วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 17:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2020, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงคือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย พระพุทธเจ้ายังหนีไม่ได้ ตัวเวทนา ตัวทุกข์เกิดกับทุกคน วันนี้เราอยู่เราทำให้ดีที่สุด วันหน้าเราไป เราก็จะได้รับของที่ดีที่สุดเอง

หลวงปู่สังวาลย์ ธมฺมสาโร
วัดป่าเขามโนราห์ ชายป่าห้วยขาแข้ง อ.ห้วยคต จ.อุทัยธานี










...ฉะนั้นการน้อมจิตอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่เราวางความยินดี วางความยินร้ายกับอารมณ์ต่างๆ สร้างความพอใจ สร้างความสันโดษอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน ไม่ต้องหาความจำ หาความคิด มาเป็นเครื่องบันเทิงอยู่ในใจ จิตที่ส่ายไปโน่น ส่ายไปนี่ หาเครื่องบันเทิงคือจิตที่ขาดความสุขอยู่กับอารมณ์กรรมฐานคือ ลมหายใจ

ถ้าเราอยู่กับลมหายใจรู้สึกอึดอัด แน่นหน้าอก เป็นต้น ก็เป็นอันว่าเราตั้งใจมากเกินไป ขาดความผ่อนคลาย ถ้าเป็นเช่นนั้นให้เรารู้สึก ลมหายใจในทุกส่วนของกาย ตั้งแต่ศีรษะลงไปถึงเท้า เห็นความยุบพองของกาย เมื่อหายเครียดแล้วจึงกลับมากำหนดลมหายใจ ณ จุดใดจุดหนึ่ง การภาวนาคือการแก้ปัญหา นิวรณ์คือปัญหาที่เกิดขึ้น การป้องกัน การระงับปัญหาเหล่านี้ ถือว่าเป็นวิชาชีวิตที่มีค่ามาก

เพราะฉะนั้นจิตเผลอไปก็อย่าเพิ่งรำคาญ อย่าเพิ่งท้อแท้ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ให้กลับไปอยู่กับลมหายใจเหมือนกลับไปอยู่กับเพื่อนสนิท เราหลงเราลืม แต่พอเราสำนึกได้ รู้ตัวได้ กลับไปอยู่กับลมหายใจ ด้วยความพอใจ...

พระอาจารย์ชยสาโร
นำสมาธิภาวนา ในการปฏิบัติธรรมบ้านบุญวันอาทิตย์
วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๒ ณ บ้านบุญ ปากช่อง นครราชสีมา











“ที่มันกลัวมากกลัวมายนักน่ะ มันกลัวอะไร” ใจมันถาม

“กลัวตาย” อีกใจหนึ่งตอบ

“แล้วตายมันอยู่ที่ไหน ทำไมถึงกลัวเกินบ้านเกินเมืองเขานักล่ะ หาที่ตายมันดูซิ ตายมันอยู่ที่ไหน”

“เอ้า ตายเลยอยู่กับตัวเอง”

“อยู่กับตัวเองแล้วจะหนีไปไหนจึงจะพ้นมันล่ะ วิ่งหนีมันก็ตายนั่งอยู่มันก็ตาย เพราะมันอยู่กับเรา ไปไหนมันก็ไปด้วยนั่นแหละ เพราะความตายมันอยู่กับตัวเรา ไม่มีที่ไปหรอก กลัวหรือไม่กลัว มันก็ตายเหมือนกัน เพราะตายอยู่กับตัวเองนี่ หนีมันไม่ได้หรอก


ตัดตอนจาก ธรรมบทเรื่องต่อสู้ความกลัว
โดยหลวงพ่อชา สุภัทโท











ถาม : ท่านอาจารย์ครับ เวลาภาวนานี่
เป็นปัญหามากสำหรับเราก็คือตัวนิวรณ์
ตัวแห่งความฟุ้งซ่านนี่ มันเป็นปัญหามาก
ทำให้มันไม่ลงสักที

ตอบ : มันเหมือนกันทุกคน อยู่ที่เรา
จะมีความพยายามมากน้อยเพียงไรมากกว่า
ถ้ามีอิทธิบาท ๔ มีฉันทะความพอใจ
ความชอบใจที่จะทำแล้ว
วิริยะความขยันหมั่นเพียรก็จะตามมา
ความอดทนจะตามมา

..ความยากก็ยากเหมือนกันทุกคน
แต่ถ้ามีความพยายาม มีความอดทนแล้ว
เดี๋ยวความยากก็กลายเป็นความง่ายเอง
"มันยากตอนเริ่มต้น".. พอทำไปได้แล้ว
ก็จะมีตัวผลักดันให้ไปได้เรื่อยๆ

..สิ่งที่เราขาดก็คืออิทธิบาท ๔ เป็นหลัก
ขาดฉันทะความยินดี ขาดวิริยะความเพียร
เวลาให้นั่งสมาธิไม่ค่อยยินดีเหมือนกับเวลาไปเที่ยว
ไปเที่ยวนี่มันง่ายกว่านั่งสมาธิ

..เหมือนกับเดินขึ้นเขากับเดินลงเขา
เดินขึ้นเขามันยากมันเหนื่อย
ถ้าไม่พยายามจริงๆ จะไปไม่ถึงยอด
คนโบราณจึงเชื่อกันว่า
เวลาเดินขึ้นไปกราบพระพุทธบาท
ที่ต้องขึ้นบันไดหลายร้อยขั้น
จะได้บุญมากๆ คือ..
"บุญที่เกิดจากวิริยะ ความเพียรพยายาม".
.....................................
จุลธรรมนำใจ2 กัณฑ์231
ธรรมะบนเขา 25/12/2548
พระอาจรย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี










ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด จงรู้จักตัวเองด้วยการปฏิบัติตนเป็นปกติตามธรรมชาติ และเฝ้าดูเมื่อเกิดสงสัยจงเฝ้าดูมันเกิดขึ้นและดับไป มันก็ง่ายๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใดทั้งสิ้น

เหมือนกับว่าท่านกำลังเดินไปตามถนน บางขณะท่านจะพบสิ่งกีดขวางทางอยู่ เมื่อท่านเกิดกิเลสเครื่องเศร้าหมอง จงรู้ทันมันและเอาชนะมันโดยปล่อยให้มันผ่านไปเสีย อย่าไปคำนึงถึงสิ่งกีดขวางที่ท่านได้ผ่านมาแล้ว อย่าวิตกกังวลกับสิ่งที่ยังไม่ได้พบ จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าสนใจกับระยะทางของมัน หรือกับจุดหมายปลายทาง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าท่านผ่านอะไรไป อย่าไปยึดมั่นไว้

ในที่สุด จิตจะบรรลุถึงความสมดุลตามธรรมชาติของจิต และเมื่อนั้นการปฏิบัติก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดขึ้นและดับไปในตัวของมันเอง

..... หลวงปู่ชา สุภทฺโท










สุขทางโลกที่ได้เข้ามาในชีวิต เช่น ลาภ ยศ เงิน ทอง นา ที่ดิน เราอย่าไปยินดียินร้ายอะไรมาก #นั่นแหละเป็นหลุมพรางของกิเลสมัน มันจะดักให้เราหลงทาง

วิธีแก้คือต้องทำใจให้นิ่ง มีสมาธิจิตอันแน่วแน่ แล้วหาอุบายฝึกฝนเพื่อไปสู่หนทางความสุขที่แท้จริงคือ ความสงบ

...ท่านพ่อลี ธมฺมธโร








เรานั้นแล เป็นผู้ก่อเรื่อง
ให้ตัวเราเองไม่ใช่ผู้อื่นผู้ใด
รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส
อะไรมาเป็นผู้ก่อเรื่องให้เรา
อันนั้นเป็นแต่เพียงต้นเหตุอันหนึ่ง
ที่จะให้จิตไปคิดไปยึดเอาสิ่งนั้น
แล้วมาเกิดอารมณ์เป็นข้าศึกแก่ตนเท่านั้น

ความเป็นข้าศึกอันแท้จริง
ก็คือ ความคิด ความปรุง
ความสำคัญมั่นหมายไป
ในทางที่ผิดของจิตนั้นแล
จึงเป็นการสั่งสมความทุกข์ขึ้นในขณะที่จิต
คิดไปในทางที่เป็นกิเลส
ที่ท่านเรียกว่า สมุทัย เป็นเครื่องผลิตทุกข์"

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน









"บุคคลบางคน เกิดขึ้นมาแล้วมีแต่โรคภัยไข้เจ็บ
ตั้งแต่เล็กแต่น้อย จนถึงหนุ่มสาว จนถึงท่ามกลางคน
จนถึงเฒ่าถึงแก่ ไม่รู้ว่ามีโรคอะไรต่อโรคอะไร

ก็ด้วยอำนาจของกรรม เป็นโรคกรรม โรคกรรมนี้
รักษาด้วยหยูกยาไม่หาย บางทีก็ต้องแผ่เมตตา
ให้ซึ่งกันและกัน ถ้าหากมันไม่ใช่โรคกรรม
มันก็จะหายง่าย ถ้าเป็นโรคกรรม ก็ต้องอโหสิกรรมให้ "

หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป










“เราต้องมีความละอายแก่ใจอย่างบริสุทธิ์ใจ
ไม่ใช่ว่า ต้องให้คนอื่นมาเห็น จึงจะละอาย”

ท่านพุทธทาสภิกขุ









"มีเมตตาต่อเขาผู้เป็นทุกข์ นั้นดีนัก
แต่อย่าลืมเมตตาตน
ตนเองปล่อยให้ใจตัวเองเป็นทุกข์
เพราะเมตตาเขา

ไม่มีอำนาจใด จะไปสู้กับอำนาจกรรม
ของใครได้ เมื่อเชื่อในเรื่องอำนาจกรรม
เช่นนี้ ใจที่มีเมตตา ก็จะเป็นการมีเมตตา
อย่างถูกต้อง อย่างมีปัญญา

ไม่พาใจตนเอง ไปสู่ความเร่าร้อน
ด้วยความเมตตา ที่ไม่ถูกต้อง"

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 147 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร