วันเวลาปัจจุบัน 14 ก.ย. 2024, 05:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2011, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

'เผ่าทอง ทองเจือ'
กับชีวิตที่ผ่านพ้นโรคร้ายด้วยใจและกายที่เข้มแข็ง



หากให้ตอบว่า ชีวิตนี้ไม่เคยทำอะไรบ้าง จะง่ายกว่าให้ตอบว่า
ชีวิตนี้ทำอะไรมาบ้าง สำหรับเผ่าทอง ทองเจือ
หรืออาจารย์แพน ของลูกศิษย์ลูกหา


เพราะที่ผ่านมาสังคมได้รู้จักเผ่าทองในหลายบทบาทและหลายสถานะ
ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของผู้ที่เคยถวายงานรับใช้พระบรมวงศานุวงศ์,
ที่ปรึกษาองค์กร, อาจารย์, นักโบราณคดี, นักจัดดอกไม้, นักจัดงานอีเว้นท์,
นักสะสมผ้าไทย, เจ้าของห้องเสื้อเผ่าทอง,
เจ้าของโรงสีข้าว และข้าวแบรนด์เผ่าทอง ฯลฯ
หรือแม้แต่ดาราและนายแบบ


ที่สุดแล้วสิ่งที่เลือกทำในปัจจุบัน เหลืออยู่เพียงการเป็นที่ปรึกษา
ให้กับปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต,
เจ้าของห้องเสื้อ, เจ้าของโรงสีข้าว
และยังคงแบ่งเวลาไปสอนหนังสือบ้างเป็นครั้งคราว
ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ได้คัดสรรแล้วว่า
เวลานี้ชอบที่จะทำและอยากจะทุ่มเทเวลาให้มากที่สุด


ทว่าทุกบทบาทนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ล้วนได้ให้ประสบการณ์ที่คุ้มค่ากับชีวิตของอดีตคณบดี
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่านนี้


“มันไม่สามารถตอบได้ว่าชอบช่วงไหนหรือรู้สึกว่า
ชีวิต ได้รับประสบการณ์ที่คุ้มค่าที่สุด
เพราะว่าทุกช่วงเวลาที่เราทำงานต่างๆ มันล้วนแต่ทำด้วยความสนุก
เหมาะกับกาลเวลาและอายุ


ตอนที่ยังวัยรุ่นหน่อยก็ยังสนุกกับการจัดงานอีเว้นท์ เพราะว่าเรี่ยวแรงยังมี
แต่พอผ่านเวลาไป อายุและประสบการณ์เรามากขึ้น
ก็ผันตัวเองไปทำงานที่ปรึกษา เพราะบางทีงานแบบนี้เด็กๆ เขาทำไม่ได้
ถ้ายังไม่มีประสบการณ์อย่างทุกวันนี้ที่มาเป็นที่ปรึกษา
ให้กับปลัดกระทรวงเกษตรฯ และบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต
มันก็เป็นเพราะว่าเราได้อาศัยประสบการณ์จากสิ่งที่เราเคยทำมาตั้งแต่อดีต
ดังนั้นแต่ละงานที่ผ่านมา
มันมีประโยชน์และเป็นรากฐานให้กับการทำงานในปัจจุบัน
และงานอื่นๆที่จะต้องทำต่อไปในอนาคต”


ที่ผ่านมาสังคมเคยให้คำนิยามอาจารย์ว่าเป็น
“นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ผู้แตกฉาน”
แม้จะยินดีน้อมรับกับคำนิยามนี้ในบางส่วน
แต่ด้านหนึ่งก็ไม่ รู้สึกยินดียินร้ายใดๆ เพราะมันขึ้นอยู่กับว่า
แต่ละคนจะได้สัมผัสกับตัวตนของเผ่าทองในมุมไหน


“ตั้งแต่เป็นวัยรุ่น ผมเคยเป็นนายแบบ
เคยถูกถ่ายภาพลงนิตยสารลลนา, แพรว ,ดิฉัน, เปรียว, พลอยแกมเพชร
และอีกหลายเล่มมาก เป็นนายแบบรุ่นแรกสุดของประเทศไทย
ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีการประกวดใดๆทั้งสิ้น แตกต่างกับนายแบบรุ่นหลังๆ
ที่ต้องผ่านการประกวดเวทีอะไรต่างๆ ตอนนั้นคนก็จะนิยามเราว่าเป็นนายแบบ


พอเล่นละคร ออกทีวี ก็กลายเป็นดารา พอสอนหนังสือก็กลายอาจารย์
แล้วแต่คนจะนิยาม จะนิยามว่าอะไรก็ได้
เพราะนั่นมันเป็นเพียงเปลือกที่เขาตั้งให้
แต่เป็นนักโบราณคดีก็โอเค ถูกต้องนะฮะ เพราะว่าผมเรียนจบโบราณคดี
แต่บอกว่าเป็นนักประวัติศาสตร์คงไม่ใช่เท่าไหร่
เพราะผมไม่ได้เรียนสาขาประวัติศาสตร์
เพียงแต่ เรื่องของโบราณคดีมันอิงๆกับประวัติศาสตร์อยู่
คนอาจจะไม่เข้าใจความแตกต่างของโบราณคดีกับประวัติศาสตร์
ก็เลยเหมารวมเรียกไป”


แต่ทุกครั้งที่ถูกเชิญให้ไปเป็นวิทยากร
ในเรื่องของความรู้และทัศนะที่มีต่อเรื่องต่างๆ รอบตัว
คงทำให้ทุกคนได้ประจักษ์แล้วว่า
อาจารย์คือห้องสมุดเคลื่อนที่คือสารานุกรมพูดได้
เป็นเพราะตลอดมาชีวิตไม่เคยหยุดแสวงหาความรู้ใส่ตัว


“สมัยเรียน พออาจารย์สั่งให้อ่านหนังสือนอกเวลา
ผมจะอ่านให้จบภายในวันนั้น หรือไม่ก็วันรุ่งขึ้น
ไม่ว่าจะเรียนหนังสือมากน้อยแค่ไหน พอหมดชั่วโมงเรียนหรือมีเวลาว่างปั๊บ
ผมจะวิ่งเข้าห้องสมุด ค้นๆ หนังสือที่อาจารย์สั่งมากองรวมกันไว้แล้วไล่อ่านไปจนหมด


จากนั้นก็ค่อยอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้อง
นั่นก็คือ ถ้าอาจารย์สั่งให้อ่านหนังสือสักเล่มหนึ่ง พอผมอ่านเล่มนั้นจบแล้ว
ผมก็จะไปอ่านท้ายเล่มว่า เชิงอรรถมาจากไหนมันมีหนังสืออ้างอิงอะไรบ้าง
แล้วก็ไปตามอ่าน ซึ่งมันทำให้เราขยายฐานความรู้ออกไปได้


จนถึงทุกวันนี้ ผมยังใช้วิธีอ่านเป็นหนทางในการแสวง หาความรู้
เพราะความรู้มันต้องสั่งสมและผมเคราะห์ดี
ที่เกิดมาในช่วงที่คนเก่าๆยังมีชีวิตอยู่เยอะ ได้สอบถาม
และจดจำจากสิ่งที่พวกท่านเหล่านั้นบอกเล่าให้ฟัง”


บุคคลต้นแบบในชีวิตของอาจารย์ มีอยู่หลายท่านและหลายด้านด้วยกัน
หากเป็นนักวิชาการด้านโบราณคดี และประวัติศาสตร์
ท่านผู้นั้นคือ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล
(ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 31 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับหม่อมเจิม ดิศกุล
และทรงเป็นบุคคลคนแรกที่พบทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทพนมรุ้ง
อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในสถาบันศิลปะแห่งเมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา
จนมีการทวงทับหลังกลับคืนสู่ประเทศไทย)


“ทรงเป็นองค์อาจารย์ของผม สอนผมมาตลอด
และผมก็ได้ความรู้มาจากท่านอย่างมากมาย”


แต่ถ้าเป็นด้านการจัดดอกไม้ และการตัดเย็บเสื้อผ้า
อาจารย์จะนึกถึง “ชูพาศน์ ชูโต” ผู้เคยถวายงานด้านการจัดดอกไม้
และ “ไข่” สมชาย แก้วทอง เจ้าของห้องเสื้อดัง “ไข่ บูติค”


หลายคนอาจจะมองว่าอาจารย์โชคดี
เพราะได้ใช้ชีวิตอยู่กับงานที่ชอบมาโดยตลอด
แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่า
ในช่วงเวลาหนึ่ง อาจารย์แพนต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรคมะเร็ง
และต้องใช้เวลานานถึง 16 ปี ในการเยียวยารักษาร่างกาย และจิตใจไปพร้อมๆกัน
ก่อนจะกลับมามีพลังกายและพลังใจที่ล้นเหลือเช่นเดิม
ซึ่งอาจารย์ได้บอกเล่าเพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่อาจจะกำลังป่วยด้วยโรคเดียวกันว่า


“การรักษาสุขภาพกาย ไม่ต้องคิดอะไรมากเลย แค่เราต้องเป็นคนไข้ที่ดี
คุณหมอที่รักษาผม คือ แพทย์หญิงบุญสม ชัยมงคล
คุณหมอบุญสมจะสั่งผมเสมอว่าหน้าที่ของผมคือทำตามหมอสั่ง
และรับประทานอาหารให้ได้มากๆ เพราะตอนนั้นคีโมมันจะแรง ทำให้เราแพ้
ทานไป อาเจียนไป ผมจึงต้องอดทนและกินอาหารเข้าไปให้ได้ มากๆ
และกินแต่ของที่มีประโยชน์ ซึ่งการรักษากายนั้นมันไม่ยาก
แค่ต้องทำตามหมอสั่ง รักษาใจซิยากกว่า


เรื่องรักษาใจ พอไม่สบายปั๊บ จิตใจมันก็จะฟุ้งซ่าน ร้องห่มร้องไห้
เสียอกเสียใจ ตีโพยตีพาย โทษเทวดาฟ้าดิน โทษอะไรต่างๆมากมาย
เคราะห์ดีว่าช่วงนั้นมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ผมเคารพนับถือ
คือ แพทย์หญิงนิลนารถ ธีระโชติ
ท่านเป็นผู้สอนวิปัสสนากรรมฐานในสายของ คุณแม่สิริ กรินชัย
คุณหมอได้มาช่วยอบรมเกี่ยวกับการทำสมาธิ
การทำวิปัสสนากรรมฐานอะไรต่างๆให้กับผม
และผมก็ได้ใช้เป็นแนวทางในการทำใจ และรักษาใจ


คือตอนแรกที่รู้ว่าป่วย จิตใจมันฟุ้งซ่านมาก ในที่สุดก็ค้นพบว่า
ถ้าเรายังฟุ้งซ่านอยู่ ชีวิตคงไม่รอด จึงบอกกับตัวเองว่า
จะต้องเลือกทำในสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อน นั่นก็คือต้องรักษาตัวเองให้หาย
ต้องทำจิตใจให้ดี จะได้มีชีวิตอยู่เพื่อดูแลคุณแม่
เพราะตอนนั้นผมเหลือคุณแม่อยู่เพียงคนเดียว”


แม้เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บจะไม่ใช่สิ่งที่ใครปรารถนา
แต่บางครั้งวิกฤตก็นำมาซึ่งโอกาส
เพราะหลายสิ่งในชีวิต ของอาจารย์เปลี่ยนไป
เมื่อความป่วยมากล้ำกราย เช่น กิจกรรมบางอย่างในชีวิตเป็นอันสิ้นสุด
อารมณ์ขี้หงุดหงิด รวมถึงความอยากได้อยากมีในสิ่งต่างๆ
ก็พลันลดน้อยลงไปด้วย


“แต่ก่อนชอบเที่ยวเธคเที่ยวบาร์ เมาได้หัวราน้ำ
แต่ตอนนี้ไม่ได้เที่ยวมานานแล้ว เท่ากับช่วงเวลาที่ป่วย 16-17 ปี
ไม่เหยียบย่างไปอีกเลย รู้สึกว่ามันไม่ใช่ที่ของเราอีกต่อไปแล้ว


หรือแต่ก่อนเป็นคนที่วีนแตกได้ทุกเรื่อง เดี๋ยวนี้วีนน้อยลงมาก
หายไป 90 เปอร์เซ็นต์ เหลือวีนซัก 10 เปอร์เซ็นต์ (หัวเราะ)
ส่วนความฟุ้งเฟ้อ ความทะเยอทะยาน เมื่อก่อนมันมีร้อยเปอร์เซ็นต์
ตอนนี้อาจลดลงมาเหลือสัก 20-30 เปอร์เซ็นต์ มันหายไปเยอะ


คนเราถ้าเผื่อไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ทะเยอทะยาน มันจะทำให้กิเลสตัณหา
และความอยากได้ใคร่มีในความรู้สึกลดลงไปได้พอสมควร
มองอะไรต่างๆ ได้ง่ายขึ้น จากชีวิตที่เคยซับซ้อน
ก็เป็นชีวิตที่ง่ายขึ้น คลายออก ไม่ยึดติด ไม่ผูกมัด


สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นได้ในเวลาที่หมอบอกว่าเราจะตายแล้ว
มันเป็นคำพิพากษา ประหารชีวิตแล้วในเวลานั้น เราผ่านตรงจุดนั้นมาได้
มันก็เหมือนกับนักโทษที่ต้องโทษตลอดชีวิต แล้วก็ติดคุกอยู่
แต่ในที่สุดก็ได้รับการอภัยโทษ
ซึ่งย่อมต้องทำให้มองเห็นสัจธรรมในชีวิตได้พอสมควร”



อาจารย์แพนยังเล่าด้วยว่า ศาสนามีอิทธิพลต่อชีวิต
ในฐานะที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน
แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่คนมักจะนึกถึงศาสนาในเวลาที่ชีวิตพบกับความทุกข์
แต่ในเวลาที่มีความสุขกลับหลงลืมที่จะสะสมภูมิคุ้มใจเอาไว้ให้มาก



“คนส่วนใหญ่ถ้ามีความสุขจะไม่นึกถึงศาสนา แต่เวลาที่มีความทุกข์
เวลาที่ขาด เวลาที่ไม่มี จะนึกถึงศาสนา ขึ้นมาทันที ในส่วนของผมเอง
ผมมีศาสนาไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจ แต่ไม่ได้ลงไปลุ่มหลงกับศาสนามาก


คนเราสามารถเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาได้หลายทาง
อาจจะเป็นนักบวช สละโลกไปเลย หรือเป็นแค่ผู้มีศีลประจำตัว
นั่นคือ ถือศีล 8 ถือศีล 5 หรือจะมองอยู่ห่างๆ
ทดลองนำหลักธรรมไปปฏิบัติด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องไปเป็นนักบวชก็ได้


จริงๆแล้วผมไม่ได้ผูกพันกับวัด ในแง่ที่ว่าจะต้องไปวัด ฟังเทศน์ ฟังธรรม
แต่ว่าการกระทำของเรา ไม่เอาเปรียบคนอื่น ไม่โกหก ไม่คดโกง ไม่ลักขโมย
เหล่านี้ผมถือว่าเป็นการปฏิบัติไม่ให้กระทบกระเทือนคนอื่น ไม่ได้คิดว่าเป็นการถือศีลอะไร


เพราะว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าก็มาจากธรรมชาติ
ถ้าเราตบเขา เขาก็ต้องตบเรา ด่าเขา เขาก็ด่าเรา ขโมยของเขา
เราก็ต้องโดนลงโทษ ฉะนั้นผมก็เลยไม่ได้ยึดติดว่าต้องเข้าวัดเข้าวา
เพื่อฟังเทศน์ ปกติผมจะเป็นคนที่ทำบุญกับคนที่ด้อยโอกาส
คนที่ขาดแคลนจริงๆ มากกว่า”


แต่ที่ผ่านมาหากว่าใครเคยพบเห็นอาจารย์ไปปรากฏตัวอยู่ในรั้ววัดแห่งไหน
เดาได้ว่าเป็นเพราะไปทำหน้าที่มัคคุเทศก์
นำลูกทัวร์ชื่นชมความงามของศิลปะมากกว่า


“พาไปทัวร์ชมโบราณสถาน ในฐานะที่เราเป็นเจ้าของประเทศ
เป็นเจ้าของวัฒนธรรม เพราะวัดวาอารามเป็นแหล่งที่รวบรวมศิลปวัฒนธรรม”


อาจารย์บอกด้วยว่าตนเองเป็นพุทธศาสนิกชนในแบบที่เปิดกว้างกับทุกศาสนา


“ผมเป็นพุทธโดยสูติบัตร เพราะว่าทุกคนไม่สามารถเลือกนับถือศาสนาเองได้ตั้งแต่เกิด
ผมเชื่อว่าทุกศาสนาดีหมด จำได้ว่าตอนที่ไม่สบาย
ผมอ่านพระคัมภีร์ไบเบิ้ลของชาวคริสต์จนจบ
และช่วงที่ผ่านมาก็อ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านของชาวมุสลิม”


เพื่อให้ศาสนาพุทธของเราไม่มัวหมองและเป็นที่พึ่งของผู้ที่นับถือได้จริง
ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ สิ่งที่อาจารย์อยากฝากถึงชาวพุทธด้วยกันคือ


“ชาวพุทธทุกวันนี้ศึกษาพุทธศาสนาแต่เปลือก
ไม่ได้เข้าไปถึงแก่นของพุทธศาสนา
ศาสนาพุทธถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างภาพมากเหลือเกิน
เพราะฉะนั้นเวลานี้ เราควรจะหันมานับถือพุทธศาสนาในแง่ของความเป็นหลักธรรม
ไม่ใช่เรื่องของเปลือก ที่ต้องไปอยู่วัด นั่งวิปัสสนา
สามวันเจ็ดวันถึงจะเป็นคนบริสุทธิ์เป็นคนดี
พอกลับออกมาก็เห็นไปนินทา ไปเป็นชู้กับชาวบ้าน
ทำให้ศาสนามัวหมอง ไม่เห็นจะได้ประโยชน์อะไร


ศาสนาพุทธไม่ได้เป็นเรื่องของคาถาอาคม ไสยศาสตร์
ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับโชคชะตาราศีอะไรต่างๆ ที่จะปรับได้ แก้ได้ เปลี่ยนได้
มันมายังไง มันก็ต้องเป็นอย่างนั้น คนเอาศาสนามาใช้ในทางที่ผิดเยอะมาก
ทำให้คนที่เขานับถือศาสนาจริงๆ เกิดความเอือมระอาเบื่อหน่าย
พระภิกษุสงฆ์ และคนในแวดวงศาสนาก็พลอยเสื่อมเสียไปด้วย”



ส่วนคนดีในแบบที่อาจารย์ชื่นชมคือ คนที่เสียสละเพื่อ ส่วนรวมได้
ไม่ยึดติดว่าอะไรเป็นของตัวเอง
และคนดีที่อาจารย์อยากยกตัวอย่างให้ทุกคนได้เห็นเป็นรูปธรรมคือ
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
เพราะทรงเป็นตัวอย่างของผู้ที่ให้อย่างเดียว และไม่เบียดเบียนใคร”



(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 120 พฤศจิกายน 2553 โดย พรพิมล)
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNew ... 0000154562

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2011, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


สนใจติดตามข่าวคราวของท่านมาตลอดตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
ท่านงามทั้งข้างนอกข้างในจริงๆ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2011, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2011, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เพราะที่ผ่านมาสังคมได้รู้จักเผ่าทองในหลายบทบาทและหลายสถานะ
ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของผู้ที่เคยถวายงานรับใช้พระบรมวงศานุวงศ์,
ที่ปรึกษาองค์กร, อาจารย์, นักโบราณคดี, นักจัดดอกไม้, นักจัดงานอีเว้นท์,
นักสะสมผ้าไทย, เจ้าของห้องเสื้อเผ่าทอง,
เจ้าของโรงสีข้าว และสารพัดข้าวแบรนด์เผ่าทอง ฯลฯ
:b10: :b9: :b32: จึงเห็นมีร้านขายผ้าไหมกับข้าวเผ่าทองในงานเกษตรแฟร์เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
รูปภาพ


..ข้าวกล้องเพาะงอกเผ่าทอง/ข้าวกาบา/ข้าวเล็บนก/ข้าวเหนียวเผ่าทอง/ปลายข้าว...
สนใจเรื่องสุขภาพตามไปอุดหนุนได้ที่โฮมเฟรชมาร์ทเดอะมอลล์ทุกสาขา/
ที่กูร์เมต์ มาร์เกต ดิ เอ็มโพเรียมและสยามพารากอน/
เดอะเบสท์ อาคารมณียา ชั้นล่าง(02-254 8162)/
โฮมคุกกิ้ง ชั้น 3 ห้างเพนนินซูล่าพลาซ่า(02-252 3544)
ที่เชียงใหม่จำหน่ายที่ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ตทุกสาขา
ร้านเผ่าทองถนนนิมมานเหมินทร์ ซอย 1(053-217 715)
ที่ปากช่อง นครราชสีมาจำหน่ายที่ แดลี่โฮม (044-322 230)

ปัจจุบันยังมีอีกหลายบทบาทและสถานะ...ในเฟสบุ้กคุณแพนเธอค่ะ
http://www.facebook.com/pages/phea-thxn ... 3931856239

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2011, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2008, 20:41
โพสต์: 448

ที่อยู่: bangkok, Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่ทราบ และ เคยอ่านหนังสือ หรือ วารสาร เกี่ยวกับสุขภาพ หลังจากท่านล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งร้าย
ได้มุ่งมั่น ขวนขวานศึกษาธรรม อย่างขมักขเม่น และหันมาสนใจเรื่องสุขภาพ โดยเฉพาะอาหาร
ได้งดเว้น การบริโภคเนื้อสัตว์ใหญ่ ๆ ตามลำดับ หันมาเน้นทางอาหารชีวภาพ ปลอดเนื้อสัตว์

ทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น นอกเหนือจากการเจริญสติภาวนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร