วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 18:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2020, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 41.8 KiB | เปิดดู 1820 ครั้ง ]
ปลิโพธตฺ ปริยุฎฺฐานตฺโถ คำว่า ปลิโพธ กับคำว่า ปริยุฏฺฐาน
มีความหมายเท่ากัน แปลว่ารุมเร้าจิตใจ จัดเป็นปลิโพธ
เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจเกิดความกังวล เป็นกิเลสขั้นที่ ๒
จากที่มีอยู่ ๓ ขั้น คือกิเลสขั้ยที่ ๑ เรียกว่า อนุสัย ขั้นที่ ๒
เรียกว่า ปริยุฏฐานะ ขั้นที่ ๓ เรียกว่า วีติกกมะ

อนึ่ง กิเลสขั้นที่ ๒ หรือปริยุฏฐานะกิเลสนี้ เป็นกิเลสที่เกิดขึ้นใน
วิถีจิตหมายความว่า โดยปกติแล้วถ้ากิเลสไม่เกิดขึ้นในวิถี
ท่านจะเรียกว่า "อนุสัย" เมื่อมีเหตุปัจจัยกระทบเข้า อนุสัย ก็จะกลาย
มาเป็นปริยุฏฐานะกิเลสที่เกิดครุกรุ่นอยู่ในจิตใจ

อย่างเช่นเรากำลังเกิดราคะอยู่ ราคะนี้ เรียกว่าปริยุฏฐานะกิเลส
ก็และตราบใดที่กิเลสนั้นยังอยู่ในจิตใจ ไม่แสดงออกมาทางกาย วาจา
กิเลสนั้นก็ยังเรียกว่าเป็นปริยุฏฐานะกิเลสอยู่ ต่อเมื่อแสดงออกมาทางกาย หรือทางวาจา
จึงเรียกว่า วีติกกมกิเลส ฉะนี้นพึงทราบว่า
ประเภทแห่งกิเลสก็มีการแบ่งชั้น ๆได้ถึง ๓ ชั้น ๓ ระดับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2020, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะการละกิเลสของพระอริยะเจ้า
อสมุคฺฆาตตฺโถ อนุสยตฺโถ: อสมุคฆาตะ ก็คือ กิเลสที่ยังไม่ถูกละหรือถูกปหานด้วยอริยมรรค
ก็สาเหตุที่ไม่ได้ถูกปหานด้วยอริยมรรคนี้เองจึงเป็นกิเลส
ประเภท อนุสยตฺโถ คือเป็นอนุสัยกิเลส ซึ่งหมายถึง กิเลสที่ยังละ
ไม่ได้โดยเด็ดขาด ดังนั้นท่านจึงอธิบายด้วยคำว่าทอสมุคฺฆาต
หมายถึงการที่ยังละไม่ได้ คือถ้ามีเหตุปัจจัยกิเลสนี้สามารถเกิดขึ้นในจิตได้ทุกเมื่อ

อันนี้คือลักษณะของอนุสัยโบราณาจารย์จึงเปรียบเหมือนกับมันตกตะกอนอยู่
พอมีอะไรไปกระทบมันก็ฟุ้งออกมากลายเป็นปริยุฏฐาน และ
ในที่สุดก็ถึงขั้น วีติกกมะ(ล่วงละเมิดทางกายวาจา)
อนุสัยคือกเลสที่ยังละไม่ได้ด้วยอริยมรรค อย่างไรก็ก็ตาม
ในการละจริง ๆ เราจะต้องเข้าใจไปอีกแบบหนึ่งว่า

อนุสัยกิเลสนั้นไม่ได้นอนเนื่องอยู่ในสันดานหรือจิตดวงไหน
เพราะว่าถ้านอนอยู่ในขันธสันดานก็แสดงว่าขณะที่พระอริยเจ้า
ละอนุสัยก็แสดงว่า อนุสัยกิเลสยังสถิตย์อยู่ในจิตซึ่งความจริงแล้วมิใช่เช่นนั้นเลย

ถ้าเราไปเข้าใจว่าการละอนุสัยก็เหมือนกับการซักสิ่งสกปรกออกจากผ้า คือ ผ้าที่จะซักนั้นจะต้องเป็นผ้าที่สกปรกหรือเป็นผ้าสีต่างๆ จึงจะเหมาะกับการนำมาซัก แต่ถ้าผ้าสะอาดอยู่แล้วก็ไม่จำเป็น
ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องของผ้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2020, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่สำหรับการละกิเลสของพระอริยะเจ้านั้น เวลาท่านละกิเลส
ด้วยมรรคนั้น จิตสันดานของท่านจะเปรียบเหมือนผ้าขาว
ที่ไม่มีมลทินเพราะเป็นจิตระดับโลกุตตระ กิเลสไหนจะกล้ามากล้ำกลาย
อย่าพูดถึงมรรคเลย แค่ระดับวิปัสสนาขั้นต้น ไปจนถึงสังขารุเปกขาญาณ
กิเลสก็ไม่มีทางทะลักเข้ามาสู่จิตได้อยู่แล้ว


ถามว่า : ถ้าเช่นนั้น อนุสัยกิเลสอยู่ตรงไหนหรือ เพราะถ้า
คิดทางวิถีจิตก็ไม่เห็นมีกิเลสประกอบอยู่เลย แล้วกิเลสมันจะอยู่ตรงไหน

ตอบว่า : อนุสัยกิเลสคือกิเลสที่อยู่ใต้สำนึก ไม่ได้อยู่ในวิถีแห่งจิตใจ
จึงเป็นแต่เพียงสภาวะที่มีอยู่และพร้อมที่จะเกิดในจิตใจได้ทุกเมื่อ
ถ้ามีเหตุปัจจัยอย่าพูดถึงมรรคเลย

อนึ่ง คำว่า"นอนเนื่อง"ซึ่งเป็นคำแปลของคำว่า อนุสัย จากคำแปลนี้
ทำให้เข้าใจว่า เหมือนกับว่ากิเลสนอนเนื่องอยู่ในจิตหรือขันธสันดาน
คำว่า ขันธสันดาน ก็คือจิต จะหมายเอาร่างกายไม่ได้
เพราะกิเลสเป็นนามธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2020, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การละคือการปิดกั้น
เพราะฉะนั้น ในขณะที่ละกิเลสด้วยมรรคนั้น สภาพจิตบริสุทธิ์
ก็เมื่อจิตบริสุทธิ์แล้วจะเอากิเลสที่ไหนมาละ เพราะฉะนั้น
ท่านจึงบอกไว้ว่าการละกิเลสก็ คือการปิดกั้น ไม่ให้กิเลสทะลัก
ไหลเข้ามาในจิตใจ ไม่ใช่การละแบบไปเคาะสนิมออก เหมือนท่า
อุปมาไว้ เพราะนั่นก็เป็นการอุปมาเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจง่ายเท่านั้น
ไม่ใช่ว่าต้องเหมือนกันทุกกระเบียดนิ้ว

ดังนั้น ขอให้เข้าใจว่า กิเลสที่ยังละไม้ได้ด้วยมรรค เรียกว่า อนุสัยกิเลส
ไม่ว่าจะเป็นกิเลสแบบไหนก็แล้วแต่ ถ้าเป็นกิเลสที้ยังละไม่ได้
ด้วยมรรคก็ได้ชื่อว่า อนุสัยกิเลสทั้งสิ้น

อนึ่งการแบ่งกิเลสเป็น ๓ ขั้น ตือ อนุสัย ปริยุฏฐานะ และ วีติกกมะ นี้
นักศึกษาพอจะสรุปได้แล้วว่า อนุสัย ก็หมายความว่ากิเลสที่ไม่ฟุ้งขึ้นมา
สู่วิถีจิต หมายถึงที่ยังไม่เกิดขึ้นในจิต แต่ก็ยังละไม่ได้ อันนี้จะต้อจำกัดความให้ถูก
[กิเลสที่ยังละไม่ได้ด้วยมรรคและก็ยังไม่ฟุ้งขึ้นสู่จิต เรียกว่าอนุสัยกิเลส]

ฉะนั้น ตราบใดที่ยังละกิเลสไม่ได้ ตราบนั้น กิเลสก็ชื่อว่ายังนอน
เนื่องอยู่ในขันธสันดาน( คำว่านอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานหมายถึงที่ยังไม่สามารถละได้
ด้วยอริยมรรค อันนี้เป็นลักษณะถึงการนอนเนื่องแห่งกิเลส)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2020, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2021, 18:52 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร