วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 10:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




60.jpg
60.jpg [ 91.06 KiB | เปิดดู 5252 ครั้ง ]
ไตรลักษณ์เป็นสภาวะที่ละเอียดเห็นได้ยาก ทั้งที่สิ่งนี้ก็ปรากฏอยู่เนื่องๆ ตามธรรมดาของมัน

และท่านว่ามีสิ่งปิดบังไว้ สิ่งนั่นคือ สันตติ, อิริยาบถ, และฆนะ

ความหมายของศัพท์

-สันตติ – ความสืบต่อ หรือ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

-อิริยาบถ-ความยักย้ายเคลื่อนไหวกาย

-ฆนะ- ความเป็นแท่ง เป็นก้อน เป็นชิ้น เป็นอัน เป็นมวล หรือเป็นหน่วยรวม

เพราะเป็นสิ่งละเอียดรู้เห็นยากจึงต้องอาศัยมนสิการตามดูรู้ทันนามรูปจึงจะพอเห็นได้ด้วยสัมมาปัญญา

ลงไว้ที่กระทู้เก่าหนหนึ่งแล้ว เหตุที่เป็นภาวะสำคัญและมีผู้กล่าวถึงบ่อย

จึงน่าจะทำทบทวนทำความเข้าใจกันอีกครั้ง :b42: :b41:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 ก.ย. 2009, 20:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 10:24 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m208749.gif
m208749.gif [ 23.74 KiB | เปิดดู 5244 ครั้ง ]
สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์


ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตานี้ เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริงที่

แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น

ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมไว้

ถ้าไม่มนสิการ คือ ไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น

สิ่งที่เป็นเหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ



1. สันตติ บังอนิจจลักษณะ

2. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

3. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ


1. สันตติ บังอนิจจลักษณะ


-ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความเกิดและความดับ หรือความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไป

ก็ถูก สันตติ ความสืบต่อ หรือ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังไว้ อนิจจลักษณะจึงไม่ปรากฏ


สิ่งทั้งหลายที่เรารู้เราเห็นนั้นล้วนแต่มีความเกิดขึ้นและความแตกสลายอยู่ภายในตลอดเวลา แต่ความ

เกิดดับนั้นเป็นไปอย่างหนุนเนื่องติดต่อกันรวดเร็วมาก คือ เกิด-ดับ- เกิด-ดับ เกิด-ดับ ฯลฯ

ความเป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างรวดเร็วยิ่งนั้น ทำให้เรามองเห็นเป็นว่า สิ่งนั้นคงที่ถาวร

เป็นอย่างหนึ่งอย่างเดิม ไม่มีความเปลี่ยนแปลง

เหมือนอย่างตัวเราเอง หรือคนใกล้เคียงอยู่ด้วยกัน มองเห็นกันเสมือนว่าเป็นอย่างเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

แต่เมื่อเวลาผ่านไปนาน สังเกตดู หรือไม่เห็นกันนานๆ เมื่อพบกันอีก

จึงรู้ว่าได้มีเปลี่ยนแปลงไปแล้วจากเดิม แต่ตามความเป็นจริง ความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ทีละน้อยและต่อเนื่อง จนไม่เห็นช่องว่าง

ตัวอย่าง เปรียบเทียบพอให้เห็นง่ายขึ้น เช่น ใบพัดที่กำลังหมุนอยู่อย่างเร็วยิ่ง มองเห็นเป็นแผ่นกลมแผ่น

เดียวนิ่ง เมื่อทำให้หมุนช้าลง ก็เห็นเป็นใบพัดกำลังเคลื่อนไหว แยกเป็นใบๆ เมื่อจับหยุดมองดูก็เห็น

ชัดว่าเป็นใบพัดต่างหากกัน 2 ใบ 3 ใบ หรือ 4 ใบ

หรือ เหมือนคนเอามือจับก้านธูปที่จุดไฟติดอยู่แล้วแกว่งหมุนอย่างรวดเร็วเป็นรูปวงกลม

มองดูเหมือนเป็นไฟรูปวงกลม แต่ความจริง เป็นเพียงธูปก้านเดียวที่ทำให้เกิดรูปต่อเนื่อง

ติดเป็นพืดไป หรือ เหมือนหลอดไฟฟ้าที่ติดไฟอยู่สว่างจ้า มองเห็นเป็นดวงไฟที่สว่างคงที่

แต่ความจริงเป็นกระแสไฟฟ้าที่เกิดดับไหลเนื่องผ่านไปอย่างรวดเร็ว

หรือ เหมือนมวลน้ำในแม่น้ำ ที่มองดูเป็นผืนหนึ่งผืนเดียว

แต่ความจริงเป็นกระแสน้ำที่ไหลผ่านไปๆ เกิดจากน้ำหยดน้อยๆ มากมายมารวมกัน และไหลเนื่อง

สิ่งทั้งหลายดังตัวอย่างเหล่านี้ เมื่อใช้เครื่องมือ หรือวิธีการที่ถูกต้อง มากำหนดแยกมนสิการ

เห็นความเกิดขึ้นและความดับไป จึงจะประจักษ์ความไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 มี.ค. 2010, 20:44, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girl_med2.jpg
girl_med2.jpg [ 23.9 KiB | เปิดดู 5241 ครั้ง ]
2. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ



-ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้น กดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูก อิริยาบถ

คือ ความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ



ภาวะที่ทนอยู่ มิได้ หรือ ภาวะที่คงสภาพเดิม อยู่มิได้ หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้

ด้วยมีแรงบีบคั้น กดดันขัดแย้ง เร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น (= สภาวะทุกข์)

จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา หรือ ความรู้สึกของมนุษย์ มักจะต้อง ใช้เวลาระยะหนึ่ง

แต่ในระหว่างนั้น ถ้ามีการคืบเคลื่อน ยักย้าย หรือ ทำให้แปรรูป เป็นอย่างอื่นไปเสียก่อน ก็ดี

สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้าย พ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน (= สภาวะเปลี่ยนตามเหตุปัจจัยของมัน

แต่โยคีไม่สังเกตรู้)

หรือ ผู้สังเกตแยกพราก จากสิ่งที่ถูกสังเกต ไปเสียก่อน ก็ดี

ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น ปรากฏการณ์ ส่วนใหญ่ มักเป็นเช่นนี้

ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละ ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง

ความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลา ทั่วองคาพยพ จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉย

ในท่าเดียวได้

ถ้าเราอยู่ หรือ ต้องอยู่ ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น ยืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียว เดินอย่างเดียว

นอนอย่างเดียว ความบีบคั้น กดดันตามสภาวะ จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น ๆ จนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึก

บีบคั้น กดดัน ที่คนทั่วไปเรียกว่า “ทุกข์” เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย

จนในที่สุดก็จะทนไม่ไหว และต้องยักย้ายเปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่น ที่เรียกว่า อิริยาบถอื่น

เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง ความบีบคั้น กดดัน

ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็หายไปด้วย

(ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบาย ที่เรียกว่า “ความสุข”

เกิดขึ้นมาแทนด้วย แต่อันนี้ เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไป

อย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์)


ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ พอจะรู้สึก ปวด เมื่อย

เป็นทุกข์

เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น หรืออิริยาบถอื่นเสีย หรือ เรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า

เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอด จากความรู้สึกทุกข์ ไปได้

เมื่อไม่รู้สึก ทุกข์ ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็นความทุกข์ ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย

ท่านจึงว่า อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 09:21, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


3. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ



-ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความแยกย่อยออกเป็นธาตุต่างๆ ก็ถูก ฆนะ คือ ความเป็นแท่ง

เป็นก้อน เป็นชิ้น เป็นอัน เป็นมวล หรือเป็นหน่วยรวมปิดบังไว้ อนัตตลักษณะ จึงไม่ปรากฏ


-สิ่งทั้งหลายที่เรียกว่า อย่างนั้นอย่างนี้ ล้วนเกิดจากเอาส่วนประกอบทั้งหลายมารวบรวม ปรุงแต่งขึ้น

เมื่อแยกย่อยส่วนประกอบเหล่านั้นออกไปแล้ว สิ่งที่เป็นหน่วยรวมซึ่งเรียกว่า อย่างนั้นๆ ก็ไม่มี

โดยทั่วไป มนุษย์มองไม่เห็นความจริงข้อนี้ เพราะถูกฆนสัญญา คือความจำหมาย หรือความสำคัญหมาย

เป็นหน่วยรวมคอยปิดบังไว้

เข้ากับคำกล่าวอย่างชาวบ้านว่า เห็นเสื้อ แต่ไม่เห็นผ้า เห็นแต่ตุ๊กตา มองไม่เห็นเนื้อยาง

คือ คนที่ไม่ได้คิด ไม่ได้พิจารณา บางทีก็ถูกภาพตัวตนปิดบังตาหลอกไว้ ไม่ได้มองเห็น

เนื้อผ้าที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นรูปเสื้อนั้น ซึ่งว่าที่จริง ผ้านั้นเองก็ไม่มี

มีแต่เส้นด้ายมากมายที่มา เรียงกันเข้าตามระเบียบ

ถ้าแยกด้ายทั้งหมดออกจากกัน ผ้านั้นเองก็ไม่มี

หรือ เด็กที่มองเห็นแต่รูปตุ๊กตา เพราะถูกภาพตัวตนของตุ๊กตาปิดบังหลอกตาไว้

ไม่ได้มองถึงเนื้อยาง ซึ่งเป็นสาระที่แท้จริงของตัวตุ๊กตานั้น

เมื่อจับเอาแต่ตัวจริง ก็มีแต่เนื้อยาง หามีตุ๊กตาไม่

แม้เนื้อยางนั้นเอง ก็เกิดจากส่วนผสมต่างๆ มาปรุงแต่งขึ้นต่อๆกันมา

ฆนสัญญา ย่อมบังอนัตตลักษณะไว้ในทำนองแห่งตัวอย่างง่ายๆ ที่ได้ยกมากล่าวไว้นี้

เมื่อใช้อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ถูกต้องมาวิเคราะห์มนสิการ เห็นความแยกย่อยออกเป็นส่วนประกอบ

ต่างๆ จึงจะประจักษ์ในความไม่ใช่ตัวตน มองเห็นว่า เป็นอนัตตา

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 09:25, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 13:39 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2008, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




31658959.gif
31658959.gif [ 219.79 KiB | เปิดดู 5239 ครั้ง ]
ความหมายไตรลักษณ์แต่ละอย่างๆ

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

1.อนิจจตา และอนิจจลักษณะ


คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคแสดงความหมาย (อรรถ) ของอนิจจตาไว้อย่างเดียว

ชื่อว่าเป็นอนิจจัง โดยความหมายว่า เป็นของสิ้นไป*(* ขยฏฺเฐน –ขุ.ปฏิ.31/79/53)

หมายความว่า เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อใด ก็ดับที่นั้น เมื่อนั้น เช่น รูปธรรมในอดีต ก็ดับไปในอดีต

ไม่มาถึงถึงขณะนี้ รูปในขณะนี้ ก็ดับไปที่นี่ ไม่ไปถึงข้างหน้า รูปในอนาคตจะเกิดถัดต่อไป

ก็จะดับ ณ ที่นั่นเอง ไม่ยืนอยู่ถึงเวลาต่อไปอีก ดังนี้เป็นต้น



ต่อมา ในคัมภีร์ชั้นอรรถกาท่านต้องการให้ผู้ศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น จึงได้ขยายความหมายออกไป

โดยนัยต่างๆ

ยักย้ายคำอธิบายออกไปให้เห็นความหมายในหลายๆแง่ และหลายๆระดับ ตั้งแต่ระดับคร่าวๆ หยาบๆ

ลงมา

จนถึงความเป็นไปในแต่ละขณะๆ เช่น เมื่อมองชีวิตของคน เบื้องต้นก็มองอย่างง่ายๆ ดูช่วงชีวิต

ทั้งหมด ก็จะเห็นว่า ชีวิตมีการเกิดและการแตกดับ

เริ่มต้นด้วยการเกิดและสิ้นสุดลงด้วยความตาย

เมื่อซอยลงไปอีก ก็ยิ่งเห็นความเกิดและความดับ

หรือ การเริ่มต้นและการแตกสลายกระชั้นถี่เข้ามา เป็นช่วงวัยหนึ่งๆ ช่วงระยะสิบปีหนึ่งๆ

ช่วงปีหนึ่งๆ ช่วงฤดูหนึ่งๆ ช่วงเดือนหนึ่งๆ ฯลฯ ช่วยยามหนึ่งๆ

ตลอดถึงชั่วเวลาขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวแต่ละครั้งแต่ละหน จนกระทั่งมองเห็นความเกิดดับ

ที่เป็นไปในทุกๆขณะ ซึ่งเป็นของมองเห็นได้ยากสำหรับคนทั่วๆไป



อย่างไรก็ตามในสมัยปัจจุบันนี้ ที่วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากแล้ว อนิจจตาหรือความไม่เที่ยง

โดยเฉพาะในด้านรูปธรรม เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นมาก จนเกือบจะกลายเป็นของสามัญไปแล้ว

ทฤษฎีต่างๆ ตั้งแต่ทฤษฎีว่าด้วยการเกิดดับของดาว ลงมาจนถึงทฤษฎีว่าด้วยการสลายตัว

ของปรมาณู ล้วนใช้ช่วยอธิบายหลักอนิจจตาได้ทั้งสิ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 มี.ค. 2010, 22:13, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2009, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


:b27: อวิชชา มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด คือ อัตตา :b33: บังธรรมและทุกสิ่งทุกอย่างไว้ :b19: ครับผม :b36:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


ที่ว่าคัมภีร์ชั้นอรรถกายักเยื้องคำอธิบายออกไปหลายๆแง่ ขยายความหมายออกไปโดยนัยต่างๆนั้น

เช่น บางแห่งท่านอธิบายว่า ที่ชื่อว่าเป็นอนิจจัง ก็เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป

(อนจฺจนฺติกตาย) และเพราะเป็นสิ่งที่มีความเริ่มต้นและความสิ้นสุด (มีจุดเริ่มและมีจุดจบ,อาทิอนฺตวนฺตตาย*

(* วิสุทธิ.3/237)

แต่คำอธิบายอย่างง่ายๆ ที่ใช้บ่อยก็คือข้อความว่า ชื่อว่าเป็นอนิจจัง โดยความหมายว่าเป็นสิ่งที่มีแล้ว

ก็ไม่มี (คือ มีหรือปรากฏขึ้นแล้ว ก็หมดหรือหายไป หุตฺวา อภาวฏฺเฐน* (* วิสุทธิ.3/260)

บางแห่งก็นำข้อความอื่นมาอธิบายเสริมเข้ากับความนี้อีก เช่นว่า ชื่อว่าเป็นอนิจจัง เพราะเกิดขึ้น เสื่อมสลาย

และกลายเป็นอย่างอื่น หรือเพราะมีแล้ว ก็ไม่มี (อุปฺปาทวยญฺญถตฺตภาวา หุตฺวา อภาวโต วา -

วิสุทธิ.3/275) แต่ที่ถือว่า ท่านประมวลความหมายต่างๆมาแสดงไว้โดยครบถ้วน ก็คือ

การแสดงอรรถแห่งอนิจจตา เป็น 4 นัย หมายความว่า เป็นอนิจจังด้วยเหตุผล 4 อย่างคือ *

(* วิสุทธิ.3/246 ฯลฯ)

1. อุปฺปาทวยปฺปวตฺตโต เพราะเป็นไปโดยการเกิดและการสลาย คือ เกิดดับๆมีแล้วก็ไม่มี

2. วิปริณามโต เพราะเป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลง แปรสภาพไปเรื่อยๆ

3. ตาวกาลิกโต เพราะเป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ

4.นิจฺจปฏิกฺเขปโต เพราะแย้งต่อความเที่ยง คือ สภาวะของมันที่เป็นสิ่งไม่เที่ยงนั้น ขัดกันอยู่เอง

ในตัวกับความเที่ยง หรือ โดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว เมื่อมองดูรู้เห็นตรงตามสภาวะ

ของมันแล้ว ก็จะหาไม่พบความเที่ยงเลย

ถึงคนจะพยายามมองให้เห็นเป็นเที่ยง มันก็ไม่ยอมเที่ยงตามที่คนอยาก จึงเรียกว่ามันปฏิเสธความเที่ยง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิ อิ บ่งบอกว่า ไบกอนอ่านกระทู้นี้ 3 รอบ อิ อิ

ปัดฝุ่นหรือเจ้าคะ เพราะเห็นชื่อแล้ว ไบกอนว่าไม่ใช่กระทู้ใหม่

:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2010, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




8DA1E_IMG_2132.jpg
8DA1E_IMG_2132.jpg [ 188.73 KiB | เปิดดู 5122 ครั้ง ]
ดูคำอธิบายไตรลักษณ์ คือ ลักษณะสาม อย่าง คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ต่อๆได้ที่


viewtopic.php?f=2&t=30194

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2010, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 15:39
โพสต์: 90


 ข้อมูลส่วนตัว


๐๐๐ smiley ๐๐๐


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 35 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร