วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2021, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท แห่งอาหารของวิชชาและวิมุตติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า แม้วิชชาและวิมุตติ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ? คำตอบพึงมีว่า “โพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการ” ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ถึงแม้โพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ ? คำตอบพึงมีว่า “สติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการ” ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ถึงแม้สติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของสติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการ ? คำตอบพึงมีว่า “สุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ” ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ถึงแม้สุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของสุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ? คำตอบพึงมีว่า “การสำรวมอินทรีย์” ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ถึงแม้การสำรวมอินทรีย์ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ? คำตอบพึงมีว่า “ความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ” ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ถึงแม้ความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ? คำตอบพึงมีว่า “โยนิโสมนสิการ” ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ถึงแม้โยนิโสมนสิการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของ โยนิโสมนสิการ ? คำตอบพึงมีว่า “สัทธา” ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ถึงแม้สัทธา ก็เป็นธรรมชาติมีอาหารหาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของสัทธา ? คำตอบพึงมีว่า “การได้ฟังพระสัทธรรม” ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ถึงแม้การได้ฟังพระสัทธรรม ก็เป็นธรรมชาติมีอาหารหาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของการได้ฟัง พระสัทธรรม ? คำตอบพึงมีว่า “การคบสัปบุรุษ” ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่เมื่อการคบสัปบุรุษเป็นไปบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการได้ฟังพระสัทธรรมให้บริบูรณ์; การได้ฟังพระสัทธรรมบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสัทธาให้บริบูรณ์; สัทธาบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโยนิโสมนสิการให้บริบูรณ์; โยนิโสมนสิการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์; ความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์; การสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสุจริตทั้งหลาย ๓ ประการให้บริบูรณ์; สุจริตทั้งหลาย ๓ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการให้บริบูรณ์; สติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการให้บริบูรณ์; โพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อาหารแห่งวิชชาและวิมุตตินี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และบริบูรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเมื่อฝนหนักๆ ตกลงบนภูเขา, น้ำฝนนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมทำซอกเขา ซอกผา และลำห้วยทั้งหลาย ให้เต็ม; ครั้นซอกเขาซอกผา และลำห้วยทั้งหลายเต็มแล้ว ย่อมทำบึงน้อยทั้งหลายให้เต็ม; บึงน้อยทั้งหลายเต็มแล้ว ย่อมทำบึงใหญ่ทั้งหลายให้เต็ม; บึงใหญ่ทั้งหลายเต็มแล้ว ย่อมทำแม่น้ำน้อยทั้งหลายให้เต็ม; แม่น้ำน้อยทั้งหลายเต็มแล้ว ย่อมทำแม่น้ำใหญ่ทั้งหลายให้เต็ม; แม่น้ำใหญ่ทั้งหลายเต็มแล้ว ย่อมทำมหาสมุทรสาครให้เต็ม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อาหารแห่งมหาสมุทรสาครนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และเต็มแล้วด้วยอาการอย่างนี้, นี้ฉันใด;

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ การคบสัปบุรุษบริบูรณ์แล้วย่อมทำการได้ฟังพระสัทธรรมให้บริบูรณ์; การได้ฟังพระสัทธรรมบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสัทธาให้บริบูรณ์; สัทธาบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโยนิโสมนสิการให้บริบูรณ์; โยนิโสมนสิการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์; ความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์; การสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้วย่อมทำสุจริตทั้งหลาย ๓ ประการให้บริบูรณ์; สุจริตทั้งหลาย ๓ ประการบริบูรณ์แล้วย่อมทำสติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการให้บริบูรณ์; สติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการให้บริบูรณ์; โพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อาหารแห่งวิชชาและวิมุตตินี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และบริบูรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้, ดังนี้ แล.
________________________________

- สูตรที่ ๑-๒ ยมกวรรค ทสก.อํ. ๒๔/๑๒๒,๑๒๖/๖๑,๖๒.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2021, 12:32 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron