนอ คราวนี้ไม่ต้องกำหนดเลย มันรู้ขึ้นมาเองขณะที่ยืน ตั้งแต่กระหม่อมถึงปลายเท้า ปลายเท้าถึงกระหม่อม มันรู้ตัวต่อเนื่องไม่ขาดสาย เห็นตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบ


15ก.พ.’51
มีอาการแปลกๆอีกแล้ว เราไม่ได้กำหนดอะไร เดินแล้วก็รู้ตัวลงไปทุกย่างก้าวที่เดิน ที่ว่าแปลกก็คือ ยิ่งเดิน ยิ่งละเอียด ยิ่งแยกข้อปลีย่อยออกมาให้เห็นเด่นชัด กายส่วนกาย ลมหายใจส่วนลมหายใจ มันไม่ใช่ความรู้สึกเหมือนเมื่อก่อนที่เราเดิน

เมื่อก่อนมันจะรู้พร้อมไปทั้งตัว เราถึงว่ามันแปลกๆ มันรู้สึกวาบๆขึ้นมาเหมือนเป็นภาพที่มองเห็นทุกขณะที่ก้าวเดิน มันผุดขึ้นมาในใจ อธิบายไม่ถูก
เราก็เลยโทรฯหาหลวงพ่อพระครูภาวนา ถามท่านว่า ทำไมมันเป็นแบบนี้ มันรู้สึกเสียววาบๆทุกขณะที่ย่างก้าว ขนหัวลุก ขนลุกไปทั้งตัว ภาพมันจะผุดขึ้นมาในใจ เห็นภาพชัดเลย

หลวงพ่อถามว่า ที่เห็นน่ะ เห็นที่ตาหรือเห็นที่ข้างใน
เราบอกว่า เห็นข้างใน ตาไม่ได้มองที่ปลายเท้า แต่มองไปข้างหน้า ขณะที่เดิน
ถามท่านว่า ควรทำอย่างไร ในเมื่อรู้สึกก็เลยหยุดเดิน แล้วกำหนด รู้หนอๆๆๆ ก็ยังไม่หาย อาการเสียวแบบนั้น มันเสียวๆอยู่อย่างนั้น อธิบายไม่ถูก โดยเฉพาะที่ฝ่าเท้านี่ชัดเจนมาก มันเสียวๆวาบๆบอกไม่ถูก

หลวงพ่อบอกว่า ไม่มีอะไร มันมีสติ สัมปชัญญะเกิดขึ้น
เกือบจะถามหลวพ่อแล้วว่า คราวก่อนที่รู้ตัวทั่วพร้อมกับอาการเดิน ท่านก็บอกว่า นั่นแหละเรียกว่า สติ สัมปชัญญะ
แต่พอนึกขึ้นได้ว่า หลวงพ่อปรีชา ท่านบอกไว้ว่า มันจะมี 3 ระยะ ก็เลยไม่ถามหลวงพ่อปรีชา ว่าทำไมมันถึงแตกต่างจากคราวแรก

หลวงพ่อบอกว่า ภาษา พระปฏิบัติ การดูลงไปในอาการที่เกิดก็คือการกำหนด แต่เป็นการกำหนดโดยกริยา ไม่ใช้บัญญัติ

ท่านบอกว่า ให้ดูไปตามความเป็นจริงที่เกิด ไม่ให้ใช้รู้หนอที่เป็นสมมุติบัญญัติ ดูลงไปจนอาการนั้นหายไปในที่สุด แล้วค่อยเดินต่อ


19 ก.พ.’51
เดินจงกรม ตั้งแต่เริ่มเดินมันจะเสียวๆที่ฝ่าเท้ายังไม่หาย แล้วเดี๋ยวนี้มันแปลกๆ เหมือนฝ่าเท้าเรามีชีวิต เรารู้สึกไปกับมันทุกระบบที่กระทบ มันเสียวๆอยู่อย่างนั้น
เราก็ทำแบบที่หลวงพ่อบอก เดินมันไป เอาสติ จิตจดจ่ออยู่กับการเดิน พอเดินถึงช่วงยืน อยู่ๆมันก็เกิดเป็นสมาธิขึ้นมา แต่เราไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่นักเรื่องสมาธิ เพราะเดี๋ยวนี้สมาธิเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเราบ่อยมากๆ

20 ก.พ.’51
วันนี้เป็นสมาธิเกือบทั้งวัน ทั้งๆที่บางทีแค่นั่งคิดอะไรบางอย่าง จู่ๆมันก็สว่างพรึ่บขึ้นมา เป็นเกือบทั้งวันเลยวันนี้ สว่างมากๆ ทั้งๆที่โอภาสแบบนี้ เราแทบจะไม่ค่อยเกิดให้เห็นด้วยซ้ำ

21 ก.พ.’51
เดินจงกรม นั่งสมาธิ เป็นระยะๆ เบื่อมากๆเลย ไม่รู้ว่าเบื่ออะไร นั่งก็เบื่อ เดินก็เบื่อ

22 ก.พ.’51
เดินบ้าง นั่งบ้าง กำหนดดูอริยาบทย่อย ก็เกิดสมาธิอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่สนใจละ มันออกจะรำคาญไปด้วยซ้ำ แต่พยายามทำจิตไม่ให้ชอบ ไม่ให้ชัง
เพราะหลวงพ่อพระครูภาวนานุกูลสอนไว้ว่า อย่าไปเบื่อ อย่าไปเกิดความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ มันเป็นสภาวะของมัน ให้พิจรณาดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นอย่างเดียว ไม่ต้องไปใส่ใจว่าอะไรเป็นอะไร ทำไป เดี๋ยวมันจะแจ้งขึ้นมาเอง

25 ก.พ.’51
ความรู้สึกที่ฝ่าเท้า นับวันมันจะมากขึ้นเรื่อยๆ ขนาดใส่รองเท้าเดินแท้ ไม่ใช่เท้าเปล่าเลยนะ มันก็ยังรู้สึกกระทบทุกย่างก้าวที่เดิน เหมือนมันรู้สึกเข้าไปถึงในจิตของเรา มันชัดมากๆ
แม้แต่นั่งบนเก้าอี้ เท้าวางอยู่บนพื้นเฉยๆ มันจะชัดมากๆตรงที่เท้ากระทบถูกพื้น โทรฯหาหลวงพ่อ ถามท่านตั้งแต่ เรื่องฝ่าเท้าที่เป็นอยู่ ท่านบอกว่า ให้ดูลงไปอย่างเดียว ไม่ต้องไปทำอะไร

และเรื่องที่เป็นสมาธิบ่อยๆ ไม่ว่าจะทำอะไรก็เกิดสมาธิตลอดเวลา
ท่านบอกว่า ให้เดินจงกรมเพิ่ม อย่างน้อย 2 ช.ม. เพื่อเจริญสติให้มากขึ้น อย่านั่งมาก ถึงไม่ใช่นั่งขณะที่ทำสมาธิก็ตาม ไม่ให้นั่งมาก ให้เน้นเดิน

26 ก.พ.’51
ฟังพระท่านเทศน์ เรื่อง ศิล และเรื่องการเจริญภาวนา สาเหตุที่ทำให้ไม่ก้าวหน้าเพราะศิลยังพร่องอยู่ ถ้าศิลบริสุทธิ์ การเจริญภาวนาจะก้าวหน้ามากๆ


04 มี.ค. 2008
ตั้งแต่เพิ่มเวลาเดินจงกรม บางวันเดิน 2 ช.ม. บางวันเดิน 3 ช.ม.แต่ละรอบจะเดินอย่างนี้ตลอด ทำไปเรื่อยๆแล้วแต่สะดวก สมาธิที่เกิดถี่ๆเริ่มลดน้อยลง ไปเกิดขณะที่ยืนเป็นพักๆไม่มากเท่าเมื่อก่อน แต่การเข้าออกสมาธิยังคล่องเหมือนเดิม
คือแค่ดูท้องพองยุบ 2หรือ 3 ครั้งก็เข้าสู่สมาธิได้เลย อาการเสียวๆที่ฝ่าเท้ายังมีอยู่แต่น้อยลง แต่ความรู้สึกในการที่ฝ่าเท้าหรืออาการที่เคลื่อนย้ายอริยาบทที่เท้านี้ชัดมากๆ มันจะรู้ขึ้นมาในจิตแบบอธิบายไม่ถูก
แต่ก็ไม่ถามหลวงพ่อ เพราะเชื่อว่า ปฏิบัติไป เดี๋ยวก็จะรู้เอง

.
14 มี.ค. 2008
เมื่อคืนปฏบัติ เจอเวทนา ตัดใจเลยสู้กับเวทนา พิจรณาลงไปว่าเวลาตายเราจักต้องทรมาณมากกว่านี้เยอะ เวทนาที่เคยเจอมีทั้งหนักและเบา
ครั้งนี้ก็หนักหนาสาหัส ปวดจนหลังมากๆร้าวมาที่ก้นกบ เหมือนมันจะหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ บังคับตัวเองเลย ตั้งหลังให้ตรง แล้วสู้กับเวทนาที่เกิด ใจก็คิดพิจรณาไปด้วย
เพราะเรายังมีอุปทานยึดมั่นถือมั่นในกายของเรา มันจึงยังมีเวทนาเกิดอยู่ตลอด มันเกิดแล้วก็หายอยู่อย่างนั้น หนักเบาไม่เท่ากัน มันไม่เที่ยง เราไปบังคับว่าให้เกิดหรือไม่ให้เกิดไม่ได้
พิจรณาหนักๆ พิจรณาว่ามันไม่เที่ยง แล้วจากที่ปวดสุดๆมันก็รู้สึกซ่าๆไปทั้งขา ซ่าๆไปตามส่วนที่ปวด แล้วมันก็ค่อยๆหายปวดไป แล้วนั่งต่อไปจนกระทั่งครบเวลาที่ตั้งไว้
เวทนานี่เจอมาหลายรอบละหนักๆทั้งนั้น แต่ครั้งนี้หนักกว่าทุกครั้งเหมือนร่างกายเรามันจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ

.
31 มีนาคม ’51
วันนี้ ระหว่างเดินจงกรม เกิดเวทนาสุดๆ อยู่ๆมีอาการเหมือนกล้ามเนื้อหลังจะเป็นตะคริว มันเป็นกลุ่มเป็นก้อนๆขึ้นมา แต่ยังไม่ถึงขั้นตะคริว
ความคิดอันดับแรกที่เกิดก็คือ กลัวสุดๆ กลัวเป็นอัมพาต เพราะหลังนี่สำคัญมากๆ หายใจยาวๆ กำหนดรู้หนอๆๆแล้วหยุดเดิน
เปลี่ยนอารมณ์มาจับตรงเวทนาแทน ค่อยๆเอามือออกจากการที่จับไว้ตรงกระเบนเหน็บ หายใจยาวๆ กำหนดรู้ไปเรื่อยๆ
เปลี่ยนเอามือมากุมไว้ข้างหน้า แต่ยกมือขึ้นไม่ได้ หลังมันจะเป็นตะคริว ความรู้สึกยังกลัวอยู่แบบบอกไม่ถูก
แต่ใจก็คิด ถ้าจะเป็นอะไรไปเพราะการปฏิบัติ ก็ให้มันเป็นไป ยังกำหนดรู้อยู่อย่างนั้น
หายใจยาวๆ ค่อยๆลองยกแขนมากุมไว้ข้างหน้า ยังหายใจยาวๆ ใช้สติจับอยู่ที่อาการทุกขณะ

พอยกมือมากุมไว้ข้างหน้าได้แล้ว ก็เริ่มยกมือไปกุมไว้ข้างหลัง พอกุมมือได้ สักพัก
มีอาการเหมือน แผ่นหลังมันแตกออกเป็นส่วนๆ เหมือนกายมันแยกออกจากกัน มันดังเปรี๊ยะในความรู้สึก
แล้วมันก็รู้สึกว่าในหัวสมองมันโล่งไปหมดเลย มันโล่งแบบบอกไม่ถูก ทั้งตัวนี่เบาไปหมด

แล้วพอมานั่งสมาธิต่อ แค่หย่อนตัวนั่งลง ยังไม่ทันจะหายใจเข้าเลย มันเข้าสู่สมาธิทันที
ไม่ได้คิดว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นมันคืออะไร เพียงแต่มองว่า เวทนาแต่ละครั้งนี่ มันช่างสุดๆจริงๆ

ครั้งที่ 1 ที่จำได้คือ เวทนาที่เกิดตอนนั่งสมาธิ อันนี้เกิดที่ขา แต่ที่เหมือนกันคือมันหฤโหดสุดๆเหมือนๆกัน เหมือนกายมันระเบิดแยกออกจากกันเหมือนกัน แต่ตรงนี้พอมันแตกออกมา มันกลับมีตัวรู้เกิดขึ้น

ผลที่ตามมาจากการเดินจงกรมแล้วเกิดเกิดเวทนาเวทนาครั้งนี้ จากที่เราเคยเดินหลังค่อมๆ คือจะเป็นคนไหล่งุ้ม เดี๋ยวนี้เลยกลายเป็นว่า เดินได้หลังตรงแหนวเลย อาการที่ชอบปวดหลังบ่อยๆ มันหายไปเลย
ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น โรคปวดหลังนี่ เป็นมาตั้งแต่สมัยทำงาน ส่วนมากจะเป็นกัน ยกคนไข้ประจำ มันก็เลยเป็นเรื้อรังมาตลอด (หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท)

ความที่ว่าเจอเวทนาบ่อยๆ แบบโหดๆ เดี๋ยวนี้เลยกลายเป็นว่า สามารถมีสติพิจรณาเวทนาที่เกิดได้ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน วันนั้นเจอเวทนาสองชั่วโมงเต็มๆ

พระอาจารย์ท่านบอกว่า ขณะที่เดินจงกรม สมาธิเราเกิดมากเกินไป ให้เรารู้ไปในอริยบทย่อยให้บ่อยๆ เพื่อจะได้มีสติให้มากขึ้นกว่านี้


05 เม.ย. 2008 บัญญัติ-ปรมัตถิ

ท่านมหาธัมมาปาลเถระอาจารย์ชาวลังกา กล่าวไว้ในวิสุทธิมัคคมหาฏีกาว่า :-

นนุ จ ตชฺชา ปญฺญตฺติวเสน สภาวธมฺโม คณฺหายตีติ สจฺจํ คณฺหายตีติ
ปุพฺพภาเค ภานาย ปน วฒฺฑมานาย ปญฺญตฺตี สมติกฺกมิตฺวา สภาเวเยว จิตฺตํ ติฏฺฐตีติ

ถามว่า ท่านเอาปรมัตถธรรมโดยอำนาจบัญญัติที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆมิใช่หรือ
ตอบว่า ใช่ ถือเอาแต่ตอนต้นๆเท่านั้น แต่เมื่อเจริญวิปัสสนาภาวนานานเข้าๆ จิตจะก้าวล่วงบัญญัติเสีย ตั้งอยู่ในปรมัตถสภาวะล้วนๆดังนี้

อธิบายว่า ในการเจริญวิปัสสนานั้น ขั้นต้นๆเมื่อตั้งสติกำหนดพองหนอ,ยุบหนอ เดินจงกรมก็ให้กำหนดซ้ายย่างหนอ,ขวาย่างหนอ,ยกหนอ,เหยียบหนอเป็นต้น
คนทั้งหลายก็อาจสงสัยในวิธีการว่า การกำหนดอย่างนี้เป็นการกำหนดบัญญัติ เมื่อกำหนดบัญญัติอยู่จะจัดเป็นการเจริญวิปัสสนาได้อย่างไร

ความจริง ความสงสัยอันนี้ก็ถูกต้องอยู่ แต่ว่าถูกไม่หมดทีเดียว คือว่าในชั้นแรกนั้นจะต้องให้โยคีผู้ปฏิบัติ ทำการกำหนดอารมณ์บัญญัติไปก่อน มิฉะนั้นจิตจะไม่มีที่กำหนด
เพราะปรมัตถสภาวะเป็นสิ่งที่จะเห็นได้โดยยาก ต่อเมื่อปัญญาภาวนาแก่กล้าขึ้น อารมณ์บัญญัติเหล่านี้จะหายไป เหลือแต่ปรมัตถสภาวะล้วนๆ

ในที่นี้จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึงญาณที่ ๔ อย่างอ่อน โยคีบุคคลต้องกำหนดอารมณ์บัญญัติทั้งสิ้น ยังไม่เข้าถึงปรมัตถสภาวะ แต่พอเจริญวิปัสสนามาเรื่อยๆ ปัญญาภาวนาแก่กล้าเข้า
จนถึงอุทยัพพยญาณอย่างแก่ อารมณ์บัญญัติก็จะหายไปตามลำดับ อารมณ์ปรมัตถ์จะปรากฏขึ้นแทน และเมื่อถึงญาณที่ ๕ คือภังคญาณแล้ว ก็จะมีแต่อารมณ์ปรมัตถ์ล้วนๆ

ในเรื่องนี้เปรียบเหมือนกับบุคคลที่กำลังต้องการข้าวสารบริสุทธิ์เพื่อเอามาหุงต้ม เมื่อตักข้าวสารสกปรกออกจากที่เก็บ ก็จะต้องเอามาใส่กระด้ง,ตะแกรง ค่อยๆร่อน ค่อยๆฝัดอยู่หลายๆครั้ง
เพื่อเลือกเก็บเอาสิ่งสกปรกที่ปะปนอยู่ในข้าวสาร เช่น ขี้หนูหรือยากเยื่อออกให้หมดแล้ว จึงจะได้ข้าวสารบริสุทธิ์ ที่ตนต้องการ

โยคีผู้ปฏิบัติก็เหมือนกัน ในครั้งแรกๆก็ต้องอาศัยอารมณ์บัญญัติไปก่อน เมื่อค่อยร่อนค่อยฝัด โดยการพยายามปฏิบัติไปเรื่อยๆ ปัญญาภาวนาแก่กล้าเข้า ก็จะได้ปรมัตถสภาวะล้วนๆ


อาจมีการสงสัยต่อไปอีกว่า ที่ว่าพอผ่านบัญญัติก็เห็นปรมัตถ์นั้น เห็นได้ตอนไหน?

จะเห็นได้ในขณะที่กำหนดพอง,ยุบ,นั่ง,ถูกไม่มีคือหายไปหมด และการกำหนดอยู่ว่ารู้หนอๆนั้นแหละ เป็นปรมัตถสภาวะล้วนๆที่เดียว เพราะไม่มีอะไร คือหายไปหมด อันเป็นลักษณะของ ภังคญาณ

สรุปได้ความว่า ในขั้นต้นๆการกำหนดอารมณ์ยังเป็นบัญญัติอยู่ อัตตาก็ปรากฏ อนัตตาก็หายไป
ต่อมาปัญญาภาวนาแก่กล้าเข้า อารมณ์บัญญัติก็หายไป อารมณ์ปรมัตถ์เกิดขึ้นแทน ระยะอารมณ์ปรมัตถ์เกิดขึ้นนี้แหละ อนัตตาก็ปรากฏอัตตาก็หายไปฉะนี้

จากหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฎีกา รจนาโดย ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหกัมมัฏฐาน ธัมมาจริยะ

หมายเหตุ
จะเห็นได้ในขณะที่กำหนด(คำบริกรรม/บัญญัติ) พอง,ยุบ,นั่ง,ถูกไม่มีคือหายไปหมด
และการกำหนดอยู่ว่ารู้หนอๆ(รู้ว่า สภาวะที่มีเกิดขึ้นอยู่) นั้นแหละ เป็นปรมัตถสภาวะล้วนๆที่เดียว เพราะไม่มีอะไร คือหายไปหมด


07-03-19
เมื่อมาเพิ่งรู้ว่า ที่ทางพม่าหรืออรรกถาจารย์ นิยมใช้ วิปัสสนานั้น มาจาก การเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น คือ สมถะเกิดขึ้นก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง
ที่ใช้คำเรียกแบบนี้ เพื่อไม่ให้ปฏิบัติสบสนว่า สมถะที่พูดถึงหมายเฉพาะ สมถะที่ยังใช้อารมณ์บัญญัติในการภาวนา เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ ฯลฯ
ปฏิบัติไปจิตกระทั่งจิตเป็นสมาธิ(เป็นหนึ่ง) ในที่นี้หมายเอาเฉพาะสมถะที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น กล่าวคือ อินทรีย์ 5
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ในรูปฌาน เกิดความรู้ชัด ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของอุปทาขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ได้แก่ การรู้ชัดขณะเกิดสภาวะรูปฌาน ขณะเริ่มก่อนเกิด กำลังเกิด ความดับ
และที่มีเกิดขึ้นขึ้นขณะสมาธิคลาย เวลาที่เกิดความรู้สึกตัวครั้งแรก

ขณะที่จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ในอรูปฌาน เกิดความรู้ชัด ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของอุปทาขันธ์ 5 (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
การรู้ชัดขณะเกิดสภาวะอรูปฌาน ขณะเริ่มก่อนเกิด กำลังเกิด ความดับ
และที่มีเกิดขึ้นขึ้นขณะสมาธิคลาย เวลาที่เกิดความรู้สึกตัวครั้งแรก

และการรู้ชัดขณะเกิดสภาวะนิโรธ ขณะเริ่มก่อนเกิด กำลังเกิด ความดับ
และที่มีเกิดขึ้นขึ้นขณะสมาธิคลาย เวลาที่เกิดความรู้สึกตัวครั้งแรก

สำหรับผู้ปฏิบัติที่ไม่รู้คำเรียกต่างๆ เกิดความรู้ชัด ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
จะใช้เรียกว่า การรู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม



07 เม.ย. 2008
ตั้งแต่เจอเวทนาครั้งหลังสุดมานี่ สติชัดเจนมากกว่าเดิม จะทำอะไร หรือจะเกิดอะไร มันจะรู้เท่าทันอารมณ์ที่จะเกิดเสมอ จิตนิ่งลงมากกว่าเดิมมากๆ
สิ่งที่ผ่านมาเป็นบทเรียนที่ดี ในเรื่องของความอยากรู้ อยากเห็นในสภาวะต่อๆไป

จริงๆแล้วการปฏิบัตินี่ ไม่ต้องไปสนใจในสิ่งที่พบหรือเห็น ให้ดูไปตามความเป็นจริงที่เกิดอย่างเดียว
พอกลับมาดูที่กาย ตามความเป็นจริงที่เกิด ไม่ต้องไปพิจรณาอะไรให้มันมากมายเลย เพียงมีสติรู้ตัวตลอดเวลา ขณะที่สภาวะต่างๆมาแสดงให้เห็น
เพราะเราไม่เคยพิจรณาอะไรเลยจริงๆ เมื่อถึงเวลาสภาวะนั้นเกิดเต็มที่แล้ว เดี๋ยวรู้เอง พิจรณามากไป เดี๋ยวจะกลายเป็นวิปัสสนึก ก็จะกลายเป็นมานะกิเลสเกิดโดยไม่รู้ตัว (พูดแบบคนรู้ปริยัติน้อยมาก แทบไม่รู้ปริยัติเลย)

ช่วงนี้จิตมันนิ่งมากๆ เข้าออกสมาธิได้คล่อง มีสติรู้ตัวอย่างต่อเนื่อง วันนี้ไปทำงาน จะทำสมาธิช่วงพักเที่ยงประจำ ไม่ได้ทำมาหลายวันละ ทำแบบเต็มที่
เดินจงกรมชั่วงเวลางาน แล้วนั่งสมาธิตอนเที่ยงจนถึงบ่ายโมง ได้แต่เก็บหน่วยกิตเอา

แล้ววันนี้ก็แปลก เราอ่านหนังสือ อ่านก็ตั้งจิตอ่านลงไปด้วย ไม่ได้สักแต่ว่าอ่านเหมือนอ่านหนังสือทั่วไป มันเหมือนว่าเราง่วง ง่วงแบบบอกไม่ถูก เราก็คิดว่า เราคงง่วงนอนธรรมดา
เราก็เลยนั่งหลังพิงเก้าอี้ ตอนแรกนั่งตัวตรงๆธรรมดา แต่ตอนอ่านหนังสือ ท้องพองขึ้น ยุบลง เรารู้อาการของกายตลอดถึงแม้จะอ่านหนังสือก็ตาม

พอเอาหลังพิง แล้วหลับตาลง กะว่าจะนั่งพักสายตาเฉยๆ ที่ไหนได้ มันเกิดแสงสว่างขึ้นมามากๆ สว่างแบบบอกไม่ถูก เราก็รู้หนอๆๆๆ แล้วก็รู้ลงไปตามสิ่งที่เกิดขึ้น สักพักหนึ่งแสงสว่างนั้นก็หายไป
เราก็ร้องอ้าวในใจว่า ไหงเป็นแบบนี้ไปได้ เราคิดว่าเราง่วง ที่แท้สมาธิมันเกิดมากไป ลืมตามา หายง่วงเป็นปริดทิ้ง ก็เลยลุกขึ้นเดินจงกรม

พระอาจารย์ยิ่งบอกว่า ให้เราเดินให้มาก นั่งให้น้อย นี่แค่นั่งอ่านหนังสือเองนะ จิตมันไวกว่าเมื่อก่อนมาก
เดี่ยวนี้ ถ้าเรากำลังทำอะไรอยู่ แล้วเรารู้สึกเหมือนว่าเราง่วง เราจะลุกเดินจงกรมทันที เพราะเท่าที่สังเกตุมาพักหลังนี่ ถ้ามีอาการง่วง แล้วนั่งหลับตาทีไร มันเป็นสมาธิทุกที บางทีสติไม่ทันก็ดิ่งนิ่งไปเลย

เวลาเดินจงกรมก็เหมือนกัน พอถึงตอนยืนทีไร จะเป็นสมาธิทันทีเหมือนกัน ก็เอาสติเป็นตัวรู้ตลอด เคยมีหลายครั้ง เกิดสมาธิขณะที่เดินจงกรม หัวทิ่มเลย สติมันไม่ทัน เราก็ขำๆตัวเอง เผลอไม่ได้เลย ต้องให้ทันตลอด
นั่งเฉยๆไม่ได้ทำอะไร ก็รู้ที่กายตลอด ดูอาการท้องพองยุบตลอด ถ้าเผลอจะเป็นสมาธิทันที อะไรที่มันมากเกินไปมันก็ไม่ดี




10 เม.ย. 2008
การเดินจงกรม การเดินจงกรม จะเดินแบบมีรูปแบบหรือไม่มีรูปแบบก็ได้ เดินแบบไหนก็ได้
การที่บางสำนักสอนแบบมีรูปแบบในการเดิน เป็นเพียงอุบายในการสอนการเดินจงกรม จริงๆแล้วก็คือท่านจะให้มีสติรู้ตัวตลอดขณะที่เดินหรือที่กายเคลื่อนไหวนั่นเอง
เพียงแต่ต้องเดินอย่างมีสติ มีสติมีอย่างไร มีจิตจดจ่ออยุ่กับการเดิน เดินก็ให้รู้ว่าเดิน จะยก จะย่าง จะถูก จะเหยียบ จะกด

เมื่อเท้าลงสัมผัสพื้นก็ควรู้ลงไปทุกอาการ พื้นอ่อน นุ่ม แข็ง ร้อน เย็น โดยเอาจิตเข้าไปรู้ ไม่ใช่ใช้ตาดู
เวลาเกิดอะไรมากระทบขณะที่เดินหรือนั่งสมาธิ ก็ต้องกำหนดรู้ลงไปในสิ่งที่เกิด
ใหม่ๆอาจจะทำไม่ทัน อาจจะใช้รู้หนอๆ หายใจยาวๆ เพื่อรั่งจิตให้ช้าลง สติจะได้เกิดทัน
หรือจะให้ละเอียดมากกว่านี้ก็ดี ยิ่งรู้ลงไปให้ละเอียดมากเท่าไรได้ก็ยิ่งดี

การกำหนดสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้จิตมีที่เกาะ มีที่ยึด สติจะได้เกิดทันจิต หรือรู้เท่าทันจิต หรือรู้ตามความเป็นจริงที่เกิดได้ทัน
เมื่อทำบ่อยๆจนมีสติ สัมปชัญญะมากขึ้น ต่อไปก็ไม่ต้องไปกำหนดแล้ว เพราะจิตจะรู้เห็นตามความเป็นจริงที่เกิด
ผู้ใดทำแบบไหนถนัดก็ทำไป เพียงแต่ให้มีสติ สัมชัญญะรู้ตัวขณะทุกอริยาบทเดิน

การนอน ไหนๆก็จะนอนอยู่แล้ว เราสามารถสร้างกุศลจากการนอนได้ โดยขณะที่นอน เราก็รู้ที่กาย ใช้จิตดูอาการที่กายเคลื่อนไหว
อาการนี้คือท้องพอง ท้องยุบ หรือจะใช้ดูลมหายใจ จะมีภาวนาหรือไม่มีภาวนาก็ได้ คือให้รู้ตามอาการของความจริงที่เกิดขึ้น
รู้ไปเรื่อยๆ เป็นการสร้างสติขณะที่นอน หรือถ้าเกิดเป็นสมาธิขึ้นมา ก็ให้รู้ว่าเกิดไม่ต้องไปสงสัย

อริยาบทย่อย ไม่ว่าจะทำอะไรก็ให้กำหนดรู้ลงไปทุกๆครั้ง เป็นการสร้างสติ สัมปชัญญะให้เกิดเหมือนกัน
ทำเท่าที่ทำได้ ไม่ต้องไปเครียด ตรงไหนผ่านไปแล้วไม่ทัน ก็ให้รู้ว่าไม่ทัน แต่ไม่ต้องไปวิตกกังวล



13 เม.ย. 2008
ขณะที่เกิดเวทนา พิจรณาเห็นเวทนาตั้งแต่เกิด ขณะที่เกิด และดับลงไป เวียนวนอยู่อย่างนั้น ดูไปดูมา เหมือนมันวูบหายไป สักพักเราก็คิดว่าน่าจะพอละ เลยหยิบนาฬิกามาดู วางไว้ข้างตัว ไม่ได้ตั้งจับเวลา ทุกทีจะตั้งเวลา
ที่ไหนได้ ตี 3 ทำไมมันไวอย่างนี้ สรุปก็คือ จิตมันไว มันไปเข้าอยู่ในสมาธิ เพราะเรารู้สึกว่ามีช่วงเวลาที่หายไป นี่ขนาดพิจรณาเวทนาที่เกิดนะ ว่ามีสติรู้ตัวดีแล้วนา สุดท้ายก็เสียท่าสมาธิอีก มันช่างไม่เที่ยงจริงๆเลย


23 เม.ย. ’51
การที่จิตรวมเป็นหนึ่งในทุกขณะอริยาบทได้ นี่ดีจริงๆ (พักนี้เกิดถี่มาก) ช่วยตัดความวุ่นวายภายนอกตัวไปได้มาก ๆ รู้สึกถึงความสว่างโล่งไปหมด
วันนี้ก็ปฏิบัติเหมือนเดิม เดินจงกรม กับรู้ลงไปในอริยาบทย่อยเวลาทำงาน พอพักเที่ยงก็นั่งสมาธิต่อ เดี่ยวนี้อย่างที่บอกไว้ จิตจะรวมเป็นหนึ่งเข้าสู่สมาธิเร็วมากๆ
เมื่อเข้าสู่สมาธิแล้ว โอภาสจะเกิด เกิดบ่อยมาก (ซึ่งเมื่อก่อน น้อยครั้งที่จะเกิดสว่างมากๆแบบนี้)

วันนี้สติดี จับตรงช่วงที่สว่างมากๆได้ 6 ครั้ง ในเวลานั่ง 1 ช.ม. นอกนั้นสว่างปกติ สว่างตลอด แต่ก็มีสติรู้ตัวตลอด เวทนาจับได้ตั้งแต่เกิดแล้วก็ทรงๆอาการอยู่อย่างนั้น
ตอนนี้ไม่กลัวเวทนาแล้วไม่ถอยด้วย เพราะรู้ว่า ถ้าสติดี เราเอาเวทนาอยู่ เป็นการฝึกสติ ถึงแม้ว่าจะยังแยกกายออกจากจิตยังไม่ได้เด็ดขาดได้ตลอดก็ตาม

จำได้มีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่เกิดเวทนา เห็นตั้งแต่เกิดจนดับ เกิดดับ อยู่อย่างนั้น ขณะนั้นจิตมีสติรู้ตัวอยุ่ตลอดเวลา ไม่เข้าไปรับรู้กับเวทนาที่เกิด มีหน้าที่ดูอย่างเดียว
โอภาสนี่ก็แปลกดีนะ บางทีก็สว่างโล่งไปหมด สว่างมากๆ บางทีก็สว่างเหมือนไฟนีออนนธรรมดา บางทีก็สว่างแค่ตา เราก็คิดเอาเองว่า อันไหนสว่างมากก็คือสมาธิแรงกว่าระดับอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไร แค่ดูไปตามความเป็นจริงที่เกิด



24 เม.ย. ’51
เดินจงกรม และนั่งสมาธิต่ออีก ก็เหมือนทุกๆครั้ง พอนั่งปั๊บจิตก็รวมเข้าสู่สมาธิทันที
ปกติเวลาเป็นสมาธิ สาธิจะตั้งอยู่ได้นาน ดูจากตา ตาจะมีแสงสว่างอยู่ตลอดเวลา ทั้งๆที่ห้องปิดไฟมืด (นั่งหลับตา ไม่ได้ลืมตา) ถ้ามืดลง คือสมาธิคลายตัว
แต่วันนี้โอภาสเกิดบ่อยๆมากๆ มันจะรู้สึกวาบปั๊บ จะเกิดแสงสว่างมากๆ ไม่ใช่สว่างแบบทุกครั้ง เราก็เลยลองนับดูว่า จะมีแสงสว่างแบบนี้อีกไหม แล้วมีกี่ครั้ง เรานับได้ 26 ครั้ง เกิดดับอยู่อย่างนั้น ไม่ได้พิจรณาอะไร อยากเกิดก็เกิดไป

เราก็คิด ก็คงเหมือนเวทนาน่ะแหละ เพียงแต่เราไม่เคยเจอหรือเห็นบ่อยขนาดนี้ ส่วนมากจะเห็นแค่ครั้ง 2 ครั้ง และแสงสว่างเท่าที่เราเจอบ่อยก็คือสว่างอยู่ที่ตาอย่างเดียว
เวลาที่สว่างมากๆ เรารู้สึกเหมือนกับว่าบริเวณช่วงแถบตา ไม่นับหน้าผาก และบริเวณใบหน้าที่ต่ำมาจากดวงตา เราจะรู้สึกมันวูบๆเหมือนมีเปลวไฟอ่อนๆมาอังอยู่บริเวณตา มันจะรู้สึกร้อนวาบๆอยู่อย่างนั้น (ไม่รู้ว่าคิดไปเองหรือเปล่า แต่มันรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ)

ไม่ได้โทรฯถามครูบาฯ เพราะรู้คำตอบอยู่แล้วว่าท่านจะต้องบอกว่า
" ทำไป ไม่ต้องไปสนใจ หรือไปให้ค่าให้ความหมายใดๆทั้งสิ้น ให้รู้ไปตามความเป็นจริงอย่างเดียว เดี๋ยวก็รู้เอง "

เพราะเมื่อก่อนเราก็ไม่รู้อะไรเลยจริงๆ ได้แต่ปฏิบัติอย่างเดียว เพราะรู้ว่าถามไปแล้วก็จะได้คำตอบแบบนี้ เลยเลิกหาคำตอบ


2 พ.ค. 2008
พระมหากัจจานะ เป็นผู้ฉลาดในการอธิบายความแห่งคำที่ย่อให้พิศดาร ได้สรรเสริญแต่พระศาสดาว่า เป็นเยี่ยมกว่าสาวกอื่นในทางนั้น วันหนึ่ง พระศาสดาทรงแสดงธรรมว่า
ผู้มีปัญญา ไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เพราะสิ่งที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว สิ่งใดที่ยังไม่มาถึงแล้ว สิ่งนั้นก็ยังไม่ได้มาถึง
ผู้ใดเห็นแจ้งในธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้นๆ ในกาลนั้นๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้นรู้ธรรมนั้นแล้ว พึงให้ธรรมนั้นเจริญเนืองๆ ความเพียรควรทำเสียในวันนี้แล ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจะมีต่อพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนต่อมฤตยูราชที่มีเสนาใหญ่ ไม่มีเลย ผู้รู้ที่เป็นคนสงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้ว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ

ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จลุกเข้าวิหารที่ประทับ ภิกษุทั้งหลายไม่ได้ช่องเพื่อจะกราบทูลถามความแห่งคำที่ตรัสโดยย่อให้กว้างขวาง เห้นความสามารถของพระมหากัจจานะ จึงไปหา อาราธนาให้ท่านอธิบาย
ท่านอธิบายให้ฟังว่า ท่านผู้มีอายุ เรารู้ความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อนั้น ตามความพิศดารว่า

เมื่อบุคคลคิดว่า ในกาลไกลล่วงแล้ว ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับสิ่งที่พึงจะถูกต้องด้วยกาย ใจกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจของเรา มีแล้วอย่างนั้น ความกำหนัดพอใจในสิ่งเหล่านั้นก็ผูกพันวิญญาณ
เพราะวิญญาณอันความกำหนัดผูกพันแล้ว ผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆ ผู้ที่เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆอย่างนี้ ชื่อว่าตนตามคิดสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่คิดอย่างนั้น ความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้นๆ ก็ไม่ผูกพันวิญญาณได้ ผู้นั้นก็ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ผู้ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่ตามคิดสิ่งที่ล่วงไปแล้ว

บุคคลใดตั้งจิตไว้เพื่อหมายจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วว่า ในกาลไกลข้างหน้า นัยน์ตากับรูปเป็นต้น ของเราจักเป็นอย่างนี้
เพราะความตั้งจิตอย่างนั้นเป็นปัจจัย ผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆ ผู้ที่เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆอย่างนี้ชื่อว่ามุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะหมายในสิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วอย่างนั้นๆ สิ่งที่ผู้ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่มุ่งหมายสิ่งที่ตนยังมาไม่ถึงแล้ว

นัยน์ตากับรูปอย่างละ ๒ ๆ อันใดเหกิดขึ้นจำเพาะหน้า ถ้าว่าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้นๆผูกวิญญาณได้แล้ว บุคคลก็เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆ ผู้เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆอย่างนี้ ชื่อว่าง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า
ถ้าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้นๆไม่ผูกพันวิญญาณได้ บุคคลก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้นๆ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้นๆอย่างนี้ ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า


08 พ.ค. 2008
หลังจากที่เกิดโอภาสถี่มากๆพักหลัง ทั้งๆที่บางทีไม่ได้นั่งสมาธิเลย ก็เกิด นั่งคิดอะไรก็ตาม ถ้าเกิดความนิ่งเมื่อไหร่ก็จะเกิด ถ้าทำอะไรอยุ่แล้วเกิดอาการมึนๆง่วงๆน่ะ
แค่หลับตาแว๊บเดียวโอภาสจะเกิดทันทีเลย ขนาดขยับตัวก็ยังไม่หาย สักพักก็จะหายไปเอง พักนี้สมาธิมันทรงอยู่ทั้งวัน เราก็งงๆว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งๆที่ไม่ได้ปฏิบัติมากเท่าเมื่อก่อน

เมื่อเช้าแทบแย่ เราขับมอไซค์ไปทำงาน จู่ๆก็มีอาการมึนๆง่วงๆขึ้นมา เราไม่จอดรถ ฝืนขับต่อ มันจะวูบให้ได้
มือไม้มันอ่อนไปหมด แทบแย่กว่าขับถึงโรงงาน เหตุที่ไม่จอดเพราะเราไม่ยอมทำตามจิตมัน เรารู้ว่า จิตมันทรงสมาธิอยู่ เราไม่ยอม เอาสติเข้าสู้
ตัดสินใจโทรฯหาหลวงพ่อพระครูภาวนานุกูล ปรึกษาท่านว่า ควรจะทำอย่างไร เพราะมันเกิดบ่อยมากๆ

หลวงพ่อพระครูฯ: อย่าไปรู้สึกอะไรกับมัน อย่าไปชอบ หรือชัง ทำใจให้วางเฉยให้ได้ เพราะถ้าไปชอบจะกลายเป็นนิกันติ
คือวิปัสสนูกิเลสนั่นเอง ถ้าทำใจวางเฉยได้ มันจะเป็นวิปัสสนาเกิดขึ้นเอง


เรา: ก็ไม่ได้ชอบหรอกนะหลวงพ่อ (คิดในใจไปด้วยว่า โอภาสมันก็คือนิมิตดีๆนี่เอง เราจะไปเอาทำไม) แต่พักนี้มันเกิดถี่มากกว่าเดิม
หลวงพ่อฯ: เดินจงกรมให้มากขึ้น นั่งให้น้อยลง

เรา: แล้วมันจะหายไหมหลวงพ่อ
หลวงพ่อฯ: หายสิ ทำต่อไป



15 พ.ค. 2008
เพิ่งเข้าใจคำพูดของหลวงพ่อภาวนานุกูลที่ท่านจะพูดเสมอๆในการให้คำแนะนำเวลาติดขัดหรือเจอสภาวะบางอย่าง
ท่านจะบอกเสมอๆว่า เมื่อเกิดอะไรขึ้น อย่าไปชอบใจ อย่าไปชัง ให้ตั้งจิตไว้กลางๆ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าดู สักแต่ว่าเห็น อย่าไปให้ค่าหรือความหมายใดๆในสิ่งที่พบเห็นหรือเกิดขึ้นในขณะนั้นๆ ให้ทำจิตให้ได้อย่างนี้ตลอดเวลา

เพิ่งมาเข้าใจเมื่อวานนี้เอง เมื่อก่อนก็พยายามทำแบบที่หลวงพ่อบอก แต่มันก็ยังมีเอ๊ะอยู่ในใจ เพียงแต่จะถามก็ถามไม่ได้ เพราะรู้อยุ่แล้วว่า เวลาหลวงพ่อตอบ ท่านจะบอกว่าอย่างไร ก็เลยเลิกถาม ถึงจะมีเอ๊ะก็ปล่อยให้มันเอ๊ะไปอย่างนั้น

ที่บอกว่าเพิ่งมาเข้าใจเมื่อวานนี้ก็คือ ตั้งแต่ที่เจอปัญหาว่า จู่ๆความกำหนัดมันก็เกิดทั้งๆที่เราไม่ได้คิดอะไรเลย กำลังปฏิบัติอยู่ด้วยซ้ำ ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นไปได้ เคยถามหลวงพ่อเหมือนกัน เรื่องการกำหนดให้เกิดเป็นอสุภะ

ซึ่งท่านก็บอกว่า จะกลับไปหาสมถะอีกทำไม ให้ดูตามความเป็นจริงที่เกิดอย่างเดียว นี่ท่านบอกอย่างนี้ ซึ่งครั้งนี้ ไม่ใช่เราไม่เชื่อ แต่เราก็อยากจะลองทำดู
พยายามกำหนดนิมิตอสุภะให้เกิดขึ้น แต่ทำไม่ได้ นิมิตนี่ เราไม่เคยมีมาตั้งนานแล้ว เพราะเราไม่เอาเลย

เมื่อวานนี้ เราก็เดินจงกรม เดินไปคิดไป พิจรณาไป ว่าทำไมมันถึงเกิดอารมณ์เช่นนั้น มันเกิดแล้วก็หาย เกิดแล้วก็หาย ทั้งๆที่เราไม่ได้ดูหรือคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นสื่อซึ่งสามารถทำให้เกิดอารมณ์ชนิดนี้ขึ้นมาได้ เดินไปก็ค่อยๆทบทวนไป
จู่ๆก็นึกถึงคำพูดของคุณนุขึ้นมาว่า ผู้ที่ด้อยปริยัติหรือขาดการศึกษา ต่อให้ไตรลักษณ์มาปรากฏอยู่ตรงหน้า พวกนี้ก็จะไม่รู้ เพราะขาดการพิจรณา ขาดการเรียนรู้ จนกว่าปัญญาจะเกิดขึ้นเอง พวกนี้ถึงจะรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น …


เรานะพอนึกถึงตรงนี้ คิดว่าอะไร ทำไมมันถึงเกิด ที่แท้ไตรลักษณ์มาแสดงให้เห็นตรงหน้า ไม่ว่าจะเรื่องเวทนาที่ผ่านมา เรื่องโอภาส ที่เกิด ดับ อยู่อย่างนั้น นี่มาเรื่องความกำหนัดอีก

พอคิดพิจรณา โน่น …. ไปนึกถึงคำสอนของหลวงพ่อพระครูถาวนานุกูลทันทีเลย ในสิ่งที่ท่านบอกเรามาตลอดเวลา
เราเข้าใจเลย วางลงได้ทันทีในความสงสัยในสภาวะที่เกิดขึ้น เดี๋ยวนี้ ถึงแม้จะมีอะไรเกิดขึ้นก็ตาม ก็ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นอย่างเดียว ไม่มีเอ๊ะอีกแล้ว
ทุกอย่างมันล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าเราไปให้ค่าให้ความหมายในสิ่งที่เกิดขึ้น มันก็กลายเป็นอัตตาทันที อย่างนี้นี่เอง

เพราะขาดการศึกษาในปริยัติ ขาดการพิจรณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ได้แต่ดู ได้แต่คิด คิดแล้วคิดอีก จนหยุดคิด เพราะคิดว่า ไม่รู้จะคิดไปทำไม ก็เลยวางลงได้ชั่วขณะหนึ่ง พอนึกถึงอีกก็คิดอีก

14 มิ.ย. 2008
ยิ่งทำยิ่งเห็นทุกข์ ยิ่งเห็นทุกข์ ยิ่งกลัวการเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็ล้วนแต่มีทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นกษัตริย์ เกิดเป็นสามัญชน หรือเกิดเป็นสัตว์ ก็ล้วนแต่มีทุกข์แตกต่างกันไป แล้วแต่เหตุที่เคยได้สร้างกันมา

.
04 ก.ค. 2008
นับตั้งแต่ฟังครูบาฯท่านพูดและได้แนะนำมา เราไม่ได้คิดจะค้านหรือว่าขัด เพียงแต่เรามองว่าครูบาฯแต่ละท่าน ท่านทำได้แบบไหนท่านก็จะสอนแบบนั้น เหมือนกับที่เราได้ปฏิบัติผ่านมา
เรามั่นใจว่าสิ่งที่เราทำนี้มันดีกว่าที่เราต้องมานั่งพิจรณา ทำโดยไม่ต้องไปรู้อะไร ทำโดยวิธีดูสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆอย่างเดียวโดยไม่ไปแทรกแซงความคิดหรืออย่างที่พระครูภาวนานุกูลท่านบอก
อย่าไปชอบ อย่าไปชัง อย่าไปให้ค่าความหมายใดๆกับสิ่งที่เห็นหรือสิ่งต่างๆที่กำลังเกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ ให้ดูตามความเป็นจริงที่เกิดอย่างเดียว




30 ก.ค.’51
มันเป็นขั้นเป็นตอนของมันเองนะการปฏิบัตินี่ ยิ่งมีสติ สัมปชัญญะมากเท่าไหร่ จิตยิ่งพัฒนามากขึ้นไปเรื่อยๆ
วันก่อน ปฏิบัติช่วงเย็น ขณะที่นั่งจิตรวมตัวเป็นสมาธิ ทุกทีจะจับไม่ได้เลยเวลามันดับ จะได้ไม่หลงไปกับสิ่งที่ แต่ตั้งแต่สติดี มันจับได้ทันทีตอนมันดับ มันดับหมดเลย ไม่รับรู้อะไรเลย เหมือนหนังกำลังฉายแล้วดับไปเดี๋ยวนั้น
สติมันจับได้ทัน ซึ่งเกิดดับกับตัวเราหลายครั้ง เพียงแต่เมื่อก่อนสติมันยังด้อย มันเลยจับไม่ทัน ดับไปตอนไหนก็ไม่รู้ รู้แต่ตอนที่กำลังคลายตัวออกมา เที่ยวนี้จับได้เลย ดับปั๊บ สติจับไทนทีว่ามันดับ ขาดวั๊บไปเลย

.
31 ก.ค.
เป็นมา 2 วันแล้ว สมาธิมันมากเกิน นอนไม่หลับเลย พอหลับตาลง สว่างวาบทันที โอภาสเต็มๆ ลุกขึ้นเดินจงกรม แล้วก็นั่งสมาธิต่อ นั่งจนถึงตี 2 ถึงกำหนดนอนได้ ไม่งั้นทำยังไงก็ไม่หลับ ไม่กำหนดก็ไม่หลับ
เมื่อคืนก็เป็นอีก ก็ทำแบบเดิมถึงตี 2 สมาธิแบบนี้ไม่ดีเลย เพราะพอนั่งมันจะดิ่งขาดวั๊บไปเลย สติไม่ทัน จริงๆแล้วครูบาฯส่วนมากท่านจะบอกว่า ถ้าสมาธิมากเกินไปมันไม่ง่วง ไม่ให้นังแต่ให้หาอะไรทำเพื่อเจริญสติ

3 วันเต็มๆแล้ว มันไม่หลับไม่นอน เมื่อคืนก็นั่งพิจรณาถึงเรื่องการเจริญสติให้มากขึ้นเท่านั้น เมื่อมีสติ สัมปชัญญะมากขึ้น ความยึดมั่นถือมั่นในสมมติบัญญัตินั้นๆก็ยิ่งน้อยลง
จากยึดมากก็ยึดน้อยลง สุดท้ายก็จะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดๆเลย จะกลายเป็นเห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงสักแต่ว่าได้ยินเสียงฯลฯ ความคิดที่เกิดขึ้นก็จะรู้ทันว่าเป็นกุศลหรืออกุศลมันจะแยกแยะได้ทัน



2 ส.ค.
เราก็เดินไปด้วย อ่านหนังสือไปด้วย อ่านออกเสียง เอ.. มันก็แปลกดีนะ เท้ากระทบพื้น ทุกย่างก้าวมันรู้ตัวตลอด
อ่านก็รู้ตัวว่ากำลังอ่าน เหมือนประสาทมันแยกต่อมกันทำงาน แล้วก็ไม่คิดด้วยว่าจะทำให้เกิดสมาธิได้และเกิดปีติได้ขนาดนี้

ขณะที่เดิน ปากก็อ่านออกเสียงดัง จิตมันก็จดจ่ออยู่กับตัวหนังสือ มีสติ สัมปชัญญะรู้ทุกย่างก้าวที่เดิน
เรารู้สึกว่าสติดีมากกว่าเมื่อก่อนมากๆ ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนเดินไปด้วย อ่านไปด้วย เราจะไม่มีสมาธิแบบนี้ จะไม่รู้ตัวขณะที่ย่างก้าวเดิน
นี่มันรู้ไปหมด ทุกย่างก้าวมันขาดอกจากกัน ย่างปั๊บ ดับปุ๊บ ขาดออกจากกันทันที

สติ สัมปชัญญะดี มันเป็นอย่างนี้เองหนอ ตอนนี้เราคิดว่าแบบนี้ก็ดีเหมือนกัน ทำให้เราไม่รู้สึกซ้ำซากจำเจรู้อยู่กับการเดินอย่างเดียว นี่มันทำงานทั้งระบบเลยนะ ทั้งตา ปาก เท้า กล้ามเนื้อ ทั้งกายและจิตเลย
ช่วงที่เกิดสมาธิมันจะสงบมากๆ เสียงแอร์ เสียงตู้เย็นทำงาน เสียงเครื่องจักรกลทำงาน มันจะเงียบหายไปทันที แต่เรารู้สึกตัวตลอดทั้งๆที่กำลังเดินและกำลังอ่านนี่แหละ

.
5ส.ค.
ยิ่งปฏิบัติ ยิ่งมีสติ ยิ่งเห็นจิตที่ละเอียด จิตเรานี่มันละเอียดมากๆเลยนะ เพียงแต่เมื่อก่อนสติยังไม่มากพอ จะเห็นแต่หยาบๆ จิตเราสามารถบันทึกเรื่องราวได้มากมาย

หลายวันนี้ สมาธิมันมากเหลือเกิน ยิ่งพิจรณาธรรมมากเท่าไร สมาธิยิ่งแรงมากๆ บางทีสติไม่ทัน ระหว่างกำลังพิจรณามันก็ดิ่งไปทันที
เข้าใจแล้วที่ครูบาฯกล่าวไว้ว่า ยิ่งสมาธิมากเท่าไหร่ สติมากเท่าไหร่ มันจะไม่ยอมหลับยอมนอนเลยนะ มันจะเอาแต่พิจรณาธรรมอย่างเดียว มันไม่ง่วงเลย


17 ก.ย
ความเพียร ตอนนี้ก็ไปเรื่อยๆ จะว่าหักโหมก็หักโหม จะว่าไม่หักโหมก็ไม่หักโหม แต่ละวันความคิดมันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ยุ่งกับคนน้อยลง

การปฏิบัติ ตอนนี้ก็ไม่มีอะไร รู้แต่ว่าพอมีสติดีมากขึ้น ชีวิตก็จำกัดวงแคบมากขึ้น สนใจในทุกๆความคิดที่เกิดมากขึ้น เฝ้าดูตลอด กาย เวทนา จิต ธรรม ตัวไหนเกิดชัด ดูตัวนั้นก่อน เฝ้าดูมันไป
บางทีก็เอ๊ะ เอ๊ะแล้วก็วาง ช่างหัวมัน เพราะไม่รู้ว่าจะเอ๊ะไปทำไม ไม่ไปติดอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง

ค้นหาวิธีพลิกแพลงที่จะทำให้ปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องนอนยาว
ตอนนี้ก็หันมายืนหลับ จากเคยนั่งหลับ ก็ลองมาเปลี่ยนแบบนี้ดู ว่าอันไหนถนัดกว่ากัน
ถ้านั่งหลับ มันยาว ขาดความรู้สึกตัว ยืนหลับนี่อย่างมาก 1 ช.ม. ไม่เคยเกิน แถมยังรู้สึกตัวเป็นระยะ ไม่หลับแล้วหลับเลยเหมือนนั่งหลับ


08 พ.ย. 2008
ยิ่งดูจิต ยิ่งเห็นรายละเอียดเยอะ บ่งถึง สติ สัมปชัญญะ ยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งรู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้นเข้าออกในจิตมากขึ้นกว่าเดิม
คือรู้เท่าทันมากขึ้น สังขารการปรุงแต่งน้อยลง เห็นตามความเป็นจริงชัดขึ้น เห็นความไม่เที่ยงมากขึ้น มันเลยมีแต่ความเบื่อหน่ายมากขึ้น มันเป็นอย่างนี้เอง หลงไปยึด หลงไปปรุงกับมัน ทุกอย่างมันเป็นเรื่องของความเพียร ความต่อเนื่อง
ไหนจะวิบากกรรมที่เคยกระทำมาอีก ไหนจะเหตุใหม่ที่ทำไปด้วยความไม่รู้อีก แต่ตั้งแต่เข้าใจถึงเหตุและผล ทำให้ระมัดระวังมากขึ้น


29 พ.ย. 2008
เดี๋ยวนี้เวลาอะไรมากระทบ มันก็แค่รู้ รู้แล้วก็จบ ไม่ต่อความยาวสาวความยืด เหตุที่จบหรือดับได้เร็ว
เพราะมันมองทะลุไปถึงเหตุหรือต้นตอที่เคยทำให้เกิดขึ้น จึงมีผลเป็นเช่นนี้
การเจริญสตินี่สำคัญมากๆ ยิ่งสติ สัมปชัญญะมากเท่าไร สมาธินับวันก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น มันจะมองเห็นตามความเป็นจริงได้ชัดเจนมากขึ้น
ยิ่งเห็นต่อเนื่อง ยิ่งเห็นมันก็ยิ่งทำให้เบื่อ เบื่อที่จะเกิด เพราะมันมองเห็นแล้วว่า ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรมันก็มีแต่ทุกข์ สุขจริงๆแล้วมันไม่มี มันมีแต่ความเบื่อหน่าย
เพราะเหตุนี้ความเพียรจึงมีตลอด แรกๆก็พยายามหาหนทางให้เกิดความเพียรอย่างต่อเนื่อง แต่ตอนนี้เริ่มรู้แล้วว่า ทุกอย่างมันเป็นไปตามขั้นตามตอนของมัน
เมื่อเห็นความเบื่อหน่าย มันมีแต่ความเบื่อ ความเพียรมันจะต่อเนื่องเองโดยไม่ต้องไปอยากทำหรือต้องบังคับให้ตัวเองทำ

สิ่งที่กำลังกระทำอยู่นี้ ทำให้มั่นใจในอนาคตได้ว่า อนาคตนั้นจะเป็นอย่างไร อนาคตต้องดีแน่นอน ดีในที่นี้คือดีทางธรรม ไม่ใช่ดีทางโลก
ดีทางโลกมันไม่ทันกิเลส กิเลสมันแทรกได้ตลอดเวลา ตอนนี้จิตมันมีแต่ไม่เอา มันดับอย่างเดียว ดับโดยความคิด เพราะสติ สัมปชัญญะมันมากกว่าเมื่อก่อน
มีแต่อดทนอดกลั้น พยายามไม่สร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดอีกแล้ว กิเลสก็เบาบางลง เพราะยิ่งปฏิบัติ ยิ่งเห็นแต่กิเลส ยิ่งเห็นกิเลส ยิ่งเกิดความเพียร ยิ่งเกิดความเพียร มันย่อมมีความต่อเนื่อง
เมื่อมีความต่อเนื่อง สติ สัมปชัญญะ กับสมาธิ ยิ่งนับวันยิ่งแข็งแกร่ง ยิ่งแข็งแกร่ง มากขึ้นเท่าไร จิตที่จะไหลลงต่ำนับวันยิ่งน้อยลง





19 ธค. 51
เดี๋ยวนี้การปฏิบัติก้าวหน้าขึ้นมากๆ สมาธิตั้งอยู่ได้นานกว่าเมื่อก่อน
บางทีกำลังนั่งสมาธิอยู่ พนักงานเดินเข้ามาปรึกษาบ้าง ขอยาบ้าง เรารู้สึกได้ถึงกำลังของสมาธิที่ยังทรงๆอยู่ ไม่ได้ถอยหายไปไหน
พอเสร็จธุระ ก็ไปนั่งต่อ สามารถเข้าสู่สมาธิต่อได้เลย มันก็แปลกดี เราว่าเพราะความต่อเนื่องมากกว่า มันเหมือนการสะสมหน่วยกิต

เดี๋ยวนี้ เวลานั่ง เราทดลองไม่ตั้งนาฬิกาปลุก แต่มันจะตรงเวลาทุกครั้งเวลาสมาธิมันคลายตัว ประมาณ 1 ช.ม.
ถ้าเราจะนั่งต่อก็นั่งต่อได้เลย เคยลองนั่งต่อนะบางทีก็ 2ช.ม.บ้าง 3 ช.ม. 5 ช.ม. บ้าง

มันก็ดีนะ สมาธินี่มันคุมกายเรานะ มันเหมือนอะไรดี ความรู้สึกไม่รู้จะเปรียบยังไงดี รู้แต่ว่ามันสงบ แต่มีความคิดเกิด ดับ อยู่อย่างนั้นตลอดเวลา
ส่วนมากจะเป็นเรื่องการปฏิบัติ เหมือนกับกำลังทบทวนไล่ไปทีละขั้นๆ แต่เราก็ไม่ค่อยสนใจวิธีแบบนั้นเท่าไหร่นัก เราเชื่อว่าการเจริญสติ สำคัญมากกว่า
ส่วนสมาธินั้นเราเฉยๆ เพราะรู้แล้วว่า ถ้าสติ สัมปชัญญะดี ย่อมคุมสมาธิอยู่ ย่อมทันอุปทานต่างๆที่เกิดขึ้น

กลับมาถึงบ้านก็ขอพักผ่อนบ้าง กลางคืนก็ 2 ช.ม. แล้วก็นอน นอนก็อยู่ในสมาธิตลอด ไม่ได้หลับ รู้ว่ามันดิ่งแล้วก็ดับไปเลย

ตีสามน่ะ มันจะง่วงแฮะ ลองหลายทีละ ตีสามนี่มันไม่ไหว ร่างกายมัยยังไม่ชิน ก็คลานเอา
กำหนดยืนแล้วก็นั่งเลย ไม่มีการเดินจงกรมก่อน นั่งเลยนี่มันไม่หลับนะ แต่ถ้าขืนเดินจงกรมก่อน มีแต่หลับอย่างเดียวแน่ๆเลย
ขนาดกลางวันแท้ เดินจงกรม บางทีสมาธิมันมากเกินไป สติ สัมปชัญญะมันไม่ทันก็เล่นเอาหัวทิ่มหัวตำเหมือนกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2019, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาสุญญตสูตร (๑๒๒)


[๓๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธารามเขตพระนครกบิลพัสดุ์ในสักกชนบท
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งสบง ทรงบาตรจีวรแล้ว เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลาเช้า
ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ เพื่อทรงพักผ่อนในเวลากลางวัน

สมัยนั้นแล ในวิหารของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ มีเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกัน พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกันแล้ว จึงมีพระดำริดังนี้ว่า ในวิหารของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มากด้วยกัน ที่นี่มีภิกษุอยู่มากมายหรือหนอ ฯ


[๓๔๔] สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์กับภิกษุมากรูป ทำจีวรกรรมอยู่ในวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ทรงหลีกเร้นอยู่แล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว

จึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ในวิหารของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ
เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มากด้วยกัน ที่นั่นมีภิกษุอยู่มากมายหรือ ฯ

ท่านพระอานนท์ทูลว่า มากมาย พระพุทธเจ้าข้า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญจีวรกาลสมัยของพวกข้าพระองค์กำลังดำเนินอยู่ ฯ


[๓๔๕] พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน
ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วมหมู่ ย่อมไม่งามเลย

ดูกรอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน
ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่บันเทิงร่วมหมู่นั้นหนอ
จักเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ
สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนาโดยไม่ยากไม่ลำบาก นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกันประกอบเนืองๆ
ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วมหมู่นั้นหนอ
จักบรรลุเจโตวิมุติอันปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ
มิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังบรรลุเจโตวิมุติอันน่าปรารถนาเพียงชั่วสมัย
หรือเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ มิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

ดูกรอานนท์ เราย่อมไม่พิจารณาเห็นแม้รูปอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่ไม่เกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เพราะความแปรปรวนและความเป็นอย่างอื่นของรูป ตามที่เขากำหนัดกันอย่างยิ่งซึ่งบุคคลกำหนัดแล้ว ฯ





[๓๔๖] ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล
คือ ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่

ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ

ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้ว
ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง
จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้

ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่
เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ



[๓๔๗] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ
ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ

(๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ

(๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข อยู่ ฯ

(๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ


ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ
ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ

ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายในจิตยังไม่แล่นไป
ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน
จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายในด้วยอาการนี้แล
ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้ ฯ


ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก ...

ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ...

ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ
จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ
จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล
ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งจิตภายในให้มั่น ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล เธอย่อมใส่ใจความว่างภายใน

เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน
จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน ด้วยอาการนี้แล
ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้ ฯ

ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก ...

ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ...

ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ
จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ
จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล
ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ฯ


[๓๔๘] ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะจงกรม
เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้
ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะยืน เธอย่อมยืนด้วยใส่ใจว่า
อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ เราผู้ยืนอยู่แล้วอย่างนี้ได้
ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการยืน ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนั่ง เธอย่อมนั่งด้วยใส่ใจว่า
อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ เราผู้นั่งอยู่แล้วอย่างนี้ได้
ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนั่ง ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนอน เธอย่อมนอนด้วยใส่ใจว่า
อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ เราผู้นอนอยู่อย่างนี้ได้
ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนอน ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะพูด เธอย่อมใส่ใจว่า
เราจักไม่พูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเลวทราม เป็นเรื่องของชาวบ้าน
เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ
เรื่องพระราชาบ้าง เรื่องโจรบ้าง เรื่องมหาอำมาตย์บ้าง เรื่องกองทัพบ้าง เรื่องภัยบ้าง เรื่องรบกันบ้าง เรื่องข้าวบ้าง เรื่องน้ำบ้าง เรื่องผ้าบ้าง เรื่องที่นอนบ้าง เรื่องดอกไม้บ้าง เรื่องของหอมบ้าง เรื่องญาติบ้าง เรื่องยานบ้าง เรื่องบ้านบ้าง เรื่องนิคมบ้าง เรื่องนครบ้าง เรื่องชนบทบ้าง เรื่องสตรีบ้าง เรื่องคนกล้าหาญบ้าง เรื่องถนนหนทางบ้าง เรื่องทาสีในสถานที่ตักน้ำบ้าง เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้วบ้าง เรื่องเบ็ดเตล็ดบ้าง เรื่องโลกบ้าง เรื่องทะเลบ้าง เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยเหตุนั้นเหตุนี้บ้าง
ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด

และเธอใส่ใจว่า เราจักพูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ
ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด ฯ


หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะตรึก เธอย่อมใส่ใจว่า
เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกที่เลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก
ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการตรึก

และเธอใส่ใจว่า เราจักตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ เป็นเครื่องนำออก ที่นำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสา วิตก
ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในการตรึก ฯ


[๓๔๙] ดูกรอานนท์ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ
รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
เสียงที่รู้ด้วยโสต ... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ... รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจเป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ดูกรอานนท์ นี้แล กามคุณ ๕ อย่าง ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า มีอยู่หรือหนอแล
ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง

ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า มีอยู่แลที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เรา
เพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง

เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เรายังละไม่ได้แล้ว
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ไม่มีเลยที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เรา
เพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เราละได้แล้ว
ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ ๕ ฯ




[๓๕๐] ดูกรอานนท์ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้แล
ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงเป็นผู้พิจารณา เห็นทั้งความเกิดและความดับอยู่ว่า
อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป
อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา
อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา
อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร
อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ
เธอผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่ ย่อมละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้

เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ของเราได้แล้ว
ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕ ฯ

ดูกรอานนท์ ธรรมนั้นๆ เหล่านี้แล เนื่องมาแต่กุศลส่วนเดียว
ไกลจากข้าศึก เป็นโลกุตระ อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้



ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
สาวกมองเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงควรใกล้ชิดติดตามศาสดา ฯ

ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์
มีพระผู้มีพระภาคเป็นเหตุ มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบอย่าง

มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึงอาศัย ขอได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระภาษิตนี้
แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ



[๓๕๑] พ. ดูกรอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟังสุตตะ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั่นเพราะเหตุไร
เพราะธรรมทั้งหลายอันพวกเธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยความเห็น เป็นเวลานาน

ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา เพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อความกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ฯ

ดูกรอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น จะมีอุปัททวะของอาจารย์
อุปัททวะของศิษย์ อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ฯ



[๓๕๒] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของอาจารย์ย่อมมีได้อย่างไร
ดูกรอานนท์ ศาสดาบางท่านในโลกนี้ ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งและลอมฟาง

เมื่อศาสดานั้น หลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา

เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว
ศาสดานั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมา เพื่อความเป็นผู้มักมาก

ดูกรอานนท์ ศาสดานี้เรียกว่า อาจารย์มีอุปัททวะด้วยอุปัททวะของอาจารย์ อกุศลธรรมอันลามกเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไปได้ฆ่าศาสดานั้นเสียแล้ว

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของอาจารย์ย่อมมีได้ ฯ



[๓๕๓] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของศิษย์ย่อมมีได้อย่างไร
ดูกรอานนท์ สาวกของศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามศาสดานั้น ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งและลอมฟาง

เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา
เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว
สาวกนั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

ดูกรอานนท์ สาวกนี้เรียกว่า ศิษย์มีอุปัททวะด้วยอุปัททวะของศิษย์ อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรามรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลอุปัททวะของศิษย์ย่อมมีได้ ฯ



[๓๕๔] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้อย่างไร
ดูกรอานนท์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้
เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง

เมื่อตถาคตนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา
เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ปรารถนาอย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวาย ไม่เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

ดูกรอานนท์ ส่วนสาวกของตถาคตผู้ศาสดานั่นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามตถาคตผู้ศาสดา ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง

เมื่อสาวกนั้น หลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา
เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว
สาวกนั้นย่อมปรารถนาอย่างหมกมุ่น ถึงความวุ่นวาย เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

ดูกรอานนท์ สาวกนี้เรียกว่าผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีอุปัททวะด้วยอุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์
อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรามรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ฯ



ดูกรอานนท์ ในอุปัททวะทั้ง ๓ นั้น อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์นี้
มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัททวะของอาจารย์และอุปัททวะของศิษย์ ทั้งเป็นไปเพื่อความตกต่ำด้วย

ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้อง เราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องเราด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน ฯ


[๓๕๕] ดูกรอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตรอย่างไร
ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า

นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ
เหล่าสาวกของศาสดานั้นไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้และประพฤติ หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก
ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตร ฯ



[๓๕๖] ดูกรอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตรไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึกอย่างไร

ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้และไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร
ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ฯ

ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก
ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน

ดูกรอานนท์ เราจักไม่ประคับประคองพวกเธอเหมือนช่างหม้อประคับประคองภาชนะดินดิบที่ยังดิบๆ อยู่
เราจักข่มแล้วๆ จึงบอก จักยกย่องแล้วๆ จึงบอก ผู้ใดมีแก่นสาร ผู้นั้นจักตั้งอยู่ ฯ


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ มหาสุญญตสูตร ที่ ๒

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2019, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ้นสงสัยในพระพุทธเจ้า

นึกถึงพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงตรัสไว้เกี่ยวกับการตรัสรู้อริยสัจ 4(ธรรมฐิติญาณ)
และญาณในพระนิพพาน(แจ้งนิพพาน/ปฏิจจสมุปบาท/ความดับภพ)

กล่าวโดยย่อ ทุกข์(อุปาทาขันธ์ 5) และความดับทุกข์(นิพพาน/ความดับทุกข์/ตัณหาและอวิชชา)



อนุโลมญาณ มัคคญาณ ผลญาณ/สภาวะจิตดวงสุดท้าย
ทุกข์(อุปาทาขันธ์ 5) และความดับทุกข์(นิพพาน/ความดับทุกข์/ตัณหา)

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล



อนุโลมญาณ มัคคญาณ ผลญาณ/สภาวะจิตดวงสุดท้าย
ทุกข์(อุปาทาขันธ์ 5) และความดับทุกข์(นิพพาน/ความดับทุกข์/อวิชชา)

อนาคามีมรรค อนาคามิผล



อนุโลมญาณ มัคคญาณ ผลญาณ/สภาวะจิตดวงสุดท้าย
ทุกข์(อุปาทาขันธ์ 5) และความดับทุกข์(นิพพาน/ความดับทุกข์/อาสวะ)

อรหันตมรรค อรหันตผล




ตรงนี้ สภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ 3 ถึงยังไม่มีเกิดขึ้นกับตนเองก็ตาม
ไม่มีความสงสัยว่า สภาวะจิตดวงสุดท้ายจะมีเกิดขึ้นรูปแบบไหน

แล้วเชื่อพระพุทธเจ้าแบบไม่มีสงสัยคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า พระอรหันต์มีเฉพาะพระสงฆ์และภิกษุณีเท่านั้น

ขนาดภิกษุและภิกษุณี(ที่อบรมกาย อบรมจิต ที่ยังไม่ถึงที่สุด) ต้องแพ้โลกธรรม 8
นับประสาอะไรกับฆราวาส ที่มีหลุมพราง(กิเลส) มากมาย





เป็นที่มาของ "ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ไหนๆ" ที่เคยเขียนไว้


ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ไหนๆ
"แจ้งอริยสัจ 4(ธรรมฐิติญาณ) และญาณในพระนิพพาน(แจ้งนิพพาน/ปฏิจจสมุปบาท/ความดับภพ)"



๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)

[๘๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์
มาไปกันเถิด เราจักไปโกฏิคาม ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงโกฏิคามแล้ว

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกฏิคามนั้น ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้ง แทงตลอดอริยสัจ ๔ เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้
เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ เป็นไฉน

เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขอริยสัจ เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานอย่างนี้
เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอด ทุกขสมุทัยอริยสัจ … ทุกขนิโรธอริยสัจ … ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเรา
และพวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจแล้ว
ตัณหาในภพ เราถอนเสีย แล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ฯ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึง ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า



[๘๗] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง เราและพวกเธอจึงท่องเที่ยวไปในชาตินั้นๆ สิ้นกาลนาน
เราได้เห็นอริยสัจ ๔ เหล่านั้นแล้ว เราถอนตัณหาอันจะนำไปสู่ภพเสียได้แล้ว มูลแห่งทุกข์เราตัดได้ขาดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ดังนี้ ฯ
[๘๘] ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกฏิคามแม้นั้น
ทรงกระทำธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา
สมาธิอันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

[๘๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในโกฏิคามแล้ว
ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยังนาทิกคาม
ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนาทิกคามแล้ว
ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคประทับในที่พักซึ่งก่อด้วยอิฐที่นาทิกคามนั้น
ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนามว่าสาฬหะ มรณภาพแล้วในนาทิกคาม คติและภพเบื้องหน้าของเธอเป็นไฉน
ภิกษุณีนามว่า นันทา มรณภาพแล้วในนาทิกคาม คติและภพเบื้องหน้าของเธอเป็นไฉน
อุบาสกนามว่า สุทัตตะ … อุบาสิกานามว่า สุชาดา … อุบาสกนามว่า กกุธะ … อุบาสกนามว่า การฬิมพะ …
อุบาสกนามว่า นิกฏะ … อุบาสกนามว่า กฏิสสหะ … อุบาสกนามว่า ตุฏฐะ … อุบาสกนามว่า สันตุฏฐะ …
อุบาสกนามว่า ภฏะ … อุบาสกนามว่า สุภฏะ ทำกาละ แล้วในนาทิกคาม คติและภพเบื้องหน้าของเขาเป็นไฉน ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุนามว่าสาฬหะ
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ภิกษุณีนามว่า นันทา เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

อุบาสกนามว่า สุทัตตะ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นพระสกทาคามี กลับมายังโลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์

อุบาสิกานามว่า สุชาดา เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า

อุบาสกนามว่า กกุธะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

อุบาสกนามว่า การฬิมพะ …อุบาสกนามว่า นิกฏะ … อุบาสกนามว่า กฏิสสหะ …
อุบาสกนามว่า ตุฏฐะ …อุบาสกนามว่า สันตุฏฐะ … อุบาสกนามว่า ภฏะ … อุบาสกนามว่า สุภฏะ
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯ
ดูกรอานนท์ พวกอุบาสกในนาทิกคาม อีก ๕๐ คน กระทำกาละแล้ว
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

พวกอุบาสกในนาทิกคาม ๙๖ คน ทำกาละแล้ว
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นพระสกทาคามี กลับมายังโลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์

พวกอุบาสกในนาทิกคาม ๕๑๐ คน ทำกาละแล้ว
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
ดูกรอานนท์ ข้อที่ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วจะพึงทำกาละนั้นไม่อัศจรรย์
เมื่อผู้นั้นๆ ทำกาละแล้ว พวกเธอจักเข้าไปเฝ้าพระตถาคต แล้วทูลถามเนื้อความนั้น อันนี้เป็นความลำบากแก่พระตถาคต
เพราะฉะนั้น เราจักแสดงธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส สำหรับที่จะให้อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว

เมื่อจำนงอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน
มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้าดังนี้ ก็ธรรมปริยายชื่อว่า ธรรมาทาส นั้น เป็นไฉน

ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งซึ่งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ดังนี้

เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
อันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้

เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ว่า
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
คือคู่บุรุษสี่ บุรุษบุคคลแปด นี้พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา
เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

เป็นผู้ประกอบด้วยศีลอันพระอริยะใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย
อันวิญญูชนสรรเสริญแล้ว อันตัณหาและทิฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ ฯ

ดูกรอานนท์ อันนี้แลคือธรรมปริยายชื่อว่าธรรมาทาส สำหรับที่จะให้อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว
เมื่อจำนงอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติวินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับในที่พักซึ่งก่อด้วยอิฐในนาทิกคามนั้น
ทรงกระทำธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา
สมาธิอันศีลอบรมแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ปัญญา
อันสมาธิอบรมแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... 888&Z=3915




นิพพาน

โกศลสูตรที่ ๑
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในความดำรงอยู่ในสมบัตินั้น
เมื่อหน่ายในความดำรงอยู่ในสมบัตินั้น ย่อมคลายกำหนัดในความเลิศแห่งสมบัติ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งเลวเล่า ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานอันยวดยิ่งในปัจจุบันมีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ
เลิศกว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 448&Z=1589

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2019, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
Kiss


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร