วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 00:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่กล่าวมา เป็นตัวอย่าง พอเป็นเครื่องเทียบ เพื่อช่วยให้แบ่งแยกได้ ระหว่างความคิดถึงอดีต และอนาคตตามแนวทางตัณหาที่เพ้อฝันเลื่อนลอย ผลาญเวลา และคุณภาพของจิตใจให้สูญเสียไปเปล่า กับ ความคิดถึงอดีต และ อนาคตตามแนวทางของปัญญา ที่เป็นเรื่องของกิจในปัจจุบัน อันช่วยให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ ช่วยให้การปฏิบัติ ในปัจจุบันถูกต้องได้ผลดียิ่งขึ้น

เมื่อปฏิบัติถูกต้องตามหลักการนี้ จะกลับกลายเป็นสนับสนุนให้มีการตระเตรียม และวางแผนกิจการล่วงหน้า ดังตัวอย่างกิจการสำคัญของสงฆ์ เช่น การสังคายนาครั้งที่ ๑ ก็เกิดขึ้นเพราะความคำนึงอนาคตชนิดที่เชื่อมโยงถึงกิจที่จะกระทำในปัจจุบันได้ * โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้


ที่อ้างอิง *

*สังคีติสูตร ในพระไตรปิฎก ก็เกิดจากการที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภอดีต (การแตกแยกของนิครนถ์ ภายหลังศาสดาสิ้นชีพ) และทรงปรารภอนาคต (การร้อยกรองธรรมวินัย เพื่อเป็นหลักช่วยมิให้สงฆ์ภายหน้าแตกแยกกัน)

ข้อสรุปที่ดีที่สุด ก็คือ ความหมายของสติ ที่เป็นพุทธพจน์นั่นเองว่า “ระลึกกิจที่ทำ คำที่พูดแล้ว แม้นานได้” (ที.ปา.11/357/283ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: จบตอน :b53:


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบันนี้ มีเนื้อหารวมอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ที่กล่าวถึงในองค์มรรคข้อที่ ๗ คือ สัมมาสติด้วย แต่ที่แยกบรรยาย ก็เพราะเพ่งความหมายคนละแง่
กล่าวคือ ในสติปัฏฐาน การบรรยายเพ่งถึงการตั้งสติระลึกรู้เต็มตื่น อยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือ กำลังกระทำในปัจจุบันทันทุกๆขณะ
ส่วนในที่นี้ การบรรยายเพ่งถึงการใช้ความคิด และเนื้อหาของความคิดที่สติระลึกรู้กำหนดอยู่นั้น



สติปัฏฐาน (สติ+ปัฏฐาน) ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่ทำที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้

สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่กับสติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร