วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2021, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


...ทำทานแล้ว ก็ต้องก้าวเข้าสู่ขั้นศีล
ขั้นศีลแล้ว ก็ต้องก้าวเข้าสู่ขั้นภาวนา

.
อย่าไปคิดว่า ทำทานแล้ว
พอแล้วได้ทำบุญแล้ว
อันนี้เป็นเสี้ยวหนึ่งของบุญ
เสี้ยวใหญ่ยังไม่ได้ทำกัน

.
เสี้ยวใหญ่ก็คือ "การภาวนา"
..ต้องภาวนา..
ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
จนกว่าจะหลุดพ้น

.
จนกว่าจะทำลาย
กิเลสตัณหาอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่น
ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้เท่านั้น

.
ถึงเรียกได้ว่า
"ได้ทำบุญเต็มที่ในโลกนี้แล้ว"
..........................................
.
คัดลอกการแสดงธรรม
ธรรมะบนเขา10/12/2556
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี










" หลายคนคิดว่า...
ความรัก คือ...สิ่งที่ดี ที่สุด
ควรมอบให้กัน มีให้กันและกัน
แต่ทุกคนหารู้ไม่ว่า...
ความรัก
คือ สิ่งที่เลวร้าย ที่สุด

เพราะความรัก...
ทำให้คน แทบจะทุกคน ทำอะไรก็ได้
เพื่อ...คนที่เรารัก
แม้สิ่งนั้น...
จะเป็นสิ่งที่เลวทราม สกปรก โหดร้าย
ขนาดไหน

แต่...
ถ้าทุกหัวใจ จะเปลี่ยน จาก...รัก
มาเป็นสงสาร เมตตา ผู้อื่น ที่ไม่ใช่
คน ที่เรารัก

ให้ ใจ...ของเรา
กับผู้อยู่ใกล้-ไกล มองไปกว้าง ๆ หยิบยื่น
ความสงสาร
จาก...ใจ ให้เขาบ้าง

ลองทำดูสักครั้ง...
แล้วหันกลับมาดู ถามหัวใจของเราเอง
ว่า...จริงไหม ?
ภัยที่ร้ายกาจ ที่สุด คือ...รัก

เมื่อไม่รัก...
ความลำเอียง ก็...ไม่เกิดขึ้น
ความเป็นธรรม
ที่ทุกคนใฝ่หา จะเบ่งบาน

แทน...
ไฟ แห่ง...ภัยร้าย คือ...รัก."

คุณแม่จันดี โลหิตดี










แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกเจ้าไว้
แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง
แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย
คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด
เวียนกำเนิด ในภพทั้งสาม ภพทั้งสาม คือเฮือนเจ้าอยู่ ”

(พ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต )








ผู้ปฏิบัติ ควรกระตือรือร้น
ขวนขวายช่วยตน ให้เข้าถึงกระแสธรรม
ถ้าใครไม่ตั้งใจปฏิบัติจริงแล้ว
ย่อมไม่รู้รสเสียเลย จะเปรียบได้
เหมือนนายโคบาลที่รับจ้างเลี้ยงโค
ไม่ได้ดื่มรสแห่งนมโค ฉะนั้น
พระพุทธศาสนา ท่านก็ชี้ไว้ว่า
ปริยัติ-เรียนรู้คัมภีร์
ปฏิบัติ-ดีรู้ทันกิเลส
ปฏิเวธ-รู้แล้วละวาง ดังนี้

ท่านพ่อลี ธัมมธโร








" เมื่อจิตเคลื่อนเมื่อใด...
ก็เป็นสมมุติสังขาร เมื่อนั้น ท่านจึงให้พิจารณาสังขาร(ความปรุงแต่ง)
คือ จิต...
มันเคลื่อนไหว นั่นเอง เมื่อมันเคลื่อนไหวออกไป
ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เมื่อผู้รู้...
รู้ ตามความเป็นจริงของจิต หรือเจตสิก เหล่านี้
จิต...
ก็ไม่ใช่เรา สิ่งเหล่านี้มีแต่ของทิ้ง ทั้งหมด
ไม่ควรเข้าไปยึด ไปหมายมั่นทั้งนั้น

เหมือนกับตะเกียง เป็นตัว...ผู้รู้
แสงสว่างของตะเกียง มันจะเป็นอย่างไร ก็ช่างมัน
มัน เกิดจากผู้รู้ อันนี้
ถ้าจิตนี้...ไม่มี
ผู้รู้...ก็ไม่มีเช่นกัน มันคือ...อาการของพวกนี้

ฉะนั้น...
สิ่งเหล่านี้ รวมแล้วเป็นนามหมด
ท่านว่า จิตนี้...
ก็ชื่อว่า...จิต มิใช่สัตว์ มิใช่บุคคล มิใช่ตัว
มิใช่ตน มิใช่เรา มิใช่เขา
ธรรมนี้...
ก็สักว่า...ธรรม มิใช่ตัวตน เรา เขา ไม่เป็นอะไร

(พระศาสดา)ท่าน ให้เอาที่ไหน
เวทนา ก็ดี สัญญา ก็ดี สิ่งทั้งหลายเหล่านี้
ล้วนแต่เป็นขันธ์ ๕
ท่านให้วาง...

สิ่งทั้งหลายที่จิตคิดไป ทุกสิ่งทุกอย่าง เหล่านี้
ล้วนแต่...
เป็นสังขาร(ความปรุงแต่ง)ทั้งหมด
เมื่อรู้แล้วท่านให้ วาง...
เมื่อรู้แล้วท่านให้ ละ...
ให้รู้...สิ่งเหล่านี้ ตามความเป็นจริง
ถ้าไม่รู้ ตามความเป็นจริง ก็ทุกข์
ก็ไม่ วาง...สิ่งเหล่านี้ได้

เมื่อรู้...
ตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้
ก็เป็นของหลอกลวง
สมกับที่ พระศาสดาตรัสว่า จิตนี้...
ไม่มีอะไร
ไม่เกิดตามใคร ไม่ตายตามใคร
จิต...
เป็นเสรีรุ่งโรจน์โชตการ ไม่มี เรื่องราวต่าง ๆ
เข้าไปอยู่ในนั้น
ที่จะมีเรื่องราว ก็เพราะ...
มันหลง สังขารนี่เอง หลง อัตตานี่เอง

พระศาสดาจึงให้มองดู...จิต ของเรา
เบื้องแรก...
มัน มีอะไร ไม่มี อะไรจริง ๆ
สิ่งเหล่านี้...
มิได้ เกิดด้วย มิได้ ตายด้วย
ถูกอารมณ์ดี มากระทบ ก็มิได้ดีด้วย
ถูกอารมณ์ร้ายมากระทบ ก็มิได้ร้ายไปด้วย
เพราะรู้ตัวของตัว อย่างชัดเจน
รู้ว่า...
สภาวะเหล่านั้น ไม่เป็นแก่นสาร
ท่านเห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ตัวผู้รู้นี้ รู้ตามความเป็นจริง
ผู้รู้...
มิได้ ดีใจไปด้วย มิได้ เสียใจไปด้วย
อาการ...ที่ดีใจไปด้วย นั่นแหละเกิด
อาการ...ที่เสียใจไปด้วย นั่นแหละตาย
ถ้ามันตาย ก็เกิด ถ้ามันเกิด ก็ตาย
ตัวที่เกิด ที่ตาย นี่แหละ เป็น...วัฏฏะ
เวียนว่าย ตาย-เกิด อยู่...ไม่หยุด

เมื่อจิตผู้ปฏิบัติ เป็นอยู่อย่างนั้น
ไม่ต้องสงสัย...
ภพ มีไหม ? ชาติ มีไหม ? ไม่ต้องถามใคร
พิจารณาอาการสังขาร เหล่านี้แล้ว
จึงได้ปล่อยวาง...สังขาร
วาง...ขันธ์เหล่านี้
เป็นเพียง...ผู้รับทราบไว้ เฉย ๆ
มันจะดีขึ้นมา ท่าน ก็ไม่ดีกับมัน
เป็นคน ดู...เฉย ๆ
ถ้ามันร้ายขึ้นมา ท่าน ก็ไม่ร้ายกับมัน
เพราะมันขาด จาก...ปัจจัยแล้ว

เมื่อรู้ตามความเป็นจริง...
ปัจจัย ที่จะส่งเสริมให้เกิด ไม่มี
เมื่อถูกอารมณ์ ที่ไม่ชอบใจ มากระทบ
มันก็เป็น...อาการ ขึ้นกับใจเรา
เรา ติดมันไหม ?
เรา วางมันได้ไหม ?
อาการ...ที่ชอบใจนั้น เกิดขึ้นมา

เรา รู้แล้ว...
ผู้รู้...
เอาความ ไม่ชอบใจ ไว้ในใจหรือเปล่า ?
หรือว่า...เห็นแล้ว วาง...

ถ้าเห็น...
สิ่งที่ไม่ชอบใจแล้ว ยังเอาไว้ในใจ ของเรา
ให้เรียนใหม่...
เพราะ...
ยังผิดอยู่ ยังไม่ยิ่ง
ถ้ามันยิ่งแล้ว...
มันวาง...ให้ดู...อย่างนี้."

หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง









หลวงปู่ชาบอกว่า. ถ้าเราตั้งใจรักษาศีล. จิตก็เป็นสมาธิเอง ตามหลักธรรมชาติ

หลวงพ่อชา สุภัทโท







ธรรมะพระพุทธเจ้าไม่ใช่ทางขนเอากิเลส ทางแห่งความหลง ทางแห่งความทะยานอยาก ทางอวิชชา จะมานั่งกราบพระพุทธรูปขอเลข ขอหวย บนบานศาลกล่าวก็ไม่ใช่ บางคนมาวัด มานั่งกราบพระแล้วขอบนบานศาลกล่าว ติดสินบนแม้กระทั่งพระพุทธรูป กลัวพระพุทธรูปไม่ช่วยเหลือ ก็ต้องไปบนพญานาค บนผี บนสาง เอาแต่ความบ้าจะทำไป สิ่งเหล่านี้เขาเรียกว่าทางหลง ทางไม่เข้าใจ ทางกิเลสตัณหา

มาวัดก็ต้องมารักษาศีล ภาวนา รักษากาย วาจา ใจ จะมาหาไหว้พระแล้วว่าได้บุญก็ไม่ถูกอีกละ เพราะบุญนี้เกิดได้ทุกที่ทุกเวลา ไหว้พระพุทธรูปที่บ้านก็ได้บุญ ไหว้พ่อไหว้แม่ก็ได้บุญ ไม่ทำชั่วก็ได้บุญ ให้ทานคนลำบากก็ได้บุญ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ก็ได้บุญ ถ้าหากทำดีอะไรเกิดเป็นบุญกุศลไปหมด ว่าแต่ทำให้ดี เจตนาอันดี ไม่ทำชั่ว ไม่ละเมิดผู้อื่น

บางคนมาวัดบ่อยๆไม่ได้มาอะไรหรอก มาขอให้พระทำวัตถุมงคลเอาไปขายหาเงิน เข้ากระเป๋า พอพระท่านไม่ทำให้ก็ว่าให้ท่าน พวกนี้มันมาหาผลประโยชน์เข้าตัวเอง มันถึงมาวัด ทำวัตถุมงคลมาขายแล้วก็เอามาอวดอ้าง โฆษณาหลวงปู่ หลวงพ่อตัวเองที่ทำวัตถุมงคลออกมา ให้มันดัง ให้มันมีราคาจะขายได้กำไรสูงๆ ต้นทุน5บาท 10บาท มาขายเป็นร้อยเป็นพัน

ถ้าจะให้หลวงปู่ดังกับวัตถุมงคล หลวงปู่ละอายต่อพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านมาก หลวงปู่สิงห์ สหธัมโม หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ขาว ปู่บัว ปู่มหาบัว ปู่สิงห์ทอง ปู่หล้า ท่านสอน ท่านเน้นย้ำตลอด ให้หลวงปู่รักษาปฏิปทาพ่อแม่ครูบาอาจารย์ รักษาข้อวัตรพ่อแม่ครูบาอาจารย์

หลวงปู่มหาบุญมี ท่านบอกหลวงปู่ว่า ต่อไปพระกรรมฐานจะเสื่อม ให้หลวงปู่รักษาปฏิปทาไว้ อย่าได้วิ่งหาลาภสักการะ อย่าได้หลงกับโลก ให้เป็นพ่อแม่ครูอาจารย์เขา พระป่าจะเป็นพระเมือง เรื่องภาวนาจะเป็นเรื่องไม่สำคัญต่อพระกรรมฐาน หลวงปู่มาพิจารณาดูมันใช่ตามพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้ พวกเราชาวพุทธก็ควรศึกษา ทำให้เข้าใจในหลักของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ตายไปแล้วถึงจัดงานฆ่าหมูฆ่าวัวทำบุญหากัน แล้วก็ว่าได้บุญ ตอนมีชีวิตอยู่ให้ทำเอา ทำบุญ ทำความดี ละเว้นความชั่ว

บางคนขนาดตาย คนอยู่ยังสร้างกรรมสร้างเวร ฆ่าหมู ฆ่าวัว เลี้ยงคนมางานศพ พ่อแม่ตัวเองตายไม่พอ ต้องทำบาปฆ่าสัตว์ให้ตายไปด้วย อย่าว่าแต่งานศพเลยฆ่า งานบวชทุกวันนี้ ยิ่งทำด้วยความไม่เข้าใจกับการปฏิบัติของชาวพระพุทธเรา จะบวชทั้งทีต้องฆ่าหมู ฆ่าวัว ฆ่าไก่ เลี้ยงคนมาร่วมงาน จัดงานเอาเครื่องเสียงมาร้องเพลง ดื่มสุรายาเมา ประกาศให้คนรู้ว่าตัวเองได้บวชแล้วนะ กลัวคนไม่รู้ว่าได้บวช บวชได้ไม่ถึง30วันก็สึกออกมา หลวงปู่ว่ามันบวชเอาหน้า บวชเอาเปลือก บวชเอากิเลสตัวเอง

การบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาจริงๆมันต้องบวชมาตั้งแต่ข้างใน รักษาศีล5พื้นฐานให้ได้ก่อน ศึกษานวโกวาท จะมาดื่มเหล้าเข้าวัดมาบวช มาเต้นรอบโบสถ์ เหมือนคนไร้สติก็ไม่ใช่ เข้าวัดมันต้องสงบ ต้องสำรวมระวังกาย วาจา ใจ จะมาเต้นรอบโบสถ์ วิหาร ศาลา มีแต่พวกผีบ้านั้นละทำกัน

โอวาทธรรม
#หลวงปู่ชนะ #อุตฺตมลาโภ
#วัดถ้ำพวง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
(โอวาท ณ ถ้ำพวง เมษายน 2562 )










#การเพ่งที่กายอย่างเดียว_ตลอดทุกอิริยาบถ_ตามหนังสือมุตโตทัย ก็เป็นการถูกต้องดีแล้ว.

เพราะมีสติอยู่กับกาย.
#ตรงกับคำที่ #พระมหากัสสปะกล่าว

และท่านก็สมาทานว่า..

#เราจะพิจารณากายเป็นอารมณ์.

ทั้งกายนอก และกายใน กายใกล้. ให้เป็นสักแต่ว่า. ดิน น้ำ ไฟ ลม. มันจะรวมหรือไม่รวม. ก็เอากายเป็นตัวประกัน.

#เมื่อมันยังไม่หน่าย

ไม่คลายความกำหนัด ตราบใดก็จำเป็นจะได้ม้างกาย รื้อกายให้เห็นตามเป็นจริงว่า..

เป็นของปฏิกูล น่าเกลียด โสโครก พร้อมทั้งมีโรคต่างๆ เกิดขึ้น. สารพัดโรคจิปาถะ.

พระพุทธศาสนาจึงยืนยันว่า..

#กายนี้มีทุกข์มากมีโทษมาก
#เหล่าอาพาธต่างๆย่อมตั้งอยู่ในกายนี้

โรคในตา โรคในหู โรคในจมูก โรคในลิ้น โรคในฟัน โรคในปาก โรคในทวารหนักทวารเบา โรคกลาก โรคเกลื้อนกุฏฐัง โรคฝีทุกชนิด เหล่านี้เป็นต้น. ถ้าจะไล่โรค. ให้ครบในกายนี้. ก็จะไม่มีที่เสียแล้ว.

#การที่พิจารณาอย่างนี้เป็นสติ_และปัญญาไปในตัว

เป็นศีล สมาธิ ปัญญากลมกลืนกันด้วย คนเราและสัตว์ทั้งปวงตลอดทั้งเทวดาพรหม ถ้ารู้เท่ากายแล้ว การหลงหนังหุ้มก็เบาลง...

หลวงปู่หล้า เขมปัตโต










"การอยู่ในสังคมโลกต้องมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง มีสรรเสริญ นินทา เป็นเรื่องปกติของโลก แต่ผู้ที่ดำเนินอยู่ในโลกต้องรู้จักพิจารณา หนักแน่น เอาคำสรรเสริญ นินทา มาพิจารณา ว่าจริงอย่างเขาว่าไหม สิ่งไหนถูกผิด สิ่งไหนควรแก้ไข การพิจารณาตัวเองไม่ใช่ปล่อยให้กิเลสมีอำนาจควบคุมในการพิจารณา ต้องใช้สติปัญาพิจารณาให้ท่องแท้ ไม่ใช่ตัวทำผิดก็ยังคิดว่าถูกนั่นกิเลสมีอำนาจในการควบคุม การทำงานต้องมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง คิดเห็นแตกต่างกัน ก็ควรให้อภัยซึ่งกันและกัน ยอมรับความคิดเห็นคนอื่นแล้วนำมาปรับใช้ อย่าเอาความคิดตนเป็นใหญ่"

หลวงปู่ไม อินทสิริ








"..บุคคลจะพ้นทุกข์ได้นั้น
ก็เพราะมาพยายามภาวนา
ทำจิตใจให้สงบ
ทวนกระแสจิตเข้ามา
ในปัจจุบัน เห็นตามว่า
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ตัวตน

อะไรเมื่อมันมาเห็นแจ้ง
มันก็ตื่นตัว รู้ว่าตนนั้น
มาหลงอาศัยอยู่ในของไม่เที่ยง

มาอาศัยในสิ่งที่ บังคับไม่ได้
ไม่เป็นไปตามใจหวัง

เมื่อมันรู้ด้งนี้ มันก็ปล่อยวาง
นี่แหละ "ไม่ยึด ไม่ถือ
ไม่สำคัญว่าเป็นตัวเป็นตน"
ก็เป็นอันว่า รู้จักต้นเหตุ
แห่งทุกข์ คืออุปาทาน
ความยึดถือ

เมื่อละความยึดถือนี่ได้
ทุกข์ทางใจมันก็ด้บ
ไปหมดเลย เป็นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้นเมื่อทราบ
ความจริงอย่างนี้แล้ว
พึงพากันตั้งใจ
บำเพ็ญทางจิตใจนี้
ให้เป็นไปดังแสดงมา "

โอวาทธรรม
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร