วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 09:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2019, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


อารักขกรรมฐาน ประการที่ ๓ : การเจริญเมตตา

การเจริญเมตตานี่​เป็นกิจจำเป็นสำหรับนักปฏิบัติ เพราะการเจริญเมตตาเป็นการประกาศความเป็นมิตรต่อสิ่งทั้งปวง ท่านเจ้าพระคุณอุุบาลีฯ เวลาท่านเข้าไปธุดงค์ในป่า ท่านมักจะเจริญเมตตาแล้วประกาศออกมาว่า

" เราสมณ มาแสวงหาความสงบ มาแสวงหาความวิเวก เราไม่ได้ตั้งใจจะมายึดเอาที่เอาทางของใคร ถ้าหากว่าท่านผู้ใดถือกรรมสิทธิ์ว่าตัวเป็นเจ้าของอยู่ในสถานที่นี้ เราขออาศัยท่านบำเพ็ญสมณธรรม
ชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็จะหนีไปสู่ที่อื่น เรามาด้วยความไม่เบียดเบียนใคร "

แล้วท่านก็แผ่เมตตา โดยนึกว่าสัตว์ทั้งหลายผู้เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงเป็นผู้มีสุขกายสุขใจ อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันจงมีสุขรักษาตนให้พ้นภัย และอย่าได้ปราศจากสมบัติที่ตนได้แล้วเถิด ท่านทำอย่างนี้เป็นกิจวัตรของท่านเป็นประจำ แม้แต่จะไปพักอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ๆโบราณท่านถือว่าต้นไม้ใหญ่ต้องมีผี กุฏิต้องมีพระอยู่ นี่ท่านเจ้าพระคุณอุบาลีฯ ท่านถืออย่างนี้

เพราะฉะนั้น ต้นไม้ใหญ่ต้องมีเจ้าของรุกขเทวดาอาศัยอยู่ก่อนที่ท่านจะไปอาศัยร่มเงา ท่านจึงประกาศขออนุญาตเจ้าของเขาก่อน เพื่อป้องกันมิให้เขาเบียดเบียนเรา และเขารู้ว่าเรามาดีมิได้มาร้าย และท่านก็ได้อาศัยบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในที่นั้นตามสมควร

อันนี้คือหลักการเจริญเมตตา แนวทางปฏิบัติของเจ้าคุณพระอุบาลีฯ

ท่านเจ้าคุณพระราชสังวรญาณ
(หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

แสดงธรรมเทศนา
เรื่อง " มรดกธรรมพระธุดงคกรรมฐาน "








กรรมฐานทำทุกวันให้เสมอต้นเสมอปลาย

เวลานั่งปฏิบัติกรรมฐาน ให้หายใจให้ลมละเอียด ให้เสมอต้นเสมอปลาย ให้สติเรานี้ไปกับอารมณ์ที่หายใจเข้าออก ถ้าสมาธิเราดี สติก็ยึดมั่นอยู่ในจุดของสมาธิ มีทั้งรู้ทั้งเข้าใจมัน ทำให้เราเก็บหน่วยกิตไว้ในจิตใจได้มาก เมื่อเก็บไว้ได้มากแล้ว ก็จะมีพลังสูง หมายความว่า เราเก็บไว้ได้มาก เราจะแผ่เมตตาไปให้ใครก็จะได้รับผล เพราะมีพลังสูง บางทีเราทำใหม่ๆ ไม่ได้ทำทุกวันมันทำให้จืดจางแล้วก็หายไป ถ้าเราทำทุกวันเสมอต้นเสมอปลาย จะทำให้เรามีความคิดแปลกกว่าเดิม เมื่อก่อนเรามีความคิดไม่มากนัก คิดธรรมดาตามปกติ แต่จะมีแปลกออกมาที่เป็นความถูกต้อง มันจะทำให้เรารู้ของจริงได้

เพราะฉะนั้นเราปฏิบัติธรรม ก็อย่าได้กังวล ทำให้ชำนาญ อย่าคิดว่าทำได้แล้วเลิกกกันไป เหมือนอย่างที่บางคนบอกว่าทำบุญแล้ว สร้างโบสถ์แล้ว สร้างศาลาแล้ว เลยไม่ต้องทำ เป็นไปไม่ได้ เราก็ต้องทำอยู่ทุกวัน เพราะการกระทำของมนุษย์นี้ มันเวียนว่ายตายเกิด พระพุทธเจ้าจึงสอนจุดนี้เป็นจุดสำคัญ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดจากตรงนี้

ก็ต้องไปอยู่ตรงนั้น เลือกเกิด เลือกตายไม่ได้ ชัดเจน ถ้าเราทำกรรมฐานได้ปัจจุบันแล้ว อดีตไม่เอา อนาคตไม่เอา ทำกรรมฐานให้ได้จังหวะ ให้ได้ปัจจุบันนั่นแหละตัวจริงอยู่ตรงนั้น

ญาติโยมเห็นอาตมาอยู่เฉยๆ คิดว่าไม่ได้ทำกรรมฐานหรือ มันไม่ใช่อย่างนั้น อาตมา หายใจ เข้า-ออก มีสติอยู่เสมอ จะหยิบอะไรก็มีสติ เพราะเคยแล้ว ชำนาญแล้ว หูได้ยินเสียงสติบอกทันที คนมาโกหกแท้ๆ อาตมาบอกก็ไม่เคยผิดพลาด แต่อย่างไรก็ตามต้องทำให้ชำนาญเชี่ยวชาญ ชำนาญการ มองเห็นอะไรสติจะบอกเลยว่า ของนี้ดีหรือชั่วประการใด คนนี้คบได้หรือไม่ หรือพูดเชื่อถือไม่ได้ ไม่เคยพลาด ที่เราพูดเล่นกันนั้นอีกเรื่องหนึ่งมันคนละอย่างกัน

คัดลอกจาก หนังสือ แก่นแท้แห่งพระกรรมฐาน พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) หน้า
๓๔-๓๕







#ถึงแล้วก็รู้เอง-----

อันเมืองนิพพานนั้นความจริงก็คือว่าผู้ใดไปถึง จึงจะรู้ว่านิพพาน​ ถ้ายังไปไม่ถึง​ ยังละกิเลสไม่ได้​ ก็ได้แค่นิพพานสมมุติ นิพพานบัญญัติ นิพพานพูดกันไปเท่านั้นแหละ​ นิพพานจริงๆ​ นั้นไม่ใช่ที่เราพูด​ ฟังกัน​ ต้องปฏิบัติภาวนาให้ดี ทำใจให้สงบตั้งมั่น​ ยังจิตใจให้เกิดปัญญา​ วิชชาความรู้ ความเฉลียวฉลาดสามารถอาจหาญ ไม่หลงไหลไปตามโลก ไม่หลงไหลไปตามรูป เสียง กลิ่น รส โพฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จึงจะไปสู่เมืองนิพพานได้

คำสอนหลวงปู่
หลวงปู่สิม​ พุทธาจาโร





ทำความดี มีความสุข แน่นอน
ทำความชั่ว มีความทุกข์ แน่นอน

หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร