วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 15:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2020, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




beggar-clipart-4.gif
beggar-clipart-4.gif [ 18.06 KiB | เปิดดู 1379 ครั้ง ]
.
.
อสาธารณลกฺขโณ เหตุ เหตุมีลักษณะไม่สาธารณะทั่วไป
หมายความว่า ถ้าเป็นเหตุจะต้องเป็นเหตุเฉพาะผลนั้น ๆ
ไม่เกี่ยวกับผลอื่น ๆ

สาธารณลกฺขโณ ปจฺจโย ถ้าเป็นปัจจัยเรียกว่าสาธารณะ
หมายถึงเป็นเหตุทั่ว ๆ ไป ที่ไม่ใช่จะเป็นเหตุแต่เฉพาะผลนั้นผลเดียว
ไม่ใช่เหตุเจาะจง คือ ธรรมบางอย่างก็เป็นเหตุให้กับสิ่งนั้นได้สิ่งเดียว

แต่ธรรมบางอย่างก็เป็นเหตุแก่ธรรมอื่น ๆ ได้ทั้งหมดเรียกว่าสาธารณเหตุ
ถ้าเป็นเหตุที่เกี่ยวกับสิ่ง ๆ เดียวท่านเรียกว่าเหตุ ถ้าเกี่ยวกับสิ่งทั่วๆ ไป
คือเป็นเหตุให้กับสิ่งอื่นด้วย ท่านเรียกว่า ปัจจัย อ้นนี้คือความแตกต่างระหว่างเหตุกับปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2020, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะฉะนั้น ท่านจึงตั้งคำถามขึ้นมาว่า ยถา กึ ภเว ?
ปัจจัยนั้นเช่นกับอะไร ?

ตอบว่า :- เป็นเหตุสนับสนุนไม่ใช่ เหตุปทัฏฐานนั้น
ท่านเปรียบเทียบกับเหตุภายนอกให้ดู ถ้าเห็น ยถา แสดงว่าโดยส่วนมาก
เป็นการอุปมา ซึ่งการอุปมา ในการยกตัวอย่างที่ชาวโลกรู้กันว่า
โลกูปมา (โลก+อุปมา) อุปมาทางโลก อุปมาเป็นรู้กันของชาวโลก


พีชํ - เมล็ดพืช อสาธารณํ - เป็นอสาธารณเหตุ เป็นสิ่งที่
ที่เฉพาะเจาะจง นิพฺพตฺติยา เพื่อการงอก องฺกุรสฺส แห่งต้น
อ่อนหรือหน่อ เมล็ดเป็นอสาธารณเหตุ เป็นเหตุให้เกิดหน่อเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น พืชหรือเมล็ดจึงเป็นเหตุปทัฏฐานแก่ องฺกุร (หน่อ)
ก็ พีช นี้แลเรียกว่า เหตุ เป็นเหตุเฉพาะเจาะจง
เท่ากับเป็นตัวการให้เกิดหน่อขึ้นมา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2020, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปถวี อาโป จ สาธารณา. ดิน และน้ำเป็นสาธารณะ
(ความจริงโอช (ปุ๋ย)อีกอย่างหนึ่ง แต่ในที่นี้ไม่ได้บอกไว้)

พีช ปถวี อาโป ล้วนเป็นเหตัให้เกิดหน่อ พีช จัดเป็นเหตุ
ส่วนปถวีกับอาโปเป็นปัจจัย เพราะว่าปถวีกับอาโปนั้น
นอกจากจะเป็นเหตุให้หน่อแล้ว ยังเป็นเหตุให้เกิดอย่างอื่นได้ด้วย

จึงจัดเป็นสาธารณะ เรียกว่า เป็นเหตุที่ไม่เหมาะเจาะจงกับ
การเกิดขึ้นของหน่อ ไม่เหมือนเมล็ดพันธุ์ที่เป็นเหตุให้หน่อเกิดขึ้น
ได้อย่างเดียวให้เกิดอย่างอื่นไม่ได้ เช่น เมล็ดมะม่วงก็ทำให้เกิดแต่ต้นมะม่วง
ไม่ทำให้เกิดต้นไม้พันธุ์อื่น เพราะฉะนั้น เหตุกับปัจจัยจึงมีความแตกต่างกันิยู่

อันนี้ถ้าเราจะมองถึงความแตกต่างกันเราก็สามารถมองได้
แต่ถ้ามองว่าเหตุก็คือเหตุ ปัจจัยก็คือเหตุอย่างนั้นก็ไม่เป็นไร
เพราะถ้าใช้ในกรณีที่ศัพท์ ๒ ศัพท์มีความหมายเท่ากัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2020, 04:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุ คือสภาพที่เป็นสิ่่งเดียวกันกับผล

องฺกุรสฺส หิ ปถวี อาโป จ ปจฺจโย สภาโว เหตุ.

หิ อธิบายว่า ปถวี และ อาโป เป็นปัจจัยให้แก่หน่อ(สภาโว ในที่นี้เท่ากับเมล็ดพืช)
เหตุ เป็นเหตุ คือสภาว เหตุ หมายถึง เหตุที่ปรากอยู่โดยเฉพาะเจาะจง ก็ได้แก่เมล็ดพืช
เพราะฉะนั้นหน่อจะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยเหตุและปัจจัย ดินและน้ำเป็นปัจจัย
เมล็ดพืชเป็นเหตุ ด้วยเหตุและปัจจัยเหล่านี้จึงทำใ้เกิดต้นไม้อ่อนขึ้นมา

ต้นไม้อ่อนนี้เกิดขึ้นมาได้ก็เพราะอาศัยเหตุและปัจจัย อันนี้เป็นการแบ่งเหตุและปัจจัย
ให้มีความแตกต่างกัน อันนี้เป็นการอุปมาเปรียบเทียบกับสิ่งภายนอก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2020, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เอกกาลสมวธานํ ก็การอยู่รวมกันในเวลาเดียวกัน
ทุทฺธสฺส จ ของน้ำนม ทธิสฺส จ และนมส้ม น อตฺถิ ย่อมไม่มี

น้ำนมและนมส้ม ไม่สามารถจะเป็นอยู่ด้วยในเวลาเดียวกันได้
คือตอนเป็นน้ำนมก็ไม่เป็นนมส้ม ครั้นกลายเป็นนมส้มแล้วเขาก็ไม่เรียกน้ำนม ฉันใด

เอวเมวํ นตฺถิ เอกกาลสมวธานํ เหตุสฺส จ ปจฺจยสฺส จ

เอวเมวํ โดยทำนองเดียวกัน
นตฺถิ เอกกาลสมวธานํ การได้อยู่ร่วมกันในเวลาเดียวกัน
เหตุสฺส จ ปจฺจยสฺส จ ของเหตุและปัจจัย นตฺถิ ย่อมไม่มี


น้ำนมนี้เปรียบเหมือนกับเหตุ ส่วนนมส้มเปรียบเหมือนกับปัจจัย
เหตุปัจจัยจะเกิดคนละขณะกัน จึงไม่สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้
น้ำนมกับนมส้ม อันนี้เป็นการอุปมาอีกนัยหนึ่ง ซึ่งหมยความว่าเหตุ
ย่อมเกิดขึ้นก่อน ส่วนที่เกิดขึ้นทีหลังท่านเรียกว่าปัจจัย

ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเบื้องต้น เป็นมูล ท่านเรียกว่า เหตุ
ส่วนที่เกิดขึ้นรองหรือเกิดทีหลัง เป็นปัจจัย หรือเรียกว่า ผล ก็ได้
แต่ว่าในตัวของผลนั้นก็ยังเป็นเหตุให้กับสิ่งอื่นได้ เพราะว่านมส้ม
นอกจากจะเป็นผลของน้ำนมแล้ว ยังเป็นเหตุให้เกิด เนยใส ตามลำดับ
ส่วนนมส้มก็เรียกว่าปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2020, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญจโครส ที่ทำมาจากผลิตโค ๕ อย่าง

ขีรํ (น้ำนม) เป็นเหตุให้เกิด ทธิ(นมส้ม)เป็นปัจจัยให้เกิด ฆตํ(เนยใส)
เป็นปัจจัยให้เกิด ตกฺกํ(เปรียง)เป็นปัจจัย โนนิตํ(นมข้น) รวมเรียกว่า ปัญจโครส
ก็ปัญจโดรส ๕ อย่างนี้จะไม่เกิดพร้อมกัน ฉะนั้น นมสด(ขีรํ) เป็นต้นเหตุ
นมส้ม(ทธิ)เป็นปัจจัย เนยใส(ฆตํ)ก็เป็นปัจจัยเหมือนกัน และเปรียง(ตกฺกํ)
นมข้น(โนนีตํ)ก็เป็นปัจจัยเหมือนกัน

คำว่า "ปัจจัย" หมายความว่าเป็นเหตุต่อ ๆ กันไป ส่วนต้นเหตุท่านเรียกว่า เหตุ
เหตุที่เกิดต่อจากต้นเหตุ เรียกว่า ปัจจัย ซึ่งนัยแรกนั้นหมายเอาเหตุปัจจัย
แบบที่เป็นบริวารลักษณะ

ส่วนนัยที่ ๒ นี้ เหมือนกับว่าหมายเอาเหตุที่รับช่วงกันมาคือ
เหตุแรกหรือ ต้นเหตุเรียกว่า เหตุ
ส่วนที่เกิดจากต้นเหตุนั้น ซึ่งเป็นผลของต้นเหตุนั้นแหละ
ท่านเรียกว่า ปัจจัย ในฐานะที่สามารถทำให้สิ่งอื่นเกิดขึ้นได้อีก

แต่ถ้าถามว่า ทธิ เป็นผลไหม? ก็ต้องตอบว่า
เป็นผลเหมือนกัน ก็เป็นผล ขีรํ เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า
สภาวธรรมนั้น ย่อมเป็นได้ทั้งเหตุ ทั้งผล ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสัมพันธ์
เข้ากับเข้ากับสิ่งไหนเท่านั่นเอง ถ้าเรานำไปสัมพันธ์กับสิ่งนั้นที่มันมาแต่ก่อน
ก็จัดว่าเป็นผล แต่ถ้ามองในแง่ที่จะทำให้สิ่งอื่นเกิดขึ้นก็จัดเป็น เหตุปัจจัย
ดังนั้น การจัดเป็นเหตุเป็นผลจึงขึ้นอยู่กับว่าเราจะสัมพันธุ์สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งใด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2020, 08:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 702

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร