วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 18:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2019, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนดูกท.นี้ ดูลิงค์วิสยรูป 7 ของคุณโรสนี่ก่อน

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57457

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2019, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามหลักอภิธรรมจำแนกรูปออกไปถึง 28 อย่าง กล่าวคือ ร่างกายเนี่ยแหละท่านแจงออกบัญญัติชื่อเรียก ได้ 28 ชื่อ ดู


รูป 1. สิ่งที่ต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆอันขัดแย้งกัน, สิ่งที่มีรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะของมัน,
ส่วนร่างกาย จำแนกเป็น ๒๘ คือ มหาภูตหรือ ธาตุ ๔ และ อุปาทายรูป ๒๔ (= รูปขันธ์ ในขันธ์ ๕) 2. อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖) 3. ลักษณะนาม ใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้องค์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2019, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูป ๒๘ รูปธรรมทั้งหมดในรูปขันธ์ จำแนกออกไปตามนัยแห่งอภิธรรม เป็น ๒๘ อย่าง จัดเป็น ๒ ประเภท คือ

ก. มหาภูตรูป ๔ รูปใหญ่, รูปอันเดิม คือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช และวาโย ที่เรียกกันให้ง่ายว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม, ภูตรูป ๔ ก็เรียก (ในคัมภีร์ไม่นิยมเรียกว่า มหาภูตรูป)

พึงทราบว่า ธาตุ ๔ ปฐวี อาโป เตโช วาโย หรือดิน น้ำ ไฟ ลม อย่างที่พูดกันในภาษาสามัญนั้น เป็นการกล่าวถึงธาตุในลักษณะที่คนทั่วไปจะเข้าใจ และสื่อสารกันได้ ตลอดจนที่จะให้สำเร็จประโยชน์ เช่น ในการเจริญกรรมฐาน เป็นต้น
แต่
ในความหมายที่แท้จริง ธาตุเหล่านี้ เป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง เช่น ปฐวีธาตุ ที่เรียกให้สะดวกว่า ดิน นั้น มีอยู่แม้แต่ในสิ่งที่เรียกกันสามัญว่าน้ำ ว่าลม

อาโปธาตุ ที่เรียกให้สะดวกว่าน้ำ ก็เป็นสภาวะที่สัมผัสด้วยกายไม่ได้ (เราไม่สามารถรับรู้อาโปธาตุด้วยประสาททั้ง ๕ แต่มันเป็นสุขุมรูปที่รู้ด้วยมโน) และอาโปนั้น ก็มีอยู่ในรูปธรรมทั่วไป แม้แต่ในก้อนหินแห้ง ในก้อนเหล็กร้อน และในแผ่นพลาสติก ดังนี้เป็นต้น
จึงมีประเพณีจำแนกธาตุสี่ แต่ละอย่างนั้นเป็น ๔ ประเภท ตามความหมายที่ใช้ในแง่และระดับต่างๆ คือ เป็นธาตุในความหมายที่แท้โดยลักษณะ (ลักขณะ)
ธาตุในสภาพมีสิ่งประกอบปรุงแต่ง ที่มนุษย์เข้าถึงเกี่ยวข้องตลอดจนใช้งานใช้การ ซึ่งถือเป็นธาตุอย่างนั้นๆ ตามลักษณะเด่นที่ปรากฏ (สสัมภาร)
ธาตุในความหมายที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน (นิมิต หรือ อารมณ์)
ธาตุในความหมายตามที่สมมติ เรียกกัน (สมมติ) ดังต่อไปนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2019, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพียงเท่านั้น ก็เริ่มฮงปวดหมองอ้าปากหาวเหมือนฟังพระเทศน์แล้ว :b32:

รูปภาพ

บอกไม่เชื่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2019, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ปฐวีธาตุ ๔ อย่าง คือ

๑. ลักษณปฐวี ปฐวีโดยลักษณะ ได้แก่ ภาวะแข้นแข็งแผ่ไป เป็นที่ตั้งอาศัยให้ปรากฏตัวของประดารูปที่เกิดร่วม (เรียก ปรมัตถปฐวี บ้าง กักขฬปฐวี บ้างก็มี)

๒. สสัมภารปฐวี ปฐวีโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบภายในกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
ภายนอกตัว เช่น ทอง เงิน เหล็ก กรวด ศิลา ภูเขา

๓. อารัมมณปฐวี ปฐวีโดยอารมณ์ คือดินเป็นอารมณ์ในกรรมฐาน โดยเฉพาะมุ่งเอาปฐวีกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิต (เรียกนิมิตปฐวีบ้าง กสิณปฐวี บ้างก็มี)

๔. สมมติปฐวี ปฐวีโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือแผ่นดินเป็นเทวดาว่าแม่พระธรณี (บัญญัติปฐวี ก็เรียก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2019, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
เอาตัวหนังสือก็อปมาวางเยอะๆ
จะคิดถูกตัวตนตามได้หรือคะ
คิดตามทีละคำสิคะถึงจะเข้าใจ
ตาเนี่ยมีแล้วเป็นมหาภูตรูปเป็นรูปธรรม
คนตายคนตาบอดคนไม่ตายก็มีตาอยู่
แต่คนทั้ง3คนนี้คนที่ไม่ตายและตาไม่บอด
คือมีจิตและมีประสาทตาดีอยู่ลืมตาดูถึงเห็น
เราน่ะเห็นแล้วแต่ไม่รู้จักเห็นตรงตามคำสอนอยู่
ตถาคตบอกว่าเห็นเป็นนามธรรมที่ไปรู้สีเพียง1สี
สีนั้นน่ะเป็นรูปที่ประกอบอยู่ในทุกๆที่ที่มีมหาภูตรูป
เรียกสภาพธรรมที่มีการรู้สีว่าจิตเห็นสีเข้าใจไหมคะ
:b12:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2019, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาโปธาตุ ๔ อย่าง คือ

๑. ลักขณอาโป อาโปโดยลักษณะ ได้แก่ ภาวะไหลซ่าน เอิบอาบ ซาบซึม เกาะกุม (เรียกปรมัตถอาโป ก็ได้)

๒. สสัมภารปฐวี อาโปโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบภายในกาย เช่น ดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ
ภายนอกตัว เช่น น้ำดื่ม น้ำชา น้ำยา น้ำผลไม้ น้ำฝน น้ำผึ้ง น้ำตาล ห้วยละหาน แม่น้ำ คลอง บึง

๓. อารัมมณอาโป อาโปโดยเป็นอารมณ์ คือน้ำที่เป็นนิมิตในกรรมฐาน (เรียกนิมิตอาโปบ้าง หรือกสิณอาโป ก็ได้)

๔. สมมติอาโป อาโปโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือน้ำเป็นเทวดา เรียกว่าแม่พระคงคา พระพิรุณ เป็นต้น (บัญญัติอาโป ก็เรียก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2019, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เตโชธาตุ ๔ อย่าง คือ

๑. ลักขณเตโช เตโชโดยลักษณะ ได้แก่ สภาวะที่ร้อน ความร้อน ภาวะที่แผดเผา สภาวะที่ทำให้ย่อยสลาย (เรียกปรมัตถเตโช ก็ได้)

๒. สสัมภารเตโช เตโชโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบ ภายในกาย เช่น ไอร้อนของร่างกาย ไฟที่เผาผลาญย่อยอาหาร ไฟที่ทำกายให้ทรุดโทรม
ภายนอกตัว เช่น ไฟถ่าน ไฟฟืน ไฟน้ำมัน ไฟป่า ไฟหญ้า ไฟฟ้า ไอแดด

๓. อารัมมณเตโช เตโชโดยเป็นอารมณ์ คือไฟที่เป็นนิมิตในกรรมฐาน (เรียกนิมิตตเตโช หรือกสิณเตโช ก็ได้)

๔. สมมติเตโช เตโชโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือไฟเป็นเทวดา เรียกว่า แม่พระเพลิง แม่พระอัคนีเทพ เป็นต้น (บัญญัติเตโช ก็เรียก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2019, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วาโยธาตุ ๔ อย่าง คือ

๑. ลักขณวาโย วาโยโดยลักษณะ ได้แก่ สภาวะที่สั่นไหว ค้ำจุน เคร่งตึง (เรียกปรมัตถวาโย ก็ได้)

๒. สสัมภารวาโย วาโยโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบ ภายในกาย เช่น ลมหายใจ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมหาว ลมเรอ
ภายนอกตัว เช่น ลมพัดลม ลมสูบยางรถ ลมเป่าไฟให้โชน ลมร้อน ลมหนาว ลมพายุ ลมฝน ลมเหนือ ลมใต้

๓. อารัมมณวาโย วาโยโดยเป็นอารมณ์ คือลมที่เป็นนิมิตในกรรมฐาน (เรียกนิมิตตวาโย หรือกสิณวาโย ก็ได้)

๔. สมมติวาโย วาโยโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือลมเป็นเทวดา เรียกว่า แม่พระวารุต พระพาย เป็นต้น (บัญญัติวาโย ก็เรียก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2019, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
เอาตัวหนังสือก็อปมาวางเยอะๆ
จะคิดถูกตัวตนตามได้หรือคะ
คิดตามทีละคำสิคะถึงจะเข้าใจ
ตาเนี่ยมีแล้วเป็นมหาภูตรูปเป็นรูปธรรม
คนตายคนตาบอดคนไม่ตายก็มีตาอยู่
แต่คนทั้ง3คนนี้คนที่ไม่ตายและตาไม่บอด
คือมีจิตและมีประสาทตาดีอยู่ลืมตาดูถึงเห็น
เราน่ะเห็นแล้วแต่ไม่รู้จักเห็นตรงตามคำสอนอยู่
ตถาคตบอกว่าเห็นเป็นนามธรรมที่ไปรู้สีเพียง1สี
สีนั้นน่ะเป็นรูปที่ประกอบอยู่ในทุกๆที่ที่มีมหาภูตรูป
เรียกสภาพธรรมที่มีการรู้สีว่าจิตเห็นสีเข้าใจไหมคะ
:b12:
:b4: :b4:


อย่างนี้แหละเขาเรียกว่า เอาความเห็นของตนไปใส่ปากพระเจ้า เอาความเห็นของตนไปใส่ปากตถาคต พูดง่ายๆว่าอ้างพระเจ้า อ้างพระตถาคตเพื่อให้คนเชื่อผู้พูด คนขาดการศึกษาเชื่อง่ายฟังยกมือสาธุ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2019, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปาทายรูป ๒๔ รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูต,อาการของภูตรูป, อุปาทารูป ๒๔ ก็เรียก มี ๒๔ คือ

ก. ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆานะ จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย กาย, มโน ใจ,

ข. โคจรรูป หรือวิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป)

ค. ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และ ปุริสภาวะ ความเป็นชาย

ง. หทัยรูป คือ หทัยวัตถุ หัวใจ

จ. ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่

ฉ. อาหารรูป ๑ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา

ช. ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง

ญ. วิญญัตติรูป ๒ คือ กายวิญญัตติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัตติ ไหววาจาให้รู้ความ คือ พูด

ฏ. วิการรูป ๕ อาการตัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา มุทุตา ความอ่อน กัมมัญญตา ความควรแก่งาน (อีก ๒ คือ วิญญัตติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก)

ฎ. ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้ สันตติ สืบต่อได้ ชรตา ทรุดโทรมได้ อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูปเพียง ๓ จึงได้ ๒๔)

รูป ๒๘ นั้น นอกจากจัดเป็น ๒ ประเภทหลักอย่างนี้แล้ว ท่านจัดแยกประเภทเป็นคู่ๆ อีกหลายคู่ พึงทราบโดยสังเขป ดังนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2019, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
เอาตัวหนังสือก็อปมาวางเยอะๆ
จะคิดถูกตัวตนตามได้หรือคะ
คิดตามทีละคำสิคะถึงจะเข้าใจ
ตาเนี่ยมีแล้วเป็นมหาภูตรูปเป็นรูปธรรม
คนตายคนตาบอดคนไม่ตายก็มีตาอยู่
แต่คนทั้ง3คนนี้คนที่ไม่ตายและตาไม่บอด
คือมีจิตและมีประสาทตาดีอยู่ลืมตาดูถึงเห็น
เราน่ะเห็นแล้วแต่ไม่รู้จักเห็นตรงตามคำสอนอยู่
ตถาคตบอกว่าเห็นเป็นนามธรรมที่ไปรู้สีเพียง1สี
สีนั้นน่ะเป็นรูปที่ประกอบอยู่ในทุกๆที่ที่มีมหาภูตรูป
เรียกสภาพธรรมที่มีการรู้สีว่าจิตเห็นสีเข้าใจไหมคะ
:b12:
:b4: :b4:


อย่างนี้แหละเขาเรียกว่า เอาความเห็นของตนไปใส่ปากพระเจ้า เอาความเห็นของตนไปใส่ปากตถาคต พูดง่ายๆว่าอ้างพระเจ้า อ้างพระตถาคตเพื่อให้คนเชื่อผู้พูด คนขาดการศึกษาเชื่อง่ายฟังยกมือสาธุ :b13:

:b12:
เอาสิคนเราไม่รู้จักกิเลสตนเอง
เวลาพระพุทธเจ้าพูดคำว่าธัมมะ
พระองค์หมายถึงทั้งหมดที่รู้แล้ว
ทุกคำที่เราน่ะไปอ่านในพระไตรปิฎก
คือความจริงที่พระองค์รู้แล้วทุกคำทุกครั้งที่พูดด้วย
ตัวเองไปอ่านไปท่องแล้วเลือกเอามาทำมันผิดไหมล่ะ
พระองค์บอกให้ทราบโดยละเอียดว่าที่ไปทำแบบนี้จะได้แบบนี้
พระองค์ตรัสแสดงความจริงให้คนที่กำลังฟังรู้ความจริงตอนที่ฟังทันที
ไม่มีใครเห็นคำพูดที่กำลังจะได้ยินล่วงหน้า555บอกไม่ฟังตัวอักษรเกิดหลังเห็นดับ
คิดล่วงหน้าน่ะเป็นสัญญาแต่ปัญญาตรงตามคำสอนต้องเริ่มต้นที่ฟังเสียงเพื่อเข้าใจตรงสิ่งที่ตัวตนกำลังมี
:b12:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2019, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
เอาตัวหนังสือก็อปมาวางเยอะๆ
จะคิดถูกตัวตนตามได้หรือคะ
คิดตามทีละคำสิคะถึงจะเข้าใจ
ตาเนี่ยมีแล้วเป็นมหาภูตรูปเป็นรูปธรรม
คนตายคนตาบอดคนไม่ตายก็มีตาอยู่
แต่คนทั้ง3คนนี้คนที่ไม่ตายและตาไม่บอด
คือมีจิตและมีประสาทตาดีอยู่ลืมตาดูถึงเห็น
เราน่ะเห็นแล้วแต่ไม่รู้จักเห็นตรงตามคำสอนอยู่
ตถาคตบอกว่าเห็นเป็นนามธรรมที่ไปรู้สีเพียง1สี
สีนั้นน่ะเป็นรูปที่ประกอบอยู่ในทุกๆที่ที่มีมหาภูตรูป
เรียกสภาพธรรมที่มีการรู้สีว่าจิตเห็นสีเข้าใจไหมคะ
:b12:
:b4: :b4:


อย่างนี้แหละเขาเรียกว่า เอาความเห็นของตนไปใส่ปากพระเจ้า เอาความเห็นของตนไปใส่ปากตถาคต พูดง่ายๆว่าอ้างพระเจ้า อ้างพระตถาคตเพื่อให้คนเชื่อผู้พูด คนขาดการศึกษาเชื่อง่ายฟังยกมือสาธุ :b13:

:b12:
เอาสิคนเราไม่รู้จักกิเลสตนเอง
เวลาพระพุทธเจ้าพูดคำว่าธัมมะ
พระองค์หมายถึงทั้งหมดที่รู้แล้ว
ทุกคำที่เราน่ะไปอ่านในพระไตรปิฎก
คือความจริงที่พระองค์รู้แล้วทุกคำทุกครั้งที่พูดด้วย
ตัวเองไปอ่านไปท่องแล้วเลือกเอามาทำมันผิดไหมล่ะ
พระองค์บอกให้ทราบโดยละเอียดว่าที่ไปทำแบบนี้จะได้แบบนี้
พระองค์ตรัสแสดงความจริงให้คนที่กำลังฟังรู้ความจริงตอนที่ฟังทันที
ไม่มีใครเห็นคำพูดที่กำลังจะได้ยินล่วงหน้า555บอกไม่ฟังตัวอักษรเกิดหลังเห็นดับ
คิดล่วงหน้าน่ะเป็นสัญญาแต่ปัญญาตรงตามคำสอนต้องเริ่มต้นที่ฟังเสียงเพื่อเข้าใจตรงสิ่งที่ตัวตนกำลังมี
:b12:
:b32: :b32:



อายแทนคนลัทธิศาสนาอื่นจริงๆพับผ่าเถอะ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2019, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อๆ (ลงๆไปงั้นๆแหละ) :b1:

คู่ที่ ๑ นิปผันนรูป (รูปที่สำเร็จ คือ เกิดจากปัจจัยหรือสมุฏฐาน อันได้แก่ กรรม จิต อุตุ อาหาร โดยตรง มีสภาวลักษณะของมันเอง) มี ๑๘ คือ ที่มิใช่อนิปผันนรูป (รูปที่มิได้สำเร็จจากปัจจัยหรือสมุฏฐานโดยตรง ไม่มีสภาวะลักษณะของมันเอง เป็นเพียงอาการสำแดงของนิปผันนรูป) ซึ่งมี ๑๐ คือ ปริจเฉทรูป ๑ วิญญัตติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณรูป ๔

คู่ที่ ๒ อินทรียรูป (รูปที่เป็นอินทรีย์ คือ เป็นใหญ่ในหน้าที่) มี ๘ คือ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ ชีวิตรูป ๑
อนินทรียรูป (รูปที่มิใช่อินทรีย์) มี ๒๐ คือ ที่เหลือจากนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2019, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คู่ที่ ๓: อุปาทินนรูป (รูปที่ตัณหาและทิฏฐิยึดครอง คือ รูปซึ่งเกิดแต่กรรม ที่เป็นอกุศลและโลกียกุศล) ได้แก่ กัมมชรูป มี ๑๘ คือ อินทรีย์รูป ๘ นั้น หทัยรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑
อนุปาทินนรูป (รูปที่ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดครอง มิใช่กัมมชรูป) ได้แก่ รูป ๑๐ อย่างที่เหลือ (คือ สัททรูป ๑ วิญญัตติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณรูป ๔)

สำหรับข้อที่ ๓ นี้ มีข้อที่ต้องทำความเข้าใจซับซ้อนสักหน่อย คือ ที่กล่าวมานั้น เป็นการอธิบายตามคัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินี
แต่ในโมหวิจเฉทนี ท่านกล่าวว่า อุปาทินนรูป มี ๙ เท่านั้น ได้แก่ อินทรียรูป ๘ และหทัยรูป ๑
อนุปาทินนรูป ได้แก่ รูป ๑๙ อย่างที่เหลือ (คือ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ สัททรูป ๑ วิญญัตติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณรูป ๔)

ที่ท่านว่าอย่างนี้ มิได้ขัดกัน ดังที่ปัญจิกา ชี้แจงว่า ที่นับอุปาทินนรูป เป็น ๙ ก็เพราะเอาเฉพาะเอกันตกัมมชรูป คือ รูปที่เกิดจากกรรมอย่างเดียวแท้ๆ (ไม่มีในอุตุชรูป เป็นต้น) ซึ่งมีเพียง ๙ อย่างดังที่กล่าวแล้ว (คือ อินทรียรูป ๘ และหทัยรูป ๑)
ส่วนกัมมชรูปอีก ๙ อย่าง (อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑) ไม่นับเข้าด้วย เพราะเป็น อเนกันตกัมมชรูป คือ มิใช่เป็นรูปที่เกิดจากกรรมอย่างเดียวแท้ (จิตตชรูปก็ดี อุตุชรูปก็ดี อาหารชรูปก็ดี ล้วนมีรูป ๙ อย่าง นี้เหมือนกับกัมมชรูปทั้งนั้น)

โดยนัยนี้ เมื่อนับอเนกันตกัมมชรูป (ยอมนับรูปที่ซ้ำกัน) รวมเข้ามาด้วย ก็จึงมีวิธีพูดแสดงความหมายของรูปคู่ที่ ๓ นี้แบบปนรวมว่า อุปาทินนรูป ได้แก่ กัมมชรูป ๑๘ คือ อินทรียรูป ๘ หทัยรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑

อนุปาทินนรูป ได้แก่ จิตตชรูป ๑๕ (รูปที่เกิดแต่จิต วิญญัตติรูป ๒ วิการรูป ๓ สัททรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑)
อุตุชรูป ๑๓ (รูปที่เกิดแต่อุตุ วิการรูป ๓ สัททรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑) อาหารรูป ๑๒ (รูปที่เกิดแก่อาหาร วิการรูป ๓ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร