วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2020, 08:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1422506227_431517.png
1422506227_431517.png [ 132.81 KiB | เปิดดู 1654 ครั้ง ]
อันนี้จะเป็นการสาวหาเหตุของธรรมนั้นๆ
เพื่อให้รู้ว่าเป็นการเกิดขึ้น เพราะอาศัยกระบวนการ
ที่อาศัยกันที่เรียกว่าเหตุปัจจัย มิใช่เกิดขึ้นมาลอยๆ
ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีเหตุปัจจัย
อันนี้เป็นการแสดงปฏิจจสมุปบาทมาพิจารณา

ถึงแม้ธรรมอย่างอื่นก็สามารถนำมาพิจารณาได้เหมือนกัน
เช่น กุศล อกุศล อะไรเป็นเหตุปทัฏฐาน ?

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส
(ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า)
นโม นอบน้อม องค์ธรรมหมายถึงอะไร ?
ตามหลักพระอภิธรรมต้องเก็บองค์ธรรมถึงขั้นจิตตุปบาท
อนึ่ง การนอบน้อมนี้พึงทราบว่าเป็นบุญ
เพราะฉะนั้นเรียกว่า "กุศล" อะไรคือกุศล ? อะไรเป็นกรรม ?

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เจตนาคือกรรม การนอบน้อมถ้าไม่มีเจตนา
ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า "ปณามเจตนา"
กุศลจิตตุปบาทที่มีปณาเจตนาเป็นประธาน

คำว่า นโม นี้ตามสภาวธรรมแล้ว หมายถึงกุศลจิตและต้องเป็นจิตตุปบาทด้วย
เพราะว่าเรียกว่าจิตเฉยๆ อาจทำให้เข้าใจว่า จิตเพียงอย่างเดียว
แต่ถ้าเรียกจิตตุปบาท ย่อมทำให้รู้ว่า มีทั้งจิตและเจตสิกที่สัมปยุตกัน
ดังนั้น กุศลจิตตุปบาทที่มีปณามเจตนาเป็นประธาน

เรียกว่า "นโม" ไม่ใช่สักแต่ว่าเป็นเพียงคำพูดว่า นโม เท่านั้น
ธาตุแท้ของ นโม ก็คือ กุศลจิตตุปบาทที่มีปณามเจตนาเป็นประธาน
ก็อันนี้แหละเป็นองค์ธรรมของนโม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2020, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉะนั้นเมื่อเรารู้องค์ธรรมของคำว่า นโม แล้ว
เราก็มาสอบดูปทัฏฐานของกุศลจิตตุปบาทดังกล่าว
ก็จะเห็นว่า โยนิโสมนสิกาาเป็นปทัฏฐานของกุศลจิตตุปบาท
กุศลจิตตุปบาทมีโยนิโสมนสิการเป็นปทัฏฐาน*

โยนิโสมนสิการหรือปัญญามีสัทธ้มม้สสวนะเป็นปทัฏฐาน
(การได้สดับฟังพระสัทธรรมเป็นเหตุให้เกิดผลโยนิโสมนสิการ)
สัทธัมมัสสวนะ มี สัปปุริสูปนิสสยะ(การอาศัยสัตบุรุษ) เป็นปทัฏฐาน

สัปปุริสูปนิสสยยะ มีปฏิรูปเทสวาส (การอยู่ในที่ๆ มีพระพุทธศาสนา)เป็นปทัฏฐาน
ปฏิรูปเทสวาส มีปุพเพกตปุญญตา(มีบุญเก่า)เป็นปทัฏฐาน
ส่วนอะไร ๆ เป็นปทัฏฐานของปุพเพกตปุญญตานันเร่ไม่ต้องหาแล้ว
เพราะมันสุดวิสัยของคนธรรมดาทั่วไป

อนึ่ง นอกจาก ปุพเพกตปุญญตาแล้ว ยังมีปทัฏฐานอื่นอีกเช่น
การสั่งสมบารมี(โพธิสัมภาระ)การสั่งบารมีนี้อยู่ในระดับเดียวกัน
กับปุพเพกตปุญญตา ดังนั้น นำปุพเพกตปุญญตา (คำนี้แปลตามศัพท์ว่า
ความเป็นผู้มีบุญเคยสั่งสมมาไว้แต่ชาติปางก่อน=วิบากบุญเก่า)
หรือปารมีสัมภาระ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
*โยนิโสมสิการ หมายถึง การตั้งอารมณ์ไว้ในใจ โดยความสมเหตุสมผล
โยนิ แปลว่า เหตุผล คือการเข้าถึงเหตุ ถึงผล การคิดด้วยปัญญา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2020, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พอถึงตรงนี้แหละจะไปไกลเพราะว่าธรรมยังไม่หมด
เราจะต้องว่ากันต่อไปอีกว่า กุศลจิตตุปบาทเป็นปทัฏฐานให้เกิดอะไร
ซึ่งอาจจะเป็นสุขโสมนัส(ขอให้นึกถึงพุทธพจน์ที่ว่า
"มา ภิกฺขเว ปุญฺญํ ภายิตฺถ, สุขสฺเสตํ อธิวจนํ"

ดูกร ภิกษุ ท. เธอ ท. อย่ากลัวบุญ เพราะบุญ เป็นชื่อ
ของความสุข คำว่า "ชื่อของความสุข" หมายความว่า
บุญ(กุศล)เป็นเหตุให้เกิดสุข แล้วสุขเป็นเหตุให้เกิดอะไร ?

ก็เกิดสมาธิ ผู้มีสมาธิย่อมเห็นการเกิดดับของนามรูป.....ในที่สุด
ก็จะพาเข้าสู่พระนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
ดังนั้นท่านบอกว่า ยาว สพฺพธมฺมา ขอให้นักศึกษาจงโชคดี
กับการพิจารณาสาวหาเหตุจนถึงที่สุดเท่าที่จะหาได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2020, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กุศลเป็นปทัฏฐานแก่อะไร เรากำลังพูดถึงการนอบน้อม
ก็อานิสงส์ของการนอบน้อม หรืออานิสงส์ของกุศลจิต
ได้แก่ อนุตรายวิโสสน(ขจัดภยันตราย)มันแล้วแต่ว่าอยู่ในเหตุการณ์ไหน

กุศลจิตเป็นปทัฏฐานในการขจัดให้อันตราเหือดแห้งไป
เวลาเรานอบน้อมผู้มีคุณนั้นอานภาพของการนอบน้อม
ย่อมสามารถขจัดปัดเป่าอันตรายให้หายไปได้ เพราะฉะนั้น
การที่เรานอบน้อมอยู่ในปัจจุบันจึงไม่ใชสักแต่ว่านอบน้อมไป
ไม่รู้จุดหมาย

การกระทำย่อมมีผล ถ้ามีเจตนาบริสุทธิ์ใสสะอาด
การนอบน้อมนั้นก็จะทำให้เกิด อนฺตรายวิโสสน(วิโสสนแปลว่าทำให้เหือดแห้งไป)
ขจัดปัดเป่าอันตรายให้หมดไปหรือว่าป้องกันอันตรายได้
การที่หมดอันตรายไปนี้ เช่นการเรียนหนังสือก็ทำให้เราเรียนหนังสือจบ
สอนหนังสือก็ทำให้เราสอนได้ แต่ในที่นี้เรากำลังพูดถึงเนตติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2020, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า อนฺตรายวิโสสน จึงหมายความว่า เมื่อไม่มีอุปสรรคอันตราย
เราก็สามารถเรียนคัมภีร์เนตติจบ จนสามารถเข้าใจเนตติ
เมื่อเข้าใจหลักเนตติก็จะเป็นปทัฏฐานแก่การเข้าใจพระไตรปิฎก
การเข้าใจพระไตรปิฎกเป็นปทัฏฐานแก่วิธีการปฏิบัติ
การจะเข้าใจพระไตรปิฎกได้ไม่ใช่ว่าอยู่ ๆ จับพระไตรปิฎกขึ้นมาอ่านแล้วเข้าใจ

ฉะนั้นอาจารย์กัจจายนะท่านจึงเอาหลักการเนตติมาแสดง
เพื่อที่จะให้อ่านเข้าใจก่อนที่จะไปอ่านพระไตรปิฎก เมื่อเข้าใจ
นัยที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้แล้วก็จะทำให้เข้าถึงวิธีการ ปฏิบัติได้ง่ายขึ้น


ตรงกันข้ามถ้าไม่เข้าใจพระไตรปิฎกก็อาจทำให้เข้าใจธรรมะคลาดเคลื่อนได้
ก็แลการเข้าใจวิธีการปฏิบัติย่อมเป็นปทัฏฐานแก่สัมมาปฏิบัติ
หรือธัมมานุธัมมปฏิบัติ การที่คนเราจะเข้าถึงความเป็นสัมมาปฏิปันโนได้
จะต้องรู้จักวิธีการที่ตรงถูกต้องเท่านั้นจึงจะเป็นสัมมาปฏิบัติบุคคลได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2020, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาปฏิบัติเป็นปทัฏฐานแก่ยถาภูตญาณ (สัมมาปฏิบัติ
เป็นเหตุให้รู้แจ้งนามรูปที่เกิดดับตามความเป็นจริง)
อันนี้กำลังเข้าสู่ขั้นวิปัสสนาภูมื ยถาภูตญาณ เป็นปทัฏฐาน
แก่ นิพพทาญาณ(ว่าตามพระไตรปิฏก) นิพพิทาญาณเป็นปทัฏฐาน
แก่ วิราคะ(มรรค)

เวลาอ่านพระไตรปิฏกมักจะพบรูปแบบนี้มาตามลำดับ
แต่ครั้นมาถึง วิราคะ จะเห็นว่า เมื่อนิพฺพิทา แปลว่าเบื่อหน่าย
วิราค แปลว่าสำรอก แล้วมันต่างกันตรงไหน หมายความว่า
เมื่อมาถึงวิราคะ แสดงว่าเรากำลังพูดถึงมรรคว่า อันนี้ยังอยู่
ในขั้นโลกีย์ อันนี้เข้าถึงขั้นโลกุตตระ

เพราะฉะนั้น วิราคะ ที่แปลว่า สำรอก หมายความว่าสำรอก
ด้วยอริยมรรค วิราคะเป็นปทัฏฐานแก่วิมุตติ(วิมุตติในที่นี้หมายถึงผล)
วิมุตติ"ความหลุดพ้นจากกิเลส"ท่านนับกันที่ผล วิราคะ ยังทำหน้าที่

เป็นตัวละอยู่ แต่ว่าตัวที่ละแล้ว ได้ผล ก็ผลนี้แลท่าน
เรียกว่า"วิมุตติ" เป็นการหลุดพ้นอย่างสมบูรณ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2020, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉะนั้นวิมุตติในที่นี้ ก็เป็นผลของวิราคะ วิราคะเป็นปทัฏฐานแก่
วิมุตติ ก็แสดงว่า มรรคและผลนั้นไม่มีอะไรคั่น เมื่อเป็นเช่นนี้
มรรคจึงจะสามารถเป็นเหตุปทัฏฐานให้แก่ผลได้ ตามหลักพระอภิธรรม

มรรคกับผลไม่มีอะไรคั่น ฉะนั้น คำว่าวิราคะเป็นปทัฏฐาน
แกวิมุตติ ก็แสดงว่า วิมุตติ ในที่นี้ ได้แก่ผล วิมุตติเป็นปทัฏฐาน
แก่ปัจจเวกขณญาณ(หรือนิยมเรียกกันในบาลีว่า วิมุตฺติญาณทสฺสน

หมายถึงญาณที่มองเห็นด้วยผลแล้วน้อมมาพิจารณาว่า
"โอเราได้บรรลุแล้ว กิเลสหมดไปเท่าไหร่แล้ว" นี้เป็นอาการของ
ปัจจเวกขณญาณ วิมุตติญาณทัสสนะเป็นปทัฏฐาณแก่ อุปาทิเสสปรินิพพาน
(การดับกิเลสอย่างสิ้นเชิง) ที่กล่าวมานี้เป็นการสาวหาเหตุ ตามวิธีอารุยกนยะก็พอให้นักศึกษา
ลองไปศึกษาธรรมต่างๆ ที่แสดงไว้ จะเห็นได่ว่ามีวิธีการแบบนี้เหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2020, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร