วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2020, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20200331_061430.jpg
20200331_061430.jpg [ 68.96 KiB | เปิดดู 2371 ครั้ง ]
ข้อความต่อไปนี้ คือ อวุปจฺเฉทตฺโถ เป็นข้อความสัมพันธ์กัน
ระหว่างเหตุกับผล อวุปจฺเฉทตฺโถ สนฺตติอตฺโถ คำว่า อวุปจฺเฉทตฺโถ
เหตุที่เป็นไปไม่ขาดสาย สนฺตติอตฺโถ หมายถึงการสืบต่อ หมายความว่า
ถ้าเป็นเหตุเดียวก็ไม่เป็นไร บางครั้งเป็นเหตุให้เกิดผลแล้ว ผลนั้นก็เป็นเหตุต่อไปอีก

มันมีความสืบเนื่องกันไปเรื่อยๆ คือเหตุและผลจะสืบต่อกันเป็นลูกโซ่
ซึ่งโดยมากจะเป็นอย่างนั้น ฉะนั้น คำว่า อวุปจฺเฉทตฺโถ หมายถึงเหตุที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
หรือเหตุที่เป็นไปอย่างไม่ขาดสายที่เรียกว่า สนฺตติ สนฺตตินี้ก็คือระหว่างเหตุกับผล
ลักษณะเป็นความ สมมุติ เหตุทำให้เกิดผล แล้วผลก็กลายเป็นเหตุ

กล่าวคือ เป็นเหตุให้เกิดผลอีก ผลอื่นก็จะกลายเป็นเหตุต่อ ๆ ไป
เพราะฉะนั้นท่านเรียกว่าสืบต่อของเหตุและผลอันนี้ว่า สนฺตติ
ก็ความสัมพันธ์กันของเหตุและผลนี้จะเป็นไปตราบเท่าที่ยังไม่ถึงที่สุด
กล่าวคือการบรรลุถึงนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2020, 11:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สังสารวัฏคือการเวียนว่าตายเกิด ธรรมทั้งหลายก็คือการเกิด
ในลักษณะเป็นเหตุเป็นผลกันไปอย่างต่อเนื่อง อย่างในปฏิจจสมุปบาท
อวิชฺชาปจฺจยา ก็จะเป็นเหตุที่ทำให้เกิดผลอื่น ๆ เป็นไปอย่างต่อเนื่องกัน

สมมุติว่าเราตายแล้ว จิตก็อาศัยเหตุอื่นเกิดอีก เหตุที่ว่านี้ก็เกิดจากผล
ที่เรากระทำไว้ และสืบเนื่องกันไปเป็นเหตุเป็นผลไปอย่างต่อเนื่อง
อันนี้แหละท่านเรียกว่า อวุปจฺเฉท หรือ สนฺตติ นี้แสดงว่า อวุปจฺเฉท กับ สนฺตติ
มีความหมายอย่างเดียวกัน ก็เหมือนกับคำว่า สังสารวัฏนั่นและที่หมุนไปจนไม่รู้

นี้เบื้องต้นเบื้องปลายอยู่ที่ไหน นั่นหมายความว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ
ยังมีการวนเวียนเกิดแล้วดับอยู่อย่างนี้ต่อเนื่อง อันนี้แลท่านเรียกว่าสังสารวัฏ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2020, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตที่ไม่สามารถเป็นเหตุให้เกิดแก่เจ็บตาย
อนึ่ง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่อย่างต่อเนื่อง ที่ท่านได้เรียกว่า
สังสารวัฏนี้ ถ้าเป็นปุถุชนธรรมดา จุติจิตก็จะเป็นผลและเป็นเหตุ
ให้กับสภาวจิตอื่นด้วย ฉะนั้น จึงเรียกว่า อวุปัจเฉทเหตุ

แต่ถ้าเป็น พระอรหันต์จะเป็นอะไรบ้างจะเป็นเหตุและผล
หรือว่าจะเป็นทั้งเหตุและผล เพราะว่าโดยทั่วไปแล้วจุติจิตของคนทั่วไป
นอกจากเป็นพระอรหันต์แล้ว ย่อมเป็นเหตุให้เกิดปฏิสนธิตลอด
แต่ถ้าเป็นจุติของพระอรหันต์แล้วจะไม่เป็นเหตุให้เกิดปฏิสนธิ

ฉะนั้น จุติจิตของพระอรหันต์จึงถือว่าเป็นผล แต่ไม่มีเหตุ
ก็เช่นนี้ท่านจึงเรียกว่า วุปัจเฉทเหตุ หมายเอาจิตของพระอรหันต์เท่านั้น
ก็คำว่า วุปัจเฉท นี้หมายความว่าไม่ก่อให้เกิดผล คือปฏิสนธิ
ในภพต่อ ๆ ไปนั่นก็คือ จิตดับ จิตปรินิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2020, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือผล ๆ ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้น
นิพฺพตฺติอตฺโถ ผลตฺโถ (นิพฺพตฺติ แปลว่า การเกิด) นิพฺพตฺติ
คือสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะเหตุ ผลตฺโถ หมายถึง ผล ฉะนั้น
คำว่า นิพฺพตฺติ กับผลจึงมีความหมาย เหมือนกัน นิพฺพตฺติ

สิ่งที่เกิดขึ้นซึ่งก็คือผล อะไรก็แล้วแต่ที่มันเกิดจากเหตุ
เรียกว่าผลทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ผลก็คือสิ่งที่เกิดขึ้น ว่าด้วย
ตราบใดที่ยังไม่เกิดขึ้นสิ่งนั้นก็เรียกว่าผลไม่ได้

ฉะนั้น ผลก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วนั่นเอง ผลคือสิ่งที่เกิดจากเหตุ
ตามที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่า คำว่า นิพฺพตฺติ กับคำว่า ผล มีความหมายเท่ากัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2020, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามลุงหมานหน่อย ข้อเขียนต่างๆเหล่านี้ นำมาจากหนังสืออะไร ใครเขียน ? :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2020, 03:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ถามลุงหมานหน่อย ข้อเขียนต่างๆเหล่านี้ นำมาจากหนังสืออะไร ใครเขียน ? :b10:


ในคัมภีร์เนตติปกรณ์ แต่งโดยพระมหากัจจายนะ
ผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ผู้แตกฉานในพระพุทธพจน์
คือพระไตรปิฎก ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยม
ในการขยายความย่อให้พิสดารได้เล็งเห็นการนี้ จึงได้ภาษิตคัมภีร์ เนตติปกรณ์
เพื่ออธิบายพุทธธรรม สำหรับผู้ไม่เข้าใจ ให้เข้าใจไม่คลาดเคลื่อน

และสงสัยในพุทธธรรมนั้น เป็นคัมภีร์หลักการพรรณาอรรถแห่งพระไตรปิฎก
โดยแง่มุมต่าง ๆ ทั้งสมมุติสัจจะและปรมัตถสัจจะ
ทำให้เข้าใจพุทธธรรมอย่างกว้างขวางและชัดเจน จึงเป็นคัมภีร์ที่งดงามและทรงคุณค่า
ประดุจเพ็ชรเม็ดงาม เป็นที่อิ่มเอิบใจ
แก่เวไนยสัตว์ผู้แสวงหาอริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง

วัดหาดใหญ่สิตารามเห็นว่า คัมภีร์ เนตติ นี้ เป็นประโยชน์
ทำให้เกิดความรู้ในพุทธธรรมในแง่มุมต่าง ๆ ชัดเจนลึกซึ้ง
หยั่งลงในอริยสัจ ๔ ได้ตามสมควรแก่ปัญญาของตน
จึงมอบธุระให้ อาจารย์จรูญ ธรรมดาช่วยอธิบายคัมภีร์นี้
ให้เหมาะแก่นักศึกษาค้นคว้าสำหรับพระภิกษุสามเณรแล พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย

เนตติปกรณ์มิใช่พุทธพจน์โดยตรง เป็นเพียงคัมภีร์ขยายความพระบาลีพุทธพจน์ เหมือนกับคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค มหานิทเทส และจูฬนิทเทส พระธรรมปาลเถระ แห่งสำนักพทรติตถวิหาร อินเดียภาคใต้ ได้กล่าวไว้ว่า ในคัมภีร์เนตติปกรณ์ เป็นคัมภีร์ที่รจนา โดยมหาสาวกนามว่ามหากัจจายนะ
เป็นอริยสาวกผู้ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้า เป็นเลิศในทางอธิบายขยายความ
ธรรมะที่พระองค์แสดงโดยย่อให้พิสดาร(ดู ม.อุ ๑๔/๓๑๓-๓๒๒/๒๘๖-๒๕๙)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2020, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ภพใหม่กับปฏิสนธิ ปฏิสนฺธิอตฺโถ ปุนพภวตฺโถ ปฏิสนธิแปลว่า การเชื่อม
หมายถึงการเชื่อมใหม่กับภพเก่าให้มีความสืบต่อกัน ปุนพฺภวตฺโถ
มีความหมายเท่ากับ ปุนพฺภว (ภว=ภพ, ปุน=อีก,ใหม่,) การเกิดภพใหม่
ภพ หมายถึง ธาตุ ขันธ์ อายตนะ การเกิดขึ้นของขันธ์ ธาตุ อายตนะใหม่
เรียกว่า ปุนพฺภว ฉะนั้นการสืบต่อภพก็เท่ากับการเกิดขึ้นของขันธ์ อายตนะ ธาตุใหม่

ดังนั้น คำว่า ปฏิสนธิ กับ ปุนพฺภว จึงไม่ต่างกัน แม้ว่าศัพท์จะต่างกัน
แต่ความหมายอันเดียวกัน หมายความว่า ขันธ์ที่จะปฏิสนธิ
ซึ่งเกิดขึ้นว่าด้วยการสืบต่อระหว่างภพสองภพ อันนี้แลท่านเรียก
ปุนพฺภว ถ้าถามว่าแปลว่าอะไร ก็ตอบว่าภพใหม่ แต่ถ้าถามว่าหมายถึงอะไรก็ให้ตอบลึกลงไปอีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2020, 05:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถามลุงหมานหน่อย ข้อเขียนต่างๆเหล่านี้ นำมาจากหนังสืออะไร ใครเขียน ? :b10:


ในคัมภีร์เนตติปกรณ์ แต่งโดยพระมหากัจจายนะ
ผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ผู้แตกฉานในพระพุทธพจน์
คือพระไตรปิฎก ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยม
ในการขยายความย่อให้พิสดารได้เล็งเห็นการนี้ จึงได้ภาษิตคัมภีร์ เนตติปกรณ์
เพื่ออธิบายพุทธธรรม สำหรับผู้ไม่เข้าใจ ให้เข้าใจไม่คลาดเคลื่อน

และสงสัยในพุทธธรรมนั้น เป็นคัมภีร์หลักการพรรณาอรรถแห่งพระไตรปิฎก
โดยแง่มุมต่าง ๆ ทั้งสมมุติสัจจะและปรมัตถสัจจะ
ทำให้เข้าใจพุทธธรรมอย่างกว้างขวางและชัดเจน จึงเป็นคัมภีร์ที่งดงามและทรงคุณค่า
ประดุจเพ็ชรเม็ดงาม เป็นที่อิ่มเอิบใจ
แก่เวไนยสัตว์ผู้แสวงหาอริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง

วัดหาดใหญ่สิตารามเห็นว่า คัมภีร์ เนตติ นี้ เป็นประโยชน์
ทำให้เกิดความรู้ในพุทธธรรมในแง่มุมต่าง ๆ ชัดเจนลึกซึ้ง
หยั่งลงในอริยสัจ ๔
ได้ตามสมควรแก่ปัญญาของตน
จึงมอบธุระให้ อาจารย์จรูญ ธรรมดาช่วยอธิบายคัมภีร์นี้
ให้เหมาะแก่นักศึกษาค้นคว้าสำหรับพระภิกษุสามเณรแล พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย

เนตติปกรณ์มิใช่พุทธพจน์โดยตรง เป็นเพียงคัมภีร์ขยายความพระบาลีพุทธพจน์ เหมือนกับคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค มหานิทเทส และจูฬนิทเทส พระธรรมปาลเถระ แห่งสำนักพทรติตถวิหาร อินเดียภาคใต้ ได้กล่าวไว้ว่า ในคัมภีร์เนตติปกรณ์ เป็นคัมภีร์ที่รจนา โดยมหาสาวกนามว่ามหากัจจายนะ
เป็นอริยสาวกผู้ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเข้า เป็นเลิศในทางอธิบายขยายความ
ธรรมะที่พระองค์แสดงโดยย่อให้พิสดาร(ดู ม.อุ ๑๔/๓๑๓-๓๒๒/๒๘๖-๒๕๙)


เพิ่งเคยได้ยินชื่อ อ.จรูญ ธรรมดา อธิบายขยายความ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2020, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในยูทรูปมีเยอะนะครับลองเปิดหาประวัติหรือศึกษาได้ครับ
รายการท่านถาม-เราตอบ+ประกอบอภิธรรม
พระพุทธเจ้าสอนอภิธรรม เราจะน้อมนำมาปฏิบัติได้อย่างไร
โดย อาจารย์จำรูญ ธรรมดา และสุธาวัชร์ ปานเงิน

https://youtu.be/W7CPNzUIQGQ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2020, 09:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 702

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron