วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 19:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อยู่
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็
เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น
ทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง
ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์
ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ



ธัมมานุปัสสนา มหาสติปัฏฐานสูตร





.............................................



"....มีสติรู้ตัว พิจารณาให้เห็นความจริง
มีสติพิจารณา ในความเป็น ธรรมชาติ ที่มีเห็นอยู่ รอบๆ ตัวเรานี้ ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง คงทนถาวรอยู่ได้ตลอดไป เกิดมีขึ้นแล้ว ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่หยุดนิ่ง แล้วก็ดับหายตายจากไป
ไม่เราจากสิ่งนั้นไปก่อน สิ่งนั้น ก็ จากเราไปก่อน ไม่มีใครจะยึดเหนี่ยวรั้งสิ่งใดไว้ได้ เป็น ธรรมชาติ ที่เลื่อนไหลไปอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดา

อย่ายึดถือไว้เป็ีนความทุกข์..."



"...มีสติรู้ตัว ถอนความยึดถือ ในตัวตนเสีย

มีสติพิจารณา ดูลงไป ที่ตัวเราเองว่า มีอะไรบ้าง หรือที่เราบังคับได้บ้าง
ร่างกายนี้ตั้งแต่เกิดมา มีแต่ ความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง เกิดมาได้อย่างไร ไม่รู้ตัว เลย(หรือใครรู้ตัวบ้างช่วยบอกที) มารู้ตัวเอาก็ต่อเมื่อเติบโตพอจำความได้แล้ว ก็มีความเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดยั้ง แล้วก็ต้องตายไป ทำพิธีต่ออาย ุสืบชะตาอย่างไร ก็ต้องตายทุกคน แล้วจะยึดถือว่าเป็นตัวเรา ของเราได้อย่างไร ตายแล้วไม่เผาไฟ ก็ฝังดินเท่านั้นเอง

มันเป็นเพียงธรรมชาิติ ที่เกิด ขึ้นแล้วก็ดับไป เราเพียงยืมใช้ได้อาศัยศึกษา รักษาไว้เป็นพาหนะ ให้ทำความดี เพื่อข้ามวัฎสงสารเท่้านั้น...."



โอวาทธรรม พระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญญมากโร
วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อุปาทาน ในสิ่งใด ใจจึงทุกข์....


"...กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์๕เป็นทุกข์"
(สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา)


เมื่อใดก็ตาม ที่ทุกข์ปรากฏขึ้นในใจเรา
พึงสังวรได้เลยว่า จะต้อง มีเรา หรือ ของเรา เสื่อม หรือ แตกดับ...ไม่ทางตรง ก็ ทางอ้อม
ความบีบคั้นต่อจิตใจ จาก ความเสื่อม ความแตกดับ ในเรา ในของเรา จึงมีได้

พิจารณาเห็นอยู่เนืองๆ เช่นนี้ ย่อมชื่อว่า เจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่ในตัวแล้ว
แม้นเพียง ระลึกได้เท่านี้ แต่ถ้าระลึกได้บ่อยๆ ก็เป็นหนทางไปสู่ความสิ้นทุกข์อย่างแน่นอน

อนึ่ง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ โบราณจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า เหมาะกับเวไนยสัตว์ที่เป็นวิปัสสนายานิกผู้เป็นญาณจริต(ชอบวิเคราะห์)



อีกประการหนึ่ง

ท่านผู้รู้ ท่านจะสอนอยู่เสมอๆว่า
ขันธ์๕ที่ควรพิจารณาให้แยบคาย ก็คือ ขันธ์๕ที่ประกอบกันขึ้นมา และมีการสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเรา.... หรือ กาย กับ ใจ นี้เอง
ขันธ์ภายนอกนั้น ..... ถ้า แจ้งในขันธ์ที่มีการสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเราแล้ว ขันธ์ภายนอกทั้งหลายในโลก ก็จะไม่สร้างปัญหาใดๆให้เราอีกเลย

การตีวงให้แคบเข้ามา รู้กายใจ ตามจริง จึงเป็นหนทางนำไปสู่การสิ้นอุปาทาน


ดังนั้น ไม่ว่าท่านใด จะพิจารณา กายก็ดี เวทนาก็ดี จิตก็ดี ธรรมก็ดี....
สุดท้าย ก็จะรวมลงที่เดียว คือ "สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่พึงยึดมั่นถือมั่น"
หรือ ถอดถอนเสียซึ่งอุปาทานในขันธ์ทั้งหลายนั่นเอง

ตรงกับคำกล่าวที่ว่า สติปัฏฐานมีหนึ่งเดียว แต่ที่เป็นสี่เพราะความต่างแห่งอารมณ์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร