วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 02:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2023, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


"ความคิด เป็นเหตุแห่งความทุกข์
และความคิด ก็เป็นเหตุแห่งความสุขได้
พึงรอบคอบในการใช้ความคิด
คิดให้ดี คิดให้งาม คิดให้ถูก คิดให้ชอบ
แล้วชีวิตในชาตินี้ ก็จะงดงาม
สืบเนื่องไป ถึงชาติภพชาติใหม่ได้ด้วย"

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ






"ธรรม...
ท่านไม่ได้สอนให้คนขี้เกียจอ่อนแอท้อแท้
เหลวไหลในการงานเพื่อหารายได้มาเลี้ยงตนและครอบครัว แต่ท่านสอนให้มีความขยันหมั่นเพียร และอดทนไม่เลือกงานอันเป็นที่มาแห่ง
ผลเพื่อรายได้เพียงพอกับความเป็นอยู่ใช้สอย
ไม่ฝืดเคือง ท่านสอนว่า...

•จงเป็นบุคคลที่ถึงพร้อมด้วยความขยัน
หมั่นเพียร หนักเอาเบาสู่ ไม่จับๆ วางๆ เหยาะๆ แหยะๆ ในการทำงาน ๑

•ได้สมบัติมามากน้อย ให้มีการเก็บรักษา
ไม่จ่ายสุรุ่ยสุร่ายแบบหาขอบเขตเหตุผลไม่ได้ ๑

•การเลี้ยงชีพในครอบครัวให้พอเหมาะพอดี
กับความจำเป็น ไม่ฟุ่มเฟือย จนเลยฐานะ
และความจำเป็น ๑

•ไม่คบเพื่อนฝูงที่เป็นพาล ผลาญทรัพย์
คอยแต่จะกัด จะแทะ จะเคี้ยว จะกลืนสมบัติ
และความประพฤติให้ลงเหวลงบ่อ ๑

ธรรม...
ที่ท่านสอนไว้อย่างมั่นเหมาะทุกแง่ทุกมุม
ถ้าเราไม่คว้ากิเลสตัวอวดดีมาทำลายธรรม
เหล่านี้ให้พินาศฉิบหายไป
เราต้องตั้งตัวได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เลี้ยงชีพพอประมาณ ไม่ฝืดเคือง และฟุ่มเฟือย

ธรรมสันโดษ
คือ ความยินดีในสมบัติมากน้อยที่มี และอยู่ในความครอบครองของตน นี่ก็เป็นความพอดีเหมาะสมอย่างยิ่งแล้วสำหรับมนุษย์ร่วมโลกกัน"
___________________________________________
หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล






คําประกาศอิสรภาพของมนุษย์แห่งองค์พุทธะ
.
…. “ ในพุทธศาสนา เราก็กล่าวถึงเรื่องเทวดาเหมือนกัน ดูเหมือนว่าในสมัยปัจจุบันนี้ การเกี่ยวข้องกับเทวดาชักจะมากขึ้น เราน่าจะมาพูดถึงทัศนคติท่าทีของพุทธศาสนาต่อเทวดาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะว่า มันต่างจากความนับถือของศาสนาพราหมณ์ หรือ ฮินดู อย่างไร มิฉะนั้นแล้ว ชาวพุทธจะไขว้เขว การแยกการปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นเรื่องสําคัญมาก
…. อยากจะยกพุทธพจน์ข้อหนึ่งขึ้นมาอ้างไว้ก่อน เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ ท่านเล่าว่า พระองค์ได้เปล่ง “อาสภิวาจา” หรือ “วาจาอันอาจหาญ” ประกาศว่า
.
…. อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส, เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส, เสฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส
…. แปลว่า เราเป็นอัครบุคคลแห่งโลก เราเป็นผู้ใหญ่ยิ่งแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดของโลก”
.
…. บางท่านว่า พระพุทธเจ้าทําไมไปประกาศพระองค์ยิ่งใหญ่อย่างนี้นะ ที่จริงอาตมภาพมองว่า นี่คือ “การประกาศอิสรภาพของมนุษย์” คําต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าประกาศใน อาสภิวาจา นั้น แต่ก่อนโน้นเป็นคําที่ศาสนาพราหมณ์เขาใช้แสดงความยิ่งใหญ่ของพระผู้เป็นเจ้าทั้งนั้น หมายความว่า ก่อนพุทธกาลนั้น คนทั้งหลายยอมตนต่อเทพเจ้าไปหมด มีแต่เทพเป็นผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้สร้างโลก เป็นผู้ดลบันดาลทุกอย่าง มนุษย์ได้แต่พากันบูชายัญ บวงสรวงอ้อนวอน ด้วยประการต่างๆ ฝากชะตากรรมไว้กับการดลบันดาลของเทพเจ้า
…. เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น พระองค์ก็ประกาศอิสรภาพว่า มนุษย์นี่แหละสามารถฝึกตนให้ประเสริฐ เป็นพระพุทธเจ้าที่เลิศยิ่งกว่าเทพเจ้าทั้งหลายทั้งหมด เทวดา มาร พรหม ต้องบูชาพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น นี่เป็นการประกาศอิสรภาพของมนุษย์ แต่เราได้คติอันนี้หรือเปล่า นี้เป็นข้อที่น่าพิจารณา
…. หลักการในพระพุทธศาสนานั้น ท่านเปลี่ยนจากการหวังพึ่งเทวดา มาเชื่อกรรม เชื่อกรรมก็คือ เชื่อการกระทํา หมายความว่า เราต้องการผล เราก็ต้องทําเหตุ เราเชื่อการกระทําไหม? มั่นใจในการทําความดีไหม? หรือจะเชื่อจะหวังการอ้อนวอน นี้เป็นเรื่องสําคัญ นี่เป็นจุดตัดสินว่าเป็น “พุทธ” หรือเป็น “พราหมณ์”
.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : ธรรมกถาที่ ชุมนุมพุทธธรรม ศิริราช เมื่อวันที่ ๑๒ มิภุนายน ๒๕๒๘ หลังกลับจากเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย จากหนังสือ “ตามทางพุทธกิจ”


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 180 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร