วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2020, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ง.) อสัมโมหสัมปชัญญะ คือปัญญาที่รู้ตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม ว่าสภาวธรรมนี้เป็นรูปธรรม สภาวธรรมนี้เป็นนามธรรม หยั่งเห็นสภาวะลักษณะของรูป ของนาม ว่ารูปแต่ละรูป มีความแตกต่าง นามแต่ละนามมีความแตกต่างกัน รูปอย่างหนึ่ง นามก็อย่างหนึ่ง แต่รู้ถึงสามัญลักษณะว่ารูปธรรม

นามธรรม ที่เป็นสังขตธรรม เป็นธรรมที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อดับไปมีสภาวะที่เสมอเหมือนกัน คือความ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นปัญญาที่ไม่ลุ่มหลง สามารถรู้ถูกต้องตรงต่อความจริงของสภาวธรรม รู้เท่าทันอารมณ์ปัจจุบันทุกๆอารมณ์ว่าเป็นรูปหรือนาม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลทไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงขันธ์ ๕ คือ รูป นาม อันว่างจากอัตตาโดยประการทั้งปวง

เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับสาระของอสัมโมหสัมปชัญญะนี้ได้แจ่มแจ้งขึ้น จึงควรทราบความแตกต่างกันของปัญญา ๓ อย่างคือ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และ ภาวนามยปัญญา ที่เป็นไปเกี่ยวกับความรู้ว่าเป็นนาม เป็นรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2020, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้นามรูปของปัญญามี ๓ ขั้นคือ

ก.) สุตมยปัญญา หมายถึงปัญญาที่สำเร็จเพราะคำชี้แจงที่ได้สดับแล้ว คือ เป็นปัญญาที่ได้มาเพราะฟังจากคนอื่น ได้เรียน ได้ศึกษา ได้อ่านตำรับตำราอยู่ในรูปของบัญญัติ เป็นสำนวนโวหารที่ผู้อื่นแสดงเป็นปริยัติแล้ว เกิดปัญญา ปัญญานี้ต้องอาศัยกัลยาณมิตร เป็นความรู้รูป รู้นาม ที่ได้มาจากการฟัง เพื่อกำหนด นาม รูป ได้ถูกต้องในภายหลัง ในการปฏิบัติการที่ผู้ปฏิบัติและกำหนดอารมณ์กรรมฐานคือ นามรูป ได้ถูกต้องนั้น ในเบื้องต้นต้องมีการฟังจากครูอาจารย์ว่าอะไร เป็นรูป อะไรเป็นนามก่อน จึงจะมีโอกาสกำหนด นามรูป ได้ถูกต้องในคราวปฏิบัติ

ข.) จินตามยปัญญา หมายถึง ปัญญาความรู้ที่ได้จากการพิสูจน์ รูปนาม แล้วด้วยตนเอง เพราะได้ใส่ใจลักษณะของนามหรือรูปนั้นว่าเป็นนามอะไรรูปอะไร ในเวลาที่มีสติเข้าไปตั้งไว้ที่นามที่รูปที่เป็นปัจจุบันอารมณ์นั้น การใส่ใจลักษณะที่แตกต่างกันแห่งนาม รูป เหล่านั้น ย่อมทำปัญญาให้เกิดขึ้นรู้ว่า นี้เป็นนามอะไร รูปอะไร ตรงต่อความเป็นจริงสามารถทำให้สภาวะของรูป นามจริงๆ ปรากฏขึ้นในความรู้สึกได้ โดยอาศัยความรู้ที่ได้จากสุตมยปัญญา เป็นปัจจัยเท่านั้น ความรู้นาม รูป ขั้นนี้เป็นความรู้ที่ได้ สัมผัสกับสภาวะของจริงที่เป็นนาม เป็นรูปนั้นๆ เพียงแต่ว่ายังมีการอิงอาศัยบัญญัติอยู่ เพราะเป็นความรู้ที่ทำขึ้นให้ตรงกับบัญญัติ ตรงกับชื่อที่เรียนรู้มา ไม่ใช่คิดเอาเองลอยๆ บุคคลชื่อว่ามีการปฏิบัติ ก็เมื่อเขาได้ใช้ความเพียรทำความรู้นามรูป ขั้นจินตามยปัญญานี้ให้เกิดขึ้นบ่อยๆ ฉะนั้นความรู้ขั้นจินตามยปัญญาอย่างนี้นับว่าเป็นความรู้ขั้นปฏิบัติ ความรู้นี้ยังกำลังน้อย ต้องหมั่นใส่ใจ ทำความรู้สึกตัวไปที่ รูปนาม ที่เป็นอารมณ์อยู่เสมอๆ จนรู้ความจริงของรูปนาม ด้วยอสัมโมหสัมปชัญญะโดยมีโคจรสัมปชัญญะเป็นไปอยู่บ่อยๆ เป็นปัจจัย

ค.) ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่สำเร็จเพราะการเจริญ อบรมให้สติ สัมปชัญญะ เจริญงอกงามให้ยิ่งๆขึ้นไป จนปัญญาแกล้วกล้า กล่าวคือ มีความชำนาญยิ่งแม้ไม่ต้องขนขวายทำให้เกิดก็ย่อมเกิดขึ้น จิตเกิดปรารภอารมณ์ที่ปรากฏเฉพาะหน้าอันใดก็ตาม สติเข้าไปตั้งอยู่ในอารมณ์นั้นแล้ว ความรู้ว่าเป็นนามรูปก็เกิดขึ้นทันที ใส่ใจครั้งใดก็เห็นความจริงจนบรรลุถึงความเป็นยอด คือมรรคอันเป็นที่สุดแห่งการเจริญได้ เรียกว่า วิปัสสนาปัญญา และ มรรคปัญญา เมื่อผู้ปฏิบัติ ทำเหตุปัจจัยให้ความรู้จริงเกิดขึ้นได้บ่อยๆ จนชำนาญอันเป็นผลมาจากการชำระกิเลสให้บริสุทธิ์ได้แล้ว จึงเป็นปัจจัยต่อความรู้แจ้ง ความรู้นี้ไม่ต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ เพียงแต่ปรารภอารมณ์ด้วยสติ ความรู้ว่าเป็นรูปเป็นนามก็เกิดขึ้นทันทีโดยไม่ต้องตั้งใจสำเหนียกลักษณะเหมือนแต่ก่อนในขั้นจินตามยปัญญา

ความรู้ทั้ง ๓ อย่างนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัยสืบต่อกัน ความรู้ขั้นสุตมยปัญญาอันเป็นความรู้ขั้นปริยัติ เป็นปัจจัยให้ความรู้ รูปนาม ขั้นจินตามยปัญญา อันเป็นความรู้ขั้นปฏิบัติ และความรู้ขั้นปฏิบัติ เป็นปัจจัยให้ความรู้ขั้นภาวนามยปัญญา อันเป็นความรู้ขั้นปฏิเวธ แม้เบื้องต้นจะเป็นความรู้สึก ขั้นญาณก็ตาม อันเป็นผลแห่งการปฏิบัติที่ถูกต้อง ที่เรียกว่า “นามรูปปริจเฉทปริเฉทญาณ” ก็นับว่าเป็นวิปัสสนาปัญญา ก็จัดเป็นปัญญาประเภท ภาวนามยปัญญาเหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2020, 08:22 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2021, 19:19 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร