วันเวลาปัจจุบัน 15 ต.ค. 2024, 03:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว




เต่า๑.jpg
เต่า๑.jpg [ 81.03 KiB | เปิดดู 22279 ครั้ง ]
:b16: :b39:

เรามาทำความรู้จักสัตว์โลกตัวน้อย
ที่จริงๆก็คุ้นหน้าคุ้นตากันดีเหล่านี้กันดีกว่านะคะ :b32:
เห็นหน้าตาน่ารักๆ แบบนี้
กินอยู่หลับนอนกันยังไงบ้างหนอ s006
เราทำความรู้จักพวกเขา
ก่อนจะพาเขาไปปล่อย (หาบ้านหลังใหม่ให้) กันดีกว่าเน้อ :b4:


สำหรับในตอนแรก ก็ขอเริ่มจากตระกูลเต่าทั้งหลายก่อน
จะทำบุญไถ่ชีวิต ปล่อยเต่าครั้งใด
สังเกตกันสักนิดว่า
เต่าที่อยู่ในมือเรานั้น...เป็นเต่าชนิดใด
:b16:

บางทีถามผู้ขายเขาก็ไม่แน่ใจหรอก :b10:
เราหาความรู้เบื้องต้นไปสังเกตเองจะดีที่สุด :b4:

ขอบคุณภาพสวยๆ เกี่ยวกับการแยกประเภทเต่า
จากสำนักอนุรักษ์วิจัยและการศึกษา
Conservation Research and Education

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว




เต่า๒.jpg
เต่า๒.jpg [ 21.78 KiB | เปิดดู 22279 ครั้ง ]
กรณีที่มักเกิดความสับสน
ก็คือ น้องเต่าน้ำจืดกับน้องเต่าบก นะคะ

โดยธรรมชาติของเต่า จะเป็นเต่าน้ำจืดก็ตาม
เขาก็ไม่ได้อยู่ในน้ำตลอดเวลา
ต้องมีเวลาขึ้นมาพักผ่อนอาบแดดกันบ้าง
แค่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำแค่นั้น ไม่ใช่ตลอดเวลา

ดังนั้นแม้ว่าจะเป็น "เต่าน้ำจืด" ก็ตาม
เขาก็ไม่เหมาะกับการปล่อยลงแม่น้ำสายใหญ่ๆ
ซึ่งมักจะลึกและน้ำก็ไหลเชี่ยว

ปลอดภัยไว้ก่อน...หากคิดจะปล่อยเต่า
ลงบึง ห้วย หนอง คลองเล็กๆ ดีกว่า
:b20:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว




เต่า๓.jpg
เต่า๓.jpg [ 33.98 KiB | เปิดดู 22279 ครั้ง ]
สังเกต "ขา" ของน้องเต่า จะช่วยให้แยกประเภทได้ง่ายขึ้น :b27:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ขอบคุณภาพจาก th.wikipedia
เต่านา.jpg
เต่านา.jpg [ 63.29 KiB | เปิดดู 22279 ครั้ง ]
เรามารู้จักเต่าที่พบเจอได้บ่อยๆ แบบพอสังเขปกันค่ะ :b1:


เต่านา

ชื่อภาษาอังกฤษ :
Malayan Snail-eating Turtle

ชื่อภาษาไทย :
เต่านา


พบได้บริเวณที่ราบต่ำทั่วประเทศไทย
และพบที่อินโดจีน มาเลเซีย ชวา

แหล่งที่อยู่อาศัย
อยู่ในแหล่งน้ำ บริเวณที่มีพืชปกคลุมหนาแน่น
แหล่งน้ำจืดที่ไหลช้าหรือน้ำนิ่ง
แหล่งน้ำตื้นบริเวณที่ราบต่ำ เช่น หนองน้ำคูคลองที่ขุดลอก
และทุ่งนาที่มีน้ำท่วมขัง


ชอบกินสัตว์เป็นอาหาร หอยน้ำจืด
กุ้งและบางครั้งกินหอยสองฝาขนาดเล็ก

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ขอบคุณภาพจาก http://www.neutron.rmutphysics.com/
เต่าบึงหัวเหลือง.jpg
เต่าบึงหัวเหลือง.jpg [ 21.49 KiB | เปิดดู 22279 ครั้ง ]
เต่าบัว

ชื่อภาษาอังกฤษ :
Yellow-headed Temple Turtle

ชื่อภาษาไทย :
เต่าบัว, เต่าหม้อ, เต่าวัด, เต่าบึง


เป็นเต่าที่มีนิคเนมหลายชื่อ :b1:
เพราะว่าคุ้นหน้านะเองก็เลยเรียกกันไปตามสบายใจค่ะ

ประเทศไทยพบเต่าบัวบริเวณที่ราบต่ำในภาคกลาง
ภาคตะวันออกและภาคใต้บนแผ่นดินใหญ่
ที่ลาวพบบริเวณที่ราบต่ำแม่น้ำโขงทางภาคตะวันตกเฉียงใต้
เวียดนามพบบริเวณที่ราบต่ำทางตอนใต้
กัมพูชาพบบริเวณที่ราบต่ำ

แหล่งที่อยู่อาศัย
อยู่ในแหล่งน้ำ หนองน้ำ บ่อน้ำ และแหล่งน้ำอื่นๆ ที่มีน้ำไหลช้า
หรือน้ำนิ่งในบริเวณที่ราบและสามารถอยู่รอดได้บริเวณน้ำกร่อย


เต่าบัวกินทั้งพืชเป็นอาหาร ใบบัวและก้านบัว
พืชลอยน้ำและพืชริมน้ำ
(บ้างครั้งพบกินหนอนและแมลงแต่ไม่บ่อยนัก)


:b50:

ที่มาข้อมูล
http://www.neutron.rmutphysics.com/

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ขอบคุณภาพจาก th.wikipedia
เต่าดำ.jpg
เต่าดำ.jpg [ 134.46 KiB | เปิดดู 22279 ครั้ง ]
เต่าดำ

ชื่อภาษาอังกฤษ :
Black Pond Terrapin, Black marsh turtle

ชื่อภาษาไทย :
เต่าดำ (นิยมเรียก), เต่าแก้มขาว, เต่ากา


สามารถพบได้ทุกภาคของประเทศไทย
พบมากทางภาคกลางและภาคใต้
นอกจากนี้พบที่อินเดีย อินโดจีน มาเลเซีย
สุมาตรา ชวา บอร์เนียว และฟิลิปปินส์

เป็นเต่าชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก
มีลักษณะ ลำตัวยาวประมาณครึ่งฟุต
น้ำหนักไม่ถึงครึ่งกิโลกรัม ลำตัวแบน
มีกระดองสีดำ หัว หาง และขามีสีดำ
มีลักษณะเด่น คือ มีแต้มสีขาวเหนือตา แก้ม
และตามใบหน้าอีกหลายแห่งอันเป็นที่มาของชื่อ
กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ประมาณ ๒๐ เซนติเมตร

แหล่งที่อยู่อาศัย
อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดที่ไหลช้า
หรือแหล่งน้ำนิ่งบริเวณที่ราบต่ำ
เช่น บ่อน้ำ ลำคลอง คูและหนองน้ำ


อุปนิสัยชอบหมกตัวอยู่ใต้โคลนในน้ำ
นานๆ ทีจึงค่อยโผล่มาหายใจบนผิวน้ำ

ดังนั้น เวลาพบจึงเห็นตัวสกปรกเลอะโคลนอยู่เสมอ
จะขึ้นบกเวลากลางคืน เพื่อต้องการหาทำเลวางไข่
หรือผสมพันธุ์ หรือย้ายที่อยู่
ส่วนกลางวันมักหมกตัวอยู่ในที่รก
ชื้นแฉะ หรือตามโคลนใต้พื้นน้ำ


อาหาร กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร
เช่น สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่ในน้ำ


:b39:

เต่าที่นำเสนอไป เป็นเต่าที่เคยพบว่าถูกจับมาขายในตลาด
และอาจเป็นเต่าที่มักถูกซื้อเพื่อไปปล่อยกันบ่อย จึงนำมาฝาก
คงเป็นประโยชน์บ้างกับท่านที่ชอบการปล่อยสัตว์ไถ่ชีวิตนะคะ
หากใครมีความรู้เรื่องเต่ามาเพิ่มเติมก็ร่วมแบ่งปันกันได้

ข้อสังเกตอย่างหนึ่ง คือ
ในบรรดาเต่าที่มักถูกจับมาขาย...
ไม่มีเต่าชนิดใดที่อาศัยในแม่น้ำขนาดใหญ่เลย
เพราะมันลึกมากและน้ำไหลเชี่ยวเกินไป


ผู้ที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับเต่าแต่ละชนิดเพิ่มเติม
สามารถอ่านได้จากลิ้งค์ที่ให้ไว้และเว็บไซต์ดังกล่าว
ก็เป็นแหล่งที่มาของข้อมูลเรื่องเต่าในกระทู้นี้ด้วยค่ะ


:b40:

ที่มาข้อมูล
http://www.fisheries.go.th/if-suratthan ... &Itemid=21

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ขอบคุณภาพจาก http://www.biogang.net/
ปลาไหลนา.jpg
ปลาไหลนา.jpg [ 105.21 KiB | เปิดดู 22279 ครั้ง ]
ปลาไหลนา

ชื่อวงศ์ :
Synbranchidae

ชื่อภาษาอังกฤษ :
swamp eel, asian swamp eel

ชื่อภาษาไทย :
ปลาไหลนา, ปลาเหยียน, เอียน (ท้องถิ่น)


พบในน้ำจืดและน้ำกร่อยของทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา
โดยกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเขตอบอุ่น
พบตั้งแต่พื้นที่ชุ่มน้ำและถ้ำ
ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคทั่วประเทศ

มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายงู ตามีขนาดเล็ก คอป่องออก
ลำตัวลื่น มีเมือกมาก สีสันปกติคือ สีเหลืองทอง, สีดำ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ปลาไหลอาศัยอยู่

แหล่งที่อยู่อาศัย
มีพฤติกรรมขุดรูอยู่ในพื้นโคลนตมหรือตามตลิ่งน้ำ
อยู่ตามในนา บึงเล็กๆ หนองน้ำ ชอบรวมกลุ่มกันกินอาหาร
(ได้อาหารชิ้นใหญ่ๆ ก็จะรุมกินด้วยกันนับสิบตัว)
เป็นปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ในทุกสิ่งแวดล้อม
ส่วนในฤดูร้อน-แล้ง ขุดรูลึกลงไป ๑-๑.๒ เมตร
เพื่อเอาตัวรอด ( หลบร้อน :b32: )


อาหาร ปลาไหลชอบออกหากินในเวลากลางคืน
กินเนื้อเป็นอาหาร โดยสามารถกินอาหารได้หลากหลาย
หนอน ตัวอ่อนแมลง หอย ไส้เดือน
สัตว์น้ำอื่นๆ และพวกสัตว์หน้าดินทั้งหลาย
ซากสัตว์หรือซากพืชที่เน่าเปื่อยก็กิน


ดังนั้น...การพาปลาไหลไปปล่อย
น่าจะปล่อยในห้วย บึง หนอง คลองเล็กๆ ที่มีตลิ่ง
ก็จะเหมาะกับอุปนิสัยของปลาไหลมากกว่า


:b45:

ที่มาข้อมูล
http://www.aquatoyou.com
http://th.wikipedia.org/
http://www.biogang.net/

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2014, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ขอบคุณภาพจาก www.mylifebe.com
ปลาดุก.jpg
ปลาดุก.jpg [ 130.78 KiB | เปิดดู 22240 ครั้ง ]
ปลาดุก

มีใครไม่เคยซื้อปลาดุกไปปล่อยบ้าง? :b1:
เมื่อคิดจะทำบุญปล่อยสัตว์...
เชื่อว่า "ปลาดุก" จะต้องติดอันดับต้นๆ แน่นอน

นั่นเพราะว่า ปลาดุกเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย
และมีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ตามท้องตลาดทุกๆ ที่
ไม่เคยขาดแคลนปลาตัวดำมีหนวดที่ชื่อ ปลาดุก เลย :b16:

หากจะแบ่งปลาดุกออกเป็นชนิดย่อยๆ ก็อาจมีอีกหลายชนิด
โดยปัจจุบันจะหาสายพันธ์ุตามธรรมชาติดั้งเดิมนั้นคงหาได้ยากแล้ว
เป็นปลาที่ถูกพัฒนาปรับปรุงพันธุ์แล้วเป็นส่วนใหญ่
แต่เรามาทำความรู้จักกันแบบอุปนิสัยที่คล้ายกันของปลาดุกทุกชนิด :b17:


:b39:

ชื่อภาษาอังกฤษ :
Catfish, Walking Catfish

ชื่อภาษาไทย :
ปลาดุก


ปลาดุก เป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายต่างๆ ในประเทศไทย,
ลาว, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ
และมีแพร่หลายในแหล่งน้ำของทวีปแอฟริกาด้วย

จัดเป็นพวกปลาไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว
มีหนวด ๔ เส้น ที่ริมฝีปาก ผิวหนังมีสีน้ำตาล เนื้อมีสีเหลือง
โตเร็ว ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมเก่งและทนทานต่อโรคสูง


แหล่งที่อยู่อาศัย
โดยธรรมชาติของปลาดุกแล้ว
ชอบอาศัยในน้ำจืดหรือกร่อย มีดินเหนียวให้ได้ฝังตัว
ระดับน้ำไม่ลึกเกินไป ไม่ไหลแรงเกินไป เช่น ในนา, บึง, หนอง

ถ้าเป็นการเพาะพันธุ์ เขาก็แนะนำว่า
ควรเลี้ยงในบ่อดิน ในอัตรา ๒๐-๓๐ ตัว/ตารางเมตร.
( กำลังสบายๆ ไม่แน่นเกิน :b16: )
และระดับความลึกของน้ำประมาณ ๑-๑.๕ เมตร

ปลาดุกกินง่ายอยู่ง่ายที่สุดจริงๆ ล่ะ
ลงแม่น้ำ คลอง บึง คูน้ำ คันนา อยู่ได้หมดเลยค่ะ :b9:


อาหารการกิน
ปลาดุกเลี้ยงง่าย กินง่าย
กินได้แทบทุกอย่างที่มีอยู่ในแหล่งที่ตนอาศัย ได้แก่

๑. อาหารจำพวกแมลง เช่น ปลวก ลูกน้ำ ตัวไหม ไส้เดือน ไรน้ำ ฯลฯ
๒. เนื้อสัตว์ เช่น เศษเนื้อวัว ควาย ปลา ไส้เป็ด ไส้ไก่ เลือด และเครื่องใน
(ในฟาร์มก็หาซื้อมาสับให้ ส่วนในธรรมชาติเข้าใจว่า ซากสัตว์ที่ตายลง)
๓. เนื้อกุ้ง หอย และปูต่างๆ
๔. เนื้อสัตว์จำพวกกบ เขียด และอื่นๆ
๕. เศษผักต่างๆ พอกินได้เล็กน้อย เช่น ปลายข้าว,
ต้นกล้วยสับ, มะละกอ, กากถั่ว, กากรำ, กากมัน เป็นต้น


:b48: :b48:

ที่มาข้อมูล
http://www.fisheries.go.th/
http://www.mylifebe.com/
http://th.wikipedia.org/wiki

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2014, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว




หอยขม.jpg
หอยขม.jpg [ 96.73 KiB | เปิดดู 22239 ครั้ง ]
หอยขม

ชื่อภาษาอังกฤษ :
Pond snail, Marsh snail, River snail

ชื่อภาษาไทย :
หอยขม, หอยจุ๊บ (ท้องถิ่น), หอยจูบ (ท้องถิ่น)


"หอยขม" เป็นหอยชนิดฝาเดียว อาศัยในน้ำจืด
เป็นหอยขนาดเล็ก เปลือกหนาและแข็งเป็นเกลียวกลมยอดแหลม
ผิวชั้นนอกเป็นสีเขียวแก่ ฝาปิดเปลือกเป็นแผ่นกลม
ตีนใหญ่ จะงอยปากสั้นทู่
ตามีสีดำอยู่ตรงกลางระหว่างโคนหนวด

หอยขมนี้มีการแพร่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค
ได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา
รวมถึงในจีน และแอฟริกา ด้วย


แหล่งที่อาศัย
หอยขมอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดธรรมชาติทั่วไป
เช่น ในท้องนา, คลอง, ห้วย, บึง, คู
และ หอยขมเป็นสัตว์ที่ชอบน้ำสะอาด
หากมีสารเคมี เช่น ยาฆ่าหญ้า หรือสารกำจัดศัตรูพืชที่
ฉีดกันนิดหน่อยหอมขมก็ตายได้แล้ว :b7:

ลักษณะที่อยู่อาศัยที่หอยขมชอบ
คือ ชอบอยู่ในน้ำที่ไม่ไหลแรงหรือเป็นน้ำนิ่งในที่ร่มๆ
และมีพื้นดินหรือโคลนหรือมีที่ยึดเกาะได้

โดยอยู่ได้ที่ระดับน้ำตั้งแต่ ๑๐ เซนติเมตร ถึง ๒ เมตร
กรณีน้ำลึกถึง ๒ เมตร คือ ต้องมีที่ให้หอยขมยึดเกาะได้

โดยหอยขมจะใช้การยึดเกาะด้วยเท้าตามวัตถุต่างๆ เป็นหลัก
เช่น เกาะเสา สะพาน ตอไม้
พันธุ์ไม้น้ำ ทางไม้ กิ่งไม้ที่จมในน้ำหรือจมอยู่ในโคลน

บางที่ที่มีการเพาะเลี้ยงหอยขม
ก็ใช้การเอาทางมะพร้าวจมน้ำในห้วยไว้ให้หอยขมได้เกาะ
จริงๆ ตามธรรมชาติแล้ว หอยขมเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย
ขยายพันธุ์ไว โตเร็ว ทนทาน


อาหารการกิน
หอยขมมีปาก ระบบทางเดินอาหารเริ่มจากปาก
อาหารที่ลอยอยู่ในน้ำ เช่น แพลงก์ตอนเล็กๆ
ก็จะถูกดูดเข้าไปในช่องใต้ปากได้

นอกจากนี้ภายในปากก็จะมีอวัยวะมีลักษณะแข็งทำหน้าที่คล้ายเป็นฟัน
ใช้ขูดแทะอาหารที่ติดอยู่กับวัสดุ เช่น ตะไคร่น้ำที่ขึ้นตามโขดหิน ขอนไม้ ฯลฯ

อาหารของหอยขมก็ได้แก่
ตะไคร่น้ำ พืชน้ำ แพลงก์ตอน และอินทรีย์สารที่เน่าเปื่อย
เช่น ใบไม้ผุๆ ตะกอนดินต่างๆ


:b44: สิ่งสำคัญของการปล่อยหอยขม
อยู่ตรงที่ หอยขมชอบน้ำนิ่งๆ :b20:
ไม่สามารถอยู่ได้เลยในน้ำที่ไหลตลอดเวลา
เช่น แม่น้ำหรือคลองที่ขนาดใหญ่ เป็นต้น :b8:


:b48:

ที่มาข้อมูล
http://www.fisheries.go.th/
http://www.coastalaqua.com/
http://www.thaiarcheep.com/
http://www.biogang.net/

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2014, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ขอบคุณภาพจาก www.biogang.net
ปูดำ.jpg
ปูดำ.jpg [ 110.35 KiB | เปิดดู 22238 ครั้ง ]
ปูทะเลหรือปูดำ

ชื่อภาษาอังกฤษ :
Black Crab, Giant mud crab

ชื่อภาษาไทย :
ปูดำ, ปูทะเล


ปูทะเล เป็นสัตว์น้ำกร่อย-น้ำเค็มอย่างหนึ่งที่รู้จักกันดีมานาน
ตามท้องถิ่นแต่ละแห่งปูทะเลอาจมีลักษณะ
เช่น สีสัน นิสัยแตกต่างไปบ้าง ทำให้มีชื่อเรียกต่างไป
ปูทะเลเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย
เพราะชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามันมีปูอยู่ชุกชุม
จึงได้รับการส่งเสริมให้ขยายพันธุ์กันอย่างจริงจัง
และเริ่มได้รับความนิยมในการซื้อไปปล่อยเพื่อทำบุญด้วย

รูปร่างที่เด่นชัดมีเพียงกระดองกลมรี รูปไข่
สีดำเข้ม หรือดำปนแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม
จุดเด่นอีกประการ คือ ตัวผู้มักจะมีก้ามโตกว่าตัวเมียอย่างชัดเจน
และก้ามก็ใหญ่โตกว่าปูอื่นๆ ตามท้องตลาดอย่างเห็นได้ชัด
ขอบกระดองมีหนามเป็นบางจุด เมื่อโตก็มีขนาดใหญ่ขึ้น
บางตัวมีขนาดใหญ่มากๆ อาจมีน้ำหนัก ๓ กิโลกรัมกว่า
ตัวที่ใหญ่มากๆ นั้นกระดองมีความกว้างมากกว่า ๒๔ เซนติเมตรก็เคยมี

การเริ่มนิยมปล่อยปูดำ อาจมาจากการที่ปูดำจะถูกจับมาขาย
แบบเป็นๆ มีชีวิตอยู่เท่านั้น โดยถูกมัดก้าม มัดขาไว้
เดินผ่านร้านขายปูก็จะเจอลูกตากลมๆ เล็กๆ ขยับไปมาดุกดิก
เพราะขยับแข้งขาไม่ได้ก็ขยับได้แต่ลูกตา
สบตาเข้าแล้วก็คงใจอ่อนกันบ้างล่ะค่ะ :b16:
กิโลกรัมละ ๓๐๐-๖๐๐ บาทก็เอ้า สู้ๆ :b32:


แหล่งที่อาศัย
พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแถบชายฝั่งของแอฟริกา,
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงออสเตรเลีย

ที่อยู่อาศัยของปูดำ มีอยู่ ๒ แหล่งใหญ่ๆ คือ
๑. ทะเล
๒. น้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำและ ป่าชายเลน
เช่น ป่าแสม ป่าโกงกาง ป่าจาก
เนื่องจากป่าชายเลนเป็นแหล่งขยายพันธุ์ของสัตว์ทะเลอยู่แล้ว


ปูดำอยู่ได้ทั้งในทะเล มีครีบช่วยพายน้ำ
และเมื่ออยู่ใกล้โคลนก็จะชอบหมกตัวจมโคลน
บางครั้งก็ขุดรูลงไปใต้โคลน
ซึ่งช่วยให้ปูดำสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานแม้น้ำท่วมไม่ถึง


อาหารการกิน
ปูทะเลเป็นสัตว์ออกหากินกลางคืน
โดยออกหากินหลังพระอาทิตย์ตกประมาณ ๑ ชั่วโมง
ใช้เวลาหากินไม่นานราวๆ ครึ่งชั่วโมงก็จะกลับเข้ารูหรือที่ซ่อน

อาหารที่พบว่าปูกิน ได้แก่ สัตว์น้ำตัวเล็กๆ
เช่น หอยฝาเดียว หอยสองฝา กุ้ง ปลา และปูด้วยกันเอง :b5:
โดยปูไม่ชอบกินอาหารที่เคลื่อนที่ได้เร็ว
อย่างกุ้ง ปลา จะชอบน้อยที่สุด ชอบกินอาหารที่อยู่นิ่งๆ มากกว่า

ซึ่งแหล่งอาหารของปูจะขึ้นอยู่กับวัยของปู
ตรงนี้เป็นสิ่งที่ผู้นำปูไปปล่อยน่าจะสังเกตไว้ค่ะ

ปูอ่อน-ปูวัยรุ่น (ขนาดเล็ก-กลาง) ชอบหากินที่น้ำกร่อย,
ป่าชายเลน, ปากแม่น้ำ อยู่ในทะเลก็ได้ค่ะ
แต่ถ้าลงป่าชายเลนจะเหมาะที่สุด :b1:
ปูโต (ขนาดใหญ่) หากินได้ทุกที่ ปล่อยลงทะเลได้เลย


:b39: ปูทะเลเวลาที่เอาไปปล่อย
เขาจะน่ารักมาก ( ความเห็นส่วนตัวค่ะ :b32: )
เขาหันหน้ามามองคนปล่อยเหมือนระวังตัว
แล้วก็ถอยหลังไปพลางขุดทรายขุดโคลนไปพลาง
พอจมลงไปทั้งตัวก็พ่นฟองอากาศปุดๆๆ แล้วก็หายไป :b32:
ใครยังไม่เคยปล่อย หาโอกาสไปปล่อยนะคะ :b16:


:b44:

ที่มาข้อมูล
http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/fish/pootale.pdf
http://th.wikipedia.org/wiki

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2014, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ขอบคุณภาพจาก http://bangkrod.blogspot.com
ปูนา.jpg
ปูนา.jpg [ 186.12 KiB | เปิดดู 22236 ครั้ง ]
ปูนา

ชื่อภาษาอังกฤษ :
Rice field Crab

ชื่อภาษาไทย :
ปูนา


ปูนา เป็นปูที่คงคุ้นเคยดีในท้องตลาด
แต่ที่ตัวเป็นๆ อาจจะได้เห็นเป็นบางท้องถิ่น
บางคนก็ซื้อปูนาที่เวลาถูกจับมาขายแบบยังมีชีวิต
เขาก็ร้อยปูนาเป็นพวงๆ ด้วยตอกไม้ไผ่มาก็มี
หรือใช้ไม้ไผ่สองอันประกบมาก็มี
เคยเห็นหลายท่านซื้อไปปล่อย

ในเมื่อคุ้นตากับปูนากันมาก็นาน
เราทำความรู้จักกับปูนากันเสียหน่อยดีไหมคะ :b32:


ปูนาเป็นปูน้ำจืดที่พบมีอยู่ทั่วไป
พบมากตามทุ่งนาและในที่ลุ่มของประเทศไทย
เป็นกลุ่มปูที่มีวิถีชีวิต มีระบบนิเวศน์และถิ่นที่อยู่อาศัย
แตกต่างจากปูน้ำจืดชนิดอื่นๆ เช่น ปูลำห้วย ปูน้ำตก
ปูนาจึงจัดเป็นปูที่มีครอบครัวใหญ่
เพราะยังแยกย่อยไปได้อีก
ตามถิ่นที่อยู่อาศัยหรือที่พบปูนาชนิดนั้นๆชุกชุม
ซึ่งชื่อของชนิดก็บ่งบอกที่อยู่ของพวกเขา
เช่น S. bangkokensis (พบมากที่ภาคกลาง-ภาคใต้)
maehongsonensis (พบที่เดียว คือ ที่ จ.แม่ฮ่องสอน)
S. denchaii (พบที่ จ.แพร่)
S. nani (พบที่ จ.น่าน)
S. dugasti (Esanthelphusa dugasti)
(พบกระจายทั่วไปที่ภาคอีสาน
ได้ชื่อว่าเป็น "มรดกดิน" ของอีสาน) เป็นต้น


แหล่งที่อาศัย
ปูนาชอบขุดรูอาศัยอยู่ตามทุ่งนา
คันนา บริเวณชายคลอง คันคู
และคันคลองชลประทานต่างๆ
โดยมีแหล่งอาหารและน้ำเป็นปัจจัยหลัก

ลักษณะและตำแหน่งของรูปูนา
จะแตกต่างกันตามสภาพของพื้นที่
ดินฟ้าอากาศและน้ำซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
บริเวณที่มีน้ำ ปูจะไปขุดรูในที่ๆ น้ำท่วมไม่ถึง
รูปูจะเอียงเล็กน้อยและไม่ลึกนัก
ปากรูจะอยู่เหนือน้ำ หรือต่ำกว่าระดับน้ำเล็กน้อย
เพื่อความสะดวกในการเข้าออก และจะได้ไม่ถูกน้ำท่วม

ปูจะขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นนามีความลึกประมาณ ๑ เมตร
ในฤดูแล้งช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
พื้นนาแห้ง ดินขาดน้ำ ระดับน้ำใต้ดินลึก
ปูจะขุดรูทำมุมกับแนวระดับลึกมาก
และจะลึกที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคม
พร้อมกับใช้ดินปิดปากรูเพื่อรักษาความชุ่มชื้นภายในรู
หรือไม่ก็อพยพจากท้องนาไปยังหนองน้ำใกล้เคียง
ในกรณีที่เกิดฝนตก เกิดอุทกภัย น้ำท่วมคันนา
ปูจะหลบอาศัยเกาะอยู่ตามกอหญ้าริมๆ น้ำ
โดยใช้ก้ามเกาะต้นหญ้าพยุงตัวลอยอยู่ในน้ำ


:b32: อย่าพาปูนาลงแม่น้ำเน้อ ว่ายน้ำไม่ไหว :b9:


อาหารการกิน
ปูนากินอาหารทุกชนิด
ตั้งแต่สารอินทรีย์ในดินจนกระทั่งพืช
หรือสัตว์ที่มีชีวิตและตายแล้ว
ด้วยเหตุนี้ปราชญ์ชาวบ้านในภาคอีสาน
จึงมีความเชื่ออย่างสนิทใจว่า
ปูนามีบทบาทสำคัญและมีส่วนช่วย
ทำให้ระบบนิเวศน์ในแผ่นดินอีสานเกิดความสมบูรณ์
เพราะปูนามีระบบย่อยอาหาร
ที่สามารถดูดซึมสารอินทรีย์จากดินได้

ดังนั้น ปูนาสามารถกินดิน
ที่มีสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยได้โดยตรง
สัตว์ที่เป็นอาหารของปูนาในธรรมชาติ
ได้แก่ ไรน้ำ ลูกน้ำ กุ้งฝอย ลูกหอย ปลาขนาดเล็ก
และตัวอ่อนของแมลงที่เจริญเติบโตในน้ำ
รวมทั้งปูด้วยกันที่มีขนาดเล็กหรือที่กำลังลอกคราบ

สำหรับพืชปูจะกินพืชที่มีลำตันอ่อน
เช่น ต้นข้าว หญ้าและวัชพืชน้ำต่างๆ
ปูนาส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืน


:b39: :b39:

ที่มาข้อมูล
http://nanasarakaset.blogspot.com/2012/ ... st_23.html
http://www.dailynews.co.th/Content/agriculture

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2014, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ขอบคุณภาพจาก http://www.fisheries.go.th
ปลาหมอ.jpg
ปลาหมอ.jpg [ 43.22 KiB | เปิดดู 22235 ครั้ง ]
ปลาหมอไทย

ชื่อภาษาอังกฤษ :
Climbing perch

ชื่อภาษาไทย :
ปลาหมอไทย (ทั่วไป), ปลาแข็ง,
ปลาเค็ง, ปลาสะเด็ด (ท้องถิ่น),
อีแกปูยู (ภาษายาวี)


ปลาหมอไทย เป็นปลาน้ำจืดที่มีอยู่ทั่วไปทุกท้องถิ่น
เป็นปลาที่ทรหดอดทนมาก ทนทานกว่าปลาน้ำจืดทั่วไปด้วยกัน
ด้วยลักษณะภายนอกที่มีทั้งเกล็ดที่แข็งมาก ครีบแข็ง คม
จัดอยู่ในพวกปลาที่มี "เกล็ดแข็งเหมือนกระดองเต่า" (testudineus)
และมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ สามารถหายใจได้แม้อยู่ในที่มีน้ำน้อย

ชื่อในภาษาอังกฤษของปลาหมอ คือ Climbing perch
มาจากนักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบปลาชนิดนี้
ตอนที่มันกำลังปีนต้นไม้อยู่ขณะที่ฝนตกหนัก
เขาจึงขนานนามปลาชนิดนี้ว่า ปลาเพิร์ชปีนได้


ปลาปีนต้นไม้ ? :b10:

ใช่แล้วค่ะ เพราะว่าปลาหมอมี ichy feet
ก็คือ สวนลางของกระดูกกระพุงแกมที่แยกอิสระ
ส่วนนี้เองเปนกระดูกแข็งสําหรับปนปายของปลาหมอ

แต่โดยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้ปีนต้นไม้หรอกค่ะ
ทว่าปีนคันนาเนี่ยแหล่ะน่าจะบ่อย :b32: :b32: :b32:
ฝนตกหนัก น้ำขึ้น น้ำปริ่มตลิ่งเมื่อไรก็ได้เวลาปีนเลยค่ะ
คล้ายๆกับปลาตื่นน้ำเลยเนอะ :b9:


เมื่อคิดจะปล่อยปลาหมอ :b11:

ก่อนจะไปรู้จักที่อยู่ที่กินของปลาหมอ ต้องถามก่อนว่า
เคยเห็นปลาหมอที่ถูกจับมาขายตามท้องตลาดกันไหมคะ
ถ้าเคยเห็น ก็คงจะทราบทันทีว่า ปลาหมอที่ถูกจับมาขายนั้น
ยังไม่ตาย (ถ้าตายแล้ว ขายไม่ได้เพราะไม่มีใครซื้อ)

และปลาหมอเป็นปลาที่ดิ้นแรงมาก สะบัดตัวแทบตลอดเวลา
ครีบของปลาหมอทั้งคมทั้งแข็ง
ดังนั้น หากจะซื้อปลาหมอไปปล่อย
ก็อย่าซื้อทิ้งไว้นานๆ นะคะ ซื้อแล้วรีบหาที่ปล่อยเสีย
เพราะว่า เขาอยู่ด้วยกันในภาชนะหรือในถุงก็ดิ้นใส่กันแทบตลอดเวลา
ทำให้แต่ละตัวเกิดบาดเจ็บได้เช่นกันค่ะ
อีกทั้งส่วนใหญ่เวลาซื้อปลาหมอ เขาจะไม่ค่อยใส่น้ำให้มากไป
เนื่องจากจะทำให้ปลายิ่งดิ้นแรงมากขึ้นไปอีก :b16:

ปัจจุบันราคาปลาหมอขนาดกลางๆ ทั่วไป
อยู่ที่ประมาณกิโลละ ๑๐๐-๑๓๐ บาท
โดยหนึ่งกิโลกรัมจะได้ปลาหมอราว ๔-๖ ตัวนะคะ

เอ้า..สู้ๆ ๆ :b4: :b4: :b32:


:b48: :b48:

แหล่งที่อาศัย
ปลาหมอไทยอาศัยอยูในแหลงน้ําจืดทั่วๆ ไป
ทั้งแหลงน้ำนิ่งและน้ำไหล ไม่ว่าจะเป็น
แมน้ํา ลําคลอง ทะเลสาบ ทะเลนอย หวย หนอง บึง
คูน้ำ รองสวน อางเก็บน้ำและปาพรุตางๆ
ระดับความลึก ตั้งแต่น้ำเฉาะแฉะไปจนถึง ๑-๒ เมตร

สามารถปรับตัวเจริญเติบโตเขากับสภาพแวดลอมได้ดี
ทั้งที่เปนน้ำกรอย ปาจากหรือที่ลุมดินเค็มชายฝงทะเล (ที่ไม่เค็มจัด)
และน้ำที่คอนขางเปนกรดจัด เชน ปาพรุ
ตลอดจนหมกตัวในโคลนตมไดเปนระยะเวลานานๆ
จึงเปนปลาที่มีความทนทานตอสภาพแวดลอมสูงมาก


:b46:

อาหารการกิน
ปลาหมอไทยเปนปลากินเนื้อ (carnivorous fish)
จึงเปนปลาผูลา (predator) กินสัตวน้ำที่มีขนาดเล็กกวา
กินอาหารทั้งผิวน้ำและกลางน้ำ แต่ก็สามารถกินเมล็ดขาว
ธัญพืช ปลวก ตัวออนแมลงน้ำ ตั๊กแตน กุงฝอย
หรือลูกปลาเล็กปลานอยที่มีชีวิตหรือตายแลวเปนอาหารด้วย


:b45: :b45:

ที่มาของข้อมูล
http://www.thailuxe.com/userfiles/download/Cichlids.pdf
http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.komchadluek.net/detail/20140207/178376.html

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2014, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ขอบคุณภาพจาก en.wikipedia
หอยแครง.jpg
หอยแครง.jpg [ 156.36 KiB | เปิดดู 22156 ครั้ง ]
หอยแครง

ชื่อภาษาอังกฤษ :
Blood cockle,blood clam

ชื่อภาษาไทย :
หอยแครง


หอยแครง เป็นสัตว์น้ำเค็มอีกชนิดหนึ่ง
ที่เวลาถูกนำมาจำหน่าย จะจำหน่ายตอนยังมีชีวิตอยู่
สนนราคาต่อกิโลกรัมไม่แพงมาก
ดังนั้นจึงอาจเป็นอีกทางเลือกของผู้ที่ชอบการซื้อสัตว์ไปปล่อยค่ะ :b1: :b8:

ก่อนจะปล่อยหอยแครง เราก็มาทำความรู้จัก
กับหอยชนิดนี้กันสักเล็กน้อยก่อนนะคะ
:b16:

หอยแครง เป็นหอยชนิดกาบคู่
คือ มีเปลือกสองฝาประกบกัน
อาศัยอยู่ในเขตบริเวณชายฝั่งทะเลที่ตื้นๆ
ซึ่งมีลักษณะดินหรือทรายเป็นตมหรือเลนสักหน่อย
สังเกตได้ว่า ในตัวหอยแครงมักจะมีโคลนหรือเม็ดทรายอยู่

เป็นสัตว์น้ำเค็มที่พบกระจายทั่วไปในแถบอินโด-แปซิฟิค
นั่นคือ ทั้งในเขตมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิคนั่นเอง
อาทิเช่นในประเทศไทย,ประเทศออสเตรเลีย,
โพลีนีเซียและในประเทศญ๊่ปุ่นบางพื้นที่

มีการสันนิษฐานว่า คำว่า "แครง" หรือ "คราง"
นั้นมาจากภาษาชวา-มลายู
ที่เรียกหอยจำพวกหอยแครงและหอยคราง
ว่า "เคอรัง" หรือ "ครัง" (Kerang, Krang)
จึงเพี้ยนเป็นแครงกับครางในที่สุด*
(* http://th.wikipedia.org/wiki/หอยแครง)

แต่ก็อย่าสับสน "หอยแครง" กับ "หอยคราง" นะคะ
แม้หน้าตาเหมือนกันมากแต่หอยแครงตัวเล็ก
ส่วนหอยครางตัวใหญ่กว่ามากค่ะ

ประเทศไทยเราจะมีหอยแครงชุกชุม
ทั้งแบบธรรมชาติและการเพาะเลี้ยง
แถบจังหวัดสมุทรสงคราม, เพชรบุรี,
สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช,
ภูเก็ต, สตูล และปัตตานี


รู้ไหม...หอยแครงเดินได้นะ :b9:

หอยแครงที่พบในภูมิภาคเรา มี ๒ ชนิด
คือ หอยเดิน กับ หอยนิ่ง
หอยเดินนั้นมีลักษณะตัวจะออกเป็นวงรี แบนๆ
เป็นหอยที่ไม่อยู่นิ่งกับที่ จะเดินไปเรื่อย
เป็นหอยแถบตะวันออก(สมุทรสงคราม, เพชรบุรี)
ถ้าเป็นหอยนิ่งก็จะอยู่นิ่งไม่ขยับไปไหน เป็นหอยทางแถบภาคใต้
(เช่น สุราษฏร์ธานี, มาเลเซีย)


:b39:

แหล่งที่อยู่อาศัย
หอยแครงโดยธรรมชาติชอบฝังตัวอยู่ในดิน
ตามพื้นที่ชายฝั่งทะเล ในช่วงบริเวณปากแม่น้ำหรืออ่าว

และข้อสำคัญคือ พื้นที่เหล่านี้เป็นแหล่งที่มีหอยแครงเกิดอยู่แล้วในธรรมชาติ

หากต้องการนำหอยไปปล่อย ดีที่สุดก็เป็นหาดโคลนเรียบ
เป็นอ่าวที่บังคลื่นลมได้ดี
กระแสน้ำไม่ไหลแรงเกินไป

ดินที่ชอบเป็นดินเลนหรือดินโคลนละเอียด
หรือดินเหนียวปนโคลนมีความหนาพอสมควร
ไม่ควรมีกลิ่นเหม็น เช่น กลิ่นจากการเน่าสลายของเศษใบไม้จากป่าชายเลน
ช่วงความลึกของน้ำในแหล่งเลี้ยงควรลึกประมาณ ๐.๕-๑ เมตร (ระดับทะเลปานกลาง)
ทั้งนี้ไม่ควรให้หอยมีโอกาสตากแดดอยู่ในที่แห้ง
(เวลาตอนน้ำลงที่ต่ำสุด ทำให้หอยอยู่บนบกนานเกินกว่า ๒-๓ ชั่วโมง)

และหอยแครงมีศัตรูที่น่ากลัวก็คือ ปลาดาว :b5:
กับหอยอื่นๆบางชนิด เช่น หอยหมู หอยตะกาย หอยเจาะ
( ฮานาโกะไม่รู้จักนะ :b6: )
นอกจากนี้อุปสรรคในการทำมาหากินของหอยแครงก็คือ พวกสาหร่าย
ซึ่งถ้าบริเวณไหนที่สาหร่ายขึ้นเยอะๆ จะทำให้หอยไม่สามารถฝังตัวลงดินได้ค่ะ


จากข้อมูลเบื้องต้นทำให้ทราบว่า
การปล่อยลงน้ำทะเลเลย หอยน่าจะอยู่ไม่ไหว
ดังนั้น สรุปจำง่ายๆ สั้นๆ ก็คือ "หาดหรือป่าชายเลน"
ใครที่สะดวก จะลองหาโอกาสปล่อยก็ขอโมทนานะคะ
:b16: :b8:

ใครอยากเห็นหอยแครงตอนเดินก็ต้องเอาไปปล่อยดูค่ะ
พอลงน้ำลงโคลน หอยมันก็งงๆ สักครู่
แล้วก็จะมีบางตัวกล้าๆ ห้าวๆ เดินลุยน้ำก่อนเพื่อนล่ะค่ะ
:b32: :b32:

:b44: :b44:

ที่มาข้อมูล
http://www.xn--12ca3d5biba7bxo.com/2012 ... _7751.html
http://th.wikipedia.org/
http://en.wikipedia.org/wiki/Blood_cockle
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id ... 8&gblog=35

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2015, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว




mongoose.jpg
mongoose.jpg [ 164.01 KiB | เปิดดู 21097 ครั้ง ]
พังพอน

ชื่อภาษาอังกฤษ :
Mongoose

ชื่อภาษาไทย :
พังพอน


"พังพอน"มีรูปร่างโดยรวมเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีลำตัวเพรียวยาว
ช่วงขาสั้นแต่แข็งแรง มีเล็บที่แข็งแรงและแหลมคม หางยาว
ใบหูเล็ก ส่วนใบหน้าแหลม ในปากมีฟันแหลมคมประมาณ ๓๓-๓๔ ซี่
ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกับวงศ์ชะมดและอีเห็น มีลำตัวยาวตั้งแต่ ๔๓ เซนติเมตร
น้ำหนัก ๓๒๐ กรัม จนถึงขนาดตัว ๑ เมตร น้ำหนักกว่า ๕ กิโลกรัม
ออกลูกครั้งละ ๒-๔ ตัว มีอายุขัยประมาณ ๑๐ ปี
มีรายงานว่าพังพอนในสถานที่เลี้ยงบางตัวมีอายุยืนถึง ๑๗ ปี

พังพอนส่วนใหญ่มีขนที่หยาบสีน้ำตาลหรือสีเทา
ในบางชนิดจะเป็นขนสีอ่อนและมีลายปล้องสีคล้ำ
พาดเป็นลายขวางหรือลายตั้งเป็นทางยาว
เป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไว สามารถพองขน
ให้ตัวมีขนาดใหญ่ขึ้นได้เพื่อขู่ศัตรู และมีภูมิคุ้มกันพิษงูอยู่ในตัว
จึงสามารถสู้กับงูพิษได้เป็นอย่างดี ด้วยการหลอกล่อให้งูเหนื่อย :b5:


แหล่งที่อาศัย

พบกระจายทั่วไปในอิหร่าน อินเดีย
อินโดจีน ไทย มาเลเซีย และชวา คือพบตั้งแต่ทวีปแอฟริกา
จนถึงตะวันออกกลาง, เอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับในประเทศไทยพบ ๒ ชนิด คือ พังพอนเล็กหรือพังพอนธรรมดา
กับพังพอนกินปู หรือพังพอนยักษ์


มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง ครอบครัว หรือบางครั้งอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว
ในหลากหลายสภาพภูมิประเทศ ตั้งแต่ป่าดิบทึบ, ทุ่งหญ้า, ป่าละเมาะ,
ทะเลทราย จนถึงนาข้าว หรือพื้นที่เกษตรกรรมในชุมชนของมนุษย์


อาหารการกิน

พังพอนมักหากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารได้หลากหลาย
ตั้งแต่ ผลไม้, ลูกไม้, แมลง, สัตว์ทั้งมีกระดูกสันหลัง
และไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กต่างๆ
รวมถึง แมงมุม, แมงป่อง และงูหรือกิ้งก่าอีกด้วย


ดังนั้นปล่อยเจ้าพังพอน ก็พาไปปล่อยเข้าป่าล่ะค่ะ
ง่ายๆเลยป่าหญ้าสูงๆ ก็ได้ เขาช่วยตัวเขาเองได้
วิ่งปรู๊ดเดียวเข้าป่าไปเลยล่ะ :b1:

แต่ที่ต้องระวังเวลาปล่อย คือ พังพอนอาจจะกัดค่ะ
ฟันคมแข็งแรงมากเสียด้วย :b11:


รูปภาพ

อาจจะแปลกใจ หายจากกระทู้ปูปลาเต่าฯลฯไปนาน
ฮานาโกะกลับมาต่อด้วยสัตว์ที่คงไม่ค่อยมีใครปล่อยอย่างพังพอน
เพราะก็คงมีน้อยคนจะไปจับเจ้าพังพอนมา :b12:
แต่มันก็เกิดขึ้นได้นะ ฮานาโกะก็ยังเคยเจอเจ้าพังพอนในตลาด
ถามเขา เขาบอกว่า คนที่จับมาไม่ได้ตั้งใจจับพังพอนแต่จะจับงู
บังเอิญเจ้าพังพอนเห็นงูกระมังเลยออกมาจึงถูกจับได้
แบบว่า บางทีสัตว์อะไรที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก ถูกมัดถูกจับจวนจะตาย
ถ้าอยู่ในวิสัยที่จะช่วยเหลือได้ ก็ช่วยได้ทั้งนั้นล่ะใช่ไหมคะ
เผื่อใครเจอเจ้าตัวเล็ก (แต่เล็กพริกขี้หนู) อย่างเจ้าพังพอนในตลาดบ้างค่ะ
เพื่อนถูกมัดขามัดแขนแน่น เมื่อยแย่แล้ว ทำตาบ๊องแบ๊วอยู่แบบในภาพค่ะ :b12:
สบตาเข้าล่ะมีใจอ่อนบ้างแน่เลย :b32:

พิธีกรรายการเริ่มตัดเข้าสู่โหมด "สัตว์ป่าหน้าไม่คุ้น" :b32: :b32:
เปลี่ยนบรรยากาศกันบ้างนะคะ พวกปูปลาเต่านี่ก็คุ้นกันดีอยู่แล้ว :b9:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2015, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

กบ

ชื่อภาษาอังกฤษ :
Frog

ชื่อภาษาไทย :
กบ


ถึงแม้ว่าจริงๆ "กบ" จะมีหลายสายพันธุ์นะคะ
แต่ในกระทู้นี้เราจะจำกัดไว้แต่เพียงกบที่นิยมในตลาดทั่วไป
กบท้องถิ่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรา
ก็พวกกบนานี่เองค่ะ โดยมีที่อยู่อาศัยหลัก
คือ ตามที่ดินมีน้ำชุ่ม มีอาหารกินพอควร
มีที่หลบภัย ก็คือ ไม่แคล้ว "ทุ่งนา"
(นานี้อาศัยได้อยู่กินทั้งคนและสัตว์เลยเนอะ :b11: )

ลักษณะผิวของกบโดยส่วนใหญ่ ด้านหลังมีสีน้ำตาลจุดดำ
ผิวหนังขรุขระมีรอยย่น ที่ริมฝีปากมีแถบดำ
ใต้คางมีจุดดำ หรือแถบลายดำ เมื่อโตเต็มที่
มีน้ำหนัก ๒๐๐-๔๐๐ กรัม (ไม่น้อยเลย :b14: )


กบนาตัวเมีย มีขนาดโตกว่าตัวผู้
ตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ท้องจะมีลักษณะอูม
เคลื่อนไหวช้าและข้างลำตัวจะมีตุ่ม
เมื่อคลำดูมีลักษณะ สากมือ ตุ่มที่ด้านข้างลำตัว
แสดงถึงความพร้อมของตัวเมีย

กบนาตัวผู้ มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย
มีน้ำหนักประมาณ ๑๕๐-๒๕๐ กรัม
เมื่อโตเต็มที่และพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะมองเห็นถุงเสียง
เป็นรอยย่นสีดำที่ใต้คาง ถุงเสียงเกิดจากการที่กบนาตัวผู้
ส่งเสียงร้องเรียกตัวเมียในช่วงฤดูผสมพันธุ์

ฤดูผสมพันธุ์อยู่ที่ระหว่างเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนกันยายน
เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุได้ ๑ ปี
วางไข่ครั้งละ ๑๕๐๐-๓๐๐๐ ฟองต่อครั้ง
ระยะการฟักไข่กลายเป็นลูกอ๊อดใช้เวลา ๒๔-๓๖ ชั่วโมง
ลูกอ๊อดพัฒนาไปเป็นลูกกบใช้เวลา ๒๘-๔๕ วัน


รูปภาพ

กบในภาพนี้ผิวสีเหลืองทองสวยงาม เขาบอกว่าเป็นลักษณะของกบ
ที่เลี้ยงในบ่อดินค่ะ ส่วนพวกกบบ่อปูนซีเมนต์ ผิวกระดำกระด่าง :b6: :b6:


แหล่งที่อยู่อาศัย

กบชอบอยู่ที่ดินมีความชื้นสูง ไม่จำกัดแต่ทุ่งนา
ที่ลุ่ม หรือแม้แต่ใกล้อ่างน้ำ แอ่งน้ำเล็กๆก็อยู่ได้
กบจึงเป็นสัตว์ที่แพร่หลายอยู่ทั่วไป


อาหารการกิน

กบชอบกินอะไรก็รู้กันมานานว่า กบกินแมลงนะคะ
แต่ธรรมชาติของกบ เขาก็หากินตามธรรมชาติอยู่บนดิน
อาหารของกบก็ยังมีอื่นๆอีก ได้แก่ ปลวก ไส้เดือน จิ้งหรีด
แล้วก็พวกลูกสัตว์น้ำตัวเล็กๆ


ปล่อยกบทำไม ปล่อยไปไหนดี?

การปล่อยสัตว์เพื่อให้ชีวิตแก่เขา
เราก็ต้องเน้นธรรมชาติของสัตว์ที่เราจะปล่อยเป็นหลักสำคัญ
หากผู้ที่มีน้ำใจแต่ไม่สามารถจะปล่อยเขาไปในที่ที่เขาอาศัยอยู่ได้จริง
ก็อาจต้องทำใจ ส่วนคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ปล่อยสัตว์อะไรก็ได้
(เช่นคนอยู่เมืองนอกอย่างฮานาโกะจัง :b32: ..เมืองนอกกรุง)
ก็ถ้าเจอสัตว์อะไรก็สามารถปล่อยได้ทุกอย่างเลย

ดังเช่น กรณีของน้องกบ ก็ควรปล่อยตามห้วย หนอง บึง
ดินชุ่มน้ำ แอ่ง ในสวน แต่ไม่ควรปล่อยลงคลองนะคะ
เพราะกบไม่ได้ใช้ชีวิตในน้ำตลอดเวลา
แล้วน้ำที่เชี่ยว แรง รวมถึงลึกเกินไปก็เป็นอันตรายด้วย


น้องกบอยู่ในบ่อเลี้ยงมาปล่อยแล้วจะหาอาหารเป็นหรือเปล่า ?

ไม่ต้องห่วงจ้า สัตว์เขาช่วยเหลือตัวเขาเองได้ค่ะ :b1: :b12:
และฟาร์มเลี้ยงกบส่วนใหญ่ก็นิยมให้กบอยู่ในสภาพกึ่งธรรมชาติมากขึ้นด้วยค่ะ
ไม่ได้อยู่แต่ในบ่อหรือในห่วงยางรถยนต์แล้วล่ะ
เพราะการอยู่แออัดกันกบจะกัดกันได้เหมือนกันค่ะ :b5:
ช่วงนี้แถวบ้านฮานาโกะจำหน่ายกบอยู่ที่ กก. ละ ๑๐๐ บาท
ก็ได้ ๔-๖ ตัวโดยประมาณค่ะ กระโดดกันปุ้งๆ ปั้งๆ


หลายวันก่อนฝนตกหนักมากๆ ฮานาโกะเจอคุณลุงที่มาส่งของ
ก็ถามไปแถวบ้านตอนกลางวันฝนตกมากไหมคะ
คุณลุงเงียบไปแป๊บนึงตอบกลับมา

"ตกหนักมากหนู อึ่งร้องอะคิดดู"

:b32: :b32:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร