วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ย. 2024, 20:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2024, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5112


 ข้อมูลส่วนตัว


“อย่ามัวห่วงโลก
เกิดตายคนเดียว เพราะวันหนึ่ง
เราต้องไปคนเดียว เกิดคนเดียว
ตายคนเดียว

อย่ามัวห่วงโลก
โลกนี้พบปะเกี่ยวข้องกันชั่วคราวเท่านั้น
ดีกับชั่วเท่านั้น เหลือไว้ให้โลก”

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ





เรื่อง "อย่าลืมอุทิศบุญแผ่เมตตาให้สัตว์ ที่เรากินเลือดเนื้อของเขา เพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายของเรา"

(ปกิณกธรรม คุณแม่จันดี โลหิตดี)

“เวลากินเนื้อสัตว์ กินอาหารชนิดไหนก็แล้วแต่ ให้ระลึกแผ่เมตตาให้เจ้าของชีวิตเลือดเนื้อ ที่เรากินเนื้อของพวกเขา เพื่อมาหล่อเลี้ยงร่างกายของเรา เพื่อประทังให้ชีวิตเราอยู่ต่อไปได้ เพื่อประกอบคุณงามความดี”

ท่านเล่าว่า “เมื่อคืนนี้ มีคนนำไก่ย่างมาถวาย ขณะท่านหยิบเนื้อไก่เข้าปาก จิตของไก่ ซึ่งเป็นเจ้าของเนื้อ ที่ท่านกำลังกิน จิตไก่ร้องไห้คร่ำครวญ บอกว่า

“คุณแม่กินเนื้อหนังของข้าน้อยแล้ว ช่วยส่งบุญ ส่งกุศลแผ่เมตตาให้ลูกด้วย เพราะชาตินี้เกิดเป็นไก่ ตายแล้วก็ยังไม่รู้ จะไปเกิดเป็นสัตว์ชนิดไหนอีก โอกาสที่จะไปเกิดเป็นมนุษย์ เหมือนผู้อื่นคงไม่มี ลูกขอบุญจากคุณแม่ ช่วยลูกด้วย กินเนื้อของลูกแล้ว ช่วยส่งบุญให้ลูกด้วย“

ท่านบอก “จิตของเขาน่าสงสาร น่าเวทนา เกิดเป็นสัตว์แต่ร่างกาย ส่วนจิตก็ยังรับรู้ความเจ็บปวด ทรมาน ความทุกข์ เหมือนกันกับมนุษย์เรานี่แหละ”

“ได้ยินอย่างนี้แล้ว เวลากินเนื้อกินหนังผู้อื่น ให้ระลึกถึงบุญถึงคุณของเขานะ มนุษย์-สัตว์ ต่างก็เคยเกิดเคยตาย กินเนื้อกินหนังกันและกันมา เกิดภพสูงภพต่ำ หมุนเวียนอยู่อย่างนี้แหละ”

“พระธรรมเคยบอกขึ้นในจิตแม่ โลกอันนี้กินขี้กัน โอ๊ย ยิ่งพิจารณายิ่งสงสารนะ สิ่งที่แม่บอก แม่เล่าให้ฟัง อย่าให้ตกหล่นทิ้งเปล่าๆนะ“








ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่
.............................
#ถ้าจะเข้าถึงวิปัสสนา
#ก็จะต้องระลึกให้มันจรดสภาวะ
#คือสิ่งที่เป็นจริงแท้ๆ

อย่างระลึกรู้มาที่ร่างกาย
ถ้าหลับตาอยู่
พอระลึกมาที่ร่างกาย
เจอร่างกายว่ามันมีรูปร่างสัณฐานนั่งอยู่
หลับตา ในใจเห็นรูปทรงสัณฐานของกายไหม?
เห็นมือ เห็นขา เป็นเรา ๆ รูปทรงสัณฐาน
อันนี้เป็นจริงหรือปลอม?

ลองหลับตาดู
มองพระพุทธรูปก่อนก็ได้ แล้วก็ค่อย ๆ หลับตา
นึกให้เห็นเหมือนลืมตา
เห็นไหมหลับตา หลับตานึกถึงพระพุทธรูป
ถ้าไม่เห็นก็ลืมตามามอง แล้วก็ค่อย ๆ หลับตา

หลับตาแล้วนึก เห็นไหมพระพุทธรูป?
… เห็น
ถามว่าพระพุทธรูปไปอยู่ในใจของท่านทั้งหลายใช่หรือไม่?
หรืออยู่ที่เดิม?
… ของจริง อยู่ที่เดิม
ที่เห็นในใจจริงหรือปลอม?
… มโนภาพ
มันเป็นภาพที่เกิดขึ้นจากจิตที่เขาสร้างขึ้นมา
เขาจำ เขามีสัญญา สังขาร
เรามองแป๊บเดียวเรายังจำ
ฉะนั้นมโนภาพมันไม่ใช่ของจริง

ทีนี้ถ้าเปลี่ยนจากรูปพระ เปลี่ยนจากพระพุทธรูป
มาเป็นร่างกายตนเอง
เราลืมตามองร่างกายตัวเอง เห็นไหม?
เห็นแขน เห็นมือ เห็นขา ลำตัวไหม?
พอเห็นได้ไหม รูปทรงสัณฐานแบบนี้ นั่งอยู่อย่างนี้
แล้วเราก็หลับตา
หลับตานึกให้เห็นรูปร่างตัวเองได้ไหม?
หลับตาแล้วนึก เห็นไหม?
มีมือ มีขา ลำตัว เห็นไหม?

ถามว่ารูปร่างกายไปอยู่ในใจหรืออยู่ที่เดิม?
… อยู่ที่เดิม
แล้วที่เห็นในใจ ของจริงหรือของปลอม?
… มันเป็นมโนภาพ
ที่เห็นเป็นรูปร่าง มือ ขา ลำตัว เงา ๆ รูปทรง
มันเป็นของปลอม มันเป็นมโนภาพ

เหมือนกล้องถ่ายรูป
เวลาเขาถ่าย กล้องมันก็จะเอาภาพไปอยู่ในกล้อง
แต่มันใช่ของจริงไหมที่เข้าไปอยู่ในกล้อง?
ของจริงก็นั่งกันอยู่นี่
แต่เขาถ่ายไปในกล้อง
เพราะฉะนั้นภาพถ่ายเข้าไปอยู่ในกล้องมันไม่ใช่ของจริง

จิตก็เหมือนกัน
จิตมันก็เหมือนกล้องถ่ายภาพ ถ่ายวิดิโอ
มันถ่ายรูปร่างตัวเราเอง แล้วก็ไปปรากฏในใจ
ใจมันจำ มันก็สร้างเป็นรูปร่าง แขน ขา หน้าตา

เอาเรื่องนี้มาพูดเพื่ออะไร
เพราะว่าในทางการปฏิบัติ
#เราจะต้องเข้าใจเรื่องเหล่านี้
#อารมณ์บัญญัติ #อารมณ์ปรมัตถ์
#อารมณ์ที่เป็นของจริง #ของปลอม
#ไม่อย่างนั้นเราจะมัวหาของปลอมอยู่

อย่างเช่น เวลากำหนดไป ช่วงแรกก็เห็นมือ เห็นขา ลำตัว
พอฝึกไป ๆ มือหายไปไหน ขาหายไปไหน ตัวหายไปไหน
ตัวมี หัวไม่มี
กลัวอีก
เกิดความตกใจ ตัวไม่มี
แต่ที่จริงที่มันยังมีอยู่ มันก็มีของปลอมอยู่
จิตมันสร้างอารมณ์สมมติขึ้นมาในใจเป็นรูปเป็นร่าง

#เวลาที่จิตมันทิ้ง จิตมันไม่จำ ไม่ปรุง ไม่แต่ง
#มโนภาพมันก็จะหายไป
ถ้ามันหายไป เราจะกลัวไหมต่อไป?
#ไม่ต้องไปกลัวอะไร

แล้วจะดูอะไรเมื่อรูปร่างหายไป?
ก็จะกำหนดดูสภาวะหรือปรมัตถ์
เพราะปรมัตถ์มันยังมีอยู่ ปรากฏอยู่
อย่างมือที่แตะกันอยู่ มือที่สัมผัสกันอยู่ มันรู้สึกอย่างไร?
แข็งหรืออ่อน? ร้อนหรือเย็น?
สัมผัสมันยังมีอยู่
มันยังรู้สึก มีความรู้สึกสัมผัส ผัสสะ
แต่มันไม่มีความเป็นรูปร่างมือ
มีแต่ความรู้สึก
อันนี้มันจะเป็นปรมัตถ์ หรือเป็นสภาวะ
เป็นอารมณ์ที่เป็นจริงแท้ ๆ

นั่งอยู่ขณะนี้
ที่ก้น ที่ขาสัมผัสพื้น มีความรู้สึกไหม?
รู้สึกแข็ง
หรือขาพับกันอยู่ รู้สึกตึง หนัก

แต่ถ้าจิตเขาทิ้งสมมติ
เวลาหลับตา มันจะไม่เห็นรูปร่างขา
แต่มันจะรู้สึกสัมผัส ความหนัก ความแข็งความตึง ความไหว
อย่างนี้ก็ให้รู้ว่าจิตเขาทิ้งสมมติแล้ว
เหลือแต่สภาวะ
#วิปัสสนาจะต้องระลึกรู้สภาวธรรมหรือปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏ

หรือว่าเคยกำหนดดูท้องพองยุบ
พองหนอ ยุบหนอ
ใหม่ ๆ เราก็จะเห็นท้องพองท้องยุบ
บริกรรมด้วย พองหนอ ยุบหนอ
ถ้าฝึกต่อ ๆ ไป มันไม่รู้ว่าพองหรือยุบแล้ว
รวมทั้งรูปร่างท้องไม่ปรากฏ
ความหมายว่าพองหรือยุบไม่ปรากฏ
มันก็จะเหลือแต่ปรมัตถ์
คือเหลือแต่ไหว ๆ กระเพื่อม ๆ
อันนี้คือของจริงที่เป็นปรมัตถ์ ตึง ๆ หย่อน ๆ ไหว ๆ
แต่มันบอกไม่ได้ว่าพองหรือยุบ
พองยุบมันก็เป็นความหมาย

บัญญัติมันจะมี
๑. บัญญัติโดยชื่อ ภาษา
๒. บัญญัติโดยความเป็นรูปร่างสัณฐาน
รูปร่างมือ รูปร่างแขน ขา หน้าตา
๓. บัญญัติโดยความหมาย
มันตีความหมายว่านี่นั่ง นี่พอง นี่ยุบ

เพราะฉะนั้นปฏิบัติไป จิตมันจะทิ้ง
ทิ้งความเป็นรูปร่าง ทิ้งความหมาย
มันก็จะเหลือแต่ความรู้สึกไหว ๆ กระเพื่อม
เราก็จะดูอยู่อย่างนั้น
ไม่ต้องไปตกใจว่ามือ ท้องไปไหน
หรือจะต้องดู นึกให้ได้มันพองหรือยุบ
มันก็ไม่จำเป็นแล้ว
เหลือแต่ของจริง ก็จะแค่ไหว ๆ กระเพื่อม

หรือบางท่านกำหนดที่ลมหายใจเข้าออก
เข้าพุท ออกโธ พุทโธ พุทโธ
รู้ลมเข้า ลมออก ยาว สั้น
คำบริกรรมว่าพุทโธเป็นบัญญัติ สมมติ แต่งตั้ง เรียกชื่อขึ้นมา
จะเรียกพุทโธ จะเรียกธัมโม จะเรียกสังโฆ
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ก็เป็นเพียงภาษา
บัญญัติศัพท์ภาษามากำกับลมหายใจ
เรานึกระลึกไปถึงคุณของพระพุทธเจ้า
พุทโธเป็นสรรพนามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ระลึกไปถึงคุณของพระพุทธเจ้า
ก็จะเป็นการทำสมาธิแบบพุทธานุสติ
ทำให้เกิดความสงบได้

แต่ถ้าเราบริกรรมพุทโธเพียงแค่กำกับลมหายใจเข้าออก
มันก็จะมาเกี่ยวกับเรื่องอานาปานสติ ดูลมเข้า ดูลมออกอยู่

ฉะนั้นลมหายใจเป็นจริงไหม?
ลมหายใจที่สูดเข้าไปมีจริงไหม?
มีลมอยู่จริง
แต่ว่าถ้าเราระลึกไปที่ เข้า ออก ยาว สั้น
มันก็จะไปแปลความหมาย
ไปใส่ค่าว่าอย่างนี้คือเข้า อย่างนี้คือออก
อย่างนี้คือเข้ายาว นี้เข้ายาว ออกยาว เข้าสั้น
มันก็จะเป็นความหมาย
ความหมายมันก็เป็นสมมติอย่างหนึ่ง

ถ้าฝึกไป ๆ มันเกิดเหลือแต่สภาวะ
มันก็จะรู้สึกเพียงแค่หายใจอยู่ หายใจอยู่
แต่ไม่มีความหมายว่าเข้า ว่าออก
หรือไม่มีภาษาเรียกด้วย คำบริกรรมต่าง ๆ หายไป
เหลือแต่ความรู้สึกที่รู้สึกหายใจอยู่
แปลไม่ออกว่ามันคือเข้าหรือออก
ถ้ามันรู้แค่สภาวะ มันจะเพียงแค่รู้สึก ๆ อยู่

ฉะนั้น #ถึงระดับการภาวนา
#จิตเขาทิ้งสมมติไปหมด
#รูปร่างสัณฐาน #แขนขาหน้าตาทุกอย่างหายไป
#ก็จะเหลือแต่ความรู้สึก
เช่น #ความกระเพื่อมๆ #ความไหวๆ

ถ่ายทอดสด พระธรรมเทศนา
คอร์สกรรมฐานสั้นเทศกาลปีใหม่ ๒๕๖๗ (๒๙-๑๒-๖๖)
.............................
ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา







"...ความยิ่งหย่อนแห่งวาสนาบารมีนั้น
มีได้ทั้งคนและสัตว์ สัตว์บางตัวมีวาสนา
บารมีและอัธยาศัยดีกว่ามนุษย์บางคน
แต่เขาตกอยู่ในภาวะความเป็นสัตว์
ก็จำต้องทนรับเสวยไป

สัตว์เดรัจฉานก็ยังมีและเสวยกรรมไป
ตามวิบากของมัน มิให้ประมาทเขาว่า
เขาเป็นสัตว์ ที่เกิดในกำเนิดต่ำทราม
ความจริงเขาเพียงเสวยกรรมตามวาระ
ที่เวียนมาถึงเท่านั้น เช่นเดียวกับมนุษย์
ขณะที่ตกอยู่ในความทุกข์จนข้นแค้น
ก็จำต้องทนเอา จนกว่าจะสิ้นกรรม

เมื่อเราเกิดเสวยชาติเป็นมนุษย์ มีสุขบ้าง
ทุกข์บ้าง ตามวาระของกรรมที่อำนวย
มนุษย์ก็มีกรรมชนิดหนึ่ง ที่พาให้มาเป็น
อย่างนี้

ซึ่งล้วนผ่านกำเนิดต่าง ๆ จนนับไม่ถ้วน
ให้ตระหนักในกรรมของสัตว์ว่ามีต่างกัน
เพราะฉะนั้น ไม่ให้ดูถูกเหยียดหยาม
ในชาติกำเนิดความเป็นอยู่ของกันและกัน
และสอนให้รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมดี
กรรมชั่วเป็นของ ๆ ตน..."

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต






"..คนเราทุกวันนี้ไม่รู้จักหลบจักหลีกหาแต่สมบัติภายนอกไม่ยอมหาสมบัติภายในมาใส่จิตใส่ใจของตนเอง.."

โอวาทธรรม:หลวงปู่เผย วิริโย







พิจารณา ดูใจความ กิน-กาม-เกียรติ
ความหมายเหยียด ออกไปได้ หลายสาขา
คือเป็นเพียง โลกธรรม ตามธรรมดา
หรืออาจฆ่า วิญญาณคน จนประลัย

หรืออาจเป็น ที่ตั้ง อุปทาน
สิงสันดาน แห่งมนุษย์ ยากแก้ไข
เป็นอาหาร แล้วเป็นเหยื่อ พร่ำเพรื่อไป
แล้วแต่ใคร โง่ฉลาด ปราชญ์หรือพาล

เมื่อใช้มัน ถูกวิธี ก็มีประโยชน์
ถ้าใช้ผิด ก็ผลิตโทษ มหาศาล
อย่าประมาท กิน-เกียรติ-กาม ยามพบพาน
มันประหาร ตายทั้งเป็น เฟ้นให้ดี

สมเด็จพระธรรมโกษาจารย์
ป.อ.ปยุตโต





“พร แปลว่า ประเสริฐ
จะเกิดขึ้นได้ “อย่ามัวห่วงโลก
เกิดตายคนเดียว เพราะวันหนึ่ง
เราต้องไปคนเดียว เกิดคนเดียว
ตายคนเดียว

อย่ามัวห่วงโลก
โลกนี้พบปะเกี่ยวข้องกันชั่วคราวเท่านั้น
ดีกับชั่วเท่านั้น เหลือไว้ให้โลก”

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ





เรื่อง "อย่าลืมอุทิศบุญแผ่เมตตาให้สัตว์ ที่เรากินเลือดเนื้อของเขา เพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายของเรา"

(ปกิณกธรรม คุณแม่จันดี โลหิตดี)

“เวลากินเนื้อสัตว์ กินอาหารชนิดไหนก็แล้วแต่ ให้ระลึกแผ่เมตตาให้เจ้าของชีวิตเลือดเนื้อ ที่เรากินเนื้อของพวกเขา เพื่อมาหล่อเลี้ยงร่างกายของเรา เพื่อประทังให้ชีวิตเราอยู่ต่อไปได้ เพื่อประกอบคุณงามความดี”

ท่านเล่าว่า “เมื่อคืนนี้ มีคนนำไก่ย่างมาถวาย ขณะท่านหยิบเนื้อไก่เข้าปาก จิตของไก่ ซึ่งเป็นเจ้าของเนื้อ ที่ท่านกำลังกิน จิตไก่ร้องไห้คร่ำครวญ บอกว่า

“คุณแม่กินเนื้อหนังของข้าน้อยแล้ว ช่วยส่งบุญ ส่งกุศลแผ่เมตตาให้ลูกด้วย เพราะชาตินี้เกิดเป็นไก่ ตายแล้วก็ยังไม่รู้ จะไปเกิดเป็นสัตว์ชนิดไหนอีก โอกาสที่จะไปเกิดเป็นมนุษย์ เหมือนผู้อื่นคงไม่มี ลูกขอบุญจากคุณแม่ ช่วยลูกด้วย กินเนื้อของลูกแล้ว ช่วยส่งบุญให้ลูกด้วย“

ท่านบอก “จิตของเขาน่าสงสาร น่าเวทนา เกิดเป็นสัตว์แต่ร่างกาย ส่วนจิตก็ยังรับรู้ความเจ็บปวด ทรมาน ความทุกข์ เหมือนกันกับมนุษย์เรานี่แหละ”

“ได้ยินอย่างนี้แล้ว เวลากินเนื้อกินหนังผู้อื่น ให้ระลึกถึงบุญถึงคุณของเขานะ มนุษย์-สัตว์ ต่างก็เคยเกิดเคยตาย กินเนื้อกินหนังกันและกันมา เกิดภพสูงภพต่ำ หมุนเวียนอยู่อย่างนี้แหละ”

“พระธรรมเคยบอกขึ้นในจิตแม่ โลกอันนี้กินขี้กัน โอ๊ย ยิ่งพิจารณายิ่งสงสารนะ สิ่งที่แม่บอก แม่เล่าให้ฟัง อย่าให้ตกหล่นทิ้งเปล่าๆนะ“








ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่
.............................
#ถ้าจะเข้าถึงวิปัสสนา
#ก็จะต้องระลึกให้มันจรดสภาวะ
#คือสิ่งที่เป็นจริงแท้ๆ

อย่างระลึกรู้มาที่ร่างกาย
ถ้าหลับตาอยู่
พอระลึกมาที่ร่างกาย
เจอร่างกายว่ามันมีรูปร่างสัณฐานนั่งอยู่
หลับตา ในใจเห็นรูปทรงสัณฐานของกายไหม?
เห็นมือ เห็นขา เป็นเรา ๆ รูปทรงสัณฐาน
อันนี้เป็นจริงหรือปลอม?

ลองหลับตาดู
มองพระพุทธรูปก่อนก็ได้ แล้วก็ค่อย ๆ หลับตา
นึกให้เห็นเหมือนลืมตา
เห็นไหมหลับตา หลับตานึกถึงพระพุทธรูป
ถ้าไม่เห็นก็ลืมตามามอง แล้วก็ค่อย ๆ หลับตา

หลับตาแล้วนึก เห็นไหมพระพุทธรูป?
… เห็น
ถามว่าพระพุทธรูปไปอยู่ในใจของท่านทั้งหลายใช่หรือไม่?
หรืออยู่ที่เดิม?
… ของจริง อยู่ที่เดิม
ที่เห็นในใจจริงหรือปลอม?
… มโนภาพ
มันเป็นภาพที่เกิดขึ้นจากจิตที่เขาสร้างขึ้นมา
เขาจำ เขามีสัญญา สังขาร
เรามองแป๊บเดียวเรายังจำ
ฉะนั้นมโนภาพมันไม่ใช่ของจริง

ทีนี้ถ้าเปลี่ยนจากรูปพระ เปลี่ยนจากพระพุทธรูป
มาเป็นร่างกายตนเอง
เราลืมตามองร่างกายตัวเอง เห็นไหม?
เห็นแขน เห็นมือ เห็นขา ลำตัวไหม?
พอเห็นได้ไหม รูปทรงสัณฐานแบบนี้ นั่งอยู่อย่างนี้
แล้วเราก็หลับตา
หลับตานึกให้เห็นรูปร่างตัวเองได้ไหม?
หลับตาแล้วนึก เห็นไหม?
มีมือ มีขา ลำตัว เห็นไหม?

ถามว่ารูปร่างกายไปอยู่ในใจหรืออยู่ที่เดิม?
… อยู่ที่เดิม
แล้วที่เห็นในใจ ของจริงหรือของปลอม?
… มันเป็นมโนภาพ
ที่เห็นเป็นรูปร่าง มือ ขา ลำตัว เงา ๆ รูปทรง
มันเป็นของปลอม มันเป็นมโนภาพ

เหมือนกล้องถ่ายรูป
เวลาเขาถ่าย กล้องมันก็จะเอาภาพไปอยู่ในกล้อง
แต่มันใช่ของจริงไหมที่เข้าไปอยู่ในกล้อง?
ของจริงก็นั่งกันอยู่นี่
แต่เขาถ่ายไปในกล้อง
เพราะฉะนั้นภาพถ่ายเข้าไปอยู่ในกล้องมันไม่ใช่ของจริง

จิตก็เหมือนกัน
จิตมันก็เหมือนกล้องถ่ายภาพ ถ่ายวิดิโอ
มันถ่ายรูปร่างตัวเราเอง แล้วก็ไปปรากฏในใจ
ใจมันจำ มันก็สร้างเป็นรูปร่าง แขน ขา หน้าตา

เอาเรื่องนี้มาพูดเพื่ออะไร
เพราะว่าในทางการปฏิบัติ
#เราจะต้องเข้าใจเรื่องเหล่านี้
#อารมณ์บัญญัติ #อารมณ์ปรมัตถ์
#อารมณ์ที่เป็นของจริง #ของปลอม
#ไม่อย่างนั้นเราจะมัวหาของปลอมอยู่

อย่างเช่น เวลากำหนดไป ช่วงแรกก็เห็นมือ เห็นขา ลำตัว
พอฝึกไป ๆ มือหายไปไหน ขาหายไปไหน ตัวหายไปไหน
ตัวมี หัวไม่มี
กลัวอีก
เกิดความตกใจ ตัวไม่มี
แต่ที่จริงที่มันยังมีอยู่ มันก็มีของปลอมอยู่
จิตมันสร้างอารมณ์สมมติขึ้นมาในใจเป็นรูปเป็นร่าง

#เวลาที่จิตมันทิ้ง จิตมันไม่จำ ไม่ปรุง ไม่แต่ง
#มโนภาพมันก็จะหายไป
ถ้ามันหายไป เราจะกลัวไหมต่อไป?
#ไม่ต้องไปกลัวอะไร

แล้วจะดูอะไรเมื่อรูปร่างหายไป?
ก็จะกำหนดดูสภาวะหรือปรมัตถ์
เพราะปรมัตถ์มันยังมีอยู่ ปรากฏอยู่
อย่างมือที่แตะกันอยู่ มือที่สัมผัสกันอยู่ มันรู้สึกอย่างไร?
แข็งหรืออ่อน? ร้อนหรือเย็น?
สัมผัสมันยังมีอยู่
มันยังรู้สึก มีความรู้สึกสัมผัส ผัสสะ
แต่มันไม่มีความเป็นรูปร่างมือ
มีแต่ความรู้สึก
อันนี้มันจะเป็นปรมัตถ์ หรือเป็นสภาวะ
เป็นอารมณ์ที่เป็นจริงแท้ ๆ

นั่งอยู่ขณะนี้
ที่ก้น ที่ขาสัมผัสพื้น มีความรู้สึกไหม?
รู้สึกแข็ง
หรือขาพับกันอยู่ รู้สึกตึง หนัก

แต่ถ้าจิตเขาทิ้งสมมติ
เวลาหลับตา มันจะไม่เห็นรูปร่างขา
แต่มันจะรู้สึกสัมผัส ความหนัก ความแข็งความตึง ความไหว
อย่างนี้ก็ให้รู้ว่าจิตเขาทิ้งสมมติแล้ว
เหลือแต่สภาวะ
#วิปัสสนาจะต้องระลึกรู้สภาวธรรมหรือปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏ

หรือว่าเคยกำหนดดูท้องพองยุบ
พองหนอ ยุบหนอ
ใหม่ ๆ เราก็จะเห็นท้องพองท้องยุบ
บริกรรมด้วย พองหนอ ยุบหนอ
ถ้าฝึกต่อ ๆ ไป มันไม่รู้ว่าพองหรือยุบแล้ว
รวมทั้งรูปร่างท้องไม่ปรากฏ
ความหมายว่าพองหรือยุบไม่ปรากฏ
มันก็จะเหลือแต่ปรมัตถ์
คือเหลือแต่ไหว ๆ กระเพื่อม ๆ
อันนี้คือของจริงที่เป็นปรมัตถ์ ตึง ๆ หย่อน ๆ ไหว ๆ
แต่มันบอกไม่ได้ว่าพองหรือยุบ
พองยุบมันก็เป็นความหมาย

บัญญัติมันจะมี
๑. บัญญัติโดยชื่อ ภาษา
๒. บัญญัติโดยความเป็นรูปร่างสัณฐาน
รูปร่างมือ รูปร่างแขน ขา หน้าตา
๓. บัญญัติโดยความหมาย
มันตีความหมายว่านี่นั่ง นี่พอง นี่ยุบ

เพราะฉะนั้นปฏิบัติไป จิตมันจะทิ้ง
ทิ้งความเป็นรูปร่าง ทิ้งความหมาย
มันก็จะเหลือแต่ความรู้สึกไหว ๆ กระเพื่อม
เราก็จะดูอยู่อย่างนั้น
ไม่ต้องไปตกใจว่ามือ ท้องไปไหน
หรือจะต้องดู นึกให้ได้มันพองหรือยุบ
มันก็ไม่จำเป็นแล้ว
เหลือแต่ของจริง ก็จะแค่ไหว ๆ กระเพื่อม

หรือบางท่านกำหนดที่ลมหายใจเข้าออก
เข้าพุท ออกโธ พุทโธ พุทโธ
รู้ลมเข้า ลมออก ยาว สั้น
คำบริกรรมว่าพุทโธเป็นบัญญัติ สมมติ แต่งตั้ง เรียกชื่อขึ้นมา
จะเรียกพุทโธ จะเรียกธัมโม จะเรียกสังโฆ
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ก็เป็นเพียงภาษา
บัญญัติศัพท์ภาษามากำกับลมหายใจ
เรานึกระลึกไปถึงคุณของพระพุทธเจ้า
พุทโธเป็นสรรพนามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ระลึกไปถึงคุณของพระพุทธเจ้า
ก็จะเป็นการทำสมาธิแบบพุทธานุสติ
ทำให้เกิดความสงบได้

แต่ถ้าเราบริกรรมพุทโธเพียงแค่กำกับลมหายใจเข้าออก
มันก็จะมาเกี่ยวกับเรื่องอานาปานสติ ดูลมเข้า ดูลมออกอยู่

ฉะนั้นลมหายใจเป็นจริงไหม?
ลมหายใจที่สูดเข้าไปมีจริงไหม?
มีลมอยู่จริง
แต่ว่าถ้าเราระลึกไปที่ เข้า ออก ยาว สั้น
มันก็จะไปแปลความหมาย
ไปใส่ค่าว่าอย่างนี้คือเข้า อย่างนี้คือออก
อย่างนี้คือเข้ายาว นี้เข้ายาว ออกยาว เข้าสั้น
มันก็จะเป็นความหมาย
ความหมายมันก็เป็นสมมติอย่างหนึ่ง

ถ้าฝึกไป ๆ มันเกิดเหลือแต่สภาวะ
มันก็จะรู้สึกเพียงแค่หายใจอยู่ หายใจอยู่
แต่ไม่มีความหมายว่าเข้า ว่าออก
หรือไม่มีภาษาเรียกด้วย คำบริกรรมต่าง ๆ หายไป
เหลือแต่ความรู้สึกที่รู้สึกหายใจอยู่
แปลไม่ออกว่ามันคือเข้าหรือออก
ถ้ามันรู้แค่สภาวะ มันจะเพียงแค่รู้สึก ๆ อยู่

ฉะนั้น #ถึงระดับการภาวนา
#จิตเขาทิ้งสมมติไปหมด
#รูปร่างสัณฐาน #แขนขาหน้าตาทุกอย่างหายไป
#ก็จะเหลือแต่ความรู้สึก
เช่น #ความกระเพื่อมๆ #ความไหวๆ

ถ่ายทอดสด พระธรรมเทศนา
คอร์สกรรมฐานสั้นเทศกาลปีใหม่ ๒๕๖๗ (๒๙-๑๒-๖๖)
.............................
ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา







"...ความยิ่งหย่อนแห่งวาสนาบารมีนั้น
มีได้ทั้งคนและสัตว์ สัตว์บางตัวมีวาสนา
บารมีและอัธยาศัยดีกว่ามนุษย์บางคน
แต่เขาตกอยู่ในภาวะความเป็นสัตว์
ก็จำต้องทนรับเสวยไป

สัตว์เดรัจฉานก็ยังมีและเสวยกรรมไป
ตามวิบากของมัน มิให้ประมาทเขาว่า
เขาเป็นสัตว์ ที่เกิดในกำเนิดต่ำทราม
ความจริงเขาเพียงเสวยกรรมตามวาระ
ที่เวียนมาถึงเท่านั้น เช่นเดียวกับมนุษย์
ขณะที่ตกอยู่ในความทุกข์จนข้นแค้น
ก็จำต้องทนเอา จนกว่าจะสิ้นกรรม

เมื่อเราเกิดเสวยชาติเป็นมนุษย์ มีสุขบ้าง
ทุกข์บ้าง ตามวาระของกรรมที่อำนวย
มนุษย์ก็มีกรรมชนิดหนึ่ง ที่พาให้มาเป็น
อย่างนี้

ซึ่งล้วนผ่านกำเนิดต่าง ๆ จนนับไม่ถ้วน
ให้ตระหนักในกรรมของสัตว์ว่ามีต่างกัน
เพราะฉะนั้น ไม่ให้ดูถูกเหยียดหยาม
ในชาติกำเนิดความเป็นอยู่ของกันและกัน
และสอนให้รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมดี
กรรมชั่วเป็นของ ๆ ตน..."

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต






"..คนเราทุกวันนี้ไม่รู้จักหลบจักหลีกหาแต่สมบัติภายนอกไม่ยอมหาสมบัติภายในมาใส่จิตใส่ใจของตนเอง.."

โอวาทธรรม:หลวงปู่เผย วิริโย







พิจารณา ดูใจความ กิน-กาม-เกียรติ
ความหมายเหยียด ออกไปได้ หลายสาขา
คือเป็นเพียง โลกธรรม ตามธรรมดา
หรืออาจฆ่า วิญญาณคน จนประลัย

หรืออาจเป็น ที่ตั้ง อุปทาน
สิงสันดาน แห่งมนุษย์ ยากแก้ไข
เป็นอาหาร แล้วเป็นเหยื่อ พร่ำเพรื่อไป
แล้วแต่ใคร โง่ฉลาด ปราชญ์หรือพาล

เมื่อใช้มัน ถูกวิธี ก็มีประโยชน์
ถ้าใช้ผิด ก็ผลิตโทษ มหาศาล
อย่าประมาท กิน-เกียรติ-กาม ยามพบพาน
มันประหาร ตายทั้งเป็น เฟ้นให้ดี

สมเด็จพระธรรมโกษาจารย์
ป.อ.ปยุตโต





“พร แปลว่า ประเสริฐ
จะเกิดขึ้นได้ ต้องสร้างด้วยตัวเอง
การขอพร เป็นจุดเริ่มต้น
แต่จะเป็นจริง หรือไม่
ขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเอง”

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ






การเสกสรรปั้นยอของกิเลส

วันหนึ่งคืนหนึ่ง เดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง ล่วงไปนานเท่าไร
วันหนึ่งล่วงไปแล้ว ๒๔ ชั่วโมง ทั้งวันทั้งคืนหนึ่ง
ล่วงไปแล้ว ๒๔ ชั่วโมง แล้วปีหนึ่งล่วงไปเท่าไร ๓๖๕ วัน
ชีวิตจิตใจของเราล่วงไปด้วยหรือไม่ เราคิดแล้วยัง
คนมันหนุ่มสาวย้อนหลังได้ไหม มันแก่ไปเรื่อยๆ
สุดท้ายก็จม ธาตุขันธ์จมดิน จมน้ำ จมลม จมไฟ ไปตามเดิม
จิตใจเราเป็นยังไง ได้หลักได้ที่พึ่งแล้วยัง
อาศัยธาตุขันธ์นี้มานานแล้ว พอจะสั่งสมความดี
เป็นกำลังของตัวพอเป็นที่พึ่งของตัวได้บ้าง
ความดีเหล่านั้นได้แล้วหรือยัง
.................................................
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระและฆราวาส ณ วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๔
"การเสกสรรปั้นยอของกิเลส"






บุคคลที่ทน ในสิ่งที่คนอื่น ทนได้ยาก
ทำในสิ่งที่คนอื่น ทำได้ยาก
บุคคลนั้นจะเข้าถึง ความสำเร็จของชีวิต

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ










สร้างด้วยตัวเอง
การขอพร เป็นจุดเริ่มต้น
แต่จะเป็นจริง หรือไม่
ขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเอง”

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ






การเสกสรรปั้นยอของกิเลส

วันหนึ่งคืนหนึ่ง เดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง ล่วงไปนานเท่าไร
วันหนึ่งล่วงไปแล้ว ๒๔ ชั่วโมง ทั้งวันทั้งคืนหนึ่ง
ล่วงไปแล้ว ๒๔ ชั่วโมง แล้วปีหนึ่งล่วงไปเท่าไร ๓๖๕ วัน
ชีวิตจิตใจของเราล่วงไปด้วยหรือไม่ เราคิดแล้วยัง
คนมันหนุ่มสาวย้อนหลังได้ไหม มันแก่ไปเรื่อยๆ
สุดท้ายก็จม ธาตุขันธ์จมดิน จมน้ำ จมลม จมไฟ ไปตามเดิม
จิตใจเราเป็นยังไง ได้หลักได้ที่พึ่งแล้วยัง
อาศัยธาตุขันธ์นี้มานานแล้ว พอจะสั่งสมความดี
เป็นกำลังของตัวพอเป็นที่พึ่งของตัวได้บ้าง
ความดีเหล่านั้นได้แล้วหรือยัง
.................................................
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระและฆราวาส ณ วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๔
"การเสกสรรปั้นยอของกิเลส"






บุคคลที่ทน ในสิ่งที่คนอื่น ทนได้ยาก
ทำในสิ่งที่คนอื่น ทำได้ยาก
บุคคลนั้นจะเข้าถึง ความสำเร็จของชีวิต

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร