วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 04:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2009, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ


ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทันตแพทย์ผู้วิจัยเรื่องสุขภาพในช่องปากกำลังค้นพบว่า
โรคเกี่ยวกับฟันและเหงือกมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ มากมาย
ตั้งแต่โรคหัวใจไปจนถึงการคลอดก่อนกำหนด
และโรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์
ล่าสุดงานวิจัยบางชิ้นพบว่า สุขภาพในช่องปากนั้นมีความเกี่ยวข้องกับ
ปัญหาการสูญเสียความทรงจำด้วย

เมื่อแก่ตัวลง ฟันฟางของคนเราก็เริ่มหลุดร่วง
เช่นเดียวกับความทรงจำที่ค่อยๆ เลือนหายไปเมื่อกาลเวลาล่วงเลย
แล้วทั้งสอง 2 สิ่งนี้มีอะไรเกี่ยว ข้องกันหรือไม่
นั่นเป็นคำถามที่นักวิจัยพยายามค้นหาคำตอบ

นายแพทย์ริชาร์ด เคราท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเหงือก
แห่งวิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยเวสท์ เวอจิเนีย เล่าว่า
คนไข้สูงอายุของเขาหลายคนที่สูญเสียความทรงจำ
มักจะมีสุขภาพฟันและเหงือกที่ไม่ดีนัก
และบ่อยครั้งที่คนไข้เหล่านั้นหลงลืมการดูแลสุขภาพช่องปากขั้นพื้นฐานครับ

คุณหมอบอกว่า ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อม หรือจิตเสื่อม หรืออัลไซเมอร์
อาจจะลืมแปรงฟันหรือขัดฟัน แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ
มีความเกี่ยวข้องระหว่างการสูญเสียความทรงจำระดับที่ไม่รุนแรง
กับโรคในช่องปากอย่างแน่นอน
นายแพทย์เคราท์ และลูกศิษย์ได้ตรวจสอบข้อมูลจากสถาบันวิจัยแห่งชาติอเมริกัน
และเก็บตัวอย่างสุขภาพฟันของคนไข้พบว่า
ผู้ป่วยโรคเหงือกและฟันจะทำคะแนนได้ต่ำกว่า
ในการทดสอบวัดประสิทธิภาพความทรงจำและการรับรู้

คุณหมอเคราท์ตั้งสมมติฐานว่า
การติดเชื้อในช่องปากโดยเฉพาะโรคเหงือกที่รุนแรงขึ้น
ก่อให้เกิดเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของอาการอักเสบลุกลามไปยังส่วนต่างๆ ของสมอง
ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อว่าควบคุมความทรงจำ
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยผู้นี้ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า
อาการใดน่าจะเกิดก่อนระหว่างการสูญ เสียความทรงจำกับโรคในช่องปาก
จึงยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในระยะยาวทั้ง
เรื่องโรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ และโรคความจำเสื่อม

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเหงือกผู้นี้บอกว่า หลังจากทดสอบทั้งในด้านทันตกรรม
โรคเหงือกและฟัน และทดสอบความทรงจำของคนไข้กลุ่มตัวอย่างแล้ว
จึงจะ สามารถทำการเก็บข้อมูลในขั้นต่อไป
เช่น การทดลองโดยมอบแปรงสีฟันไฟฟ้าให้แก่ ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมบางคน
เพื่อให้รักษาความสะอาดของช่องปากได้ดียิ่งขึ้น
แล้วติดตามผลในระยะยาว เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ใช้แปรงสีฟันธรรมดา
เพื่อดูว่า ความสามารถด้านการจดจำของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรก
ว่าพัฒนาขึ้นหรือไม่อย่างไร.


::: ข้อมูลโดย VOA News ภาคภาษาไทย :::
ที่มา...
http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic ... c284cd258a

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2011, 11:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 09:11
โพสต์: 597


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุๆค่ะ ขอบพระคุณค่ะ :b8: :b8: :b8: :b34:
:b36: :b36: :b36:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2015, 07:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 10:07
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร