วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 22:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2009, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 265

:b48: 6 ไอเดียพลิกสุขภาพในรอบ 12 ปี :b48:

วิถีสุขภาพยุคโพสต์โมเดิร์น

นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน รองประธานคนที่สองในคณะกรรมการ
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
และประธานสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า

“สังคมไทยในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา เรียกว่าเป็นยุคหลังสมัยใหม่หรือยุคโพสต์โมเดิร์น
(Post Modern) ซึ่งโลกเข้าสู่ยุคนี้ก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว
ขณะเดียวกันองค์การอนามัยโลกได้กำหนดเป้าหมายล่วงหน้า 20 ปี
ที่จะให้สังคมโลกบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2543
เนื่องจากองค์การอนามัยโลกตระหนักว่าการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเดียว
ไม่เพียงพอที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าได้
จึงจำเป็นที่จะต้องใช้การแพทย์ทางเลือกหรือการแพทย์พื้นบ้านของแต่ละประเทศ
ที่ได้รับการยอมรับเข้ามามีบทบาทด้วย”


ซึ่งแนวคิดเช่นนี้เองที่ทำให้มีการฟื้นฟูของการแพทย์ดั้งเดิมในแต่ละประเทศ รวมทั้งไทย

นายแพทย์วิธาน ฐานะวุฑฒ์ ศัลยแพทย์ จังหวัดเชียงราย และเจ้าผลงานหนังสือมากมาย
กล่าวว่า “ถ้าเราเปรียบเทียบว่าระบบสุขภาพมี 100 เปอร์เซ็นต์
ส่วนที่เป็นเรื่องการรักษาอาจแค่ 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลืออีก 80 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ของระบบนี้ก็คือเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง”


ดังนั้นเราจึงเห็นมุมมองการดูแลสุขภาพที่สำคัญนั้นคือต้องเริ่มจากตัวเอง
นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ
สรุปไว้อย่างน่าฟังว่า

“เราประณีตในการใช้ชีวิตที่จะกินที่จะอยู่อย่างมีสติ
ซึ่งถือเป็นแนวรบสำคัญที่สุดต่อภัยคุกคามสุขภาพในยุคสมัยนี้”


กระแสสุขภาพในกระแสโลก

ดร.เบอร์ตัน โกลด์เบิร์ก ได้รวบรวมการแพทย์ทางเลือกจากทั่วโลก
ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยแบ่งออกเป็น 40 รูปแบบการรักษา
เช่น การล้างพิษ สุคนธบำบัด อายุรเวท เป็นต้น ส่วนหนึ่งนั้นเน้นวิถีธรรมชาติ
โดยปัจจุบันการแพทย์ทางเลือกเหล่านั้นได้รับการพิสูจน์
ด้วยประสบการรักษาแบบ คลินิกทั้งจากแพทย์และผู้ป่วย
ซึ่งทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก

การแพทย์แผนจีนและการฝังเข็ม

การฝังเข็มมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงของจีน
ปัจจุบันการฝังเข็มเป็นสาขาหนึ่งของการแพทย์แผนจีนที่องค์การอนามัยโลก (WHO)
ได้ประกาศยอมรับว่าสามารถรักษาโรคและหรือบรรเทาอาการต่างๆ ได้ โดยแบ่งเป็น

* ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ปวดต้นคอเรื้อรัง ปวดหัวไหล่ ปวดข้อศอก
ปวดสันหลัง ปวดหลัง ปวดเอว ปวดหัวเข่า ปวดจากโรครูมาตอยด์ ปวดจากการเคล็ดขัดยอก

* ระบบสืบพันธุ์ ปวดประจำเดือน สมรรถภาพทางเพศถดถอย

* ระบบสมองและระบบประสาท อัมพฤกษ์ และผลข้างเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง
ปวดเส้นประสาท ปวดเส้นประสาทบนใบหน้า ขากรรไกรค้าง หวาดวิตกกังวล
อาการซึมเศร้า อาการนอนไม่หลับ

* ระบบอิมมูนซิสเต็ม งูสวัด เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ ภูมิแพ้ หอบหืด

* อาการปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะอันมีสาเหตุมาจากความเครียด
ปวดศีรษะก่อนมีประจำเดือน ปวดไมเกรน

* อาการปวดในระบบอื่น ปวดในระบบทางเดินปัสสาวะ ปวดจากการผ่าตัด

แมคโครไบโอติก


วิถีการกินแบบแมคโครไบโอติกมีหลักอยู่ว่า ควรกินอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
รับประทานโปรตีนจากพืชเป็นหลัก บริโภคไขมันน้อยมากโดยเน้นไขมันอิ่มตัวเชิงซ้อน
เน้นความสมดุลของวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่ได้จากธรรมชาติ
ต้องเป็นอาหารที่มีในธรรมชาติ หรือปลูกแบบธรรมชาติ ไม่ผ่านกระบวนการอุตสาหกรรม
ไม่ผ่านการขัดสี หรือแปรรูป และกินอาหารที่มีใยอาหารสูงจากธรรมชาติ

สโลว์ฟู้ด สโลว์ลิฟวิ่ง

เป้าหมายของสโลว์ฟู้ดส์ เน้นไปที่กระบวนการผลิตและปรุงอาหาร
ตั้งแต่การสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์ขึ้นในท้องถิ่น สร้างเอกลักษณ์ทางรสชาติ
สนับสนุนผลิตภัณฑ์อาหารในท้องถิ่น ให้ความรู้เรื่องอันตรายของอาหารฟาสต์ฟู้ด เป็นต้น

ขณะที่สโลว์ลิฟวิ่งเน้นไปในการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิถีชีวิต โดยใช้ชีวิตแบบไม่รีบเร่ง
มีความเป็นตัวของตัวเองที่จะเลือกหรือตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ
โดยไม่ไหลไปตามกระแสภายนอกหรือความนิยมต่างๆ

ปัจจุบันสโลว์ฟู้ดส์ สโลว์ลิฟวิ่ง ได้รับความสนใจและปฏิบัติตามทั่วโลก
ในประเทศไทยเริ่มมีคนให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่ต้องใช้ชีวิตรีบเร่ง

นโยบายสุขภาพดีๆของคนไทย


นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า
“ตั้งแต่ปี 2545 ทางกระทรวงฯได้ดำเนินมาตรการส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชน
ได้เข้าถึงการแพทย์ทางเลือกได้ง่ายขึ้น และในขณะเดียวกัน
ได้กำหนดมาตรการตรวจสอบมาตรฐานด้านต่างๆ ได้แก่ สมุนไพร การแพทย์แผนไทย
และการแพทย์แผนต่างๆ ดังนี้ โรงพยาบาลชุมชน แหล่งบูรณาการที่ลงตัว

โรงพยาบาลชุมชน แหล่งบูรณาการที่ลงตัว

“โดยให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งจัดพื้นที่ไว้สำหรับการรักษาในแบบแพทย์ทาง
เลือก เช่น การนวดแผนไทย หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพื้นบ้านด้วย”

เดินหน้าลุย วิจัยสมุนไพร

“ปัจจุบัน เราได้จัดตั้งกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกขึ้น
เพื่อดูแล ศึกษา วิจัยด้านการแพทย์ทางเลือกโดยตรง โดยทำงานร่วมกับ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ในด้านการศึกษา วิจัยประโยชน์ และสรรพคุณของสมุนไพรหลากหลายชนิด
ในด้านการป้องกันรักษาโรค”

รณรงค์เข้ม ดูแลสุขภาพ และออกกำลังกาย

“ทางกระทรวงฯให้ความสำคัญกับการรณรงค์ให้ประชาชนใส่ใจดูแลสุขภาพ
และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะถ้าคนส่วนใหญ่ทำได้
นั่นหมายความว่าอัตราการเจ็บป่วย และการเข้ารับการรักษาพยาบาลก็น้อยลงตามไปด้วย”

‘พอเพียง’รากแห่งชีวิตและสุขภาพ

คำว่า “พอเพียง” คือวิถีแห่งการพึ่งตัวเองเพื่อสร้างสุขภาพดีแบบยั่งยืน
ซึ่งเป็นคำที่คนไทยทั้งประเทศรู้จักกันดี อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร
ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เล่าถึงแก่นแท้ของความพอเพียงว่า

“การจะเป็นคนที่พอดีพอเพียงอยู่ที่เราเป็นคนตั้ง ถ้าเราพอดีก็จะรู้สึกพอ
แต่ก่อนใจจะพอต้องพอกินก่อนนะ ไม่ใช่ยังไม่พอกินแบมือเป็นขอทานแล้วบอกว่าใจเราพอแล้ว
หลักสำคัญคือความรู้คู่คุณธรรม สองสิ่งต้องเสมอกัน “ส่วนข้อเสียมีแน่นอน
เขาบอกว่าไฟมีประโยชน์มหาศาล ถ้าใช้ผิดก็ไหม้บ้านเมืองได้ ความรู้ทั้งบวกและลบในตัวเอง
ความพอเพียงถ้ารู้ไม่จริงแล้วเอาไปใช้ก็ไม่ดี”

ปัจจุบันวิถีพอเพียงยังเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสังคมไทย และได้มีการส่งเสริมการสู้วิกฤติ
ด้วยปรัชญาเศรษฐิจพอเพียง( Living in Moderation Society) อย่างแพร่หลาย
ไม่ว่าทั้งในระดับครัวเรือน ระดับตำบล หรือประเทศชาติ


เกษตรอินทรีย์ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า


สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ( IFOAM) ให้คำนิยามเกษตรอินทรีย์ไว้ว่า
คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทั้งสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ
โดยเน้นที่หลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์
และนิเวศการเกษตร

ปัจจุบัน กระแสเกษตรอินทรีย์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง
จากแต่เดิมที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความใส่ใจในอาหารที่ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์มากนัก
ก็มาให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน
โดยเฉพาะการหันมาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ และเลือกหาซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์มากขึ้น
ซึ่งถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยที่สุด

นอกจากนี้ยังมีผลวิจัยที่ระบุถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพ จากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน
สหรัฐอเมริกา ในหัวข้อ ‘มุมมองสุขภาพทางด้านสิ่งแวดล้อม’ โดยระบุว่าเด็กๆ
ที่กินอาหารเกษตรอินทรีย์จะมีสารพิษตกค้างในร่างกายน้อยกว่า อาหารเคมีถึง 2 เท่า

รวมมิตรคน+กลุ่มรักสุขภาพ


ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2541 อาจารย์สาทิสได้ออกรายการเจาะใจ
ซึ่งทำให้มีผู้ให้ความสนใจ “ชีวจิต” กันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง ก่อเป็นกลุ่มคนที่รวมตัวกัน
ออกกำลังกายรำกระบองตามแนวทางชีวจิตมากมาย ส่วนที่รวมกลุ่มอย่างหนาแน่นต่อเนื่อง
ได้แก่ กลุ่มรำกระบองสวนวชิรเบญจทัศ(สวนรถไฟ) กลุ่มรำกระบองพุทธมณฑล
กลุ่มรำกระบองโพธาราม

นอกจากนี้ยังมีองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้ความสนใจวิถีชีวจิตมากขึ้น อาทิ

เลมอนฟาร์ม ซึ่งนอกจากจะขายสินค้าสุขภาพด้วยปรัชญา “ศูนย์รวมสินค้าธรรมชาติ
ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษจากชุมชนท้องถิ่นเพื่อสุขภาพครอบครัวไทย”
ยังก่อตั้งกลุ่มรำกระบองเพื่อดูแลสุขภาพ คุณสุวรรณา หลั่งน้ำสังข์ กรรมการผู้จัดการบริษัท
สังคมสุขภาพจำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันเลมอน ฟาร์มมีการรำกระบอง
ที่รวมตัวกันอย่างเหนี่ยวแน่นมากว่า 10 ปี ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 50 คน
โดยจะมารวมตัวกันทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00 น. - 9.00 น. บริเวณลานจอดรถหน้า
ร้านเลมอนฟาร์ม สาขาแจ้งวัฒนะ ซึ่งนอกจากจะได้สุขภาพที่ดีแล้ว
ยังได้มิตรภาพที่ดีกลับไปกันทุกคน”

เช่นเดียวกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) คุณพจนีย์ กลิ่นสุคนธ์
ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง กล่าวว่า “การรำกระบองคือการนำหลักของสมาธิ
เข้ามาร่วมกับการออกกำลังกาย จึงช่วยให้พนักงานได้ทำสมาธิระหว่างออกกำลังกาย
ซึ่งเป็นผลดีต่อร่างกายและจิตใจ”

ส่วน สำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญการกินอาหารสุขภาพ จึงได้เชิญอาจารย์สาทิส อินทรกำแหง
ไปบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “พุทธศาสนากับอาหารชีวจิตเพื่อกายและใจเป็นสุข”
ให้แก่บุคลากรของสำนักงาน หลังจากที่ได้ฟังบรรยายไปแล้ว
ผู้ฟังส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญเรื่องอาหาร หันมากินอาหารตามแนวทางชีวจิต
และให้ความสำคัญเรื่องอิมมูนซิสเต็มเพื่อสร้างสมดุลชีวิต

รวมถึง บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คุณเจิมจันทน์ รัตนกาญจน์
รองผู้อำนวยการด้านทรัพยากรบุคคล หัวหน้าสายงาน Learning Center เล่าว่า
“หลังจากอาจารย์สาทิสได้มาบรรยาย และให้ความรู้การดูแลสุขภาพแบบชีวจิต
จึงสร้างแรงบันดาลใจให้แก่พนักงานและผู้ที่สนใจ ได้นำไปปฎิบัติทั้งที่ทำงานและที่บ้าน
ซึ่งทำให้องค์กรของเราเป็นองค์กรที่มีความสุข เพราะพนักงานทุกคนสุขกาย สบายใจ”

ที่มา... http://www.cheewajit.com/articleView.as ... cleId=1811

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2009, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับ Idea ดี ๆ นะครับ
ที่หาให้กันตลอดมาเลย :b41:
อนุโมทนาครับ

:b32: :b32: :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร