วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2021, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




images.png
images.png [ 12.32 KiB | เปิดดู 2314 ครั้ง ]
ปริญญา ๓ (การกำหนดรู้, การทำความรู้จัก, การทำความเข้าใจโดยครบถ้วน )

๑. ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยให้เป็นสิ่งอันรู้แล้ว, กำหนดรู้ขั้นรู้จัก,
กำหนดรู้ตามสภาวลักษณะ คือ ทำความรู้จักจำเพาะตัวของสิ่งนั้นโดยตรง
พอให้ชื่อว่าได้เป็นอันรู้จักสิ่งนั้นแล้ว เช่นว่ารู้ นี้คือเวทนา
เวทนาคือสิ่งที่มีลักษณะเสวยอารมณ์ดังนี้เป็นต้น )

๒. ตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา, กำหนดรู้ขั้นพิจารณา,
กำหนดรู้โดยสามัญลักษณะ คือ ทำความรู้จักสิ่งนั้นพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา เช่นว่า เวทนาไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ดังนี้เป็นต้น )

๓. ปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละ, กำหนดรู้ถึงขั้นละได้,
กำหนดรู้โดยตัดทางมิให้ฉันทราคะเกิดมีในสิ่งนั้น คือรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แล้ว ละนิจจสัญญาเป็นต้น ในสิ่งนั้น เสียได้ )

ปริญญา ๓ นี้ เป็นโลกียะ มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เป็นกิจในอริยสัจข้อที่ ๑
คือ ทุกข์ ในทางปฏิบัติ จัดเข้าใน วิสุทธิข้อ ๓ ถึง ๖ คือ ตั้งแต่นามรูปปริเฉท
ถึง ปัจจยปริคคหะ เป็นภูมิแห่งญาตปริญญา ตั้งแต่กลาปสัมมสนะ ถึง อุทยัพพยานุปัสสนา
เป็นภูมิแห่งตีรณปริญญา ตั้งแต่ ภังคานุปัสสนาขึ้นไป เป็นภูมิแห่งปหานปริญญา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2021, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




02.jpg
02.jpg [ 115.8 KiB | เปิดดู 988 ครั้ง ]
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ
เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
เพื่อศึกษาตีรณปริญญาและวิปัสสนาญาณ ๑๖
และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตีรณปริญญา
กับวิปัสสนาญาณในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุป วิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา
ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า

วิปัสสนาภาวนา คือ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา
เห็นแจ้งในไตรลักษณ์ ตามหลักมหาสติ-ปัฏฐาน
โดยการกำหนดรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม หรือโดยย่อได้แก่
การกำหนดรู้รูปนาม อันเป็นผลก่อให้เกิดวิปัสสนาญาณตามลำดับ

ตีรณปริญญา กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา
เป็นปริญญาต่อเนื่องมาจากญาตปริญญา
และส่งผลให้เกิดปหานปริญญา
คัมภีร์อรรถกถาปปัญจสูทนี มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ว่า
พิจารณา กลาปะเป็นต้น มีอนุโลมญาณเป็นที่สุด
แต่ไม่เด่นชัดนัก ที่เด่นชัดปรากฏโดยทั่วไปคือ
กลาปสัมมสน-ญาณ และอุทยัพพยญาณเป็นภูมิ
ของตีรณปริญญา วิปัสสนาญาณ หมายถึงการพิจารณา
รูปนามเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ตั้งแต่การพิจารณาที่นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้น มีปัจจ-เวกขณญาณเป็นที่สุด

ความสัมพันธ์ระหว่างตีรณปริญญากับวิปัสสนาญาณ
ปัญญาพิจารณาเป็นไปในกลาป-สัมมสนญาณ เป็นต้น
มีอนุโลมญาณเป็นที่สุด คือ พิจารณาเห็นการเกิดขึ้นและดับไป ทำลายไป
เป็นของน่ากลัว ทำให้ละเสีย แตกสลาย ทำลายไป
เต็มไปด้วยทุกข์โทษต่าง ๆ เป็นของน่าเบื่อหน่าย
จึงใคร่พ้นไปเสียจากรูปนามเหล่านี้ เมื่อจิตรู้เท่าทัน
รูปนามอารมณ์ที่ถูกรู้จะดับไป หายไป แต่จิตปราศจาก
ความสะดุ้งกลัวในรูปนาม ปราศจากการเห็นโทษของรูปนาม
ปราศจากความเบื่อหน่ายในรูปนาม ปราศจากความหลุดพ้นจากรูปนาม
ปราศจากทุกข์ ปราศจากสุข ปราศจากความยินดี
ปราศจากความยินร้าย มีเพียงจิตที่เป็นกลางวางเฉยต่อทุก ๆ อารมณ์
และกำหนดรู้ได้ดีเสมอกันจนก้าวเข้าสู่อนุโลมญาณตามลำดับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2022, 06:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




dark-2564614_1280.jpg
dark-2564614_1280.jpg [ 58.34 KiB | เปิดดู 987 ครั้ง ]
คำว่า ตสฺส เทฺว ธมฺมา โกสลฺลํ คจฺฉนฺติ ทสฺสนโกสลฺลญฺจ ภาวนาโกสลฺลญฺจ (ธรรม ๒ ประการ
ของเขา คือทัสสนโกศล และภาวนาโกศล ย่อมถึงความชำนาญ) มิใช่หมายถึงพระเสกขะอย่างเดียว
แม้แต่กัลยาณปุถุชนผู้เจริญวิปัสสนาก็นับเข้าในเรื่องนี้ กล่าวคือ กัลยาณปุถุชนผู้บรรลุ นิพพิทาญาณแล้ว
ย่อมจะบรรลุทัสสนโกศล คือ ความชำนาญหยั่งเห็น ได้แก่ โสดาปัตติมรรคญาณ ส่วนพระเสกขะบุคคล
ย่อมบรรลุภาวนาโกศล คือ ความชำนาญในการอบรม ได้แก่ มรรคญาณและผลญาณเบื้องสูง

ทัสสนปริญญา คือ ญาตปริญญา ส่วนภาวนาปริญญา คือ ตีรณปริญญา และปหานปริญญา ในที่นี้กล่าว
ปริญญา ๒ ประเภท ในบางแห่งกล่าวถึงปริญญา ๓ ประเภท คือ
๑. ญาตปริญญา การรู้ชัดด้วยการกำหนดรู้สภาวลักษณะ คือ ลักษณะพิเศษของรูปนาม หมายถึง
ปริเฉทญาณ และปัจจยปริคหญาณ
๒. ตีรณปริญญา การรู้ชัดด้วยการพิจารณาสามัญญลักษณะ คือ ลักษณะทั่วไปที่เป็นความไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน หมายถึง สัมมสนญาณ และอุทยัพพยญาณ
๓. ปหานปริญญา การรู้ชัดด้วยการละอนิจจสัญญาเป็นต้น หมายถึง วิปัสสนาญาณ ตั้งแต่
ภังคญาณเป็นต้นไป

ญาณที่กำหนดรู้รูปนามที่ควรรู้นั้นมี ๕ ประการ คือ อภิญญา(การรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง)
ปริญญา(การรู้ชัด) ปหานะ (การละ) ภาวนา (การเจริญ) และสัจฉิกิริยา (การกระทำให้แจ้ง)
ถามว่า : ในญาณ ๕ ประการเหล่านั้น อภิญญา (การรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง) คืออะไร
ตอบว่า : อภิญญา คือ ญาณที่หยั่งเห็นลักษณะของตนแห่งสภาวธรรม อันเป็นธรรมปฏิปทา
(ความแตกฉานในเหตุ) และอรรถปฏิสัมภิทา(ความแตกฉานในผล)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2022, 16:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1-32.jpg
1-32.jpg [ 60.63 KiB | เปิดดู 1052 ครั้ง ]
..........
ในอัฏฐกฤาแห่งนิทานสังยุต(๑๐๓) ได้กล่าวไว้ว่า

ผสฺสาหาเร ตีหิ ปริญฺญาหิ ปริญฺญาเต ติสฺโส เวทนา ปริญฺญาตาว โหนฺติ
ตมฺมูลกตฺตา สมฺปยุตฺตตฺตา จ.

เมื่อบุคคลกำหนดรู้ผัสสาหารด้วยปริญญา ๓ ก็เป็นอันกำหนดรู้เวทนา ๓
เพราะเวทนามีผัสสะนั้นเป็นเหตุเกิด และเกิดพร้อมกับผัสสะนั้น

อนึ่ง ปริญญา ๓ ที่กล่าวถึงในที่นี้ ประกอบด้วย
๑.ญาตปริญญา คือญาณที่รู้สภาวลักษณะของรูปนาม ได้แก่ นามรูป-
ปริจเฉทญาณและปัจจยปริคคหญาณ
๒. ตีรณปริญฺญา คือญาณที่รู้สามัญญลักษณะกล่าวคือไตรลักษณ์ ความไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ได้แก่ ส้มมสนญาณและอุทยัพพยญาณ
๓. ปหานปริญฺญา คือญาณที่ทำหน้าที่ละนิจจสัญญา เป็นต้นได้แก่ วิปัสสนา
ญาณตั้งแต่ภังคญาณเป็นต้นไปจนถึงมรรคญาณ

วิญฺญาณสฺมี หิ ปริญฺญาเต ตํ ปริญฺญาตเมว โหติ ตมฺมูลกตฺตา
สหุปฺปนฺนตฺตา จ.

(นิทานสังยุตอัฎฐกถา ๑๐๕)

เมื่อโยคีกำหนดรู้วิญญาณแล้ว รูปนามนั้นก็เป็นอันโยคีนั้นกำหนดรู้ไปด้วย
นั่นเทียว เพราะรูปนามมีวิญญาณนั้นเป็นมูลเหตุ และเพราะเกิดพร้อมกัน

ข้อความอัฏฐกถาข้างตันนี้ แสดงให้ทราบว่า "โยคีจักรู้เจตสิกอื่นที่เกิด
ร่วมพร้อมๆกับจักขุวิญญาณนั่นเอง หากรู้ผัสสะก็จะรู้เวทนาที่เกิดจากผัสสะและ
สัมปยุตกับผัสสะนั้นไปด้วย หากรู้วิญญาณ ก็จักรู้นามรูปที่เกิดแต่วิญญาณนั้น
ได้ด้วย สรุปก็คือ เพียงแค่โยคีรู้สภาวธรรมที่ปรากฏอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ได้ชื่อว่า
เป็นผู้รู้จิตเจตสิกทั้งปวงนั่นเทียว ก็ คำว่า "สหุปปนฺนตฺตา" ซึ่งเป็นคำแสดงเหตุนั้น
เป็นคำที่ยืนยันข้อที่ว่า "เมื่อโยคีรู้รูปนามอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมได้ชื่อว่าเป็น
ผู้รู้รูปนามที่เกิดขึ้นพร้อมกับอื่นๆไปด้วย ชีงเกี่ยวกับประเต็นนี้ จะได้ยกหลักฐาน
จากมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พหุธาตุกสูตร ทั้งพระไตรปิฎกและอัฏฐกถา
มาเป็นเครื่องสนับสนุนดังนี้

ฉยิมา อานนุท ธาตุโย ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ
วิญณาณธาตุ. อิมา โข อานนฺท ฉ ธาตุโย ยโต ชานาติ ปสุสติ, เอตฺตาวตาปิ
โข อานนฺท ธาตุกุสโล ภิกขูติ อสํ วจนาย.
(ม.๗/๐๐๗)

ดูก่อนอานนท์ นิสสัตตนิขชีวธาตุมี ๖ ประเภทดังนี้ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
เตโซธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ และวิญญาณธาตุ เมื่อภิกษุรู้เห็นธาตุทั้ง ๖ ประเภท
นี้ด้วยวิปัสสนาญาณและมรรคญาณใด เขาควรได้รับการยกย่องว่า เป็นภิกษุผู้ฉลาด
ในธาตุด้วยการรู้เห็น เพียงเท่านี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2022, 04:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




istockphoto-528812355-612x612.jpg
istockphoto-528812355-612x612.jpg [ 57.69 KiB | เปิดดู 1035 ครั้ง ]
...........
ส่วนในคัมภีร์อัฏฐกถาของพระสูตรนี้ได้อธิบายไว้ว่า

ชานาติ ปสสตีติ สห วิปสฺสนาย มคฺโค วุตฺโต. ปฐวีธาตุอาทโย สวิญฺญาณก-
กายํ สุญฺญโต นิสฺสตฺตโต ทสฺเสตุ๋ วุตฺตา. ตาปิ ปุริมาหิ อฎฺฐารสหิ ธาตูทิ
ปูเรตพฺพา. ปูเรนฺเตน วิญฺญาณธาตุโต นีหริตฺวา ปูเรตพุพา. วิญฺญาณธาตุ เหสา
จกฺขุวิญฺญาณาทิวเสน ฉพุพิธา โหติ. ตตฺถ จกฺขุวิญฺณาณธาตุยา ปริคฺคหิตาย
ตสฺสา วตฺถุ จกฺขุธาตุ อารมฺมณํ รูปธาตูติ เทฺว ธาตุโย ปริคฺคหิตาว โหนฺติ. เอส
นโย สพฺพตฺถ. มโนวิญฺญาณธาตุยา ปน ปริคฺคหิตาย ตสฺสา ปุริมปจฺฉิมวเสน
มโนธาตุอารมฺมณวเสน ธมฺมธาตูติ เทว ธาตุโย ปริคฺคหิตาว โทนฺติ
.
(ม.อฎ ๘/๒๒)

ด้วยพระดำรัสว่า ชานาติ ปสฺสติ นี้พระพุทธองค์ตรัสหมายเอามรรคพร้อม
ด้วยวิปัสสนา(มิได้หมายเอาสุตมยปัญญาหรือจินตามยปัญญา)ส่วนปฐวีธาตุเป็นตัน
ตรัสไว้เพื่อแสดงร่างกายที่มีใจครองว่าเป็นสภาวะที่ว่างเปล่า ไม่ใช่สัตว์บุคคล
ธาตุทั้ง ๖ ประเกทนั้น พึงเพิ่มให้ครบจำนวนธาตุ ๑๘ ประเภทที่กล่าวมาแล้ว
เมื่อจะเพิ่มให้ครบพึงเพิ่มโดยนำมาจากวิญญาณธาตุ ดังนี้คือ วิญญาณธาตุมี ๖
ประเภท โดยจำแนกเป็นจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น

ในบรรดาวิญญาณธาตุ ๖ ประการเหล่านั้น เมื่อบุคคลกำหนดรู้จักขุวิญญาณ
ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ธาตุทั้ง ๒ คือ จักขุธาตุ(จักปสาท) อันเป็นที่อาศัยเกิด
ของจักขุวิญญาณนั้น และรูปธาตุ(รูปารมณ์) อันเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณนั้น
ไปด้วย พึงทราบโดยนัยนี้แม้ในวิญญาณธาตุทั้งปวง อนึ่ง เมื่อบุคคลกำหนดรู้
มโนวิญญาณธาตุแล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ธาตุทั้ง ๒ คือ (๑) มโนธาตุซึ่งมาในรูปของ
สัมปฏิจฉนจิตซึ่งเกิดก่อนและปัญจทวาราวัชนจิตซึ่งเกิดภายหลังมโนวิญญาณธาตุ
นั้น และ(๒) ธรรมธาตุซึ่งเป็นฝ่ายอารมณ์ ด้วยเหตุนี้...พระพุทธดำรัสตรัสเทศนา
เกี่ยวกับธาตุ ๖ ประการนี้ จึงเป็นเทศนาที่แสดงหลักการปฏิบัติเพื่อการออกจาก
วัฏทุกข์ของภิกษุรูปหนึ่งตั้งแต่ต้นจนจบ

อนึ่ง พระดำรัสว่า ชานาติ ปสฺสติ (ย่อมรู้เห็น) พระอัฏฐกถาจารย์อธิบายว่า
เป็นการรู้เห็นด้วยวีปัสสนาญาณและมรรคญาณไม่ใช่เป็นการรู้เห็นด้วยสุตมยปัญญา
การสดับหรือจินตามยปัญญากล่าาวคือการตรึกตรองนึกคิดซึ่งมิได้รู้เห็นจาก
ประสบการณ์ ตรงจากการเจริญภาวนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2022, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1661828549675.jpg
FB_IMG_1661828549675.jpg [ 85.46 KiB | เปิดดู 1021 ครั้ง ]
พระสูตรข้างตันกล่าวว่า หากบุคคลผู้รู้ธาตุ ๖ ด้วยวิปัสสนาญาณและ
มรรคญาณไชร้ บุคคลนั้นก็ควรที่จะเรียกว่าเป็นพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธาตุ อนึ่ง
ในการแสดงนั้นพึงทราบว่า บุคคลผู้รู้ธาตุ : นั้นจะรู้โผฏฐัพพธาตุและวิญญาณธาตุ
เท่านั้นได้อย่างบริบูรณ์ เฉพาะส่วนในการรู้ธัมมธาตุก็จะรู้อาโปธาตุและอากาศธาตุ
เท่านั้น มิได้รู้ธัมมธาตุอื่นพร้อมด้วยธาตุเหล่านี้ คือ จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ
ชิวหาธาตุ กายธาตุ รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ และโผฎฐัพพะธาตุ
แต่อย่างใด อนึ่ง สำหรับวิญญาณธาตุจำแนกออกเป็น ๖ อย่างได้แก่ จักขุวิญญาณธาตุ
โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ และ
มโนวิญญาณธาตุ

เมื่อโยคีสามารถรู้จักขุวิญญาณธาตุได้แล้ว โยคีนั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ธาตุที่
เกี่ยวข้องกับจักขุวิญญาณธาตุนั้นด้วย เช่น รู้จักขุธาตุอันเป็นที่ตั้งที่อาศัยของ
จักขุวิญญาณธาตุ และรู้รูปธาตุอันเป็นรูปสีสันที่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณธาตุ
ด้วยนั่นเทียว โดยทำนองเดียวกัน

เมื่อโยคีรู้สภาวะได้ยิน คือ โสตวิญญาณธาตุแล้ว ชื่อว่าได้รู้ความใสของหูคือ
โสตธาตุและเสียงคือสัททธาตุ
เมื่อโยคีรู้สภาวะรู้กลิ่น คือ ฆานวิญญาณธาตุแล้ว ชื่อว่าได้รู้ความใสของ
จมูกคือฆานธาตุและกลิ่นคือคันธธาตุ
เมื่อโยคีรู้สภาวะลิ้มรส คือ ชิวหาวิญญาณธาตุแล้ว ชื่อว่าได้รู้ความใสของ
ลิ้นคือชิวหาธาตุและรสคือรสธาตุ
เมื่อโยคีรู้สภาวะกระทบสัมผัส คือ กายวิญญาณธาตุแล้ว ชื่อว่าได้รู้ความใส
ของร่างกายคือกายธาตุและสัมผัสคือโผฎฐัพพธาตุ
เมื่อโยคีรู้สภาวะนึกคิด คือ มโนวิญญาณธาตุแล้ว ชื่อว่าได้รู้มโนธาตุคือ
สัมปฏิจฉนจิตที่เกิดก่อนและปัญจทวาราวัชชนจิตที่เกิดภายหลังและมโนธาตุ
คือมโนสัมผัส

สรุปได้ว่า ในพระไตรปิฎกและอัฏฐกถาข้างต้นนั้น แม้จะเป็นการแสดงถึง
การรู้เห็นเพียงธาตุ ๖ ประการโดยปธานนัย ก็ตาม แต่โยคีนั้นก็ได้ชื่อว่ารู้ธาตุอื่นๆ
๑๘ อย่างด้วยนั่นเทียว ด้วยเหตุนี้ การรู้เห็นวิญญาณธาตุอย่างใดอย่างหนึ่ง จะทำ
ให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้รูปอันเป็นที่อาศัยของวิญญาณนั้นตลอดถึงรูปนามอันเป็นอารมณ์
พร้อมกับจิตดวงหน้าและดวงหลังด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร