วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 20:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 134 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




11-2.jpg
11-2.jpg [ 80.57 KiB | เปิดดู 3836 ครั้ง ]
"ความเป็นอิสระภาพที่แท้จริง ! ของปถุชน"

หากเราสัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลง
ของชีวิตเรากับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติอย่างเป็นหนึ่งเดียวกันนั้น
เราสามารถจะสัมผัสถึงต้นกำเนิดความสงบ ความว่าง
ตามวิถีชีวิตธรรมแห่งปถุชนคนสามัญ

เมื่อใจเรามีความรู้สึกว่าเรากับสรรพสิ่งนั้นเป็นหนึ่ง..รู้..มีสติ..ใจเราจะเป็นอิสระ..
แม้กระทั่งการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ไม่สามารถมาปรุงแต่งจริตเราได้
พอใจไม่พอใจไม่เป็นเหตุ นี่แหละ "ความเป็นอิสระภาพที่แท้จริง ! ของปถุชน"

ความเคยชินในการที่จะเห็นจิตใจที่มันว่าง ทุกครั้งที่เราสังเกตใจจะว่างชั่วขณะหนึ่ง
เห็นสภาวะนี้ให้มันชัด นิโรธะ ต้องทำให้แจ้ง คือเห็นมันให้ชัดเลย
สภาวะจิตที่มันไม่มีความคิดนี่เห็นมันให้ชัดเลย

และก็ตระหนักรู้ต่อไปว่าในภาวะของจิตที่ไม่มีความคิด มันไปพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเรา
และไม่มีตัวเรา นี่คืออนัตตา นี่คือภาวะจิตที่อยู่เหนือ
นี่คือจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ ทำอย่างนี้ให้เกิดความเคยชิน ในการที่จะเห็นมัน รู้มัน
และไม่ว่าเราจะมอง จะฟัง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
มันก็จะเกิดความเคยชินในการที่จะรับรู้เฉยๆ รับรู้อย่างไม่เปรียบเทียบ
รับรู้โดยไม่ให้ค่าตัดสิน ลงความเห็น, เห็นสักแต่ว่าเห็น, ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน

การที่เราสัมผัสกับธรรมชาติที่แท้ หรือความจริงที่มันแสดงออกร่วมกับการเห็นการได้ยิน
เมื่อมันมั่นคง จากฐานของสัมมาสมาธิ ความว่างที่เป็นฐานของธรรมชาติรู้ที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
มันจะแผ่ขยายครอบคลุมโอบอุ้มทุกสิ่งไว้ ไม่ว่าเราจะเห็น จะได้ยิน ความว่างมันก็อยู่ที่นั่น
ความว่างมันแสดงออก ควบคู่กับวิญญาณต่างๆ
คือโสตวิญญาณ ฆานะวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ

ขอบคุณปลายฟ้า.......

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 10:12
โพสต์: 905

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




29สาธุ.jpg
29สาธุ.jpg [ 56.28 KiB | เปิดดู 3829 ครั้ง ]
ข้าพเจ้าสลดจิตคิดหลีกหนี
ไม่อยากมีเงาบาปทาบเบื้องหลัง
ไม่คิดสร้างเสบียงที่น่าชัง
จึงระวังแก้ไขที่ใจตน

ข้าพเจ้าร่มเย็นเป็นสุขยิ่ง
ที่แก้ไขบางสิ่งพ้นสับสน
รู้กระทบเลือกกระทำกรรมของตน
ระวังคำพร่ำบ่นเพื่อนท้วงติง

ข้าพเจ้าไม่อยากรู้เมื่อสายไป
นิสัยร้ายพอกพูนเหมือนผีสิง
หลงตัวว่าทำบุญเป็นหลักพิง
ที่แท้จริงหอบบาปเอิบอาบใจ

ข้าพเจ้าตั้งจิตอธิษฐาน
ขอทุกกาลจงมีจิตแจ่มใส
รู้ระงับใจตนให้พ้นภัย
มีสติมากในการพูดจา

ไม่ทำให้ผู้มีคุณต้องครุ่นคิด
เพราะบาปจิตที่ฟังถ้อยภาษา
ทั้งปวงครู บิดรและมารดา
ขอกุศลจงรักษาข้าฯด้วยเทอญ.

กราบขอบพระคุณ..เมตตาจิตของคุณป้่า! อย่างสูงค่ะ

.....................................................
"ก้มกราบบ่อยๆ ช่วยขจัดความหยิ่ง-ทะนงออกได้"


แก้ไขล่าสุดโดย ปลายฟ้า...ค่ะ เมื่อ 26 ส.ค. 2009, 22:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




063.jpg
063.jpg [ 51.38 KiB | เปิดดู 3809 ครั้ง ]
กรรมลิขิต

กรรม หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา
เมื่อจงใจแล้วก็ย่อมทำกรรมทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ
เรียกว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ตามลำดับ
กรรมจึงเป็นคำกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว
แต่คนทั่วไปมักเข้าใจว่า กรรมหมายถึงบาปหรือเคราะห์
เป็นการเข้าใจไปในทางร้ายแต่อย่างเดียว

พุทธศาสนาสอนว่า
ความเป็นอยู่หรือชะตาชีวิตของคนเรานั้น
ไม่ขึ้นกับเวลาตกฟาก ไม่ขึ้นกับอำนาจดวงดาว
ไม่ขึ้นกับอำนาจพรหมลิขิต แต่ขึ้นอยู่กับกรรม
กรรมต่างหากเป็นผู้ลิขิตชะตาชีวิต หรืออนาคตของคนเรา
ทุกคนต่างลิขิตโชคดี-โชคร้าย
ลิขิตความเจริญความเสื่อมให้แก่ชีวิตด้วยกรรมของตนเอง
กล่าวคือ
ถ้าอยากได้ดีมีความสุขความเจริญ
ก็ต้องทำแต่กรรมดี ในทางตรงกันข้าม
ถ้าทำกรรมชั่ว ชีวิตก็จะมีแต่ความทุกข์ความเดือดร้อน
เป็นไปตามพระบาลี (เล่ม ๑๕ ข้อ ๓๓๓ ย่อว่า ๑๕/๓๓๓) ที่ว่า
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ทำดีได้ดี ปาปการี จ ปาปกํ ทำชั่วได้ชั่ว

คนที่เชื่อมั่นในหลัก “กรรมลิขิต” ว่า
“ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”
ย่อมทำแต่ความดีหลีกหนีความชั่ว
รู้จักพึ่งตนเอง ขยันทำกิจการไม่เกียจคร้าน
ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ไม่สร้างวิมานในอากาศ
ประสงค์สิ่งใดก็ลงมือทำ เพื่อให้เป็นจริงตามปรารถนา

เมื่อมีอุปสรรคเกิดขึ้นก็ไม่ย่อท้อ
พยายามหาทางแก้ไขและต่อสู้จนประสบความสำเร็จ
คนประเภทนี้แม้จะเกิดมายากจน เพราะอำนาจของกรรมชั่วที่ทำไว้ในอดีต
ก็มักจะก่อร่างสร้างตัวจนฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น ด้วยอำนาจกรรมดีที่ทำในปัจจุบัน
ไม่มัวแต่เพ้อฝันอยากได้ดีลอยๆ โดยไม่ลงมือทำ
ถ้าความอยากได้ดีลอยๆ โดยไม่ต้องทำอะไร จะเป็นเหตุให้สำเร็จความปรารถนาแล้ว
ใครเล่าในโลกนี้จะยากจน หรือพลาดจากสิ่งที่หวัง.

ก๊อบมาจาก..ปลายฟ้า...ค่ะ

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 29 ส.ค. 2009, 00:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 00:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




016[1].jpg
016[1].jpg [ 29.68 KiB | เปิดดู 3809 ครั้ง ]
...."พระอรหันต์...ของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ."

สมเด็จโตท่านเป็นยอดนักเทศน์ ท่านเทศน์ได้จับใจคนฟัง
ธรรมเทศนาของท่านเข้าใจง่าย ไม่ต้องนั่งแปลไทยให้เป็นไทย
เพราะท่านใช้คำไทยตรงๆ เป็นภาษาพื้นๆ ที่คนทั่วไปได้ฟังก็เข้าใจ เป็นที่นิยมของชนทุกชั้น
ฟังไปก็สนุกเพลิดเพลิน และยังได้คติธรรม ไม่ง่วงเหงาหาวนอนเหมือนนักเทศน์ท่านอื่นๆ

สมเด็จโตท่านได้เล่าว่า
มีคราวหนึ่งท่านได้รับนิมนต์ให้แสดงธรรม
ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จออกมาท่ามกลางเหล่าขุนนาง ข้าราชการ และข้าราชบริพาร
ครั้นพอพบหน้าท่านเจ้าผู้ครองแผ่นดินก็ทรงสัพยอกว่า
“ท่านเจ้าคุณ เห็นเขาชมกันทั้งเมืองว่าท่านเทศน์ดีนักนี่ วันนี้ต้องขอพิสูจน์หน่อย”

สมเด็จโตทรงทูลว่า
“ผู้ที่ไม่เคยฟังในธรรม ครั้นเขาฟังธรรม และได้รู้เห็นในธรรมนี้แล้ว
เขาก็ชมว่าดี ขอถวายพระพร มหาบพิตร”
และวันนี้อาตมาจะมาเทศน์เรื่อง “พระอรหันต์อยู่ในบ้าน”

ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และเหล่าขุนนาง ข้าราชการและข้าราชบริพารต่างก็มีความสงสัย
เพราะเคยได้ยินแต่ว่าพระอรหันต์ท่านจะอยู่ในถ้ำ ในป่า ในเขา
ในที่เงียบสงัดหรือที่วัดวาอารามเท่านั้น
แต่ทำไมสมเด็จโตจึงกล่าวว่าจะเทศนาเรื่องพระอรหันต์อยู่ในบ้าน
ในขณะที่ทุกคนพากันคิดสงสัยอยู่นั้น ฝ่ายสมเด็จโตทรงทราบด้วยญาณวิถีของทุกคน

ท่านจึงขยายความต่อไปว่า
จิตพระอรหันต์เป็นผู้บริสุทธิ์ ท่านละจากความโลภ ความหลง ไม่ยินดียินร้ายในเรื่องใดๆทั้งสิ้น
เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม หากใครได้ทำบุญกับพระอรหันต์แล้วไซร้
ก็ถือได้ว่าเป็นลาภอันประเสริฐที่สุด บุญที่ได้ทำกับท่านจะให้ผลในชาติปัจจุบันทันที ไม่ต้องรอไปถึงชาติหน้า
ทุกๆคนจึงมุ่งเสาะแสวงหาแต่พระอรหันต์ที่อยู่นอกบ้าน
แต่ไม่เคยมองเห็นพระอรหันต์ที่อยู่ในบ้านเลย

ทุกๆคนที่นั่งฟังเทศนาอยู่ในที่แห่งนั้น ต่างทำสีหน้างุนงงไปตามกัน เพราะไม่เข้าใจความหมาย

สมเด็จโตจึงเทศนาต่อไปว่า
“พระอรหันต์คือ พระผู้ประเสริฐ คนเราทั้งหลายพยายามค้นหาพระผู้ประเสริฐ
เพียงหวังที่จะยึดท่าน เกาะผ้าเหลืองท่าน เกาะหลังของท่าน เพื่อให้ท่านพาไปสู่ความสุข
แม้ว่าท่านจะอยู่ไกลสุดขอบฟ้า คนเราก็ยังอุตสาห์ดั้นด้นดิ้นรนไปหา เพียงหวังเพื่อยึดเหนี่ยวและบูชาท่าน

แต่พระที่อยู่ภายในที่ใกล้ตัวที่สุดกลับมองข้าม
มองไม่เห็นเหมือนใกล้เกลือ แต่กลับไปกินด่าง
อันน้ำใจของพ่อ แม่ ที่ให้ต่อลูก มีแต่ความบริสุทธิ์ ไม่คิดหวังสิ่งตอบแทน
เช่นเดียวกับน้ำใจของพระอรหันต์ที่ให้ต่อมนุษย์ ก็มีความบริสุทธิ์เช่นเดียวกัน

พ่อแม่จึงเปรียบเสมือนพระอรหันต์ของลูก
ท่านมีน้ำจบริสุทธิ์ต่อลูกมากมายนัก ท่านเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่อยู่ในท้องของท่าน
ทนทุกข์ทรมานร่วมเก้าเดือนบ้างสิบเดือนบ้าง
แต่ท่านก็ไม่เคยปริปากบ่นสักนิด มีแต่ความสุขใจ
แม้ลูกเกิดมาแล้วพิกลพิการ หูหนวก ตาบอด ท่านก็ยังรักยังสงสาร
เพราะท่านคิดเสมอว่านั้นคือสายเลือด ถือว่าเป็นลูก ไม่เคยคิดรังเกียจและทอดทิ้ง
แต่ท่านกลับจะเพิ่มความรักความสงสารมากยิ่งขึ้น

ครั้งตอนที่เราเป็นเด็กเล็กๆ ก็ซุกซนรู้เท่าไม่ถึงการณ์
เราเคยหยิก เคยข่วน ทุบ ตี เตะ ต่อย กัด หรือด่าทอพ่อแม่ต่างๆ นานา
เพราะความไร้เดียงสา ท่านก็ไม่เคยโกรธเคือง
กลับยิ้มร่าชอบใจเพิ่มความรักความเอ็นดูให้เสียอีก

แม้เราจะเป็นผู้ใหญ่รู้ผิดชอบชั่วดี
แต่บางครั้งด้วยความโกรธ ความหลง เราก็ยังทุบตีหรือด่าทอท่านอยู่
แทนที่ท่านจะโกรธหรือถือโทษเอาผิดต่อเรา ท่านกลับยอมนิ่งเฉย
ยอมที่จะทนรับทุกข์เพียงฝ่ายเดียว ยอมเสียน้ำตา
ยอมเป็นเครื่องรองรับมือ รับเท้า และปากของเรา

สำหรับลูกแล้ว ท่านเสียสละให้ทุกอย่าง
ท่านให้อภัย ในการกระทำของเราเสมอ
เพราะท่านกลัวลูกจะมีบาปติดตัว
จึงยอมที่จะเจ็บ ยอมทุกข์เสียเอง

ไม่มีใครในโลกนี้ที่จะรักเรา และหวังดีต่อเราอย่างจริงจังและจริงใจ เหมือนพ่อแม่
ท่านเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เล็กจนเราเติบใหญ่ ทุ่มเทแรงกายแรงใจ
มอบกำลังทรัพย์ให้แก่เราอย่างมากมาย จนไม่อาจประมาณค่าเป็นตัวเลขได้
ทั้งนี้เพราะมันมากมายจนเกินกว่าจะประมาณค่าได้

แม้ในบางครั้ง ลูกหลงผิดเป็นคนชั่วด้วยอารมณ์แห่งโทสะ
เป็นคนเมาขาดสติ ก่อกรรมทำเข็ญเป็นที่เดือดร้อนแก่ชาวบ้าน
ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ในสายตาของท่านแล้ว
เมื่อมีภัยสู่ลูก ก็ยังโอบไปปกป้องรักษา ช่วยเหลือลูกอย่างเต็มกำลัง
และสุดความสามารถ ยอมเสียทรัพย์สินและเงินมากมาย
เพื่อให้ลูกได้พ้นผิด ถึงแม้ว่าในบางครั้งลูกต้องถูกจองจำหมดแล้ว
ซึ่งอิสรภาพด้วยอาญาแห่งแผ่นดิน
ก็คงมีแต่พ่อแม่เท่านั้นที่คอยหมั่นดูแลไปเยี่ยมเยียน
คอยส่งน้ำส่งข้าวปลาอาหาร คอยให้กำลังใจแก่ลูก ให้ต่อสู้กับความเจ็บปวด
และทุกข์ทรมานของจิตใจที่ลูกได้รับ
และรอนับเวลาที่ลูกจะกลับมาสู่อ้อมกอดอีกครั้งหนึ่ง

น้ำใจที่มีต่อลูกเช่นนี้ เปรียบเท่ากับน้ำใจของพระอรหันต์โดยแท้
พ่อแม่จึงเป็นพระอรหันต์ในบ้านของเราจริงๆ
ทำไม พวกท่านจึงไม่คิดที่จะทำบุญกับพระอรหันต์ที่อยู่ในบ้านของท่านเล่า

สำหรับลูก ถึงแม้พ่อแม่จะเป็นโจร เป็นคนชั่วใจสายตาของบุคคลอื่น
แต่สำหรับลูกแล้ว ท่านเสียสละได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง
แม้แต่ชีวิตท่านก็สามารถเสียสละให้ลูกได้
พ่อแม่มีลูกนับ 10 คนเลี้ยงดูมาเติบใหญ่
แต่ลูกทั้ง 10 คน กลับเลี้ยงดูพ่อแม่เพียง 2 คนไม่ได้
ชอบเกี่ยงกันเพราะลูกเหล่านั้นกำลังลืมคำว่า "พระคุณของพ่อแม่"

ยามที่พ่อแม่ท่านยังมีชีวิตอยู่
เราควรที่จะเลี้ยงดูพ่อแม่ โดยการซื้ออาหารการกิน ซื้อเสื้อผ้า
พาท่านไปทำบุญทำทาน เข้าวัดเข้าวา
อะไรก็ตามที่ทำแล้วให้ท่านมีความสุข ก็ควรทำให้ท่าน
ดูแลความทุกข์สุข และเลี้ยงดูจิตใจท่าน เชื่อฟังในโอวาทคำเตือนของท่าน
คำพูดคำจาที่จะพูดกับท่านก็ต้องระมัดระวัง
เพราะคนแก่นั้นใจน้อย ต้องรักษาน้ำใจท่านไว้ ด้วยคำพูดที่นิ่มหู
ฟังดูแล้วไม่ทำให้ท่านไม่สบายใจ ไม่ปล่อยทิ้งให้ท่านอยู่อย่างว้าเหว่
คอยเอาใจใส่ปรนนิบัติดูแลท่านอย่างใกล้ชิด

แต่คนส่วนมากมักจะทำบุญให้พ่อแม่
เมื่อยามที่ท่านตายจากเราไปแล้ว เพราะนั่นคือการพลาด
และเป็นการพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเราเอง
ซึ่งความจริงแล้ว เราควรที่จะทำบุญให้กับพ่อแม่ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่
ย่อมได้ชื่อว่า"เป็นผู้กตัญญูกตเวที"

ขอให้สาธุชนทั้งหลายผู้มาได้ฟังธรรมในวันนี้
จงกลับไปทำบุญกับพ่อแม่ผู้เป็นพระอรหันต์ในบ้าน
การทำบุญแบบนี้จะได้อานิสงส์ทันตาเห็นในชาติปัจจุบัน
บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน คือบุญที่ทำกับพระอรหันต์ผู้ประเสริฐ
แต่พระอรหันต์ที่อยู่นอกบ้าน พวกท่านไม่อาจจะล่วงรู้ได้ว่าองค์ใดจริงหรือไม่จริง
แต่ที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด และเป็นของจริง และบูชาได้อย่างแน่นอน
ไม่เคยเห็นผู้ใดเลยที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่แล้ว
ต้องพบกับความวิบัติไม่เคยมี มีแต่จะทำมาหากินอาชีพอะไร
ก็จะเจริญรุ่งเรือง แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟก็ไม่ไหม้ มีแต่ความสุข อายุยืนยาวตายตามกาลเวลา

ขอให้ท่านทั้งหลายที่อยู่ในที่นี้
จงใช้สติและพิจารณาในเรื่องราวต่างๆ ที่อาตมาได้เทศนาให้ฟังในครั้งนี้ให้ดี
แล้วประโยชน์และความสุข ก็จะบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย
อย่างทันตาเห็น เอวัง...ก็มีด้วยประการฉะนี้ ขอถวายพระพร

ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เหล่าขุนนางข้าราชการและข้าราชบริพารทั้งปวง ได้ฟังคำเทศนาของสมเด็จโตจบลง
บ้างน้ำตาก็คลอเบ้าทั้งสอง บ้างน้ำตาก็หลั่งไหลออกมาสุดที่จะกลั้นได้
ด้วยความรู้สึกรักสงสาร และคิดถึงพระคุณพ่อแม่ขึ้นมา อย่างจับจิตจับใจ
อย่างที่ไม่เคยมีความรู้สึกเช่นนี้มาก่อนเลย

เจ้าผู้ครองแผ่นดินแห่งสยามประเทศ
จึงตรัสด้วยพระสุรเสียงอันสั่นเครือ ปนน้ำพระเนตรว่า
“ท่านเจ้าคุณท่านเทศน์ได้จับใจยิ่งนัก
และขอให้ทุกคนจงกลับไปทำบุญกับ พ่อแม่ผู้เป็นพระอรหันต์เถิด”

ก๊อบมาจาก..ปลายฟ้า...ค่ะ

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




34.jpg
34.jpg [ 20.57 KiB | เปิดดู 3816 ครั้ง ]
การเรียนรู้ ทุกข์ สุข
จะผ่านการพิจารณาข้อธรรม
ทำให้ จิต ที่เคยกระเพื่อม สะเทือนไหว
ตามรู้ไม่เท่าทัน ...เบาบางลง...
เมื่อความกระเพื่อม สะเทือนนั้น ....
ค่อยๆ จางและ นิ่ง...
สติก็ กลับมาอยู่กับเนื้อ กับ ตัว

คำบาลีที่ต้องแปล
ทำให้ หลายๆ คน หยุดพัก
และ รู้สึก ท้อใจ...ในการเรียนรู้
ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว ศัพย์บัญญัติ นั้นๆ
ก็เพียงแค่อธิบาย อย่างเป็นทางการ ถึง
เรื่องธรรมชาติ ของชีวิต ทั่วๆ ไปเท่านั้นเอง

มิใช่เพียง ทุกๆ วัน พระ
ที่ใช้เวลา บางช่วงตอนระลึกถึง

นับแต่ข้าพเจ้า..มุ่งสู่โลกแห่งวัฏสงสาร
จวบจนถึงความปรารถนาสุดท้าย
ตั้งมั่นตามรอย พระพุทธองค์...
ทุกภพ..ทุกชาติ..ที่สุด

ให้เรียนรู้ การมีชีวิต ใน ทุกๆ ด้าน...
รับรู้รื่นเริง ในสุข ลึกซึ้งไม่ประมาท
อดทน ....มองเห็นความทุกข์ ...
รับรู้และตั้งรับด้วยสติ

ระลึกถึง
พระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การได้เกิดเป็น มนุษย์..ได้พบพระพุทธศาสนา

คิดถึง แม่กับพ่อ ที่ให้ชีวิต
เลี้ยงดู อบรมสั่งสอนลูกด้วยความรัก
ให้ สิ่งดีๆ กับลูกเสมอมา ....
อบรมบ่มเพาะ จน จิตวิญญาณ ลูกเติบโต

คิดถึง ครูอาจารย์ ผู้สอน ผู้นำทางทุกๆคน
ที่เมตตา ต่อ ข้าพเจ้า

คิดถึง
ทุกกัลยาณมิตร ที่พบผ่านและ ผ่านมาพบ
ทั้งได้ พบเจอ หรือ แม้ไม่ได้พบ

ใน เมตตาธรรม ความรักห่วงใย และ ความหวังดี
เป็นเหมือนแสงเทียนที่พากัลยาณมิตรด้วยกัน

ไปพบความสว่าง และ แง่มุมดีๆ ในชีวิตนี้
มิให้เสียชาติเกิด

คิดถึง เพื่อนทุกคน....ที่
มากด้วยความหมายในการรู้จักกัน
ไม่ว่าในช่วงเวลาใดก็ตาม
ยาวนานเท่าชีวิตที่ดำเนินมา หรือ
จะได้ร่วมทางกันก้าวไป
และ แม้ว่าจะสั้น... เพียงหนึ่งช่วงเวลาแล้วจางหาย
ทุกความเป็นเพื่อน
มีความหมายเสมอมา และเสมอไป

นึกถึง
เพื่อนลานธรรมจักรทุกท่าน
ความห่วงใย ไมตรีและน้ำใจ
ที่มีให้แก่กัน ให้ได้ร่วมรับรู้ ได้สัมผัส ได้ชื่นใจ
คิดถึง ความรัก....ที่....ปรารถนาดีต่อกัน...
มากค่า ทั้งน้ำใจ ไมตรี และ หัวใจรัก

บุญกุศลทั้งหมด
ที่ข้าพเจ้าได้ บำเพ็ญเพียรปฏิบัติมา
เพื่อบูชาคุณพระพุทธเจ้าด้วยเศียรเกล้าฯ
ได้ส่งต่อให้ พ่อแม่ครูอาจารย์ ...เทวดาทั้งหลาย
หมู่ญาติ เพื่อนสนิท มวลมิตรสหาย
เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย และ เหล่าสรรพสัตว์
ไม่มีประมาณ แผ่ขยายออกทุกทิศทาง
ในทุกภพทุกชาติ

อนุโมทนา ร่วมกัน นะคะ

ขอ อโหสิกรรม กับ ทุก ๆสิ่ง ...ทุกๆ ท่าน
ที่อาจก่อเกิดด้วยความประมาทใดๆ ...ทั้งหลายทั้งปวง ..มา ณ ที่นี้ .

ก๊อบมาจาก..ปลายฟ้า...ค่ะ

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




1150021713.jpg
1150021713.jpg [ 36.23 KiB | เปิดดู 3831 ครั้ง ]
"ทุกข์มีไว้ให้เห็น … ไม่มีไว้ให้เป็น."

ทุกคนมีชีวิตและชีวิตก็เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้
ไม่ว่าอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา มันเป็นบทเรียน
เป็นประสบการณ์และเป็นครูที่ยิ่งใหญ่
ที่จะทำให้ชีวิตของเรามีความก้าวหน้าและเข้มแข็งขึ้น
ขอบคุณปัญหาในชีวิตที่ทำให้เราเติบโตได้ในวันนี้

เรามาเรียนรู้เรื่องของการตามดูความคิดในใจของเรา
ที่จะมีความพร้อม ในการที่จะเผชิญกับสิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้
แต่เราสามารถมีชีวิตที่ไม่ทุกข์ได้ กับสิ่งนั้น

ตื่นนอนตอนเช้า

ทุกวันเมื่อเราตื่นขึ้นมาตอนเช้า เราจะมีเวลาทั้งวัน
เพื่อการฝึกฝนชีวิตของเราให้มีความสงบเย็น
เราจะรู้ว่าดอกไม้ที่กำลังร่วงหล่นอยู่นี้
กำลังบอกเราถึงความเปลี่ยนแปลงของ ธรรมชาติ
เวลาที่เรามีความสุขอยู่กับความรู้ตื่นและเบิกบาน
ในการเปลี่ยนแปลงของ ธรรมชาตินั้น
จะทำให้เรามีชีวิตอยู่ที่นี่ตรงนี้อย่างคนที่มีคุณค่าที่สุด

เวลาที่เราตื่นขึ้นมาในตอนเช้าเราอาจจะกลับมาอยู่กับลมหายใจของเรา
เข้า... ออก อย่างอ่อนโยนสักสองสามครั้ง
จากนั้นเราจะมองไปยังสรรพสิ่งทั้งหลาย
อย่างคนที่รู้ว่าสิ่งที่กำลังเห็นนั้น
มันเป็นมายาอย่างไร เราอยู่ในโลกของมายา
เวลาที่เรารู้ว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลง
เราจะไม่เอาจริงเอาจังกับสรรพสิ่งทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้น

แต่เราจะเรียนรู้กับมัน เติบโตไปกับมัน ทุกขณะที่เรากำลังเจริญสติ
ชีวิตของเราก็ดีขึ้นทุกขณะเหมือนกัน

ที่นี่และเดียวนี้มีความสงบและสันติอยู่ในตัวเรา
เวลาที่เรามองเห็นว่าสรรพสิ่งทั้งหลายกำลังสอนให้เราแข็งแรงขึ้น
สิ่งเหล่านั้นก็มีบุญคุณกับเราอย่างยิ่ง

จงใช้โอกาสพิเศษที่จะเผชิญกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนั้น
เป็นโอกาสที่จะทำให้เราแข็งแรงขึ้น

แล้วท่านจะรู้ว่าเช้าวันนี้ที่ท่านได้ตื่นขึ้นนั้น
เป็นโอกาสสำหรับท่านจริงๆ

ถ้าพรุงนี้ไม่มีเราก็ไม่เสียใจ
เราต้องร่วงโรยเหมือนดั่งดอกไม้ที่กำลังร่วงโรย
แต่เราจะเห็นว่าในความร่วงโรยนี้ก็มีความงดงามอยู่ด้วย
ขอให้ท่านงดงามอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง
และชีวิตของท่านจะกล้าหาญอย่างที่สุด

ก๊อบมาจาก..ปลายฟ้า...ค่ะ

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 00:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




127-711.jpg
127-711.jpg [ 48.13 KiB | เปิดดู 3841 ครั้ง ]
ปรัชญาของการดำเนินชีวิต

เสียงสะท้อนของชีวิตพ่อและลูกชาย... กำลังเดินอยู่ในป่า
ทันใดนั้น ลูกชายเดินไปเหยียบหนามแหลมทำให้เขาเจ็บปวดเลยร้องตะโกนลั่น

"โอ๊ย" เด็กชายเกิดความประหลาดใจ
เมื่อมีเสียงสะท้อนกลับมาจากภูเขา "โอ๊ย" เด็กชาย โกรธมาก
เหมือนภูเขามาล้อเลียนเขา เลยตะโกนออกไปว่า "คุณเป็นใคร ทำไมมาล้อเลียนผม"

แต่สิ่งที่ได้รับ กลับมาจากภูเขา คือเสียง "คุณเป็นใครทำไมมาล้อเลียนผม"
เด็กชายหัวเสียมาก "ไอ้ขี้ขลาด" ภูเขาไม่ยอมลดละด่ากลับมาว่า "ไอ้ขี้ขลาด"

เด็กชายหงุดหงิดมาก เลยหันไปถามพ่อของเขาว่า นั่นมันเสียงอะไร
พ่อบอกว่า "ตั้งใจฟังนะ" แล้วตะโกนก้องว่า "ผมชื่นชอบคุณ"
ภูเขาตอบกลับมาว่า "ผมชื่นชอบคุณ"
พ่อยังตะโกนอีกว่า"คุณเป็นคนพิเศษ"
ภูเขาตอบกลับมาว่า "คุณเป็นคนพิเศษ" แต่เด็กชายยังไม่เข้าใจ

พ่ออธิบายว่า...
คนเราเรียกเสียงนี้ว่าเสียงสะท้อนแต่จริงๆแล้ว นี่คือชีวิต ชีวิตที่คุณจะได้รับอะไร
ก็ต้องดูว่าเราได้ให้อะไรไปบ้าง ชีวิตก็เหมือนกับกระจกที่สะท้อนออกมา
เมื่อเราต้องการความรักมากๆ เราก็ต้องรักคนอื่นมากๆ

หากเราต้องการความเมตตากรุณา เราต้องให้สิ่งเหล่านั้นไปก่อน
ถ้าลูกต้องการให้คนอดทนและนับถือเรา ลูกก็ต้องอดทนและนับถือคนอื่นก่อน
นี้เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งในโลกนี
นี่คือปรัชญาของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง

ก๊อบมาจาก..ปลายฟ้า...ค่ะ

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 00:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




120194.jpg
120194.jpg [ 61.16 KiB | เปิดดู 3860 ครั้ง ]
คำตอบจากหลวงปู่...ทำไมคนเรา "ไม่เห็น" ธรรม...

"เรื่องธรรมะเป็นของเห็นได้ยากเหมือนกัน
ธรรมะมีประจำไม่ใช่เฉพาะบุคคลเท่านั้น
แท้จริงธรรมะเป็นของมีอยู่ทั่วหมดในโลกอันนี้
ที่ท่านเรียกว่ารูปธรรม นามธรรมนั่นเอง

ที่คนมองเห็นได้ยากก็เพราะพื้นฐานภูมิของใจมันยังมืดอยู่ด้วยกิเลส
ซึ่งไม่สามารถจะรับรองหรือรับเอาธรรมะนั้นมาไว้คิดพิจารณาค้นคว้า ได้แก่ใจยังไม่สงบ
ความสงบของใจเป็นพื้นฐานที่ตั้งของธรรมะ ธรรมะเป็นความสงบ
คือคนเราโดยมากหาธรรมะ มีแต่คิดส่งส่ายออกไปภายนอก ถึงรู้ก็ตามเถิด

รู้ตามปริยัติที่บัญญัติไว้ในตำรา
หรือว่าพิสูจน์ตามหลักฐานคือศัพท์หรือคำบาลีนั้น
ยังไม่ใช่ตัวธรรมะที่แท้จริง
เป็นแต่รู้ตามตำรา
จะเอามาใช้ให้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงยังไม่ได้ก่อน
ต่อเมื่อรู้ด้วยปัจจัตตังเฉพาะตนเท่านั้น
จึงจะนำเอามาใช้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่

ฉะนั้นจึงเป็นของเห็นได้ยาก
เรื่องของธรรมะเป็นของมีอยู่ประจำในตัวของแต่ละบุคคล
จะสูงจะต่ำหยาบหรือละเอียดก็ดี
เหตุทำไมคนเราจึงมองไม่เห็นธรรมนั้น เพราะ....
คนเรามักโกรธเวลาถูกคนอื่นกลั่นแกล้งยั่วยุ
หรือเมื่อมีอะไรไม่ได้อย่างใจ
แต่ไม่ว่าเราจะโกรธด้วยเหตุผลกลใด
ความโกรธที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งจะทำให้ชีวตเราสั้นลง
คนที่โกรธอยู่เสมอมีโอกาสเป็นโรคหัวใจและโรคมะเร็งได้มากกว่า
คนที่ไม่ค่อยโกรธ ผู้ที่โกรธเป็นประจำจึงมีอัตราการเสียชีวิตเร็วกว่าผู้ที่โกรธน้อย
และมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากขึ้น
เมื่อรู้ว่าความโกรธเป็นสาเหตุหนึ่งของความตาย เราจึงมีทางเลือกอยู่เพียง
สองทาง คือ ฆ่าความโกรธก่อน หรือปล่อยให้ความโกรธฆ่าเรา
การฆ่าความโกรธได้มิใช่ฆ่าด้วยกำลัง อาวุธ หรืออำนาจ
แต่ต้องฆ่าด้วยกำลังความรัก(เมตตา) เพราะความรักมีความเย็นเหมือนกับน้ำ
ส่วนความโกรธ ร้อนรนเหมือนไฟ การจะดับไฟได้ต้องใช้น้ำเข้าช่วย
เมื่อความโกรธถูกดับลง ด้วยความรักและการรู้จักให้อภัยอยู่เสมอ
ชีวิตเราก็จะยืนยาว และอยู่ในโลกนี้ ได้อย่างมีความสุข"

ก๊อบมาจาก..ปลายฟ้า...ค่ะ

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 29 ส.ค. 2009, 00:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 00:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




Missyou22.jpg
Missyou22.jpg [ 89.57 KiB | เปิดดู 3893 ครั้ง ]
จะอยู่กับความเจ็บป่วยอย่างไร.?.ไม่ให้ทุกข์ใจ..

คนเราเกิดมา ไม่วันใดวันหนึ่ง ไม่ช้าก็เร็ว ก็จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้
ไม่ว่าจะมีร่างกายแข็งแรงเพียงไร และแม้จะไม่มีโรคภัยมาเยือนจนแก่เฒ่า
เมื่อเข้าวัยชราร่างกายก็จะเสื่อมลงตามอายุ เกิดอาการไม่สบายต่างๆ นานา
เป็นไปตามธรรมชาติที่เมื่อมีเกิด ก็ต้องมีแก่ เจ็บ และตายเป็นธรรมดา
ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ และไม่ต้องรอจนแก่ก็เจ็บป่วยได้
ความเจ็บป่วยอาจเกิดตามธรรมชาติหรือเกิดขึ้น
เพราะมนุษย์เร่งให้เกิดโดยมีพฤติกรรมการเป็นอยู่ที่ไม่เหมาะสม
เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา เสพยาเสพติด ไม่ประมาณการกิน เป็นต้น

ผู้มีพฤติกรรมเร่งหรือเชื้อเชิญโรคเหล่านี้ก็กลัวความเจ็บป่วยมาก
บางคนหมั่นเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆ จนเกินจำเป็น เพื่อขอตรวจสุขภาพ
ซึ่งไม่อาจช่วยได้เลย หากไม่ลดละพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
แต่เขาเหล่านั้นก็ไม่เข้าใจว่า การตรวจสุขภาพไม่สามารถป้องกันโรคได้
หากไม่เปลี่ยนพฤติกรรม จึงยังคงประพฤติอย่างเดิม
ทำให้สูญเสียทั้งเงินและเวลาโดยไม่เกิดประโยชน์ และในที่สุดก็สูญเสียสุขภาพด้วย

ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเจ็บป่วย
เมื่อ เจ็บป่วย คนส่วนใหญ่จะตกใจ สับสน วุ่นวาย ใจ กลัว เศร้าโศก วิตกกังวล
กินไม่ได้ นอนไม่หลับ อาจมีอาการท้องผูกหรือท้องเดิน ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม
กลัวความทุกข์ทรมาน กลัวตาย อยากตาย เป็นต้น
เกิดอาการทางใจมากมายซึ่งนำไปสู่อาการทางกายเพิ่มเติม
จากอาการทางกายที่เกิดจากตัวโรคเอง
อาจทำให้เข้าใจผิดว่าโรคเป็นรุนแรงหรือทรุดลง
ทำให้อาการทางใจเพิ่มขึ้นเป็นวงจร
อาการทั้งทางกายและทางใจจึงเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ หากไม่มีการหยุดวงจรนี้
ทั้งที่บางครั้งตัวโรคเองแทบจะไม่ทำให้เกิดอาการเลย
นอกจากนั้น ครอบครัว ญาติมิตร และผู้คนแวดล้อมก็พลอยทุกข์ใจไปด้วย
ความเจ็บป่วยจึงส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว และสังคมโดยรวม
เมื่อมนุษย์หลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยไม่ได้
ก็ควรต้องหาวิธีการให้อยู่กับความเจ็บป่วยได้
จะทำอย่างไรจึงจะอยู่กับความเจ็บป่วยได้ และทำได้จริงหรือ

การรักษาโรค
เมื่อ เจ็บป่วยไม่ว่าด้วยโรคใด ก็ต้องได้รับการรักษา
โรคด้วยวิธีที่เหมาะสมถูกต้องและไม่ก่อให้เกิดอันตรายตามมา
ไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย
หรือการแพทย์ทางเลือก โดยผู้ป่วยและญาติควรไตร่ตรอง ใช้ปัญญา
และมีวิจารณญาณในการตัดสินใจ เลือกวิธีการรักษาด้วยความรู้ความเข้าใจ
ไม่ตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ความรู้สึก เท่านั้น
เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายภายหลังได้
การรักษาโรคและการให้คำแนะนำนั้นเป็นหน้าที่โดยตรงของแพทย์
ผู้เจ็บป่วยจะต้องขอคำแนะนำจากแพทย์
เพื่อจะได้ปฏิบัติและดูแลตนเองได้ถูกต้องเหมาะสม

การดูแลรักษาใจ
เมื่อ เจ็บป่วย การรักษาเฉพาะโรคที่เกิดขึ้นทางกายเท่านั้น ยังไม่เพียงพอ
เพราะคนนั้นประกอบด้วย กาย และใจ และเป็นที่ทราบกันว่าใจมีความสำคัญมาก
ดังคำว่า ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว เมื่อกายป่วยแล้ว ใจมักป่วยตามด้วย
และบางครั้งอาการป่วยทางใจนั้นมากกว่าทางกายเสียอีก

ผู้ป่วยมะเร็ง หลายคน แม้โรคมะเร็งที่เป็นหายขาดแล้ว
ใจก็ยังเป็นมะเร็งอยู่ คือยังทุกข์ทรมานใจอย่างเดิม เรียกว่าใจเป็นมะเร็ง ไม่ใช่กาย
การดูแลรักษาใจผู้ป่วยและญาติจึงมีความสำคัญมาก
เป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องตระหนักและให้การช่วยเหลือ
และดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจังอย่างต่อ- เนื่อง
แต่สำหรับใจนั้น แม้ผู้อื่นจะให้ความช่วยเหลืออย่างดีมากเท่าใด
ตัวผู้ป่วยเองก็ยังคงเป็นคนสำคัญที่สุดในการดูแลรักษาใจของตนเอง

การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
คือ การฝึกจิตโดยการเจริญสติ สมาธิ และปัญญา
จะทำให้เกิดปัญญารู้เท่าทันอาการและความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ทั้งทางกายและทางใจตามจริง และรู้ว่าจะอยู่กับอาการที่เกิดขึ้นอย่างไร
โดยสามารถวางใจได้อย่างเหมาะสม ทำให้ไม่เกิดความทุกข์ทรมาน
เพราะความรู้หรือปัญญาที่เกิดจากการฝึกจิตนี้ เกิดขึ้นจากประสบการณ์ตรง
ที่จะตามดู รู้ทัน และวางอุเบกขากับสิ่งต่างๆ ที่มากระทบประสาทสัมผัสทั้ง ๖ ได้
มิใช่เกิดจากการฟัง การอ่าน หรือการคิด วิเคราะห์สังเคราะห์
ซึ่งเป็นความรู้ในระดับความเข้าใจ
อาจยังวางใจไม่ได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ประสงค์ขึ้น
เช่น เมื่อเจ็บป่วย เมื่อสูญเสียสิ่งที่รัก เป็นต้น

ตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไปว่า เมื่อตัวเองหรือพ่อแม่พี่น้อง
หรือผู้เป็นที่รักเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต หรือสูญเสียทรัพย์สมบัติ
ก็จะเกิดอาการทางใจมากมายดังกล่าวแล้ว เมื่อมีใครบอกว่า ทำใจเสียเถอะ
สิ่งที่ทำก็มักเป็นการบีบบังคับใจให้ยอมรับ กลายเป็นการกดเก็บ
แต่ความเป็นจริงยังไม่สามารถยอมรับได้ หรือมิฉะนั้นก็ไม่สนใจเลย
กลายเป็นการปล่อยปละละเลย ซึ่งไม่เป็นผลดีทั้งสิ้น
ทำให้เศร้าหมอง หงุดหงิด ทั้งเมื่ออยู่คนเดียวและอยู่กับผู้อื่น

การฝึกใจนั้นเป็น สิ่งที่มนุษย์ทุกคนน่าจะให้โอกาสตนเองโดยไม่ต้องรอให้เจ็บป่วย
หรือพบกับมรสุมชีวิตเสียก่อน เพราะเป็นหนทางนำไปสู่ความสงบสุข
ที่เกิดขึ้นจากภายในตัวของตัวเอง

การฝึกใจไม่เสียค่าใช้จ่าย ใดๆ เพียงมีกายกับใจของเราก็ฝึกได้แล้ว
และได้พบวิธีที่จะทำให้ป่วยแต่กายใจไม่ป่วย
โดยมีมุมมองชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน
เกิดปัญญารู้เท่าทันชีวิต และรู้ว่าจะอยู่กับโรคภัยไข้เจ็บอย่างไร
โดยไม่ทุกข์ทรมานใจอย่างที่เคยเป็น

โครงการรักษาใจยามเจ็บป่วย
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ก๊อบมาจาก..ปลายฟ้า...ค่ะ

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




1581-14-1079208472.jpg
1581-14-1079208472.jpg [ 64.33 KiB | เปิดดู 3914 ครั้ง ]
คำว่า อโหสิกรรม มา จากคำ ๒ คำ คือ
อโหสิ เป็นคำภาษาบาลีแปลว่า " ได้มีแล้ว " หมายความว่า
ได้ให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว กับคำว่า กรฺม ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การกระทำ
หมายถึงการกระทำที่มีเจตนา อโหสิกรรม แปลรวมกันว่า กรรมที่ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมอีกต่อไป

ตามหลักพระพุทธศาสนา
บุคคลที่ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วโดยมีเจตนาในการทำกรรมนั้น
จะต้องได้รับผลกรรมตามสมควรแก่การกระทำของตน
คนที่ทำร้ายผู้อื่นคนที่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะได้รับผลกรรมนั้น
เช่น ตนเองได้รับโทษถูกจำคุก หรือลูกหลานประสบเคราะห์ร้ายต่างๆ
ทำให้ตนต้องเสียใจทุกข์ทรมานเพราะการสูญเสีย หรือแม้ไม่ได้รับกรรมในชาตินี้
กรรมก็จะติดตามไปส่งผลในชาติหน้า

แต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้
หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม วิธีทำกรรมให้เป็นอโหสิกรรมวิธีหนึ่งคือการยกโทษให้
เช่น เมื่อเราประพฤติล่วงเกินผู้อื่นด้วยกาย วาจา หรือใจ
แล้วไปขอให้ผู้ที่เราประพฤติล่วงเกินยกโทษให้
เมื่อท่านยกโทษให้แล้วก็ถือว่ากรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม ไม่ให้ผลอีกต่อไปทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

ในภาษาไทยคำว่า อโหสิกรรม จึงกลายมามีความหมายว่า การเลิกแล้วต่อกัน
การไม่เอาโทษกัน การเลิกจองเวรกัน ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ
เมื่อได้ประพฤติล่วงเกินผู้อื่นก็ควรขอให้ผู้นั้นยกโทษให้ และในทำนองเดียวกัน
หากมีผู้มาขออโหสิกรรมจากเรา ก็ควรยกโทษให้ ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกัน
เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดความรักใคร่กัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

กรรม คือ การกระทำ เรียกว่าเป็นเหตุก็ได้ หรือ มัคค ก็ได้
ในที่นี้จะเรียกรวมๆว่า มัคค ก็แล้วกันเข้าใจง่ายดี

วิบากกรรม ก็คือ ผลของการกระทำ หรือ ผลกรรม หรือ ผล
เรียกให้ไพเราะว่า " ผล คือ วิบากแห่งมัคค " นั่นเอง

ผลกรรมพอจะแบ่งได้ 3 ประเภท

1. กรรมที่ให้ผลตามกาล(คราว)

1.1 กรรมให้ผลในภพนี้(ให้ผลทันตาเห็น)

ได้แก่ ผลทานบริสุทธิ์ที่ถวายแก่ ผู้ออกจากฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ
และ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติใหม่ ซึ่งเราเป็นผู้ถวายเป็นคนแรกหรือกลุ่มแรก
ก็จะได้สมบัติทันตาเห็น ได้แก่ผู้บำเพ็ญเพียรเจริญมัคคปฏิปทา

บรรลุฌานสมาบัติ 1 - 8 ก็ดี....บรรลุมัคค 4 ....ผล 4 ก็ดี ....
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติก็ดี จะได้ปีติ สุข อุเบกขา ตลอดจนญาณปัญญาทันตาเห็นทีเดียว

1.2 กรรมให้ผลต่อเมื่อเกิดแล้วในภพหน้า(ให้ผลในชั่วโมงหน้า วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า ชาติหน้าได้ด้วย)

1.3 กรรมให้ผลในภพต่อๆไป(ให้ผลในชั่วโมงต่อไป วันต่อไป เดือนต่อไป ปีต่อไป ชาติต่อๆๆไปได้ด้วย)

1.4 กรรมให้ผลสำเร็จแล้ว/อโหสิกรรม/ (เป็นกรรมล่วงกาลเวลาแล้ว เลิกให้ผลแล้ว
เปรียบเสมือนเมล็ดพืชที่ต้นอ่อนข้างในตายแล้ว ย่อมเพาะไม่ขึ้น)

2. กรรมให้ผลตามกิจ

2.1 กรรมแต่งให้ไปเกิดใหม่(สามารถยังผู้กระทำกรรมนั้น ให้เคลื่อนจากภพหนึ่ง ไปถือปฏิสนธิในภพอื่น
เช่นฆ่าตัวตาย)

2.2 กรรมสนับสนุน(ไม่อาจแต่งปฏิสนธิเอง ต่อเมื่อกรรมในข้อ 2.1 แต่งปฏิสนธิแล้ว
จึงเข้าสนับสนุนส่งเสริมกรรมในข้อ 2.1 นั้น )

2.3 กรรมบีบคั้น(เมื่อกรรมในข้อ 2.1 แต่งปฏิสนธิแล้ว ก็เข้าบีบคั้นผลกรรมแห่งข้อ 2.1 นั้น
ไม่ให้ให้ผลได้เต็มที่ เช่น เป็นคนดีมีความรู้มีความสามารถ
แต่บังเอิญได้คู่ครองที่ไม่เอาไหนก็ซวยได้เหมือนกัน)

2.4 กรรมตัดรอน(ย่อมตัดรอนผลกรรมในข้อ 2.1 และ 2.2 ให้ขาดเสีทีเดียว
เช่น เกิดเป็นผู้หญิงที่สวยงามประกวดแล้วได้ตำแหน่งนางงามจักรวาลแน่นอน
แต่เกิดอุบัติเหตุเสียโฉมเสียก่อน ไม่เสียชีวิตแค่เสียโฉม)

3. กรรมให้ผลตามลำดับ

3.1 กรรมหนัก กรรมใดหนักกรรมนั้นให้ผลก่อน
ใน ฝ่าย "อกุศล" อนันตริยกรรม 5 เป็นกรรมที่หนักที่สุด
ได้แก่กรรม ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรห้นต์ ประทุษร้ายให้พระพุทธเจ้าทรงห้อพระโลหิต
และยุยงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ตายแล้วไปนรกก่อน

ในฝ่าย "กุศล" ฌานสมาบัติ 8 เป็นกรรมหนักที่สุด ตายแล้วไปพรหมโลกก่อน
แต่คนมักไม่ค่อยไปเพราะมันมีความสุขสบาย

3.2 กรรมชิน (ได้แก่กรรมที่เคยทำมามาก ทำมาบ่อยๆ จนชินติดเป็นนิสัย
เช่นนั่งสมาธิเป็นนิสัย เป็นต้น)

3.3 กรรมเมื่อจวนเจียน/กรรมอันทำเมื่อจวนจะตายใกล้จะตาย

3.4 กรรมสักแต่ว่าทำ/กรรมอันทำด้วยไม่จงใจ ไม่เจตนาให้ผู้อื่นเดือดร้อน
เช่นหกล้มทับมดตายไปด้วย เป็นต้น

ก๊อบมาจาก..ปลายฟ้า...ค่ะ

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 00:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




ans491063.gif
ans491063.gif [ 62.98 KiB | เปิดดู 4052 ครั้ง ]
ปล่อยวางแล้วจะสำเร็จได้อย่างไร ?

"คนจะสำเร็จได้ต้องมีเป้าหมายและความมุ่งมั่นที่ชัดเจน เข้มแข็ง"

คน ทั่วไปก็คงรับรู้ถึงความจริงในข้อนี้ดี แต่ ทางพุทธศาสนากลับบอกให้เราปล่อยวาง อย่ายึดติดสิ่งใดๆ ดังนั้นเราก็ไม่อาจมีความฝันและความมุ่งมั่นได้ ถ้าอย่างนั้นเมื่อเราปล่อยวางเมื่อใด เราก็ไม่สามารถเป็นคนที่ประสบความสำเร็จได้เลยซิ ?

คำถามนี้คงจะดังก้องอยู่ในหัวใครบางคนว่าเราควรทำตัวอย่างไรดี

สำหรับ คนที่มีความมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จ ก็คงบอกกับตัวเองว่า "ไร้สาระ การปล่อยวางมันจะเป็นตัวฉุดเราเสียมากกว่า" คนเราต้องมองไปข้างหน้ามองสิ่งที่ท้าทาย ใหญ่ขึ้น แล้วหลักการปล่อยวางก็ไม่น่าจะใช้ได้ในชีวิตจริง

แต่กับบางคนที่ล้ม เหลว หรือไม่ประสบความสำเร็จ ก็คงบอกว่า "ใช่ๆ เราต้องปล่อยวาง อย่าไปยึดติดกับอะไรทั้งนั้น" เราจะได้สบายใจไม่เครียดกับชีวิตตนเอง

แล้วใครถูกกันล่ะ ?

ดู เหมือนความหมายของคำว่า "ปล่อยวาง" จะถูกตีความตามประเพณีปฏิบัติตามหลักของกฎหมายไทยทุกวันนี้ คือ ตีความ "เข้าข้างตนเอง" ไว้ก่อน แต่ความหมายที่แท้จริงของมันคืออะไรกันแน่ ?

สรุปแล้วการปล่อยวางมันเหมาะกับใครกันแน่ ? แล้วเราจะประสบความสำเร็จได้ไหม ถ้าเราปล่อยวาง ?

การ ปล่อยวางจะทำให้ความฝัน อันยิ่งใหญ่ของเราสูญสลายไปหรือไม่ ? หรือการปล่อยวางเหมาะสำหรับใครบางคนที่ไม่มีอะไรจะทำ คนแก่ คนล้มเหลว เท่านั้นหรือ และเอามาเป็นหลัก ยึด ถือมิให้จิตใจมันห่อเหี่ยวไปมากกว่าที่เป็นอยู่

ถ้าจะให้ตีความหมาย ที่แท้จริงของการปล่อยวางก็คือ การ "ไม่ยึดติด" แต่ไม่ใช่การละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต ดังนั้นทุกคนก็สามารถใช้ชีวิตแบบปล่อยวางได้ ไม่ว่าคุณกำลังอยู่ในช่วง "ขาขึ้น" หรือ "ขาลง" ก็ตาม

ถ้าคุณมีความฝันที่ยิ่งใหญ่ มีงานทำที่มั่นคง แต่คุณไม่ปล่อยวางจะเกิดอะไรขึ้น ?

ชีวิต ของคุณก็คงเต็มไปด้วยความยุ่งเหยิง คุณคงไม่กล้ามอบหมายงานที่สำคัญและไม่สำคัญให้ใคร เพราะคุณคิดว่า "คุณคือคนที่เก่งที่สุด" ยึดติดกับความเก่งของตัวเอง หรือบางครั้งคุณทำทุกอย่างด้วยความใจร้อน เพราะคิดว่าโลกนี้มันจะเดินไม่ได้ถ้าไม่มีคุณ หรือแม้กระทั่งเมื่อมีการผิดพลาดเกิดขึ้น คุณคงจะทำใจที่จะยอมรับว่าตนเองผิดได้ยาก และพยายามโทษคนอื่นซึ่งทำให้สัมพันธภาพระหว่างคุณกับคนอื่นเริ่มเสื่อมสลาย ลง

แต่สำหรับคนที่ล้มเหลว ถ้าคุณตีความว่าการปล่อยวางคือการไม่ทำอะไร ทำใจรับสภาพเท่านั้น แสดงว่าคุณก็ตีความหมายผิดในลักษณะเกินไป เพราะการปล่อยวางคือการปล่อยให้ใจไม่ยึดติดกับความสำเร็จหรือความรุ่งโรจน์ ในอดีต แต่ให้คิดถึงว่าปัจจุบันคุณ "เป็นอย่างที่เป็น" แต่ไม่ได้ให้ละทิ้ง "ไฟ" ของการต่อสู้ หรือละทิ้ง "ความหวัง"

"ตราบใดที่คุณสิ้นหวัง ก็อย่าหวังว่าจะสิ้นทุกข์ แต่เมื่อใดที่คุณมีความหวัง ความทุกข์ที่เกิดขึ้นก็เป็นเพียงแค่อดีตเท่านั้น"

การ ปล่อยวางก็ไม่ต่างกับการปล่อยใจของคุณล่องลอยไปกับกระแสลมของความจริง ความจริงที่คุณมิอาจต้านทานและปฏิเสธได้ ทั้งวัฏจักรของชีวิต การเกิด แก่ ดับสูญ การขึ้นและการลง แต่เมื่อใดที่คุณฝืนกระแสลมแห่งความจริง ซึ่งคุณไม่มีทางที่จะต้านทานธรรมชาตินี้ได้ ชีวิตของคุณก็จะมิอาจอยู่ได้อย่างมีความสุข และที่สำคัญคุณก็มิอาจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนและถาวรได้

ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จ ง่ายนิดเดียวแค่เพียงคุณ "ปล่อยใจให้สบายกับชีวิต แต่จดจ่อทุกการกระทำของตนเอง"

ก๊อบมาจาก..ปลายฟ้า...ค่ะ

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 00:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




75_400-jkkl09.jpg
75_400-jkkl09.jpg [ 62.75 KiB | เปิดดู 3747 ครั้ง ]
อยู่ในที่ต่ำช้า เป็นศัตรูต่อสง่าราศี

ที่ ต่ำช้าในที่นี้ ท่านหมายถึงสถานที่อันมากไปด้วยสิ่งที่ไม่ดี เช่นที่มั่วสุมของคนพาล นักการพนัน ตลอดถึงสถานที่อย่างอื่น ๆ ซึ่งคนต้องก้มหน้าเข้าไป หรือบางที่ก็ต้องแอบ ๆ ซ่อนสายตาคนอื่นเข้าไปอยู่ในความหมายของคำว่า "สถานที่ต่ำช้า" ทั้งนั้น

คน อยู่ หรือ เข้าไปในสถานที่ต่ำช้า เช่นนั้น ย่อมได้พบ ได้เห็น ได้ยิน และเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ไม่ดี เช่นพบเห็นการทะเลาะวิวาทกัน ได้ยินเสียงด่าทอกัน พบเห็นใบหน้าที่มุ่งหมายจะหักล้างกันเป็นต้น

หน้า ตาย่อมไม่ชื่นบานเท่าที่ควร สรุปว่าสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี มีส่วนในการทำลายสง่าราศีของคน ให้เศร้าหมองทั้งทางสีหน้าและจิตใจก็ไม่อาจหาญแช่มชื่น

คน โบราณท่านผูกเป็นคำพังเพยว่า "บ้านเรือนสกปรกสัตว์นรกจะมาเกิด บ้านเรือนสะอาดนักปราชญ์จะมาเกิด" อันมีความหมายถึงบ้านช่อง หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี มีส่วนในการทำให้จิตใจของตนหยาบไม่อาจจะควบคุมอารมณ์ของตนได้
เรื่อง ไม่น่าจะโกรธอาจจะโกรธได้ ในทำนองเดียวกัน ถ้าสภาพแวดล้อมดี เช่นบ้านเรือนสะอาดสะอ้าน ถึงแม้จะเป็นบ้านแคบ เล็กไปบ้าง แต่ถ้ามองไปทางไหน ไม่สกปรกรกรุงรัง ก็มีส่วนในการทำจิตใจของบุคคลให้สบาย

เมื่อใจสบายก็แสดงออกมาทางสีหน้า เป็นหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส อันช่วยให้คนมีสง่าราศีขึ้น

การ คบหาสมาคมกับคนพาล ชื่อว่าเป็นการอยู่ร่วมกับคนต่ำช้า เพราะทำให้ตนเสียสง่าราศีไป คนที่คบคนพาลถึงแม้ว่าจิตใจของตนจะไม่เป็นพาล แต่ในสายตาของคนอื่น ก็จะมีความรู้สึกว่า บุคคลผู้นี้มีเพื่อนเป็นพาล กลายเป็นคนไม่น่าคบหาสมาคมเช่นกัน

แม้ การคบอธรรม คือการเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่ต่ำช้าต่าง ๆ โดยเฉพาะความโกรธ หรือความหงุดหงิดอยู่ตลอดเวลา นับว่ามีส่วนอย่างสำคัญ ในการทำลายสง่าราศีของคน และคนมักโกรธเป็นปกตินี้

ท่านยังแสดงว่า นอกจากจะดูไม่มีสง่าราศีในปัจจุบันแล้ว ตายไปเกิดรูปร่างก็ไม่สวยงามด้วย ท่านจึงกล่าวว่า ความโกรธเป็นโทษแก่ผิวพรรณ

ดัง นั้น บุคคลพาล อารมณ์ไม่ดี สถานที่เสียหายต่าง ๆ เช่นเล่นพนัน ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน นักเลงผู้หญิง คบคนชั่วเป็นมิตร อยู่ในบ้านที่มีแต่เรื่องทะเลาะวิวาท และสกปรกเป็นต้น ย่อมมีผลในการทำลายสง่าราศีของบุคคล อันท่านถือว่าเป็นศัตรูอีกประการหนึ่ง

บุคคล ผู้ต้องการจะสร้างตนให้มีสง่าราศี ก็ต้องเว้นบุคคลและสถานที่ ตลอดถึงอารมณ์ดังกล่าวมา เมื่อได้ทำดังนี้ ย่อมเป็นการทำลายศัตรูไปได้ประการหนึ่ง

ก๊อบมาจาก..ปลายฟ้า...ค่ะ

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 02 ก.ย. 2009, 15:27, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว




th_01.gif
th_01.gif [ 4.88 KiB | เปิดดู 3911 ครั้ง ]
:b8: อนุโมทนาสาธุ ตุณป้าcoma! ค่ะภาพก็สวยบทความ
ก็มีสาระ อ่านแล้วได้ปัญญาค่ะ สาธุ

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




ans484295.jpg
ans484295.jpg [ 89.96 KiB | เปิดดู 3876 ครั้ง ]
สมาธิเป็นของละเอียดอ่อนมาก
เราจะบังคับให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ และไม่ให้เป็นสมาธิก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน
สมาธิเป็นกำลังสำคัญมาก ถ้าไม่มีสมาธิแล้ววิปัสสนาจะเอากำลังมาจากไหน
ปัญญาวิปัสสนามิใช่เป็นของจะพึงแต่งเอาได้เมื่อไร แต่เกิดจากสมาธิ ที่หัดได้ชำนิชำนาญมั่นคงดีแล้ว
ผู้ได้สุกขวิปัสสกก็เถิด ถ้าไม่มีสมถะแล้วจะเอาวิปัสสนามาจากไหน เป็นแต่สมถะของท่านไม่คล่องเท่านั้น

จิตผู้มีสมาธิเต็มที่แล้ว ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ย่อมเป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา
แล้วก็มองเห็นกิเลสของตน ซึ่งเกิดจากจิตของตนได้ชัดเจนว่า
กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความมัน เกิดจากสิ่งนี้ๆ
และมัน ตั้งอยู่ ได้ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ แล้วก็หาอุบาย ละ ด้วยอย่างนี้ ๆ

เหมือนกับน้ำในสระที่ขุ่นมาเป็นร้อยๆ ปี
เพิ่งมาใสสะอาดมองเห็นสิ่งสารพัดที่มีอยู่ก้นสระว่า
แต่ก่อนแต่ไรเราไม่นึกไม่คิดเลยว่า ในก้นสระนี้มันจะมีของเหล่านี้
นั้น เรียกว่า วิปัสสนา คือ ความรู้ความเห็นตามสภาพจริง มันเป็นจริง
อย่างไรก็เห็นตามความเป็นจริงอย่างนั้น ไม่วิปริตผิดแปลกจากความเป็นจริงของมัน

สมถะ ก็ละกิเลสได้เหมือนกัน แต่ละได้เหมือนคนถางหญ้า ตัดแต่ต้นให้ขาด
ไม่ขุดเอารากออกให้หมด รากมันย่อมมีเวลางอกขึ้นมาอีกในเมื่อฝนตกลงมา
คือ เห็นโทษในอารมณ์ที่มันเกิดจากอายตนะนะหกเหมือนกัน แต่เมื่อเห็นโทษก็รีบเข้าหาความสงบ
โดยไม่พิจารณาอารมณ์นั้นๆให้ถี่ถ้วนอย่างสมาธิ ชอบเอาแต่ความสงบอย่างเดียว
ไม่อยากพิจารณาให้เนิ่นช้า เหมือนกับตัวแย้อาศัยรูเป็นเครื่องป้องกันภัยอันตราย
เมื่อเห็นศัตรูมาก็วิ่งเข้ารูเสีย พ้นภัยอันตรายไประยะหนึ่งๆ ก็เท่านั้น

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 18:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 19:22
โพสต์: 12

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชอบมากมายเลยค่ะ ทั้งรูปและบทความ เห็นแล้วนึกอยากไปเรียนจัดดอกไม้จัง

มันคงสงบ เรียบง่าย และมีความสุขสบายตา ในขณะที่วางตำแหน่งมันลงไป แค่นึกก็มีความสุขแล้วค่ะ

:b16:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 134 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร