ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ลดเค็ม วันนี้ เพื่อชีวีที่ยั่งยืน http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=19&t=32845 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ธรรมบุตร [ 28 มิ.ย. 2010, 02:50 ] |
หัวข้อกระทู้: | ลดเค็ม วันนี้ เพื่อชีวีที่ยั่งยืน |
ความเค็มในอาหารที่เรากินอยู่ในทุกวันนี้มาจากโซเดียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่อยู่ในกลุ่มเกลือแร่ ที่คนทั่วไป มักจะรู้จักในรูปโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงนั่นเอง • โซเดียมกับสุขภาพ ร่างกายต้องการโซเดียมเพื่อช่วยควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยควบคุมความสมดุลของน้ำ และรักษาความเป็นกรดด่างของร่างกาย ถึงแม้โซเดียมจะมีความสำคัญต่อร่างกาย แต่การบริโภคโซเดียมมากเกินไป กลับมีผลเสียต่อร่างกาย ในทางระบาดวิทยา พบว่า การ บริโภคโซเดียมปริมาณสูงมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ และเมื่อบริโภคโซเดียมมากเกินไป จะทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้นในการขับโซเดียมออกจากร่างกาย และอาจทำให้เกิดอาการบวมได้ ดังนั้น บุคคลทั่วไปไม่ควรบริโภคโซเดียมมาก สำหรับบุคคลที่เป็นโรคไต เบาหวาน และความดันโลหิตสูง และหัวใจ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการ ‘ลด’ ปริมาณการบริโภคโซเดียม เพื่อช่วยควบคุมโรคและหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน • ความต้องการโซเดียมแต่ละวัน ปัจจุบัน คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารประจำวันที่ควรได้รับของประชาชนชาวไทย ได้กำหนดความต้องการโซเดียมอยู่ที่ 2,400 มก./วัน หรือเกลือแกงไม่เกิน 1 ช้อนชา/วัน แต่พบว่า คนไทยมีการบริโภคโซเดียมมากกว่าความต้องการของร่างกาย ซึ่งปริมาณโซเดียมส่วนเกินนี้ มักมาจากอาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป และที่สำคัญคือเครื่องปรุงรสต่างๆ ปัจจุบันพบว่า คนไทยบริโภคอาหารรสเค็มจัดมากขึ้น จากสถิติของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยบริโภคเครื่องปรุงรสเพิ่มขึ้น จากวันละ 7 กรัมในปี พ.ศ. 2503 เป็น 20.5 กรัม ในปี พ.ศ. 2538 • ลดเค็มตอนนี้ เพื่อชีวียืนยาว 1. ชิมอาหารทุกครั้งก่อนที่จะมีการเติมเครื่องปรุงรสทุกชนิด จำไว้เสมอ ว่า โดยทั่วไปแล้ว น้ำปลาหรือซีอิ๊ว 1 ช้อนชา มีโซเดียม 350-500 มก. 2. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารรสจัด อาหารหมักดอง ระลึกเสมอว่า บริโภคอาหารรสจืด อาหารธรรมชาติที่มีการปรุงแต่งน้อย ช่วยให้มีสุขภาพดี 3. เลือกบริโภคอาหารสดหรืออาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด เช่น บริโภคเนื้อหมูดีกว่าไส้กรอกหมูหรือหมูยอเป็นต้น โดยทั่วไปอาหารที่ผ่านการแปรรูปมักมีโซเดียมเพิ่มขึ้น 5-10 เท่า 4. หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยวที่มีเครื่องปรุงรสปริมาณมาก 5. ลดความถี่ของการบริโภคอาหารที่ต้องมีเครื่องปรุงน้ำจิ้ม เช่น สุกี้, หมูกระทะ รวมทั้งลดปริมาณของน้ำจิ้มที่บริโภคด้วย 6. ทดลองปรุงอาหารโดยใส่เกลือ น้ำปลา เครื่องปรุงรสอื่นๆ ในปริมาณเพียงครึ่งหนึ่งที่กำหนดไว้ในสูตรอาหารก่อน ถ้ารสชาติไม่อร่อยจริงๆ จึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณของเครื่องปรุงรส 7. เพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้มากขึ้น ให้ได้รวมวัน ละ 8-10 ส่วน ปริมาณโซเดียมในอาหาร โซเดิยมสูง ปริมาณโซเดียม (มก.) เกลือแกง 1 ช้อนชา 1,900 - 2,000 กะปิ 1 ช้อนชา 1,490 เต้าหู้ยี้ 1 ช้อนโต๊ะ 555 น้ำปลา / ซีอิ๊ว 1 ช้อนชา 350 - 500 ไข่เค็ม 1 ฟอง 316 เส้นเล็กเนื้อเปื่อยน้ำ 1 ชาม 2,000 ข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่าง 1 ชุด 2,000 ข้าวผัดกะเพรา 1 จาน 1,500 ข้าวคลุกกะปิ 1 จาน 1,500 บะหมี่สำเร็จรูป พร้อมเครื่องปรุง 1 ซอง 1,500 ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสับ 1 จาน 1,500 ขนมจีนน้ำยา 1 จาน 1,500 ปริมาณโซเดียมในอาหาร โซเดียมปานกลาง ปริมาณโซเดียม (มก.) ขนมปัง 1 แผ่น (30 กรัม) 120 - 150 ปลา กุ้ง ปลาหมึก 30 กรัม 120 - 140 นมสด 1 แก้ว (240 ซี.ซี) 120 - 130 เนย/เนยเทียมชนิดเค็ม 1 ช้อนโต๊ะ 120 - 130 ถั่วอบกรอบ 30 กรัม 120 ไข่เป็ด/ไข่ไก่ 1 ฟอง 110 - 120 ปริมาณโซเดียมในอาหาร โซเดียมน้อย ปริมาณโซเดียม (มก.) ข้าว 1/2 ถ้วยตวง 50 เนื้อหมู/เนื้อไก่ 30 กรัม 40 - 60 ผักสดชนิดต่างๆ 1 ถ้วยตวง 30 - 100 เต้าหู้ 50 กรัม 6 -10 ผลไม้ชนิดต่างๆ 6-8 ชิ้น 5 - 80 (ข้อมูลจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล) |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |