วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2009, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: น้ำมันรำข้าว
Image110906104646.jpg
Image110906104646.jpg [ 90.69 KiB | เปิดดู 1705 ครั้ง ]
คำอธิบาย: โครงสร้างเมล็ดข้าว
pic.4.gif
pic.4.gif [ 72.78 KiB | เปิดดู 1707 ครั้ง ]
รำข้าว คือเยื่อสีทองที่ห่อหุ้มเมล็ดข้าวกล้องซึ่งเป็นส่วนที่มีคุณค่า ทางโภชนาการสูงที่สุดของข้าว
อุดมไปด้วยวิตามินอีและโอรีซานอล อันเป็นสารธรรมชาติที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลและช่วยต้านอนุมูลอิสระ
นอกจากนี้ รำข้าวที่นำมาสกัดน้ำมันยังมีส่วนของจมูกข้าวอยู่ด้วยถึง 30% ทำให้น้ำมันรำข้าวอุดมด้วยคุณค่าสารอาหาร
น้ำมันรำข้าวมีคุณสมบัติเด่นคือ
สามารถลดคอเลสเตอ-รอลที่ไม่ดี (Low Density Lipoprotein Cholesterol: LDL-C)
โดยไม่ลด คอเลสเตอรอลที่ดี (High Density Lipoprotein Cholesterol: HDL-C)
เพราะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง (Monounsaturated Fatty Acid: MUFA)
และมีสัดส่วนกรดไขมันที่เหมาะสม คือ
กรดไขมันอิ่มตัว : กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว : กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เท่ากับ
10: 10-15 : <10 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน
นอกจากนั้นน้ำมันรำข้าวยังอุดมไปด้วยวิตามิน และสารธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพ
ทั้งวิตามินอี-กลุ่มโทโคฟีรอล (Tocopherol) และโทโคไตรอีนอล (Tocotrienol)
รวมทั้งโอรีซานอล (Oryzanol) ที่ช่วยป้องกันการเกิด ออกซิเดชั่น
อันเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งและโรคหัวใจ


กรดไขมันที่เหมาะสมเพื่อสุขภาพ

น้ำมันรำข้าวมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fatty Acid: MUFA)
สูงกว่า 40% ของปริมาณกรดไขมันทั้งหมด
ซึ่ง MUFA นี้เป็นตัวช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี
และยังสามารถเพิ่มหรือคงระดับคอเลสเตอรอลที่ดี
น้ำมันรำข้าวมีสัดส่วนกรดไขมันในปริมาณที่สมดุล
เหมาะสมต่อผู้บริโภคที่สุดตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก

(World Health Organization: WHO)
สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Heart Association: AHA) และ
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO)
ซึ่งสัดส่วนกรดไขมันที่เหมาะสมนี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น
โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง


วิตามินและสารธรรมชาติเพื่อสุขภาพ
น้ำมันรำข้าวมีวิตามินและสารอาหารธรรมชาติที่สำคัญต่อร่างกายหลายชนิด
โดยเฉพาะวิตามินอี-กลุ่มโทโคไตรอีนอล และโอรีซานอล
ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอลและช่วยต้านอนุมูลอิสระ

วิตามินและสารธรรมชาติที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล

วิตามินอี-กลุ่มโทโคไตรอีนอล (Tocotrienol) พบมากที่สุดในน้ำมันรำข้าว
วิตามินอี-กลุ่มโทโคไตรอีนอล มีคุณสมบัติเด่นคือ ช่วยขัดขวางการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล
[color=#BF40BF]โอรีซานอล (Oryzanol) พบในน้ำมันจากรำข้าวเท่านั้นไม่พบในน้ำมันพืชชนิดอื่น

โอรีซานอลช่วยลดคอเลสเตอรอล โดยการลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหารสู่ร่างกาย
และลดการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในตับ
ไฟโตสเตียรอล (Phytosterol) พบใน[color=#FF40BF]น้ำมันรำข้าว
มากกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น โดยมีมากถึง 18,000 ppm.
ไฟโตสเตียรอล มีคุณสมบัติเด่นในการช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลของร่างกาย

วิตามินและสารธรรมชาติที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ

การเกิดออกซิเดชั่น (Oxidation) ในร่างกายทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้น
ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง
น้ำมันรำข้าวมีวิตามินและสารธรรมชาติหลายชนิดที่ช่วยป้องกันการเกิดออกซิเด ชั่น ได้แก่

วิตามินอี-กลุ่มโทโคฟีรอล (Tocopherol) เป็นวิตามินอีกลุ่มที่พบในน้ำมันพืชทั่วไป
วิตามินอี-กลุ่มโทโคไตรอีนอล (Tocotrienol) พบมากที่สุดในน้ำมันรำข้าว
วิตามินอี-กลุ่มโทโคไตรอีนอลสามารถป้องกันการเกิด ออกซิเดชั่นได้ดีกว่าวิตามินอี-กลุ่มโทโคฟีรอล
โอรีซานอล (Oryzanol) พบในน้ำมันจากรำข้าวเท่านั้น ไม่พบในน้ำมันพืชชนิดอื่น จากการวิจัยพบว่า
แนบไฟล์:
คำอธิบาย: ข้าวไทย
20060802111943.jpg
20060802111943.jpg [ 21.47 KiB | เปิดดู 1704 ครั้ง ]
โอรีซานอลสามารถป้องกันการเกิดออก ซิเดชั่นได้มากกว่าวิตามินอี- แอลฟาโทโคฟีรอล (-Tocopherol) ถึง 6 เท่า


Nakamura, H. 1996. Effect of ? - oryzanol on Hepatic Cholesterol Biosynthesis and Fecal Excretion of Cholesterol Metabolites. Radioisotopes. 25:371-374.
นัยนา บุญทวียุวัฒน์ และ เรวดี จงวัฒน์. 2002. น้ำมันรำข้าว ทางเลือกเพื่อสุขภาพของคนไทย. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.
Dejian H., B. Ou., M. Hampsch-Woodill., J. A. Flanagan. and E. K. Deemer. 2002. Development and Validation of Oxygen Radical Absorbance Capacity Assay for Lipophilic Antioxidants Using Randomly Methylated B-Cyclodextrin as the Solubility Enhancer. J. Agri. Chem. 50: 1815-1821.


ผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการ บริษัท น้ำมันบริโภคไทย จำกัด
Eitenmiller. R., Ronald 1997. Vitmain E Content of Fats and Oils Nutritional Implications. Food Technology.
51 (5): 80 ( ข้อมูลน้ำมันถั่วเหลืองในตารางเป็นค่าเฉลี่ยของ 960 -1,150 ppm.)
Hamm, W. and R. J. Hamilton. 2000. Edible Oil Processing. Sheffield Academic Press Ltd, UK.

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร