วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2008, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




21.jpg
21.jpg [ 94.73 KiB | เปิดดู 10444 ครั้ง ]
ทางธรรมมีคำศัพท์เหมือนกันอยู่หลายคำ แต่มีความหมายต่างกัน ผู้แรกศึกษาจึงเข้าใจสาระธรรม

ข้อนั้นๆ ผิด ในคือคำว่า สังขาร

สังขาร มี 2 อย่าง ได้แก่ สังขารในขันธ์ 5 กับคำว่า สังขาร ในไตรลักษณ์


พึงทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่า สังขาร ในขันธ์ 5 หมายถึงสภาวะที่ปรุงแต่งจิตให้ดี ให้ชั่ว

ให้เป็นกลาง ฯลฯ



ส่วนสังขารไตรลักษณ์ ได้แก่ สิ่งทั้งปวงที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง หรือที่เกิดจากส่วนประกอบต่างๆ

ประชุมกันเข้า จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม คือ เท่ากับขันธ์ 5 ทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ส.ค. 2010, 16:46, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2008, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในภาษาบาลีมีศัพท์มากมายที่มีความหมายหลายนัย ผู้ได้เล่าเรียนดีแล้ว แม้พบศัพท์เหล่านั้น

ที่ใช้ในความหมายหลายอย่างปะปนกันอยู่ ก็สามารถจับแยกและเข้าใจได้ทันที แต่ผู้ไม่คุ้นเคย

หรือผู้แรกศึกษาอาจสับสนงุนงงหรือถึงกับเข้าใจผิดได้

ตัวอย่าง คำพวกนี้ที่มาจากภาษาบาลี เช่น นาค อาจหมายถึงสัตว์คล้ายงูแต่ตัวใหญ่มาก

ก็ได้

หมายถึงช้างใหญ่เจนศึกก็ได้

หมายถึงบุคคลผู้ประเสริฐก็ได้

นิมิต ในทางพระวินัย หมายถึง วัตถุที่เป็นเครื่องหมายเขตที่ประชุมสงฆ์บ้าง

หมายถึงอาการแสวงหาลาภในทางที่ผิดด้ายวิธีขอเขาแบบเชิญชวนโดยนัยบ้าง

แต่ในทางธรรมปฏิบัติ หมายถึง ภาพที่เห็นในใจในการเจริญกรรมฐาน


นิกาย หมายถึง หมวดตอนในพระไตรปิฎกส่วนในพระสูตร ก็ได้

หมายถึง คณะนักบวชหรือกลุ่มศาสนิกที่แบ่งกันเป็นพวกๆก็ได้


ปัจจัย ในทางพระวินัย หมายถึง เครื่องอาศัยของชีวิต เช่น อาหาร

แต่ ปัจจัย ในทางธรรม หมายถึง เหตุ หรือ เครื่องสนับสนุนให้ธรรมอื่นเกิดขึ้น



ขอให้พิจารณาความหมายของคำศัพท์เดียวกัน ที่ต่างนัยกันออกไปเมื่อใช้ข้อความต่างๆ

ดังตัวอย่างต่อไปนี้

“ภิกษุรู้รสด้วยลิ้น อร่อยก็ตาม ไม่อร่อยก็ตาม เธอไม่ปล่อยให้

ความติดใจหรือความขัดใจเข้าครอบงำจิต ภิกษุนี้ชื่อว่าสำรวมอินทรีย์ คือ ลิ้น”

อินทรีย์คือศรัทธา มีการยังธรรมทั้งหลายที่ประกอบอยู่ด้วยให้เข้าถึง

ภาวะผ่องใสเป็นรส ประดุจดังสารส้ม หรือมีการวิ่งไปหา

อารมณ์เป็นรส ภิกษุพึงเจริญอินทรีย์คือศรัทธานั้น”

คำว่ารส ก็ดี อินทรีย์ก็ดี ในข้อความ 2 ท่อนนี้ มีความหมายต่างกัน

ในข้อความแรก รส หมายถึงสิ่งที่รู้ด้วยลิ้น หรือสิ่งที่เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ

อินทรีย์ หมายถึง สิ่งที่เป็นเจ้าการในการรับรู้อารมณ์ กล่าวคืออายตนะภายใน

ส่วนในคำหลัง รส หมายถึงกิจหรือหน้าที่

อินทรีย์ หมายถึง กุศลธรรมที่เป็นเจ้าการในการกำราบอกุศลธรรมที่เป็นปฏิปักษ์

“ภิกษุพึงกระทำโยคะ เพื่อบรรลุธรรมเป็นที่ปลอดภัยจาก

โยคะ

โยคะ คำต้น หมายถึง การประกอบความเพียรในการเจริญภาวนา คือ

ฝึกฝนพัฒนาจิตปัญญา

โยคะ คำหลัง หมายถึงธรรม คือ กิเลสที่ประกอบคือเทียมหรือผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในภพ

“ปุถุชนมองเห็นรูปบ้าง เวทนาบ้าง สัญญาบ้าง สังขารบ้าง

วิญญาณบ้าง ว่าเป็นตน แต่ขันธ์ 5 นั้น จะเป็นตนหาได้ไม่ เพราะสังขาร

ทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เทียง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาคือไร้ตัวมิใช่ตนทั้งสิ้น”


สังขาร คำแรก หมายถึงเพียงขันธ์หนึ่งในบรรดาขันธ์ 5

แต่

สังขาร คำหลัง ครอบคลุมความหมาย ของสังขตธรรมทั้งหมด ที่เป็นไปตามไตรลักษณ์


คำเกี่ยวข้อง ที่ต้องการอธิบายในที่นี้คือ สังขาร

แต่ที่ได้ยกตัวอย่างคำอื่นๆ มาแสดงไว้มากมาย ก็เพื่อให้เห็นว่า

คำพูดในภาษาไทยก็ตาม ในภาษาบาลีก็ตาม ที่เป็นคำเดียวกัน แต่มีความหมายต่างกันเป็น

สองอย่างบ้าง

หลายอย่างบ้าง กว้างแคบกว่ากันบ้าง เป็นคนละเรื่องไปเกี่ยวกันบ้าง

ตลอดจนตรงข้ามกันก็มีนั้น มีอยู่มากมายและเป็นของสามัญ


เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว มาเห็นคำว่า สังขาร ที่ท่านใช้ในความหมายต่างๆ หลายนัย

ก็จะไม่เห็นเป็นของแปลก และจะเข้าใจมองเห็นตามได้ง่าย

คำว่า สังขาร นั้น มีที่ใช้ในความหมายต่างๆ กันไม่น้อยกว่า 4 นัย

แต่เฉพาะที่ต้องการให้เข้าใจในที่นี้ มี 2 นัย คือ

สังขาร ที่เป็นข้อหนึ่งในขันธ์ 5

กับ

สังขาร ที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์

เพราะสังขาร 2 นัยนี้ มาในหลักธรรมสำคัญ กล่าวอ้างกันบ่อย และมีความหมายคล้าย

จะซ้อนกันอยู่ ทำให้ผู้ศึกษาสับสนได้ง่าย

เบื้องแรกขอยกคำมาให้ดูเห็นชัด

1. สังขาร ในขันธ์ 5: รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

2. สังขาร ในไตรลักษณ์ : สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ม.ค. 2010, 22:10, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2008, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ขอนำความหมายทั้ง 2 นัยนั้นมาทบทวน โดยเข้าคู่เทียบให้เปรียบกันดูดังนี้





1. สังขาร ซึ่งเป็นข้อที่ 4 ในขันธ์ 5 หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง

ได้แก่ คุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ

และการแสดงออกทางกายวาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นตัวการของการทำกรรม เรียกว่าง่ายๆ ว่า

เครื่องปรุงของจิต เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา ปัญญา โมหะ โลภะ

โทสะเป็นต้น

(คัมภีร์อภิธรรมจำแนกไว้ 50 อย่าง เรียกว่าเจตสิก 50 ในจำนวนทั้งหมด 52 ) ซึ่งทั้งหมดนั้น

ล้วนเป็นนามธรรม มีอยู่ในใจทั้งสิ้น นอกเหนือจาก เวทนา สัญญา และวิญญาณ



2. สังขาร ที่กล่าวถึงไตรลักษณ์ หมายถึง สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัย

ปรุงแต่งขึ้นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็นด้านร่างกายหรือ

จิตใจก็ตาม

มีชีวิตหรือไร้ชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจหรือเป็นวัตถุภายนอกก็ตาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

สังขตธรรม คือทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่นิพพาน

จะเห็นว่า สังขาร ในขันธ์ 5 มีความหมายแคบกว่า สังขาร ในไตรลักษณ์ หรือ

เป็นสิ่งหนึ่งของสังขารในไตรลักษณ์นั่นเอง ความต่างกันและแคบกว่ากันนี้ เห็นได้ชัดทั้งโดย

ความหมายของศัพท์ (สัททัตถะ) และโดยองค์ธรรม


ก. โดยความหมายของศัพท์ : สังขาร ในขันธ์ 5 หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต

ตัวปรุงแต่งจิตใจและการกระทำ ให้มีคุณภาพต่างๆ เครื่องปรุงของจิต หรือ

แปลกันง่ายๆ ว่า ความคิดปรุงแต่ง

ส่วน สังขาร ในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ ถูกปัจจัยของมันปรุงแต่งขึ้นมา

แปลง่ายๆว่า สิ่งที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งปรุงแต่งหรือของปรุงแต่ง



นอกจากความหมายจะต่างกันอย่างที่พอสังเกตเห็นได้อย่างนี้แล้ว ความหมายนั้นยังแคบกว่ากัน

ด้วย

กล่าวคือ สภาวะที่ปรุงแต่งจิต เครื่องปรุงของจิต หรือ ความคิดปรุงแต่ง

(สังขารในขันธ์ 5) นั้น ตัวของมันเอง ก็เป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง

เป็นสิ่งปรุงแต่ง หรือเป็นของปรุงแต่ง เพราะเกิดจากปัจจัยอย่างอื่นปรุงแต่งขึ้นมาอีกต่อหนึ่ง

ทยอยกันไปเป็นทอดๆ

จึงไม่พ้นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในความหมายอย่างหลัง (ในไตรลักษณ์) คือ

เป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง หรือเป็นของปรุงแต่งนั่นเอง


สังขาร ในขันธ์ 5 จึงกินความหมายแคบกว่า เป็นเพียงส่วนหนึ่ง

ส่วน สังขาร ในไตรลักษณ์กินความหมายครอบคลุมทั้งหมด


ข. โดยองค์ธรรม: ถ้าแบ่งธรรมหรือสิ่งต่างๆออกเป็น 2 อย่าง คือ รูปธรรม กับ นามธรรม

และแบ่งนามธรรมซอยออกไปอีกเป็น 4 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

จะเห็นว่า สังขาร ในขันธ์ 5 เป็นนามธรรมอย่างเดียว และเป็นเพียงส่วนหนึ่งในสี่ส่วน

ของนามธรรมเท่านั้น

แต่ สังขาร ในไตรลักษณ์ ครอบคลุมทั้งรูปธรรมและนามธรรม


อนึ่ง รูปธรรมและนามธรรมที่กล่าวถึงนี้ เมื่อแยกออกไปก็คือขันธ์ 5 นั่นเอง จะเห็นว่า

สังขาร ในขันธ์ 5 เป็นเพียงขันธ์หนึ่งในขันธ์ 5 (เป็นลำดับที่สี่)


แต่สังขารในไตรลักษณ์ ครอบคลุมขันธ์ 5 ทั้งหมด กล่าว คือ สังขาร (ในขันธ์ 5)

เป็นสังขารอย่างหนึ่ง (ในไตรลักษณ์) เช่นเดียวกับขันธ์อื่นๆ ทั้งสี่ขันธ์

นอกจากนั้น ธรรม หรือสิ่งต่างๆ ที่นำมาแบ่งในที่นี้ ก็คือ สังขตธรรม ซึ่งก็เป็นไวพจน์

คือ อีกชื่อหนึ่งของสังขาร (ในไตรลักษณ์) นั่นเอง

จึงเห็นชัดเจนว่าสังขาร (ในขันธ์ 5) เป็นเพียงส่วนย่อยอย่างหนึ่งฝ่ายนามธรรมที่รวมอยู่ด้วยกัน

ทั้งหมดภายในสังขาร (ในไตรลักษณ์) เท่านั้นเอง


ฉะนั้น คำกล่าวที่ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง

วิญญาณไม่เที่ยง

กับข้อความว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง จึงมีความหมายเท่าๆ กัน

หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ข้อความว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อจะขยายออกให้ละเอียด

ก็พูดใหม่ได้ว่า

รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง




เพื่อกันความสับสน บางทีท่านใช้คำว่า สังขารขันธ์ สำหรับคำว่าสังขารในขันธ์ 5

ที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในนามธรรม

และใช้คำว่า สังขารที่เป็นสังขตธรรม หรือสังขตสังขาร หรือสังขารเดี่ยวๆ


สำหรับ สังขาร ในไตรลักษณ์ ที่มีความหมายครอบคลุมทั้งรูปธรรมและนามธรรม

หรือขันธ์ 5 ทั้งหมด



การที่ข้อธรรม 2 อย่างนี้มาลงเป็นคำศัพท์เดียวกันว่า “สังขาร” ก็เพราะมีความหมายเหมือนกัน

ว่า “ปรุงแต่ง”

แต่มาต่างกันตรงที่ว่าอย่างแรกเป็น “ความคิดปรุงแต่ง”

อย่างหลังเป็น “สิ่งปรุงแต่ง” หรือ ”ของปรุงแต่ง”



(พุทธธรรมหน้า 70/3)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ก.ย. 2009, 18:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2008, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บรรดาเครื่องแต่งคุณภาพของจิตทั้งหลายนั้น เจตนาเป็นตัวนำหรือเป็นหัวหน้า ดังนั้นไม่ว่าเครื่องแต่ง

คุณภาพกี่อย่างจะเกิดขึ้นทำหน้าที่ในคราวหนึ่งคราวใด จะต้องมีเจตนาร่วมอยู่ด้วยเป็นแกนนำเสมอไป

ทุกคราว บางครั้งท่านถึงกับใช้คำว่าเจตนาเป็นคำแทน หมายถึงสังขารทั้งหมดทีเดียว ด้วยเหตุนี้จึง

อาจให้ความหมายคำว่า สังขารได้อีกอย่างหนึ่งว่า “สังขารคือ เจตนาพร้อมทั้งสัมปยุตธรรม

(ธรรมที่เกิดประกอบร่วมหรือเครื่องประกอบ) ซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือ ชั่ว หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการ

ตริตรึกนึกคิด การพูด การทำ ให้เกิดกรรมทางกาย วาจา ใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2008, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 11:39
โพสต์: 316

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
คิดดี พูดดี ทำดี มองเเต่ดีเถิด...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร