ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ฝึกจิตใจของเราให้สงบ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=58901
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  รสมน [ 13 พ.ค. 2020, 07:41 ]
หัวข้อกระทู้:  ฝึกจิตใจของเราให้สงบ

" พระที่นำมาห้อยคอนี่
พระท่านทำขึ้นมา
ก็ด้วยอาศัยอำนาจของ
พระพุทธานุภาพนะ

อำนาจของ
พระพุทธานุภาพนี่
สามารถที่จะช่วยคน
ที่ยังไม่ถึงอายุขัยให้พ้น
จากอันตรายได้

ที่เรียกว่า “พระเครื่อง”
อันนี้ใช้ได้ แต่ถ้าหากจะ
เรียก “เครื่องรางของขลัง”
อันนี้ใช้ไม่ได้

พระทุกองค์ ท่านทำมา
ไม่ใช่ของขลัง ท่านทำมา
ด้วยวิธีที่เรียกว่า
" พุทธศาสตร์ "
ไม่ใช่ " ไสยศาสตร์ "

พุทธศาสตร์ กับ
ไสยศาสตร์มีค่าต่างกัน

พวกของขลัง
นี่เป็นไสยศาสตร์
เขาทำมาเพื่อขาย

สำหรับพุทธศาสตร์
เขาทำเพื่อการสงเคราะห์

เพื่อให้บุคคลที่มี
พระประเภทนี้ไว้
ถ้ามีจิตใจเคารพ
ในคุณพระรัตนตรัย
ถ้าไม่ถึงอายุขัย
ถ้าอันตรายของชีวิต
พึงจะเกิดขึ้น
ก็สามารถปลอดภัย
จากอันตรายนั้นได้ "

โอวาทธรรม
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
(หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)









“..ใบไม้นั้น ถ้าไม่มีลมพัด
มันก็นิ่ง สงบระงับอยู่ ถ้ามี
ลมมาพัด ใบมันก็กวัดแกว่ง
ไปตามลม จิตใจนี้ก็เหมือน
กัน ถ้าอารมณ์มาถูก มันก็
กวัดแกว่งไปตามอารมณ์

ยิ่งมันไม่รู้เรื่องธรรมะแล้ว
ก็ยิ่งปล่อยไปตามอารมณ์
อารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์
ก็ปล่อยตามไป วุ่นวายไป
เรื่อย ๆ เกิดเป็นโรค
ประสาท เพราะไม่รู้เรื่อง
ปล่อยไปตามอารมณ์
ไม่รู้จักตามรักษาจิต

ฉะนั้น ทำจิตของเรา
ให้มีรากฐาน เอาลมหายใจ
เข้า-ออกเป็นรากฐาน เรียก
ว่า “อานาปานสติ” ให้
พยายามทำทุกวัน ทุกที่
เราจะมีสติสัมปชัญญะ
ตลอดเวลา..”

โอวาทธรรม
องค์หลวงปู่ชา สุภัทโท










“..” ลักษณะของจิตที่สงบลงเป็นหนึ่ง คือ
สัญญาอารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคตดับลง
เหลือแต่ความรู้หรือจิต

พร้อมด้วยสติเป็นหนึ่งอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น
ในขณะนั้นปิติคือความอิ่มใจจักเกิดขึ้น
เพราะไม่เคยได้พบกับความสงบอย่างนี้มาแต่ก่อนเลย

เมื่อปิติเกิดขึ้นเช่นนั้น ก็ทำความรู้เท่าปิตินั้นว่า
ปิตินี้ก็ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา
พยายามตั้งสติข่มปิตินั้นไว้

อย่าปล่อยให้มันรุนแรงเกินไป และอย่าคิดอยากให้มันดับ เมื่อถึงเวลาแล้วมันจะดับไปเอง เมื่อปิติดับไปจิตก็สงบอย่างสนิท ในวาระนี้แหละ ความสุขจะเกิดขึ้น “..”

#โอวาทธรรมคำสอน#
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต
ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย









" ให้กำหนดลมหายใจ
เข้าออกอยู่ที่ปลายจมูก​
กำหนดไว้ในใจ บริกรรม
ว่า (หายใจ)​เข้า พุท
(หายใจ)​ออก โธ​

และให้ตั้งสติปัญญา
ประคับประคองจิตใจ
ของตนเองให้มาคิดหรือ
ให้มากำหนดรู้​ อยู่ที่ลม
ที่ถูกต้องสัมผัสที่ปลาย
จมูกของตนเอง​ อยู่ก็ให้รู้
นี้เรียกว่าการเจริญ
" อานาปานุสติกัมมัฏฐาน "

เป็นข้อบริกรรมภาวนา
เมื่อเรารู้จักว่าจิตของเรา
อยู่กับลมหายใจเข้าออก
ที่ปลายจมูกพร้อมกับ
ข้อบริกรรม พุทโธ สัมพันธ์
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

อยู่ ก็ให้รู้เพราะการทำ
สมาธิชนิดนี้เป็นการทำ
ทางลัด เป็นทางที่ทำให้จิต
สงบ เป็นสมาธิได้ง่ายที่สุด

จึงให้กำหนดเอาแต่ลม
หายใจเข้าออกที่ปลาย
จมูก กับพุทโธอย่างเดียว "

โอวาทธรรม
หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป









"การให้ทานรักษาศีลนี้
ไม่ใช่ของใครคนใด คนหนึ่ง
คือ ถ้าใครทำก็ได้รับผลด้วยกัน
อย่าเลือกเวลา

การทำความดี ทำได้ทุกเวลาสถานที่
ทุกเพศวัย ไม่ว่าจะเป็นคนแก่ คนหนุ่ม
คนสาว ทำได้หมด ให้รีบทำความดีเสีย
เดี๋ยวจะตายก่อน ไม่ได้ทำนะ"

หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต













"เขาว่าเราจริง ก็ไม่ต้องโกรธเขา เพราะเรื่องมันจริง
เขาว่าเราไม่จริง ก็ไม่ต้องโกรธเขา เพราะเรื่องมันไม่จริง"

ท่านพุทธทาสภิกขุ









ให้มีสติ. อยู่ในชีวิตประจำวัน. ให้มีศีล. ให้มีธรรมะ. ให้พบทางสงบเย็น. พระนิพพานแท้แล.

พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร










วัน.นั้น มันดีอยู่ทุกวันนั่นล่ะ. แต่พวกเราเองนั้น. ไปว่าวันนั้น. วันนี้. ไม่ดี. วันจมวันฟู. ก็ว่ากันไป. แต่วันนั้นมันดีอยู่แล้ว

โอวาทธรรมหลวงปู่ดำ สีลคุโณ









..#เรามีจุดมุ่งหมายฝึกจิตใจของเราสงบเป็นสมาธิแล้ว

ก็ถือว่าเราได้เรียนจบสมถกรรมฐานแล้ว เราจะเข้าวิปัสนากรรมฐาน บัดนี้ มาพิจารณาธรรมะที่ภายในของเรา มันก็จะเห็น จะเข้าใจ มันมีอะไรเราทุกข์เพราะอะไร เราก็จะได้เข้าใจ..โอ้..กิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลงอยู่ที่จิตใจนี่เอง

..#เมื่อเราฝึกฝนอบรมจิตใจให้สงบเป็นสมาธิแล้ว

เราจะพิจารณาให้รู้หน้าตาของกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลงในจิตใจของเรา เราจึงจะแก้ไขกิเลสได้

เหตุฉะนั้นจึงจำเป็นต้องฝึกฝนจิตใจให้สงบ ถ้าจิตใจไม่สงบ เราไม่สามารถที่จะดู ความโลภ ความโกรธ ความหลงได้..

#ไม่เข้าใจ #ไม่เห็นที่อยู่ของเขาจึงวิ่งตามเขาไป

เราไปที่ไหนบ้านใดเมืองใดประเทศไหน ความโลภ ความโกรธ ความหลงก็อยู่ที่จิตใจของเรา ไม่อยู่ที่อื่น

เห็นบ่..เมื่อสงบแล้วเราก็จะได้เห็นว่ามันอยู่ที่ใจ โอ..จุดมุ่งหมายจะมาละตัวนี้จะแก้ไขตัวนี้ เพื่อให้ใจของเรานี้ไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ใจจึงจะได้สบายมากขึ้นกว่าเดิมอีก..

..โอวาทธรรม #หลวงปู่เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป..








#ความอิจฉาคนอื่นนั่นละทุกข์ใหญ่

มันคอยระแวงริษยาอาฆาตความดีผู้อื่น เขาจะเฮ็ดดีก็ติ เขาจะสร้างบุญก็นินทา พอเขาพลาดมาตัวอิจฉามันก็เหยียบเขา นี่ละคนเนาะคนถ้าบ่พยามขัดถูตัวอิจฉาออกจากจิตจากใจมันทุกข์ถึงวันตายเนาะ

โอวาทธรรม
หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต
วัดเขาตาเงาะอุดมพร อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ











#การสร้างพระพุทธรูปแล้วอุทิศแก่เจ้ากรรมนายเวร

แก้กรรมหนักให้เป็นกรรมเบานั้นยากอยู่ เพราะไม่ได้ทำวัตรขอขมาโทษกันตอนที่ต่างคนต่างมีชีวิตอยู่

ส่วนกุศลผลบุญนั้นได้อยู่ แต่ก็ไม่พอที่จะลบล้างได้ การที่จะลบล้างได้บ้างก็เพราะต่างคนต่างมีชีวิตให้อภัยกันในระหว่างคู่เวรกันยังไม่ตาย...

ยกอุทาหรณ์ที่พระบรมศาสดาขอความลดหย่อนเวรภัยต่อพระเทวทัต เพราะพระเทวทัตโกรธผูกเวรแต่ครั้งสร้างบารมีอยู่ในปฐมฤกษ์

ส่วนพระเทวทัตนั้นไปกำเอาดินทรายมา 2 กำ ขอผูกเวรพระองค์เท่าเม็ดทราย 2 กำที่กำอยู่ พระองค์วิงวอนว่าขอให้วางเสียเถิดเพื่อนอย่าผูกเวรเลย แต่พระเทวทัตวางกำมือเดียวเหลือกำมือหนึ่ง ฉะนั้นเวรภัยทั้งหลายจึงตามพระองค์มาหลายภพหลายชาติ จนชาติสุดท้ายที่เข้าพระนิพพาน แต่ขอให้เข้าใจว่า พระเทวทัตเป็นคนพาลไม่สมฐานะที่จะผูกเวรเพราะพระองค์ไม่ได้ทำผิด พระเทวทัตทำผิดเองแล้วโกรธให้พระองค์

เรื่อง..คือพระเทวทัตซื้อถาดทองเก่าเขา เข้าไปพบก่อนไปเห็นถาดทองเก่าเขาแล้วเอาเหล็กไปกรีดดูก็รู้ว่าเป็นทองแท้ แต่โกหกเจ้าของเขาว่าเป็นทองเก๊ แล้วตีราคาลงต่ำแต่จะต้องเอาไว้นี่เสียก่อน แล้วแกก็ลาจากไป แกนึกในใจว่าเวลาขากลับจึงจะมาเอาแบบราคาถูกๆ แต่อนิจจาเทวทัตผ่านไปนานพอสมควรประมาณเข้าถึงกลางบ้านแล้วพระโพธิสัตว์ก็หาซื้อทองด้วย เหมือนกันมาเจอเข้าทีหลังแต่เป็นวันเดียวกัน

.. เขาบอกว่ามีทองเก่าใบเดียวนี่เองมีชายคนหนึ่งไปห่างจากนี้พอสมควรแล้ว แต่คงอยู่ในบ้านนี้ เพราะยังไม่ทันข้ามวันข้ามคืนแกบอกว่าถาดทองใบนี้เป็นของเก๊

แล้วพระโพธิสัตว์ตอบว่า

"โอ้...ถาดทองใบนี้เงินที่ข้าพเจ้าถือมาเดี๋ยวนี้นั้นไม่ได้เสี้ยวถาดทองใบนี้เลย ถาดทองใบนี้เป็นถาดทองร้อยเปอร์เซ็นต์ เงินข้าพเจ้ามีอยู่เพียงเปอร์เซ็นต์เดียวเท่านั้น" เจ้าของถาดทองเมื่อได้ฟังแล้วเกิดสลดสังเวชมากนัก และเคารพพระโพธิสัตว์มากยิ่ง พร้อมทั้งรักด้วยจึงว่า "อ้ายตัวนั้นมันขี้โกงมันกดข่มจะให้ท่านซะ ถังมีเสี้ยวเดียวเราก็จะเอา เพราะเราเอาคุณธรรมของท่านที่ซื่อตรง"

ครั้นพระโพธิสัตว์ได้ถาดทองใบนั้นแล้วก็ออกไปนอกบ้านจะไปทางอื่น พระเทวทัต (สมัยนั้นชื่ออะไรไม่ทราบ) พอกลับมาถึงถาดทองใบที่จะเอาแบบขี้เท็จเจ้าของเขาก็บอกว่าเป็นทองที่มีค่ามาก ผู้นั้นมีความสัตย์ซื่อ เราก็เอามูลค่าท่านเพียงเสี้ยวเดียว แล้วเทวทัตโกรธหน้าแดงหน้าดำ ถามว่าเธอคนนั้นออกไปทางไหน ออกไปตรงนี้แหละคงพอใจแล้วไม่ไปถามที่อื่น พระเทวทัตก็ตามไปโดยด่วนก็ไปเจอกันอยู่นอกบ้านไม่ไกลนัก แล้วก็ขอแบ่งส่วนด้วยมิหนำซ้ำจะไปแย่งเอามาเลย พระโพธิสัตว์ไม่ยอมให้จึงได้ผูกเวรที่กล่าวมาแล้ว...

หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/