วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 22:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2022, 08:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


“ สติ “

ถาม : คนไม่ดี เช่นขโมย ก็ต้องมีสติ มีสมาธิ ใช่ไม่คะ
แต่เป็นสติเป็นสมาธิของกิเลส

พระอาจารย์ : ใช่
สติไม่ได้มีอยู่กับคนดีเสมอไป
คนชั่วก็มีสติได้ เพราะดีหรือชั่วนั้น
อยู่ที่มิจฉาทิฐิหรือสัมมาทิฐิ ไม่ได้อยู่ที่สติ

อย่างองคุลีมาลท่านก็ทำชั่ว ฆ่าคนถึง ๙๙๙ คน
ท่านก็ต้องมีสติ ถึงจะฆ่าคนได้
เพราะมีมิจฉาทิฐิ ท่านถึงไปทำชั่ว
สติเป็นเครื่องมือที่จะเอาไปใช้ทางไหนก็ได้
ถ้าเอาไปใช้ทางชั่ว ก็มีมิจฉาทิฐิพาไป
ถ้ามีสัมมาทิฐิ ..ก็จะพาไปสู่การทำจิตให้สงบ
คือ จะเข้าข้างใน

ถ้ามีมิจฉาทิฐิก็จะออกไปข้างนอก
จะวางแผนทำอะไรต่างๆก็ต้องมีสติ
เช่นวางแผนปล้นธนาคาร ก็ต้องมีสติมีปัญญา
แต่เป็นสติปัญญาที่ผิด

ถ้าไม่มีสติก็จะเป็นคนบ้า
มีสติบ้างแต่ไม่มากพอ
ที่จะทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันได้
แค่ร่างกายของตัวเองยังดูแลไม่ได้เลย
น้ำท่าไม่อาบ เสื้อผ้าไม่ซัก
มีสติเพื่อกินอยู่เท่านั้นเอง

เป็นสติระดับเดียรัจฉาน
แต่ไม่มีสติที่จะพอดูแลรักษาร่างกายให้สะอาด
ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะไม่รู้จักรักษา
ปล่อยให้เจ็บไป ตายไป.

จุลธรรมนำใจ 10 กัณฑ์ที่ 370
23 สิงหาคม 2550
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี






...การเจริญสติคือการทำความเข้าใจ ทำการค้นคว้ากับชีวิตของเราโดยตรง ไม่เหมือนอ่านหนังสือหรือฟังเทศน์ซึ่งเป็นเรื่องของทฤษฎี นี่เราก็มาดูความจริง ดูของจริง ของจริงคืออะไร คือกายกับใจของเรา ชีวิตจะทุกข์จะสุขก็อยู่ตรงนี้แหละ อยู่ที่กาย อยู่ที่ใจ เรามีโอกาสวางความสนใจ ความผูกพันกับโลกภายนอก มาอยู่ที่กายอยู่ที่ใจ แต่ก็ยังมีโลกภายในที่เราต้องจัดการด้วย

ข้อสำคัญ ๒ ข้อ ข้อหนึ่งก็คือ 'อดีต' อดีตคืออะไรนะ สิ่งที่เราสัมผัสได้ในปัจจุบัน สิ่งที่สัมผัสได้ก็คือความทรงจำ ในการเจริญสติในอิริยาบถนั่งต้องเตือนสติตัวเองว่า เราจะไม่ยินดีในความทรงจำ ข้อที่สอง 'อนาคต' อนาคตอยู่ที่ไหน ก็อนาคตยังมาไม่ถึงแต่ปรากฏในจิตใจในลักษณะเป็นจินตนาการ เราต้องเตือนสติว่าตอนนี้ต้องการอยู่ในปัจจุบัน กับกายกับใจ เรื่องอนาคต เรื่องความคิดความปรุงแต่ง ไม่ว่าด้วยความตื่นเต้นหรือความหวาดหวั่น ทั้งหมดนี้มันเป็นเรื่องจินตนาการ เราวางไว้ก่อน ไม่ยินดี...

พระอาจารย์ชยสาโร
นำสมาธิภาวนา ในวาระปฏิบัติธรรมออนไลน์แก่สถานกงสุลใหญ่
วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน







#สวดมนต์ในใจ_เทพเจ้าก็ได้ยิน

#หลวงตาฯ :: ไหว้พระสวดมนต์ ไม่ได้
ไหว้พระเสียงดังใช่ไหมครับ..!!

#หลวงปู่ชอบฯ :: ไม่ได้ไหว้เสียงดัง แค่
นึกในใจแค่นี้เขาก็มายินดีด้วย"

#หลวงตาฯ :: นึกในใจแค่นี้ก็ได้ยิน..!!

#หลวงปู่ชอบฯ :: คือการไหว้พระสวดมนต์
แค่เรานึกในใจ พอแต่รู้พอแต่ได้ยินคนเดียว
ไม่ได้มีเสียงออกนอกกุฎิ แต่เขาบอกว่า ได้ยินไกลถึงสามโยชน์สี่โยชน์ เพราะเทพเจ้าเขามี
"หูทิตย์ตาทิพย์ "

#ฐานสโมบูชา_บทสนทนา
#หลวงตามหาบัวฯ_กับหลวงปู่ชอบฯ






ลึกๆ มนุษย์เราต้องการความสุขที่มั่นคงแน่วแน่ ความสุขที่ไว้ใจได้ ที่ไม่มีวันเสื่อม ปัญหาคือเราแสวงหาความสุขที่เที่ยงแท้ถาวรนั้นในสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวร คือ รูป เสียง กลิ่น รส การสัมผัสทางกาย และความรู้สึกนึกคิดต่างๆ สิ่งเหล่านี้มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเป็นธรรมดา แม้แต่เครื่องรับสิ่งเหล่านี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเป็นธรรมดา สรุปว่าเราหาความสุขผิดที่ ความทุกข์ ความคับข้องใจต่างๆ ที่เกิดในระหว่างการแสวงหาความสุขอย่างขาดปัญญาคือ ทุกขะ อริยสัจที่ ๑

พระอาจารย์ชยสาโร







อย่าหลงตามกิเลสเฮาว่าเฮาเก่ง
กิเลสมันยิ่งเก่งกว่าเฮา ถ้าบ่มีสติไปหลงตามมันเข้า
เขาสิเอิ้นภาวนาถอยหลัง
เพราะทุกมื้อนี้ส่วนมากมีแต่
ภาวนาตกส่าง

โอวาทหลวงปู่ประเสิฐ สิริคุตฺโต







“คนบางคน มีความทะเยอทะยาน
อยากมีชื่อเสียงว่าเป็นคนใหญ่โต เป็นสำคัญ
อยากให้ใครๆ เห็นว่าตนสำคัญ
ด้วยความทะเยอทะยานนี้ ทำให้ คิดไป
พูดไป ทำไป อย่างวุ่นวายในสิ่งที่เชื่อว่า
จะทำให้ผู้เห็นความสำคัญของตน

และถ้าบังเอิญ จะมีใครสักคน
เห็นความสำคัญของเขาขึ้นมา ก็ใช่ว่า
เขาจะพอใจเพียงเท่านั้น ความทะเยอทะยาน
ย่อมจะทำให้เขาดิ้นรน คิด พูด ทำ อย่างวุ่นวาย
ต่อไป เพื่อให้ใครอีกหลายๆ คน
เห็นความสำคัญของเขาเพิ่มขึ้นอีก

เขากำลังเป็นทุกข์
แต่เขาก็ไม่รู้ว่าเขาเป็นทุกข์
เมื่อเขาไม่รู้ว่าเขากำลังเป็นทุกข์
เขาก็จะไม่หาทางแก้ทุกข์ ตรงกันข้าม
เขายิ่งจะเพิ่มทุกข์ของเขาให้หนักขึ้น
ด้วยความไม่รู้จักหน้าตาของทุกข์”

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ










"บุญ - บารมี" ต่างกันอย่างไร?

"บุญ" นั้นมีพลานุภาพมาก... สามารถอยู่กับเราได้ข้ามภพข้ามชาติแต่หากส่งผลของกรรมดีจนบุญหมดแล้ว เมื่อหมดก็คือ "หมด" จริงๆ

เราควรสะสม "กรรมดี" อันเป็น "บุญ" ไปเรื่อยๆ พยายามอย่าสร้าง "กรรมไม่ดี" ให้มันบันทึกไว้ใน "จิต" เพราะเวลา "บาป" มันส่งผล มันก็จะมีอานุภาพหนักหนาพอๆกัน

พิจารณาดูสิ! พระพุทธองค์เมื่อบรรลุธรรมก็ยังต้องรับ "วิบากกรรม" ที่ได้กระทำไว้ในอดีตแต่ถ้าท่านเป็นพระอรหันต์แล้วท่านจะรับกรรมแบบ "ไม่มีทุกข์" ในขันธ์ ๕ ในสังขารของท่าน

"บุญ" นั้นมาจาก "กรรมดี" ซึ่งมีที่มาได้ ๒ ทาง คือ

๑. บุญจาก "การกระทำเอง"
๒. บุญจาก "การรับรู้ที่ผู้อื่นได้ทำดี" อันเรียกว่า "อนุโมทนาบุญ"

ส่วน "บารมี" มาได้ทางเดียวเท่านั้น คือ "ท่านจะต้องทำเอง" และเป็นการทำบุญ​อย่างยิ่งยวดเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์​ เมื่อสร้างแล้วมันจะถูกบันทึกไว้ใน "จิต" ไม่มีลดมีแต่ทรงกับเพิ่ม ซึ่งต่างจาก "บุญ"

และวิธีการสร้าง "บารมี" มี ๑๐ วิธี! ดังนี้

๑. ทานบารมี = การที่จิตของเราพร้อมที่จะให้ทาน ให้เพื่อสงเคราะห์ไม่ใช่ให้เพื่อผลตอบแทน ให้แบบไม่เลือกเพศ ไม่เลือกฐานะ ไม่เลือกบุคคล และเต็มใจในการให้ทานนั้นๆ

๒. ศีลบารมี = การที่จิตของเราพร้อมในการรักษาศีล พยายามไม่ให้ศีลบกพร่อง และไม่ยุคนอื่นให้ละเมิดศีล ไม่ดีใจเมื่อคนอื่นละเมิดศีล

๓. เนกขัมมบารมี = การที่จิตพร้อมในการถือบวช ในการมุ่งไปสู่การปฏิบัติธรรม การบำเพ็ญภาวนา

๔. ปัญญาบารมี = การที่จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารกิเลสและมีความรู้เท่าทันสภาวะของกฎสามัญลักษณะ ได้แก่ การเห็นอนิจจัง - ทุกขัง - อนัตตา ทุกอย่างไม่แน่!

๕. วิริยบารมี = การที่มีความเพียรทุกขณะในการที่จะทำความดี ทำอย่างไม่ย่อท้อ

๖. ขันติบารมี = การที่มีความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ในการทำความดี

๗. สัจจะบารมี = การที่ตั้งมั้นในคำพูดที่ได้รับปากไว้แล้วหรือการตั้งมั่นกับตนเอง พูดจริง ทำจริ

๘. อธิษฐานบารมี = การตั้งเป้าหมายให้จิตแบบเจาะจง การที่ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น...สมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ทรงนั่งประทับที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์พระองค์อธิษฐานว่าถ้าเราไม่ได้สำเร็จพระโพธิญาณเราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้ พระองค์ทรงอธิษฐานแบบเอาชีวิตเข้าแลกแล้วพระองค์ก็ทรงบรรลุในคืนนั้น

๙. เมตตาบารมี = การที่มีความเมตตาไม่เป็นศัตรูกับใคร ไม่เกลียดใคร ไม่อาฆาตใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น

๑๐. อุเบกขาบารมี = การที่มีความวางเฉยมีความเป็นกลางต่ออารมณ์ที่ถูกใจและอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ

บทความธรรมะจากเพจ 100 พระชันษา สมเด็จพระสังฆราช


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร