วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2016, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 23:02
โพสต์: 93

ชื่อเล่น: tongka
อายุ: 36
ที่อยู่: tongka34@gmail,com

 ข้อมูลส่วนตัว


s006 s006 s006
หลายที่มีการหารายได้จากคนทำแท้งโดยมีชาวบ้านหัวใสร่วมใจกับพระบ้างฤาษีบ้างทำพิธีแก้กรรมทำแท้งได้เงินเป็นล้าน
แล้วความจริงน่ะมันแก้ได้มั๊ย!
s005 s005 s005


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2016, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 23:02
โพสต์: 93

ชื่อเล่น: tongka
อายุ: 36
ที่อยู่: tongka34@gmail,com

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งหนึ่งเคยเจอผู้หญิงคนหนึ่งมีลูกชายสองคนคนเล็กขาหักเข้าเผือกอยู่
เราถามเค้าว่า..ลูกเป็นอะไร ไปทำอะไรมา ทำไมขาหัก
เค้าจึงเล่าเรื่องลูกชายขาหักให้ฟังว่า....
วันเกิดเหตุนั้นเค้าทำงานบ้านอยู่ชั้นล่างของบ้านลูกสองคนก็เล่นกันอยูชั้นบนของบ้านอย่างสนุกสนาน อยู่ๆก็เห็นลูกคนเล็กตกลงมาจากบ้านชั้นบน ก็รีบวิ่งเข้าไปดูลูกที่ร้องให้อย่างเจ็บปวดทรมานปลอบใจเขาพร้อมกับน้ำตาพร้อมกับด่าลูกที่กระโดดลงมาจากชั้นบน(ตอนแรกเข้าใจว่าลูกกระโดดลงมา)
ลูกก็ปฏิเสธว่าเขาไม่ได้กระโดดลงมาพร้อมกับฟ้องว่าที่เค้าตกลงมาเพราะพี่เค้าถีบตกลงมา
ทันทีแม่ก็คว้าไม้เรียวไปตีลูกคนพี่พร้อมกับด่าว่าที่ทำร้ายน้องชายตัวเอง
ลูกคนพี่ก็ร้องให้พร้อมทั้งปฏิเสธว่าตนไม่ได้ทำไปตีเค้าทำไมแม่ไม่ยุติธรรม
พอย้อนถามลูกคนเล็กเพื่อให้ยืนยันความจริง
ลูกชายคนเล็กที่ยังคงร้องให้ก็บอกว่าพี่เค้าไม่ได้ถีบหนูแม่ไปตีพี่เค้าทำไม พี่คนโน้นเค้าถีบ.......
ขณะที่งงไก่ตาแตกอยู่นั้นพ่อบ้านเข้ามาทันอุ้มลูกคนเล็กขึ้นมาดูจึงรู้ว่าลูกขาหักจึงรีบนำส่งโรงพยาบาล
หลังจากนั้นจึงสอบถามลูกๆ ก็ได้รู้ความจริงว่าลูกเค้าเล่นกันอยูสามคนไม่ใช่สองคน
ทำให้ตนได้หวลระลึกถึงลูกคนหนึ่งที่ตนไปทำแท้งเมื่อสมัยก่อน ก่อนที่จะมีลูกสองคนนี้ เพราะเมื่อก่อนยังยากจน กลัวว่าจะเป็นภาระไม่สามารถเลี้ยงดูเค้าได้
ลูกคนเล็กบอกว่า คนที่ถีบน้องเป็นพี่อีกคนหนึ่ง เค้าบอกว่าเค้าเป็นพี่ของเราทั้งสองคน แม่มีลูกสามคนเค้าอิจฉาที่พ่อแม่คอยแต่เอาใจเราสองตน แต่ไม่เคยเอาใจใส่เค้าเลยฯ
อันนี้เป็นเรื่องเล่าจากผู้หนึ่งคนหนึ่งอยูที่อำเภอชุมพวง นครราชสีมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2016, 04:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


โลก...มีอะไรมากมาย..ซับซ้อน

แต่หากเข้าใจ..จิตอวิชชา..แล้ว ก็ไม่มีอะไรให้แปลกประหลาด..เลย

3 ภพ 31 ภูมิ...ก็อวิชชา..ตัวเดียว...

อวิชชาตัวเดียว...เป็นทุกข์ได้ทุกเรื่อง...

พบเห็นเรื่องอะไร....ก็ให้เห็นทุกข์ในเรื่องนั้น

เห็นทุกข์ในเรื่องไหน..ก็ให้เห็นอวิชชาในจิตนั้น..

เห็นอวิชชาในจิตใคร..ก็ให้เห็นอวิชชาในใจเราด้วย...

เขา..และ..เรา..ทุกดวงใจ...เสมอกัน...ด้วยจิตอวิชชา

พรหมวิหาร...ก็เกิดเอง..
อารมณ์จะไปโกรธอะไร..ไปโทษอะไร...มันไม่มีไปเอง...
ความเบื่อหน่าย..ในวัฏฏสงสาร..ก็เกิดเอง
หน่ายที่จะเกิด..ก็เกิดเอง...


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 27 ก.ค. 2016, 04:36, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2016, 04:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2016, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 23:02
โพสต์: 93

ชื่อเล่น: tongka
อายุ: 36
ที่อยู่: tongka34@gmail,com

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue tongue tongue

ในเปตวัตถุ
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับวิบากกรรมของการทำแท้งลูกของเมียน้อยเมียหลวงแล้วต้องไปเสวยวิบากกรรมเป็นเปรตกินลูกตนเองอยู่สองสามเรื่อง
smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2016, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูหนังเรื่องพิภพมัจจุราชแล้วเก็บเอาคิด

ฆ่ามดที่มาทำรังบนที่นอน ก็กลัววิญญานมดมาล้างแค้น

ให้ลูกกินยาถ่ายพยาธิก็กลัว วิญญานพยาธิมาล้างแค้น

รับรองชีวิตของคนพวกนี้ไปจบที่โรงพยาบาลบ้าแน่นอน :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2016, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเราคิดว่าสิ่งใดไม่ดี ก็ไม่ควรทำแต่ต้น
ไม่ใช่ทำไปแล้วก็มาย้ำคิดย้ำทำ
อะไรที่ทำไปแล้ว เรื่องก็แล้วไปแล้วหยุดคิดแล้วมาเริ่มต้นใหม่

องคุลีมาลฆ่าคนมาเป็นร้อย ท่านยังเริ่มต้นใหม่ได้เล้ย
มีแต่พวกมารเท่านั้นแหล่ะที่เอาเรื่องนรกสวรรค์วิบากกรรมมาคอยเป่าหู
ให้ชาวพุทธจมอยู่กับความวุ่นวายใจ แบบนี้มันปิดหนทางบรรลุมรรคผลหมด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2016, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 23:02
โพสต์: 93

ชื่อเล่น: tongka
อายุ: 36
ที่อยู่: tongka34@gmail,com

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ถ้าเราคิดว่าสิ่งใดไม่ดี ก็ไม่ควรทำแต่ต้น
ไม่ใช่ทำไปแล้วก็มาย้ำคิดย้ำทำ
อะไรที่ทำไปแล้ว เรื่องก็แล้วไปแล้วหยุดคิดแล้วมาเริ่มต้นใหม่

องคุลีมาลฆ่าคนมาเป็นร้อย ท่านยังเริ่มต้นใหม่ได้เล้ย
มีแต่พวกมารเท่านั้นแหล่ะที่เอาเรื่องนรกสวรรค์วิบากกรรมมาคอยเป่าหู
ให้ชาวพุทธจมอยู่กับความวุ่นวายใจ แบบนี้มันปิดหนทางบรรลุมรรคผลหมด


ไม่มีชาวพุทธที่ไหนเขาจมอยู่กับความวุ่นวายใจหรอก เพราะเค้าเป็นชาวพุทธ
รู้วิบากกรรมแล้วทำให้อายชั่วกลัวบาป พึงทราบด้วยและก็ช่วยให้เข้าถึงมรรคผลได้ง่าย

เอางี้
ในญาณสามอะไรขึ้นก่อน โฮฮับคนเก่ง
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 06:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongka เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ถ้าเราคิดว่าสิ่งใดไม่ดี ก็ไม่ควรทำแต่ต้น
ไม่ใช่ทำไปแล้วก็มาย้ำคิดย้ำทำ
อะไรที่ทำไปแล้ว เรื่องก็แล้วไปแล้วหยุดคิดแล้วมาเริ่มต้นใหม่

องคุลีมาลฆ่าคนมาเป็นร้อย ท่านยังเริ่มต้นใหม่ได้เล้ย
มีแต่พวกมารเท่านั้นแหล่ะที่เอาเรื่องนรกสวรรค์วิบากกรรมมาคอยเป่าหู
ให้ชาวพุทธจมอยู่กับความวุ่นวายใจ แบบนี้มันปิดหนทางบรรลุมรรคผลหมด


ไม่มีชาวพุทธที่ไหนเขาจมอยู่กับความวุ่นวายใจหรอก เพราะเค้าเป็นชาวพุทธ
รู้วิบากกรรมแล้วทำให้อายชั่วกลัวบาป พึงทราบด้วยและก็ช่วยให้เข้าถึงมรรคผลได้ง่าย


ไอ้ที่คุณพูดมาทั้งหมดมันไม่ใช่เรื่องของชาวพุทธ......แต่มันเป็นลัทธิผี

ตงก้า ที่บอกว่า "ให้ละอายชั่วกลัวบาป" ถามจริงไม่แถไปหน่อยหรือ
หัวกระทู้ก็บอกอยู่โทงๆว่า..."แก้กรรมทำแท้ง....ทำได้มั๊ย!"

เห็นๆอยู่ว่ามันทำไปแล้ว ก่อนที่จะทำมันกลัวบาปหรือเปล่า มันไม่กลัวถึงได้ทำ

tongka เขียน:
เอางี้
ในญาณสามอะไรขึ้นก่อน โฮฮับคนเก่ง


ก่อนถามคนอื่นน่ะ ตัวเองรู้หรือเปล่าว่า ญาน๓คืออะไร
ไหนบอกมาซิญาน๓ของคุณชื่ออะไร จะได้อธิบายถูกไม่เสียเวลา

ปล. จะบอกให้ว่า อย่าเอาพระธรรมของพุทธองค์ไปมั่วกับลัทธิผีบ้า
พระธรรมไม่ใช่คัมภีร์อภินิหารย์หรือนิยายเทวดานรกสวรรค์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 23:02
โพสต์: 93

ชื่อเล่น: tongka
อายุ: 36
ที่อยู่: tongka34@gmail,com

 ข้อมูลส่วนตัว


onion onion onion
เออเรื่องหนึ่งที่น่าใส่ใจน่ะ
คือตอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้น
ในปฐมยาม ทรงบรรลุถึง บุพเพวาสานุสสติญาณก่อน จึงทรงทราบชัดถึงเหตุต้นผลกรรมต่างๆของตนตลอดว่าทำกรรมเช่นไร แล้วส่งผลเช่นไร
ในยามกลาง ทรงบรรลุ จุตูปปาตญาณ ทรงทราบชัดถึงเหตุแห่งการเกิดการตาย เมื่อทรงทราบชัดถึงทุกข์โทษมารเวรภัยแล้ว จึงเกิดความสลดสังเวช เบื่อหน่ายคลายกำหนัดยินดีพอใจ และแล้ว
ในยามสุดท้ายพระองค์ก็ทรงบรรลุถึงอาสวักขยญาณได้ในที่สุด
wink wink wink


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 23:02
โพสต์: 93

ชื่อเล่น: tongka
อายุ: 36
ที่อยู่: tongka34@gmail,com

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
tongka เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ถ้าเราคิดว่าสิ่งใดไม่ดี ก็ไม่ควรทำแต่ต้น
ไม่ใช่ทำไปแล้วก็มาย้ำคิดย้ำทำ
อะไรที่ทำไปแล้ว เรื่องก็แล้วไปแล้วหยุดคิดแล้วมาเริ่มต้นใหม่

องคุลีมาลฆ่าคนมาเป็นร้อย ท่านยังเริ่มต้นใหม่ได้เล้ย
มีแต่พวกมารเท่านั้นแหล่ะที่เอาเรื่องนรกสวรรค์วิบากกรรมมาคอยเป่าหู
ให้ชาวพุทธจมอยู่กับความวุ่นวายใจ แบบนี้มันปิดหนทางบรรลุมรรคผลหมด


ไม่มีชาวพุทธที่ไหนเขาจมอยู่กับความวุ่นวายใจหรอก เพราะเค้าเป็นชาวพุทธ
รู้วิบากกรรมแล้วทำให้อายชั่วกลัวบาป พึงทราบด้วยและก็ช่วยให้เข้าถึงมรรคผลได้ง่าย


ไอ้ที่คุณพูดมาทั้งหมดมันไม่ใช่เรื่องของชาวพุทธ......แต่มันเป็นลัทธิผี

ตงก้า ที่บอกว่า "ให้ละอายชั่วกลัวบาป" ถามจริงไม่แถไปหน่อยหรือ
หัวกระทู้ก็บอกอยู่โทงๆว่า..."แก้กรรมทำแท้ง....ทำได้มั๊ย!"

เห็นๆอยู่ว่ามันทำไปแล้ว ก่อนที่จะทำมันกลัวบาปหรือเปล่า มันไม่กลัวถึงได้ทำ

tongka เขียน:
เอางี้
ในญาณสามอะไรขึ้นก่อน โฮฮับคนเก่ง


ก่อนถามคนอื่นน่ะ ตัวเองรู้หรือเปล่าว่า ญาน๓คืออะไร
ไหนบอกมาซิญาน๓ของคุณชื่ออะไร จะได้อธิบายถูกไม่เสียเวลา

ปล. จะบอกให้ว่า อย่าเอาพระธรรมของพุทธองค์ไปมั่วกับลัทธิผีบ้า
พระธรรมไม่ใช่คัมภีร์อภินิหารย์หรือนิยายเทวดานรกสวรรค์


คูณโฮก็น่าจะสาธยายไปเลยน่ะว่าทำได้มั๊ย จะได้ตั้งใจอ่านด้วยความเคารพ

นี่ นึกไม่ออกละซีท่า อย่างคุณโฮคงรู้ไปทุกอย่างแล้วล่ะ(เว้นแต่...)
พอนึกไม่ออกก็ใช้วิธีย้อนถาม พอเค้าตอบให้ ก็จะใด้ทีสับให้เละล่ะซีท่า (ชักเริ่มจะระแวงซะแล้ว55555)
:b4: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongka เขียน:
onion onion onion
เออเรื่องหนึ่งที่น่าใส่ใจน่ะ
คือตอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้น
ในปฐมยาม ทรงบรรลุถึง บุพเพวาสานุสสติญาณก่อน จึงทรงทราบชัดถึงเหตุต้นผลกรรมต่างๆของตนตลอดว่าทำกรรมเช่นไร แล้วส่งผลเช่นไร
ในยามกลาง ทรงบรรลุ จุตูปปาตญาณ ทรงทราบชัดถึงเหตุแห่งการเกิดการตาย เมื่อทรงทราบชัดถึงทุกข์โทษมารเวรภัยแล้ว จึงเกิดความสลดสังเวช เบื่อหน่ายคลายกำหนัดยินดีพอใจ และแล้ว
ในยามสุดท้ายพระองค์ก็ทรงบรรลุถึงอาสวักขยญาณได้ในที่สุด
wink wink wink


อ่านโวหารสอดไส้พระไตรปิฎกแล้วจำมาพูดเป็นนกแก้วนกขุนทองก็เอา... :b32:


คำว่า ญาณ๓ หมายถึงความรู้แจ้งในสภาพธรรม๓ประการ
ธรรมทั้ง๓ประการ คือ
บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ....ความรู้ถึงเหตุแห่งวัฏฏสงสาร ก็คือปฏิจจสมุปบาทในอดีต
จุตูปปาตญาณ ..............ความรู้ถึงการเกิดขึ้นแห่งวัฏฏสงสาร ก็คือปฏิจจสมุปบาทปัจจุบัน
อาสวักขยญาณ ..............ความรู้ในการละวัฏฏสงสาร ก็คือการละวางปฏิจจที่จะเกิดในอนาคต

ญาน๓เกิดขึ้นพร้อมกันในลักษณะของ ความรู้ในปฏิจจสมุปบาท
มันไม่ใช่อย่างที่ตงก้าพร่ามครับ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2016, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongka เขียน:
โฮฮับ เขียน:
tongka เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ถ้าเราคิดว่าสิ่งใดไม่ดี ก็ไม่ควรทำแต่ต้น
ไม่ใช่ทำไปแล้วก็มาย้ำคิดย้ำทำ
อะไรที่ทำไปแล้ว เรื่องก็แล้วไปแล้วหยุดคิดแล้วมาเริ่มต้นใหม่

องคุลีมาลฆ่าคนมาเป็นร้อย ท่านยังเริ่มต้นใหม่ได้เล้ย
มีแต่พวกมารเท่านั้นแหล่ะที่เอาเรื่องนรกสวรรค์วิบากกรรมมาคอยเป่าหู
ให้ชาวพุทธจมอยู่กับความวุ่นวายใจ แบบนี้มันปิดหนทางบรรลุมรรคผลหมด


ไม่มีชาวพุทธที่ไหนเขาจมอยู่กับความวุ่นวายใจหรอก เพราะเค้าเป็นชาวพุทธ
รู้วิบากกรรมแล้วทำให้อายชั่วกลัวบาป พึงทราบด้วยและก็ช่วยให้เข้าถึงมรรคผลได้ง่าย


ไอ้ที่คุณพูดมาทั้งหมดมันไม่ใช่เรื่องของชาวพุทธ......แต่มันเป็นลัทธิผี

ตงก้า ที่บอกว่า "ให้ละอายชั่วกลัวบาป" ถามจริงไม่แถไปหน่อยหรือ
หัวกระทู้ก็บอกอยู่โทงๆว่า..."แก้กรรมทำแท้ง....ทำได้มั๊ย!"

เห็นๆอยู่ว่ามันทำไปแล้ว ก่อนที่จะทำมันกลัวบาปหรือเปล่า มันไม่กลัวถึงได้ทำ

tongka เขียน:
เอางี้
ในญาณสามอะไรขึ้นก่อน โฮฮับคนเก่ง


ก่อนถามคนอื่นน่ะ ตัวเองรู้หรือเปล่าว่า ญาน๓คืออะไร
ไหนบอกมาซิญาน๓ของคุณชื่ออะไร จะได้อธิบายถูกไม่เสียเวลา

ปล. จะบอกให้ว่า อย่าเอาพระธรรมของพุทธองค์ไปมั่วกับลัทธิผีบ้า
พระธรรมไม่ใช่คัมภีร์อภินิหารย์หรือนิยายเทวดานรกสวรรค์


คูณโฮก็น่าจะสาธยายไปเลยน่ะว่าทำได้มั๊ย จะได้ตั้งใจอ่านด้วยความเคารพ

นี่ นึกไม่ออกละซีท่า อย่างคุณโฮคงรู้ไปทุกอย่างแล้วล่ะ(เว้นแต่...)
พอนึกไม่ออกก็ใช้วิธีย้อนถาม พอเค้าตอบให้ ก็จะใด้ทีสับให้เละล่ะซีท่า (ชักเริ่มจะระแวงซะแล้ว55555)
:b4: :b4: :b4:



ที่ต้องถามก็เพราะกลัวว่า ตงก้าจะเอา"ยานโตงเตง"มามั่วแบบลุงเช่นนั้น
ลุงเช่นนั้นแกว่า ญานมีหลายอย่าง นี่คือ ยานโตงเตง มันไม่ใช่ญาน :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2016, 04:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ที่ต้องถามก็เพราะกลัวว่า ตงก้าจะเอา"ยานโตงเตง"มามั่วแบบลุงเช่นนั้น
ลุงเช่นนั้นแกว่า ญานมีหลายอย่าง นี่คือ ยานโตงเตง มันไม่ใช่ญาน :b32:


Quote Tipitaka:
ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ [ญาณอันสำเร็จ
มาแต่การฟัง] ๑ ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ [ญาณ
อันสำเร็จมาแต่ศีล] ๑ ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ
[ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ] ๑ ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรม
ฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม] ๑ ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนอดีต
ส่วนอนาคตและส่วนปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณ [ญาณในการ
พิจารณา] ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบัน
เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]
๑ ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ
[ญาณในความเห็นแจ้ง] ๑ ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ
[ญาณในการเห็นโทษ] ๑ ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉย
อยู่ เป็นสังขารุเบกขาญาณ ๑ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิต
ภายนอก เป็นโคตรภูญาณ ๑ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ๑ ปัญญาในการระงับประโยค
เป็นผลญาณ ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ
ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุม
ในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ๑ ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็น
วัตถุนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งวัตถุ] ๑ ปัญญาในการกำหนดธรรม
ภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งโคจร] ๑ ปัญญาในการ
กำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งจริยา] ๑ ปัญญา
ในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งภูมิ] ๑
ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งธรรม]
๑ ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ [ญาณในความว่ารู้] ๑ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้
เป็นตีรณัฏฐญาณ [ญาณในความว่าพิจารณา] ๑ ปัญญาในการละ เป็น
ปริจจาคัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสละ] ๑ ปัญญาเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ
[ญาณในความว่ามีกิจเป็นอันเดียว] ๑ ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ
[ญาณในความว่าถูกต้อง] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอัตถปฏิสัมภิทา-
*ญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญา
ในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่ง
ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็น
วิหารัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องอยู่] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ
เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสมาบัติ] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งวิหาร
สมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าวิหารสมาบัติ] ๑ ปัญญา
ในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน เป็น
อานันตริกสมาธิญาณ [ญาณในสมาธิอันมีในลำดับ] ๑ ทัสนาธิปไตย ทัสนะมี
ความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม คุณเครื่องบรรลุ คือวิหารธรรมอันสงบ และปัญญา
ในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณ
[ญาณในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก] ๑ ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ
ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖
และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ [ญาณในนิโรธสมาบัติ] ๑ ปัญญา
ในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็น
ปรินิพพานญาณ ๑ ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาด
โดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมอันสงบและธรรม
อันเป็นประธาน] ๑ ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช
เป็นสัลเลขัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องขัดเกลา] ๑ ปัญญาในความ
ประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ ๑ ปัญญาในการ
ประกาศธรรมต่างๆ เป็นอรรถสันทัสนญาณ [ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม] ๑
ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกัน
และธรรมเป็นอันเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ ๑ ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ ๑ ปัญญาในความถูกต้องธรรม
เป็นปริโยคาหนญาณ [ญาณในความย่างเข้าไป] ๑ ปัญญาในการรวมธรรม
เป็นปเทสวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง] ๑ ปัญญาในความมีกุศลธรรม
เป็นอธิบดีเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยปัญญาที่รู้ดี] ๑ ปัญญา
ในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ [ญาณในการหลีกออก
จากนิวรณ์ด้วยใจ] ๑ ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ [ญาณในความ
หลีกไปแห่งจิต] ๑ ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ [ญาณใน
ความหลีกไปด้วยญาณ] ๑ ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ
[ญาณในความหลีกไปแห่งจิตด้วยวิโมกข์] ๑ ปัญญาในความว่าธรรมจริง
เป็นสัจจวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยสัจจะ] ๑ ปัญญาในความ
สำเร็จด้วยการกำหนดกาย [รูปกายของตน] และจิต [จิตมีญาณเป็นบาท]
เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา [สัญญาประกอบด้วย
อุเบกขาในจตุตถฌานเป็นสุขละเอียด] และลหุสัญญา [สัญญาเบาเพราะพ้นจาก
นิวรณ์และปฏิปักขธรรม] เป็นอิทธิวิธญาณ [ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ]
๑ ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการ
แผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ [ญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ] ๑ ปัญญา
ในการกำหนดจริยาคือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต
๓ ประเภท และด้วยสามารถแห่งความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น
เจโตปริยญาณ [ญาณในความกำหนดรู้จิตผู้อื่นด้วยจิตของตน] ๑ ปัญญาในการ
กำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรม
หลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ญาณเป็นเครื่อง
ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้] ๑ ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่าง
หรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ ๑ ปัญญาในความ
เป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ
[ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย] ๑ ปัญญาในความกำหนดรู้ เป็น-
*ทุกขญาณ ๑ ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ ๑ ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็น
นิโรธญาณ ๑ ปัญญาในความเจริญ เป็นมรรคญาณ ๑ ทุกขญาณ [ญาณ
ในทุกข์] ๑ ทุกขสมุทยญาณ [ญาณในเหตุให้เกิดทุกข์] ๑ ทุกขนิโรธญาณ
[ญาณในความดับทุกข์] ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ญาณในข้อปฏิบัติ
เครื่องให้ถึงความดับทุกข์] ๑ อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ
๑ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑ อินทริยปโรปริยัติญาณ
[ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย] ๑ อาสยานุสยญาณ
[ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย] ๑ ยมก
ปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์] ๑ มหากรุณาสมาปัตติญาณ ๑
สัพพัญญุตญาณ ๑ อนาวรณญาณ ๑
ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ญาณ ในญาณทั้ง ๗๓ นี้ ญาณ ๖๗
[ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก ญาณ ๖ [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก
เป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ


ปัญญามีหลายสิ่ง
ญาณจึงมีหลายสิ่ง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2016, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ที่ต้องถามก็เพราะกลัวว่า ตงก้าจะเอา"ยานโตงเตง"มามั่วแบบลุงเช่นนั้น
ลุงเช่นนั้นแกว่า ญานมีหลายอย่าง นี่คือ ยานโตงเตง มันไม่ใช่ญาน :b32:


Quote Tipitaka:
ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ [ญาณอันสำเร็จ
มาแต่การฟัง] ๑ ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ [ญาณ
อันสำเร็จมาแต่ศีล] ๑ ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ
[ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ] ๑ ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรม
ฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม] ๑ ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนอดีต
ส่วนอนาคตและส่วนปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณ [ญาณในการ
พิจารณา] ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบัน
เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]
๑ ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ
[ญาณในความเห็นแจ้ง] ๑ ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ
[ญาณในการเห็นโทษ] ๑ ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉย
อยู่ เป็นสังขารุเบกขาญาณ ๑ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิต
ภายนอก เป็นโคตรภูญาณ ๑ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ๑ ปัญญาในการระงับประโยค
เป็นผลญาณ ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ
ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุม
ในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ๑ ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็น
วัตถุนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งวัตถุ] ๑ ปัญญาในการกำหนดธรรม
ภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งโคจร] ๑ ปัญญาในการ
กำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งจริยา] ๑ ปัญญา
ในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งภูมิ] ๑
ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งธรรม]
๑ ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ [ญาณในความว่ารู้] ๑ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้
เป็นตีรณัฏฐญาณ [ญาณในความว่าพิจารณา] ๑ ปัญญาในการละ เป็น
ปริจจาคัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสละ] ๑ ปัญญาเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ
[ญาณในความว่ามีกิจเป็นอันเดียว] ๑ ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ
[ญาณในความว่าถูกต้อง] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอัตถปฏิสัมภิทา-
*ญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญา
ในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่ง
ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็น
วิหารัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องอยู่] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ
เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสมาบัติ] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งวิหาร
สมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าวิหารสมาบัติ] ๑ ปัญญา
ในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน เป็น
อานันตริกสมาธิญาณ [ญาณในสมาธิอันมีในลำดับ] ๑ ทัสนาธิปไตย ทัสนะมี
ความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม คุณเครื่องบรรลุ คือวิหารธรรมอันสงบ และปัญญา
ในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณ
[ญาณในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก] ๑ ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ
ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖
และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ [ญาณในนิโรธสมาบัติ] ๑ ปัญญา
ในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็น
ปรินิพพานญาณ ๑ ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาด
โดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมอันสงบและธรรม
อันเป็นประธาน] ๑ ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช
เป็นสัลเลขัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องขัดเกลา] ๑ ปัญญาในความ
ประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ ๑ ปัญญาในการ
ประกาศธรรมต่างๆ เป็นอรรถสันทัสนญาณ [ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม] ๑
ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกัน
และธรรมเป็นอันเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ ๑ ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ ๑ ปัญญาในความถูกต้องธรรม
เป็นปริโยคาหนญาณ [ญาณในความย่างเข้าไป] ๑ ปัญญาในการรวมธรรม
เป็นปเทสวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง] ๑ ปัญญาในความมีกุศลธรรม
เป็นอธิบดีเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยปัญญาที่รู้ดี] ๑ ปัญญา
ในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ [ญาณในการหลีกออก
จากนิวรณ์ด้วยใจ] ๑ ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ [ญาณในความ
หลีกไปแห่งจิต] ๑ ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ [ญาณใน
ความหลีกไปด้วยญาณ] ๑ ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ
[ญาณในความหลีกไปแห่งจิตด้วยวิโมกข์] ๑ ปัญญาในความว่าธรรมจริง
เป็นสัจจวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยสัจจะ] ๑ ปัญญาในความ
สำเร็จด้วยการกำหนดกาย [รูปกายของตน] และจิต [จิตมีญาณเป็นบาท]
เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา [สัญญาประกอบด้วย
อุเบกขาในจตุตถฌานเป็นสุขละเอียด] และลหุสัญญา [สัญญาเบาเพราะพ้นจาก
นิวรณ์และปฏิปักขธรรม] เป็นอิทธิวิธญาณ [ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ]
๑ ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการ
แผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ [ญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ] ๑ ปัญญา
ในการกำหนดจริยาคือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต
๓ ประเภท และด้วยสามารถแห่งความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น
เจโตปริยญาณ [ญาณในความกำหนดรู้จิตผู้อื่นด้วยจิตของตน] ๑ ปัญญาในการ
กำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรม
หลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ญาณเป็นเครื่อง
ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้] ๑ ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่าง
หรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ ๑ ปัญญาในความ
เป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ
[ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย] ๑ ปัญญาในความกำหนดรู้ เป็น-
*ทุกขญาณ ๑ ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ ๑ ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็น
นิโรธญาณ ๑ ปัญญาในความเจริญ เป็นมรรคญาณ ๑ ทุกขญาณ [ญาณ
ในทุกข์] ๑ ทุกขสมุทยญาณ [ญาณในเหตุให้เกิดทุกข์] ๑ ทุกขนิโรธญาณ
[ญาณในความดับทุกข์] ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ญาณในข้อปฏิบัติ
เครื่องให้ถึงความดับทุกข์] ๑ อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ
๑ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑ อินทริยปโรปริยัติญาณ
[ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย] ๑ อาสยานุสยญาณ
[ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย] ๑ ยมก
ปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์] ๑ มหากรุณาสมาปัตติญาณ ๑
สัพพัญญุตญาณ ๑ อนาวรณญาณ ๑
ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ญาณ ในญาณทั้ง ๗๓ นี้ ญาณ ๖๗
[ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก ญาณ ๖ [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก
เป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ


ปัญญามีหลายสิ่ง
ญาณจึงมีหลายสิ่ง



ไม่มีปัญญาอันเป็นเครื่องมือปล่อยวางบัญญัติ
อ่านอะไรแล้วยึดไปตามบัญญัติที่อ่าน

ลุงนกแก้วรู้หรือไม่ว่า .....ปรมัตถ์บัญญัติ มันไม่ใช่ตัวตน ดันบอกมาได้ว่ามีหลายสิ่ง :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร