วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 18:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2010, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ก่อนจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ

จากงานวิจัยที่ประมาณการ ไว้ว่า ในอีก 13 ปีข้างหน้า
คือ ปี พ.ศ.2563 จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยจะเพิ่มจำนวนเป็น 11 ล้านคน
นับเป็น 1 ใน 6 ของประชาชนไทยในช่วงเวลานั้น


นึกง่ายๆ เป็นเพราะคนไทยยุคนี้แต่งงานช้าลง นิยมมีลูกน้อยลง
ทำให้จำนวนเด็กที่เกิดใหม่มีน้อยลงเรื่อยๆ
นอกจากนี้การแพทย์และสาธารณสุขต่างก็พัฒนาขึ้นมากกว่าเมื่อก่อน
คนหันมาใส่ใจกับเรื่องสุขภาพร่างกาย
ทำให้คนไทยเรามีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้นมาเป็น 72 ปี
(68 ปีสำหรับผู้ชาย และ 75 ปีสำหรับผู้หญิง)


เมื่อเด็กที่เกิดมามีจำนวนลดลง ส่วนผู้ใหญ่ก็มีอายุยืนยาวขึ้น
จำนวนผู้สูงอายุจึงสะสมเพิ่มสูงขึ้น โดยปกติเรากำหนดไว้ว่า
ใครก็ตามที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจัดเป็นผู้สูงอายุ
จึงมีบางคนตั้งข้อสังเกตว่าควรแล้วหรือยังที่เราจะเพิ่มเกณฑ์อายุสำหรับผู้สูงอายุ
ไปอีกสัก 5 ปี เป็น 65 ปีบริบูรณ์เช่นเดียวกับเกณฑ์สากลที่ใช้กันในประเทศพัฒนาแล้ว
นอกจากนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าคนไทยในช่วงอายุ 60-64 ปียุคนี้ส่วนใหญ่ยังมีสุขภาพดีอยู่
หลายๆ คนยังคงเป็นคนทำงาน เป็นมันสมองและฟันเฟืองสำคัญ
ที่ช่วยพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้า อย่างที่เรียกว่า “อายุเป็นเพียงตัวเลข” เท่านั้น


ลองนึกเล่นๆ ดูว่า ถ้าวัยเกษียณอายุของคนไทยเราเพิ่มจาก 60 ขึ้นไปเป็น 65 ปีจะเป็นอย่างไร?

หลายๆ ท่านที่ดูแลตัวเองมาเป็นอย่างดีตลอดตั้งแต่วัยหนุ่มสาว
และมีสุขภาพแข็งแรงยังกระฉับกระเฉงทำงานไหว
จะได้ยืดเวลาทำงานออกไปอีกอย่างน้อยๆ ก็ 5 ปี
มีรายได้ มีเงินสะสมสำหรับใช้ในอนาคตเพิ่มขึ้น ไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน



อันที่จริง วัย 60-69 ปี หรือ “วัยสูงอายุตอนต้น” ถูกเรียกว่าเป็นวัยแห่ง “พฤฒพลัง”
คือเป็นช่วงชีวิตที่คนๆ หนึ่งจะมีประสบการณ์ ภูมิปัญญา
และการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับสูงสุด มีพลังกายและสติปัญญายังกระฉับกระเฉงอยู่
ถ้าสถานการณ์ต่างๆ เอื้ออำนวย ก็ย่อมจะสร้างสรรค์สิ่งดีๆ แก่ครอบครัว ชุมชน
และสังคมได้มากพอๆ กับคนหนุ่มคนสาว (หรืออาจมากกว่าด้วยซ้ำ)



ผู้สูงอายุที่ยังคงมีไฟพร้อมจะทำงานอยู่ จะมีโอกาสได้ทำก็จะรู้สึกว่าชีวิตตนเองยังมีคุณค่า
มีศักดิ์ศรี มีประโยชน์ต่อตัวเองและผู้อื่น ลดภาวะอาการซึมเศร้าห่อเหี่ยว
เมื่อสมองได้คิดได้ทำอะไรอยู่เสมอก็จะลดภาวะอาการสมองเสื่อมลง
ละยังเกิดแรงบันดาลใจในการดูแลตัวเองให้ดี



มีโอกาสมากขึ้นในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์อันมีค่าแก่คนรุ่นลูกหลาน


นึกดูอย่างนี้แล้วก็น่า สนใจและเห็นข้อดีอยู่หลายข้อใช่ไหมคะ และเพราะแบบนี้เอง
ในประเทศที่เจริญรุดหน้ากว่าเรา อย่างสิงคโปร์
เขาถึงขยายอายุเกษียณจาก 60 ปี มาเป็น 62 ปี และมีแผนจะขยายเป็น 67 ปีในอนาคตอันใกล้นี้
ขณะเดียวกันที่ประเทศญี่ปุ่นก็ได้ขยายอายุเกษียณจาก 60 ปี มาเป็น 65 ปีกันไปเรียบร้อยแล้ว
พร้อมออกระเบียบการจ้างงานที่มีหลากหลายรูปแบบ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุเป็นผู้ประกอบการ
รวมทั้งลดระเบียบที่กีดกันการจ้างงานสำหรับผู้สูงอายุ
ซึ่งน่าจะเป็นประสบการณ์ที่ให้ประเทศไทยเราได้เรียนรู้แล้วนำมาปรับใช้ให้ เกิดประโยชน์ได้


แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลานี้ขณะเรายังคงรักษาระดับวัยเกษียณอายุสำหรับผู้สูงอายุไว้ที่ 60 ปี
ท่านไหนที่เพิ่งเกษียณก็อาจต้องประสบปัญหาการปรับตัวให้ชินต่อการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน
หรือหากเป็นไปได้อาจลองขยับขยายนำประสบการณ์ในการทำงานมาพัฒนาเป็นธุรกิจของตัวเอง
ก็จะช่วยให้ท่านยังมีโอกาสลับสมองประลองปัญญาของตัวเองอยู่เสมอ
ถ้าไม่เช่นนั้น สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ท่านยังคงสดชื่นกระปรี้กระเปร่าได้ก็คือ
การหากิจกรรมที่เป็นประโยชน์ทำอย่างที่เรานำเสนอไว้บ่อยครั้งแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย (แบบไม่หักโหม) การใช้ชีวิตในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
เขียนหนังสือ ปลูกต้นไม้ เล่นดนตรี ก็เป็นทางเลือกที่สามารถเลือกทำได้
ร่วมกับการหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี เข้ารับการตรวจสุขภาพโดยแพทย์เป็นประจำสม่ำเสมอ


ในระยะยาว เราก็หวังว่าทางภาครัฐจะจัดหาโครงการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสม
เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้
ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางสาธารณสุขที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุโดย
เฉพาะ สถานที่ที่จะรองรับกิจกรรมต่างๆ นโยบายการให้บริการสาธารณสุข
การรองรับในกรณีที่ลูกหลานไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ หรือกรณีที่ไม่มีลูกหลานดูแล
เรื่องเหล่านี้คงต้องคิดต้องทำอย่างจริงจังกันเสียที เพราะเวลาเหล่านั้นใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว
เราคงมีเวลาอีกไม่มากสักเท่าไหร่ คุณว่าจริงหรือไม่?...


ข้อมูลอ้างอิง: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ร่วมกัน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สุขภาพคนไทย. 2550

ที่มา...Health Today


:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2010, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: อนุโมทนา..สาธุ..จร้า..น้องลูกโป่ง :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2011, 10:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 09:11
โพสต์: 597


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณลูกโป่ง บุญรักษาค่ะ :b8: :b8: :b8:
โอโฮ อยู่วัย"วัยสูงอายุตอนต้น" มิน่าไปชอปปิ้งมีแต่คนเรียก"คุณยาย" ตกใจหมดเลย s005 s005
:b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2012, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2012, 11:34
โพสต์: 74


 ข้อมูลส่วนตัว


เข้ามาศึกษาก่อนที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ :b39:

:b8: :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 34 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร