วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 13:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2020, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วย แก่น
๑.

๓. อุปนิสสูตร
[๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้อยู่ เห็นอยู่ เราจึงกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เมื่อเราไม่รู้ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เราเห็นอะไรเล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี
เมื่อเรารู้ เราเห็นว่าดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ...
ดังนี้เวทนา ...
ดังนี้สัญญา ...
ดังนี้สังขารทั้งหลาย ...
ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เราเห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ฯ


[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไปเกิดขึ้นแล้ว ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่
เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป ควรกล่าวว่า วิมุตติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควรกล่าวว่า นิพพิทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่าสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสมาธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ ควรกล่าวว่า สุข

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสุขว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสุข ควรกล่าวว่า ปัสสัทธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปัสสัทธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ ควรกล่าวว่า ปีติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปีติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ ควรกล่าวว่า ความปราโมทย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความปราโมทย์ ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปราโมทย์ ควรกล่าวว่า ศรัทธา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งศรัทธา ควรกล่าวว่า ทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งทุกข์ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์ ควรกล่าวว่า ชาติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งชาติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งชาติ ควรกล่าวว่า ภพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งภพว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งภพ ควรกล่าวว่า อุปาทาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งอุปาทานว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งอุปาทาน ควรกล่าวว่า ตัณหา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งตัณหาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งตัณหา ควรกล่าวว่า เวทนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งเวทนาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งเวทนา ควรกล่าวว่า ผัสสะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งผัสสะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งผัสสะ ควรกล่าวว่า สฬายตนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสฬายตนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสฬายตนะ ควรกล่าวว่า นามรูป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนามรูปว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนามรูป ควรกล่าวว่า วิญญาณ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิญญาณว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิญญาณ ควรกล่าวว่า สังขารทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสังขารทั้งหลายว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย ควรกล่าวว่า อวิชชา ด้วยเหตุดังนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย
สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย
วิญญาณ มีสังขารเป็นที่อิงอาศัย
นามรูป มีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย
ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นที่อิงอาศัย
เวทนา มีผัสสะเป็นที่อิงอาศัย
ตัณหา มีเวทนาเป็นที่อิงอาศัย
อุปาทาน มีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย
ภพ มีอุปาทานเป็นที่อิงอาศัย
ชาติ มีภพเป็นที่อิงอาศัย
ทุกข์ มีชาติเป็นที่อิงอาศัย
ศรัทธา มีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย
ความปราโมทย์ มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย
ปีติ มีปราโมทย์เป็นที่อิงอาศัย
ปัสสัทธิ มีปีติเป็นที่อิงอาศัย
สุข มีปัสสัทธิเป็นที่อิงอาศัย
สมาธิ มีสุขเป็นที่อิงอาศัย
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย
นิพพิทา มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย
วิราคะ มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย
วิมุตติ มีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2020, 22:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๒.

๑๐. ภวสูตร
[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ นี้ ควรละ
ควรศึกษาในไตรสิกขา


ภพ ๓ เป็นไฉน
คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพ ๓ นี้ควรละ


ไตรสิกขาเป็นไฉน
คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา
ควรศึกษาในไตรสิกขานี้



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภพ ๓ นี้ เป็นสภาพอันภิกษุละได้แล้ว
และเธอเป็นผู้มีสิกขาอันได้ศึกษาแล้วในไตรสิกขานี้

เมื่อนั้นภิกษุนี้ เรากล่าวว่า
ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว
คลายสังโยชน์ได้แล้ว
ได้ทำที่สุดทุกข์ เพราะละมานะได้โดยชอบ ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2020, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ภพคือภาวะความมีความเป็นความได้มาเพิ่ม
ชาติคือความเกิดมีตามภพที่ทำๆอยู่นั่นแหละ
คือการทำเพิ่มเอาเพิ่มเพื่อให้มีเพิ่มขึ้นนะคะ
ส่วนความละความอยากมีอยากเป็นอยากได้
เกิดจากลดความติดข้องในการกระทำแล้วเริ่ม
คิดที่จะฟังคำสอนเพื่อไตร่ตรองตามคำสอนว่า
อะไรเป็นอะไรไม่ใช่คิดแต่อยากจะไปทำตามที่
ตนเองคิดเข้าใจไหมคะตถาคตตรัสรู้ความจริง
ทั้งหมดที่ทุกคนกำลังมีเดี๋ยวนี้หยุดไปทำโดย
ไม่ฟังเพราะการไม่ฟังขณะนั้นเองมีเหตุผล
ที่เข้าข้างตัวตนแล้วค่ะเพราะไม่รู้จักทุกข์
ที่กำลังมีเดี๋ยวนี้แหละมีศรัทธาที่จะฟังรึเปล่า
ตถาคตตรัสแสดงความจริงเพือให้เข้าใจค่ะ
เข้าใจไหมคะว่ากำลังฟังเข้าใจนั่นแหละปัญญา
อันที่คิดพูดทำเองนั้นคือสังขารขันธ์ปรุงแต่งเองแล้วค่ะ
แปลว่าไม่พึ่งคิดตามคำสอนเพื่อให้เกิดเหตุปัจจัยเพิ่มปัญญาก่อนงัยคะ
ฟังเพื่อเข้าใจตรงที่จิตตนเองกำลังผลิตกิเลสหรือปัญญามันเป็นคนละทางคนละขั้วที่เกิดเลยนะคะ
https://youtu.be/0EF1TomPIwk
:b12:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2020, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
เคยเห็นปลาติดข้องไหมคะ
ทุกคนกำลังอยู่ในข้อง
พยามดิ้นเพื่อจะออก
ถ้าหยุดดิ้นก็ไม่เหนื่อย
เพราะยังงัยก็ไม่พ้นตายค่ะ
:b4:
จะกำลังไปทำอะไรตามที่อยากได้ก็คือปัจจุบันที่เป็นแล้ว
ไม่ปรุงแต่งจิตตามคือไม่ฟังเพื่อให้เกิดสัมมาตามคำสอนได้
ฟังเพื่อสะสมปัญญาก่อนเทวดาล้วนอยากได้ลาภอันประเสริฐ
คือได้เกิดเป็นมนุษย์ได้พบคำสอนและได้ฟังพระสัทธรรมแต่คุณอยากไปสวรรค์มีปัญญาเพิ่มหรือยังถ้าไม่ฟัง
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2020, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุนัขที่เขาผูกไว้ด้วยเชือก ถูกล่ามไว้ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง
ย่อมวิ่งวนเวียนหลักหรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด"




เวฬุทวารสูตร
ว่าด้วยธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตน

[๑๔๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่อเวฬุทวาระ

[๑๔๕๕] พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวาระได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมผู้เป็นโอรสของเจ้าศากยะ เสด็จออกผนวชจากศากยสกุลเสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงเวฬุทวารคามแล้ว ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไปอย่างนี้ว่า

แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

พระสมณโคดมพระองค์นั้น ทรงกระทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม

พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้นเป็นความดี.



[๑๔๕๖] ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคามได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาค บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค บางพวกประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า


[๑๔๕๗] ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ๆ ว่า
ขอเราทั้งหลายพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน พึงลูบไล้จันทน์ที่เขานำมาแต่แคว้นกาสี
พึงทัดทรงมาลา ของหอม และเครื่องลูบไล้ พึงยินดีทองและเงิน
เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน ...
เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ด้วยประการใด

ขอท่านพระโคดม โปรดทรงแสดงธรรม ด้วยประการนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ผู้มีความปรารถนา ผู้มีความพอใจ ผู้มีความประสงค์อย่างนั้นๆ เถิด.


[๑๔๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
เราจักแสดงธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตนแก่ท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

พราหมณ์และคฤบดีชาวเวฬุทวารคามทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า



[๑๔๕๙] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ธรรมปริยายที่ควรน้อมเข้ามาในตนเป็นไฉน?

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์
ผู้ใดจะปลงเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงปลงคนอื่นผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น

ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่องดเว้นจากปาณาติบาตด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นปาณาติบาตด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.





[๑๔๖๐] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงถือเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบของเรา
อนึ่ง เราพึงถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น

ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากอทินนาทานด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากอทินนาทานด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากอทินนาทานด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.





[๑๔๖๑] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของเรา ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของคนอื่น ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น

ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.





[๑๔๖๒] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงทำลายประโยชน์ของเราด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงทำลายประโยชน์ของคนอื่นด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น

ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากมุสาวาทด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากมุสาวาทด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากมุสาวาทด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.





[๑๔๖๓] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงยุยงให้เราแตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงยุยงคนอื่นให้แตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น

ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้เว้นจากปิสุณาวาจาด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.





[๑๔๖๔] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยคำหยาบ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยคำหยาบ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น

ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากผรุสวาจาด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.





[๑๔๖๕] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น

ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ด้วยกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.





[๑๔๖๖] อริยสาวกนั้นประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ...
ในพระธรรม ...
ในพระสงฆ์ ...
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ... เป็นไปเพื่อสมาธิ.



[๑๔๖๗] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ ด้วยฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความหวัง ๔ ประการนี้ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


[๑๔๖๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคาม ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯ
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดม โปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯลฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2020, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๔ โปตลิยสูตร
เรื่องโปตลิยคฤหบดี

[๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ในอังคุตตราปชนบท ในนิคม ของชาวอังคุตตราปะ ชื่อว่าอาปณะ.
ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอาปณนิคม.
ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในอาปณนิคมแล้วภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว เสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง เพื่อทรงพักกลางวัน เสด็จถึงไพรสณฑ์นั้นแล้ว ประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง

แม้โปตลิยคฤหบดี มีผ้านุ่งผ้าห่มสมบูรณ์ ถือร่มสวมรองเท้า เดินเที่ยวไปมาเป็นการพักผ่อนอยู่ เข้าไปยังไพรสณฑ์นั้นแล้ว ครั้นถึงไพรสณฑ์นั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.


[๓๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะโปตลิยคฤหบดีผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรคฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด.

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โปตลิยคฤหบดีโกรธ น้อยใจว่า พระสมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดี แล้วได้นิ่งเสีย.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะโปตลิยคฤหบดีครั้งที่ ๒ ว่า ดูกรคฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์เชิญนั่งเถิด.
โปตลิยคฤหบดีโกรธ น้อยใจว่า พระสมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดีได้นิ่งเสียเป็นครั้งที่ ๒.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะโปตลิยคฤหบดีเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ดูกรคฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โปตลิยคฤหบดีโกรธ น้อยใจว่า พระสมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดี
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม พระดำรัสที่พระองค์ตรัสเรียกข้าพเจ้าด้วยคำว่า คฤหบดีนั้น ไม่เหมาะ ไม่ควรเลย.

พ. ดูกรคฤหบดี ก็อาการของท่าน เพศของท่าน เครื่องหมายของท่านเหล่านั้น เหมือนคฤหบดีทั้งนั้น.

โป. จริงเช่นนั้น ท่านพระโคดม ก็แต่ว่าการงานทั้งปวง ข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว.
พ. ดูกรคฤหบดี ก็การงานทั้งปวง ท่านห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ท่านตัดขาดแล้วอย่างไรเล่า?

ท่านพระโคดม ขอประทานโอกาส สิ่งใดของข้าพเจ้าที่มี เป็นทรัพย์ก็ดี เป็นข้าวเปลือกก็ดี เป็นเงินก็ดี เป็นทองก็ดี สิ่งนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ามอบให้เป็นมฤดกแก่บุตรทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้สอน มิได้ว่าเขาในสิ่งนั้นๆ ข้าพเจ้ามีอาหารและเครื่องนุ่งห่มเป็นอย่างยิ่งอยู่

ท่านพระโคดม การงานทั้งปวงข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล.

พ. ดูกรคฤหบดี ท่านกล่าวการตัดขาดโวหาร เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนการตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ เป็นอีกอย่างหนึ่ง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะอย่างไรเล่า
ดีละ พระองค์ผู้เจริญ การตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ มีอยู่ด้วยประการใด
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ด้วยประการนั้นเถิด.

พ. ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.






เครื่องตัดโวหาร ๘ ประการ

[๓๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี
ธรรม ๘ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ ๘ ประการเป็นไฉน?

คือ ปาณาติบาต พึงละได้เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์
อทินนาทาน พึงละได้เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้
มุสาวาท พึงละได้เพราะอาศัยวาจาสัตย์ ปิสุณาวาจา พึงละได้เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด
ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด พึงละได้เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด
ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา พึงละได้เพราะความไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
ความคับแค้นด้วยความสามารถแห่งความโกรธ พึงละได้เพราะอาศัยความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
ความดูหมิ่น ท่านพึงละได้เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน

ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการนี้แล เรากล่าวโดยย่อยังมิได้จำแนกโดยพิสดาร
ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ.


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม ๘ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อ
มิได้ทรงจำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ
ดีละ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความกรุณา
จำแนกธรรม ๘ ประการนี้ โดยพิสดารแก่ข้าพเจ้าเถิด.

พ. ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.



[๓๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี
ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปาณาติบาต พึงละได้เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงทำปาณาติบาต
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงทำปาณาติบาต แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้
เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย

ปาณาติบาตนี้นั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้นเพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่กล่าวดังนี้ว่า ปาณาติบาต พึงละได้เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.






[๔๐] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า อทินนาทาน
พึงละได้ เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงถือเอาของที่เขามิได้ให้
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงถือเอาของที่เขามิได้ให้ แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้
เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย

อทินนาทานนี้นั้นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้นเพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากอทินนาทานแล้ว
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า อทินนาทานพึงละได้ เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.





[๔๑] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า มุสาวาท
พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาสัตย์
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงกล่าวมุสา
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงกล่าวมุสา แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้
เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย

มุสาวาทนี้นั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้นเพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลเว้นจากมุสาวาทแล้ว
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า มุสาพึงละได้ เพราะอาศัยวาจาสัตย์
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.





[๔๒] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปิสุณาวาจา
พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงกล่าววาจาส่อเสียด
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงกล่าววาจาส่อเสียด แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้
เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย

ปิสุณาวาจานี้นั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้นเพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากวาจาส่อเสียดแล้ว
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปิสุณาวาจาพึงละได้ เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.





[๔๓] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงมีความโลภด้วยสามารถความกำหนัด
เพราะเหตุสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละเพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงมีความโลภด้วยสามารถความกำหนัด แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะความโลภด้วยสามารถแห่งความกำหนัดเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้
เพราะความโลภด้วยสามารถแห่งความกำหนัดเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความโลภด้วยสามารถความกำหนัดเป็นปัจจัย

ความโลภด้วยสามารถความกำหนัดนี้นั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้นเพราะความโลภด้วยสามารถความกำหนัดเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด
พึงละได้เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.





[๔๔] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโกรธด้วยความสามารถแห่งการนินทา
พึงละได้เพราะอาศัยความไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
คำนี้เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น
อนึ่งเราพึงโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้
เพราะความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย

ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทานั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.





[๔๕] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้
เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย

ความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธนี้นั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.





[๔๖] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่านเรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงดูหมิ่นท่าน
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงดูหมิ่นท่าน แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนตนได้
เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย

ความดูหมิ่นท่านนี้นั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใดพึงเกิดขึ้น
เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลไม่ดูหมิ่นท่าน
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.



ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการที่เรากล่าวโดยย่อ ไม่ได้จำแนกโดยพิสดาร
ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะนั้น เหล่านี้แล

ดูกรคฤหบดี แต่เพียงเท่านี้จะได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น
ทุกสิ่งทุกอย่างโดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะหามิได้.


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ก็อย่างไรเล่า
จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะมีด้วยประการใด
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ด้วยประการนั้นเถิด.


ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.







อุปมากาม ๗ ข้อ

[๔๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรคฤหบดี
เปรียบเหมือนสุนัขอันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว พึงเข้าไปยืนอยู่ใกล้เขียงของนายโคฆาต

นายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด พึงโยนร่างกระดูก
ที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อ แล้วเปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข ฉันใด

ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สุนัขนั้นแทะร่างกระดูก
ที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อ เปื้อนแต่เลือด จะพึงบำบัดความเพลียเพราะความหิวได้บ้างหรือ?

ไม่ได้เลยพระองค์ผู้เจริญ


ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะเป็นร่างกระดูก ที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อ เปื้อนแต่เลือด
และสุนัขนั้นพึงมีแต่ส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยคับแค้นเท่านั้น.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียวอันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.




[๔๘] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนแร้งก็ดี นกตะกรุมก็ดี เหยี่ยวก็ดี พาชิ้นเนื้อบินไปแร้งทั้งหลาย
นกตะกรุมทั้งหลาย หรือเหยี่ยวทั้งหลาย จะพึงโผเข้ารุมจิกแย่งชิ้นเนื้อนั้น ฉันใด

ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ถ้าแร้ง นกตะกรุม หรือเหยี่ยวตัวนั้น ไม่รีบปล่อยชิ้นเนื้อนั้นเสีย
มันจะถึงตายหรือทุกข์ปางตายเพราะชิ้นเนื้อนั้นเป็นเหตุ?

อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.





[๔๙] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงถือคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว เดินทวนลมไป ฉันใด

ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ถ้าบุรุษนั้นไม่รีบปล่อยคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วนั้นเสีย
คบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วนั้น พึงไหม้มือ ไหม้แขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น
บุรุษนั้นจะถึงตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะคบเพลิงนั้นเป็นเหตุ?

อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.





[๕๐] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง
เต็มด้วยถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว ปราศจากควัน

บุรุษผู้รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงมา
บุรุษมีกำลังสองคน ช่วยกันจับแขนบุรุษนั้นข้างละคน ฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง ฉันใด


ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุรุษนั้นจะพึงน้อมกายเข้าไปด้วยคิดเห็นว่าอย่างนี้ๆ บ้างหรือ?

ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ผู้เจริญ


ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุรุษนั้นรู้ว่า เราจักตกลงยังหลุมถ่านเพลิงนี้ จักถึงตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย
เพราะการตกลงยังหลุมถ่านเพลิงเป็นเหตุ.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขา ที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวงหาส่วนเหลือมิได้.





[๕๑] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงฝันเห็น
สวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภาคพื้นอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์
บุรุษนั้นตื่นขึ้นแล้ว ไม่พึงเห็นอะไร ฉันใด

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวงหาส่วนเหลือมิได้.





[๕๒] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงยืมโภคสมบัติ คือ แก้วมณีและกุณฑลอย่างดีบรรทุกยานไป
เขาแวดล้อมด้วยทรัพย์สมบัติที่ตนยืมมา พึงเดินไปภายในตลาด

คนเห็นเขาเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ บุรุษผู้นี้มีโภคสมบัติหนอ
ได้ยินว่าชนทั้งหลายผู้มีโภคสมบัติ ย่อมใช้สอยโภคสมบัติอย่างนี้ ดังนี้
พวกเจ้าของพึงพบบุรุษนั้น ณ ที่ใดๆ พึงนำเอาของของตนคืนไปในที่นั้นๆ ฉันใด

ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนจะสมควรหรือหนอ เพื่อความที่บุรุษนั้นจะเป็นอย่างอื่นไป?

ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ผู้เจริญ


ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเจ้าของย่อมจะนำเอาของของตนคืนไปได้.
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยของยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.





[๕๓] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ ในที่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม
ต้นไม้ในราวป่านั้น พึงมีผลรสอร่อย ทั้งมีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว
บุรุษผู้ต้องการผลไม้ พึงเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้น เห็นต้นไม้อันมีผลรสอร่อยมีผลดกนั้น

เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว
แต่เรารู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงขึ้นต้นไม้นี้แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง
เขาขึ้นต้นไม้นั้นแล้ว กินจนอิ่ม และห่อพกไว้

ลำดับนั้น บุรุษคนที่สองต้องการผลไม้ถือขวานอันคมเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้
เขาแวะยังราวป่านั้นแล้ว เห็นต้นไม้ มีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น
เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว
และเราก็ไม่รู้เพื่อขึ้นต้นไม้

ไฉนหนอ เราพึงตัดต้นไม้นี้แต่โคนต้น แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง
เขาพึงตัดต้นไม้นั้นแต่โคนต้น ฉันใด

ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษคนโน้นซึ่งขึ้นต้นไม้ก่อนนั้น
ถ้าแลเขาไม่รีบลง ต้นไม้นั้นจะพึงล้มลง หักมือ หักเท้า หรือหักอวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น
บุรุษนั้นพึงถึงตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะต้นไม้นั้นล้มเป็นเหตุ?

เป็นอย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.






สังฆสูตร

[๕๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องเศร้าหมองอย่างหยาบของทอง คือ ดินร่วน ทราย ก้อนกรวด และกระเบื้องมีอยู่
คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น เรี่ยรายทองนั้นเทลงไปในรางน้ำแล้วล้าง ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด

เมื่อล้างเครื่องเศร้าหมองอย่างหยาบหมดแล้ว ทำมันให้สุดสิ้นแล้ว
ทองยังคงมีเครื่องเศร้าหมองอย่างกลาง คือ ก้อนกรวดอย่างละเอียด ทรายอย่างหยาบ
คนล้างฝุ่นหรือลูกมือคนล้างฝุ่นย่อมล้างทองนั้น ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด

เมื่อล้างเครื่องเศร้าหมองอย่างกลางหมดแล้ว ทำมันให้สุดสิ้นแล้ว
ทองยังคงมีเครื่องเศร้าหมองอย่างละเอียด คือ ทรายอย่างละเอียด และสะเก็ดกระลำพัก
คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ย่อมล้างทองนั้น ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด
เมื่อล้างเครื่องเศร้าหมองอย่างละเอียดจนหมดแล้ว ทำมันให้สิ้นสุดแล้ว

คราวนี้ยังคงเหลือกองทรายทอง ช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง ใส่ทองลงในเบ้าหลอม แล้วเป่าทองนั้น
เป่าแล้วเป่าเล่า เป่าจนได้ที่ ยังไม่ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน ยังไม่ถูกนำเอารสฝาดออก
มันย่อมไม่อ่อน ไม่ควรแก่การงาน ไม่ผุดผ่อง เป็นของแตกง่าย และเข้าไม่ถึงเพื่อกระทำโดยชอบ

ช่างทองหรือลูกมือของช่างทองย่อมเป่าทองนั้น เป่าแล้วเป่าเล่า เป่าจนได้ที่
ในสมัยใด สมัยนั้นมีอยู่ ทองนั้นถูกเป่า ถูกเป่าแล้วเป่าเล่า ถูกเป่าจนได้ที่ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน
ถูกนำเอารสฝาดออกหมด มันย่อมเป็นของอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง ไม่แตกหัก เข้าถึงเพื่อทำโดยชอบ

เขามุ่งหมายสำหรับเครื่องประดับชนิดใดๆ คือ แผ่นทอง ต่างหู เครื่องประดับคอ หรือดอกไม้ทองก็ดี
เครื่องประดับชนิดนั้นย่อมสมความประสงค์ของเขา ฉันใด


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสอย่างหยาบ
คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ของภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ยังมีอยู่
ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาด ย่อมละทิ้ง
บรรเทาอุปกิเลสอย่างหยาบของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป

เมื่อละมันได้เด็ดขาด ทำให้มันสิ้นไปแล้ว
ภิกษุผู้ประกอบอธิจิตยังคงมีอุปกิเลสอย่างกลาง คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก
ภิกษุผู้มีสัญชาติ เป็นคนฉลาด ย่อมละทิ้ง บรรเทาอุปกิเลสอย่างกลางของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป

เมื่อละมันได้เด็ดขาด ทำให้มันสิ้นสุดแล้ว
ภิกษุผู้ประกอบอธิจิตยังคงมีอุปกิเลสอย่างละเอียด
คือ ความวิตกถึงชาติ ความวิตกถึงชนบท และวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความไม่ดูหมิ่น
ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาด ย่อมละทิ้ง บรรเทาอุปกิเลสอย่างละเอียดของใจตนนั้นเสียทำให้สิ้นไปให้หมดไป

เมื่อละมันได้เด็ดขาด ทำมันให้สิ้นสุดไปแล้ว
ยังคงเหลือแต่ธรรมวิตก (วิปัสสนูปกิเลส) ต่อไปเท่านั้น

สมาธินั้นยังไม่ละเอียด ไม่ประณีต ไม่ได้ความสงบระงับ ยังไม่ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ยังมีการห้ามการข่มกิเลสด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง



ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตดำรงอยู่ในภายในสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
สมัยนั้น สมาธินั้นเป็นธรรมละเอียด ประณีต ได้ความสงบระงับ ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีการห้ามการข่มกิเลส ด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง

และภิกษุนั้นจะโน้มน้อมจิตไป เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองใดๆ

เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่






ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึงแสดงฤทธิ์หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุกำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้

เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่





ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึงฟังเสียง ๒ ชนิด
คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งในที่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์

เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่






ถ้าภิกษุนั้นหวังว่าเราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจของตน คือ
จิตมีราคะพึงรู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะก็พึงรู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็พึงรู้ว่า จิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะก็พึงรู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็พึงรู้ว่า จิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ก็พึงรู้ว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็พึงรู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคตก็พึงรู้ว่า จิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็พึงรู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็พึงรู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิก็พึงรู้ว่า จิตเป็นสมาธิหรือจิตไม่เป็นสมาธิก็พึงรู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้นก็พึงรู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็พึงรู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น

เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่





ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมาก ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า

ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น

ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น

ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนๆ
ได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่





ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์

พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ
ยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

เราพึงเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้

เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่





ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2020, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
อ่านแล้วคิดตามให้ตรง
คนที่จะรู้ตรงสัจจะตาม
ต้องลืมตาดูหูฟังเสียง
เบิกตาดู+คิดตามเสียง
นิมิตที่เห็นคนสัตว์วัตถุ
คืออดีตจิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ
เท่ากับเด่วนี้จิตดับแล้ว1ล้านดวงแสนครั้ง
นับนิ้วตัวเองสิคะแค่จิตเห็นดับเพียง3ขณะกิเลสไหลไปทั้ง6ทางครบค่ะ
พระไตรปิฏกคือคำสอนคือตถาคตเท่านั้นล่ะค่ะที่ไม่มีกิเลสเพราะพันปีที่3ไม่มีพระอรหันต์แล้วตถาคตบอกไว้
:b12:
:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2020, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
อ่านแล้วคิดตามให้ตรง
คนที่จะรู้ตรงสัจจะตาม
ต้องลืมตาดูหูฟังเสียง
เบิกตาดู+คิดตามเสียง
นิมิตที่เห็นคนสัตว์วัตถุ
คืออดีตจิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ
เท่ากับเด่วนี้จิตดับแล้ว1ล้านดวงแสนครั้ง
นับนิ้วตัวเองสิคะแค่จิตเห็นดับเพียง3ขณะกิเลสไหลไปทั้ง6ทางครบค่ะ
พระไตรปิฏกคือคำสอนคือตถาคตเท่านั้นล่ะค่ะที่ไม่มีกิเลสเพราะพันปีที่3ไม่มีพระอรหันต์แล้วตถาคตบอกไว้
:b12:
:b12: :b12:

ถ้ายังคิดไม่ตรงทางแปลว่าไม่มีปัญญาเกิดเลย
เพราะแสนโกฏิดวงจิตคือมันดับนับไม่ถ้วนครบ6ทาง
สัจจะแปลว่าความจริงและญาณแปลว่ารู้(มีปัญญาตรงปัจุบัน)
คือสัจจะญาณะคือปริยัติคือสุตมยปัญญาตรงทาง/จิตเห็นไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยนะจ๊ะ
ปัญญารู้ตามเสียงถามใจตัวเองดูสิว่าเดี๋ยวนี้ปัจจุบันขณะตรงตามที่ตถาคตตรัสรู้มันสั้นมากแค่ไหน
แต่ละ1ขณะจิตนั้นตถาคตแจกแจงรายละเอียดไว้หมดเลยเราแค่คิดตรง1คำยังไม่เคยระลึกตามได้เลย
1ขณะจิตมี7ชวนะแบ่งเป็น2ฝ่ายไม่เคยเห็นคนเก่าแก่แต่งเพลงหรือคะ ชั่ว7ที ดี7หน คือเดี๋ยวนี้ที่กำลังเป็นไป
https://youtu.be/8uZ_36TT8g4
:b12:
:b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2020, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


หมดละยัง ที่อยากเขียนนะ

เขียนให้หมด จะได้เขียนตอบทีเดียว

แต่ว่า คุณเป็นคนไทยหรือเปล่า
แล้วหญิงชราที่ย้อมผมให้สีดำ คนในคลิปนะ ใช่คนไทยหรือเปล่า

ที่ถามนะ เพราะต้องมาเสียเวลาเรียบเรียงใหม่
และคิดจะเขียนนะ ช่วยแบ่งช่องไฟตัวหนังสือ เวลาอ่านจะได้ไม่ต้องมาแบ่งช่องไฟเอง



ดูตย.


ส่วนความละ ความอยากมีอยากเป็นอยากได้
*คำว่า ความละ เขียนให้ถูก ต้องเขียนว่า การละ*
ประโยคที่ถูกต้อง
ส่วนการละ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้


เกิดจากลดความติดข้องในการกระทำ
*คำว่า เกิดจากลด เขียนให้ถูก ต้องเขียนว่า เกิดจากการลด*
ประโยคที่ถูกต้อง
เกิดจากการลดความติดข้องในการกระทำ


ประโยคเต็มๆ ที่เขียนให้ถูกตรง จะเป็นแบบนี้
ส่วนการละ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้
เกิดจากการลดความติดข้องในการกระทำ





ที่เหลือ ได้เขียนแบ่งช่องไฟตัวหนังสือให้ เวลาอ่านจะได้รู้ว่า หญิงชราพูดเรื่องอะไร


แล้วเริ่มคิดที่จะฟังคำสอน เพื่อไตร่ตรองตามคำสอนว่าอะไรเป็นอะไร
ไม่ใช่คิดแต่อยากจะไปทำตามที่ตนเองคิด เข้าใจไหมคะ
ตถาคตตรัสรู้ความจริงทั้งหมด ที่ทุกคนกำลังมีเดี๋ยวนี้

หยุดไปทำ โดยไม่ฟัง
เพราะการไม่ฟังขณะนั้นเอง มีเหตุผลที่เข้าข้างตัวตนแล้วค่ะ
เพราะไม่รู้จักทุกข์ ที่กำลังมีเดี๋ยวนี้แหละ

มีศรัทธาที่จะฟังรึเปล่า
ตถาคตตรัสแสดงความจริง เพือให้เข้าใจค่ะ
เข้าใจไหมคะ ว่ากำลังฟังเข้าใจ นั่นแหละปัญญา

อันที่คิดพูดทำเอง นั้นคือสังขารขันธ์ปรุงแต่งเองแล้วค่ะ
ประโยคที่ถูกต้อง ต้องเขียนว่า
อันที่คิดเออ พูดเอง = คิดพูดเออเอง(ตามใจ)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2020, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
หมดละยัง ที่อยากเขียนนะ

เขียนให้หมด จะได้เขียนตอบทีเดียว

แต่ว่า คุณเป็นคนไทยหรือเปล่า
แล้วหญิงชราที่ย้อมผมให้สีดำ คนในคลิปนะ ใช่คนไทยหรือเปล่า

ที่ถามนะ เพราะต้องมาเสียเวลาเรียบเรียงใหม่
และคิดจะเขียนนะ ช่วยแบ่งช่องไฟตัวหนังสือ เวลาอ่านจะได้ไม่ต้องมาแบ่งช่องไฟเอง



ดูตย.


ส่วนความละ ความอยากมีอยากเป็นอยากได้
*คำว่า ความละ เขียนให้ถูก ต้องเขียนว่า การละ*
ประโยคที่ถูกต้อง
ส่วนการละ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้


เกิดจากลดความติดข้องในการกระทำ
*คำว่า เกิดจากลด เขียนให้ถูก ต้องเขียนว่า เกิดจากการลด*
ประโยคที่ถูกต้อง
เกิดจากการลดความติดข้องในการกระทำ


ประโยคเต็มๆ ที่เขียนให้ถูกตรง จะเป็นแบบนี้
ส่วนการละ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้
เกิดจากการลดความติดข้องในการกระทำ





ที่เหลือ ได้เขียนแบ่งช่องไฟตัวหนังสือให้ เวลาอ่านจะได้รู้ว่า หญิงชราพูดเรื่องอะไร


แล้วเริ่มคิดที่จะฟังคำสอน เพื่อไตร่ตรองตามคำสอนว่าอะไรเป็นอะไร
ไม่ใช่คิดแต่อยากจะไปทำตามที่ตนเองคิด เข้าใจไหมคะ
ตถาคตตรัสรู้ความจริงทั้งหมด ที่ทุกคนกำลังมีเดี๋ยวนี้

หยุดไปทำ โดยไม่ฟัง
เพราะการไม่ฟังขณะนั้นเอง มีเหตุผลที่เข้าข้างตัวตนแล้วค่ะ
เพราะไม่รู้จักทุกข์ ที่กำลังมีเดี๋ยวนี้แหละ

มีศรัทธาที่จะฟังรึเปล่า
ตถาคตตรัสแสดงความจริง เพือให้เข้าใจค่ะ
เข้าใจไหมคะ ว่ากำลังฟังเข้าใจ นั่นแหละปัญญา

อันที่คิดพูดทำเอง นั้นคือสังขารขันธ์ปรุงแต่งเองแล้วค่ะ
ประโยคที่ถูกต้อง ต้องเขียนว่า
อันที่คิดเออ พูดเอง = คิดพูดเออเอง(ตามใจ)

:b32:
ขนาดเขียนภาษาไทยยังต้องตีความใหม่ให้ตัวเองเข้าใจ
เนี่ยแหละเขาถึงเรียกว่าฝึกหัดดัดนิสัยตนเองตรงตามได้งัยคะ
แต่จะเพิ่มหรือจะลดคำลงแล้วเริ่มมีความเข้าใจถูกตามได้เรียกว่าเริ่มฉลาดขึ้นแล้วค่ะ
แต่คำสอนแต่ละคำของตถาคตตามภาษาบาลีก่อนจะคิดเอาไปทำต้องแปลไทยเป็นไทยให้เข้าใจก่อนเช่น
เดี๋ยวนี้จิตเกิดดับนับแสนโกฏิขณะดับหมดแล้วค่ะ...คุณทำอะไรกับที่กำลังไม่รู้แล้วทั้งแสนโกฏิได้ไหมคะ
เพราะมันกลายเป็นกิเลสทั้งหมดเลยเดี๋ยวนี้ด้วยแค่กระพริบตาก็เกิดแล้วกิเลสนั้นน่ะค่ะทำได้แค่เข้าใจตามน๊า
ไม่ใช่ให้เชื่อแต่ให้ฟังเพื่อเข้าใจถูกตรงตามคำวาจาสัจจะได้ตรงจริงที่กายใจตนเองตามที่กำลังคิดตามได้ตรง
:b12:
:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2020, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
walaiporn เขียน:
หมดละยัง ที่อยากเขียนนะ

เขียนให้หมด จะได้เขียนตอบทีเดียว

แต่ว่า คุณเป็นคนไทยหรือเปล่า
แล้วหญิงชราที่ย้อมผมให้สีดำ คนในคลิปนะ ใช่คนไทยหรือเปล่า

ที่ถามนะ เพราะต้องมาเสียเวลาเรียบเรียงใหม่
และคิดจะเขียนนะ ช่วยแบ่งช่องไฟตัวหนังสือ เวลาอ่านจะได้ไม่ต้องมาแบ่งช่องไฟเอง



ดูตย.


ส่วนความละ ความอยากมีอยากเป็นอยากได้
*คำว่า ความละ เขียนให้ถูก ต้องเขียนว่า การละ*
ประโยคที่ถูกต้อง
ส่วนการละ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้


เกิดจากลดความติดข้องในการกระทำ
*คำว่า เกิดจากลด เขียนให้ถูก ต้องเขียนว่า เกิดจากการลด*
ประโยคที่ถูกต้อง
เกิดจากการลดความติดข้องในการกระทำ


ประโยคเต็มๆ ที่เขียนให้ถูกตรง จะเป็นแบบนี้
ส่วนการละ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้
เกิดจากการลดความติดข้องในการกระทำ





ที่เหลือ ได้เขียนแบ่งช่องไฟตัวหนังสือให้ เวลาอ่านจะได้รู้ว่า หญิงชราพูดเรื่องอะไร


แล้วเริ่มคิดที่จะฟังคำสอน เพื่อไตร่ตรองตามคำสอนว่าอะไรเป็นอะไร
ไม่ใช่คิดแต่อยากจะไปทำตามที่ตนเองคิด เข้าใจไหมคะ
ตถาคตตรัสรู้ความจริงทั้งหมด ที่ทุกคนกำลังมีเดี๋ยวนี้

หยุดไปทำ โดยไม่ฟัง
เพราะการไม่ฟังขณะนั้นเอง มีเหตุผลที่เข้าข้างตัวตนแล้วค่ะ
เพราะไม่รู้จักทุกข์ ที่กำลังมีเดี๋ยวนี้แหละ

มีศรัทธาที่จะฟังรึเปล่า
ตถาคตตรัสแสดงความจริง เพือให้เข้าใจค่ะ
เข้าใจไหมคะ ว่ากำลังฟังเข้าใจ นั่นแหละปัญญา

อันที่คิดพูดทำเอง นั้นคือสังขารขันธ์ปรุงแต่งเองแล้วค่ะ
ประโยคที่ถูกต้อง ต้องเขียนว่า
อันที่คิดเออ พูดเอง = คิดพูดเออเอง(ตามใจ)

:b32:
ขนาดเขียนภาษาไทยยังต้องตีความใหม่ให้ตัวเองเข้าใจ
เนี่ยแหละเขาถึงเรียกว่าฝึกหัดดัดนิสัยตนเองตรงตามได้งัยคะ
แต่จะเพิ่มหรือจะลดคำลงแล้วเริ่มมีความเข้าใจถูกตามได้เรียกว่าเริ่มฉลาดขึ้นแล้วค่ะ
แต่คำสอนแต่ละคำของตถาคตตามภาษาบาลีก่อนจะคิดเอาไปทำต้องแปลไทยเป็นไทยให้เข้าใจก่อนเช่น
เดี๋ยวนี้จิตเกิดดับนับแสนโกฏิขณะดับหมดแล้วค่ะ...คุณทำอะไรกับที่กำลังไม่รู้แล้วทั้งแสนโกฏิได้ไหมคะ
เพราะมันกลายเป็นกิเลสทั้งหมดเลยเดี๋ยวนี้ด้วยแค่กระพริบตาก็เกิดแล้วกิเลสนั้นน่ะค่ะทำได้แค่เข้าใจตามน๊า
ไม่ใช่ให้เชื่อแต่ให้ฟังเพื่อเข้าใจถูกตรงตามคำวาจาสัจจะได้ตรงจริงที่กายใจตนเองตามที่กำลังคิดตามได้ตรง
:b12:
:b12: :b12:

เห็นเป็นสภาพธรรมเดียวที่เกิดพร้อมมีแสงสว่าง
จะคนเห็นแมวเห็นเทวดาเห็นพรหมเห็นสัตว์นรกเห็นก็คือเห็น
หรือจะมีการเติมคำว่าหนอต่อท้ายแล้วพูดว่า...เห็นหนอก็คือเห็น
สภาพธรรมแสนโกฏิขณะที่กำลังเกิดดับอยู่เดี๋ยวนี้ไม่ได้มีแค่เห็นหนอนะคะ
:b12:
:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2020, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
walaiporn เขียน:
หมดละยัง ที่อยากเขียนนะ

เขียนให้หมด จะได้เขียนตอบทีเดียว

แต่ว่า คุณเป็นคนไทยหรือเปล่า
แล้วหญิงชราที่ย้อมผมให้สีดำ คนในคลิปนะ ใช่คนไทยหรือเปล่า

ที่ถามนะ เพราะต้องมาเสียเวลาเรียบเรียงใหม่
และคิดจะเขียนนะ ช่วยแบ่งช่องไฟตัวหนังสือ เวลาอ่านจะได้ไม่ต้องมาแบ่งช่องไฟเอง



ดูตย.


ส่วนความละ ความอยากมีอยากเป็นอยากได้
*คำว่า ความละ เขียนให้ถูก ต้องเขียนว่า การละ*
ประโยคที่ถูกต้อง
ส่วนการละ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้


เกิดจากลดความติดข้องในการกระทำ
*คำว่า เกิดจากลด เขียนให้ถูก ต้องเขียนว่า เกิดจากการลด*
ประโยคที่ถูกต้อง
เกิดจากการลดความติดข้องในการกระทำ


ประโยคเต็มๆ ที่เขียนให้ถูกตรง จะเป็นแบบนี้
ส่วนการละ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้
เกิดจากการลดความติดข้องในการกระทำ





ที่เหลือ ได้เขียนแบ่งช่องไฟตัวหนังสือให้ เวลาอ่านจะได้รู้ว่า หญิงชราพูดเรื่องอะไร


แล้วเริ่มคิดที่จะฟังคำสอน เพื่อไตร่ตรองตามคำสอนว่าอะไรเป็นอะไร
ไม่ใช่คิดแต่อยากจะไปทำตามที่ตนเองคิด เข้าใจไหมคะ
ตถาคตตรัสรู้ความจริงทั้งหมด ที่ทุกคนกำลังมีเดี๋ยวนี้

หยุดไปทำ โดยไม่ฟัง
เพราะการไม่ฟังขณะนั้นเอง มีเหตุผลที่เข้าข้างตัวตนแล้วค่ะ
เพราะไม่รู้จักทุกข์ ที่กำลังมีเดี๋ยวนี้แหละ

มีศรัทธาที่จะฟังรึเปล่า
ตถาคตตรัสแสดงความจริง เพือให้เข้าใจค่ะ
เข้าใจไหมคะ ว่ากำลังฟังเข้าใจ นั่นแหละปัญญา

อันที่คิดพูดทำเอง นั้นคือสังขารขันธ์ปรุงแต่งเองแล้วค่ะ
ประโยคที่ถูกต้อง ต้องเขียนว่า
อันที่คิดเออ พูดเอง = คิดพูดเออเอง(ตามใจ)

:b32:
ขนาดเขียนภาษาไทยยังต้องตีความใหม่ให้ตัวเองเข้าใจ
เนี่ยแหละเขาถึงเรียกว่าฝึกหัดดัดนิสัยตนเองตรงตามได้งัยคะ
แต่จะเพิ่มหรือจะลดคำลงแล้วเริ่มมีความเข้าใจถูกตามได้เรียกว่าเริ่มฉลาดขึ้นแล้วค่ะ
แต่คำสอนแต่ละคำของตถาคตตามภาษาบาลีก่อนจะคิดเอาไปทำต้องแปลไทยเป็นไทยให้เข้าใจก่อนเช่น
เดี๋ยวนี้จิตเกิดดับนับแสนโกฏิขณะดับหมดแล้วค่ะ...คุณทำอะไรกับที่กำลังไม่รู้แล้วทั้งแสนโกฏิได้ไหมคะ
เพราะมันกลายเป็นกิเลสทั้งหมดเลยเดี๋ยวนี้ด้วยแค่กระพริบตาก็เกิดแล้วกิเลสนั้นน่ะค่ะทำได้แค่เข้าใจตามน๊า
ไม่ใช่ให้เชื่อแต่ให้ฟังเพื่อเข้าใจถูกตรงตามคำวาจาสัจจะได้ตรงจริงที่กายใจตนเองตามที่กำลังคิดตามได้ตรง
:b12:
:b12: :b12:








วลัยพรป่วยเป็นโรคสมอง ๒ ครั้ง
ครั้งแรกป่วยปีก่อนนี้ คศ. 2018
หลังรักษาตัว ๑ ปี เพราะไม่รู้ว่าอาการที่ตัวเองเป็น STROKE จึงไปหาหมอตามนัด
แทนที่จะรีบไปรพ. คือ ทิ้งไว้ ๓ วัน แล้วจึงไปหาหมอ

การป่วยครั้งนี้ ลิ่มเลือดเข้าไปหลุดในส่วนประสาทอัตโนมัติ จึงทำให้ความจำเสื่อม
คำเรียกต่างๆที่ใช้ทางโลก จำไม่ได้ ลืมหมดสิ้น รู้แค่ตัวสภาวะคือ ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆ


ครั้งที่ ๒ ปีที่แล้ว ป่วยเป็นโรคสมองอีกครั้ง เกิดจากยาละลายลิ่มเลือดที่หมอให้จำนวนน้อย



รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

https://www.bangkokhospital.com/th/dise ... at-any-age

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2020, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่การเขียนตัวหนังสือและประโยค

ก็ทำให้รู้ว่า คนปกติ สมองไม่มีผิดปกติ จะเขียนแบบนี้


Rosarin เขียน:
Kiss
ภพคือภาวะความมีความเป็นความได้มาเพิ่ม
ชาติคือความเกิดมีตามภพที่ทำๆอยู่นั่นแหละ
คือการทำเพิ่มเอาเพิ่มเพื่อให้มีเพิ่มขึ้นนะคะ
ส่วนความละความอยากมีอยากเป็นอยากได้
เกิดจากลดความติดข้องในการกระทำแล้วเริ่ม
คิดที่จะฟังคำสอนเพื่อไตร่ตรองตามคำสอนว่า
อะไรเป็นอะไรไม่ใช่คิดแต่อยากจะไปทำตามที่
ตนเองคิดเข้าใจไหมคะตถาคตตรัสรู้ความจริง
ทั้งหมดที่ทุกคนกำลังมีเดี๋ยวนี้หยุดไปทำโดย
ไม่ฟังเพราะการไม่ฟังขณะนั้นเองมีเหตุผล
ที่เข้าข้างตัวตนแล้วค่ะเพราะไม่รู้จักทุกข์
ที่กำลังมีเดี๋ยวนี้แหละมีศรัทธาที่จะฟังรึเปล่า
ตถาคตตรัสแสดงความจริงเพือให้เข้าใจค่ะ
เข้าใจไหมคะว่ากำลังฟังเข้าใจนั่นแหละปัญญา
อันที่คิดพูดทำเองนั้นคือสังขารขันธ์ปรุงแต่งเองแล้วค่ะ
แปลว่าไม่พึ่งคิดตามคำสอนเพื่อให้เกิดเหตุปัจจัยเพิ่มปัญญาก่อนงัยคะ
ฟังเพื่อเข้าใจตรงที่จิตตนเองกำลังผลิตกิเลสหรือปัญญามันเป็นคนละทางคนละขั้วที่เกิดเลยนะคะ
https://youtu.be/0EF1TomPIwk
:b12:
:b4: :b4:





ส่วนวลัยพร มีปัญหาเรื่องการสะกดคำ รวมทั้งการเขียน
ซึ่งหมอบอกว่า ให้เขียนบ่อยๆ จะได้ใช้ความจำกลับมาปกติ
นี่ตัวหนังสือ ที่วลัยพรได้แก้ไข เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น
รวมทั้งการแบ่งช่องไฟตัวหนังสือ อันนี้ต้องยกผลประโยชน์อาจารย์หรือครูสอนภาษาไทย
สมัยเรียนหนังสือ วิชาภาษาไทย ได้ 4 ความจำต้องนี้ไม่เสียหาย
เพียงแต่การสะกดคำ ต้องถามแฟนว่า คำนี้ๆสะกดยังไง
การแบ่งวรรคตัวหนังสือเรียกว่า แบ่งช่องไฟ ใช้คำเขียนแบบนี้ถูกได้
เขาบอกว่า ถูกแล้ว


ดิฉันจึงต้องใช้เวลาในการแกะตัวหนังสือ และแบ่งช่องไฟ จึงได้ความประโยคนี้ว่า

[quote="Rosarin"]

ภพ คือภาวะความมีความเป็นความได้มาเพิ่ม
ชาติ คือความเกิด มีตามภพที่ทำๆอยู่นั่นแหละ
คือการทำเพิ่มเอาเพิ่มเพื่อให้มีเพิ่มขึ้นนะคะ

ส่วนการละ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้
เกิดจากการลดความติดข้องในการกระทำ

แล้วเริ่มคิดที่จะฟังคำสอน เพื่อไตร่ตรองตามคำสอนว่าอะไรเป็นอะไร
ไม่ใช่คิดแต่อยากจะไปทำตามที่ตนเองคิด เข้าใจไหมคะ
ตถาคตตรัสรู้ความจริงทั้งหมด ที่ทุกคนกำลังมีเดี๋ยวนี้

หยุดไปทำ โดยไม่ฟัง
เพราะการไม่ฟังขณะนั้นเอง มีเหตุผลที่เข้าข้างตัวตนแล้วค่ะ
เพราะไม่รู้จักทุกข์ ที่กำลังมีเดี๋ยวนี้แหละ

มีศรัทธาที่จะฟังรึเปล่า
ตถาคตตรัสแสดงความจริง เพือให้เข้าใจค่ะ
เข้าใจไหมคะ ว่ากำลังฟังเข้าใจ นั่นแหละปัญญา

อันที่คิดพูดเออเอง นั้นคือสังขารขันธ์ปรุงแต่งเองแล้วค่ะ
แปลว่าไม่พึ่งคิดตามคำสอน เพื่อให้เกิดเหตุปัจจัยเพิ่มปัญญาก่อนงัยคะ

ฟังเพื่อเข้าใจตรง ที่จิตตนเองกำลังผลิตกิเลสหรือปัญญา
มันเป็นคนละทางคนละขั้วที่เกิดเลยนะคะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2020, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


8 สค. 2019

เนื้อเรื่องราวทั้งหมด(ก็อปจากคนที่วางไว้ให้)

การรู้แจ้งอันยิ่งใหญ่ของ จิล โบลท์ เทย์เลอร์ - ประสบการณ์เส้นเลือดในสมองแตก

ฉันโตขึ้นมากับการเตรียมตัวเพื่อศึกษาการทำงานของสมอง เพราะฉันมีน้องชายที่ถูกวินิจฉัยว่ามีโรคทางสมอง ที่มีชื่อว่า โรคจิตเภท (หรือ ความผิดปกติทางความคิด) และในฐานะของพี่สาว และในภายหลังในฐานะของนักวิทยศาสตร์ ฉันอยากจะเข้าใจว่าทำไม ฉันซึ่งสามารถมีความฝัน สามารถเชื่อมโยงมัน เข้ากับความเป็นจริง ทำให้ความฝันกลายเป็นจริงขึ้นมาได้ แต่ทำไมสำหรับสมองของน้องชายของฉันและ โรคจิตเภทของเขา ทำให้เขาไม่สามารถเชื่อมโยง ความฝันของเขา เข้ากับความเป็นจริงได้เหมือนกันกับพวกเรา แต่กลับกลายเป็นอาการจิตหลอน

ดังนั้นฉันจึงอุทิศอาชีพตัวเองให้กับการวิจัยในเรื่องของ ความผิดปกติทางจิตขั้นรุนแรง และย้ายจากบ้านเกิดที่มลรัฐ อินเดียนาไปที่เมืองบอสตัน ที่ซึ่งฉันทำงานใน ศูนย์วิจัยภายใต้การดูแลของ ดร.แฟรนซีน เบเนส ที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในคณะจิตเวชศาสตร์ และในศูนย์วิจัยเรากำลังถามกันว่า "อะไรคือความแตกต่างทางชีวภาพระหว่างสมองของ คนที่ถูกวินิจฉัยว่าปกติดี เมื่อเทียบกับสมองของผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็น โรคจิตเภท โรคอารมณ์แปรปรวน หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว"

ดังนั้นงานของเราจึงเกี่ยวข้องกับการวาดแผนผังการเชื่อมโยงกันระดับจุลภาค ของสมอง ว่าเซลล์ไหนสื่อสารกับ เซลล์ไหน โดยใช้สารเคมีอะไร และ ด้วยปริมาณสารเท่าไหร่ ชีวิตฉันจึงมีความหมายมาก เพราะว่าฉันทำงาน วิจัยแบบนี้ช่วงกลางวัน แต่พอตกเย็น และในทุกวันหยุด ฉันจะออกเดินทางเพื่อทำงานสนับสนุนให้กับ สมาคมเพื่อโรคทางจิตแห่งชาติ แต่ช่วงเช้าของวันที่ 10 ธันวาคม 1996 ฉันตื่นขึ้นมา และพบว่าฉันมีความผิดปกติทางสมองของฉันเอง เมื่อเส้นเลือดในสมองซีกซ้ายของฉันเส้นหนึ่งแตก และภายในระยะเวลาสี่ชั่วโมงต่อมา ฉันเฝ้าดูสมองของฉันเสื่อมลงอย่างสิ้นเชิงในเรื่องของความสามารถที่จะ ประมวลผลข้อมูลทั้งหลายทั้งปวง ในเช้าวันนั้นที่เกิดเส้นเลืิอดในสมองแตก ฉันเดิน พูด อ่าน เขียน หรือ จำอะไรเกี่ยวกับชีวิตของฉันไม่ได้เลย สรุปก็คือว่าฉันได้กลายเป็นทารกในร่างผู้หญิง

ถ้าคุณเคยเห็นสมองของมนุษย์ คุณจะเห็นได้ชัดว่าสมองแต่ละซีกแบ่งแยกจากกันโดยสิ้นเชิง และฉันได้นำสมองจริงๆมาให้คุณดู นี่คือสมองมนุษย์จริงๆ

ตรงนี้คือส่วนด้านหน้าของสมอง นี่คือส่วนด้านหลังของสมองที่มีไขสันหลังยื่นลงมา และนี่คือตำแหน่งที่สมองจะอยู่ภายในหัวของฉัน เวลาคุณดูสมอง จะสังเกตได้ง่ายว่า ส่วน เยื่อหุ้มสมองของทั้งสอง แยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง สำหรับท่านที่เข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ สมองซีกขวาทำงาน ทำงานทุกขั้นตอนพร้อมๆกัน ในขณะที่สมองซีกซ้ายทำงานแบบ ทีละขั้นทีละตอน สมองของแต่ละซีกสื่อสารระหว่างกันเอง ผ่านสะพานเชื่อมระหว่างทั้งสองซีกที่เรียกว่า คอร์ปัส คาโลซัม ซึ่งประกอบไปด้วยแกนประสาทประมาณ 300 ล้านเส้น แต่นอกจากสะพานเชื่อมส่วนนี้แล้ว สองซีกนี้ก็แยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง เนื่องจากวิธีการประมวลผลที่แตกต่างกันของแต่ละซีก สมองแต่ละซีกคิดถึงเรื่องที่แตกต่างกัน แต่ละซีกสนใจเรื่องที่แตกต่างกัน และ ฉันมีความเชื่ออย่างแรงว่า สมองแต่ละซีกมีบุคคลิกที่แตกต่างกันด้วย

สมองซีกขวาของเราสนใจเกี่ยวกับปัจจุบัน เกี่ยวกับ ณ ที่นี่ ณ เวลานี้ ซีกขวานั้น ประมวลผลหรือคิดเป็นภาพ และมันเรียนรู้โดยผ่านการเคลื่อนไหวของร่างกายของเรา ข้อมูลต่างๆจะอยู่ในรูปแบบของพลังงาน และ มันจะไหลหลั่งเข้ามาพร้อมๆกัน ผ่านระบบการรับรู้ทั้งหมดของตัวเรา และข้อมูลนี้ก็จะระเบิดเป็นภาพอันยิ่งใหญ่ที่ผสมผสานกันไปหมด เพื่อบอกลักษณะของปัจจุบันขณะนั้นๆ ปัจจุบันนี้มีกลิ่นอะไร มีรสชาติอย่างไร มีสัมผัสอย่างไร และมีเสียงเป็นอย่างไร ฉันเป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบไปด้วยพลังงานที่เชื่อมต่อกับ พลังงานรอบๆตัวฉัน ผ่าน การนึกคิด การรับรู้ ของสมองซีกขวา เราทั้งหลายล้วนเป็น สิ่งมีชีวิตที่ประกอบไปด้วยพลังงาน ที่เชื่อมต่อถึงกันและกัน ผ่านการนึกคิด การมีสติ ของสมองซีกขวา และหลอมรวมกันเป็น เป็นครอบครัวแห่งมนุษย์หนึ่งเดียว และ ณ ที่นี่ ณ เวลานี้ เราเป็นพี่น้องกันบนโลกโลกนี้ เรามาเพื่อทำให้โลกเป็นที่ที่ดีขึ้น และในเวลานี้ เราไร้ที่ติ เราสมบูรณ์ เราสวยงาม

แต่สมองซีกซ้ายของฉัน สมองซีกซ้ายของเราทุกๆคน เป็นที่ที่ แตกต่างจากสมองซีกขวามากๆ ซีกซ้ายของเรานั้นคิดทีละขั้นทีละตอน มีหลักการ สมองซีกซ้ายของเรา สนใจแต่เรื่องในอดีต และ เรื่องในอนาคต ซีกซ้ายของเราถูกออกแบบ ให้หยิบภาพผสมผสานอันยิ่งใหญ่อันนั้น ภาพแห่งปัจจุบัน และเริ่มแยกแยะรายละเอียด และ รายละเอียดเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆออกมา และมันก็จะจัดหมวดหมู่ และจัดระเบียบข้อมูลทั้งหมดนั้น และ เอามาโยงเข้า กับทุกๆอย่างในอดีตที่เราเคยเรียนรู้และสั่งสมมา และ ต่อยอดมันออกไปในเป็นอนาคตแห่งความเป็นไปได้ทั้งหมด และ สมองซีกซ้ายของเราคิดเป็นภาษา มันคือเสียงพูดเจ๊าะแจ๊ะเรื่อยๆในสมองของเรา ที่เชื่อมตัวฉันและ โลกภายในของฉัน เข้ากับโลกภายนอก มันคือเสียงเล็กๆที่บอกเราว่า "นี่ อย่าลืม แวะซื้อกล้วยตอนกลับบ้านด้วยนะ ฉันต้องการมันสำหรับพรุ่งนี้เช้า

มันคือความเฉลียวฉลาดที่คอยคิดคอยคำนวณและเตือนฉันเมื่อ ถึงเวลาที่จะต้องซักผ้า แต่สิ่งที่อาจสำคัญที่สุดที่มันทำคือ เป็นเสียงที่พูดกับฉันว่า ฉันคือตัวฉัน ฉันคือฉัน และทันทีที่สมองซีกซ้ายพูดกับฉันว่า ฉันคือตัวฉัน นั้น ฉันแยกตัวเองออกจากอย่างอื่น ฉันกลายเป็น คนหนึ่งคน แยกออกและไม่เป็นส่วนเดียวกับพลังงานที่ไหลไปไหลมา รอบตัวฉัน และ ฉันแยกออกจากคนอื่น เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับคุณ และนั่นคือส่วนของสมองที่ฉันสูญเสียไป ในช่วงเช้าของวันที่เส้นเลือดในสมองของฉันแตก

เช้าของวันที่เกิดเหตุการเส้นเลือดแตก ฉันตื่นขึ้นมาและรู้สึกถึง ความปวดแบบตุบๆหลังตาข้างซ้าย มันเป็นความเจ็บปวดที่รู้สึก กัดกร่อน – ความเจ็บปวด เหมือนเวลาคุณกินไอศครีมที่เย็นจัด ความปวดนี้จะมา แล้วก็ไป แล้วมันก็มาอีก แล้วมันก็ไป และเนื่องจากปกติแล้ว ฉันไม่ค่อยเจ็บ หรือเกิดความปวดบ่อยนัก ฉันก็คิดกับตัวเองว่า ไม่มีปัญหาก็แค่ลุกขึ้นและเริ่มกิจวัตรประจำวันก็แล้วกัน

ฉันจึงลุกขึ้นและกระโดดขึ้นบนเครื่องออกกำลังกายของฉัน ซึ่งเป็นเครื่องออกกำลังกายแบบ ออกกำลังทั่วทุกส่วนของร่างกาย ฉันก็ลุยอยู่บนเจ้าเครื่องนี่ และฉันก็อยู่ดีๆตระหนักว่า ทำไมมือฉันมันดูเหมือนจะกลายเป็นก้ามของสัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่กำลังหนีบราวจับของเครื่องอยู่ และฉันก็คิดกับตัวเองว่า "นี่มันพิกลจัง" และฉันก็จ้องไปตามร่างกายของฉันและก็อุทานว่า "โอ้ ฉันเหมือนตัวประหลาดจัง" ฉันคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือ การนึกคิดการรับรู้ของฉันได้เปลี่ยนไปจาก วิธีการรับรู้โลกแบบปกติ ที่เราคิดว่าเราเป็นผู้ที่ยืนอยู่ บนเครื่องออกกำลังกายและกำลังมีประสบการณ์นี้ กลายเป็นมุมมองที่แปลกประหลาด เหมือนกับว่าฉันถอดตัวออกมาและกำลังมองกลับไปเห็นร่างกายตัวเองกำลังมีประสบการณ์นี้อยู่

เป็นความพิกลจริงๆ และหัวของฉันก็เริ่มจะปวดมากขึ้น ฉันเลยลงจากเครื่องออกกำลังกาย และกำลังเดินอยู่ในห้องนั่งเล่น และฉันตระหนักขึ้นมาว่า ทุกๆอย่างในร่างกายของฉัน ได้ทำงานช้าลงอย่างมาก ทุกๆก้าวเป็นก้าวที่แข็งทื่อ และเป็นไปอย่างตั้งใจมาก การก้าวเดินของฉันไม่มีความลื่นไหลตามธรรมชาติ และขณะนั้นฉันถูกจำกัดในการสัมผัสรับรู้ ได้เฉพาะระบบภายในเท่านั้น และฉันก็ยืนอยู่ในห้องน้ำ กำลังเตรียมตัว ที่จะก้าวเข้าห้องอาบน้ำ และฉันสามารถได้ยิน บทสนทนาในร่างกายของฉัน ได้ยินเสียงเล็กๆ พูดว่า "เอาหละ กล้ามเนื้อส่วนนี้ เจ้าต้องเกร็งขึ้นมานะ ส่วนกล้ามเนื้อนั่น เจ้าจงคลายตัวซะ"

และฉันก็เสียการทรงตัว และไปพิงอยู่ที่กำแพง ฉันมองลงไปที่แขนของฉัน และรู้สึกว่า ฉันแยกไม่ออกแล้วว่าอะไรคือแขนอะไรคือกำแพง ฉันไม่สามารถแยกออกว่าตัวฉันคือส่วนไหนบ้าง เริ่มต้นที่ตรงไหนจบลงที่ตรงไหน เพราะว่าอะตอม และโมเลกุลของแขนฉัน หลอมรวมไปกับอะตอม และโมเลกุลของกำแพง และสิ่งที่ฉันก็รับรู้ได้อย่างเดียว คือพลังงาน

และฉันก็ถามตัวเองว่า "นี่ฉันเป็นอะไรไปนี่ เกิดอะไรขึ้น" และ ณ ขณะนั้น เสียงจอแจในสมองของฉัน เสียงจอแจของสมองซีกซ้าย ก็เงียบกริบลงทันที เหมือนกับว่ามีใครคว้ารีโมทควบคุมสมอง และกดปุ่มตัดเสียง จนมีแต่ความเงียบสนิท ทีแรกฉันรู้สึกตกใจที่พบตัวเอง อยู่ภายในสมองที่เงียบสนิท แต่ทันทีนั้นฉันได้หลงเสน่ห์ กับความสง่างามของพลังงานที่อยู่รอบตัวฉัน และเพราะว่าฉันไม่สามารถแยกแยะ ร่างกายของฉันต่อไปได้แล้ว มันทำให้ฉันรู้สึกยิ่งใหญ่ และขยายตัวออกไป ฉันรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับพลังงานที่มีอยู่ และมันก็สวยงามที่รู้สึกอย่างนั้น

ทันใดนั้น ซีกซ้ายของสมองก็กลับมา ทำงานอีกครั้ง และมันก็พูดกับฉันว่า "เฮ้ย เรามีปัญหาแล้ว เรามีปัญหาแล้ว เราต้องการความช่วยเหลือ" และฉันก็เลยนึกได้ว่า "โอ้ ฉันมีปัญหาแล้วหละ ฉันมีปัญหา" แล้วก็ "เอาหละ เอาหละ เข้าใจแล้ว ฉันมีปัญหา"

แต่เสร็จแล้วฉันก็ลอยกลับไป เป็นหนึ่งเดียวกับพลังงานรอบตัวฉัน ที่ที่ฉันเรียกอย่างเอ็นดูว่า ดินแดน ลัลลา ดินแดนนั้นมันสวยงาม ลองจินตนาการดูว่ามันเป็นอย่างไร ถ้าหากว่าคุณตัดขาดจาดโดยสิ้นเชิง จากเสียงจอแจของสมองที่เชื่อมต่อตัวคุณกับโลกภายนอก

ในดินแดนนี้ ทุกๆอย่าง งานของฉัน และความเครียดความกดดันต่างๆเกี่ยวกับงาน มันหายไปหมด ฉันรู้สึกว่าตัวเบาขึ้น ลองนึกต่อว่า ความสัมพันธ์ต่างๆในโลกภายนอก และความเครียดที่มากับความสัมพันธ์เหล่านั้น มันหายไปหมด มันทำให้ฉันรู้สึกถึงความสงบ และลองนึกต่อไปว่ามันจะรู้สึกอย่างไร ถ้าได้สลัดทิ้งความรู้สึกทุกข์สุขที่แบกมาทั้งชีวิต ทั้ง 37 ปี (หัวเราะ) โอ้ ฉันรู้สึกปีติ ความปีติ มันสวยงามจริงๆ

และแล้ว อีกครั้งหนึ่ง สมองซีกซ้ายก็กลับมาอีกและมันบอกว่า "เฮ้ย เธอต้องสนใจหน่อยแล้ว เราต้องการความช่วยเหลือแล้วนะ" และฉันก็นึก "ฉันต้องการช่วยเหลือแล้ว ฉันต้องมีสมาธิ" ฉันเลยออกมาจากห้องอาบน้ำ และแต่งตัวด้วยความพยายามสูงมาก และฉันก็เริ่มเดินไปเดินมาในบ้านของฉัน และฉันก็คิดว่า "ฉันต้องไปทำงาน ฉันต้องไปทำงาน จะขับรถได้ไหม ฉันจะขับรถได้ไหม"

และในวินาทีนั้นแขนข้างขวาของฉัน ก็เป็นอัมพาต และห้อยอยู่ที่ข้างตัว ฉันจึงรู้ตัวว่า "ตายแล้ว เส้นเลือดสมองฉันแตกแล้ว เส้นเลือดแตกแล้ว"

และสิ่งต่อไปที่สมองฉันคิดก็คือ "ว้าวเจ๋งจังเลยนี่" (หัวเราะ) "มันเจ๋งจริงๆ จะมีนักวิจัยนักวิทยาศาสตร์ทางสมองกี่สักกี่คน ที่ได้มีโอกาสศึกษาเข้าไปข้างในสมองของตัวเองแบบนี้นะ" (หัวเราะ)

ฉันก็เลยคิดต่อว่า "ไม่เป็นไร ฉันห้่ามไม่ให้เส้นเลือดแตกไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นก็ลองดูไปสัก อาทิตย์หรือสองอาทิตย์ดู และ แล้วค่อยกลับเข้าสู่ตารางเดิม ดีๆ เอาตามนี้ก็แล้วกัน แต่ตอนนี้คงต้องเรียกร้องหาคนมาช่วยแล้วหละ ฉันต้่องโทรไปที่ทำงาน" แต่ฉันไม่สามารถนึกเบอร์โทรศัพท์ที่ทำงานได้ แต่ฉันนึกขึ้นมาได้ว่าในห้องทำงานที่บ้านฉันมีนามบัตร ที่มีเบอร์โทรศัพท์ของตัวเองเขียนไว้ ฉันก็เลยไปที่ห้องทำงานของฉัน และดึงปึกนามบัตรออกมา มันหนาตั้ง 3 นิ้ว และฉันก็มองไปที่นามบัตรใบแรกที่อยู่บนสุด และแม้ว่าในสมองฉันนึกภาพออกว่า นามบัตรของฉันที่หาอยู่หน้าตาเป็นอย่างไร ฉันดูไม่ออกว่านามบัตรใบนี้ ใช่นามบัตรของฉันไหม เพราะว่าตาฉันเห็นแต่ภาพ จุดต่างๆของอักษรดูกลมกลืนไป กับภาพพื้นหลังของนามบัตร และสัญลักษณ์ต่างๆนาๆ ฉันแยกอะไรไม่ออกเลย ฉันก็ได้แต่รอให้สมองกลับมาทำงานชั่วขณะหนึ่ง และในขณะนั้น ฉันสามารถ ที่จะเชื่อมกับโยงโลกปกติที่คุ้นเคย ทำให้ฉันแยกแยะได้ว่า นามบัตรใบนี้ไม่ใช่ ใบนี้ก็ไม่ใช่ ใบนี้ไม่ใช่ ฉันใช้เวลา 45 นาที ที่จะหาดูนามบัตรผ่านไปได้แค่หนึ่งนิ้ว จากทั้งหมดที่อยู่ในกองนั้น ในเวลา 45 นาทีนั้น เลือดก็ไหลออกมาจากเส้นเลือดแตก และกำลังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ในสมองซีกซ้ายของฉัน ฉันไม่สามารถเข้าใจตัวเลข ฉันไม่เข้าใจว่าโทรศัพท์คืออะไร แต่มันก็เป็นทางเดียวที่ฉันมีอยู่ตอนนั้น ฉันก็เลยหยิบโทรศัพท์และวางมันไว้ตรงนี้ และฉันหยิบนามบัตร และวางมัันไว้ตรงนี้ และฉันก็เล่นจับคู่ กับสัญลักษณ์ในนามบัตรที่ฉันไม่เข้าใจ แล้วจับคู่ให้ตรงกับสัญลักษณ์ ที่หน้าตาเหมือนกันกับบนโทรศัพท์ แต่แล้วฉันก็ลอยกลับไปสู่ดินแดน ลัลลา และพอได้สติกลับมาอีกครั้งฉันจะจำไม่ได้ว่่า กดเบอร์ไหนไปแล้วบ้าง ก็เลยใช้แขนที่อัมพาตให้เป็นประโยชน์ เหวี่ยงมันขึ้นมาเหมือนท่อนไม้ และเอามาปิดเบอร์ที่กดไปแล้ว เพื่อว่าพอกลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง ฉันจะสามารถบอกได้ว่า "ใช่ฉันกดเบอร์นี้ไปแล้วนะ"

ในที่สุด ฉันก็กดเบอร์โทรได้หมด และฉันก็ยกหูโทรศัพท์เพื่อฟัง และเพื่อนร่วมงานของฉันก็รับโทรศัพท์ และเขาก็พูดว่า "วู่ วู่ วู่ วู่" (หัวเราะ) ฉันคิดกับตัวเองว่า "อุ้ยตายแล้ว เขาฟังดูเหมือนหมาโกลเดนรีทรีฟเวอร์เลย"

และฉันก็พูดกับเขา ซึ่งในสมองของฉันมันชัดมากกับคำพูดที่จะบอกเขาว่า "นี่ ฉันเอง จิล นะ ฉันต้องการความช่วยเหลือ" และเสียงที่ฉันเปล่งออกมาคือ "วู่ วู่ วู่ วู่ วู่" และฉันก็คิดว่า "เอาหละคราวนี้ ฉันเองก็ฟังดูเหมือนหมาหมาโกลเดนรีทรีฟเวอร์เหมือนกัน" ฉันเลยตระหนักได้ว่า ฉันไม่สามารถรับรู้ และ ฉันไม่รู้ ว่าฉันพูดไม่ได้ หรือ ไม่สามารถเข้าใจภาษาได้ เมื่อฉันได้ลองพูดออกมา เพื่ิอนร่วมงานของฉันก็เลยรู้ว่าฉันต้องการความช่วยเหลือ และสุดท้ายก็มีคนมาช่วย

และอีกสักพักหนึ่งฉันก็อยู่ในรถฉุกเฉิน จากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองบอสตัน มุ่งไปทางโรงพยาบาล แมสซาชูเซตส์ เจเนอรัล ฉันขดตัวเข้าเป็นลูกบอลกลมๆ และคล้ายกับลูกโป่งที่ใกล้จะหมดลมแล้ว และมีความรู้สึกว่านี่คือเฮือกสุดท้ายแล้วของลูกโป่งนี้ ฉันรู้สึกถึงเฮือกสุดท้ายของพละกำลัง และฉันสัมผัสถึงการปลดปล่อยของวิญญาณของตัวเอง

ในวินาทีนั้น ฉันรู้ว่า ฉันไม่ได้เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตตัวเองแล้ว ถ้าแพทย์ไม่สามารถช่วยฉันได้ และมอบโอกาส ที่จะมีชีวิตต่อไปอีกครั้งหนึ่ง ก็แปลว่า นี่คือวินาทีของการลาจากไปสู่ที่อื่นแล้ว

ช่วงบ่ายๆวันนั้นฉันตื่นขึ้นมา และก็รู้สึกตกใจ ที่ได้พบว่าฉันยังมีชีวิตอยู่ ตอนนั้นที่รู้สึกว่าวิญญาณยอมจำนน ฉันได้บอกลาชีวิตตัวเองไปแล้ว แต่ตอนนี้จิตของฉันลอยอยู่ระหว่าง โลกสองโลก ที่แตกต่างกันมากๆ มีสัญญาณกระตุ้นต่างๆวิ่งเข้ามา ผ่านระบบการรับรู้ และสัญญาณเหล่านั้นที่เข้ามาทำให้รู้สึกปวดมาก แสงสว่างแผดเผาสมองเหมือนกับว่าไฟป่า ส่วนเสียงก็ดัง และสับสนอลหม่านมากจนฉันไม่สามารถแยกแยะ เสียงพูดออกจากเสียงรบกวนอื่นๆได้ นั่นทำให้ฉันอยากหนีพ้นไปจากทุกๆอย่าง และเนื่องจากว่าฉันไม่สามารถแยกแยะ ว่าร่างกายของฉันคือส่วนไหน ทำให้ฉันรู้สึกใหญ่มโหฬารและกว้างใหญ่ไพศาล เปรียบเหมือนยักษ์ในตะเกียงที่เพิ่งถูกปลดปล่อยออกมาจากขวด และจิตใจของฉันทยานไปอย่างอิสระ เหมือนปลาวาฬยักษ์ ที่กำลังร่อนร่ายไปมาในทะเลแห่งความสุขสงบ นิพพาน ฉันได้พบนิพพาน และฉันจำได้ว่าคิดกับตัวเองว่า ฉันไม่มีทางบีบตัวตน ที่ใหญ่โตขนาดนั้นกลับเข้าร่างกายเล็กๆได้

แต่ฉันก็ได้ตระหนักขึ้นมาว่า "ฉันยังมีชีวิต ฉันยังมีชีวิต และฉันได้พบนิพพานแล้ว และถ้าฉัน ได้พบนิพพานและยังมีชีวิตอยู่ ก็หมายความว่า ใครๆ ที่มีชีวิตอยู่ก็สามารถพบนิพพานได้" และฉันนึกภาพของโลก ที่เต็มไปด้วย ผู้คนที่มี ความสวยงาม ความสงบ ความเมตตา และความรัก ผู้คนที่สามารถเข้าถึง พื้นที่แห่งนี้ได้ทุกเมื่อ ทุกคนสามารถเลือก ที่จะก้าวไปทางขวาออกจาก สมองซีกซ้าย ไปซีกขวา เพื่อเข้าถึงความสงบอันนี้ และฉันได้ตระหนักว่า การค้นพบนี้สามารถเป็นของขวัญอันยิ่งใหญ่ สามารถเป็นการรู้แจ้งที่ยื่งใหญ่แค่ไหน ถึงวิถีชีวิตของคนเรา และการตระหนักได้ครั้งนี้ทำให้ฉันมีกำลังใจที่จะฟื้นตัว

ประมาณสองอาทิตย์ครึ่ง หลังจากอาการตกเลือดในสมอง ศัลยแพทย์ได้ทำการผ่าตัด เอาก้อนโลหิต ก้อนโลหิตขนาดใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ ที่ไปกดส่วนของสมองที่เกี่ยวกับภาษา ออกไป ในรูปนี้่ ฉันอยู่กับแม่ของฉัน คุณแม่เป็็นนางฟ้าในชีวิตฉันจริงๆ ฉันใช้เวลา 8ปี กว่าจะหายดีอย่างสมบูรณ์

เคยสงสัยไหมว่าพวกเราคืออะไร ฉันคิดว่าพวกเราเป็นพลังแห่งชีวิตของจักรวาล ที่มีไม้มีมือ และสมองที่คิดได้สองแบบ และเรามีอำนาจในการเลือก ในทุกขณะว่า เราจะเป็นใคร และอย่างไรในโลกนี้ ณ ที่นี่ เวลานี้ ฉันสามารถก้าวเข้าสู่ จิตของสมองซีกขวา ได้ทันที ฉันเป็นพลังงานแห่งชีวิตของจักรวาล ฉันเป็นพลังงานแห่งชีวิตของโมเลกุล 50ล้านล้าน โมเลกุล อันสวยงาม และชาญฉลาด ที่ประกอบตัวขึ้นเป็นร่างกายของฉัน ฉันเป็นหนึ่งกับทุกๆสิ่ง หรือ ฉันสามารถก้าวเข้าสู่จิตของ สมองซีกขวา ที่ที่ฉันกลายเป็นคนหนึ่งคน เป็นเนื้อหนังร่างกายที่จับต้องได้ แยกออกจากพลังงานที่ไหลเวียนอยู่ตลอด แยกออกจากคนคนอื่น ฉันคือ ดร.จิล โบวท์ เทย์เลอร์ นักคิด นักกายวิภาคศาสตร์ระบบประสาท นี่คือ ตัวฉัน ทั้งหลาย ที่อยู่ข้างใน คุณคาดว่าจะเลือกที่จะเป็นแบบไหน คุณเลือกที่จะเป็นแบบไหน และเมื่อไหร่ ฉันเชื่อว่าถ้าหากว่าเราใช้เวลาของเรามากขึ้น กับการเลือกที่จะอยู่ในภาวะของสมองที่ทำให้เราสัมผัสความสงบในตัวเรา ที่มาจากสมองซีกขวา เราจะเป็นแหล่งเกิดของความสงบ ให้กับโลก และโลก และสังคมของเราก็จะมีความสงบมากขึ้น และฉันคิดว่าทั้งหมดนี้เป็น ความคิดที่น่าเผยแพร่ค่ะ









อ่านแล้ว คิดพิจรณาว่า ผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐา ไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม
เช่น ชอบว่า ชอบตำหนิ ชอบเบียดเบียนพระสงฆ์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2020, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การป่วยโรคสมองครั้งแรก


กรรมที่ไม่ได้เจตนา ต้องชดใช้
เหตุมี ผลย่อมมี แม้ไม่ได้เจตนาก็ตาม

.
นึกถึงทำให้ลูกหนูตาย อาการที่เป็นอยู่นั้น ไม่แตกต่างตอนที่ลูกหนูจมน้ำ หายใจไม่ออก แล้วตาย

เรื่องของเรื่อง ตอนไปแพร่ ทำความสะอาดบ้าน ใช้ไม้กวาดล้วงเศษขยะที่อยู่ในกองไม้ เป็นแผ่นไม้ที่ยายจำเป็นสำหรับต่อเติมบ้าน เก็บไว้ในห้องเก็บของติดข้างห้องนอน

ตอนล้วงเศษขยะ มีลูกหนูตัวน้อยๆ ยังไม่ลืมตา คลานเตี้ยมๆออกมา เราก็เอาไม้ดันลูกหนูเข้าในกองไม้ แบบคิดว่า เผื่อแม่หนูเห็นลูก จะได้คาบลูกไป หลังจากนั้นเราก็ไม่ได้สนใจ

แป๊บๆ ลูกหนูคลานออกมาอีก เรากลัวยายจะเห็น เราก็ดันลูกหนูกลับไปที่เดิมอีก แบบว่าไม่รู้จะเอาไปไว้ที่ไหน

เครื่องซักผ้า อยู่ข้างบ้าน ตอนซักผ้าก็ปกติ ช่วงน้ำทิ้ง เราได้ยินเสียงร้อง เรามองหา(สายตาไม่ดี) เจอลูกหนูตัวน้อย น่าจะเป็นตัวเดียวในห้องเก็บของ ยายอาจนำไปวางข้างกองดินใกล้เครื่องซักผ้า เมื่อเทน้ำทิ้ง น้ำก็ท่วมลูกหนู เสียงร้องที่เราได้ยินเป็นเสียงลูกหนูร้อง เราช่วยไม่ทัน ลูกหนูตาย

เราบอกเจ้านายว่า ตอนที่ได้ยินเสียงร้อง ก็ว่าเสียงอะไร พยายามมองหา ลูกหนูจมน้ำผงซักผ้าที่เทออกมาจากเครื่อง

ผลกรรมครั้งนี้ หัวใจเต้นๆหยุดๆ แน่นหน้าอก เหมือนมีของหนักวางทับ ทำให้หายใจไม่ได้ เพราะสมองยังมีปัญหาอยู่ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวด แต่ทำให้รู้สึกอธิบายไม่ถูก เหมือนคนที่ถูกบีบคอทำให้หายใจออก เหมือนจะขาดใจแต่ไม่ตาย

การที่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต ทำให้ใช้ชีวิตไม่ประมาท เวลาจะกิน จากที่เคยกินแบบตามใจชอบ กลายเป็นกินพอประมาณ พอเวลาขับถ่าย จะมองที่ขับถ่ายออกมา ฉี่เป็นแบบไหน สีเข้ม สีใส อึเป็นลักษณะแบบไหน สีแบบไหน ทำเนืองๆ ทำให้ปลงตกว่า กินดีแค่ไหน ก็ถ่ายออกมาหมด ไม่สามารถนำมากินอีกได้(อึ)

ทุกสิ่งที่มีเกิดขึ้นเป็นเพียงสภาวะ ไม่ใช่ตัวตน เรา เขา ถ้ามองพร้อมกับพิจรณาไปได้ ความยึดมั่นถือมั่นที่ยังมีอยู่ จะลดลงไปเรื่อยๆ ทำให้รู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม

ทุกคนชีวิต ก็ต้องตาย ไม่มีใครหนีความตายได้

เมื่อรู้ชัดแจ่มแจ้ง(ชาติ ชรา มรณะ)
ย่อมแสวงหาที่ประเสริฐ

ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เศร้าหมอง
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ

นิพพาน ดับภพชาติของการเกิด

.
การแสวง ๒ อย่าง

[๓๑๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันจบแล้ว จึงทรงกระแอมแล้วเคาะบานประตู ภิกษุเหล่านั้นได้เปิดประตูรับ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปที่อาศรมของพราหมณ์ชื่อรัมมกะ ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้จัดไว้ แล้วจึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนาเรื่องอะไรกัน และเรื่องอะไรที่พวกเธอสนทนากันค้างไว้?
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมีกถาปรารภถึงพระผู้มีพระภาคนั้นแล พวกข้าพระองค์พูดกันค้างอยู่ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง

พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย การที่พวกเธอผู้เป็นกุลบุตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา นั่งสนทนาธรรมีกถากัน เป็นการสมควร พวกเธอเมื่อนั่งประชุมกัน ควรทำกิจสองอย่าง คือสนทนาธรรมกัน หรือนั่งนิ่งตามแบบพระอริยะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหามีสองอย่าง คือ การแสวงหา
ที่ไม่ประเสริฐอย่างหนึ่ง การแสวงหาที่ประเสริฐอย่างหนึ่ง.

[๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้

โดยตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา
ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ

เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา
ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชราเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ

เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา
ก็ยังแสวงหาสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ

เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา
ยังแสวงหาสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ

เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา
ยังแสวงหาสิ่งมีโศกเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ

เป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา
ยังแสวงหาสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ

.
ก็อะไรเรียกว่า สิ่งมีชาติเป็นธรรมดา
บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค
ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่า สิ่งมีชาติเป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีชาติเป็นธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ
ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้องในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา
เหล่านั้น ชื่อว่าโดยตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา
ยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา อยู่นั่นแหละ

.
ก็อะไรเล่าเรียกว่าสิ่งมีชราเป็นธรรมดา
บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งมีชราเป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีชราเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นอุปธิ
ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้อง ในสิ่งมีชราเป็นธรรมดา
เหล่านั้น ชื่อว่าโดยตนเองเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา
ยังแสวงหาสิ่งมีชราเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ

.
ก็อะไรเล่า เรียกว่า สิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา
บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่า สิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นอุปธิ
ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลงเกี่ยวข้อง ในสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา
เหล่านั้น ชื่อว่าโดยตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา
ยังแสวงหาสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ

.
ก็อะไรเล่า เรียกว่า สิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา
บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่า สิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นอุปธิ
ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้อง ในสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา
เหล่านั้น ชื่อว่าโดยตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา
ยังแสวงหาสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ

.
ก็อะไรเล่า เรียกว่า สิ่งมีความโศก เป็นธรรมดา
บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่า สิ่งมีความโศกเป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีความโศกเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นอุปธิ
ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้อง ในสิ่งมีความโศกเป็นธรรมดา
เหล่านั้น ชื่อว่าโดยตนเองเป็นผู้มีความโศกเป็นธรรมดา
ยังแสวงหาสิ่งมีความโศกเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ

.
ก็อะไรเล่า เรียกว่า สิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา
บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่า สิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา เหล่านั้น เป็นอุปธิ
ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้อง ในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา
เหล่านั้น ชื่อว่าโดยตนเองเป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา
ยังแสวงหาสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ.

.
[๓๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาที่ประเสริฐเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้
โดยตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา
ทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา
ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เกิด
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ

โดยตนเองเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา
ทราบชัดโทษในสิ่งมีชราเป็นธรรมดา
ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่แก่
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ

โดยตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา
ทราบชัดโทษในสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา
ย่อมแสวงหาพระนิพพาน หาพยาธิมิได้
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ

โดยตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา
ทราบชัดโทษในสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา
ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่ตาย
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามีได้ เกษมจากโยคะ

โดยตนเองเป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา
ทราบชัดโทษในสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา
ย่อมแสวงหานิพพาน ที่หาโศกมิได้
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ

โดยตนเองเป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา
ทราบชัดโทษในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา
ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เศร้าหมอง
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้แล คือการแสวงหาที่ประเสริฐ.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร