ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ปัญญาที่เป็นอินทรีย์
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=58939
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 22 พ.ค. 2020, 18:17 ]
หัวข้อกระทู้:  ปัญญาที่เป็นอินทรีย์

ปัญญินทรีย์ เป็นปัญญาในโลกียะ ทำให้มากเพียรให้มาก
ย่อมถึงอนัญญาตัญญัสสมิอินทรีย์ เป็นปัญญาในโลกุตตระ
ละสังโยชน์ ๓ได้
อนัญญาตัญญัสสมิอินทรีย์ ดำเนินไปด้วยอิญญินทรีย์ ละสังโยชน์ ๗ ได้
และยังเรียกชื่อว่า( โสดาปัตติมรรคและภาวนาภูมิ(มรรคเบื้องบน ๓)
เป็นอัญญาตาวินทรีย์พ้นแล้วสังโยชน์ ๑๐

ไฟล์แนป:
20220515_061823.jpg
20220515_061823.jpg [ 64.28 KiB | เปิดดู 870 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 24 พ.ค. 2020, 14:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปัญญาที่เป็นอินทรีย์

นามรูป ดับลง ณ ที่ใด ที่นั้นแลเป็นที่ดับของปัญญาและสติ
นอกจากนี้เป็นข้อบอกเหตุแห่งการดับของนามรูปว่าเป็น
เพราะการดับอย่างสิ้นเชิงแห่งวิญญาณ ในปฏิจจสมุปบาท
ก็จะมีข้อความว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา, สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ,
วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ, นามรูปํปจฺจยา.... วิญญาณเป็นปัจจัย
ให้เกิดนามรูป ถ้าวิญญาณดับนามรูปก็ดับ

ฉะนั้น วิญญาณในที่นั้น องค์ธรรม หมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณ
ปฏิสนธิจิตดับสิ้นเชิง ถ้าไม่มีปฏิสนธิจิตแล้ว นามรูปเหล่าอื่นก็ชื่อว่าดับ
เพราะฉะนั้น นามรูปดับ เพราะวิญญาณดับนี้ ก็พูดตามหลักปฏิจจสมุปบาท
ทีนี้มาดูคำถามคำตอบ คาถาแรกเป็นคำถามที่สืบเนื่องมาจาก
คาถาที่พูดถึงเรื่อง โสตะ(กระแส) คือตัณหา ซึ่งเป็นเรื่อง
ที่ต่อเนื่องกัน แต่ว่าเป็นคำถามคนละประเด็น มาดูคำอธิบายดังต่อไปนี้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 25 พ.ค. 2020, 05:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปัญญาที่เป็นอินทรีย์

อยํ อชิโต อชิตมานพนี้ ปุจฺฉติ ย้อนถาม อนุสนฺธิ ซึ่งการสืบต่อ
ปญฺเห ในปัญหา (คำถาม) หมายถึง คำถามที่กำลังถามอยู่นี้
เป็นคำถามที่ที่สืบต่อมาจากคำถามที่ผ่านมา ก็คือเมื่อถาม
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นด้วย ถามถึงการดับของกิเลส ก็บอกว่า
เนื่องด้วยกิเลสดับโดยอาศัยปัญญาแล้ว ถามต่อว่าปัญญาดับอย่างไร

ปุจฺฉนฺโต เมื่อถาม อนุสนฺธิ ซึ่งอนุสนธิ(ความสืบต่อเนื้อความที่เกี่ยวเนื่องกัน)
ปุจฺฉติ ย่อมถาม กึ ซึ่งอะไร

ปุจฺฉติ ย่อมถาม นิพฺพานธาตุํ ซึ่งนิพพานธาตุ (การดับ)
อนุปาทิเสสํ ที่ไม่มีขันธ์ ๕ หลงเหลืออยู่ [ถามถึงการดับทั้งหมด
การดับของรูปนามทั้งปวง เรียกว่า "อนุปาทิเสส นิพฺพานธาตุ"
บางครั้งคำว่า นิพพานธาตุ ไม่ได้มุ่งถึงนิพพาน แจ่มุ่งหวังถึงการดับเฉยๆ

เพราะฉะนั้นจึงสามารถแปลได้ว่า" ซึ่งสภาพการดับที่ไม่มีขันธ์ ๕ ที่หลงเหลืออยู่)
เป็นคำถามที่มุ่งถามที่มุ่งถามถึงการดับทั้งหมด ดังนั้น
ก็เท่ากับเราได้ประเด็นของผู้ถามแล้วว่ามุ่งถามถึงอะไร

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 25 พ.ค. 2020, 07:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปัญญาที่เป็นอินทรีย์

ตีณิ จ สจฺจานิ สงฺขตานิ นิโรธธมฺมานิ ทุกฺขํ สมุทโย มคฺโค นิโรโธ อสงฺขโต

จ และ
สจฺจานิ สัจจะทั้งหลาย
ตีณิ ๓
สงฺขตานิ ที่เป็นสังขตธรรมหรือที่ปัจจัยปรุงแต่ง
นิโรธธมฺมานิ ที่มีสภาพต้องดับ

สัจจะ ๓ ที่เป็นสังขตะ ที่มีสภาพที่จะต้องดับ
ได้แก่ ทุกฺขํ ทุกขสัจ สมุทโย สมุทยสัจ มคฺโค มรรคสัจ
[ประโยคนี้พูดถึงสัจจะคือตอนแรก ซึ่งมาในรูปแบบของนามรูป
ก็นามรูปนั้นถ้าแบ่งโดยสัจจะก็จะได้ทั้ง ๔ สัจจะ ฉะนั้น ท่านต้องการ
ที่จะแยกนามรูปนั้นออกเป็นสัจจะจึงกล่าวประโยคนี้]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 26 พ.ค. 2020, 07:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปัญญาที่เป็นอินทรีย์

นิโรโธ อสงฺขโต ส่วนนิโรธสัจ เป็นอสังขตธรรม
(ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง)
ดังนั้นจึงไม่ใช่ธรรมที่จะต้องดับ เพราะฉะนั้น ธรรมที่ต้องดับ
ในสัจจะ ๔ มี ๓ อย่าง คือ ทุกข์ สมุทัย มรรค

ธรรมเหล่านี้เรียกว่า นิโรธธรรม(ธรรมที่ต้องดับ)
ส่วนที่เหลือ ได้แก่ อสังขตธรรมอย่างเดียว คือ นิพพาน
เพราะนิพพานไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง
จึงไม่อยู่ในสภาพแบบนี้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 26 พ.ค. 2020, 09:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปัญญาที่เป็นอินทรีย์

ตตฺถ สมุทโย ทฺวีสุ ภูมีสุ ปหียติ ทสฺสนภูมิยา จ ภาวนาภูมิยา จ

ตตฺถ ในบรรดาอริยสัจ ๔ เหล่านั้น
สมุทโย สมุทยสัจ
ปหียติ ย่อมถูกละ ย่อมถูกประหาณ
ทฺวีสุ ภูมีสุ ในภูมิธรรมทั้งสองประการคือ
ทสฺสนภูมิยา จ ภาวนาภูมิยา จ ในทัสสนภูมิ

(โสดาปัตติมรรค) และภาวนาภูมิ (มรรคเบื้องบน ๓)

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 26 พ.ค. 2020, 15:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปัญญาที่เป็นอินทรีย์

ข้อความนี้แสดงลำดับขั้น ขั้นตอนของการดับ
หมายความว่าธรรมทั้งหลายเมื่อรวมกันแล้วก็จะแบ่ง
เป็นอริยสัจ ๔ เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูดให้ครอบคลุม
ก็ต้องมาจัดเข้าในอริยสัจ ๔ จึงจะสามารถกล่าวครอบคลุม
ธรรมทั้งหลายได้

จริง ๆ แล้วโสดาปัตติมรรคก็จัดเป็นภาวนาภูมิได้แต่เรียกว่า
ทัสสนภูมิ เพราะว่า โสดาปัตติมรรคนั้นตั้งอยู่ในฐานะเบื้องแรก
ที่เห็นพระนิพพาน ก่อนมรรคอื่นๆ จึงเรียกว่าทัสสนภูมิ
แต่ความเป็นจริงแล้ว โสดาก็เป็นภาวนานั่นเอง

สำหรับองค์ธรรมของสมุทัย ได้แก่ ตัณหาและกิเลสอื่นๆ
สิ่งเหล่านี้ดับ ในขั้นโลกุตตระ ถามว่าถ้าเป็นโลกียะดับได้ไหม
ตอบว่า คำว่า ดับ หมายถึง การดับโดยสิ้นเชิง ถ้าไม่ถึงโสดาปัตติมรรคแล้ว
สมุทัยก็ยังไม่ชื่อว่าดับ อย่างน้อยต้องถึงโสดาปัตติมรรคก่อน
แล้วค่อยถึงภาวนาภูมิ คือมรรคเบื้องบน ๓ สมุทัยจึงชื่อว่าดับสนิท

เจ้าของ:  sirinpho [ 21 พ.ค. 2022, 13:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปัญญาที่เป็นอินทรีย์

:b8: :b8: :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/