วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2008, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m208623.jpg
m208623.jpg [ 88.82 KiB | เปิดดู 2192 ครั้ง ]
ผลของการปฏิบัติ



1. ในแง่ของความบริสุทธิ์

เมื่อสติจับอยู่กับสิ่งที่ต้องการกำหนดอย่างเดียว และสัมปชัญญะรู้เข้าใจสิ่งนั้นตามที่มันเป็น

ย่อมเป็นการควบคุมกระแสการรับรู้และความคิดไว้ให้บริสุทธิ์ ไม่มีช่องที่กิเลสต่างๆ จะเกิดขึ้นได้

และในเมื่อวิเคราะห์มองเห็นสิ่งเหล่านั้น เพียงแค่ตามที่มันเป็น ไม่ใส่ความรู้สึก

ไม่สร้างความคิดคำนึงตามความโน้มเอียง และความใฝ่ใจต่างๆที่เป็นสกวิสัย (subjective) ลงไป

ก็ย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ ไม่มีช่องที่กิเลสทั้งหลาย เช่น

ความโกรธจะเกิดขึ้นได้ เป็นวิธีกำจัดอาสวะเก่า และป้องกันอาสวะ ใหม่ไม่ให้เกิดขึ้น


2. ในแง่ของความเป็นอิสระ

เมื่อมีสภาพจิต ที่บริสุทธิ์อย่างในข้อ 1. แล้ว ก็ย่อมมีความเป็นอิสระด้วย โดยจะไม่หวั่น

ไหวไปตามอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ เพราะอารมณ์เหล่านั้นถูกใช้เป็นวัตถุสำหรับศึกษา

พิจารณาแบบสภาวะวิสัย (objective) ไปหมด

เมื่อไม่ถูกแปลความหมายตามอำนาจอาสวะที่เป็นสกวิสัย (subjective)

สิ่งเหล่านั้นก็ไม่มีอิทธิพลตามสกวิสัยแก่บุคคลนั้น และพฤติกรรมต่างๆ ของเขา จะหลุดพ้นจากการ

ถูกบังคับด้วยกิเลสที่เป็นแรงขับ หรือแรงจูง ใจไร้สำนึกต่างๆ (unconscious drives หรือ

unconscious motivations)

เขาจะเป็นอยู่อย่างที่เรียกว่า ไม่อิงอาศัย (คือ ไม่ต้องขึ้นต่อตัณหาและทิฏฐิ) ไม่ยึดมั่นสิ่งใด

ในโลก


3. ในแง่ของปัญญา

เมื่ออยู่ในกระบวนการทำงาน ของจิตเช่นนี้ ปัญญาย่อมทำหน้าที่ได้ผลดีที่สุด เพราะจะไม่ถูกเคลือบ

หรือหันเหไปด้วยความรู้สึก ความเอนเอียง และอคติต่างๆ ทำให้รู้เห็นได้ตามที่มันเป็น คือ

รู้ตามความจริง


4.ในแง่ความพ้นทุกข์

เมื่อจิตอยู่ในภาวะตื่นตัว เข้าใจสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็น และคอยรักษาท่าทีของจิตอยู่ได้เช่นนี้

ความรู้สึกเอนเอียงในทางบวก หรือ ลบต่อสิ่งนั้นๆ ที่มิใช่เป็นไปโดยเหตุผลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้

จึงไม่มีทั้งความรู้สึกในด้านกระหายอยาก (อภิชฌา)

และความขัดเคืองกระทบใจ (โทมนัส)

ปราศจากอาการกระวนกระวาย (anxiety) ต่างๆ

เป็นภาวะจิตที่เรียกว่าพ้นทุกข์ มีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย สงบเป็นตัวของตัวเอง

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


ผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้

ความจริงก็สัมพันธ์เป็นอันเดียวกัน เป็นแต่แยกกล่าวในแง่ต่างๆ

เมื่อสรุป ตามแนวปฏิจจสมุปบาทและไตรลักษณ์ ก็ได้ความว่า

เดิมมนุษย์ไม่รู้ว่าตัวตนที่ตนยึดถือไว้ไม่มีจริง เป็นเพียงกระแสของรูปธรรม นามธรรมส่วนย่อย

จำนวนมากมายที่สัมพันธ์เนื่องอาศัย เป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกัน กำลังเกิดขึ้นและเสื่อมสลายเปลี่ยนแปลง

ไป อยู่ตลอดเวลา เมื่อไม่รู้เช่นนี้

จึงยึดถือเอาความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนา ความเคยชิน ทัศนคติ ความเชื่อถือ

ความเห็น การรับรู้เป็นต้น ในขณะนั้นๆ ว่าเป็นตัวตนของตน

แล้วตัวตนนั้นก็เปลี่ยนแปลงเรื่อยไป รู้สึกว่าฉันเป็นนั่น ฉันเป็นนี่

ฉันรู้สึกอย่างนั้น ฉันรู้สึกอย่าง นี้ ฯลฯ


การรู้สึกว่า ตัวฉันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็คือการถูกความรู้สึกนึกคิดเป็นต้น ที่เป็นนามธรรมส่วนย่อย

ในขณะนั้นๆ หลอกเอานั้นเอง

เมื่อตกอยู่ในภาวะถูกหลอกเช่นนั้น ก็คือการตั้งต้นความคิดที่ผิดพลาด

จึงถูกชักจูงบังคับให้คิดเห็น รู้สึกและทำการต่างๆ ไปตามอำนาจของสิ่งที่ตนยึดว่าเป็นตัวตนของคน

ในขณะนั้นๆ



ครั้นมาปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐานแล้ว

ก็มองเห็นรูปธรรมนามธรรมแต่ละอย่างที่เป็นส่วนประกอบของกระแสนั้น กำลังเกิดดับอยู่ตามสภาวะ

ของมัน เมื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ในกระแสแยกแยะออกมองเห็นกระจายออกไปเป็นส่วนๆ

เป็นขณะๆ มองเห็นอาการที่ดำเนินสืบต่อกันเป็นกระบวนการแล้ว ย่อมไม่ถูกหลอกให้ยึดถือ

เอาสิ่งนั้นๆเป็นตัวตนของตน

และสิ่งเหล่านั้นก็หมดอำนาจบังคับให้บุคคลอยู่ ในบงการของมัน


ถ้าการมองเห็นนี้ เป็นไปอย่างลึกซึ้งแจ่มชัดเต็มที่ ก็เป็นภาวะที่เรียกว่าความหลุดพ้น

ทำให้จิตตั้งต้นดำเนินในรูปใหม่ เป็นกระแสที่บริสุทธิ์โปร่งเบา เป็นอิสระ

ไม่มีความเอนเอียงยึดติดเงื่อนปมต่างๆในภายใน เกิดเป็นบุคลิกภาพใหม่


กล่าวอีกนับหนึ่งว่า

เป็นสภาพของจิตที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ดุจร่างกายที่เรียกว่ามีสุขภาพสมบูรณ์ เพราะองค์อวัยวะทุกส่วน

ปฏิบัติหน้าที่ได้คล่องเต็มที่ตามปรกติของมัน ในเมื่อไม่มีโรคเป็นข้อบกพร่องอยู่เลย

โดยนัยนี้ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน

จึงเป็นวิธีการชำระล้างอาการเป็นโรคต่างๆ ที่มีในจิต กำจัดสิ่งที่เป็นเงื่อนปมเป็นอุปสรรค

ถ่วงขัดขวางการทำงานของจิตให้หมดไป

ทำให้ปลอดโปร่งพร้อมที่จะดำรงชีวิตอยู่ เผชิญและจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกด้วยความเข็มแข็ง

และสดชื่นต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 07:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2008, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




7a027.gif
7a027.gif [ 5.92 KiB | เปิดดู 2191 ครั้ง ]
เรื่องนี้อาจสรุปด้วยพุทธพจน์ดังต่อไปนี้

"ภิกษุทั้งหลาย โรคมีอยู่ 2 ชนิด ดังนี้ คือ โรคทางกาย 1 โรคทางใจ 1

สัตว์ทั้งหลายที่ยืนยันได้ว่าตนไม่มีโรคทางกายเลยตลอดเวลาทั้งปี ก็มีปรากฏอยู่

แต่ที่ยืนยันได้ว่าตนไม่มีโรคทางกายเลยตลอดเวลา 2 ปี...3 ปี...4 ปี...5 ปี...10 ปี...20 ปี...

30 ปี...40 ปี...50 ปี...100 ปี ก็มีปรากฏอยู่

แต่สัตว์ที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่มีโรคทางใจเลย แม้ชั่วเวลาเพียงครู่หนึ่งนั้น หาได้ยากในโลก

ยกเว้นแต่พระขีณาสพ ทั้งหลาย"

องฺ.จตุกฺก. 21/157/191

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 07:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2008, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(พระสารีบุตรสนทนากับนกุลคหบดีผู้เป็นโสดาบัน)



พระสารีบุตร: “แน่ะท่านคฤหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านก็บริสุทธิ์เปล่งปลั่ง

วันนี้ ท่านได้ฟังธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหรือ ?


คฤหบดีนกุลบิดา : “พระคุณเจ้าผู้เจริญ ไฉนจะไม่เป็นเช่นนี้เล่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงหลั่งอมฤตรดข้าพเจ้าแล้วด้วยธรรมีกถา”


พระสารีบุตร: “พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหลั่งอมฤตรดท่านด้วยธรรมีกถาอย่างไร?”


คฤหบดี: “พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

ถวายอภิวาทนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว

ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ชราแล้ว เป็นคนแก่เฒ่า ล่วงกาผ่านวัยมานาน

ร่างกายก็มีโรคเร้ารุม เจ็บป่วยอยู่เนืองๆ

อนึ่งเล่า ข้าพระองค์มิได้ (มีโอกาส) เห็นพระผู้มีพระภาคและพระภิกษุทั้งหลาย

ผู้ช่วยให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดประทานโอวาทสั่งสอนข้าพระองค์

ในข้อธรรมที่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ชั่วกาลนาน”



พระพุทธเจ้า : “ถูกแล้ว ท่านคฤหบดี เป็นเช่นนั้น อันร่างกายนี้ ย่อมมีโรครุมเร้า

ดุจดังว่าฟองไข่ซึ่งผิดเปลือกห่อหุ้มไว้

ก็ผู้ใดที่บริหารร่างกายนี้อยู่ จะยืนยันว่าตนไม่มีโรคเลย แม้ชั่วครู่หนึ่ง จะมีอะไรเล่า

นอกจากความเขลา เพราะเหตุนั้นแล ท่านคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้ว่า

“ถึงกายของเราจะมีโรครุมเร้า

แต่ใจของเราจักไม่มีโรครุมเร้าเลย”

พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค ทรงหลั่งอมฤตรดข้าพเจ้าด้วยธรรมีกถา ดั่งนี้แล”

(สํ.ข.17/2/2)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 07:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร