วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 00:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2020, 06:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในคำว่า เพราะอายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ นั้น มีคำอธิบายไว้ดังนี้
เบื้องต้น อายตนะ ๕ มีจักขายตนะเป็นต้น เป็นปัจจัย ๖ อย่าง คือ
นิสสยปัจจัย
ปุเรชาตปัจจัย
อินทริยปัจจัย
วิปปยุตตปัจจัย
อัตถิปัจจัย
และอวิคตปัจจัย แก่ผัสสะ ๕ อย่าง โดยจำแนกเป็นจักขุสัมผัสเป็นต้น

เบื้องหน้าแต่นั้นพึงอธิบายอายตนะ ๑ คือมนายตนะที่เป็นวิบากเป็นปัจจัย ๙ อย่าง คือ
สหชาตปัจจัย
อัญญมัญญปัจจัย
นิสสยปัจจัย
วิปากปัจจัย
อาหารปัจจัย
อินทรียปัจจัย
สัมปยุตตปัจจัย
อัตถิปัจจัย
และ อวิคตปัจจัย แก่มโนสัมผัสที่เป็นวิบากซึ่งมีหลายประเภท

ส่วนในบรรดาอายตนะภายนอกนั้น รูปายตนะเป็นปัจจัย ๔ อย่างคือ
อารัมมณปัจจัย
ปุเรชาตปัจจัย
อัตถิปัจจัย
และอวิคตปัจจัย แก่จักขุสัมผัส อายตนะที่เหลือมีสัททายตนะเป็นต้น
เป็นปัจจัยแก่สัมผัสที่เหลือมีโสตสัมผัสเป็นต้น อย่างนั้น

ส่วนอายตนะเหล่านั้นด้วย ธัมมายตนะด้วย เป็นปัจจัยแก่มโนสัมผัสเหมือนอย่างนั้น
และโดยเป็นเพียงอารัมณปัจจัยเท่านั้น บัณฑิตพึงอธิบาย อายตนะภายนอก ๖ อย่าง
ความเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนี้ได้ตามที่ควร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2020, 11:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้นแลว่าเป็นของน้อย
ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ทั้งคนมั่งมีและคนยากจน
ย่อมถูกต้องผัสสะเหมือนกัน

ทั้งคนพาลและคนฉลาด
ก็ต้องถูกผัสสะเหมือนกันทั้งนั้น

แต่คนพาลถูกอารมณ์ที่ไม่พอใจเบียดเบียน ย่อมอยู่เป็นทุกข์เพราะความเป็นพาล

ส่วนนักปราชญ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว

เพราะฉะนั้น
ปัญญาจึงจัดว่าประเสริฐกว่าทรัพย์

เพราะปัญญาเป็นเหตุให้บรรลุนิพพาน

รัฏฐปาลเถรคาถา

tongue tongue tongue


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร