วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 11:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2020, 14:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1591600299440.jpg
FB_IMG_1591600299440.jpg [ 19.52 KiB | เปิดดู 1977 ครั้ง ]
บุพนิมิตที่ ๑: ปรโตโฆสะ – กัลยาณมิตร (วิธีการแห่งศรัทธา)
ปรโตโฆสะ หรือเสียงจากผู้อื่น ที่จะให้เกิดสัมมาทิฏฐิได้
ก็คือ เสียงที่ดีงาม เสียงที่ถูกต้อง เสียงที่บอกกล่าวชี้แจงความจริง มีเหตุผล
เป็นประโยชน์ เฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดจากความรักความปรารถนาดี

เสียงดีงามถูกต้องเช่นนี้ เกิดจากแหล่งที่ดี คือคนดี
คนมีปัญญา คนมีคุณธรรม คนเช่นนี้ทางธรรม เรียกว่า สัตบุรุษ บ้าง
บัณฑิตบ้าง ถ้าคนดีคือสัตบุรุษ หรือบัณฑิตนี้ ไปทำหน้าที่
ช่วยเหลือแนะนำ สั่งสอนชักนำสัมมาทิฏฐิให้แก่ผู้อื่น ก็เรียก
ว่าเขาทำหน้าที่เป็น กัลยาณมิตร

แต่บุคคลผู้แสวงสัมมาทิฏฐิ ไม่จำเป็นต้องรอให้สัตบุรุษ
หรือบัณฑิตมาหาตน ตรงข้าม เขาย่อมกระตือ รือร้น
ที่จะไปหา ไปปรึกษา ไปสดับฟัง ไปขอคำแนะนำชี้แจงสั่งสอน
เข้าร่วมหมู่อยู่ใกล้ ตลอดจนศึกษาแบบอย่างแนวทางจากบัณฑิตหรือสัตบุรุษนั้นเอง
การกระทำของเขาอย่างนี้เรียกว่า การเสวนาสัตบุรุษ หรือคบหาคนดี

แต่ไม่ว่าสัตบุรุษจะมาทำหน้าที่ให้ หรือบุคคลนั้นจะไปคบหาสัตบุรุษเองก็ตาม
ในเมื่อมีการยอมรับหรืออิทธิพลต่อกันเกิดขึ้นแล้ว
ก็เรียกว่าเขามีกัลยาณมิตร และเรียกภาวะนี้ว่า “กัลยาณมิตตตา” แปลว่า ความมีกัลยาณมิตร

กัลยาณมิตร มิได้หมายถึงเพื่อนที่ดีอย่างในความหมาย
สามัญเท่านั้น แต่หมายถึงบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะสั่งสอน แนะนำ
ชี้แจง ชักจูง ช่วยบอกช่องทาง หรือเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่น

ดำเนินไปในมรรคาแห่งการฝึกฝนอบรมอย่างถูกต้อง
ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ท่านยกตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้า
พระอรหันตสาวก ครู อาจารย์ และท่านผู้เป็นพหูสูตทรงปัญญา
สามารถสั่งสอนแนะนำ เป็นที่ปรึกษาได้ แม้จะอ่อนวัยกว่า
ในกระบวนการพัฒนาปัญญา ความมีกัลยาณมิตรนี้ จัดว่า
เป็นระดับความเจริญปัญญาในขั้นศรัทธา

ส่วนในระบบการศึกษาอบรม ความมีกัลยาณมิตรควรมีความหมายครอบคลุม
ทั้งตัวบุคคลผู้อบรมสั่งสอน เช่น พ่อแม่ ครู อาจารย์ เป็นต้น
ทั้งคุณสมบัติของผู้สอน ทั้งหลักการ วิธีการ อุปกรณ์ อุบายต่างๆ
ในการสอน และการจัดดำเนินการต่างๆ ทุกอย่าง ที่ผู้มีหน้าที่ให้การศึกษาจะพึงจัดทำ

เพื่อให้การศึกษาอบรมได้ผลดี ตลอดจนหนังสือ
สื่อมวลชน บุคคลตัวอย่าง เช่น มหาบุรุษ หรือผู้ประสบความสำเร็จโดยธรรม
และสิ่งแวดล้อมทางสังคมทั้งหลายที่ดีงาม เป็นประโยชน์
เท่าที่จะเป็นองค์ประกอบภายนอกในกระบวนการพัฒนาปัญญานั้นได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2020, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การนำโยนิโส......มาใช้ในชีวิตประจำวัน(ท่านป.อ. ปยุตโต)

โยนิโสมนสิการ” เป็นวิธีการคิดที่มีประโยชน์สามารถนำไปใช้
ในการคิดวางแผนในการทำวิจัย การทำงาน แก้ไขปัญหา ช่วยในการตัดสินใจ วิเคราะห์ ติดตามผลการทำงาน จึงได้สรุปเรียบเรียงนำเสนอในที่นี้ คำว่า “โยนิโสมนสิการ” ประกอบด้วยคำสองคำ
-- คำแรกคือ โยนิโส มาจาก โยนิ แปลว่า เหตุ ต้นเค้าแหล่งเกิดปัญญา อุบาย
วิถีทาง
-- คำที่สองคือ มนสิการ แปลว่าการนำในใจ การคิดคำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณาเมื่อรวมกันมีความหมายว่า การนึกในใจโดยแยบคายหรือการคิดแบบแยบคาย
ซึ่งหมายถึงแนวการคิด 4 ประการคือ
-- การคิดโดยใช้วิธีการต่างๆ (อุบายมนสิการ) ที่ถูกต้องเพื่อให้ได้ความจริง
-- ความหมายที่สองคือ การคิดอย่างมีระเบียบเป็นขั้นตอน ตามลำดับเหตุและผล ไม่ทำให้ยุ่งสับสน (ปถมนสิการ)
-- ความหมายที่สามหมายถึง การคิดโดยการค้นหาสาเหตุและผล หาความสัมพันธ์ของเหตุและผลที่เป็นผลต่อเนื่องแบบลูกโซ่ (การณมนสิการ)
-- ความหมายที่สี่เป็นการคิดแบบกำหนดเป้าหมาย กำหนดผลล่วงหน้าเพื่อเป็นกำลังใจให้ตนเองทำงานสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (อุปปาทกมนสิการ)

โยนิโสมนสิการหรือการคิดแบบแยบคายนี้มีวิธีคิดแยกย่อยออกเป็น 10 วิธีคือ

1.วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย (หรือคิดแบบสืบสวน) วิธีคิดแบบนี้คือ การคิดแบบหาสาเหตุที่ทำให้เกิดผลหรือเกิดเหตุการณ์ ว่ามีอะไรเป็นปัจจัยทำให้เกิดและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เหมือนกับตำรวจหาสาเหตุที่เกิดเหตุร้าย หรือนักวิจัยหาสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดน้ำท่วม

2.วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ (หรือการคิดเชิงวิเคราะห์) วิธีนี้เป็นการคิดแยกสิ่งต่างๆ ออกเป็นส่วนๆ เช่น การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร ก็แยกออกเป็นฝ่ายบุคคล ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายการเงิน เป็นต้น แล้ววิเคราะห์ทีละฝ่าย โดยใช้วิธีคิดแบบอื่นมาร่วมใช้ด้วย เช่น วิธีที่หนึ่งและวิธีที่สี่ เป็นต้น

3.วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ (หรือแบบรู้เท่าทันธรรมดา) ผู้ที่สามารถใช้วิธีคิดแบบนี้ได้ต้องเป็นผู้รู้หรือมีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ มาก่อน รู้ว่าอะไรจริง อะไรเท็จ รู้ว่าเป็นธรรมดา รู้ว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง ที่ปรากฏการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น มีสาเหตุจากอะไร ทำให้เกิดผลอย่างไร จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่รู้แล้ว ผู้ที่ใช้วิธีคิดแบบนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นผู้ชำนาญการหรือเชี่ยวชาญได้ สามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้อื่นๆ ได้

4.วิธีคิดแบบอริยสัจ (หรือกระบวนการแก้ปัญหา) โดยวิเคราะห์ ปัญหา (ทุกข์) หาสาเหตุของปัญหา (สมุทัย) กำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการแก้ปัญหา (นิโรธ) และกำหนดวิธีการแก้ปัญหา (มรรค) โดยคิดแบบเป็นคู่ คือ วิเคราะห์หาปัญหาและสาเหตุพร้อมกัน เมื่อได้ปัญหาและสาเหตุแล้วนำปัญหาที่ได้มากำหนดเป้าหมายและนำสาเหตุมากำหนดเป็นแผนงาน โครงการ และกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาจนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

5.วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ (หรือคิดตามหลักการและความมุ่งหมาย) ธรรม แปลว่า หลักการ หลักความดีงาม
หลักปฏิบัติที่ดี ส่วน อรรถ นั้นแปลว่าความมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่ต้องการ วิธีคิดแบบนี้เป็นการคิดให้สอดคล้องสัมพันธ์กันระหว่างหลักการที่ดีและวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องทำให้เกิดประโยชน์ที่ต้องการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2020, 04:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


6.วิธีคิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก (หรือ ข้อดี ข้อเสียและทางเลือก) วิธีนี้ใช้ร่วมกับวิธีอื่นด้วย เป็นการแยกแยะสิ่งที่มีอยู่ตามปกติมองให้เห็นข้อดีข้อเสีย สิ่งที่ดี สิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่เป็นคุณ สิ่งที่เป็นโทษ และเลือกทำ เลือกปฏิบัติแต่สิ่งดี สิ่งที่เป็นคุณ และหลีกเลี่ยงสิ่งไม่ดี สิ่งที่เป็นโทษ จากสิ่งที่มีอยู่ เห็นอยู่

7.วิธีคิดแบบคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม เป็นวิธีคิดจำแนกแยกออกระหว่างสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงและจำเป็นต้องมี ต้องใช้หรือต้องทำงานตามบทบาทหน้าที่
ซึ่งถือว่ามีคุณค่าแท้ ซึ่งแตกต่างจากคุณค่าเทียม เช่น แสวงหาสิ่งที่ไม่มีประโยชน์โดยตรงหรือมีแล้วก็ไม่ได้แก้ปัญหาให้อย่างยั่งยืน หรือการไม่ทำงานตามหน้าที่แต่ไปทำงานนอกหน้าที่ที่ไม่จำเป็นเพื่อให้คนยอมรับ

8.วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม คือการคิดถึงวิธีที่ีจะนำเอาประสบการณ์ ความรู้ มาดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างหรือแบบอย่างที่ดี เป็นประโยชน์ต่อบุคคล สิ่งแวดล้อม

9.วิธีคิดแบบเป็นอยู่ปัจจุบัน คือวิธีคิดโดยการมีสติอยู่กับปัจจุบัน โดยการเอาผลจากอดีตมาแก้ไขหรือปรับปรุงโดยไม่ไปคำนึงแต่เรื่องในอดีต และมีสติในการคิดแก้ไขหรือปรับปรุงในเวลาปัจจุบัน โดยรู้ว่าการกระทำในปัจจุบันจะทำให้เกิดผลในอนาคตอย่างไร แต่ไม่ใช่เพ้อเหม่อลอยถึงอนาคตตลอดเวลา

10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท เป็นวิธีคิดประกอบกับการใช้คำพูดหรือการพูด โดยสรุปแล้วคล้ายกับนำวิธีคิดที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมานำเสนอให้ได้รู้ตามที่ได้คิดจำแนก แยกแยะ คิดเป็นเหตุและผล คิดตามลำดับขั้นตอน คิดเป็นประเด็น

วิธีคิดทั้งสิบวิธีนี้สามารถใช้ร่วมกันได้และจะช่วยให้มีความถูกต้องในการคิดมากขึ้น
* เรียบเรียงจากหนังสือพุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
ผู้อ่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามที่อยู่นี้ http://www.buddha-dharm.com/

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2020, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร