วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 00:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2008, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิมี ๒ ประเภท คือ

๑. สมถสมาธิ
๒. วิปัสสนาขณิกสมาธิ

สมถสมาธิ ได้แก่ อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ เพ่งอยู่แต่อารมณืบัญญัติอย่างเดียวโดยไม่ให้ย้ายอารมณ์ ถ้าย้ายไปก็เสียสมาธิ ส่วน วิปัสสนาขณิกสมาธิ นั้นมีอารมณ์เป็นปรมัตถ์รูป,นาม ตั้งสติกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง อาการต่างๆเช่น การเห็น การได้ยิน การเจ็บ การปวด การคิด การนึกเป็นต้น อารมณ์ใดปรากฏปรากฏชัดเจน ก็ตั้งสติกำหนดอารมณ์นั้นจนได้สมาธิชั่วขณะหนึ่ง สมาธิชั่วขณะนี้แหละเรียกว่า ขณิกสมาธิ

หมายความว่า ขณิกสมาธินี้ใจสงบชั่วครั้งชั่วคราว แต่สมาธิกำลังแก่กล้าเข้าก็สามารถบรรลุถึงโลกุตตรอัปปนาสมาธิได้ คือถึงมรรค,ผล,นิพพานได้ อุปมาเหมือนกับเม็ดงาธรรมดา เม็ดงานี้ขนาดเล็กมาก มีน้ำมันน้อยยังไม่พอใช้ แต่ว่าหลายเม็ดรวมกันแล้วก็ได้น้ำมันมาก ข้อนี้ฉันใด วิปัสสนาขณิกสมาธิก็ฉันนั้น โยคีบุคคลมีจิตใจไปถึงที่ไหน ก็ตั้งสติกำหนดที่นั้น ได้ขณิกสมาธิเกิดขึ้นมาทันที ไม่เรียกว่าใจฟุ้งซ่าน บางคนเข้าใจว่า วิปัสสนานี้ต้องตั้งสติกำหนดเพ่งอารมณ์อยู่อย่างเดียว ใจก็สงบมีสมาธิดี เมื่อมีอารมณ์อื่นเช่น การเห็น การได้ยิน การเจ็บ การปวด การคิด การนึก เป็นต้น แซกเข้ามาก็ไม่ยอมกำหนดเพราะเกรงว่า ถ้ากำหนดตาม ใจจะฟุ้งซ่านเสียสมาธิ การเข้าใจอย่างนี้เป็นการเข้าใจผิด เพราะสมาธินี้เป็นสมถสมาธิ แสดงว่าผู้นั้นมิได้เข้าใจในวิปัสสนาขณิกสมาธิเลย

ดังนั้น ท่านมหาธัมมปาลเถระชาวลังกาทวีป แสดงไว้ในวิสุทธิมัคคมหาฎีกาว่า -

ขณิกขจิตฺเตกคฺคตาติ ขณมตฺตฐิติโก สมาธิ โส หิ ปิ อารมฺมณ นิรนฺตรํ เอกากาเรน ปวตฺตมาโน ปฏิปกฺเขน อนฺภิภูโต วิย จิตฺตํ นิจฺจลํ ฐเปติ.

วิปัสสนาจิตสงบตั้งแต่อยู่ชั่วขณะหนึ่งชื่อว่า ขณิกสมาธิ หมายความว่า ไม่ใช่ใจสงบได้ด้วยอาศัยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิฝ่ายเดียว วิปัสสนาขณิกสมาธิก็ให้ใจสงบตั้งอยู่ได้เหมือนกัน ขณิกสมาธิมีกำลังมากเท่ากับอุปจารสมาธิแล้ว การกำหนดอารมณ์อันหนึ่งกับอีกอันหนึ่งนั้น ระหว่างกลางอารมณ์ทั้งสอง กิเลสนิวรณ์เข้าไม่ได้ เมื่อกำหนดติดต่อกันอยู่เรื่อยไป ขณะนั้นใจสงบก็ตั้งอยู่นานๆได้เหมือนกัน และเมื่อผู้ปฏิบัติเข้าถึงอุทยัพพยญาณ ภังคญาณ เป็นต้น วิปัสสนาขณิกสมาธิแก่กล้ายิ่งขึ้น มีกำลังมากคล้ายๆกับอัปปนาสมาธิ เพราะปราศจากปฏิปักษ์คือกิเลสนิวรณ์ ฉะนั้น ขณิกสมาธิคือการที่ใจสงบตั้งอยู่นานๆได้นี้เรียกว่า จิตตวิสุทธิ ดังนี้

จากหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฎีกา รจนาโดย ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร