วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 02:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีเพื่อนทางธรรม ท่านหนึ่ง ตั้งประเด็นคำถามนี้ขึ้น

อ้างคำพูด:
ควรเลือกปฏิบัติธรรมแนวไหนดี?




....................................................


วิธีการเจริญมรรค มี 3-4 แนวทาง มาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว

“....ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
(หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
(หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป....

มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
ตอ. G.S. II : ๑๖๒
จาก http://www.84000.org/true/220.html



ข้อ1. .เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า.... คือ ใช้ปัญญานำหน้าสมาธิ. แนวทางนี้ ปัญญาเด่น คือ วิปัสสนามาก่อน ส่วนสมถะหรือความสงบที่เกิดจากจิตปล่อยวางธรรมทั้งหลายจะตามมาเองในภายหลัง

ข้อ2.เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า..... คือ ใช้ สมาธินำหน้าปัญญา. แนวทางนี้ สมาธิเด่น ...เป็นการใช้ฌานเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรง

ข้อ3.เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป..... คือ เจริญทั้งสมาธิ และ ปัญญา ในระดับพอๆกัน ไม่มีสิ่งใดเด่นกว่าสิ่งใด


ส่วนใครจะเจริญมรรคแนวทางใด ก็คงขึ้นกับจริตนิสัยของแต่ล่ะท่าน ครูบาอาจารย์ที่ท่านพาเดิน หรือ โอกาสของแต่ล่ะท่าน ๆลๆ



ในข้อ2 หรือ "การเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า" นั้น(น่าจะตรง กับ สมถยานิก ในคัมภีร์รุ่นหลัง) ปัจจุบันนี้ แทบจะไม่ได้ยินว่าท่านใดเดินกันแล้ว.
แนวทางนี้ ถ้าดูจากอีกพระสูตรหนึ่ง(ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา) จะกล่าวว่า เป็นการใช้ฌานที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์โดยตรงของวิปัสสนา....

[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่า พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ


ในยุคปัจจุบันนี้ อย่าว่าแต่ฆราวาส อย่างเรา-ท่าน จะทำได้ยากเลย แม้นแต่พระที่ท่านเร้นตัวอยู่ในป่า ท่านยังไม่ค่อยกล่าวถึงแนวทางนี้กันแล้ว.แนวทางนี้ คงมีมากในสมัยพุทธกาล สำหรับพระฤาษีที่ได้ฌานสมาบัติมาก่อน แล้วใช้ฌานเป็นอารมณ์วิปัสสนาโดยตรง... หลายท่าน ที่ฝึกเจริญสมาธิภาวนาควบคู่ไปกับการเจริญวิปัสสนา อาจจะเข้าใจผิดว่าตนเองกำลังเดินแนวทางนี้อยู่ แต่ จริงๆแล้วไม่น่าจะใช่น่ะครับ


ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่เท่าที่เห็น ก็จะพากันเจริญมรรคอยู่หลักๆ 2แนวทาง คือ
เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
(รวมทั้งสองแนวทางนี้ อาจจะตรงกับ คำจำกัดความของ วิปัสสนายานิก ในคัมภีร์รุ่นหลัง หรือเปล่า?...ผมไม่แน่ใจน่ะครับ)


การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป ก็ คือ ทั้งเพียรพยายามเจริญสมาธิภาวนา เช่น เจริญอานาปานสติ และ พยายามเจริญสติปัฏฐานในชีวิตประจำวัน หรือ เจริญวิปัสสนาเท่าที่จะมีโอกาสกระทำได้

ส่วน การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า นั้น จะตรงกับในยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา ที่ว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น... ที่ผม ยกมาเป็นลายเซ็นครับ.แนวทางนี้ จะใช้วิปัสสนานำหน้า ส่วนสมถะที่เกิดจากจิตปล่อยวางธรรมทั้งหลายจะเป็นของที่ตามมาเอง



ดังนั้น ไม่ว่าจะภาวนาแนวไหน ถ้าอยู่ในหลักการใหญ่ๆ ที่ปรากฏในพระสูตรแล้ว ก็ใช้ได้ทั้งนั้นครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ลงท้ายแล้ว. . .

แนวทางการทำสมาธิภาวนาทุกแบบ
จะต้องเป็นไปเพื่อการปล่อยวาง . . . . .

ผู้ปฏิบัติต้องไม่ยึดมั่น . . . แม้ในตัวอาจารย์

แนวทางใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง . . . สู่การไม่ยึดมั่น ถือมั่น
ก็เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง . . .


โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา สาธุครับ

รู้อย่างนี้ จะเห็นว่าฆราวาสโดยทั่วไปที่ยังมีกิจการงานมาก ภาระมาก น่าจะเหมาะกับแนวทาง สมถะมีวิปัสสนานำหน้า หรือสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนา เพราะจะทำได้ง่ายกว่า? หากใช้แนวทางการเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า อาจจะไม่เหมาะเพราะอาวาสไม่เป็นที่สบาย บุคคลก็ไม่เป็นที่สบาย เพียรพยายามให้ได้สมาธิก็ลำบากเพราะเสียงรบกวนในที่อาศัยมีมาก "เสียงเป็นอุปสรรค ต่อฌาน"

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
อนุโมทนา สาธุครับ

รู้อย่างนี้ จะเห็นว่าฆราวาสโดยทั่วไปที่ยังมีกิจการงานมาก ภาระมาก น่าจะเหมาะกับแนวทาง สมถะมีวิปัสสนานำหน้า หรือสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนา เพราะจะทำได้ง่ายกว่า? หากใช้แนวทางการเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า อาจจะไม่เหมาะเพราะอาวาสไม่เป็นที่สบาย บุคคลก็ไม่เป็นที่สบาย เพียรพยายามให้ได้สมาธิก็ลำบากเพราะเสียงรบกวนในที่อาศัยมีมาก "เสียงเป็นอุปสรรค ต่อฌาน"

:b8:



ความจริงแล้ว การเจริญสมาธิภาวนานั้น อาจจะไม่จำเป็นต้องถึงขั้นฌานก็ได้น่ะครับ...แม้น สมาธิไม่ถึงขั้นฌานก็มีประโยชน์แล้ว

นอกจาก สมาธิจะเป็นบาทของวิปัสสนาแล้ว สมาธิยังมีส่วนช่วยให้ จิตใจสดชื่น ในลักษณะผ่อนคลายแต่ตื่นตัว โดยไม่ต้องไปหา soy peptide อะไรที่แพงๆมาบริโภคเลย

ปัจจุบันชาวพุทธไทยเราจะเห็นว่า การเจริญสมาธิภาวนาเป็นของไม่จำเป็น(บางท่านถึงขนาดกล่าวว่าไม่ควรฝึกสมาธิเลยเสียด้วยซ้ำ)
แต่ ชาวโลกในซีกอื่นๆ เขากลับนำการฝึกสมาธิภาวนาของเราไปใช้กันอย่างแพร่หลาย

มีข้อมูลลงในนิตยาสารไทมส์ ว่า ชาวอเมริกาฝึกสมาธิประจำกว่า10ล้านคน...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมพึ่งจะทราบนะครับว่า เดี๋ยวนี้มีความคิดอย่างที่ท่านตรงประเด็นกล่าวไปว่ามีผู้กล่าวว่าสมาธิไม่จำเป็น หรือถึงขั้นไม่ควรฝึกสมาธิเลย

โดยส่วนตัวผมเห็นด้วยกับท่านครับว่า สมาธิควรฝึกครับ แต่ไม่ต้องขนาดถึงขั้นฌานก็ได้ เอาแค่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา แล้วท่านตรงประเด็นเห็นอย่างไรครับ กับผู้ที่มีแนวการปฏิบัติ หรือมีแนวความคิดว่าต้องบำเพ็ญฌานให้เกิดก่อนมิเช่นนั้นแล้วจะเจริญวิปัสสนาไม่ได้ เพราะการเจริญวิปัสสนาอันไม่มีฌานยังไม่ใช่การเจริญวิปัสสนาที่แท้

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
ผมพึ่งจะทราบนะครับว่า เดี๋ยวนี้มีความคิดอย่างที่ท่านตรงประเด็นกล่าวไปว่ามีผู้กล่าวว่าสมาธิไม่จำเป็น หรือถึงขั้นไม่ควรฝึกสมาธิเลย

โดยส่วนตัวผมเห็นด้วยกับท่านครับว่า สมาธิควรฝึกครับ แต่ไม่ต้องขนาดถึงขั้นฌานก็ได้ เอาแค่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา แล้วท่านตรงประเด็นเห็นอย่างไรครับ กับผู้ที่มีแนวการปฏิบัติ หรือมีแนวความคิดว่าต้องบำเพ็ญฌานให้เกิดก่อนมิเช่นนั้นแล้วจะเจริญวิปัสสนาไม่ได้ เพราะการเจริญวิปัสสนาอันไม่มีฌานยังไม่ใช่การเจริญวิปัสสนาที่แท้

:b1:



คำว่า วิปัสสนา คือ การเจริญปัญญานั้น
ประกอบด้วย ปัญญาฝ่ายอริยมรรค(วิปัสสนาภาคปฏิบัติ)ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ.... และ ปัญญาฝ่ายอริยผล(วิปัสสนาที่แท้จริง) คือ สัมมาญาณะ

ถ้าใครสักคนกล่าวว่า ต้องมีสัมมาสมาธิ(โลกุตรฌาน) จึงจะบังเกิดสัมมาญาณะ นั้น ถูกต้องแล้ว ...
ตรงกับพระพุทธพจน์ในมหาจัตตารีสกสูตร ที่ว่า
"เพราะมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะ"

แต่ ถ้าใครบอกว่า ต้องบรรลุโลกุตรฌาน(หรือ สัมมาสมาธิ)เสียก่อน จึงจะมาเจริญวิปัสสนา(ภาคปฏิบัติ)นั้น กล่าวผิดครับ....
เพราะ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ(ปัญญาฝ่ายอริยมรรค)เป็นองค์แห่งอริยมรรคที่ต้องมีมาก่อน สัมมาสมาธิ
กล่าวคือ ถ้าปราศจาก สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ ผ่านไปเรื่อยๆ จนถึงสัมมาสติ... สมาธิที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นสัมมาสมาธิครับ




ประเด็นหนึ่งก็คือ บางท่าน เชื่อว่า รูปฌานหนึ่งถึงสี่ทุกประเภทจัดเป็นสัมมาสมาธิทั้งสิ้น... แต่ความจริงแล้วไม่ใช่น่ะครับ
รูปฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิก็มีครับ เช่น ฌานของพระฤาษี...ที่จัดว่าเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะไม่เอื้อต่อการเกิดปัญญา

รูปฌานหนึ่งถึงสี่ ที่ตรัสอยู่ในสัจจบรรพ(อธิบายสัมมาสมาธิ)ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้น เป็นรูปฌานที่เกิดจากการเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน.... ไม่ใช่ หมายถึง รูปฌานทั่วๆไปน่ะครับ

หรือ ถ้าจะดูให้ชัดเจน ก็ดูจาก มหาจัตตารีสกสูตร ที่ตรัสถึง สัมมาสมาธิ ว่าเป็นเอกัคตาจิตที่ห้อมล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดประการ... ถ้าเป็นเอกัคตาจิตที่ไม่ห้อมล้อมด้วยอริยมรรคอีกเจ็ดประการ คือ ไม่พัฒนาผ่านลำดับองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดประการ ก็ไม่เรียกว่าเป็น สัมมาสมาธิ ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย


คำว่า วิปัสสนานี่มีอยู่ ๒ ขั้นตอน

ขั้นต้น คือ วิปัสสนาที่ใช้สติปัญญากำหนดพิจารณาเอาเองด้วยความตั้งใจ
เช่น เราจะพิจารณาร่างกายให้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
หรือพิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ น้อมไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใช้ความรู้สึกนึกคิดที่เราเรียนรู้มานั้นมานึกเอา เรียกว่า การเจริญวิปัสสนาแบบใช้สติปัญญาแบบธรรมดา ๆ โดยการพิจารณาเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง โดยความรู้สึก นึกคิดเอาเองนี่แหละ

เป็นการตกแต่งปฏิปทา เพื่อให้จิตสงบลงเป็นสมาธิ แล้วจะเกิดวิปัสสนาขึ้นมาโดยอัตโนมัติจะปฏิวัติไปสู่ภูมิรู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


จงทำความเข้าใจว่า

ถ้าสมาธิหรือสมถะไม่เกิดขึ้น ท่านจะเจริญวิปัสสนาอย่างไรท่านจะไม่ได้วิปัสสนา

เพราะวิปัสสนามีมูลฐานเกิดมาจากสมถะ คือ สมาธิ

ถ้าสมถะคือ สมาธิไม่เกิดขึ้น ท่านจะได้แต่วิปัสสนาแบบนึกคิดเอาเอง เป็นวิปัสสนาภาคปฏิบัติเท่านั้น.... ยังไม่ใช่ วิปัสสนาที่แท้จริง




..............................................................



ปล...

ความเห็นส่วนตัว น่ะครับ


มันมีอยู่3คำ ที่ผมอยากเสนอให้ เทียบเคียงกับในระดับพระสูตร

1.วิปัสสนาภาคปฏิบัติ เป็นการอาศัยการนึกคิดเอา ยังไม่ใช่ปัญญาญาณหยั่งรู้อย่างแท้จริง. ตรงกับ อธิปัญญาในขั้นอริยมรรค ได้แก่ สัมมาทิฏฐิระดับอนาสวะ และ สัมมาสังกัปปะระดับอนาสวะ

2.สมถะ ในที่นี้ หมายเอา สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค. หรือ ที่เรียกว่า โลกุตรฌาน
(อย่าเพิ่งไปคิดถึง คำว่า"สมถะ"ในสมถกรรมฐาน40กอง.... เป็นคนล่ะอย่างกันแน่นอน)

3.วิปัสสนาที่แท้จริง ซึ่งนี่ คือ ปัญญาญาณหยั่งรู้อย่างแท้จริง หมายเอา สัมมาญาณะ อันเป็น อธิปัญญาในขั้นอริยผล



เสนอ พิจารณา มหาจัตตารีสกสูตร เทียบเคียงครับ


๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร

คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ จึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึง พอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้



จะเห็นได้ว่า

คำว่า "วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ" ที่ยังอาศัยการนึกคิดเอา ตรงกับ อธิปัญญาในขั้นอริยมรรค(สัมมาทิฏฐิระดับอนาสวะ และ สัมมาสังกัปปะระดับอนาสววะ)

คำว่า "สมถะ"ในองค์แห่งอริยมรรค ตรงกับ สัมมาสมาธิ

คำว่า "วิปัสสนาที่แท้จริง" ที่เป็นญาณหยั่งรู้ การบรรลุมรรคผล ตรงกับ สัมมาญาณะ






อ้างคำพูด:
ถ้า สมาธิหรือสมถะไม่เกิดขึ้น ท่านจะเจริญวิปัสสนาอย่างไรท่านจะไม่ได้วิปัสสนา



ผมเข้าใจว่า

ตรงจุดนี้ ไม่ใช่หมายถึงว่าทุกท่านต้องไปฝึกสมถกรรมฐาน(แบบ สมถกรรมฐาน40กองของอาจารย์รุ่นหลังพุทธกาล)มาก่อนจนบรรลุฌาน แล้วจึงค่อยมาเจริญวิปัสสนา... จึงจะได้วิปัสสนา น่ะครับ

ผมเห็นว่า คำว่า"สมถะ"ที่หลวงพ่อท่านกล่าวตรงนี้ คือ สัมมาสมาธิ.... ซึ่งจะนำไปสู่ สัมมาญาณะ หรือ วิปัสสนาที่แท้จริง

คำว่า วิปัสสนาในประโยค"ท่านจะไม่ได้วิปัสสนา" หมายเอา วิปัสสนาที่แท้จริง หรือ สัมมาญาณะ นั่นเอง





อ้างคำพูด:
วิปัสสนา มีมูลฐานเกิดมาจากสมถะ คือ สมาธิ



วิปัสสนา ในคำกล่าวนี้ หมายเอา วิปัสสนาที่แท้จริง หรือ สัมมาญาณะ
สมถะ ในคำกล่าวนี้ หมายเอา สัมมาสมาธิ เช่นกันครับ
เพราะ สัมมาญาณะ มีมูลฐานมาจาก สัมมาสมาธิ




เพราะ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ นำไปสู่ สัมมาสมาธิ(ผ่านขั้นตอนต่างๆตามพระสูตร)....
จึงอาจกล่าวได้ว่า วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ นำไปสู่ สมถะ

และ เพราะ สัมมาสมาธิ นำไปสู่ สัมมาญาณะ....
จึงอาจกล่าวได้ว่า สมถะ นำไปสู่ วิปัสสนาที่แท้จริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมนำบทธรรมมาจาก พระไตรปิฎก

กล่าวถึง สมถะ ที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค(สัมมาสมาธิ)

เห็นว่า เกี่ยวเนื่อง
และ สามารถอธิบาย-ขยายความ ความเห็นข้างต้นได้ดี



[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.


๒๕๔] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ รู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนามีในสมัยนั้น.




และ คำว่า สมถะในองค์แห่งอริยมรรคสมังคี ในพระสูตร


ในขณะจิตที่ บังเกิดอริยมรรคสมังคี สมถะ จะถูกเรียกว่า โลกุตรฌาน (สัมมาสมาธิ)





สมถะในอริยมรรคสมังคี



พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=109458


[๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน

บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์

ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้ง ฉันใด
ถ้าเมื่อเห็นแจ้ง ก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดี ฉันนั้น

สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่



.....................................


พระสูตรนี้ ระบุชัดเจนว่า
ในขณะ ที่บังเกิดอริยมรรคสมังคี นั้น

สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่


คำว่า "ตั้งใจมั่นดีแล้ว" คือ สัมมาสมาธิ

คำว่า"เห็นแจ้ง" คือ สัมมาญาณะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสมถะ ควบคู่ไปกับ วิปัสสนา




หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี ท่านเคยแนะนำไว้ดังนี้



ยามที่พิจารณาไม่ชัด อย่าได้ท้อแท้ ท้อถอย

แต่ให้เข้าใจว่าที่ไม่ชัด เพราะสติ สมาธิเราอ่อนไป

ให้ปล่อยวางการพิจารณานั้นเสีย แล้วให้มาอบรม สติ สมาธิให้มีกำลังมากขึ้น อย่าอยากให้รู้ชัดโดยลืมนึกไปถึงสติ-สมาธิของตน





หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ท่านได้เล่าถึงหลักการภาวนาที่หลวงปู่มั่นได้เมตตาแนะนำว่า

"......การแนะนำให้ศิษย์ปฏิบัติภาวนานั้น หลวงปู่มั่นท่านย้ำอยู่เสมอว่า

จะใช้"พุทโธ"เป็นบทบริกรรมสำหรับผูกจิตก็ได้ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้วให้วางบทบริกรรมเสีย.....

แล้วพิจารณาร่างกาย ครั้งแรกให้พิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่เราสามารถจะเพ่งพิจารณาได้อย่างสะดวกในอาการ๓๒ เมื่อพิจารณาจนเกิดความชัดเจน กลับไป-กลับมา หรือที่เรียกว่าอนุโลม-ปฏิโลมแล้ว

เมื่อหายสงสัยในจุดที่พิจารณานั้นแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนเป็นจุดอื่นต่อไป.อย่าพิจารณาเป็นวงกว้างทั้งร่างกาย ความชัดเจนจะไม่ปรากฏ....ต้องค่อยเป็นค่อยไป.....

เมื่อพิจารณาจนเกิดความชำนาญแล้ว เมื่อเราเพ่งปัญญาลงไปจุดใดจุดหนึ่ง ความชัดเจนจากจุดอื่นๆก็จะปรากฏเป็นนัยเดียวกัน.....

เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้ว ให้น้อมจิตเข้าพักอยู่ในความสงบ....เมื่อพักอยู่ในความสงบพอสมควรแล้วให้ย้อนกลับออกมาพิจารณาร่างกายอีก

ให้เจริญอยู่อย่างนี้ จึงจะเจริญทางด้านปฏิบัติ....

เมื่อจิตมีความชำนาญเพียงพอแล้ว......... คำบริกรรม"พุทโธ"ก็ไม่จำเป็น เพียงกำหนดจิตก็จะสงบเข้าสู่สมาธิทันที....."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


-ขอบพระคุณในธรรม :b20:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า



ครูบาอาจารย์พระป่า ท่านจะเรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ




โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย




สมถะหรือวิปัสสนาต่างก็เป็นวิธีการปฏิบัติ
เพื่อจุดหมายเดียวกัน



อีกปัญหาหนึ่งมีท่านกล่าวไว้ว่า ให้ฝึกหัดทำสมาธิให้มันได้เสียก่อน
แล้วจึงค่อยเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

เฮ้อ… อันนี่ถ้าสมมติว่าใครไม่สามารถทำสมาธิขั้นสมถะได้เนี่ย
จะไปรอจนกระทั่งจิตมันสงบเป็น สมาธิขั้นสมถะ เป็นอัปปนาสมาธิ
เผื่อมันทำไม่ได้ล่ะ มันจะไม่ตายก่อนหรือ?


เพราะฉะนั้น จึงขอทำความเข้าใจกับนักปฏิบัติทั้งหลายก่อนว่า

คำว่าสมถกรรมฐาน ก็ดี คำว่า วิปัสสนากรรมฐาน ก็ดี
ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจก่อนว่า เป็นชื่อของวิธีการ



การภาวนาพุทโธ ๆ ๆ หรือการภาวนาอย่างอื่น
หรือการภาวนาแบบเพ่งกสิณ อันนั้นปฏิบัติตามวิธีของสมถะ



แต่ถ้าเราปฏิบัติด้วยการใช้ความคิดหรือกำหนดจิตรู้ตาม
ความคิดของตัวเอง หรือจะหาเรื่องราวอันใด เช่น
เรื่องของธาตุขันธ์ อายตนะมาพิจารณา
เช่น พิจารณาว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรทำนองนี้

อันนี้การน้อมจิตน้อมใจน้อมภูมิความรู้ความเข้าไปสู่
กฎพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ท่านเรียกว่าปฏิบัติตามวิธีการแห่งวิปัสสนา

แต่ทั้ง 2 อย่างนี้เราจะปฏิบัติด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้

ถ้าท่านผู้ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบเป็นสมาธิซักที
จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักที ก็มาพิจารณาซิ
ยกเรื่องอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ได้ ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ

พิจารณาไปจนกระทั่งจิตมันคล่องตัว
พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา
คิดเอาตามสติปัญญาที่เราจะคิดได้

คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้
คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว จนกระทั่งเราไม่ได้ตั้งใจคิด


จิตมันคิดของมันเอง ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้

เมื่อเป็นเช่นนั้น มันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับภาวนา

ถ้าจิตมันคิดของมันเอง สติรู้พร้อมอยู่เอง มันก็ได้วิตก วิจาร
ในเมื่อจิตมีวิตก วิจาร เพราะความคิดอ่านอันนี้
มันก็เกิดมีปีติ มีความสุข มีเอกัคตา
มันจะสงบลงไปเป็น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ

หรือบางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปปนาสมาธิ
พอถึงอุปจารสมาธิ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา
มันก็จะทำหน้าที่พิจารณาวิปัสสนาของมันตลอดวันยันค่ำ
ตลอดคืนยันรุ่ง เพราะฉะนั้นอย่าไปติดวิธีการ

ถ้าใครไม่เหมาะกับการบริกรรมภาวนา ก็ไม่ต้องไปบริกรรมภาวนา
ถ้าจิตของท่านผู้ใดไปเหมาะสมกับการกำหนดรู้จิตเฉยอยู่
โดยไม่ต้องนึกคิดอะไร เป็นแต่เพียงตั้งหน้าตั้งตาคอย
จ้องดูความคิดว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นแค่นั้น
อะไรเกิดขึ้นรู้ อะไรเกิดขึ้นรู้ รู้ ๆ ๆ เอาตัวรู้อย่างเดียว

หรือบางทีบางท่านอาจจะใช้ความคิดอยู่ไม่หยุด

หรือบางท่านอาจจะฝึกหัดสมาธิ โดยวิธีการทำสติตามรู้
การยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกขณะจิต
ทุกลมหายใจ ก็สามารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเป็นนักปฏิบัติ
เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงกันจริง ๆ แล้ว อย่าไปติดวิธีการ
ให้กำหนดหมายว่าสมถะก็ดี วิปัสสนาก็ดี เป็นวิธีการปฏิบัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุๆ ท่านกล่าวธรรมโดยชอบแล้วครับ

ผมขอถามท่านตรงประเด็นสืบไปในประเด็นที่ยังไม่กระจ่าง ที่ท่านตอบมา คือ ที่บอกว่า

อ้างคำพูด:
[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.

[๒๕๔] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ รู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนามีในสมัยนั้น.


1. พระสูตรส่วนข้างต้นนี้ ท่านตรงประเด็นเห็นว่าเป็นขั้นผลของสมถะ-วิปัสสนา หรือจัดเป็นขั้นมรรค(วิธีเจริญ)ของสมถะ-วิปัสสนาครับ
2. แล้วการที่เราทำการเข้าไปกำหนดเพื่อดับความฟุ้งซ่านอันบังเกิดขึ้นในใจของเราอันเกิดมาจากตาเห็นรูปเป็นต้นแล้วจัดว่าขณะนั้นเรามีวิปัสสนาหรือเปล่า แล้วเป็นของแท้หรือไม่ครับ

3. วิปัสสนาที่แท้จริง คำว่า "แท้" ที่ท่านตรงประเด็นกล่าว หมายถึงแท้ได้ต้องเป็นขั้นผล คือ ญาณ แล้วเท่านั้นหรือเปล่า ดังนั้นคำว่า "วิปัสสนามีในสมัยนั้น" กับคำว่า "วิปัสสนาที่แท้จริง(ในสมัยนั้น)" เหมือนกันได้หรือเปล่าครับ

รบกวนตอบด้วยนะครับ จะรออ่านครับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียน คุณศิรัสพล


ตอบเท่าที่พอจะเข้าใจน่ะครับ

อ้างคำพูด:
1. พระสูตรส่วนข้างต้นนี้ ท่านตรงประเด็นเห็นว่าเป็นขั้นผลของสมถะ-วิปัสสนา หรือจัดเป็นขั้นมรรค(วิธีเจริญ)ของสมถะ-วิปัสสนาครับ



[๒๕๔] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ รู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนามีในสมัยนั้น.


จากพระสูตรนี้ กล่าวระบุว่า วิปัสสนานี้ "อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค" ครับ
วิปัสสนา ในส่วนแห่งพระสูตรนี้ จึงจัดว่าเป็นมรรค ครับ


อ้างคำพูด:
2. แล้วการที่เราทำการเข้าไปกำหนดเพื่อดับความฟุ้งซ่านอันบังเกิดขึ้นในใจของเราอันเกิดมาจากตาเห็นรูปเป็นต้นแล้วจัดว่าขณะนั้นเรามีวิปัสสนาหรือเปล่า แล้วเป็นของแท้หรือไม่ครับ


เห็นว่า เป็นวิปัสสนาภาคปฏิบัติครับ
ยังไม่ใช่ สัมมาญาณะ หรือ การตรัสรู้ชอบ ครับ

สัมมาญาณะ หรือ การตรัสรู้ชอบ นับตั้งแต่ โสดาปัตติผล จนถึง อรหัตตผล(อาสวักขยญาณ)

อนึ่ง คำว่า ตรัสรู้ นี้.... บางท่านอาจจะเข้าใจว่าจำกัดอยู่เพียง การบรรลุอรหัตตผล(อาสวักขยญาณ)
แต่ ความจริงแล้ว คำว่า ตรัสรู้นี้ แม้นในการบรรลุโสดาปัตติผล ก็เรียกว่า ตรัสรู้ชอบแล้ว
เช่น กรณีที่ท่านพระอานนท์กล่าวถึงการบรรลุโสดาปัตติผลของท่าน เมื่อท่านฟังธรรมจากท่านปุณณมันตานีบุตร เมื่อคราวท่านออกบวชได้ไม่นาน

บรรลุธรรมครั้งแรก

ดูกรท่านอานนท์ เพราะถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรท่านอานนท์ ท่านจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อ. ไม่เที่ยง อาวุโส.
ป. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อ. ไม่เที่ยง อาวุโส ฯลฯ
ป. เพราะเหตุนี้แล อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. (โดยเหตุนี้แล ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า) ดูกรอาวุโส ท่านพระปุณณ-
*มันตานีบุตร เป็นผู้มีอุปการะมาก แก่พวกเราเหล่าภิกษุใหม่ ท่านสอนพวกเราด้วยโอวาทนี้ ก็
เราได้ตรัสรู้ธรรม เพราะฟังธรรมเทศนานี้ ของท่านพระปุณณมันตานีบุตร.
จบ สูตรที่ ๑.


ส่วน ท่านพระอานนท์ท่านบรรลุอรหัตตผล(อาสวักขยญาณ) ก็ในคืนวันก่อนการกระทำปฐาสังคายนา



อ้างคำพูด:
3. วิปัสสนาที่แท้จริง คำว่า "แท้" ที่ท่านตรงประเด็นกล่าว หมายถึงแท้ได้ต้องเป็นขั้นผล คือ ญาณ แล้วเท่านั้นหรือเปล่า


วิปัสสนาที่แท้จริง ผมหมายเอา วิปัสสนาญาณ ....ก็คือ ความหมายเดียวกับ สัมมาญาณะ หรือ การตรัสรู้ชอบนั่นเองครับ


อ้างคำพูด:
ดังนั้นคำว่า "วิปัสสนามีในสมัยนั้น" กับคำว่า "วิปัสสนาที่แท้จริง(ในสมัยนั้น)" เหมือนกันได้หรือเปล่าครับ



คำว่า วิปัสสนาในสมัยนั้น หมายเอา วิปัสสนา"อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค" ....ตรงจุดนี้ ผมถือเอาโดยตรงจากพระสูตร

ส่วน คำว่า วิปัสสนาที่แท้จริง หมายเอา วิปัสสนาญาณ หรือ สัมมาญาณะ ดังได้อธิบายข้างต้น

ส่วน คำว่า วิปัสสนาที่แท้จริงในสมัยนั้น เป็นการนำคำสองคำมาผสมกัน....ผมไม่แน่ใจน่ะครับ


แต่ ก็ต้องไม่ลืมอย่างหนึ่ง
ท่านผู้รู้ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อบังเกิดอริยมรรคสมังคี ...ณ ขณะจิตนั้น มรรคจิต และ ผลจิต ย่อมบังเกิดติดต่อกันไปเลย ไม่ได้ทิ้งช่วงอย่างที่บางท่านเข้าใจกัน


สมถะ มีอยู่แต่ในส่วนแห่งอริยมรรค

ส่วน วิปัสสนานั้น มีอยู่ทั้งในส่วนแห่งอริยมรรค และ อริยผล




ตอบเท่าที่พอจะเข้าใจน่ะครับ
ถูก-ผิด ประการใด ขออภัยล่วงหน้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับคำตอบของท่านตรงประเด็นมากครับ

เท่าที่ท่านตรงประเด็นตอบมา ทำให้ผมได้ความรู้เพิ่มเติมโดยเฉพาะคำว่า "ตรัสรู้ธรรม" ว่าใช้กับระดับโสดาบันด้วย
ทีนี้ตามความเห็นของผมสรุปพระสูตรต่อไปนี้

อ้างคำพูด:
[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.

[๒๕๔] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ รู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนามีในสมัยนั้น.


พระสูตรดังกล่าวสรุปความได้ว่า เป็นการบอกถึงสภาวะที่กำลังเจริญสมถะ หรือสภาวะที่จิตเป็นสมถะ หรือสภาวะที่กำลังเจริญวิปัสสนา หรือสภาวะที่จิตกำลังเป็นวิปัสสนา เป็นองค์แห่งมรรค นับตั้งแต่โสดาปัตติมรรคเป็นต้นไป เป็นวิปัสสนาในสมัยนั้น เป็นวิปัสสนาแท้จริงในระดับมรรค ท่านตรงประเด็นเห็นว่าสรุปอย่างนี้น่าจะใช่หรือเปล่าครับ

แต่ว่ามีข้อที่น่าสังเกตอยู่ประการหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า

อ้างคำพูด:
ท่านผู้รู้ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อบังเกิดอริยมรรคสมังคี ...ณ ขณะจิตนั้น มรรคจิต และ ผลจิต ย่อมบังเกิดติดต่อกันไปเลย ไม่ได้ทิ้งช่วงอย่างที่บางท่านเข้าใจกัน


ท่อนนี้หากเป็นดังกล่าวข้างต้น คือ มรรคเกิดแล้วต้องเกิดผลทันทีติดต่อกันไปเลยเท่านั้น ตรงนี้ผมเห็นต่างออกไปนะครับ คือ ผมเห็นว่าเป็นไปได้สองแบบ คือ มรรคเกิดพร้อมกับผลเกิดต่อกันไปเลย กับมรรคเกิดก่อนวาระหนึ่งแล้วผลเกิดทีหลังอีกวาระหนึ่งครับ เพราะดูจากพระสูตรที่ท่านตรงประเด็นเอามาท่อนต่อไปนี้ครับ

อ้างคำพูด:
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง-
*โกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุ
อรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ
เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อม-
*สิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอ
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ
ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอ
เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ
สังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้น
ย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด
ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต
ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ
จบปฏิปทาวรรคที่ ๒


ที่ขีดเส้นใต้นั้นเป็นจุดที่ต้องการให้สังเกตดูว่า คำว่า มรรคเกิดก่อนวาระหนึ่ง แล้วจึงเกิดผลระดับโสดาปัตติผลเป็นต้นไปเมื่อเสพมรรคให้มากตามมาในวาระหลัง

เพราะคำว่ามรรคเกิดขึ้นอย่างพระสูตรนี้ หมายถึง เวลาที่เราปฏิบัติธรรมไปจนถึงระดับหนึ่ง มรรคจะปรากฏขึ้นแก่ใจของผู้ปฏิบัติ เป็นมรรคที่เกิดมาจากผลอันไม่ใช่ระดับโสดาปัตติผลก่อนก็ได้ เช่นเป็นผลจากการละกิเลสลงได้แล้วเกิดปัญญามองเห็นในปฏิจสมุปบาทหรือ เกิดปัญญามองเห็นถึงความไม่สืบต่อไปปรุงแต่งเป็นตัณหา อุปาทาน ได้อย่างไรขึ้นมาแก่ใจของผู้ปฏิบัติ ให้ทราบว่าเราจะต้องปฏิบัติอย่างนี้นะ ดำเนินกาย วาจา ใจ รับรู้ไปอย่างนี้ถึงจะถูกทางย่อมถึงจะทำให้ละซึ่งตัณหาอุปทานได้ ย่อมทำให้ทุกข์ดับ ไม่ปรุงแต่งใจต่อยอดเป็นวงจรแห่งปฏิจสมุปบาทต่อไปได้ นี้เรียกว่า "มรรคเกิดขึ้น" หรือเปล่าครับ (หรือว่าจริงๆ แล้วอย่างนี้จัดว่าเป็นโสดามปัตมรรคที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติผลแล้วครับ)

แล้วจากนั้นจึงดำเนินตามมรรคที่ปรากฏแก่จิตนั้นเจริญให้มากทำให้มากจึงได้รับผลเป็นโสดาปัตติผลจนถึงอรหันตผลอีกครั้งหนึ่ง ในวาระต่อมา

อีกประการเป็นอย่างที่ท่านตระเด็นกล่าวมา คือ มรรคที่ปรากฏแห่งจิตในวาระเดียวกันเลยที่ทำให้จิตตัดขาดเป็นผลไปพร้อมกับ เป็นอาสวักขยญาณ ซึ่งเกิดในสมาธิอันทำให้ผู้นั้นบรรลุ เมื่อญาณเกิดขึ้นก็เป็นอันตัดขาดโดยสิ้นเชิงดำเนินชีวิตไปด้วยการไม่ปรุงแต่งเป็นอุปทานได้

ผิดถูกประการใดขออภัยด้วยนะครับ คือ ผมตอบจากประสบการณ์น่ะครับ ท่านตรงประเด็นคิดเห็นประการใดครับ ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบได้เท่าที่พอเข้าใจน่ะครับ

ผมเสนอดังนี้ครับ


เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ


มันอยู่ตรงที่ คำว่า "กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น"... มากแค่ไหน มากระดับไหน อนุสัยจึงละได้



ลองพิจารณา อริยมรรคสมังคี


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=109458


[๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน

บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์

ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้ง ฉันใด
ถ้าเมื่อเห็นแจ้ง ก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดี ฉันนั้น

สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่


ขั้นต่ำสุด ที่ละอนุสัยได้ ก็น่าจะเป็นจุดแห่งอริยมรรคสมังคี



ส่วนประเด็น โสดาปัตติมรรคจะเกิดนานๆ แล้วจึงค่อยบังเกิดโสดาปัตติผลตามมาภายหลังนั้น
ก็เคยได้ยินผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์กัน ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย และ ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย.... ก็มีเหตุผลด้วยกันทั้งสองฝ่าย




แต่ ตรงจุดที่ละสังโยชน์ได้ขาด ตกกระแสพระนิพพาน และ ปิดอบายนั้น ต้องเป็นการบรรลุโสดาปัตติผลแน่นอน

เพราไม่เคยได้ยินในพระสูตรตรงไหนเลย ที่กล่าวว่า โสดาปัตติมรรคเป็นการตกกระแสพระนิพพาน หรือ ปิดอบายได้
เห็นแต่มีกล่าวถึง โสดาปัตติผลว่าเป็นการตกกระแสพระนิพพาน หรือ ปิดอบายได้

และ ถ้าบุคคลที่บรรลุโสดาปัตติมรรค และ ได้กระทำกาละเสียก่อนที่จะบรรลุโสดาปัตติผล ล่ะครับ... ท่านก็ยังคงลงอบายได้ไหมครับ? คงต้องพิจารณาไปถึงจุดนี้อีก

เวลาที่บรรยายถึง ผู้ที่ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์แล้วบรรลุธรรม
ก็เห็นแต่บรรยายว่า ท่านนั้นๆ บรรลุอรหัตตผลบ้าง อนาคามีผลบ้าง สกิทาคามีผลบ้าง โสดาปัตติผลบ้าง... ไม่เคยได้ยินการบรรยายว่า ท่านนั้นๆ บรรลุอรหัตตมรรค อนาคามีมรรค สกิทาคามีมรรค โสดาปัตติมรรค เลย...

ถัดจาก บรรลุโสดาปัตติผล ก็จะเป็นกล่าวว่า ท่านผู้นั้นไม่ได้บรรลุธรรมแต่เป็นผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

หรือ ผู้ที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่ยังไม่บรรลุโสดาปัตติผล จะจัดให้เป็นโสดาปัตติมรรคบุคคล???...ตรงนี้ ผมไม่ทราบน่ะครับ.

ถ้าเป็นเช่นนั้น โสดาปัตติมรรคบุคคล ยังละสังโยชน์เบื้องต่ำไม่ขาด ก็ยังสามารถลงอบายได้อยู่ ใช่ไหม... ถ้าเป็นเช่นนั้น ไม่ต้องไปแปลความว่า มีพระอริยบุคคลบางประเภท ยังสามารถลงอบายได้อยู่ หรือ???

มันมีอีกสารพัดคำถามจะตามมา

ส่วนตัวผม จึงเห็นด้วย กับความเห็นที่ว่า โสดาปัตติมรรค และ โสดาปัตติผล จะเกิดติดต่อกันไปเลย


คือ เรื่องเกี่ยวกับพระโสดาบันนี้มีมากมาย
คัมภีร์รุ่นหลัง ก็ไม่ตรงกับ พระสูตร...
เช่น ในคัมภีร์รุ้นหลัง กล่าวว่าพระโสดาบันอาจเกิดใหม่เกินเจ็ดชาติได้ .... และ ๆลๆ

ก็เคยรับทราบจากท่านอื่นมามาก แต่ ผมไม่ค่อยสนใจเท่าใด ....
เห็นคุยกันบางกระทู้ เป็นร้อยๆความเห็น แต่ ก็ไม่มีบทสรุปที่ชัดเจน

ผมเห็นว่า ถือเอาตามที่ปรากฏในระดับพระสูตร ก็พอแล้ว ในการปฏิบัติ
ถ้า ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพรตปรมาศ ได้ขาด แล้ว แต่ล่ะท่านก็จะประจักษ์แจ้งกันไปเอง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร