วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 07:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2022, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


“ปฏิบัติ(ภาวนา)”

.ปฏิบัติไปเรื่อยๆ
อย่าหยุดการปฏิบัติ
อย่างอื่นหยุดได้
แต่การปฏิบัติ..ไม่ควรหยุด.
……………………………………………
.
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
คำถามจากซูม
วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔






"... อดีตจะรู้ไปทำไม
อนาคตจะรู้ไปทำไม
รู้ปัจจุบันสิ จึงจะตัดกิเลส
และหมดทุกข์ได้... "

#หลวงปู่บุดดา_ถาวโร
#วัดกลางชูศรีเจริญ_จังหวัดสิงห์บุรี







#อย่าลืมพุทโธ
"...ไปที่ไหนอย่าลืม #พุทโธ เรียกว่า #ตามเสด็จพระพุทธเจ้าตลอดเวลา ถ้าห่างเหินธรรมแล้วใกล้ชิดติดพันกับนรกอเวจีไปเรื่อยๆ นะ..."

โอวาทธรรม #พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
#วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
เทศน์อบรมฆราวาส ๖ ธันวาคม ๒๕๕๐





ศีล นั้นอยู่ที่ไหนมีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่า ผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนาคือจิตใจ คนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่างๆ มีโทษต่างๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงหา หลงขอ
คนที่หา คนที่ขอต้องเป็นทุกข์ ขอเท่าไหร่ยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยากยากเข็ญ

กายกับจิตเราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้มาจากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์ จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เราแล้ว รักษาได้ไม่มีกาล ได้ผลไม่มีกาล

ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ผู้มีศีลย่อมมีความสุข ผู้จักมั่งคั่งบริบูรณ์ไม่อด ไม่ยาก
ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลให้สมบูรณ์ จิตดวงเดียวเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา
ผู้มีศีลแท้เป็นผู้หมดเวรหมดภัย.

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต






“ระวังตัวในคำพูด ยิ่งพูดไม่ดีกับคนอื่นมากเท่าไหร่
พลังงานที่ไม่ดีที่เราสร้างไว้ มันจะเด้งเข้ามาหาตัวเอง
ดังนั้น.. อย่าติใคร อย่าว่าใคร อย่านินทาใคร”

พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า)






“พร แปลว่า ประเสริฐ
จะเกิดขึ้นได้ ต้องสร้างด้วยตัวเอง
การขอพร เป็นจุดเริ่มต้น
แต่จะเป็นจริง หรือไม่
ขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเอง”

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ





"ถ้าเรามีญาณหยั่งรู้
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดในชีวิตเรานั้น
ไม่มีเรื่องบังเอิญเลย"

หลวงปู่ดู่ พรหมปญฺโญ








"พระพุทธองค์ท่านทรงสอนไว้ไม่ให้หายใจทิ้ง ลมหายใจมีค่าให้หมั่นดูลม กาย ใจ จะยืนเดินนั่งนอนให้มีสติกำหนดให้ทันเจริญสติให้ได้ ถึงเวลาให้ทำ ทำบ่อยๆจนชินจิตใจจะสงบสบาย​ ให้คำนึงถึงอายุของตนทุกวัน​ วันคืนที่ล่วงไปแล้วเราทำอะไรไปบ้าง​ ให้เตือนตนเองไม่ให้เสียเวลาและเพลิดเพลินไปในทางกามคุณจนลืมดูลมหายใจของตนเอง​ เกิด​ แก่​ เจ็บ​ ตายเป็นเรื่องจริงให้เราพิจารณาทุกวัน​"

พระธรรมโอวาท​ พระเทพมงคลวัชราจารย์​ (หลวงปู่เหลือง​ ฉันทาคโม)
5​ มกราคม​ 2565





#ผู้ที่ไม่ต้องการที่จะเวียนว่ายตายเกิดอีก

หมายความว่าเมื่อบำเพ็ญฌานได้แล้ว เขาก็ยกอรูปฌานออกเสีย เอาแค่รูปฌาน 4 คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน เอาแค่ฌาน 4 นี้ เอาฌาน 4 นี้มาเป็นกำลัง หันหน้าเข้าสู่วิปัสสนา
.
เมื่อหันหน้าเข้าสู่วิปัสสนา ก็จะไปพบ ไตรลักษณ์ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัส ไตรลักษณ์นั้น มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น ศาสนาอื่น ไม่มี เพราะฉะนั้น ในศาสนาทุกศาสนาจึงไม่มีวิปัสสนา มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา เพราะทุกคนนั้น ปรารถนาแค่เพียงสวรรค์ ปรารถนาแค่เพียงความสุขในเมืองมนุษย์
.
แต่ว่า การที่สำเร็จฌานเหล่านั้น บางทีก็เกิดความเสื่อม เมื่อเกิดความเสื่อมแล้วก็ไปทำความชั่ว สามารถไปตกนรกได้ สามารถไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ เพราะว่ายังไม่ใช่นิยตบุคคล เป็นอนิยตบุคคล ดังนั้น การเวียนว่ายตายเกิด รึว่าการแปรเปลี่ยน ย่อมมีแก่ผู้บำเพ็ญฌาน
.
แต่ว่า ถ้าผู้ใด หันเข้ามาสู่วิปัสสนานั้น วิปัสสนาเป็นทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำคนให้พ้นทุกข์ คือพ้นจากความเกิดแก่เจ็บตายนี้ได้ ดังนั้น ในวิปัสสนา พระพุทธองค์จึงทรงตรัสให้เกิดเป็นไตรลักษณ์
.
ไตรลักษณ์นั้น คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังคือความไม่เที่ยง ทุกขังคือความเป็นทุกข์ อนัตตาคือความไม่ใช่ตัวตน อย่างนี้ ทั้งสามประการนี้ ถ้าพิจารณาได้ ก็ถือว่า เราได้เริ่ม วิปัสสนาแล้ว
.
พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสว่า สัพเพ สังขารา อนิจจา ติ สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ย ดา ปัญญา ย ปัสสติ เมื่อใด บุคคลผู้ใด ทำให้เกิด ปรากฏขึ้นแล้ว อัตถ นิพพินติ ทุกเข จากนั้น ผู้นั้น จะเกิดความเบื่อหน่าย เอสะ มัคโค วิสุทธิยา นี้คือหนทางไปสู่พระนิพพาน
.
สัพเพ สังขารา อนิจจา ติ สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ย ดา ปัญญา ย ปัสสติ เมื่อใด ผู้ใด ทำให้ปรากฏ อัตถ นิพพินติ ทุกเข เมื่อนั้น บุคคลผู้นั้น จะเกิดความเบื่อหน่าย เอสะ มัคโค วิสุทธิยา นี่คือหนทางพระนิพพาน
.
สัพเพ ธัมมา อนัตตา ติ ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน ย ดา ปัญญา ย ปัสสติ บุคคล ผู้ใด ทำให้ปรากฏขึ้นแล้ว อัตถ นิพพินติ ทุกเข บุคคลผู้นั้น ย่อมจะบังเกิดความเบื่อหน่าย เอสะ มัคโค วิสุทธิยา นี่คือหนทางพระนิพพาน
.
พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสยืนยันเช่นนี้ ต้องการที่จะให้พุทธบริษัทพ้นไปจากทุกข์เสีย ไม่ต้องมาพากันเวียนว่ายตายเกิดลำบากลำบนกันอยู่ในเมืองมนุษย์นี่
.
เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้ยกวิปัสสนาขึ้น เพื่อให้พากันพิจารณา การพิจารณาทุกข์ การพิจารณาความไม่เที่ยง การพิจารณาถึงความไม่ใช่ตัวตนนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องใช้ฌาน เราจะพิจารณาโดยที่ไม่มีฌานนั้น ย่อมไม่ได้
.
เพราะฉะนั้น อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบำเพ็ญฌานอยู่ดี แต่ไม่จำเป็นต้องบำเพ็ญถึงอรูปฌาน บำเพ็ญแต่เฉพาะรูปฌานเท่านั้นก็พอแล้ว แล้วก็เปลี่ยนมาพิจารณา
.
การพิจารณานั้น ท่านให้ พิจารณา เปรียบเหมือนกันกับผู้ที่ เดินเรือใบ เมื่อเวลาเดินเรือใบไปในกลางทะเล เมื่อเวลาลมจัด ต้องลดใบ เมื่อเวลาลมพอดีก็กางใบ แล้วเรือก็จะแล่นไปตามความประสงค์ หากว่ามีคลื่น ก็ทอดสมอ อย่างนี้เป็นต้น
.
ฉันใดก็ฉันนั้น บุคคลผู้ที่จะบำเพ็ญวิปัสสนา ต้องพิจารณา แต่ว่าการพิจารณาถึงความไม่เที่ยง ความเกิด แก่ เจ็บ ตายนั้น ไม่ใช่ว่า จะให้พิจารณาไปตลอด
.
ก็เหมือนกันกับเรือใบ ที่แล่นไปในทะเลนั้น ต้องไม่แล่นไปตลอด เมื่อเจอลมสลาตัน หรือลมใหญ่ ต้องลดใบทันที มิฉะนั้นเรือจะคว่ำ ถ้าหากว่าเมื่อเวลาจอดไม่ทอดสมอ ถูกคลื่นตีมา เรือก็คว่ำ
.
เพราะฉะนั้น จึงเปรียบเหมือนกันกับผู้บำเพ็ญวิปัสสนา ผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาแล้ว และกลับคืนมาหาความสงบ เมื่อจิตสงบแล้ว ก็ยกออกไปพิจารณาสักครู่หนึ่ง แล้วก็ย้อนกลับคืนมาทำความสงบใหม่ ไม่ให้พิจารณาไปตลอด เวลานั่งสมาธิ
.
เมื่อพิจารณาเช่น พิจารณาถึง ความไม่เที่ยง ร่างกายของคนเรานี้ เกิดมาก็หนุ่มสาว เกิดมาแล้วทีนี้ก็แก่ไป เมื่อแก่ไปแล้ว เนื้อก็เหี่ยว หนังก็ยาน ในที่สุดก็เกิดโรคภัยไข้เจ็บป่วยขึ้น
.
นี่เค้าเรียกว่าเปลี่ยนแปร เปลี่ยนแปลง ต่อจากนั้นก็สิ้นลมหายใจ ก็เรียกว่า ตาย ก็เรียกว่า อนิจจัง มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาแล้วก็ตายไป อย่างนี้คือการพิจารณาวิปัสสนา
.
เมื่อพิจารณาอย่างนี้สักครู่หนึ่ง ก็วางเฉย คือหมายความถึงว่า เราจะต้องตั้งต้นร่างกายอันนี้ ไปตั้งแต่เด็ก แล้วก็เป็นหนุ่มเป็นสาว แล้วก็แก่ชรา แล้วก็มีโรคภัยเบียดเบียน แล้วก็ตายไป
.
การพิจารณาอย่างนี้เรียกว่าวิปัสสนา แต่ต้องพิจารณาเพียงชั่วระยะ เหมือนกันกับเรือ แล่นไปในมหาสมุทร เรือใบ เมื่อถึงเวลาลมแรงก็ลดใบลง ถึงเวลาอันสมควรก็ทอดสมอ อย่างนี้เป็นต้น
.
พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร









หลวงพ่อประสิทธิ์ ถาวโร ได้นำเอาธรรมชาติที่มีปรากฏให้เห็นในวัดมาใช้ในการสอนธรรมะ
“หลวงพ่อแนะนำให้เพ่งดูที่เส้นขอบฟ้า (คือเส้นที่ท้องฟ้าจรดกับผืนน้ำ) แล้วมองย้อนกลับมาดูภายในชีวิตของพวกเราเอง” แม่ชีกล่าว

“หลวงพ่อได้ชี้แนะว่า เส้นขอบฟ้ามีเพียงแค่ตาเราที่มองเห็นความจริงมันเป็นเพียงภาพลวงตา เราคิดกันเอาเองว่า มันอยู่ที่ตรงนั้นแต่เมื่อเดินทางข้ามทะเลเพื่อไปหา ณ ที่นั่น เรากลับได้พบเพียงแค่ความว่างเปล่า แต่เราก็ยังใช้ชีวิตหลงใหลไปในทะเลแห่งเพลิงทุกข์แสนสาหัส น่าสังเวชใจ ด้วยหวังว่า จะมี จะเป็น จะได้ ในสิ่งที่แท้จริงแล้ว ไม่มี”

หลวงพ่อเปรียบเส้นขอบฟ้า เหมือนกับความทะเยอทะยานดิ้นรนในทางโลก โดยอาศัยความหวังเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจว่า คงจะมีอะไรบางอย่างให้เราสมหวังรอคอยเราอยู่ข้างหน้า แต่กลับพบว่า ไม่เป็นจริงเช่นนั้นไม่มีสิ่งใดๆ เลยสำหรับพวกเราที่จะค้นพบและได้มา นอกเสียจากความว่างเปล่าเท่านั้นเอง
................
แม่ชีศรีสุดา








"..หลวงพ่อแนะนำธรรมะให้เอ็งตลอดมา ว่าทุกอย่างล้วนเป็นเรื่องสมมติ มีเกิดมีดับเป็นธรรมดา ไม่ใช่จะอยู่ถาวรอย่างนั้นเสียที่ไหน แล้วจะมีอะไรที่เอ็งควรจะเข้าไปยึดไปถือ ไปครอบครอง..

แต่เอ็งกลับไปยึดเอาความทุกข์ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่ตัวตนอะไร เป็นแต่เพียงความรู้สึกในใจ เอ็งไปแบกมันไว้.. ก็โง่เต็มทน

เพราะอะไรรู้ไหม.?. ก็เพราะว่าความทุกข์มันก็อยู่ของมัน มันไม่ได้ขอร้องให้เราไปแบกมันไว้นะ เราต่างหากที่เสนอหน้าเข้าไปหามันเอง

และก็เท่ากับว่า.. เอ็งลืมสิ่งที่หลวงพ่อแนะนำมาทั้งหมด .."

--
#หลวงพ่อประสิทธิ์ #ถาวโร
วัดถ้ำยายปริก







เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว

สมบัติในโลก…เป็นสมบัติอยู่ชั่วลมหายใจ พอตายแล้วก็เป็นของคนอื่น พญามัจจุราชนั้น มาแต่งตัวให้เราต่างๆ เช่น เปลี่ยนตาให้บ้าง เปลี่ยนผม เปลี่ยนฟัน เปลี่ยนหนัง เป็นต้น เขาบอกให้เราเตรียมตัว ว่าเราจะต้องถูกย้ายไปที่เมืองอื่นนะ ถ้าเขาสั่งอพยพเมื่อไร เราจะลำบาก ถ้าไม่เตรียมหาเสบียงไว้ เหตุนั้น เราต้องหาข้าวของ ไปถวายพระเจ้าพระสงฆ์ไว้ เพื่อเป็นการสะสมเสบียง

พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน…ให้เราทำบุญทำทานให้มากๆ และการที่เราพากันมารับศีล ๕ หรือศีล ๘ กาย วาจา ของเราไม่ทำชั่ว เราก็ได้บุญจากกาย วาจา

ตา – สิ่งไหนที่ไม่ดี เราอย่าไปดู
ขา – มันจะก้าวไปทางไม่ดี ต้องดึงไว้อย่าให้มันไป
หู – ฟังแต่คำที่ดี เช่น ฟังพระเทศน์ ฟังพ่อแม่ ฟังครูอาจารย์สั่งสอน เขาด่านินทา เราอย่าไปฟัง
จมูก – เราหายใจเข้าออก ก็ภาวนา “พุทโธ” ให้ไหลเข้าไปกับลมหายใจ

“ดวงจิตของเรา ถ้าดี ความดีก็แผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย แล้วก็ซึมซาบไปถึงลูกถึงหลานด้วย”

…ท่านพ่อลี ธัมมธโร…





#มีสติระวังรักษาจิตใจเจ้าของให้อยู่กับปัจจุบันมากที่สุด

หัวใจดวงนี้ ถ้าเราไม่มีสติไม่มีปัญญารักษา ใจดวงนี้ล่ะจะถูกกิเลสขยำย่ำยี ความดีที่จะสิงสถิตย์อยู่ในจิตใจแทบจะไม่มีเลย ถูกกิเลสเอาไปทำร้ายทำลายทั้งหมด การนั่งสมาธิภาวนา การปฏิบัติด้านจิตตภาวนานี่ล่ะจะกวาดสิ่งไม่ดีออกจากจิตใจ เอาสิ่งที่ไม่ดีออก มีสติระวังรักษาจิตใจเจ้าของให้อยู่กับปัจจุบันมากที่สุด ถ้าไม่อย่างนั้นกิเลสจะเอาไปครอง เอาจิตดวงนี้ไปขยำย่ำยี บุญจะเกิดไม่ได้เลย บาปเกิดปั้บ ผลจากบาปก็เกิดปุ๊ปในจิตใจ ไม่ว่าจะยากดีมีจน โง่หรือฉลาด สิ่งเหล่านี้เข้าไปทำลายหมด

แม้จะทำบุญกิเลสก็ไม่ได้ทำด้วย เรามานั่งนี่ กิเลสก็ไม่ได้มานั่งด้วย มันก็ฟุ้งซ่านรำคาญ มันก็คิดเรื่อยเปื่อยไปเรื่อย นี่คือกิเลส กิเลสมันยอมใครเมื่อไร กิเลสมันปล่อยใครเมื่อไร มันไม่ปล่อย บุญตัวนี้ล่ะจะเข้าสู่คำสอนของพระพุทธเจ้า เข้าสู่ความเป็นพระสงฆ์ในจิตในใจ

บุญเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเราก็ได้ทำมาแล้ว การรักษาศีลของศรัทธาญาติโยมก็ได้ทำในชีวิตประจำวันแล้ว แต่ตัวนี้อย่าให้ขาด การทำบุญอย่างหนึ่งที่ได้อานิสงส์มากก็คือการรักษาใจรักษาความดี ในขณะที่กระทำทางกายทางวาจาสวดมนต์ไหว้พระ จิตใจเราไม่เอนไม่เอียงออกนอก อยู่ในการสวดการกราบการไหว้ ใจก็จะอยู่กับการกระทำ มันตั้งเจตนาไว้แล้ว เมื่อตั้งเจตนาดี บุญก็ไหลเข้า ไหลเข้า

ตรงกันข้าม ถ้าเราไม่รักษาจิตรักษาใจก็ไม่มีความหมาย ปัญญามันไม่ได้ไคร่ครวญ เราทำก็สักแต่ว่าทำ เรากราบพระเราไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าอยู่ตรงไหน พระธรรมอยู่ตรงไหน พระสงฆ์อยู่ที่ใด เราว่านะโมก็ถูกกิเลสตีออก ตีออก ถูกกิเลสฉุดกระชากลากออก ลากออก คิดดูสิ ขนาดเรากราบพระเรายังไม่ได้ตั้งใจ ในไตรสรณคมณ์ที่ว่า พุทธธัง ธัมมัง สังฆัง ทุติยัมปิ ตะติยัมปิ ยังเพื่อย้ำให้ใจเข้าถึง อาจจะครั้งแรกพุทธัง ธัมมัง สังฆัง อาจจะได้ด้วยปาก แต่ใจเราไม่ได้ไปด้วย ก็จึงมีทุติยัมปิ ครั้งที่สอง ตั้งใหม่ซิ ตั้งไปแล้วอาจจะได้แค่ทุติยัมปิ พุทธังก็ได้ แต่ทุติยัมปิ ธัมมัง เราไม่ได้ ยิ่งทุติยัมปิ สังฆัง ได้แต่ปาก แต่ใจเราไม่ได้ไปด้วย ก็ขาด พอครั้งที่สาม เราพลาดครั้งที่หนึ่ง ลืมครั้งที่สอง แล้วครั้งที่สามล่ะ ส่วนมากก็ระลึกได้เดี๋ยวเดียว

เหมือนเวลาที่เราทำบุญ ขณะที่เราประเคนของครูบาอาจารย์พระสงฆ์ ในขณะจิตที่ตั้งให้เป็นบุญ ตั้งไม่ได้นาน เพราะอะไร เพราะใจเราไม่มีธรรมรักษา ถูกกิเลสแย่งพื้นที่ ถูกกิเลสตีออก ตีออก เราจึงรักษาความดีไม่ได้ ใครรักษาใจไม่ได้ก็คือรักษาความดีไม่ได้

พระอาจารย์โสภา สมโณ
๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐







การพิจารณา— ขึ้นต้นที่ความไม่แน่นอน บทสรุปสุดท้ายที่ความไม่มีอะไร

หลวงพ่อจิตโต บ้านสบายใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 84 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร