ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

เข้าป่า..ดูนก
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=19&t=25871
หน้า 3 จากทั้งหมด 3

เจ้าของ:  เพลิง. [ 16 ต.ค. 2009, 01:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

รูปภาพ

นกเค้าจุด

นกเค้าจุด Anthena brama (spotted owlet) เป็นนกเค้าอีกชนิดในประเทศไทย ที่มีหัวกลมๆ ไม่มีขนชี้ขึ้นไปเหมือนหูอย่างนกฮูก (หรือนกเค้ากู่ในอีกชื่อหนึ่ง) นกเค้าจุดมีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ20เซ็นติเมตร นกเค้าจุดมีจุดสังเกตอยู่ที่คิ้วขาวที่เห็นได้เด่นชัด หัวค่อนข้างแบน บริเวณหัวจนถึงท้ายทอยสีน้ำตาลมีจุดเล็กๆสีขาวประพรมทั่วไปหมด บริเวณตัวด้านบนซึ่งเป็นสีน้ำตาลก็มีจุด แต่จะมีขนาดใหญ่และกระจายมากกว่าบริเวณหัว บางทีใหญ่และเรียงตัวกันดูคล้ายบั้งมากกว่าจุด โดยเฉพาะด้านหลังคอที่จะเรียงตัวต่อกันคล้ายปลอกคอ ด้านล่างของลำตัวสีขาว แต่มีลายจุดสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน

นก เค้าจุดเป็นนกหากินกลางคืน โดยจะเริ่มออกหากินตั้งแต่โพล้เพล้ โดยการที่หากินกลางคืนที่เงียบสงัดนี้เองทำให้นกเค้าจุดต้องเป็นนกที่บินได้ เงียบมากจึงจะสามารถล่าเหยื่อได้ ไม่เหมือนนกเค้าแคระที่เวลาบินไม่เงียบเท่าไหร่เนื่องจากเป็นนกเค้าที่หากินกลางวันในเวลาที่มีเสียงจอแจอยู่แล้ว

อาหาร ของนกเค้าจุดได้แก่แมลงต่างๆ เช่นด้วง ตั๊กแตน ผีเสื้อกลางคืน หนูตัวเล็กๆ นกเล็กๆที่นอนหลับบนต้นไม้ เมื่อเห็นเหยื่อนกจะพุ่งตัวกางกรงเล็บอันแข็งแรงและแหลมคมออกจับเหยื่อ ถ้าเหยื่อตัวเล็กก็กินเลย ถ้าตัวใหญ่ก็นำกลับมาที่คอนที่เกาะก่อนแล้วใช้กรงเล็บจับเหยื่อขึ้นมาฉีกกิน จนหมด นกเค้าจุดที่อยู่ตามหมู่บ้านอาจถูกพบมาดักจับแมลงที่มาเล่นไฟตามหลอดนีออน

ช่วง เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนเป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์ทำรังวางไข่ของนกเค้าจุด โดยพวกเค้าจะใช้โพรงธรรมชาติหรือโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้ หรือรอยแตก รอยแยกในตึก เจดีย์ ซอกหลังคาตามอาคาร เป็นรัง โดยอาจหาหญ้าหรือขนนกมารองพื้นโพรงบ้างก็ได้ แต่ส่วนมากจะวางไข่กับพื้นโพรงเลย วางไข่ครั้งละ3-5ฟอง ไข่มีลักษณะกลม ขนาด 37 x 27มม. เปลือกไข่สีขาวเป็นมันเล็กน้อย นกทั้งสองเพศช่วยกันกกไข่ เช่นเดียวกับนกเค้าอื่นๆอีกหลายชนิด นกเค้าจุดจะกกไข่ทันทีตั้งแต่วางไข่ฟองแรก ลูกนกในรังจึงมีขนาดแตกต่างกันมาก เพราะออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ใช้เวลาเลี้ยงลูกนกประมาณ35-40วัน ลูกนกจะสามารถออกมานอกรังได้

ทั้ง พ่อและแม่นกช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูกอ่อน โดยจะออกหากินกลางวัน ถ้าเหยื่อเป็นชิ้นเล็กๆจะส่งให้ลูกทั้งตัว ถ้าขนาดใหญ่ก็จะฉีกเป็นชิ้นเล็กให้ ลูกนกที่โตพอสมควรแล้วจะยังคงอยู่กับพ่อแม่อีกนาน ดังนั้นเราจะเห็นนกเค้าจุด2-3ตัวอยู่บนต้นไม้เดียวกัน หรือเกาะกิ่งเบียดใกล้ชิดกันเสมอๆ โดยในตอนกลางวันจะเกาะกิ่งหลับอยู่บนต้นไม้ใบหนา หรือถ้ามีโพรงก็จะมุดเข้าไปหลบในโพรงได้

นก เค้าจุดเป็นนกเค้าที่พบได้บ่อย และค่อนข้างคุ้นและเชื่องคนมาก เข้าไปใกล้ๆก็ไม่หนี เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยตามสวนสาธารณะที่มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น ตั้งแต่ที่ราบต่ำจนถึงความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยพบได้มากทางภาคกลาง สำหรับภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้จะพบเป็นที่ๆไป

นอก จากประเทศไทยแล้ว นกเค้าจุดมีการกระจายพันธุ์ในประเทศอิหร่าน อาฟกานิสถาน ปากีสถาน อนุทวีปอินเดีย สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบที่พม่า ไทย กัมพูชา ลาว และเวียตนาม ในต่างประเทศสามารถพบได้ถึงระดับความสูง1400เมตรจากระดับน้ำทะเลโดยเฉพาะแถบ เชิงเขาหิมาลัย หรือแม้กระทั่งบริเวณกึ่งทะเลทรายก็อาจพบตัวได้ด้วย ทั่วโลกมีนกเค้าจุด 4 ชนิดย่อย สำหรับประเทศไทยเป็นชนิดย่อย Athene brama mayri

นก เค้าจุดตัวนี้ถ่ายภาพมาจากพุทธมณฑล หลังจากถ่ายภาพด้านหน้าก็พยายาม จะเข้าไปถ่ายด้านข้างๆให้เห็นข้างหลังบ้าง แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะเค้าหันหน้าตามตลอด แถมสภาพกิ่งที่เกาะยังรกมากๆอีกด้วย มีบางช่วงเข้าใกล้ต้นไม้อีกต้น เค้าจะร้องโวยวายดังมาก พอเดินออกมาก็หยุด น่าสงสัยว่าจะมีรังของเค้าอยู่บนต้นไม้ต้นนั้นแน่ๆ

เจ้าของ:  เพลิง. [ 16 ต.ค. 2009, 02:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

รูปภาพ

นกเค้าป่าสีน้ำตาล

นกเค้าป่าสีน้ำตาล Strix leptogrammica ( Brown Wood Owl ) เป็นนกเค้าหัวกลมๆอีกชนิดหนึ่ง มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 47-53 เซนติเมตร สีโดยรวมเป็นสีออกน้ำตาลๆ วงหน้ามีสีน้ำตาลแกมเหลือง สีอ่อนกว่าบริเวณหัวและหน้าผากซึ่งเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีขนสีเกือบขาวลากจากโคนปากด้านบนขึ้นไปทางหัวตาดูคล้ายคิ้ว นกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน

นก ชนิดนี้เป็นนกหากินกลางคืน กลางวันจะนอนหลับตามกิ่งไม้ที่มีใบรกทึบหรือในโพรงไม้ อาหารของนกชนิดนี้ได้แก่ แมลงที่หากินกลางคืนขนาดใหญ่ เช่น ผีเสื้อกลางคืน ด้วง กว่าง นกที่เกาะหลับตามกิ่งไม้ และสัตว์อื่นๆ นกจะจับกิ่งไม้สูงจ้องหาเหยื่อตามพื้นดิน เมื่อพบก็จะโฉบลงมาจับ แล้วนำไปกินบนกิ่งไม้ทั้งตัว ถ้าเหยื่อตัวใหญ่ก็จะใช้ปากฉีกกิน

เรา จะพบนกเค้าป่าสีน้ำตาลอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ตามกิ่งไม้ค่อนข้างสูงในป่า เบญจพรรณ ป่าดงดิบเขาตั้งแต่พื้นราบจนถึงความสูง 2590 เมตรจากระดับน้ำทะเล นกชนิดนี้จะวางไข่ในช่วงระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยจะอาศัยโพรงธรรมชาติหรือโพรงที่สัตว์อื่นขุดไว้ หรือซอกหินบริเวณที่ลาดชันเป็นรัง ไข่จะมีลักษณะค่อนข้างกลม เปลือกไข่สีขาว ขนาด 51*46 มม. วางไข่ครอกละ1-2ฟอง เริ่มฟักตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงลูกอ่อน

นก เค้าป่าสีน้ำตาลเป็นนกประจำถิ่นของทวีปเอเชีย โดยจะพบได้ในตอนเหนือ ตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย เนปาล ภูฐาน บังคลาเทศ ศรีลังกา ทางใต้ของจีน พม่า ไทย มาเลเซียและหมู่เกาะซุนดาใหญ่ สำหรับประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นที่พบไม่บ่อยนัก โดยจะพบทางภาคเหนือ ตะวันตก ภาคตะวันออกในบางพื้นที่และภาคใต้ แต่สถานที่ที่มีผู้พบบ่อยที่สุดคือบริเวณด่านสองของอุทยานแห่งชาติดอยอิน ทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ที่ถ่ายภาพนกในบล็อกนี้มาเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

เจ้าของ:  เพลิง. [ 16 ต.ค. 2009, 02:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

รูปภาพ

นกเค้าแคระ

นกเค้าแคระ Glaucidium brodiei (collared owlet) เป็นนกเค้าที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางเพียง 15 เซ็นติเมตรเท่านั้น และมีสีสันลวดลายกลมกลืนไปกับกิ่งไม้ทำให้สังเกตเห็นตัวได้ค่อนข้างยาก

นก เค้าแคระมีรูปร่างน่ารักน่ากอดเพราะมีลำตัวอวบอัด มีขนหนานุ่มปกคลุมอย่างหนาแน่น บริเวณคอก็มีขนอยู่อย่างหนาแน่นทำให้ดูเหมือนหัวอยู่ติดกับตัวโดยไม่มีคอ และมีหัวที่กลมโต หน้าแบน ตากลมโตสีเหลืองอยู่ด้านหน้าของใบหน้า ปากสั้นและปากบนโค้งงุ้มแหลมลงมาใช้สำหรับฉีกเหยื่อเป็นชิ้นๆ มีขนเส้นเล็กๆคล้ายหนวดแมวอยู่รอบๆโคนปากทำหน้าที่เป็นเรดาห์นำทาง มีปีกกว้างแต่ปลายปีกมน ขนหางยาวกว่านกเค้าอื่นๆ มีขาสั้นแต่เข็งแรงสีเหลืองนิ้วเท้าค่อนข้างใหญ่และแข็งแรง มีนิ้วเท้าสี่นิ้วเวลาเกาะกิ่งจะอยู่ด้านหน้า2ด้านหลัง2นิ้ว เล็บสีดำ

นก เค้าแคระทั้ง 2 เพศมีลักษณะและสีสันเหมือนกัน เมื่อมองจากด้านหลังนกเค้าแคระจะมีสีน้ำตาลเข้มสลับสีน้ำตาลอ่อนเป็นลายขวาง ขนหางก็สีสลับแบบนี้ดูเป็นบั้งๆ ด้านหน้ามีสีขาวและมีลายสีน้ำตาล หัวสีน้ำตาลมีลายจุดเล็กๆสีอ่อนเต็มไปหมด ด้านหลังของหัวนกเค้าแคระ จะมีเส้นสีเข้มพาดเป็นลักษณะเหมือนหน้าของนกเค้าทำให้ดูเหมือนกับว่าเป็น หน้าอีกหน้าหนึ่ง ช่วยหลอกตาศัตรูให้คิดว่าหันหน้ามาทางตัวเองได้

นก ตัวเล็กๆเป็นศัตรูกับนกเค้าแคระตัวจิ๋วนี้ เพราะอาหารของนกเค้านอกจากพวก กิ้งก่า หนู สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก จั๊กจั่น ด้วง และ ตั๊กแตน แล้ว ก็เป็นเหล่านกเล็กๆนี่เอง เมื่อเจอนกเค้าแคระที่ไหน นกเล็กๆจึงมักมารุมกันไล่จนบ่อยครั้งต้องขยับบินหนีไปเรื่อยๆ และไปเกาะซุ่มในกิ่งที่ชิดลำต้นเพื่อหาที่ซ่อนตัว ดักจับนกเล็กๆที่หลงเข้ามา นกเค้าแคระสามารถจับเหยื่อที่มีขนาดตัวพอๆกันหรือโตกว่าเล็กน้อยได้ด้วยกรง เล็บที่แข็งแรง โดยจะหาอาหารในช่วงกลางวันเป็นส่วนใหญ่ หากหากินกลางคืนก็มักเป็นคืนที่พระจันทร์เต็มดวงส่องสว่าง

นก เค้าแคระทำรังวางไข่ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม โดยใช้โพรงไม้ธรรมชาติ หรือรังของนกอื่นที่ทำรังในโพรงไม้อย่างเช่นนกโพระดก โดยโพรงอาจเป็นรังเก่า หรืออาจมาจากการแย่งชิงเจ้าของโพรงก็ได้ ในบางครั้งอาจเป็นการฆ่ากินและปล้นชิงบ้านเลยก็เป็นได้ โพรงรังที่เลือกมักอยู่สูงจากพื้นราว2-10เมตร วางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง ลูกนกเค้าแคระจะออกจากไข่ในช่วงต้นฤดูฝนที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์พอดีซึ่งจะ เป็นผลดีต่อการรอดชีวิตของลูกนก เนื่องจากแม่นกเค้าจะกกไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรกทันที ในขณะเดียวกันก็จะออกไข่ใบอื่นๆไปด้วย ดังนั้นในแต่ละรังลูกนกเค้าจะมีอายุต่างกันพอสมควร ถ้าอาหารมีไม่พอเพียง ตัวที่ออกมาทีหลังตัวเล็กกว่าก็จะแย่งอาหารพี่ๆไม่ทันและตายไป

นก เค้าแคระเป็นนกเค้าที่พบได้บ่อยที่สุดในบริเวณป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 3,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยจะพบบ่อยขึ้นที่ระดับสูงเกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป บริเวณภาคใต้ และ คาบสมุทรมาลายู จะพบได้บ่อยมากในระดับสูง 395 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป เป็นนกที่มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางมากในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และจีนตอนล่าง

ภาพนกเค้าแคระเหล่านี้ถ่ายมาจากบริเวณค่ายกองแก้ว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ธันวาคม 2548

เจ้าของ:  เพลิง. [ 16 ต.ค. 2009, 02:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

"นกแสก"
ซึ่งเคยสร้างความเชื่อกับคนเฒ่าคนแก่ ให้เกลียดกลัวหนักหนาว่า
หากมันไปส่งเสียงร้องที่หลังคาบ้านไหนภายใน 3 วัน 7 วัน ต้องมีคนที่รักตายจากไป

เชื่อหรือไม่ว่า ขณะนี้
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการทดลองให้ชาวสวนปาล์ม เลี้ยง นกแสก
หรือ “ไอ้ตาใส” หรือที่หลายคนเรียกมันว่า “นกผี” ไว้คอยจับ “หนู” มาแล้วอย่างได้ผล

และต่อมาหลายแห่งนำวิธีดังกล่าวมาใช้ เพื่อเป็นอีกแนวทางในการลดต้นทุนในเรื่องของการซื้อหาสารเคมี เพื่อมากำจัด “ไอ้จี๊ด” ศัตรูตัวร้ายฉกาจที่เข้าทำลายผลผลิตปาล์ม ส่งผลให้เกิดการสูญเสียมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ กรมวิชาการเกษตร จึงนำต้นแบบอย่างที่ ประเทศมาเลเซีย ที่เขาใช้วิธีดังกล่าวนี้ได้ผลมาแล้ว

โดยการ “สร้างรัง” ไว้ในสวนปาล์มน้ำมัน เพื่อชักนำให้มันเข้ามาอาศัย
ขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรในฝูง และเพื่อให้มันคอย ทำหน้าที่เป็นยามเฝ้าผลิตผล ในสวนปาล์ม
ซึ่ง นกแสก 1 ตัว จะช่วยกำจัดหนูได้มากถึง 700 ตัว/ปี

อย่ากระนั้นเลย...มาทำความรู้จักกับนกแสกให้ดีเสียใหม่

นกแสก (Barn Owl)
มีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่ในแถบอินเดีย อันดามัน ชวา พม่า เขมร เวียดนาม โคชินไชนา ลาว
และ ประเทศไทย พบมากในแถบทางภาคเหนือ ภาคกลางภาคอีสาน ภาคตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ รูปร่างลักษณะตัวผู้และตัวเมีย จะคล้ายกันคือ วงหน้ามีขนสีขาวขึ้นเต็มเป็นรูปหัวใจ ตา กลมดำโต
ปาก แหลมงุ้ม ขน ตัวด้านบนมีสีเหลืองปนน้ำตาลเทา มีจุดขาว และน้ำตาลประปราย ขนใต้ท้อง ขาว
ส่วนปีก และ หาง มีลายขวาง สีเหลืองสลับน้ำตาลอ่อน เล็บเท้า ยาวงุ้มแหลม เล็บนิ้วกลาง ลักษณะคล้าย
ฟันเลื่อย ขา ยาว มีสายตา และ ประสาทหูดีมาก โดยเฉพาะ กลางคืน อันเป็นช่วงเวลาที่มันออกหากิน
ซึ่งอาหารโปรดของมันคือ หนูท้องขาว
ส่วนตอนกลางวันสายตาจะแย่ที่สุด
ดังนั้นเมื่อตะวันขึ้นแตะขอบฟ้าพวกมัน จะหาที่ตามซอกหลืบมืดๆ โพรงไม้ซอกเจดีย์พักผ่อนหลับนอน

ช่วงเวลาที่นกแสกผสมพันธุ์จะตลอดทั้งปียกเว้นหน้าฝน ภายหลังเลือกคู่ได้แล้วมันจะคาบเศษหญ้าสำหรับปูรองพื้นเพื่อวางไข่ ซึ่งออกครั้งละประมาณ 4-7 ฟอง ขณะที่ตัวเมียเป็นฝ่ายกกไข่ ใช้เวลาเกือบเดือน
สมาชิกใหม่จึงออกมา “แหกปาก” ให้พวกเราขนพองสยองเกล้ากันนั้น ตัวเมียจะไม่ทิ้งห่างพื้นที่วางไข่เลย
ฉะนั้นการหาอาหารจึงเป็นหน้าที่ของตัวผู้ และทั้งคู่จะอยู่ช่วยเลี้ยงสมาชิกใหม่ของโลกใบนี้ต่ออีก
ประมาณ 2 เดือน กระทั่งเมื่อลูกนกที่โตเต็มวัย ซึ่งมีขนาดลำตัวใหญ่ประมาณ 14 นิ้ว
จะบินออกสู่โลกภายนอกหลืบหลังคา เพื่อไปใช้ชีวิตโฉบเฉี่ยวหาพวกบรรดาหนูๆมาเปิบเป็นอาหาร จากนั้นเมื่อมันอายุได้ขวบปี ก็จะเริ่มมองหาคู่เพื่อขยายเผ่าพันธุ์เป็นวัฏจักรชีวิตต่อไปเรื่อยๆนั่นเอง.

ฟังเสียงนกแสกร้องยามกลางคืน
ที่คนโบราณกลัวกันนักหนาเวลาได้ยินมันร้องอยู่บนหลังคาบ้าน

ไฟล์แนป:
02-1.jpg
02-1.jpg [ 11.91 KiB | เปิดดู 13010 ครั้ง ]

เจ้าของ:  เพลิง. [ 16 ต.ค. 2009, 02:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

รูปภาพ

นกเค้าแมว
หรือ Asian Barred-Owlet (Taenioglaux cuculoides) มีชื่อภาษาไทยอีกชื่อหนึ่งด้วยว่า นกเค้าโมง

เป็นนกกลุ่มนกเค้าที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆของเมืองไทยและสามารถพบได้ทั่วไปแทบทุกภาค

สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในป่าดิบเขา ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง และยังรวมไปถึงในเมืองอีกด้วย

ส่วนใหญ่เท่าที่เรารู้จัก มักจะคิดว่านกเค้าออกหากินเฉพาะแต่ในเวลากลางคืนเท่านั้น

แต่สำหรับนกเค้าแมวแล้ว แม้แต่ในตอนกลางวันพวกเค้าก็ยังมีสายตาที่คมกริบ

สามารถออกล่าเหยื่อ และกระปรี้กระเปร่าไม่แพ้ยามค่ำคืนเลยทีเดียว

เจ้านกเค้าแมวตัวนี้ถ่ายมาจากที่บ้านนี้เองครับ คิดว่าน่าจะเป็นนกตัวเดิมที่อาศัยอยู่มาตั้งแต่หลายปีก่อน

เพราะนกล่าเหยื่อส่วนมากมักจะมีอาณาเขตการหากินที่ชัดเจนเป็นของตัวเอง

และมักจะไม่ยอมให้นกตัวอื่นรุกล้ำเข้ามาหากินทับซ้อนในพื้นที่เดียวกันอีกด้วย

ช่วงนี้อยู่บ้านเฉยๆก็เลยต้องอาศัยเก็บนกแถวบ้านดูไปวันๆนี่แหละครับผม

เจ้าของ:  เพลิง. [ 16 ต.ค. 2009, 02:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

รูปภาพ

ฮอ นกฮูก ตาโต

นกฮูก หรือ นกเค้ากู่ Otus lempiji ( collared scops owl) เป็นนกที่มีขนาดตัว ประมาณ 23 เซ็นติเมตร จากปลายปากถึงปลายหาง ใบหน้าค่อนข้างแบน ตาอยู่ค่อนมาทางด้านหน้าของหัว สีน้ำตาลเข้ม มีขนข้างหัวตั้งชันขึ้นไปเหมือนหูของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ดูเผินๆคล้ายใบหน้าของแมว มี ขนซึ่งเรียงออกไปเหมือนจานกลมๆ ซึ่งเราเรียกว่า วงหน้า ( facial disk ) เป็นรูปครึ่งวงกลม จึงทำให้ใบหน้าของมัน เป็นวงกลม ปากสั้น สันปากบนโค้งลงมามาก และตอนปลายเป็นของุ้มใช้ในการฉีกเหยื่อเป็นชิ้นๆตรงโคนปาก มีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อ ที่เรียกว่า เซียร์ ( Cere ) เช่นเดียวกับ เหยี่ยว และ นกแก้ว มีรูจมูก เปิดออกสู่ภายนอก ตรงแผ่นเนื้อนี้ด้วย ตำแหน่งของปาก จะอยู่ตรงกลาง ตรงที่วงหน้า 2 ข้าง มาชนกันพอดี บริเวณระหว่างปาก กับ ดวงตา มีขนปกคลุมด้วย ที่โคนปากของมันมีขนเส้นเล็กๆ คล้ายหนวดแมว ขนนี้มีประโยชน์ต่อมันมาก เพราะทำหน้าที่เป็นเรดาห์ ช่วยนำทางเช่นเดียวกับหนวดแมว ปากของมันงุ้มแหลมและแข็งแรง มาก สามารถดึงหัวของเหยื่อให้ขาดออกได้ เพราะมีแรงฉีกมาก เหยื่อขนาดเล็กจึงมักตายทันทีเมื่อถูกจิก แต่ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่ จะต้องใช้เล็บเท้าช่วย จึงจะฆ่าเหยื่อได้
(หมายความว่า ส่วนที่เราคิดว่าเป็นหู จริงๆแล้วเป็นแค่ขนที่ชี้ขึ้นไปเท่านั้นเอง )

นก เค้ากู่ มีสีน้ำตาลหรือออกเทาๆทั่วทั้งตัว แต่ถ้าพิจารณาดีๆจะเห็นว่าวงหน้าของมันเป็นสีน้ำตาลจางๆ และ มีลายขีดสีน้ำตาล หน้าผากแถบขนเหนือตาดูคล้ายคิ้ว และ ด้านในของพู่ขนเป็นสีขาวขุ่นหรือสีเนื้อแลเห็นได้ชัดเจน แต่มีจุดกระสีดำประพรมบ้าง ดวงตากลมโต สีน้ำตาลเข้ม ปาก สีเหลืองจางๆ บนหัวและท้ายทอยสีออกน้ำตาลแต่มีลายจุดกระและลายไม่เป็นระเบียบสีดำและสี เนื้ออยู่ทั่วไป หลังคอสีแถบสีเนื้อคาดอยู่ เป็นที่มาของชื่อสามัญว่า Collared Scops - owl ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ นกเค้าชนิดนี้ ส่วนบนของลำตัวที่เหลือทั้งหมดเป็นสีออกน้ำตาล แต่มีลายจุดกระและลายไม่เป็นระเบียบสีดำ และ สีเนื้อ อยู่ทั่วไป เช่นเดียวกับ บนหัว บริเวณไหล่ มีจุดสีเนื้อขนาดใหญ่เรียงต่อกันเป็นแถวด้วย ขนปลายปีกและขนกลางปีกด้านนอกสีน้ำตาล แต่มีปลายขนและแถบจุดเรียงขวางขนปีก เป็น สีน้ำตาลจางๆ จึงทำให้เห็นเป็นลายสีเนื้อบนปีกด้วย ขนหางตอนบนเป็นสีน้ำตาลแต่มีลายขวางสีจางๆ และมีจุดกระสีน้ำตาลอยู่ทั่วขนหางด้วยโดยเฉพาะที่ขนหางคู่กลาง และ ขอบขนหางคู่อื่นๆ คางสีเนื้อหรือสีขาว ใต้คอ สีเนื้อ แต่มีลายบั้งสีน้ำตาล ส่วนล่างของลำตัวที่เหลือทั้งหมดสีเนื้อ แต่มีลายไม่เป็นระเบียบ สีคล้ำๆ และ มีลายขีดสั้นๆสีดำอยู่ทั่วไป ขนคลุมใต้โคนหาง และขนคลุมขาสีเนื้อ ขาและนิ้วเท้าสีเหลืองหม่น

เฮ้อ! ต้องขออนุญาตลอกคำอธิบายหน้าตาของนกเค้ากู่ หรือนกฮูกทั้งหมดนี้มาจาก เบิร์ด-โฮมเลยค่ะ เพราะว่าช่างยากแก่การอธิบายเหลือเกิน

นก ฮูก เป็นนกที่เราจะพบได้ตั้งแต่ตามสวนสาธารณะแถวบ้าน จนถึง ป่าดงดิบและป่าโปร่ง จากที่ราบ จนถึงที่สูงถึง2,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลทีเดียว

เราเองพบนกเค้ากู่เป็นครั้งแรกที่ พุทธมณฑล เค้ากำลังเกาะกิ่งหลับเงกตอนกลางวันในกอไผ่รกๆ ต้องถ่ายภาพแยงทะลุกอไผ่ ผลก็คือ เห็นนกเป็นเสี้ยวน้อยๆ

อาหารของนกเค้ากู่ได้แก่ ด้วง แมลงสาบ ตั๊กแตน ผีเสื้อกลางคืน หนูตัวเล็กๆ นกตัวเล็กๆที่หลับตามต้นไม้ และ ตุ๊กแก

นก เค้ากู่ผสมพันธุ์ ทำรัง วางไข่ในช่วงฤดูฝน คือเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม โดยเลือกใช้โพรงที่เกิดเองตามธรรมชาติ หรือโพรงที่เคยเป็นรังของสัตว์หรือนกอื่น
โพรงมักสูงจากพื้นดินประมาณ 2 - 5 เมตร แต่ ถ้าหากเป็นตามชานเมือง หรือใกล้ๆ อาคารบ้านเรือน ก็อาจเข้ามาวางไข่ตามซอกหินหรืออาคารบ้านเรือนก็ได้

หลัง จากวางไข่แล้ว ตัวเมียจะกกไข่เพียงตัวเดียวโดยตัวผู้จะหาอาหารมาให้ เมื่อวางไข่แล้ว นกจะกกไข่ทันที ดังนั้น ลูกนกจากไข่ฟองแรกจะเกิดก่อน จึงเป็นไปได้ว่าในรังเดียวกันจะมีลูกนกที่อายุต่างกันมากเป็นสัปดาห์เลยที เดียว

นก ฮูกครอบครัวที่ถ่ายภาพมานี้กำลังง่วงเหงาหาวนอนในตอนกลางวัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาพักผ่อน พวกเค้าทำรังอยู่บริเวณบ้านกร่าง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน สีของตอไม้ที่เค้าใช้ทำรัง และสีของตัวเค้า ช่างดูกลมกลืน นี่ถ้าไม่มีใครชี้ให้ดูก็ไม่รู้จะเห็นหรือเปล่า

นี่เป็นบทเรียนที่ได้จากการดูนก

ถ้าเราไม่สังเกต เราก็จะไม่เห็น

และสิ่งที่เราไม่เห็น ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีอยู่

ดังนั้นบางสิ่งที่เราอยากพบ (แต่ไม่พบ)

บางทีก็อาจจะไม่ได้อยู่ไกลจากเรามากอย่างที่คิด

เจ้าของ:  เพลิง. [ 16 ต.ค. 2009, 02:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

รูปภาพ

นกฮูกหิมะ
นกฮูกหิมะสแกนดิเนเวียสีขาวประน้ำตาล นกฮูกชนิดนี้พบได้ในที่ที่มีอากาศหนาว
มักอาศัยอยู่ใกล้เขตอาร์คติค พบได้ที่อเมริกาเหนือ ยุโรปเหนือแถบสแกนดิเนเวีย รัสเซียก็มี

นกฮูกหิมะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bubo scandiacus ชื่อสามัญก็เรียกตรงตัวล่ะว่า Snowy Owl
ถูกจัดตามลำดับอนุกรมวิธานโดยคาร์โลนัส ลินเนียส (บิแดาแห่งอนุกรมวิธาน ผู้คิดระบบ Binomial name)
ตัวผู้ตัวเล็กกว่าและเป็นสีขาวสะอาด ตัวเมียมีขนาดใหญ่สีขาวประน้ำตาล

นกฮูกชนิดนี้หนักประมาณ 1.8 - 3 กิโลกรัม เป็นนกนักล่าที่มีขนาดใหญ่พอสมควร
ขนปุยสีขาว บินเร็วและเงียบ มีสายตาดี(นกตระกูลนี้โดยทั่วไปก็คล้ายๆกัน)

นกฮูกหิมะค่อนข้างจะแสนรู้ทีเดียว แสดงอาการน่ารักๆให้เราเห็นหลายอย่าง ทั้งจิกแบบรักใคร่เจ้านาย
จิกแบบงอนๆ มองตาขวาง ทำขนพองๆ แกล้งหลับเอาหัวซุกใต้ปีก แม้กระทั่งโกรธจนหันหนีไปเลยก็มี

รูปภาพ

เจ้าของ:  ลูกโป่ง [ 16 ต.ค. 2009, 11:28 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

รูปภาพ

ขอบคุณค่ะ...คุณเพลิง สบายดีนะคะ
ลูกโป่งชอบนกเค้าแมว หน้าตาน่ารักดีค่ะ ดูเป็นเอกลักษณ์ดีค่ะ
เอาเพื่อนเค๊ามาฝากนะคะ

เจ้าของ:  เพลิง. [ 21 ต.ค. 2009, 23:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

รูปภาพ

นกฮันนีไกด์

นกฮันนีไกด์กับแบดเจอร์กินน้ำผึ้งและมนุษย์ มีความสัมพันธ์ ฉันเพื่อนกิน
สิ่งดีๆ ที่ได้จากเพื่อน : นกฮันนีไกด์ – อาหาร, แบดเจอร์กินน้ำผึ้ง– อาหาร, มนุษย์ – อาหาร

รูปภาพ
ตัวแบดเจอร์

ปกติแล้ว สัตว์ต่างๆ มักแย่งอาหารกันเพื่อความอยู่รอด แต่มีสัตว์บางชนิดที่ช่วยกันหาอาหาร
นกฮันนีไกด์ (honeyguide) กับแบดเจอร์กินน้ำผึ้ง (honey badger)
คู่หูคู่นี่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา
นกฮันนีไกด์ชอบกินตัวอ่อนผึ้งและไขจากรังผึ้ง แต่มันเองทำลายรังผึ้งไม่เก่งนัก
บางครั้งจึงต้องหาเพื่อนมาช่วย ซึ่งก็คือเจ้าแบดเจอร์กินน้ำผึ้ง

เมื่อพบรังผึ้ง นกฮันนีไกด์ก็จะบินไปหาเจ้าแบดเจอร์กิน
น้ำผึ้งที่อยู่ในโพรง แล้วส่งเสียงร้องประมาณว่า
“ฉันเจออาหารแล้วๆ” เจ้าแบดเจอร์กินน้ำผึ้งก็จะรีบวิ่งตาม
นกไปทันที เมื่อเจอรังผึ้ง มันก็ใช้เล็บและฟันที่แข็งแรงทำ
ลายรังและกินน้ำผึ้งอย่างเอร็ดอร่อย และเมื่อกินเสร็จ
ก็ถึงตานกฮันนีไกด์กินตัวอ่อนและไขผึ้งบ้าง

นกฮันนีไกด์นับว่าผูกมิตรเก่งและรู้จักใช้คน เพราะมันยัง
มีเพื่อนอื่นๆ ที่มาช่วยทำลายรังผึ้งอีก นั่นก็คือ มนุษย์
นกฮันนีไกด์จะร้องเรียกชาวพื้นเมืองในแอฟริกาไปหาน้ำผึ้ง
มันจะบินนำไป ถ้าพวกเขาตามไม่ทัน เจ้านกก็จะบินย้อนกลับมาหา
เมื่อชาวพื้นเมืองเจอรังผึ้งและได้น้ำผึ้งแล้ว พวกเขาก็จะ
ทิ้งรังไว้ให้นกเป็นการขอบคุณ มีตำนานชาวพื้นเมืองเล่าว่า
ถ้ามนุษย์เห็นแก่ตัวไม่ทิ้งรังผึ้งไว้ให้นกฮันนีไกด์ คราวหน้า
มันจะพาเขาไปพบสิงโต ช้าง หรืองูพิษแทน ซึ่งอาจจะจริงก็เป็นได้...

แต่หลังๆ คู่นี้ไม่ค่อยได้คบหากันเท่าไรแล้ว เพราะเมื่อความศิวิไลซ์
เดินทางมาหาชาวพื้นเมือง พวกเขาก็หันไปกินน้ำตาลแทนน้ำผึ้ง
และพฤติกรรมพาไปพบน้ำผึ้งของนกฮันนีไกด์ก็ค่อยๆ หายสาบสูญ
ไปเช่นเดียวกับร้านโชว์ห่วย (เกี่ยวกันมั้ย)

ชาวพื้นเมือง : เก็บรังน้ำผึ้ง
รูปภาพ

ลูกโป่ง เขียน:
ขอบคุณค่ะ...คุณเพลิง สบายดีนะคะ
ลูกโป่งชอบนกเค้าแมว หน้าต่น่ารักดีค่ะ ดูเป็นเอกลักษณ์ดีค่ะ เอาเพื่อนเค๊ามาฝากนะคะ

ขอบคุณครับ...ลูกโป่ง สบายดีครับ...ดีใจที่ชอบนะครับ...

เจ้าของ:  เพลิง. [ 22 ต.ค. 2009, 09:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

รูปภาพ

ไก่ฟ้า....
ไก่ฟ้าเป็นสัตว์ปีก : Silver Pheasant
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Lophura nycthemera
ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบในจีน พม่า ไทย อินโดจีน ในประเทศไทยพบทาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
อาหารได้แก่ เมล็ดพืช ดอกหญ้า ใบไม้ ผลไม้ แมลง ตัวหนอน ไข่มด

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอาศัยอยู่ตามป่าเขา หากินเป็นคู่ ๆ ไม่ชอบอยู่เป็นฝูงเหมือนไก่ป่า หากินตอนเช้าและพลบค่ำ ในเวลากลางคืนจะจับคอนนอนตามกิ่งไม้ หรือกิ่งไผ่
เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3 ปี วางไข่ครั้งละ 4 - 6 ฟอง ระยะฟักไข่นาน 23 - 24 วัน โดยตัวเมียฟักไข่เพียงตัวเดียว ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมทั่วตัว เมื่อขนแห้งก็เดินตามแม่ไปหาอาหารกินได้เลย

สถานภาพปัจจุบัน
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ไก่ฟ้าหลังขาว
เป็นนกขนาดกลาง - ใหญ่ ความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง ประมาณ 50 - 125 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ ไก่ฟ้าหลังขาว และไก่ฟ้าหลังขาวจันทรบูร ตัวผู้มีขนหงอนบนหัวสีน้ำเงินแก่ยาวคลุมท้ายทอย ใบหน้ามีแผ่นหนังสีแดง ขนตอนบนของลำตัวส่วนใหญ่และปีกสีขาววาวเหมือนเงิน มีลายเป็นเส้นบาง ๆ สีดำเป็นรูปตัววี (V) อยู่บนขน ตัวเมียมีขนหงอนบนหัวสีน้ำเงินแก่เหมือนกัน แต่มีเพียงเล็กน้อยพอสังเกตเห็นเท่านั้น ขนตามตัวส่วนใหญ่สีน้ำตาลคล้ำ แข้งสีแดง ไม่มีเดือย
รูปภาพ

ไก่ฟ้าสีเงิน
ไก่ฟ้าอ้าสดแสง หัวสุกแดงแทงเดือยแนม
ปีกหางต่างสีแกม สีแต้มต่างอย่างวาดเขียน
รูปภาพ

ไก่ฟ้าหางลายขวาง(Hume pheasant) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า syrma trmaticus
Humiae เป็นไก่ขนาดใหญ่และอยู่ในกลุ่มของไก่ฟ้าที่มีหางยาว และไก่ฟ้าจะมีลักษณะ ไก่ฟ้าจะมีสีสวยงาม
มีหัวและคอเป็นสีน้ำเงินเหลือบม่วง ใบหน้าเป็นสีแดงสด บนหัวไม่มีหงอนเหมือนไก่ฟ้าชนิดอื่นๆ
อกและท้องเป็นสีน้ำตาล มีหางที่เรียวสวยมีลายขวางสีน้ำตาลเข้ม
ปลายหางเป็นขลิบขาวและไก่ฟ้าจะอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งหรือป่าดิบ,ป่าสน
ไก่ฟ้ามักจะหากินกันเป็นฝูงไก่ฟ้ามักจะออกหากินในเวลาเช้าตรู่กินหนอน แมลง
เมล็ดพืชหรือลูกไม้สุกที่หล่นตามพื้นดิน
ไก่ฟาจะเริ่มผสมพันธุ์กันในช่วงเดือนพฤษภาคมโดยจะวางไข่ในพุ่มไม้เตี้ยๆ จะวางไข่ครั้งละ
6-10ฟอง ไก่ฟ้าตัวเมียจะฟักไข่โดยใช้เวลา 27 วัน
ไก่ฟ้าเป็นไก่ที่หายากมากที่สุดของประเทศไทยสาเหตุที่ทำให้ไก่ฟ้าสูญพันธุ์
น่าจะมาจากเกิดการลักลอบของมนุษย์เข้าไปเขตที่อยู่ของไก่ฟ้า
และน่าจะเกิดจากการที่มีการตัดไม้ทำลายป่าฉนั้นจึงทำให้ไก่ฟ้ามีจำนวนน้อยลง

รูปภาพ

เจ้าของ:  เพลิง. [ 24 ต.ค. 2009, 23:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

รูปภาพ

นก คุ่มสี (blue-breasted quail)

ได้ข่าวมาสักสัปดาห์นึงแล้ว ว่ามีนกคุ่มสีนับสิบตัวออกหากินที่อ่างเก็บน้ำบางพระ หลังจากรอจังหวะเสร็จงาน
ที่ต่างจังหวัด เราก็วางแผนไปเก็บภาพทันที

นก คุ่มสี (blue-breasted quail) มีขนาดตัวประมาณ13-15ซม.เท่านั้น และมักหากินในทุ่งรกๆ
จึงทำให้เห็นตัวได้ยาก ตัวผู้และตัวเมียมีสีสันแตกต่างกันมากพอสมควร คือตัวเมียจะมีสีออกน้ำตาลตุ่นๆ
ขณะที่ตัวผู้จะมีสีฟ้าบริเวณหน้า หน้าอกและด้านข้างลำตัว มีท้องสีน้ำตาลแดงสดใส เส้นกลางคอสีดำหนา
และมีเส้นสีดำจากปลายปากลากขนานกับแก้มแล้วลงมาบรรจบกับเส้นกลางคอ
มีสร้อยคอสีขาวและสีดำตัดกันอย่างเห็นได้ชัด ตาสีแดง ขนบริเวณหลังเป็นสีน้ำตาลลายๆสลับดำ
จงอยปากสีดำ ขาและเท้าสีเหลืองตัวป้อมๆ ทานเมล็ดหญ้า มด ปลวก แมลง ตัวอ่อนและไข่ของแมลง ไส้เดือน ตั๊กแตน และสัตว์เล็กๆอื่นๆที่พบตามผิวดิน มักพบเป็นคู่หรือเป็นฝูงซึ่งอาจเป็นนกครอบครัวเดียวกัน จับคู่ทำรังวางไข่ตลอดปี แต่จะค่อนข้างชุกในช่วงต้นฤดูฝน เมื่อผสมพันธุ์และวางไข่จนหมดแล้ว
ตัวเมียจะเริ่มกกไข่ โดยตัวเมียเป็นผู้ทำรังและกกไข่เพียงตัวเดียว ใช้เวลากกไข่ประมาณ10กว่าวัน
รังทำอย่างง่ายๆบนพื้นดิน ใช้ใบหญ้ารองรัง เมื่อไข่ฟักแล้วไม่กี่ชั่วโมงลูกนกก็เดินตามแม่ออกหากินได้เลย
ส่วนตัวผู้ เมื่อตัวเมียวางไข่ ก็จะไปผสมพันธุ์กับตัวเมียอื่นๆต่อไป

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะวางไข่ได้ทั้งปี นกคุ่มสีก็ยังมีปริมาณน้อยกว่านกคุ่มชนิดอื่นๆในประเทศไทย
อ่าง เก็บน้ำบางพระกว้างใหญ่มาก ถ้าเราไม่รู้จักทางและเดินทางไปเองอาจลำบากหลายประการ
อย่างแรกถ้ารถติดหล่ม ก็ต้องเตรียมสตางค์ไว้หลายพันบาท เพราะชาวบ้านที่นั่นค่าแรงในการช่วยนำรถขึ้น
ค่อนข้างแพง ถ้าไม่ติดหล่ม เราก็อาจหานกไม่พบด้วยความไม่คุ้นชิน โดยเฉพาะเมื่อมาหานกที่ค่อนข้างหา
ตัวยาก (เพราะอยู่ในที่รกๆ)อย่างในวันนี้

วันนี้ ที่อ่างฯนกดีทีเดียว ทั้งที่บินมาให้ถ่ายภาพ และที่ต้องเข้าไปค้นหา ทั้งนกนางนวลแกลบ นกกระทุง
นกเด้าลมเหลือง นกยางโทนใหญ่ นกกาน้ำเล็ก นกอีเสือสีน้ำตาล นกยอดข้าวหางแพนลาย นกคุ่มอืดเล็ก
เป็นต้น ฝนไม่ตก มีแดด มีลม และมีเพื่อนคอเดียวกัน ทั้งถ่ายภาพนก และดูนกนับยี่สิบคนได้ จุุดมุ่งหมาย
ของทุกคนอยู่ที่นกคุ่มสีที่คุณสาวน้อยร้อยชั่งนำมาภาพแปะไว้ที่ บีพี

ช่วง กลางวันแดดเปรี้ยง หลายคนได้แต่ซ้อมมือกับนกบินทั้งหลายอย่างนกนางนวลแกลบ นกกาน้ำ นกกระทุง นกยางโทนใหญ่ และนั่งคุยกันไป โดยหัวข้อใหญ่ใจความอยู่ที่การตายของนกตะกรามที่ตาภูไทได้ไปเห็นและถ่ายภาพ คนที่ยิงนกตะกรามตายมาได้ น่าสะเทือนใจตรงที่เค้าเล่าว่าเจอกันกับนกตัวนี้สามวัน เมื่อวันที่โดนยิง เค้าไม่บินหนี(บินไม่ได้เพราะถูกยิงปีก) แต่วิ่งหนีมาทางภูไทฯ รู้สึกเหมือนกับว่าเค้ามาขอความช่วยเหลือ
แต่ที่สุดก็ทำได้แค่บอกให้ใครๆรู้ว่าเค้าตายเพราะใคร โดยที่ไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้ ได้แต่หวังว่าข่าวนี้
จะช่วยทำให้คนหันมาให้ความสนใจกับชีวิตอื่นที่ไม่ใช่ มนุษย์บ้าง คนที่ยิงบอกแค่ว่า เห็นว่าแปลกเลย
อยากยิงให้บาดเจ็บจะได้จับง่ายๆ และเอาไปเลี้ยง ฟังดูมันขัดแย้งเสียเหลือเกิน

พอ บ่ายคล้อย เข้าประมาณ 4 โมงเย็นเราก็เริ่มออกปฏิบัติการหานก แต่หาไม่เจอหรอก
ในที่สุดก็ถอดใจออกมารออยู่ที่จุดๆหนึ่ง เฝ้าให้เค้าออกมาเอง

ด้วยสายตาหลายสิบคู่ที่เฝ้ามอง ในที่สุดก็มีคนเห็นว่าเค้าออกมาแล้ว จากนั้นปฏิบัติการเข้าหานกก็เกิดขึ้น
เนื่องจากทุกคนต้องการเห็นนก และนกกลัวที่จะเห็นคนเข้าใกล้ มากกว่ากลัวที่จะเห็นรถ นักดูนกและคนถ่ายภาพก็เลยขึ้นรถไปด้วยกัน วิ่งเข้าไปสี่ห้าคัน ลัดเลาะเข้าใกล้นกซึ่งเดินหากินอย่างไม่สนอกสนใจอะไร
ถ้ารถเบียดมาก็หลบเลี่ยงไปทางนั้นทางนี้ แต่ปากก็หาอาหารกินไปเรื่อยๆจนกลัวว่าเค้าจะท้องแตกเหลือเกิน ทำให้งานนี้ทุกคนได้เข้าใกล้ชิดนกมาก มากขนาดที่ว่าไม่ว่ากล้องมือถือ กล้องคอมแพ็ค ล้วนถูกงัดออกมาเก็บภาพน่ารักๆของเขาทั้งสิ้น

หลัง จากได้ภาพพอสมควร แสงน้อย เราก็ถอยออกมาจากทุ่งหญ้าที่นกคุ่มสีใช้เป็นแหล่งทำมาหากินด้วยความเต็มอิ่ม กับภาพของเพื่อนร่วมโลกที่น่ารักที่มียังมีที่ทางหากินและอาศัยอยู่ได้บน แผ่นดินผืนเดียวกับเรา

เจ้าของ:  ทักทาย [ 25 ต.ค. 2009, 01:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

อนุโมทนาค่ะ บ้านคุณเพลิงก็เต็มไปด้วยนก
สวยๆทั้งนั้น ยอมรับว่าบางชนิดไม่เคยเห็นจริงๆค่ะ
ไม่น่าเชื่อเลยว่าธรรมชาติจะสรรสร้างอะไรๆได้สวยมากๆ :b17:

พอดีที่บ้านมีอยู่ตัวหนึ่ง ก็เลยนำมาประชันบ้าง
แต่ไม่ทราบชื่อและชนิด ทราบแต่ว่ากำลัง"แอะแอ้" :b32:

ไปบ้านคุณแมวขาวมณี ก็มีแต่แมว
ถ้าสองบ้านนี้ใกล้กัน อะไรจะเกิดขึ้น :b10:

อยากมีบ้านสักหลัง จะเลี้ยงอะไรดีนา? :b6:



เจริญในธรรม

:b41: :b41: :b41: :b42: :b41: :b41: :b41:


ไฟล์แนป:
aa04.jpg
aa04.jpg [ 38.81 KiB | เปิดดู 12754 ครั้ง ]

เจ้าของ:  เพลิง. [ 27 ต.ค. 2009, 15:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

รูปภาพ

นกกาบบัว

นกกาบบัว Mycteria leucocephala (Painted Stork) เป็นนกกระสาชนิดหนึ่ง มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 40 นิ้ว หัวล้านสีส้มอมเหลือง ปากยาวปลายปากเรียวโค้งลงเล็กน้อยสีเหลืองสด คอ ลำตัวด้านบนและด้านล่างเป็นสีขาว มีแถบคาดสีดำที่หน้าอก ขนกลางปีกด้านในเป็นสีชมพู เวลาหุบปีกยืนดูเหมือนเป็นกลีบบัวอยู่บริเวณบั้นท้าย กลางปีก ปลายปีกและหางเป็นสีดำ ขายาวสีเหลือง ส้ม หรือแดง เวลาบินจะไม่หดคอ แต่จะยื่นคอไปข้างหน้า นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน

นก ชนิดนี้ทำรังวางไข่ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน เป็นนกที่จับคู่เดียวตลอดฤดูผสมพันธุ์ หรืออาจจะตลอดชีวิต นกจะทำรังเป็นกลุ่มก้อน คือมาทำรังบนต้นไม้เดียวกันหรือใกล้ๆกัน และมักจะใช้ต้นไม้ต้นเดิม รังทำจากเศษไม้ กิ่งไม้ทั้งแห้งและสดวางสานกัน จากนั้นก็จะเริ่มผสมพันธุ์และวางไข่ โดยจะวางไข่ครั้งละ 3-5ฟอง ขนาดราว 65.9มม.x 45 มม. สีขาวด้านๆไม่มันเงา ทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันกกไข่ราว 1 เดือนก็จะฟักเป็นตัว ในระหว่างกกไข่นี้ พ่อหรือแม่นกตัวใดตัวหนึ่งจะต้องเฝ้าอยู่ที่รังเสมอ

ลูกนกจะมีอายุ ไม่เท่ากันเพราะพ่อและแม่นกจะกกไข่ทันทีที่ออกมาฟองแรก อยู่ในรังอีกราว 52 – 56 วัน
ลูกนกจะเริ่มหัดบิน อาหารที่พ่อแม่นกนำมาป้อนลูกคือปลาหรืออาหารอื่นที่สำรอกออกมาจากกระเพาะ
ลูกนกจะโตเต็มที่มีลักษณะเหมือนนกตัวเต็มวัยเมื่ออายุ 3 ปี นกในภาพข้างล่างนี้เป็นนกกาบบัวตัวไม่เต็มวัยที่หากินเองแล้ว พบที่ทุ่งนาแถวลำลูกกาเพียงลำพังตัวเดียว

อาหาร ของนกกาบบัวคือปลา กบ และแมลง โดยนกจะเดินท่องช้าๆไปในน้ำตื้นๆ อ้าปากไว้ครึ่งๆแล้วลากไปมาเพื่อหาเหยื่อ โดยมักพบตามท้องนาที่มีน้ำขังและมีสัตว์น้ำเล็กๆเป็นอาหาร

นก กาบบัวนี้มีการกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียจากอินเดีย ศรีลังกาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางเหนือจรดตะวันออกเฉียงใต้ของจีนและทางใต้จรดตอนเหนือของคาบสมุทรมลายู ใกล้พรมแดนไทย จัดเป็นนกที่อยู่ในสถานะใกล้จะถูกคุกคาม( Near Threatened )

สำหรับ ประเทศไทย เคยถูกพบหากินตามท้องนา หนองบึงขนาดใหญ่ ห่างไกลบ้านคน ชายทะเลที่เป็นดินเลน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยเคยเป็นแหล่งทำรังวางไข่ของนกชนิดนี้ แต่ปัจจุบันหานกที่ทำรังวางไข่ในธรรมชาติได้ยาก

นกกาบบัวที่มักพบในที่ราบภาคกลางในปัจจุบันอาจเป็นนกอพยพย้ายถิ่นตามฤดูกาลจากพม่า หรือเป็นนกที่ปล่อยจากแหล่งเพาะพันธุ์สู่ธรรมชาติ

นกกาบบัวในบล็อกนี้ถ่ายมาจากทุ่งนาลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ทุ่งนาในเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี

"ฉันสวยใช่มั้ย?...เธอๆ ถึงแอบถ่ายรูปพวกเรา..."
รูปภาพ

หวัดดีครับ..คุณทักทาย..เชิญโพสต์นะครับ คลายเหงาได้ ด้วยแบ่งปันเล่าสู่กันฟัง นะครับ

เจ้าของ:  เพลิง. [ 04 พ.ย. 2009, 15:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

ดูนกเล่นน้ำที่มหาชัย
ถ้าใครคิดว่ามหาชัยจะมีแต่ตำนานรักกับท่าฉลอม มหาชัยก็มีร้านอาหารทะเลสดๆ อร่อยๆ หลายร้านครับ
มหาชัยยังมีศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนที่มีนกทะเลมากมายที่อพยพย้ายถิ่นใน ฤดูหนาวมาอาศัยหากิน
มีทางเดินศึกษาธรรมชาติให้เดินศึกษาธรรมชาติของป่าชายเลน ที่มีปลาตีนหลายสายพันธุ์ และยังมีปูก้ามดาบ หรือปูเปี้ยว อาหารอันโอชะของนกกินเปี้ยว อีกด้วย

ขณะ นี้บรรดานกน้ำอพยพทั้งหลายได้ทยอยกันยกพลขึ้นบกที่อ่าวไทยเป็นจำนวนนับพันๆ ตัวแล้วนะคะ โดยบางส่วนยังอยู่ในชุดขนฤดูผสมพันธุ์ ที่มีสีสันชวนมองกว่าชุดธรรมดาๆที่พบประจำในบ้านเรา ทั้งนี้เป็นเพราะเค้าเพิ่งจะมาถึงนั่นเอง

ถ้าใครอยากดูนก น้ำในระยะที่ประชิดเล็กน้อย พอที่จะไอเด็นได้ด้วยกล้องสองตา กรุณาเช็คเวลาน้ำขึ้นน้ำลงให้ดีก่อนออกเดินทาง มิฉะนั้นอาจได้พบนก... อยู่นู่น...........ได้

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบเหยี่ยวแดงทั้งผู้ใหญ่และเด็กในบริเวณศูนย์ศึกษาธรรมชาตินี้ โดยคาดว่าผู้ใหญ่กำลังหัดเด็กๆให้บินโฉบอาหาร(ปลา ตี น) และบางทีก็หัดโฉบนกน้ำทั้งหลายที่กำลังหากินบนพื้นน้ำอย่างเมามันให้ตกอก ตกใจเล่น
รูปภาพ

เหยี่ยวแดง
รูปภาพ

บรรดานกน้ำทั้งหลายเป็นที่น่าสนใจไม่น้อย แต่ด้วยเลนส์100-400ของจันทร์น้อย สอยมาไม่ได้ ต้องไปดูเอง
นก หน้าอ่าวที่มักพบแอบบินออกมาสอยปลาตีนแล้วโฉบกลับเข้าไปในป่าโกงกางคือนก กินเปี้ยวที่ช่วงนี้ค่อนข้างมอมแมม ไม่รู้ว่าเกิดจากหาอาหาร หรือมุดเข้ารังกันแน่ แต่ตัวนี้สะอาดพอสมควร แม้ปากจะเลอะสักหน่อย

นอกจากนกหน้าอ่าวที่น่าสนใจแล้ว ก็ยังมีนกในป่าโกงกางอีก ชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ คือนกกระจ้อยป่าโกงกาง
ซึ่งมีเสียงร้องหวานใส เหมือนเสียงผิวปากยาวๆ บางทีถ้าเราลองผิวปากตามดู เค้าอาจโผล่มาดักหน้าเราไว้ก็ได้

นก กระจ้อยป่าโกงกางเป็นนกประจำถิ่น อาศัยในป่าโกงกางมีขนาดตัวแค่ประมาณ9-10ซม.เท่านั้น ท้องมีสีเหลืองปากสีดำ น่ารักมาก มักพบอยู่เป็นคู่
รูปภาพ

เอาหล่ะ ไปกันจนทั่วแล้ว ทีนี้เราก็มานั่งนิ่งๆแอบดูน้องนกเล่นน้ำกันดีกว่า ดาราเอกของงานก็คือ
นกแว่นตาขาวสีทองนั่นเอง
นก ชนิดนี้ชอบอยู่เป็นฝูง จับแมลงตามต้นไม้ ใต้ใบไม้ ใยแมงมุม(แย่งแมงมุมกิน) แต่วันนี้เค้ามาเล่นน้ำให้เราดูในอ่างที่น้องเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์ใจดีนำมา วางไว้ให้ และเปลี่ยนน้ำให้บ่อยๆ เพราะพวกเล่นกันซะน้ำกระฉอกหกหมดประจำ
รูปภาพ

นกแว่นตาขาวลงมาเล่นน้ำทีละเจ็ดแปดตัว น่ารักมาก เมื่อลงไปเล่นน้ำจนสบายตัว ขึ้นมาก็จะหน้าตาประมาณนี้
ช่วงนี้เป็นช่วงที่นกแว่นตาขาวสีทองจับคู่ จึงมักได้เห็นภาพเบียดสนิทแนบแบบนี้ด้วย
นอกจากนกแว่นตาขาว นกอื่นๆที่มาใช้บริการอ่างนี้ก็เช่น

นกกางเขนบ้าน
รูปภาพ

นกอีแพรดแถบอกดำ
รูปภาพ

นกปรอดสวน
รูปภาพ

จริงๆแล้วอาจมีนกอื่นด้วยอีกเยอะ ถ้าใครอยากดูนกในแหล่งใกล้ๆ กรุงเทพฯ
ก็อย่าลืมเก็บที่นี่ไว้เป็นตัวเลือกด้วย แล้วคุณจะรู้จักมหาชัยดีกว่าเดิม

เจ้าของ:  ลูกโป่ง [ 05 พ.ย. 2009, 09:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เข้าป่า..ดูนก

เย็นใจจริงจริง...ยามอ่อนล้า
สดชื่นมากค่ะ ได้เข้าป่า..ดูนก


:b48: คิดถึงนะคะ :b48:

รูปภาพ

หน้า 3 จากทั้งหมด 3 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/