วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 05:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2008, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




208712.jpg
208712.jpg [ 38.34 KiB | เปิดดู 3751 ครั้ง ]
หัวข้อกระทู้นี้สืบเนื่องมาจากบอร์ดเก่าที่โพสต์ข้อความค้างไว้ :b41: ลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18378

จึงมาลงต่อที่นี่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 10:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2008, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความต่อจากบอร์ดเก่า

คห.นี้หากคุณฌานและคุณ natdanai พิจารณาคำอธิบายดีดี จะเข้าใจการจัดองค์มรรคทั้ง 8

เข้าในสิกขาสามเพราะว่า....



ไตรสิกขา ก้าวจากการเกี่ยวข้องกับบุคคลในฐานะเวทีสัมพันธ์ขององค์ธรรมต่างๆ

ตามแบบของมรรค

ออกมาสู่การเกี่ยวข้องกับบุคคล ในฐานะมนุษย์ที่อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมต่างๆ

ในสังคม

หรือก้าวจากจุดเน้น ที่ภายในจิตใจของบุคคลออกมาสู่จุดเน้นด้านภายนอก เช่น

แทนที่จะเน้นในแง่ว่า

เมื่อเห็นถูกต้องแล้ว ก็จะคิดถูกต้อง แล้วจะพูดจะทำก็พลอยดีงามถูกต้อง

กลับหันมาจับที่ด้านนอกว่า ความดี ความถูกต้องที่จะต้องทำต้องพูดมีอะไรบ้าง

จะต้องพูดต้องทำต่อใครๆ อย่างไรในฐานะที่เขาอยู่ร่วมกับคนอื่นๆกำหนดการแสดงออก

ภายนอก ให้สะท้อนกลับเข้าไปมีอิทธิพลต่อความคิดความเห็นภายในจิตใจ เช่น

วางระเบียบ

กฎเกณฑ์ข้อฝึกหัดขึ้น ทำให้บุคคลผู้นั้นรู้จักบังคับควบคุมตนเอง

รู้จักคิดรู้จักพิจารณาเกี่ยวกับพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง

เป็นการเริ่มจากความสัมพันธ์ทางสังคมเข้าไปหาในตัวบุคคล

และจุดนี้แหละ คือ การก้าวเข้าสู่ความหมายของสิกขาที่ว่าเป็นการฝึกอบรม


โดยนัยนี้

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นศีล

การฝึกฝนปฏิบัติให้สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะนั้นเกิดมีเพิ่มพูนขึ้น

(ในแนวทางที่จะทำให้แก้ปัญหาหรือดับทุกข์ได้) เป็นอธิศีลสิกขา


สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นพวกสมาธิ

การฝึกปรือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธินั้น (ในแนวทางแก้ปัญหาหรือให้ดับทุกข์ได้)

เป็นอธิจิตตสิกขา


สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เป็นพวกปัญญา

การฝึกปรือสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะนั้น (ในแนวทางให้ดับทุกข์หรือแก้ปัญหาได้)

เป็นอธิปัญญาสิกขา

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


ดังนั้น ไตรสิกขา

จึงก้าวจากความสัมพันธ์ ที่เป็นไปตามลำดับระหว่างองค์มรรคด้วยกันเองออกมาสู่การฝึกคนเป็นขั้น

เป็นตอน

จากส่วนที่หยาบไปหาส่วนที่ละเอียด หรือจากส่วนที่เป็นรูปร่างชัดเจนเห็นง่าย จัดการง่าย

ไปสู่สิ่งที่ประณีตลึกซึ้งมองไม่เห็น ยากที่จะควบคุมจัดการ คือ

เริ่มด้วยการฝึกกาย วาจา เข้าไปหาจิตใจ และปัญญา

และดังนั้น จึงก้าวจากระบบการทำหน้าที่สัมพันธ์กันตอลดเวลาทุกๆขณะ ขององค์มรรค

ภายในตัวบุคคล ออกมาสู่กระบวนการฝึกอบรมช่วงกว้าง

ซึ่งจัดแบ่งเป็นขั้นตอนเรียงลำดับตามบทบาทขององค์ประกอบประเภทที่ทำหน้าที่ออกหน้าเด่นชัด

ในขั้นตอนนั้นๆ โดยเริ่มจากศีล ซึ่งมุ่งฝึกอบรมการแสดงออกทางกายวาจาที่เป็นขั้นภายนอก

เกี่ยวกับสังคม เป็นขั้นหยาบ

แล้วก้าวต่อไปสู่สมาธิ ฝึกอบรมจิตใจที่อยู่ภายในและละเอียดกว่าเพื่อสนับสนุนการใช้

และการฝึกปรือปัญญาให้ใช้งานอย่างได้ผลดีที่สุดต่อไป


เป็นอันว่า

ไตรสิกขาเป็นระบบการฝึกอบรมที่เป็นเชิงปฏิบัติเต็มที่ จัดไว้เพื่อฝึกคนในฐานะที่อยู่ในสังคม

หรือใช้เป็นระบบการฝึกคนของสังคม

หรือฝึกคนในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง จัดแบ่งขั้นตอน เป็นช่วงกว้างๆ และเรียงลำดับ

โดยถือหลักสิ่งที่จะต้องปฏิบัติเด่นชัดเป็นพิเศษในช่วงนั้นๆ

มีข้อควรย้ำว่าไม่ว่า ผู้ศึกษาจะกำลังฝึกอบรมอยู่ใช่วงตอนใด ของไตรสิกขา

จะเป็นขั้นศีลก็ตาม ขั้นสมาธิก็ตาม ขั้นปัญญาก็ตาม

การทำหน้าที่ขององค์มรรค หรือการปฏิบัติองค์มรรคทุกข้อ ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ ถึงสัมมาสมาธิ

ย่อมดำเนินอยู่เรื่อยไปตลอดเวลาทุกช่วงตอน

การกล่าวออกมาว่าเป็นขั้นศีล ขั้นสมาธิ หรือขั้นปัญญา เป็นเพียงการบอกแจ้งว่าในตอนนั้น

กำลังเร่งรัดให้ระดมการฝึกอบรมองค์ประกอบประเภทนั้นให้มากเป็นพิเศษ


หรือว่า ตอนนั้น องค์ประกอบประเภทนั้น กำลังถูกเรียกออกมาใช้งานมีบทบาทโดดเด่นออกหน้า

องค์ประกอบประเภทอื่น

มองดูในแงหนึ่ง เป็นเหมือนว่า มีระบบการฝึก 2 ระบบ คือ ระบบฝึกจากข้างนอกและระบบฝึก

จากข้างใน ทั้งสองระบบนี้กำลังทำงานประสานขานรับกันด้วยดี

และพระพุทธศาสนาก็ยอมรับความจริงของการฝึกอบรมทั้งสองระบบนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 ธ.ค. 2009, 19:05, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2008, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณครับ :b20:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2008, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




18ccd478e2ec218218d2dc7b7fb6edf0_raw.gif
18ccd478e2ec218218d2dc7b7fb6edf0_raw.gif [ 17.69 KiB | เปิดดู 3749 ครั้ง ]
การจัดขั้นตอนของไตรสิกขา สัมพันธ์กับองค์มรรคอย่างไร

อาจเห็นชัดขึ้นได้ด้วยข้ออุปมา เปรียบเหมือนว่า

ชายคนหนึ่งขับรถยนต์เดินทางไกลอันยาวนานจากหมู่บ้านชนบทที่ราบชายป่าแห่งหนึ่ง

ผ่านเทือกเขาใหญ่สลับซับซ้อน ไปสู่จุดหมายในใจกลางมหานครที่คับคั่งจอแจ

ทางแบ่งได้เป็น 3 ช่วงตอน คือ

ช่วงแรก เป็นทางในชนบทยาวไกลแต่เป็นที่ราบ

ช่วงกลาง อยู่บนเทือกเขา ทางลัดเลาะเลียบไปตามไหล่เขาและหุบเหว มีที่คดเคี้ยวสูงชันมากมาย

น่าหวาดเสียวหวั่นกลัวอันตราย

ช่วงที่สาม เป็นทางในมหานคร เต็มไปด้วยถนนหนทางตรอกซอกซอยน้อยใหญ่ ตึกรามคับคั่ง

ผู้คนพลุกพล่านจอแจน่าหลงทาง ผู้ไม่ชำนาญยากที่จะค้นหาที่หมาย



ชายผู้นี้ ไม่เคยขับรถมาก่อน

เขาเริ่มฝึกด้วยการลงมือเดินทางจริงโดยหวังว่าทางยาวไกลมาก

กว่าจะถึงที่หมายเขาก็จะขับรถได้ชำนาญ

สำหรับทางช่วงที่หนึ่ง

ชายผู้นี้ ต้องฝึกมือเท้าใช้กลไกอุปกรณ์ การขับรถให้ชำนาญ ระมัดระวังหลบหลีกพื้นถนน

ที่ไม่แน่นและหลุมบ่อต่างๆ จุดรวมงานของเขาในช่วงนี้มีอยู่เพียงระวังรักษาปกติ คือคุมให้การ

เคลื่อนไหวของรถเป็นไปด้วยดี

ถ้าถนนราบเรียบดี เขาเองก็ถนัดใช้อุปกรณ์ต่างๆดีแล้ว รถก็คงแล่นตลอดไปโดยสะดวกสบาย


สำหรับทางช่วงที่สอง

ชายผู้นั้น ต้องใช้กำลังแรงและความระมัดระวังมาก

คุมรถตามที่โค้งเลี้ยวไหล่เขาและเลียบของหุบเหว ต้องคอยผ่อนและเร่งรถเวลาขึ้นลงทางที่ลาดชัน

และทรงตัวให้ดี จุดรวมงานในช่วงนี้ของเขาคือ ความเข้มแข็ง การบังคับควบคุม

ความมีสติตื่นตัวเต็มที่ตลอดเวลา และมีความแน่วแน่


ถามว่า

ตอนนี้เขาไม่ต้องระวังการใช้กลไกอุปกรณ์ และคอยหลบหลุมบ่อและพื้นถนนที่ไม่แน่นหรือ

ตอบว่า

ความระมัดระวังในเรื่องเหล่านี้ ต้องมีอยู่ด้วยแล้วในตัว และยิ่งสำคัญกว่าช่วงที่หนึ่งด้วยซ้ำไป

แต่ถึงตอนนี้ เรื่องเหล่านี้ไม่ต้องพูดถึงแล้ว เพราะถ้าถึงตอนนี้เขายังใช้กลไกอุปกรณ์ไม่ชำนาญ

หรือถนนขรุขระเป็นหลุมบ่อไม่แน่น

เขาคงจะขับรถทุลักทุเลเต็มที แทบไปไม่ไหว หรืออาจต้องเลิกล้มการเดินทางต่อไปเสียก็ได้

สิ่งที่เขาควรจะใส่ใจพิเศษในตอนนี้ก็คือ ขอบถนน เส้นแนว โค้งเลี้ยวและความเอียงเทลาดชัน

ต่างหาก


นอกจากนี้แล้ว การเดินทางช่วงที่สอง

จะผ่านไปได้หรือไม่ได้ ยังอาจมีเหตุอื่นอีก เช่น เมื่อเขาผ่านช่วงที่หนึ่งมาถึงช่วงที่สอง

พอเห็นลักษณะของทางช่วงที่สองแล้ว เกิดความหวาดหวั่น ใจไม่สู้ อาจหยุดเลิกอยู่แค่นั้นหรือหัน

หลังกลับ หรือขับขึ้นมาแล้วแต่พลาดตกเหวเสียในระหว่าง

(เหมือนผู้บำเพ็ญสมาธิเสียจริต หรือ ปฏิบัติผิดเขว ออกนอกทางไป)

หรือติดใจทัศนียภาพอันสวยงาม ณ จุดต่างๆเลยหยุดจอดรถลงชื่นชมเพลินอยู่ ณ ที่นั่นเอง

(เหมือนผู้ติดใจฌานสมาบัติ เป็นต้น)


สำหรับทางช่วงที่สองสาม

ถนนหนทางตรอกซอกซอย ทางแยก อาคารสถานที่ สิ่งประดับประดา เครื่องหมาย

สัญญาณ แผ่นป้ายบอกถนน ซอยสถานที่ ยานพาหนะอื่นๆและผู้คนสัญจรมากมายลานตา

ไปหมด

ชายผู้นั้น จะต้องตาไว และรู้เข้าใจเครื่องหมายสัญญาณต่างๆ

อ่านข้อความที่บอกตำแหน่งแห่งที่เป็นได้ และรู้จักกำหนดที่เลี้ยวแยกเป็นต้นได้ดี

มีเชาวน์มีไหวพริบตัดสินใจได้รวดเร็วแม่นยำ จุดรวมงานของเขาในช่วงนี้คือ การไม่หลง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 10:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2008, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




7g9kl.gif
7g9kl.gif [ 4.27 KiB | เปิดดู 3748 ครั้ง ]
ทางช่วงที่หนึ่ง บนที่ราบ

ซึ่งเน้นการระวังรักษาการเคลื่อนไหวให้ปกติ เทียบได้กับศีล

ทางช่วงที่สอง บนเทือกเขา

ซึ่งเน้นความเข้มแข็งบังคับควบคุมตัวแน่วแน่ เทียบได้กับสมาธิ

ทางที่ช่วงที่สาม ในมหานคร

ซึ่งเน้นความรู้ไวไม่หลง เทียบได้กับปัญญา


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


จะเห็นว่าแม้ทุกช่วงจะเน้นต่างกัน แต่ก็มีองค์ประกอบทั่วไปของทางเหมือนๆกันโดยตลอด

นี้เป็นการมองอย่างกว้างที่สุด เพื่อให้เห็นภาพรวม

ส่วนในการฝึกอบรม หรือปฏิบัติจริง

ลำดับขั้นตอนอย่างนี้ ดำเนินไปได้เรื่อยๆ เหมือนเป็นขั้นตอนย่อยซ้อนอยู่ในขั้นตอนใหญ่

คล้ายกับทางหลวงสายยาวที่มีช่วงทางราบเรียบ ช่วงโค้งชัน ช่วงซับซ้อน ช่วงเรียบ

ช่วงโค้งชัน ช่วงซับ ซ้อน ฯลฯ ย่อยๆซ้อนอยู่ในระหว่าง และความเป็นไปเช่นนี้

ก็เป็นข้อยืนยันถึงการประสานขานรับกันระหว่างระบบการฝึกจากข้างนอกของไตรสิกขา

กับการทำหน้าที่แห่งองค์ธรรมภายในของมรรค คือ เมื่อประพฤติศีล ใจก็มีสมาธิ

เมื่อใจมีสมาธิ การคิดก็ได้ปัญญา

พอได้ปัญญา ก็กลายเป็นสัมมาทิฏฐิองค์แรกของมรรค

สัมมาทิฏฐิก็ส่งทอดแก่สัมมาสังกัปปะ

สัมมาสังกัปปะก็นำส่งแก่สัมมาวายามะ สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะตามหลักความสัมพันธ์

ระหว่างมรรค

กลายเป็นการช่วยให้เกิดศีลแล้วสืบทอดต่อๆกันไปอีก พร้อมกับทำให้คุณภาพทั้งของการฝึกอบรม

และ ทั้งของธรรมทั้งหลายประณีตเข้มแข็งยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 10:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณในธรรมกถาครับ
เข้าใจยากหน่อย :b23: :b6:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร