วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 07:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2009, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมื่อหันกลับมามองใคร่ครวญชีวิตในแต่ละขณะ
ที่กำลังรู้สึกอยากได้อยากเป็น หรือกำลังต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่งสักอย่าง
สิ่งที่ควรจะเห็นชัดที่สุดแต่เราส่วนใหญ่ก็ล้วนมองข้ามหรือมองไม่เห็น
ก็คือ แรงขับอันงุ่นง่านภายในที่พุ่งทะยาน
จะเข้าไปไขว่คว้าจับจองยึดไว้เป็นของเรา
ยิ่งแรงขับที่ว่านี้มีพลังมากเท่าใด
ความงุ่นง่านกระเพื่อมไหวก็มีแรงมากเท่านั้น
และเพื่อไปให้ถึงการได้รับหรือเป็นเจ้าของสิ่งนั้น
ก็มักทำให้ความสามารถในการเลือกใช้วิธีการอันถูกต้องเหมาะสม
เพื่อให้ได้สิ่งนั้นมาลดทอนลง และยังลดทอนความสามารถในการคิดค้น
สร้างสรรค์วิธีการที่ดีเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมาโดยไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น
ดังนั้นความต้องการหรือความอยากได้อยากเป็น
ของแต่ละคนที่มากเกินงาม
จึงมักตามมาด้วยความทุกข์เจ็บปวด ความขัดแย้งรุนแรง
ความโกรธเกลียด ความเสื่อมสูญทางจิตวิญญาณของมนุษย์
ความทรุดโทรมของสังคมและธรรมชาติแวดล้อม เป็นต้น

ที่ผ่านมาผมสงสัยใคร่รู้มาโดยตลอดว่า
ทำไมเกือบทุกขณะของชีวิต
จึงรู้สึกอยากได้หรือต้องการสิ่งต่างๆต่อไปนี้
อย่างไม่รู้จักสิ้นสุด ไล่เรียงตั้งแต่เรื่องปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ
ทรัพย์สินเงินทอง ความสำเร็จ ชื่อเสียงหน้าตาทางสังคม
คนรัก ยศตำแหน่ง พรรคพวกเพื่อนพ้องที่คอยช่วยเหลือรับใช้เรา
อำนาจที่จะสามารถบันดาลอะไรได้ตามอำเภอใจ
เสน่ห์ในตัวที่เป็นแรงดึงดูดให้คนยอมรับนับถือ
รวมไปถึงความต้องการ
หรือความปรารถนาสากลที่มนุษย์ทุกคนต้องการ
อย่างเช่น การยอมรับนับถือ ความรัก ความภาคภูมิใจ
การได้รับความใส่ใจดูแลอย่างอบอุ่น
ความไม่รู้สึกแปลกแยกโดดเดี่ยว
หรือถูกกีดกันออกจากกลุ่มหรือสังคม
ความมั่นคงภายใน และความสุขในชีวิต เป็นต้น

ผมสงสัยอย่างยิ่งว่าสิ่งเหล่านี้
เมื่อแสวงหาจนได้มันมาไม่ว่ามากหรือน้อยเท่าใด
แต่ก็หาได้รู้จักอิ่มเอมพอใจไม่ ที่น่าประหลาดใจมาก
ก็คือ หลายครั้งของชีวิตยิ่งได้รับสิ่งนั้นสมใจหวังมากเท่าใด
ก็ยิ่งกลับเป็น แรงกระตุ้นให้รู้สึกต้องการหรืออยากมากขึ้น
สิ่งที่พอจะอธิบายความข้อนี้ได้ชัดเจน
ก็คือ ผมและหลายๆคนเข้าถึงความสุขแบบเต็มอิ่มได้ยากขึ้น
หรือพึงพอใจในสิ่งที่ตนมี ตนเป็นได้ยากขึ้นทุกที
ต้องตะเกียกตะกายพุ่งทะยานแสวงหาเพื่อเติมเต็มให้ตัวเราอย่างไม่รู้ว่าจะพอ
หรือสิ้นสุดลงในวันไหนของชีวิต
หากเป็นความต้องการหรืออยากได้ในเรื่องทรัพย์สินเงินทอง
หรือเครื่องบำรุงบำเรอให้ชีวิตได้สุขสบาย
ยังพออธิบายความรู้สึกต้องการอย่างไม่รู้จักพอได้ไม่ยาก
แต่กรณีที่เป็นความต้องการหรือความปรารถนาสากล
เช่น การได้รับการยอมรับหรือความรัก เป็นต้น
ทำไมยิ่งได้รับมากขึ้นเท่าใด
ก็กลับยิ่งต้องการมากขึ้นอย่างไม่รู้จักอิ่มไม่ รู้จักพอเสียที
เพราะอะไรเราจึงต้องการเติมเต็มสิ่งเหล่านี้อยู่ไม่สร่างซา
เมื่อไรถึงจะมีสิ่งเหล่านี้มากพอ
จนรู้สึกได้ถึงความมั่นคงภายในอย่างแท้จริง
หรือจิตใจเป็นอิสระจากสิ่งอื่นคนอื่นได้เสียที

เรื่องความรู้สึกต้องการหรืออยากได้อยากเป็นอย่างไม่รู้สิ้นสุดนี้
เมื่อมองแบบพุทธก็คือ ตัณหาหรือความทะยานอยากทั้งหลายทั้งปวง
ซึ่งเนื้อแท้ของมันก็คือ ความไม่รู้จักอิ่ม
เมื่อมีสิ่งล่อที่เป็นเหยื่อจากภายนอกเราก็จะรู้สึกอยากได้
หรือต้องการขึ้นมาทันที ซึ่งอีกด้านหนึ่งเราก็ได้รับแรงกระตุ้น
ที่มีพลังมหาศาลจากวัฒนธรรมบริโภค
นิยมของสังคมสมัยใหม่ที่คอยปลุกเร้าให้เรารู้สึกขาดพร่องอยู่ตลอดเวลา

ในที่นี้ผมมีข้อสังเกตที่อยากชวนให้คิดใคร่ครวญต่อ
ก็คือ ประการแรกที่เรารู้สึกอยากหรือมีความต้องการอยู่เรื่อยๆ
และมีแนวโน้มเข้มข้น รุนแรงนั้น
ก็เพราะจิตใจภายในเรารู้สึกขาดพร่อง
หรือถูกทำให้รู้สึกขาดพร่องอย่างไม่รู้ตัว
สภาวะของความรู้สึกขาดพร่อง
มีอาการคล้ายๆกับจิตใจที่พร้อมจะแส่ส่ายหรือโหยหาสิ่งอื่น
หรือคนอื่นจากภายนอกได้ทุกขณะ
ดังนั้นสิ่งต่างๆที่ตอบสนองความต้องการ
จึงไม่สามารถทำให้เรารู้สึกเต็มอิ่ม หรือรู้สึกมั่นคงภายในอย่างแท้จริง
กล่าวอีกแบบหนึ่งก็คือ การได้รับสิ่งที่ต้องการไม่ว่าจะมากเท่าใด
ทางเดียวอาจจะไม่ได้ช่วยให้เกิด ความรู้สึกอิ่มเอมเพียงพอ
เป็นไปได้ไหมว่าเวลาเราได้รับสิ่งที่เราต้องการ
หรือเวลาที่ความอยากได้รับการบำบัด
ก็จะเกิดความรู้สึกเป็นสุขหรือปิติพอใจขึ้นมาทันที
จะมากบ้างน้อยบ้าง หรือจะหยาบบ้างละเอียดประณีตบ้าง
ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งนั้นมันมีอิทธิพลห
รือมีคุณค่าความหมายอย่างไรกับชีวิตจิตใจในขณะนั้น
เมื่อเกิดความรู้สึกสุขหรือพึงพอใจ
ก็มักจะเป็นปัจจัยทำให้เราเข้าไปหมายมั่น
จะได้สิ่งนั้นหรือทำนองนั้นในคราวต่อไป
เพราะเมื่อได้รับแล้วก็ถูกตอกย้ำให้รู้สึกสุขดังเช่นเคย
เป็นเยี่ยงนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และก็น่าแปลกใจที่ความยึดมั่นถือมั่น
ในความรู้สึกสุขนี้ยังทำให้เราอยากได้
ความสุขที่ยิ่งขึ้นไปอีกไม่ว่าจะเป็นความสุขที่เข้มข้นมีปริมาณมากขึ้น
เป็นความสุขที่เปลี่ยนรูปร่างหน้าตาไปอย่างไม่ซ้ำซากจำเจ เป็นต้น
ดังนั้นความรู้สึกสุขหรือสุขเวทนา
จึงเป็นแรงขับให้เราติดย้อมใจจนอยากหมายมั่นที่จะได้มันอีกอย่างไม่รู้สิ้นสุด
และเพื่อให้ได้สุขเวทนาเราจึงแสวงหาสิ่งที่เราต้องการ
หรือปรารถนาอย่างไม่รู้จบสิ้นนั่นไง

ประการต่อมาเป็นไปได้ไหมว่า
หลายครั้งหลายคราวที่เราเสพเสวยความรู้สึกสุขเราดำรงอยู่กับมัน
อย่างฉาบฉวย ผิวเผิน กล่าวคือ เราไม่ค่อยได้ละเลียดเข้าถึงความสุข
จากการได้รับสิ่งที่ต้องการอย่างลึกซึ้ง
แต่กลับเสพเสวยความสุขอย่างเร่งรีบฉาบฉวย
จึงทำให้เราสัมผัสความสุขได้น้อยกว่าตามที่มันควรจะเป็น
สิ่งที่เราต้องการนั้นจึงทำได้เพียงทำให้เรารู้สึกสุขแบบขาดพร่องไป
ไม่ได้ทำให้รู้สึกสุขแบบอิ่มเอมใจ
ในแง่นี้สังเกตได้ง่ายอย่างเช่น เวลาที่ได้สิ่งใดมาใหม่
ทั้งวัตถุธรรมและนามธรรมเราจะพึงพอใจอยู่สักพัก
และจะ รีบโจนทะยานรอคอยไขว่คว้าสิ่งใหม่ทันที
ซึ่งถือเป็นความสุขที่เกิดจากการได้รับ
หรือได้ครอบครองมากกว่าจะเป็นความสุข
ที่เกิดจากการเสพเสวยหรือจากการดำรงอยู่กับมันอย่างลึกล้ำ
ด้วยเหตุนี้เราจึงอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า สุขแบบแดกด่วน
และเข้าถึงความสุขได้ยากเย็นยิ่งขึ้นทุกที

อีกแง่หนึ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เรารู้จักความรู้สึกสุขรวมทั้งทุกสิ่ง
ที่เราโหยหาต้องการเพียงผิวเผิน ไม่ได้เข้าถึงความจริงตามที่มันเป็น
กล่าวให้ลึกไปกว่านี้ก็คือ เราภาวนาได้ไม่ลึกซึ้งเพียงพอ
จนเห็นและเข้าใจความจริงของสิ่งต่างๆ
ทั้งความรู้สึกสุขและสิ่งที่ตอบสนองความต้องการว่า
ทุกสิ่งล้วนดำรงอยู่ได้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม
และสรรพสิ่งต่างๆล้วนประกอบขึ้นจากหลายเหตุหลายปัจจัย
จึงไม่คงที่ผันผวนปรวนแปรไปเรื่อยๆ
เราไม่สามารถถือเป็นเจ้าของอย่างเที่ยงแท้ถาวรได้
ดังนั้นมันจึงไม่สามารถทำให้เรารู้สึกเต็มอิ่มอย่างคงที่ตายตัวได้
ก็เพราะตัวมันเองก็มีความขาดพร่อง
มีความบกพร่องขัดแย้งในตัวเองซึ่งตรงกับความจริงพื้นฐานที่ว่า
สิ่งใดที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสังขารก็ล้วนมีความไม่เที่ยงและมีสภาวะเป็นทุกข์

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้หากเราจะทำให้ชีวิตที่รู้สึกขาดพร่อง
บรรเทาเบาบางลงไปได้บ้างนั้น ก็จำต้องใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง
จนเห็นถึงธรรมชาติที่แท้ของความรู้สึกสุข
และ สิ่งที่เข้ามาบำบัดความต้องการหรือความอยาก
ดำรงอยู่กับความรู้สึกสุขอย่างลึกซึ้งปราณีตเพื่อที่จะเข้าถึงมันตามที่เป็นจริง

โดย… ปรีดา เรืองวิชาธร


คัดลอกจาก...โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552

http://www.peacefuldeath.info/article/?p=142


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2009, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณที่หามาให้อ่านจ้า
:b12: :b16: :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2009, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุกันนา ๆ สาระด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2009, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 15:36
โพสต์: 435

ที่อยู่: malaysia

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุค่ะ :b8: :b8: :b8:
ด้วยความเคารพ :b53: :b53: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2011, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2011, 21:29
โพสต์: 20


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: จริงตามที่ท่านอาจารย์ ปรีดา เรืองวิชาธร ทุกคนเกิดมาก็พบกับการแข่งขันให้เหนือกว่ากันมีมากกว่ากันในทางโลก ยังไม่เคยเห็นมีใครสั่งสอนอบรมย์ให้แข่งขันในทางธรรมบ้างเลยใครปฎิบัติในทางธรรมได้เท่าไรก็ไม่มีใครรับรู้และส่งเสริมแต่ถ้าเราปฎิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์จะเห็นว่าเราก็มีเหมือนบุคคลอื่นหรือมากกว่าด้วยซ้ำชีวิตก็เป็นสุขไม่มีอะไรบกพร่อง :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2015, 12:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 14:07
โพสต์: 278


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร