วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 18:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2008, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ธ.ค. 2008, 15:56
โพสต์: 5


 ข้อมูลส่วนตัว


ดิฉันมีเรื่องเรียนถามดังนี้ค่ะ

1. ดิฉันเคยไปนั่งสมาธิกับอาจารย์ท่านหนึ่งค่ะแต่ไม่ทราบเป็นแบบไหนค่ะ ท่านบอกว่าเป็นการเปิดเนตร เพื่อที่จะให้ทราบว่าเทวดาองค์ไหนคุ้มครองเราอยู่ พอท่านพานั่งไปสักพักรู้สึกว่าตัวชา ขาแขนชา หน้าชา ตาจะขยิบ ๆ ถึ่ ๆ ภาพที่เห็นอยู่เบื้อหน้าเป็นสีขาว ๆ ร่างกายขยับได้เอง ใจเต้นเร็ว ท่านอาจารย์บอกว่าให้หายใจแรง ๆ ลึก ๆ ค่ะ ท่านบอกว่า กลับบ้านไปก็สามารถไปนั่งเองได้

2. พอดิฉันกลับไปปฏิบัติที่บ้านก็ออกอาการเหมือนเดิม แต่ดิฉันไม่อยากเป็นเหมือนเดิม อยากให้กายสงบ ๆ ให้นั่งสมาธิแบบเบา ๆ ก็กำหนดลมหายใจ พุทธ โธ แต่ทำทีไรก็จะเผลอหลับทุกทีค่ะ แต่ก็คลับคล้ายคลับคลาจะมีอาการเหมือนกับตอนที่ไปนั่งสมาธิกับอาจารย์คนนั้นค่ะ แต่วิธิหลังนี้ไม่เหมือนกับวิธีแรกที่เคยทำมาแบบนั้นจะไม่หลับ แต่จะไม่มีพลังหายใจเท่าไร่ค่ะ เพราะตอนกลางวันต้องทำงานประจำด้วยกลับบ้านไปบางครั้งก็เหนื่อย

3. ดิฉันก็เลยลองหาวิธีอื่นดูบ้าง ก็พอดีไปเจอเว็บหนึ่งเค้าบอกให้ ภาวนาคาถามงกุฏพระพุทธเจ้า ก็ลองเอาไปปฏิบัติดู ก็ได้ผลจริง ๆ มีความรู้สึกว่าร่างกายนิ่ง สภาวะรอบ ๆ ตัวเหมือนเป็นสีขาวทั้งหมด แต่ก็มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยค่ะ คือตาจะขยิบถี่ ๆ บ้างเป็นบางครั้ง มีอาการชาบางส่วน โดยเฉพาะที่ขาซ้ายจะปวดมาก และแขนซ้ายเช่นกันค่ะ ดิฉันพอทราบสภาวะการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ค่ะตรงนี้เข้าใจค่ะ และก็เคยเกิดขึ้นด้วย ซึ่งแบบนี้ต้องนั่งต่อไปเรื่อย ๆ ใช่มั้ยคะ

คำถามคือ
:b41: การนั่งสมาธิในแบบข้อ 1 นี้ถูกต้องไหมค่ะ จะเป็นอันตรายไหม
:b41: การนั่งแบบข้อ 3 ก็ทำต่อไปเรื่อย ๆ ไช่ไหมค่ะ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

ขอคำอธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ ได้มั้ยคะ คือ อ่านหนังสือธรรมะบางครั้งไม่ค่อยเข้าใจหน่ะค่ะ

:b53: ขอบพระคุณค่ะ :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2008, 20:29 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย ทางเดินที่พ้นทุกข์ เมื่อ 12 เม.ย. 2009, 22:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2008, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข้อมีคำตอบเดียว คือ รู้สึกอย่างไร ก็กำหนดอย่างนั้นตามที่รู้สึก

มีอาการอย่างไรก็กำหนดอย่างนั้นตามอาการ

เมื่อกำหนดอย่างนั้นตามนั้นแล้ว ก็ไม่น่าห่วง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2008, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบท่านเจ้าของกระทู้ดังนี้ครับ

ถาม : การนั่งสมาธิในแบบข้อ 1 นี้ถูกต้องไหมค่ะ จะเป็นอันตรายไหม

ตอบ : การฝึกสมาธินั้น จะมีด้วยกันอยู่หลายแบบ เรียกภาษาทางธรรมว่า "กรรมฐาน" หากเป็นที่รู้จักกันดีที่พระอรรถกถาจารย์ได้รวบรวมเอาไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคจะมีอยู่ ๔๐ วิธีด้วยกัน ซึ่งวิธีการที่คุณได้ให้ข้อมูลมานั้น จัดว่าไม่ตรงกับที่ ๔๐ วิธีดังกล่าวเสียทีเดียว ดังนั้นจึงเห็นว่าเป็นวิธีที่ประยุกต์ขึ้นใหม่จากวิธีที่มีอยู่เดิม โดยอาศัยการทำให้จิตนิ่งด้วยกำหนดรู้ลมหายใจแล้วให้เห็นภาพนิมิตต่างๆ ขณะที่จิตสงบ สิ่งที่มุ่งให้คุณเห็นก็คือเทวดารักษาตัวเรานั่นเอง

ดังนั้นตรงนี้ขอให้พิจารณาดูเอานะครับ ว่าหากฝึกแล้วทำให้จิตของเรานิ่งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเท่านั้น หรือทำให้เราเกิดปัญญาคลายออกจากกิเลสไม่หลงไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งต่างๆ (ไม่หลงเพลินไปกับภาพนิมิต ไม่ส่งจิตท่องเที่ยวไปตามภาพนิมิตต่างๆ และไม่ยึดติดถือมั่นว่าสิ่งที่เห็นเป็นจริงเป็นจัง ไปยึดเทวดา ภพภูมิเทวดา) แต่ให้เห็นไตรลักษณ์ในสิ่งที่เห็นต่างๆ อย่างนี้ก็ถือว่ายังถูกต้องถูกทางอยู่ ไม่เป็นอันตราย แต่หากไม่เป็นดังนี้เป็นอันว่าออกนอกทางแล้วครับ เพราะจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติสมาธิก็เพื่อให้จิตใจสงบ ตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว นุ่มนวลควรแก่การงาน เพื่อระงับนิวรณ์ในใจของเรา เพื่อเป็นพื้นแก่การเจริญปัญญาละกิเลสเกิดสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ครับ

ถาม : การนั่งแบบข้อ 3 ก็ทำต่อไปเรื่อย ๆ ไช่ไหมค่ะ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

ตอบ : คาถาที่นำมานั้น จัดว่าเป็นคำบริกรรมอย่างหนึ่ง เป็นอุบายที่ช่วยให้จิตสงบเป็นอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านไปสนใจอย่างอื่น เหมือนกับผูกลิงไว้กับหลัก ให้จิตมีหลักยึด ตรงนี้เราจะใช้คำบริกรรมอื่นๆ ก็ได้ ซึ่งถ้าหากเราใช้คำบริกรรมด้ว้ยคาถามงกุฏพระพุทธเจ้าแล้วจิตใจของเราสงบ ไม่ฟุ้งซ่านก็ให้ใช้ต่อไปได้ครับ ที่สำคัญคือใช้คำบริกรรม หรือวิธีเจริญกรรมฐานใดแล้ว ก็พยายามอย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา พยายามให้ถึงที่สุดครับ เพราะจะมีอยู่ว่าช่วงแรกๆ อาจจะก้าวหน้าดี แต่พอถึงจุดหนึ่งที่จิตจะไม่ก้าวหน้าเพราะมันเป็นขั้นที่ยากแล้ว ตรงนี้ผู้ปฏิบัติบางท่านจะถูกความลังเลเข้าเล่นงานให้เปลี่ยนวิธีไป ซึ่งจะต้องพยายามแก้ไขให้ดีที่สุดก่อนครับ เมื่อรู้ว่าแก้ไขไม่ได้จริงๆ แล้วค่อยเปลี่ยนครับ วิธีแก้ไขก็เช่น การถามผู้รู้, เพิ่มเวลา หาสถานที่อันเหมาะสม ฯลฯ

เท่าที่คุณให้ข้อมูลมาเรื่องการเห็นแสงสีขาว เห็นก็ให้รู้ว่าเห็นครับ แต่อย่าไปคิดปรุงแต่งหรือให้ความสำคัญกับแสงสีขาวที่เห็นนั้น เพราะว่าหากเราไปสนใจมันมากเข้า ขณะนั้นจิตคุณได้พละออกจากคำบริกรรมแล้ว คือ ฟุ้งซ่านไปแล้วนะครับ จิตไม่ตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวแล้ว และอีกอย่างหนึ่งแสงสีขาวนี้ก็เป็นเพียงของหยาบอาศัยกันเกิดขึ้น จึงไม่เที่ยง ไปยึดเราจะทุกข์ได้ หากเราไม่ได้เห็นแสงสีขาวอีก เราอย่าไปยึดมั่นถือมั่นอะไรกันมันเลยครับ

เรื่องตากระพริบถี่ยิบอันนี้ก็เช่นเดียวกันครับ ตาจะกระพริบถี่ก็ให้เพียงแต่สักว่ารู้ แล้วกลับมาสนใจในคำบริกรรมคาถาต่อไป อาการตากระพริบถี่นี้ อาจจะเกิดขึ้นได้เพราะสาเหตุหลายอย่าง เช่น คุณพยายามมากเกินไป ตั้งใจมากเกินไปที่จะหลับตาให้สงบ ฯลฯ ตรงนี้ผมแนะนำว่าให้คุณพยายามไปอย่างสายกลาง เอาเป็นไม่ต้องไปคาดหวังผลอะไร จะสงบไม่สงบเราก็ทำไป คืด เสียว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ควรทำประจำวัน เป็นการพักผ่อนทางจิตประจำวันที่เหนื่อยมาทั้งวัน แล้วจิตก็จะผ่อนคลาย เมื่อผ่อนคลายจิตจะสงบลงได้อย่างนุ่มนวลเป็นธรรมชาติครับ แต่ว่าผ่อนคลายนี้ต้องระวังอย่าให้มากเกินไปไม่เช่นนั้นความง่วงจะครอบงำได้ ขอให้ผ่อนคลายแบบตื่นตัว เหมือนกับกำลังทำกิจกรรมกีฬาอะไรที่สนุกสนานอันรอคอยมาทั้งวันครับ

เรื่องปวดขา เจ็บแขน ตรงนี้ขอให้ลองตรวจสอบดูว่าหากเรานั่งได้ถูกต้องดีแล้ว ยังปวดก็ให้ทนต่อไปได้ครับ และให้คุณไม่ต้องไปสนใจอาการปวดนั้น แล้วอาการปวดนั้นจะเหมือนหายไปเอง (จริงๆ แล้วยังปวดอยู่เพียงแต่การรับรู้ไม่เกิดขึ้นครับ เพราะจิตไปสนใจคำบริกรรมอยู่) ที่ผมแนะนำอย่างนี้ก็เพราะว่าคุณกำลังฝึกสมาธิทำจิตให้เป็นอารมณ์เดียวอยู่ การทีคุณไปสนใจอาการปวด ไปดูมัน ขณะนั้นจิตคุณได้ออกนอกคำบริกรรมแล้วครับ ยกเว้นเสียจากว่าคุณกำลังฝึกวิปัสสนา(เจริญปัญญา) ถึงจะให้ไปสนใจมันครับ ทีนี้หากคุณปวดมากๆ จนถึงจุดที่ไม่ควรจะทนต่อไป จุดที่ว่าไม่ควรทนต่อไปคือจุดที่ร่างกายได้รับบาดเจ็บ คือ บวม (หากยังไม่บวมแค่ปวดๆ ยังไม่อันตราย ยังเป็นจุดที่ควรให้ทนต่อไปครับ) อย่างนี้ ก็ให้กำหนดรู้แล้วเปลี่ยนอิริยาบถไปยืนสมาธิ หรือเดินสมาธิแทนก็ได้ไม่เป็นไรครับ เมื่อหายปวดก็ค่อยมานั่งสมาธิต่อครับ

เท่าที่ผมแนะนำไปหวังว่าคงพอจะทำให้เข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องมากขึ้นนะครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2008, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ธ.ค. 2008, 15:56
โพสต์: 5


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบพระคุณท่านทั้งหลายที่ให้ความกระจ่างค่ะ สาธุ ๆๆๆ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2008, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ch_siran เขียน:
ขอขอบพระคุณท่านทั้งหลายที่ให้ความกระจ่างค่ะ สาธุ ๆๆๆ :b8:


ซักซ้อมความเข้าใจ ถามคุณ ch_siran นิดนะครับ คุณสรุปคำแนะนำที่เห็นๆไว้สำหรับใช้แก้อารมณ์กรรมฐานคุณอย่างไรครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2008, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ธ.ค. 2008, 15:56
โพสต์: 5


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ch_siran เขียน:
ขอขอบพระคุณท่านทั้งหลายที่ให้ความกระจ่างค่ะ สาธุ ๆๆๆ :b8:


ซักซ้อมความเข้าใจ ถามคุณ ch_siran นิดนะครับ คุณสรุปคำแนะนำที่เห็นๆไว้สำหรับใช้แก้อารมณ์กรรมฐานคุณอย่างไรครับ


มี 2 แบบ ค่ะคือ
1. ตามความเห็นของคุณกรัชกาย คือ รู้สึกแบบไหน มีอาการแบบไหน ก็ปล่อย ๆ ไปให้เป็นไปตามนั้น ไม่ต้องยึดติดกับอาการที่เป็น เวลาจะออกจากสมาธิก็กำหนดลมหายใจเบา ๆ แล้วค่อย ๆ ขยับร่างกายเข้าสู่ที่เดิม
2. ตามความเห็นของคุณศิรัสพล คือ กำหนดลมหายใจโดยการใช้คำบริกรรม ไม่ฟุ้งซ่าน แต่ถ้าจิตไปคิดเรื่องอื่นก็ดึงกลับมาบริกรรมเหมือนเดิม อาการจะเป็นอย่างไรก็ไม่ต้องสนใจ ทำไปเรื่อย ๆ

สรุปได้แบบนี้ใช่หรือไม่คะ แต่แบบแรกเนี้ยจะไปเรียนวิปัสสนาคอร์ส 10 วัน ช่วงเดือน มี.ค.52 ไม่เข้าใจเท่าไร่ แต่จะทำวิธีที่ 2 ไปพลาง ๆ ก่อน เอาแบบเบา ๆ สบาย ๆ ก็จะค่อย ๆ ศึกษาไปเรื่อย ๆ ค่อยเป็นค่อยไป อะค่ะ ดิฉันเข้าใจถูกมั้ยคะ หรือว่าถ้าจะเลือกทำวิธีไหนก็ต้องทำวิธีนั้นไปตลอดคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2008, 23:44 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เดินทางลัดที่ปลอดภัย

เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๒๖ ก่อนที่หลวงปู่จะกลับจากโรงพยาบาลจุฬาฯ ได้ชักชวนกันทำบุญถวายสังฆทาน เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่บรรพชนที่สร้างโรงพยาบาล ที่ล่วงลับไปแล้ว

เมื่อพิธีถวายสังฆทานผ่านไปแล้ว มีนายแพทย์และนางพยาบาลจำนวนหนึ่งเข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่ แสดงความดีใจที่หลวงปู่หายจากอาพาธครั้งนี้ พร้อมทั้งกล่าวปิยวาจาว่า หลวงปู่มีสุขภาพอนามัยแข็งแรงดี หน้าตาสดใสเหมือนกับไม่ได้ผ่านการอาพาธมา คงจะเป็นผลจากที่หลวงปู่มีภาวนาสมาธิจิตดี พวกกระผมมีเวลาน้อย หาโอกาสเพียรภาวนาสมาธิได้ยาก มีวิธีใดบ้างที่จะปฏิบัติได้ง่ายๆ หรือโดยย่อที่สุด

หลวงปู่ตอบว่า

“มีเวลาเมื่อไร ให้ปฏิบัติเมื่อนั้น การฝึกจิต การพิจารณาจิตเป็นวิธีลัดที่สุด”

จากหนังสือหลวงปู่ฝากไว้
ลองดูของหลวงพ่อปราโมช
สายหลวงปู่ดุลย์ดูนะคะ

www.wimutti.net
http://www.wimutti.net/pramote/
http://www.naddalim.com/pramote/และลองโหลดธรรมะของหลวงพ่อปราโมทย์มาฟังแล้วจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นคะขอให้เจริญในธรรมนะคะ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร