วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2014, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ

ต้นหมากเม่า หรือ มะเม่า
ในภาษาบาลีเรียกว่า "สะละกา"



ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวิทยาศาสตร์ Antidesma ghaesembilla Gaertn.
ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae

มะเม่าหรือหมากเม่า ยังมีแยกย่อยเป็นอีกหลายพันธุ์
เพราะว่าพืชตระกูลมะเม่านี้มีด้วยกัน ๑๗๐ ชนิด
กระจายอยู่ในเขตร้อนของอัฟริกา เอเซีย ออสเตรเลีย
หมู่เกาะของอินโดนีเซีย เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก

ที่พบมากในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน ๕ พันธุ์ คือ
มะเม่าสร้อย มะเม่าไข่ปลา มะเม่าควาย มะเม่าดง และมะเม่าหลวง


ต้นและใบ

มะเม่าเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ต้นสูง ๕-๑๐ เมตร
ต้นมะเม่าเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด ๔ คนโอบ อายุยืนยาว
เป็นไม้พื้นเมืองเนื้อแข็ง แตกกิ่งก้านมาก กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มทรงกลม
ใบเป็นใบเดี่ยว ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน สีเขียวสด
ใบออกหนาแน่นเป็นร่มเงาได้ดี

ดอกขนาดเล็กสีขาวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อยาวตามซอกใบและปลายกิ่ง
คล้ายช่อดอกพริกไทย ดอกแยกเพศกันอยู่คนละต้น
ช่วงที่ออกดอก ได้แก่ ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
และผลจะสุกในเดือนสิงหาคม-กันยายน ผลมีขนาดเล็กเป็นพวง


ผลของมะเม่า

ภายใน ๑ ผลประกอบด้วย ๑ เมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
ผลดิบสีเขียวอ่อนหรือเขียวเข้ม มีรสเปรี้ยว
พอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและสีม่วงดำเข้ม คือ สุกจัด
มีรสหวานชุ่มคอ อร่อยมาก โดยสีของผลจะบอกความแก่ของผล

ถ้ายังสีเขียว-สีเหลืองแสดงว่ายังอ่อน รสเปรี้ยวมาก
เนื้อกรอบ ใช้ตำ หรือจิ้มพริกเกลือ

สีแดง ยังเปรี้ยวมาก แต่เนื้อจะฉ่ำน้ำ
หากเอาไปตำก็จะมีน้ำออกมามาก ใช้กินกับพริกเกลือก็ยิ่งอร่อย

สีดำสนิท รสจะหวานชุ่มคอ ฉ่ำน้ำ น้ำที่ได้จะออกสีน้ำเงิน+ม่วง+แดง
สีนี้สามารถล้างออกง่ายแม้จะถูกเสื้อผ้าก็ตาม

การทำน้ำผลไม้จากลูกมะเม่า ส่วนมากจะใช้ลูกสุกจัด
เพื่อจะได้ไม่ออกรสเปรี้ยวจนเกินไป รูดเอาแต่ลูกมาคั้น
จะใช้วิธีห่อผ้าขาวบางแล้วคั้นเอาแต่น้ำ (เหมือนทำน้ำอัฏฐบาน)
หรือใช้เครื่องคั้นน้ำผลไม้กดลงไปด้วยกันไม่แยกน้ำแยกกากก็ได้


ต้นมะเม่า มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง
และตามหัวไร่ปลายนาของทุกภาคในประเทศไทย
โดยที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบมากที่สุดในป่าบริเวณเทือกเขาภูพาน


:b46:

ประโยชน์และสรรพคุณ

ปัจจุบันมีการศึกษาเรื่องประโยชน์ของมะเม่า
พบว่า ทุกส่วนของพืชชนิดนี้ ตั้งแต่รากถึงใบมีคุณค่าทางอาหารสูง
โดยเฉพาะพบว่ามีแคลเซียมและธาตุเหล็ก

โดยส่วนต้นกับราก มีรสจืด แก้กษัย ขับปัสสาวะ บำรุงไต
แก้มดลูกพิการ แก้ตกขาว เส้นเอ็นพิการ
แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้มดลูกอักเสบช้ำบวม
ขับโลหิต และน้ำคาวปลา


:b46: :b46:

รูปภาพ

ต้นหมากเม่าในพระพุทธศาสนา

ต้นหมากเม่า เป็นต้นไม้อีกชนิดหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในชาดก
ได้แก่ เตมียชาดก และอกิตติชาดก
(ว่าด้วย อกิตติดาบสขอพรท้าวสักกะ)
โดยถูกกล่าวถึงในฐานะ "อาหาร" ของผู้ที่ออกบวชอยู่ป่า


ใน "เตมียชาดก" บรรยายความเป็นอยู่อย่างนักบวช
ขององค์พระโพธิสัตว์เจ้าไว้ว่า


ทรงนุ่งห่มผ้าเปลือกไม้สีแดงแล้วเสด็จเข้าบรรณศาลา
ประทับนั่งบนที่ลาดด้วยใบไม้ ยังอภิญญาห้าและสมาบัติแปดให้เกิด
เสด็จออกจากบรรณศาลาในเวลาเย็น เก็บใบหมากเม่า
ที่เกิดอยู่ท้ายที่จงกรม นึ่งในภาชนะที่ท้าวสักกะประทานด้วยน้ำร้อน
อันไม่มีรสเค็ม ไม่มีรสเปรี้ยว ไม่เผ็ด เสวยดุจบริโภคอมฤตรส ฯลฯ"


:b47:

ส่วนในอรรถกถา อกิตติชาดก
ว่าด้วย อกิตติดาบสขอพรท้าวสักกะ
กล่าวถึงไว้เป็นต้นว่า

ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงเสวยชาติเป็นอกิตติดาบส
ได้เป็นผู้มีปรารถนาน้อย สละทรัพย์อันมหาศาลออกถือบวชอยู่ป่า
มีของบริโภคเพียงใบหมากเม่านึ่ง ได้ให้ทานด้วยใบหมากเม่านึ่งนั้นเอง
ยังเป็นเหตุให้ประสบผลอันยิ่งใหญ่ คือ เป็นไปเพื่อสัพพัญญุตญาณ


(๑) "ลำดับนั้น พระศาสดาประทับท่ามกลางบริษัทนั้นแหละ
เมื่อทรงกระทำอนุโมทนาตรัสว่า
อุบาสก การบริจาคของเธอใหญ่หลวง
กรรมที่ทำได้ยากยิ่งเธอกระทำแล้ว
ธรรมดาว่าทานวงศ์นี้เป็นวงศ์ของหมู่บัณฑิต
แต่ก่อนแท้จริง อันชื่อว่าทาน ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์
ไม่ว่าเป็นบรรพชิต ควรให้ทั้งนั้น
ก็บัณฑิตแต่เก่าก่อนบวชอยู่ในป่า
และแม้จะฉันใบหมากเม่านึ่งกับวัตถุเพียงแต่น้ำ
ไม่เค็มและไร้กลิ่น ก็ยังให้แก่ยาจกที่ประจวบเหมาะ
ตนเองยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยปีติสุข"


(๒) "พระมหาสัตว์มิได้ไปที่ไหนๆ เพราะท่านปรารถนาน้อย
ในเวลาที่ต้นหมากเม่านั้นมีผลก็ฉันผลหมากเม่า
เวลามีแต่ใบก็เก็บมานึ่งฉัน"


(๓) "ด้วยเดชแห่งศีลของท่าน (อกิตติดาบส)
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกเทวราช
แสดงอาการร้อนแล้ว ท้าวสักกเทวราชทรงนึกว่า
ใครเล่านะประสงค์จะให้เราเคลื่อนจากที่ ทรงเห็นอกิตติบัณฑิต
ก็ทรงดำริว่า ดาบสนี้รักษาศีลเพื่ออะไรเล่า ต้องการเป็นท้าวสักกะ
หรือปรารถนาอย่างอื่น ต้องทดลองท่านดู แล้วทรงดำริต่อไปว่า
ดาบสนี้เลี้ยงชีวิตด้วยลำบาก ฉันใบหมากเม่าที่เพียงนึ่งกับน้ำ
ถ้าปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ คงจะให้ใบหมากเม่านึ่งแก่เรา
ถ้าไม่ปรารถนาคงไม่ให้ แล้วแปลงเป็นพราหมณ์ไปสู่สำนักของท่าน

พระโพธิสัตว์นึ่งใบหมากเม่าแล้วปลงลง
คิดว่าเราให้เย็นจึงจะฉัน นั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา

ลำดับนั้น ท้าวสักกะได้ยืนอยู่เฉพาะหน้าท่านเพื่อขอภิกษา
พระมหาสัตว์เห็นท้าวสักกะแล้วมีความโสมนัส
ดำริว่า เป็นลาภเหลือหลายของเราซินะ เราเห็นยาจก
วันนี้เราต้องให้ทานทำมโนรถของเราให้ลุถึงที่สุด
ถือใบหมากเม่านึ่งไปใส่ในภาชนะของท้าวเธอ
มิได้เหลือไว้เพื่อตนเลยด้วยคิดว่า
ขอทานของเรานี้จงเป็นปัจจัยแห่งพระสัพพัญญุตญาณ ดังนี้

พราหมณ์ได้รับใบหมากเม่านึ่งนั้นเดินไปหน่อย ก็อันตรธานไป

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ครั้นให้แก่ท้าวเธอแล้ว
ก็มิได้นึ่งใหม่ คงยับยั้งด้วยปีตินั่นเอง"


- ท้าวสักกเทวราช คือ พระอนุรุทธะ
- อกิตติดาบส คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า


อ่านอรรถกถาเรื่อง อกิตติชาดก ที่
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... =27&i=1806



:b39:


ที่มาของข้อมูลและภาพ
http://www.komchadluek.net/detail/20130320/154220
http://larndham.org
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... =27&i=1806
http://5precept.wordpress.com
http://www.phargarden.com/main.php?acti ... age&pid=95
http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood ... edient=325
http://topicstock.pantip.com/jatujak/to ... 25099.html

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2015, 19:24 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2015, 16:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 14:07
โพสต์: 278


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร