วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 05:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุครับ

ขอบคุณทั้งสองท่านเลยครับ


ลานธรรมจักรแห่งนี้นานาสาระจริง ๆ ครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอบคุณเรื่องราวดีดีเกี่ยวกับนกที่นำมาฝากนะคะ
ภาพสวย เรื่องราวน่ารัก


:b48: ช่วยกันดูแลรักษาธรรมชาติของเรานะคะ :b48:

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ส.ค. 2009, 01:54
โพสต์: 124

อายุ: 44
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
นกบั้งรอกใหญ่

นกบั้งรอกใหญ่ Phaenicophaeus tristis ( Green-billed Malkoha ) เป็นนกตัวไม่เล็กหางยาวที่มักพบกระโดดไปมาตามกิ่งไม้ ความยาวจากปลายปากจรดปลายหางของนกชนิดนี้คือ 52-59.5เซ็นติเมตร โดยเป็นความยาวหางไปแล้วราว 38 เซนติเมตร ลำตัวยาวเพรียว ปากสีเขียวอ่อนค่อนข้างหนา หนังรอบตาสีแดงสด หัว คอ หลังคอเป็นสีเทา หลังและตะโพกสีเข้มขึ้นมาอีก ปีกและขนหางสีดำเหลือบเขียวเข้ม ปลายขนหางที่ไล่กันลงไปเป็นสีขาว ทำให้มองดูจากด้านหน้าแล้วเป็นบั้งสีขาวๆลดหลั่นกันลงไป นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน

นก ชนิดนี้เป็นนกบั้งรอก 1 ใน 6 ชนิดที่พบในประเทศไทย และเป็นชนิดที่พบได้ง่ายที่สุด โดยพบได้ตามป่าทุกประเภทที่มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น ตั้งแต่พื้นราบจนถึงความสูง 1500 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่มักพบในที่ราบต่ำมากกว่า อาหารของนกบั้งรอกใหญ่คือตั๊กแตน จักจั่น แมลง ตัวบุ้ง หนอน ไข่ และตัวอ่อนของแมลง นอกจากนี้สัตว์เลื้อยคลานเล็กๆ อย่างกิ้งก่าบิน จิ้งเหลนป่า หรือ กระทั่งลูกนกในรังก็เป็นอาหารของนกชนิดนี้ได้ นกจะกระโดดไปมาตามกิ่งที่รกทึบของต้นไม้ เมื่อพบเหยื่อเล็กก็จิกกิน เมื่อพบเหยื่อตัวใหญ่ก็งับจนตายแล้วฉีกกิน

นก บั้งรอกทำรังวางไข่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม โดยจะทำรังบนง่ามไม้ที่มีพุ่มใบหนาทึบ สูงจากพื้นไม่มากนัก รังทำด้วยกิ่งไม้เล็กๆขัดสานอย่างหยาบๆ เส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 10 นิ้ว มีแอ่งตื้นๆกลางรังและนกจะนำใบไม้สดมารองรังเพื่อกันไข่หล่น วางไข่ราว2-3ฟอง ไข่ค่อนข้างยาว สีขาวมีผงคล้ายผงชอล์กคลุมบางส่วน ขนาดราว 25.8x33.8มม. นกตัวเมียทำหน้าที่ฟักไข่เป็นส่วนใหญ่ เมื่อมีการผลัดเวร นกตัวใหม่จะคาบใบไม้ใหม่สดมาเปลี่ยนเสมอเพื่อควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ

นอก จากประเทศไทยแล้ว นกบั้งรอกใหญ่ยังเป็นนกประจำถิ่นของภาคเหนือและตะวันออกของภาคเหนือของอนุ ทวีปอินเดีย ใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของจีน สุมาตรา และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เว้นคาบสมุทรมลายู และไม่พบในสิงคโปร์

ใน ประเทศไทยพบได้ทั่วประเทศ และพบได้ตามสวนสาธารณะทั่วไปด้วย จัดเป็นนกใกล้ตัวชนิดหนึ่ง ภาพนกบั้งรอกใหญ่ในบล็อกนี้ถ่ายมาจากพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

มีแต่ภาพสวยๆ...ทั้งนั้นเลย....ป่าอ้อก็เก่งนะ :b35: :b35:

.....................................................
"อักษรพาใจให้สดชื่น..มิต้องการคำตอบหรือวิจารย์..ดอกหนาเยาว์มาลย์"


แก้ไขล่าสุดโดย บุหลัน..เลื่อนลอย เมื่อ 16 ต.ค. 2009, 01:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกกาแวน

นกกาแวน Crypsirina temia ( Racket-tailed Treepie ) มีขนคลุมลำตัวทั้งหมดรวมถึงปีกและหางสีดำเหลือบเขียว และมีขนบริเวณหน้ากระจุกตัวแน่นสีดำเข้มคล้ายกำมะหยี่ ตาสีฟ้าเข้มสดใส หางยาวปลายกว้าง ปากหนาสีเทาเข้มถึงดำความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 30 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน

นก ชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียที่ประเทศพม่า ไทย อินโดจีน สุมาตรา ชวาและบาหลี พบในป่าละเมาะ ป่าชั้นรอง พื้นที่เกษตรกรรม ป่าโปร่ง ป่าไผ่ ป่าชายเลน ในประเทศไทยพบได้ตั้งแต่พื้นราบจนถึงที่สูง915เมตรจากระดับน้ำทะเล ไม่พบเฉพาะทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในบางพื้นที่

นก กาแวนหาอาหารบนต้นไม้ ไม่ลงมาหากินบนพื้นดิน แม้จะพบลงมาอาบน้ำในบางครั้งบางคราว นกจะย้ายจากต้นไม้ต้นนั้นไปต้นนี้อย่างคล่องแคล่วโดยใช้หางยาวที่มีเป็นตัว ช่วยถ่วงสมดุล อาหารของนกชนิดนี้ได้แก่ลูกไม้และแมลงต่างๆ รังของนกกาแวนเป็นรูปถ้วย ทำบนต้นไผ่ หรือต้นไม้เตี้ยๆที่มีหนาม วางไข่ครั้งละ 2-4ฟอง

นก ชนิดนี้เป็นนกที่หาพบได้ไม่ยากนัก คืออาจพบตามสถานที่ที่มีต้นไม้หนาแน่นอย่างพุทธมณฑล โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นต้น แต่เนื่องจากมีสีดำทั้งตัวจึงอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นนกชนิดอื่นที่มีสีสัน คล้ายคลึงกันอย่างนกแซงแซวหางปลาได้ หากนกอยู่ในที่รก และคนก็ไม่สนใจที่จะดู

นกกาแวนที่ถ่ายภาพมานี้ลงมาเล่นน้ำที่สถานี วิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 5 จังหวัดสมุทรสาคร ในช่วงเดือนเมษายนที่อากาศร้อนอบอ้าวเดือนนี้เอง

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย เพลิง. เมื่อ 16 ต.ค. 2009, 01:57, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกตีทอง

เมื่อนกตีทองมาคล้องใจรัก
ทั้งสองตั้งหลักสร้างรังเจาะโพรง
บนต้นไม้ใหญ่กิ่งไม้โล่งโล่ง
มาช่วยเจาะโพรงทั้งผู้ทั้งเมีย

วัน อากาศเย็นในเดือนธันวาคมนี้ เราแวะเข้ามาดูนกในพุทธมณฑลอีกครั้ง และก็ได้พบภาพที่น่ารักเหลือเกินจนอดไม่ได้ที่จะต้องนำความรู้สึกนี้มาพูด ถึง

นก ตีทองหนุ่มตัวหนึ่งกำลังตั้งอกตั้งใจเจาะโพรงทางด้านล่างของกิ่งไม้ที่ยื่น ออกมาเป็นมุมป้านกับพื้นเพื่อเป็นโพรงรังอันแสนสบายและปลอดภัยสำหรับสมาชิก ในครอบครัวใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ปากอันหนาและแข็งแรงที่ถูกสร้างมาเพื่อภารกิจนี้เจาะเข้ากับไม้อย่างขะมัก เขม้น จากกิ่งเรียบๆกลายเป็นรูปรอย จากรูปรอยเรียบๆ ค่อยๆกลายเป็นหลุมตื้นๆ

ตลอด เวลาที่นกตีทองตัวนี้เจาะโพรง ยังมีนกอีกตัวหนึ่งเกาะกิ่งไม้เฝ้าดูอยู่ไม่ไกล นี่แสดงว่านกทั้งสองนี้มีข้อตกลงบางอย่างร่วมกันแล้ว และเจ้าหนุ่มตัวน้อยๆกำลังออกแรงสร้างบ้านสำหรับครอบครัวใหม่

หลังจากเจาะไปได้สักพัก กำลังเป็นโพรงตื้นๆ นกตีทองหนุ่มคงจะเหนื่อยจึงได้บินออกไป
ระหว่าง ที่ผู้ชมกำลังคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น เจ้าตัวที่เกาะกิ่งไม้รออยู่ก็บินเข้าแทนที่และดำเนินการเจาะโพรงรังต่อไป แทน อย่างขะมักเขม้นเช่นเดียวกัน

หลัง จากเวลาผ่านไปสักพักหนึ่ง เจ้าหนุ่มตีทองก็บินกลับมา แต่ไม่ได้มาตัวเปล่า มันคาบลูกไม้เล็กๆมาในปากด้วยถึงสามลูก เต็มปากเสียจนหุบไม่ลงเลยทีเดียว เมื่อนกตัวเมียเห็นคู่กลับมาแล้วก็บินขึ้นไปเกาะด้านบนของกิ่งที่กำลังเจาะ เป็นโพรง นกตัวผู้บินมาเกาะที่กิ่งเดียวกันขยับจนได้ระยะ แล้วนกตัวเมียก็ค่อยๆรับลูกไม้สุกจากปากเจ้าหนุ่มมากินทีละลูกๆ จนหมด ภาพตอนที่นกทั้งสองป้อนอาหารกันเป็นภาพที่น่ารักมาก จนอดใจไม่ให้นึกเอ็นดูนกทั้งสองตัวไม่ได้เลย

หลังจากได้รับอาหารพอคลายเหนื่อยแล้ว นกตัวเมียก็บินออกไปหาอาหารกินบ้าง และหนุ่มน้อยตีทองก็เข้าประจำที่ ขุดเจาะรังต่อไป

ภาพ แบบนี้เป็นภาพที่อาจหาดูได้ไม่ยากนักในหมู่นกทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งนกตัวผู้หลายชนิดมักแสดงอาการเอาอกเอาใจนกตัวเมียแตกต่างวิธีกันออกไป แต่จะหาคู่ไหนที่จะเอาอกเอาใจเอื้ออาทรกันได้น่าเอ็นดูเกินนกตีทองตัวเล็กๆ คู่นี้ก็คงจะลำบากไม่ใช่น้อย

วันพรุ่งนี้ ถ้าคุณเดินเข้าไปในสวนสาธารณะสักแห่ง และได้ยินเสียงเจาะไม้เบาๆ อย่าลืมเงยหน้าไปมอง
คุณอาจได้พบภาพที่ทำให้อิ่มอกอิ่มใจ ยิ้มได้ทั้งวันเหมือนกัน

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกแต้วแล้วธรรมดากับภารกิจธรรมดา

โอ๊ย
ยุงกัดอีกแล้วเฟ้ย จะฉีดออฟมากก็ไม่ได้ เหม็นชะมัด

ในดงไผ่ทึบๆนี่ยุงมันเยอะจริงๆ แต่ก็อดไม่ได้ที่จะต้องพาตัวเองมานั่งจับเจ่าอยู่ในนี้เป็นครั้งที่ 2 ในช่วงห่างกันแค่10วัน

เหตุผลน่ะหรือ
ก็เพราะเจ้าตัวเล็กๆ หน้าดำๆ ปากดำๆ ท้องส้มๆ ก้นแดงๆ ปีกเขียวๆฟ้าๆ 2 ตัวนี้น่ะสิ มาเลือกทำเลทำรังสร้างครอบครัวใหม่กันตรงโคนต้นไผ่โคนหนึ่งในดงไผ่ไร่ชาว บ้านแถวแก่งกระจานนี้ ใช้โพรง รากและใบไผ่เป็นที่กำบังตัว ทำให้เราเองก็ต้องมานั่งอุดอู้อยู่กับ กับกล้อง เลนส์ สายลั่นชัตเตอร์ ยากันยุงแบบพ่นตัว และใช้บังไพรผ้าลายพรางเป็นกำบังตัวเหมือนกัน เพื่อที่จะได้เฝ้าดูและเก็บภาพพฤติกรรมของนกได้อย่างสบายใจทั้งสองฝ่าย บังไพรนี้คุณกั๋นเจ้าของพื้นที่เข้ามาผูกทิ้งไว้นานแล้ว เพื่อให้นกทั้งสอง ชินกับสิ่งแปลกปลอมนี้จนทำให้ทำอะไรๆได้ตามปรกติ

จาก ไข่ 6 ฟอง ลูกนกเจาะเปลือกไข่ออกมาร้องกระจองอแงขออาหารจากพ่อแม่ 5 ตัว ในวันแรกที่มา ลูกนกเพิ่งออกจากไข่ไม่กี่วัน ขนสีดำๆทื่อๆเพิ่งจะแทงตัวออกมาจากหนังบางๆยังไม่ทันจะเต็มตัวเลย ปากเล็กๆสีส้มๆอ้าจนกว้างร้องขออาหารจากพ่อและแม่ รวมกัน 5 ตัวยังไม่พ้นครึ่งรังกันเลยมั้ง

เนื่อง จากนกแต้วแล้วธรรมดาเป็นนกที่มีหน้าตาเหมือนกันทั้ง 2 เพศ จึงเป็นหน้าที่ของคนดูที่จะวิเคราะห์เอาเองว่าตัวไหนเป็นพ่อ ตัวไหนเป็นแม่ หลังจากพิจารณาสักพัก ก็ขอเลือกเจ้าตัวกะปุ๊กลุกที่ดูจะขยันนำอาหารมาป้อนมากกว่านี้ให้เป็นแม่ ส่วนอีกตัวซึ่งเป็นนักเรียงไส้เดือนให้เป็นพ่อก็แล้วกัน

เรียงไส้เดือน เป็นกิริยาของนกแต้วแล้ว
เมื่อ จะนำอาหารมาให้ลูกนกนั้น พ่อแม่นกจะไม่นำไส้เดือนมาทีละตัว แต่จะดึงไส้เดือนขึ้นมาจากดิน ตัวสั้นบ้างยาวบ้างขึ้นอยู่กับความยินยอมพร้อมใจของไส้เดือนนั้นว่าจะยอมมา แค่ไหน เมื่อนำขึ้นมาแล้ว นกก็จะนำมาวางเรียงบนพื้นดินหลายๆตัว แล้วใช้ปากช้อนขึ้นมาทีเดียว สำหรับคนดูบางคน นี่อาจเป็นภาพที่น่าสยดสยอง แต่สำหรับลูกนก นี่คือความอิ่มหนำ ในหลายครั้ง เราก็ได้เห็นแต่ภาพพ่อแม่นกคาบอาหารเต็มปากสำเร็จรูปมาเลย แต่ในครั้งนี้ พ่อนกนำไส้เดือนออกมาเรียงให้ดูกับตากันเลยทีเดียว

ในขณะที่ ลูกเล็ก และมีปริมาณมากเช่นนี้ ในหลายครั้ง เราจะได้เห็นพ่อและแม่นกคาบอาหารในปากมาพร้อมกัน และมาเกาะกิ่งใกล้ๆกัน รอเวลาลงป้อนต่อเนื่องกันไป ดูเป็นภาพที่น่ารักไปอีกแบบหนึ่ง

แต่ นั่นเป็นเมื่อครั้งก่อน ห่างไปสิบวัน วันอาสาฬหบูชามาถึง ที่ทำงานก็หยุด เป็นโอกาสอันดีที่จะได้ไปเยี่ยมเยียนดูความเจริญเติบโตของลูกนก เป็นอย่างคาด ลูกนกโตขึ้นมาก มากจนน่าจะตัวเท่าๆกับพ่อแม่ ขนจากที่เห็นเป็นสีดำก็กลายเป็นสีอย่างลูกนกวัยเด็กที่ออกกระโดดเพ่นพ่านกับ พ่อแม่แล้ว คือ หัวเป็นสีน้ำตาลอ่อนคอขาวตุ่นๆ ปีกสีฟ้าๆเขียวๆตุ่นๆ ปากยังคงเป็นสีส้มแช้ด แต่ก็มีสีดำบริเวณตรงกลาง เมื่อลูกนกอ้าปากขออาหาร เพียง 2 ปากก็เต็มปากรังไปหมด

ใน ขณะรอพ่อแม่มาลงป้อนลูกนกก็จะทับกันไปมาแย่งชิงกันเป็นตัวที่อาหารมาถึงเป็น ตัวแรก เพราะในวัยนี้ อาหารคำใหญ่ๆที่นำมาแต่ละครั้ง ไม่พอสำหรับลูกนกหลายตัวอีกต่อไป แต่จะพอสำหรับลูกนก1-2ตัวเท่านั้น แถมเมื่ออ้ำคำแรกไปแล้วก็จะอ้าปากรอคำต่อไปทันทีด้วย

เมื่อป้อน อาหารหมดแล้ว พ่อหรือแม่นกไม่ได้บินไปทันที แต่จะยืนนิ่งๆรอสักพัก ส่วนความเคลื่อนไหวจะยังคงเกิดในรัง เมื่อลูกนกตัวหนึ่งจะขยับตัวหันก้นออกมา และเบ่งถุงขาวๆออกมาจากก้น ถุงอึนั่นเอง เมื่อเห็นลูกเบ่งออกมาพ่อหรือแม่จะคาบถุงอึนั้นจากก้นของลูกและบินนำออกไป ทิ้งทันที นี่เป็นวิธีการที่ทำให้รังไม่เป็นที่สะสมของเชื้อโรคในช่วงหลายวันที่ผ่านมา

นอก จากความเจริญเติบโตของลูกนกที่โตจนชักจะคับรังแล้ว สิ่งที่สังเกตได้อีกอย่างหนึ่งหลังจากเวลาผ่านไปได้ 10 วันก็คือ พ่อแม่มีชุดขนที่โทรมลงมากจนเห็นได้ชัด สีของขนไม่สดใสเหมือนในครั้งก่อน ตัวที่เคยอ้วนๆก็ดูเพรียวลงไป คงจะหาเลี้ยงลูกจนเหนื่อยกันมากทีเดียว

อย่าง ไรก็ตาม การที่สามารถจับคู่ ทำรัง วางไข่ เลี้ยงลูกจนโตออกนอกรังไปได้เมื่อวันเข้าพรรษาที่ผ่านมา ถือว่าพ่อแม่นกคู่นี้ประสบความสำเร็จในการสืบต่อเผ่าพันธุ์ในฤดูกาลนี้ เพราะเรื่องที่ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดานี้ ไม่ง่าย นกแต้วแล้วธรรมดามีสถานะเป็นนกอพยพในฤดูผสมพันธุ์ของไทยซึ่งต้องเดินทางอพยพ มาไกลจากคาบสมุทรมลายู กว่าจะดั้นด้นมาถึงบริเวณอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานนี้ การเลือกคู่ การหาที่ทำรังที่ปลอดภัยจากทั้งมนุษย์ สัตว์อื่น และสภาพดินฟ้าอากาศ รังของนกชนิดนี้ปรกติจะทำอย่างง่ายๆบนดิน ไม่ได้มีการถักทออะไรแน่นหนาเป็นพิเศษ จึงต้องทำรังในช่วงที่ฝนยังไม่ชุกมากจนลงมาชะรังทิ้งไปเสียหมด รังที่ทำนี้แข็งแรงมากด้วยรากไผ่ที่ถักทอกันเองแน่นหนา ดินใต้รังดูแน่นแข็งแรงดี ไม่มีน้ำขัง มีกอไผ่กอใหญ่บังแดดบังฝน และยังต้องเป็นสถานที่ที่หาอาหารมาให้ลูกได้อย่างอุดมสมบูรณ์อีก การออกจากรังของลูกนกอย่างแข็งแรงจึงเป็นความสำเร็จที่น่าภูมิใจมากทีเดียว

อีก ไม่นาน ราวเดือนกันยายน เมื่อลูกนกโตและแข็งแรงเพียงพอที่จะเดินทางไกล ก็จะเดินทางกลับลงไปหากินยังที่ที่พ่อแม่จากมา เพื่อที่จะกลับมาอีกครั้ง และทำภารกิจดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป

รูปภาพ

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย เพลิง. เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 19:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

น่าชมทั้งน้านเลย

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 02:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 10:12
โพสต์: 905

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฟลามิงโก (Flamingos)

ระหงร่อน อ่อนช้อย จะงอยปาก
แข็งแรงมาก งามสม เพียงชมหมาย
พินิจนก หงษ์เหิน เดินลอยชาย
ดูละม้าย อนงค์ องค์อรชร

แต่สิ่งดี มีอีก ไม่ฉีกคู่
เมินสมสู่ ชู้อื่น มาชื่นซ้อน
ไม่นิยม ผสมพันธ์ ผันคู่นอน
นกก็สอน คนได้ ให้คิดกัน

ฟลามิงโก โก้จริง สิ่งที่เห็น
สัตว์ที่เน้น เพียงรัก ประจักษ์มั่น
ตัวคู่ตาย ดายเดียว เกลียวผูกพัน
อยู่เพียงวัน นั้นพราก จากนิรันดร์
รูปภาพ
ฟลามิงโก (Flamingos)นกชนิดนี้ที่รู้จักกันดีมีอยู่ 2 พันธุ์ คือ
greater flamingos (Phoenicopterus ruber)
และ lesser flamingos (Phoeniconaias miner)
ซึ่ง 2 ชนิดนี้ จะแตกต่างกันตรงที่สีและขนาดของลำตัวนั่นเอง
ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกฟลามิงโก กระจายไปทั่วทุกทวีป
สำหรับ greater flamingos จะพบได้มากที่สุดที่ประเทศยูเรเซีย ทวีปแอฟริกา
ทางตอนกลางและตอนใต้ของทวีปอเมริกา
ส่วน lesser flamingos จะพบได้มากที่ทะเลสาบนาคุรุ (Nakuru) ในประเทศเคนยา (Kenya)
นกสายพันธ์ที่อบอุ่นในเผ่าพันธุ์ที่สุด ชอบอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม เป็นฝูง มากมาย หลายพันตัว
ชอบย้ายถิ่นฐานไปกันเป็นฝูง หาอาหาร ตามรอยต่อ ระหว่างน้ำเค็ม และน้ำจืด
ตามทะเลสาบ ที่ตื้นๆ ตอนน้ำลดหรือตามบริเวณปากน้ำ
รูปภาพ
มองแล้ว...นึกถึงนางแบบแฟชั่นจากแคตวอคที่ตัวสูงๆ สวยๆ ดูสง่าเหมือน นกฟลามิงโกมาก
แค่แว๊บหนึ่งในเงาคิดเท่านั้น เพราะลักษณะสูงยาวพอๆ กับ ความระหง ของลำตัว คอและขายาว
จะงอยปากมีลักษณะเป็นตะของุ้มแข็งแรง
รูปภาพ
นั่งมองนกฟลามิงโกเพลิน เลยได้แต่นึกพอใจ ที่เห็นพวกเขาอยู่กันแบบเพื่อนที่คุ้นเคย คลอเคลียร์กันดีจัง
สัตว์ปีกชนิดนี้มีข้อ ที่ข้าพเจ้าทึ่ง...มากในการแผ่พันธ์ จะเป็นสัตว์เลือกคู่ผัวเดียว เมียเดียวเหมือนกับหงษ์
ที่เลือกคู่ เพียงตัวเดียวเช่นกัน ในหลายสิ่ง และนิสัย ของสัตว์ ก็สอนเราได้มากมาย

แต่ก็อดนึกถึง ความเป็นมนุษย์ ของตนเองด้วย ว่าความเปลี่ยนแปลง และสังคม สิ่งแวดล้อม
ทำให้มนุษย์ ต่างกับ สัตว์บางชนิด ในเรื่อง คู่ครอง มองแบบ ทั่วๆไปนะคะ อย่าถือสาเลย
เพราะมองผ่านการใช้ชีวิต ลุ่มๆ ดอนๆ จากบุคคลรอบด้านมาเยอะ
รูปภาพ

.....................................................
"ก้มกราบบ่อยๆ ช่วยขจัดความหยิ่ง-ทะนงออกได้"


แก้ไขล่าสุดโดย ปลายฟ้า...ค่ะ เมื่อ 05 ต.ค. 2009, 02:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว




gajog.jpg
gajog.jpg [ 34.97 KiB | เปิดดู 9556 ครั้ง ]
cool หวัดดี คุณเพลิง คนไร้สาระมีภาพ
"นกกระจอก" มาฝากล่ะดูดูไปก็สวยดีเหมือนกันแต่แพ้
เจ้าของกระทู้ :b4:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกขุนทอง
นกขุนทอง (Gracula religiosa) หรือนกเอี้ยงคำ เป็นสัตว์ปีกในตระกูลนกเอี้ยง
มีถิ่นอาศัยอยู่ทั่วไปในเอเชียใต้ มีนิสัยพูดเก่งเหมือนนกแก้ว จึงเป็นสัตว์เลี้ยงที่เป็นนิยมสูง

ถิ่นที่อยู่อาศัย
ถิ่นแพร่พันธ์หลักของนกขุนทองพบได้ในบริเวณโคนเทือกเขาหิมาลัย ใกล้เขตแดนอินเดีย เนปาล และ ภูฏาน แต่พบได้ใน ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม สุมาตรา อินโดนีเซีย และ บอร์เนียว และถูกนำเข้าไปอเมริกาด้วย

สร้างรังบนกิ่งไม้สูง อาศัยอยู่เป็นกลุ่มประมาณหกตัวขึ้นไป

ลักษณะทั่วไป
ลำตัวป้อมสีดำ มีเหนียงสีเหลืองอมส้มคลุมทั่วท้ายทอยและเหนียงสีเหลืองแดงสดใต้ตา
ขนาดประมาณ 29 ซม. ขนสีดำเหสือบเขียว มีเงาสีม่วงบริเวนหัวและคอ มีสีขาวแซมใต้ปีก
ปากสีแดงส้ม ขาสีเหลืองสด ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน
ชอบร้องเวลาเช้าตรู่และพลบค่ำ ร้องเป็นเสียหวีดสูงตามด้วยเสียงอื่นๆ
เคลื่อนไหวบนกิ่งโดยเน้นการกระโดดข้างแทนการเดินต่างจากนกเอี้ยงทั่วไป

เสียงร้อง
นกขุนทองนั้นมีชื่อเสียงเรื่องเสียงร้องหลากหลายชนิด ทั้งหวีด กรีดร้อง กลั้ว ร้องเป็นทำนอง
รวมถึงเลียนแบบเสียงมนุษย์ ซึ่งทำได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย นกหนึ่งตัวจะมีเสียงร้องตั้งแต่ 3 ถึง 13 ชนิด
มีการเลียนแบบเสียงร้องกันโดยเฉพาะในเพศเดียวกัน แต่รัศมีในการเรียนรู้นี้ส่วนใหญ่น้อยกว่า 15 กม. ลงไป
มีความเข้าใจผิดทั่วไปว่านกขุนทองนั้นชอบเลียนแบบเสียงร้องนกพันธุ์อื่นๆ
แต่ที่จริงแล้วพฤติกรรมนี้ไม่มีโดยธรรมชาติ แต่เฉพาะในสัตว์เลี้ยงเท่านั้น

อาหาร
นกขุนทองกินทุกอย่างทั้งพืชและสัตว์ เช่นผลไม้ ลูกไม้ น้ำดอกไม้ และแมลงต่างๆ

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
นกกะรางหัวขวาน

นกกะรางหัวขวาน Upupa epops (Common Hoopoe) ไม่ใช่นกหัวขวาน และไม่สามารถใช้ปากเล็กๆโค้งยาวบอบบางที่มีเจาะไม้ได้แน่ๆ นกชนิดนี้มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว30เซ็นติเมตร รูปร่างเพรียว หัวเล็ก ปากเล็กยาวโค้งลงเล็กน้อยสีค่อนข้างดำ มีหงอนบนหัวที่สามารถกางแผ่ออกได้เหมือนพัด สีสันโดยรวมทั้งตัวรวมทั้งขนหงอนเป็นสีน้ำตาล ปลายขนหงอนมีแต้มสีดำ ปีกสีดำสลับขาว ขนหางสีดำมีแถบคาดสีขาวไล่ระดับกันลงมาในแต่ละเส้น ลำตัวด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน นกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน

เรา สามารถพบนกชนิดนี้หากินตัวเดียว เป็นคู่ เป็นครอบครัวและเป็นฝูง นกจะเดินหากินไปเรื่อยๆตามพื้นดิน นกจะออกหากินแต่เช้าโดยใช้ปากแหย่ลงไปในดินนิ่มๆเพื่อพิสูจน์หาอาหาร เมื่อจิ้มปากไปเจออาหารนกจะงับทันที โดยอาหารของนกกะรางหัวขวานคือแมลงต่างๆ ลูกกบและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เนื่องจากมีลิ้นเล็กมากไม่สามารถตวัดเหยื่อได้ เวลากินนกจึงต้องโยนเหยื่อขึ้นแล้วอ้าปากรับ ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่และแข็งอย่างพวกแมลงต่างๆก็ต้องฟาดให้ส่วนที่แข็งหลุด ออกแล้วกินเนื้อนิ่มๆ เมื่อกินอิ่มแล้วก็จะบินไปเกาะพักบนกิ่งไม้

นก กะรางหัวขวานอาศัยและหากินตามที่โล่ง พื้นที่เกษตรกรรม ป่าละเมาะ ชายป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าไผ่ ตั้งแต่พื้นราบจนถึงที่สูง1500เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นนกที่ค่อนข้างจะพบง่ายใกล้ชิดกับคน เช่นพบตามสนามหญ้าในรีสอร์ตที่ชะอำ ใกล้ชายหาดที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ตั้งแต่ ปลายเดือนมกราคมไปจนถึงเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่นกกะรางหัวขวานจับคู่ผสมพันธุ์ทำรังวางไข่ โดยนกตัวผู้จะส่งเสียงร้อง “ฮูฟ ฮูฟ ฮูฟ” ประกาศอาณาเขตและเรียกร้องความสนใจจากตัวเมีย และนกจะพองขนรอบคอออกและก้มหัวลงด้วย ถ้านกตัวเมียสนใจก็จะบินไปหา เมื่อเป็นเช่นนั้นนกตัวผู้ก็จะย่ำเท้าถี่ๆเข้าไปหาและพยักหน้าเรื่อยๆ ทำปีกพอง สั่นและแผ่หางออกด้วย เมื่อผสมพันธุ์แล้วนกก็จะเลือกหาทำเลสำหรับเป็นที่วางไข่ โดยอาจเลือกโพรงไม้ธรรมชาติ โพรงรังเก่าของนกอื่น ซอกหรือรูแตกของกำแพง ซอกหินริมตลิ่ง ซอกในจอมปลวก โพรงโคนต้นมะพร้าว หรือแม้กระทั่งในรถไถเก่าอย่างในภาพ

ในโพรงรังอาจมีวัสดุรองรัง หรือไม่ก็ได้ จากนั้นแม่นกก็จะวางไข่ครั้งละราว4-5ฟองหรืออาจมากกว่า โดยนกเริ่มกกไข่ตั้งแต่วางไข่ฟองแรก ลูกนกจึงออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ใช้เวลา14-16วันไข่ก็จะฟักเป็นตัว โดยในระหว่างฟักไข่ ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนตัวเมีย จนกระทั่งลูกนกออกจากไข่มาได้ระยะหนึ่ง แม่นกก็จะออกมาหาอาหารเองและหาอาหารมาป้อนลูกนกบ้าง เมื่อลูกนกอายุ 27-28วันก็สามารถออกมาหาอาหารและหัดบินได้

นก ชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางครอบคลุมทวีปยุโรป อาฟริกาและเอเชีย สำหรับประเทศไทยพบได้ทั่วประเทศยกเว้นทางภาคใต้พบได้น้อย โดยในจำนวนนกกะรางหัวขวาน 10 ชนิดย่อยทั่วโลก จะพบในประเทศไทย 2 ชนิดย่อยคือชนิดย่อย U.e.longirostrisซึ่งเป็นชนิดย่อยประจำถิ่น และชนิดย่อย U.e.satueata ซึ่งพบน้อยกว่าและเป็นชนิดย่อยที่อพยพเข้ามาหากิน ชนิดย่อยนี้สังเกตได้จากปลายหงอนซึ่งมีแต้มดำจะมีจุดขาวด้วย


ถ่ายภาพมาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมเมื่อเดือนมีนาคม 2551
ที่ผ่านมา พ่อนกหาอาหารมาให้แม่นกป้อนลูกในโพรงรังซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของรถไถเก่านั่น เอง

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกขมิ้นท้ายทอยดำ

นกขมิ้นท้ายทอยดำ Oriolus chinensis (Black-naped Oriole) มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 27 เซ็นติเมตร มีลำตัวหนา ปีกค่อนข้างยาว ปลายปีกแหลม หางยาวปานกลางปลายหางมน ปากแหลมโค้งปลายเล็กน้อยสีชมพู นกตัวผู้และนกตัวเมียมีสีสันต่างกัน นกตัวผู้เต็มวัยมีสีเหลืองสดใสไปทั้งตัว เว้นขนปลายปีกและขนหางมีสีดำ มีแถบคาดสีดำคาดผ่านตาจากโคนปากไปจนถึงท้ายทอย นกตัวผู้มีสีเหลืองอ่อนกว่าตัวผู้และขนคลุมลำตัวด้านบนมีสีออกเขียว นกที่ยังไม่เต็มวัยสีอ่อนคล้ายตัวเมีย ขนคลุมลำตัวด้านล่างค่อนข้างขาวมีขีดสีคล้ำประอยู่ทั่วไป ไม่มีแถบคาดตาสีดำ แต่เมื่อค่อยๆโตขึ้นก็จะค่อยๆมีแถบสีดำปรากฎชัดขึ้น

นก ชนิดนี้ชอบอาศัยในป่าดิบและป่าผสมผลัดใบที่ไม่ค่อยรกทึบนัก ป่าชายเลน สวนผลไม้ สวนสาธารณะ ต้นไม้ในหมู่บ้าน โดยมักซ่อนตัวในพุ่มรกๆมากกว่ามาเกาะกิ่งโล่งๆ อาหารของนกชนิดนี้คือแมลงที่พบตามยอดไม้ เช่นด้วง จักจั่น ไข่และตัวอ่อนของแมลง ตัวบุ้ง ผลไม้สุกและน้ำหวานจากดอกไม้

นกขมิ้นท้ายทอยดำที่พบในประเทศไทยมีสองชนิดคือ นกขมิ้นท้ายทอยดำพันธุ์เหนือ( Oriolus chinensis diffussus ) และ นกขมิ้นท้ายทอยดำพันธุ์ใต้ ( Oriolus chinensis maculatus )นก ชนิดแรกมีแหล่งทำรังวางไข่ในแถบเอเชียตอนเหนือ ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน แมนจูเรียและเกาหลีเรื่อยลงมาถึงจีนตอนใต้ เมื่อถึงฤดูหนาวนกจะหนีหนาวลงมาทางใต้ของทวีปอันได้แก่ อินเดีย พม่า ไทย อินโดจีน และตอนเหนือของมลายู ส่วนชนิดหลังทำรังวางไข่ในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ต่อมาย้ายถิ่นหากิน ทำรังวางไข่มาที่มลายูและสิงคโปร์และเข้ามาทางภาคใต้ของไทย

เมื่อ ถึงแหล่งทำรังวางไข่แล้วนกจะจับคู่เกี้ยวพาราสี เมื่อผสมพันธุ์แล้วนกตัวเมียจะทำรังเป็นรูปถ้วยก้นลึกห้อยลงมาจากง่ามไม้ รังทำจากวัสดุนุ่มจำพวกหญ้าและเปลือกไม้ที่ฉีกเป็นชิ้นๆมาขัดสานตกแต่งภาย นอกด้วยมอสและไลเคนส์ ภายในรองด้วยวัสดุนุ่มๆอีกชั้นหนึ่ง โดยรังจะซ่อนในพุ่มไม้ใบหนายากต่อการสังเกตเห็น บางครั้งนกตัวผู้อาจช่วยหาวัสดุมาสร้างรังบ้าง เมื่อเสร็จแล้วนกจะวางไข่ครอกละ2-4ฟอง เปลือกไข่สีเขียวอ่อนๆมีจุดกระสีคล้ำ เมื่อกกไข่ไปราว13-15วันลูกนกจะฟักเป็นตัว พ่อแม่นกหาอาหารพวกแมลง หนอน และผลไม้สุกมาป้อน เมื่ออายุราว 2 สัปดาห์ลูกนกก็จะหัดบินได้

สำหรับ ประเทศไทยนกชนิดนี้เป็นนกที่พบบ่อยมากตามสวนผลไม้ สวนสาธารณะใกล้เมือง ป่าดิบ ป่าผสมผลัดใบ ป่าชายเลนตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นกหนีความหนาวเย็นลงมาจากทางเหนือ อย่างไรก็ตามมีนกชนิดนี้บางส่วนทำรังวางไข่ในประเทศไทยแต่ก็เป็นปริมาณน้อย
ภาพ นกในบล็อกถ่ายมาจากพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมซึ่งเป็นที่ที่นกมาปรากฎตัวทุกๆฤดูหนาว ส่งเสียง แก๊ก ไม่เพราะเสนาะหูลงมาจากต้นไม้เสมอๆ(แน่นอนว่ามักจะอยู่ตามต้นที่มีตัวหนอน ตัวบุ้งเยอะๆ) บางครั้งก็มาทำตัวอาละวาดตีกันจนหนวกหูไปหมด

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่

นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ Dicrurus paradiseus (Greater Racket-tailed Drongo)
มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 62 เซ็นติเมตร โดยความยาวครึ่งหนึ่งเป็นความยาวหาง
นกแซงแซวชนิดนี้มีสีดำเป็นเงาเหลือบสีน้ำเงินตลอดทั้งลำตัวด้านบน ส่วนลำตัวด้านล่างเป็นสีดำไม่มีเหลือบ
มีขนหงอนสั้นๆหนาแน่นที่หน้าผาก ปากหนาสันปากบนโค้งลงและงองุ้มเล็กน้อย มีจุดเด่นที่ทำให้ดูสง่างามมาก
คือขนหางคู่นอกสุดที่จะยาวยื่นออกมามากและมี ขนตอนปลายบิดเป็นเกลียว โดยขนหางนี้จะเริ่มยื่นยาวออกมาเมื่อนกมีอายุครบปีขึ้นไป นกตัวผู้และนกตัวเมียคล้ายคลึงกัน เช่นเดียวกับนกแซงแซวหางปลา นกชนิดนี้สามารถเลียนเสียงของนกและสัตว์หลายชนิดได้

เมื่อ เข้าเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน นกทั้งสองเพศจะช่วยกันหากิ่งไม้เล็กๆ หญ้า เปลือกไม้ชิ้นยาวๆมาขัดสานทำรังเป็นรูปถ้วยหยาบๆอยู่ระหว่างง่ามกิ่งไม้ บริเวณปลายกิ่ง สูงราว 5-15 เมตรจากพื้นดิน เส้นผ่านศูนย์กลางราว15เซ็นติเมตร ไม่มีวัสดุรองรัง สามารถมองทะลุจากด้านล่างไปเห็นไข่ในรังได้ นกจะวางไข่ครอกละ3-4ฟอง ขนาดไข่ประมาณ 27.8*20.2มม.มีสีสันลวดลายหลายแบบ ทั้งสีขาว สีครีม หรือสีชมพู มีจุดประสีน้ำตาลปนแดงหรือม่วง เป็นต้น พ่อและแม่นกจะช่วยกันกกไข่และเลี้ยงลูกเมื่อออกจากไข่ เมื่อโตพอจะออกจากรังแล้วลูกๆจะอยู่กับพ่อแม่ระยะหนึ่งแล้วก็แยกตัวออกไปหา กินตามลำพัง ลูกนกวัยรุ่นจะไม่มีขนหงอน ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างน้ำตาลอมดำ ไม่มีสีเหลือบ ขนหางยังไม่ยาว ขนคลุมหางด้านล่างมีขีดสีขาวถี่ๆ ท้องและอกส่วนล่างมีประ จุด หรือขีดขาวแซมอยู่เล็กน้อย

เรา สามารถพบนกชนิดนี้ได้ตามป่าทุกประเภท ทั้งป่าผสมผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง จากที่ราบต่ำถึงที่ความสูงระดับ 1700 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ส่วนมากพบบนที่ราบถึงความสูงไม่เกิน 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล นอกจากนี้ยังพบได้ตามป่าชั้นรอง เขตเกษตรกรรม สวนสาธารณะ สวนป่า สวนผลไม้ โดยพบได้ทุกภาคทั่วประเทศไทย โดยอาจพบนกชนิดนี้ตามลำพัง หรืออยู่กับเวฟของนกขนาดกลางหลายชนิด อาหารของนกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ได้แก่แมลงปอ ตั๊กแตน ผีเสื้อกลางคืน ตั๊กแตน แมงเม่า โดยจับอาหารมากินที่กิ่ง หากอาหารตัวโตก็จะใช้เท้าช่วยจับและใช้ปากฉีกกินจนหมด อาหารของนกชนิดนี้ยังรวมไปถึงสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็ก นกเล็กๆ และน้ำหวาน

แซง แซวหางบ่วงใหญ่เป็นนกประจำถิ่นในประเทศอินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ จีนตอนใต้ อินโดจีน หมู่เกาะนิโคบา หมู่เกาะอันดามัน มลายู สิงคโปร์ สุมาตรา ชวา บาหลี บอร์เนียวและหมู่เกาะเล็กๆใกล้เคียง สำหรับประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ง่าย และพบได้ทั่วประเทศ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน สวนผลไม้ในจังหวัดนนทบุรี พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมเป็นต้น ภาพนกในบล็อกถ่ายจากพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
นกเด้าลมดง

นกเด้าลมดง Dendronanthus indicus (Forest Wagtail) เป็นหนึ่งในห้าของนกเด้าลม(Wagtail)ที่พบได้ในช่วงฤดูอพยพในประเทศไทย

นก ในเหล่านกเด้าลม(Wagtails)เป็นนกตัวไม่ใหญ่ ความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว18-19เซ็นติเมตร รูปร่างเพรียว หางยาวและมักกระดกแทบจะตลอดเวลาจึงเป็นที่มาของชื่อสามัญทั้งภาษาไทยและภาษา อังกฤษ เป็นนกกินแมลง

นกเด้าลมดงมีรูปร่างเหมือนกับนกเด้าลมอื่นๆ มีหัวและหลังสีน้ำตาลอมเขียว มีแถบคาดหน้าอกสีดำสองแถบ แถบบนกว้างกว่าแถบล่าง ลำตัวด้านล่างสีขาว มีแถบปีกสองแถบ หางที่ยาวแกว่งไปทางข้างๆซ้ายขวา ไม่ได้แกว่งขึ้นลงแบบนกเด้าลมชนิดอื่น

นก ชนิดนี้ทำรังวางไข่ทางตะวันออกของทวีปเอเชีย จากไซบีเรียจนถึงตอนเหนือของจีน โดยรังจะถูกสร้างเป็นรูปถ้วยบนต้นไม้ และวางไข่ครั้งละราว 5 ฟอง นอกฤดูผสมพันธุ์ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวนกจะอพยพลงมาด้านล่าง พบตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงอินโดนีเซีย นกที่พบในไทยอาจเป็นนกที่มาอยู่ในเมืองไทยในฤดูหนาว หรืออาจเป็นนกที่เดินทางผ่านประเทศไทยลงใต้ไปอีก

เรา จะพบนกเด้าลมดงในที่ที่แตกต่างจากนกเด้าลมอื่นๆคือพบได้ตามป่า สวน พื้นที่เกษตรกรรมและป่าชายเลน จากที่ราบจนถึงความสูงราว 1500เมตรจากระดับน้ำทะเล ในขณะที่นกเด้าลมอื่นๆมักพบตามที่ใกล้กับแหล่งน้ำ

นกเด้าลมดงที่เห็นนี้ถ่ายภาพมาจากพุทธมณฑล ช่วงปลายฤดูอพยพที่ผ่านมา

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 16 ต.ค. 2009, 01:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกเค้าหลับ

ถ้า เราเจอนกเค้า ที่หน้าตาเหมือนนกฮูกแต่ไม่มีขนชี้ตั้งขึ้นไปเหมือนหู ชนิดหนึ่งในสวนสาธารณะใกล้เมือง มีความเป็นไปได้มากว่านกเค้าชนิดนั้นคือ นกเค้าจุด ซึ่งมีครอบครัวที่อบอุ่น

นก เค้าจุดเป็นนกที่เมื่อเลี้ยงลูกจนโตออกจากรังแล้ว พ่อแม่ลูกก็จะยังคงอยู่ด้วยกันไปอีกนานพอสมควร บ่อยครั้งเราจึงพบนกเค้าจุดทีละหลายตัวอยู่บนต้นไม้เดียวกัน อย่างเช่นภาพที่เห็นนี้ แม้จะมีนกอยู่ในภาพเพียง 3 ตัว แต่จริงๆแล้วเป็นครอบครัวใหญ่ที่มีสมาชิกถึง 5 ตัว พ่อแม่และลูกอีก 3 ตัว

ใน ช่วงกลางวันของเดือนธันวาคมที่ผ่านมา พ่อแม่ลูกเค้าจุดครอบครัวนี้กำลังนั่งพักผ่อนอยู่ในร่มไม้ใกล้กับโพรงรัง ซึ่งเป็นช่องว่างระหว่างหัวเสากับหลังคาของศาลารายรอบองค์พระประธานพุทธมณฑล หลับๆตื่นๆอยู่อย่างนั้นเอง ใครจะเดินผ่านไปผ่านมาแวะมองยังไงก็ไม่ค่อยจะสนอกสนใจเท่าไหร่

จริงๆ แล้วการที่ได้เจอนกชนิดนี้อยู่ในเฟรมเดียวกันหลายๆตัวก็เป็นเรื่องที่น่า ตื่นเต้นสำหรับเราอยู่แล้ว แต่อากัปกิริยาง่วงเหงาหาวนอนของเจ้าจิ๋วตัวนี้กลับยิ่งทำให้รู้สึกดีที่ได้ เห็นมากขึ้นไปอีก

ดูทีไรก็รู้สึกอยากจะหาวปากกว้างๆตามเพื่อนจิ๋วเค้าไปด้วยทุกที

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 16 ต.ค. 2009, 01:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร