ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19823
หน้า 1 จากทั้งหมด 4

เจ้าของ:  TU [ 26 ธ.ค. 2008, 08:36 ]
หัวข้อกระทู้:  การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

รูปภาพ

การฝึกสมาธิ
โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


วัดป่าสุทธาวาส
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร


การทำสมาธิเบื้องต้น ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ ทำวัตรสวดมนต์บูชาพระ
เจริญพรหมวิหาร 4 และสมาทานกรรมฐาน เดินสมาธิหรือเดินจงกรม


การเดินสมาธิหรือเดินจงกรมเหมาะสำหรับคนที่มักมีความคิดฟุ้งมาก
พระพุทธองค์กล่าวว่า ประโยชน์ของการเดินจงกรม มีดังนี้คือ

-- ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย
-- ทำให้ขาแข็งแรงเดินได้ทนและไกล
-- เมื่อทำหลังอาหารทำให้อาหารย่อยง่าย
-- สมาธิที่ได้จากการเดินจงกรมจะอยู่ได้นาน

• วิธีการเดินสมาธิหรือเดินจงกรม •

เลือกสถานที่ยาวประมาณ 5 เมตร ถึง 10 เมตร แล้วแต่ความกว้างของสถานที่ และความรู้สึกพอดี บางทียาวนักก็ไม่ดี เหนื่อย บางครั้งสั้นไปก็ทำให้เวียนหัว หันหน้าไปทางเดินจงกรม แต่อย่ามองไกลเกินไป มองทอดสายตาดู ไปข้างหน้าประมาณ 4 ก้าวเพื่อไม่ให้จิตใจวอกแวก แต่ไม่ใกล้เกินไป จนรู้สึกปวดต้นคอ มือซ้ายมาวางที่หน้าท้องและมือขวามาวางทับ เพื่อป้องกันแขนแกว่งขณะเดิน และดูสวยงาม

เมื่อได้ท่าที่พอดีแล้วก็เดินก้าวขาขวาไป ก็นึกคำว่า “พุท” และเมื่อก้าวขาซ้ายไป ก็นึกคำว่า “โธ” เวลาเดินไม่หลับตาแต่ให้ลืมตา และกำหนดสัมผัสของเท้าที่ก้าวเหยียบลงพื้น เดินว่าพุทโธไปเรื่อย พอถึงปลายทาง เดินก็หยุดนิดหนึ่ง แล้วก็หันกลับด้านขวามือ มาทางเดิม และเดินว่าพุทโธต่อไป อย่าเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป กำหนดจิตของเราอยู่ที่ก้าวเดินและคำภาวนา ไม่ให้จิตวอกแวก

สิ่งสำคัญคือ การกำหนดจิตให้ทันการเคลื่อนไหว ส่วนการเดินเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น เราควรทำอย่างน้อย 30 นาที และจะดีมากขึ้นถ้าตามด้วยการนั่งสมาธิ เพราะการเดินจงกรม เป็นการเปลี่ยนอิริยาบท ปล่อยอารมณ์ และเตรียมร่างกายให้พร้อมสู่การนั่งสมาธิ

• อิริยาบถนั่งสมาธิ •

นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางลงบนตัก ตั้งกายตรง (ไม่นั่งก้มหน้า ไม่นั่งเงยหน้า ไม่นั่งเอียงซ้าย ไม่เอียงขวา ไม่โยกหน้า ไม่โยกหลัง) ไม่กดและข่มอวัยวะในร่างกาย วางกายให้สบายๆ ตั้งจิตให้ตรง ลงตรงหน้า กำหนดรู้ซึ่งจิตเฉพาะหน้า ไม่ส่งจิตให้ฟุ้งซ่าน ไปในเบื้องหน้า-เบื้องหลัง (อนาคตและอดีต) พึงเป็นผู้มีสติ กำหนดจิตรวมเข้าตั้งไว้ในจิต บริกรรม “พุทโธ” จนกว่าจะเป็นเอกัคคตาจิต



...................................................

:b8: คัดลอกมาจาก
หนังสือ วิธีทําสมาธิแบบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
เรียบเรียงโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

เจ้าของ:  ดุสิตธานี [ 26 ธ.ค. 2008, 10:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

:b8: สาธุๆๆ

เจ้าของ:  ฌาณ [ 24 ก.พ. 2009, 13:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

:b8:

เจ้าของ:  บัวไฉน [ 09 มี.ค. 2009, 13:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

:b8: อนุโมทนาบุญ กับคุณ TU ด้วยจ้า

เจ้าของ:  บุญชัย [ 09 มี.ค. 2009, 14:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

ตั้งกายตรงดำรงสติมั่น ตั้งจิตไว้ฐานที่ตั้งของจิต ปลายจมูก หน้าผาก เฉพาะหน้าอกเบื้องขวา สดือ บริกรรมในใจพุทโธๆๆ ตั้งคำถามในใจ ใคร คือผู้รู้ วางจิตเบาๆ นิ่งๆ ที่ฐาน เวลาเกิดอาการอะไร ให้รู้ว่าแค่สภาวะจิต ที่กระเพื่อม ให้รู้ไว้เฉยๆ ไม่ต้องหนี ไม่ต้องห้าม ไม่ให้เกิด ไม่ต้องเพ่งเฉยๆ ไว้จิต จะสงบ นิ่งเอง แล้วจะเกิดหน่วยญาณ มาช่วยจะรู้เองเห็นเอง แล้วไม่เพี้ยนแล ทำไปๆๆๆๆ เก่งขึ้น ค่อยวิปัสสนาครับท่าน :b20: :b6:

เจ้าของ:  adware [ 24 มี.ค. 2009, 11:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

:b8: อนุโมทนาด้วย

เจ้าของ:  บัวไฉน [ 05 เม.ย. 2009, 10:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

:b8: เจริญในธรรม ท่าน TU

นี่บัวไฉน ก็เพิ่งทราบอีกเหมือนกันว่า การทำสมาธิ นั้น
เราเริ่มโดยการเดินจงกรมก่อนได้ เพราะที่ผ่านๆ มา
ทุกที่ๆ ไป หลังจากสวดมนต์ทำวัตรเสร็จ ก็จะเริ่มโดย
การนั่งสมาธิ ทำให้คิดเองว่า เวลาทำสมาธิต้องเริ่มจาก
การนั่งก่อน แล้วจึงตามด้วยการเดินจงกรม แหมโง่ซะนาน
ซึ่งจริงๆ แล้วอย่างไหนก่อนก็ได้

อนุโมทนาบุญด้วยท่าน สาธุ


:b4: ปล. ขอเชิญทุกท่านมาฝึกสมาธิกันเถิด นอกจากเป็นบุญแล้ว
ยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกายด้วย

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 13 พ.ค. 2009, 14:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

สาธุ ครับ :b8: :b8: :b8:

พระพุทธองค์ ผู้ทรงเป็นมัคคัญญู (ตรัสรู้มรรค)
ทรงแสดงธรรมเรื่อง สมถะ-สมาธิภาวนา
เอาไว้ในพระสูตรต่างๆ ครอบคลุมทุกแง่มุม

ซึ่งอาจจะพอประมวลได้เป็น

1. สมถะ ที่ประกอบกับวิปัสสนา เป็นองค์แห่งอริยมรรค
2. อานิสงส์แห่งสมาธิภาวนา
3. วิธีการเจริญสมาธิภาวนา
4. ข้อพึงระวังสังวรในการเจริญสมาธิภาวนา เช่น ไม่ให้ติดตันอยู่เพียงสุขจากสมาธิภาวนา ฯลฯ
5. มีพระสูตรที่แสดงว่า บางจริตนิสัย (เช่น ปัญญาจริต) สามารถเจริญวิปัสสนาโดยตรงได้เลย
(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า คนละอย่างกับการเจริญวิปัสสนาล้วนๆ)

ปัจจุบัน บางท่านจะถือเอา "ข้อพึงระวังสังวรในการเจริญสมาธิภาวนา" เป็น "เหตุผลที่ไม่ควรเจริญสมาธิภาวนา"

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ผู้เป็นมัคคานุคา (เดินตามมรรค) ท่านก็กล่าวแสดงเรื่องสมถะ-สมาธิภาวนา
ไปในทิศทางเดียวกับที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้เช่นกัน

ดังเห็นได้ชัดเจนจากบทธรรมในกระทู้นี้

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 13 พ.ค. 2009, 14:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

ขออนุญาตท่านเจ้าของกระทู้ :b8:

ร่วมนำบทธรรมที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านได้เคยสอนศิษย์
เกี่ยวกับเรื่อง สมาธิภาวนา มาลงประกอบกระทู้
เผื่อว่า ยังมีใครที่ไม่เคยอ่านศึกษา

..............................

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
ท่านได้เล่าถึงหลักการภาวนาที่หลวงปู่มั่นได้เมตตาแนะนำว่า

“...การแนะนำให้ศิษย์ปฏิบัติภาวนานั้น หลวงปู่มั่นท่านย้ำอยู่เสมอว่า

จะใช้ “พุทโธ” เป็นบทบริกรรมสำหรับผูกจิตก็ได้ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้วให้วางบทบริกรรมเสีย...

แล้วพิจารณาร่างกาย ครั้งแรกให้พิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่เราสามารถจะเพ่งพิจารณาได้อย่างสะดวกในอาการ ๓๒ เมื่อพิจารณาจนเกิดความชัดเจน กลับไป-กลับมา หรือที่เรียกว่าอนุโลม-ปฏิโลมแล้ว

เมื่อหายสงสัยในจุดที่พิจารณานั้นแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนเป็นจุดอื่นต่อไป อย่าพิจารณาเป็นวงกว้างทั้งร่างกาย ความชัดเจนจะไม่ปรากฏ...ต้องค่อยเป็นค่อยไป...

เมื่อพิจารณาจนเกิดความชำนาญแล้ว เมื่อเราเพ่งปัญญาลงไปจุดใดจุดหนึ่ง ความชัดเจนจากจุดอื่นๆ ก็จะปรากฏเป็นนัยเดียวกัน...

เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้ว ให้น้อมจิตเข้าพักอยู่ในความสงบ....เมื่อพักอยู่ในความสงบพอสมควรแล้วให้ย้อนกลับออกมาพิจารณาร่างกายอีก

ให้เจริญอยู่อย่างนี้ จึงจะเจริญทางด้านปฏิบัติ...

เมื่อจิตมีความชำนาญเพียงพอแล้ว...คำบริกรรม “พุทโธ” ก็ไม่จำเป็น เพียงกำหนดจิตก็จะสงบเข้าสู่สมาธิทันที...”

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 13 พ.ค. 2009, 14:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

จากหนังสือประวัติหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

ท่านพระอาจารย์มั่น ได้กล่าวสอนสั้นๆ ว่า

"กรรมฐานสี่สิบห้องเป็นน้องอานาปานสติ
อานาปานสติเป็นยอดมงกุฎของกรรมฐานทั้งหลาย"

เจ้าของ:  บุญชัย [ 13 พ.ค. 2009, 14:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

สมาธิ เป็นบาทแห่งวิปัสสนา
ฌาน เป็นผลจากสมาธิ
สมาธิ เป็นผลจากวิตก
ญาน เป็นหน่วยจากฌาน
ญาน เป็นพี่เลี้ยงวิปัสสนาไม่ให้โมหะครอบงำ
อภิญญา เป็นผลของฌาน ญาน วิปัสสนาจนเป็นเนื้อเดียว

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 13 พ.ค. 2009, 14:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

อ้างคำพูด:
ข้อพึงระวังสังวรในการเจริญสมาธิภาวนา เช่น ไม่ให้ติดตันอยู่เพียงสุขจากสมาธิภาวนา ฯลฯ


หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต :b8: :b8: :b8:

ท่านก็สอนเตือนไม่ให้ศิษย์ของท่านติดตันอยู่แต่เพียงสุขจากสมาธิภาวนา
จนไม่ใช้สมาธิภาวนามาสนับสนุนการเจริญมรรคด้านปัญญา

ดังที่แสดงต่อ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
ที่ตอนนั้นหลวงตาท่านชำนาญในสมาธิภาวนามาก และติดสุขจากสมาธิภาวนาเข้า

“ท่านรู้ไหมสุขในสมาธิเหมือนกับเนื้อติดฟัน
ท่านรู้ไหมสมาธิเหมือนกับเนื้อติดฟันนั้นแหละมันสุขขนาดไหน เนื้อติดฟันท่านรู้ไหมๆ”

“ท่านรู้ไหมว่าสมาธิทั้งแท่งนั้นล่ะคือตัวสมุทัยทั้งแท่ง ท่านรู้ไหมๆ”

“มันก็ไม่ใช่สมาธิตายนอนตายอยู่อย่างนี้ซิ สมาธิของพระพุทธเจ้าคือ
สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่”


และที่แสดงต่อ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

“...นักภาวนาทั้งหลายพากันติดความสุขที่เกิดจากสมาธิโดยส่วนเดียว
เมื่อทำจิตให้สงบแล้วก็สำคัญว่าความสงบนั้นแหละเป็นความสุขอันยอดเยี่ยม
จึงไม่ต้องการพิจารณาค้นคว้าหาความจริงของชีวิตแต่อย่างใด”

ท่านชักรูปเปรียบให้ฟังว่า
“ธรรมดาเขาทำนาทำสวน เขาไม่ได้ทำใส่บนอากาศเลย
เขาทำใส่บนพื้นดินนี้แหละจึงได้รับผล ฉันใด
โยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลาย ควรพิจารณาร่างกายนี้แหละเป็นอารมณ์
จนเกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่ายในนามในรูปนี้ ด้วยอำนาจแห่งปัญญานั้นแหละ
จึงจะเป็นทางหลุดพ้นได้ ไม่ควรติดอยู่ในความสงบโดยส่วนเดียว”



ปล...ณ เวลานี้ เรื่องการกลัวการติดสุขจากสมาธิ
เหมือนจะเป็น TALK OF THE TOWN
คือ ที่ไหนๆ ก็จะกล่าวกันว่า

“อย่าไปเจริญสมาธิภาวนาน่ะ
เดี๋ยวจะติดสุขจากสมาธิภาวนาเข้า !!!”


ซึ่งความจริงแล้ว
ที่หลวงปู่มั่นท่านเตือนเรื่องการติดสุขจากสมาธินี้
ท่านไม่ได้เตือนกับคนทั่วๆ ไป

แต่ท่านเตือนกับผู้ที่เชี่ยวชาญในสมาธิวิธีอย่างมากๆ และเข้าข่ายติดสุขจากสมาธิ
เช่น หลวงตามหาบัว หรือหลวงปู่เหรียญ ในขณะนั้น

ถ้าเราท่านในปัจจุบัน พากันกลัวจะติดสุขจากสมาธิ
(ทั้งๆ ที่บางท่านอาจจะไม่เคยเฉียดใกล้คำว่าสมาธิขั้นลึกเลย)....
แล้วพากันเลิกเจริญสมาธิภาวนาไป ก็อาจจะเสียประโยชน์บางอย่าง
ที่ควรจะได้รับจากสมาธิภาวนาไปเช่นกัน

เจ้าของ:  PloYSaii [ 25 พ.ค. 2009, 10:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

ขอบคุณค่ะ ได้รับความรู้ที่จำเป็นมากค่ะ :b16:

เจ้าของ:  puppp [ 01 มิ.ย. 2009, 14:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

:b8: :b8: :b8: ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 20 มิ.ย. 2009, 06:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

ธรรมะพระอาจารย์มั่น : มุโตทัย

พระโยคาวจรเจ้าเมื่อพิจารณาในที่นี้ พึงเจริญให้มาก ทำให้มาก
อย่าพิจารณาครั้งเดียวแล้วปล่อยทิ้งตั้งครึ่งเดือน ตั้งเดือน
ให้พิจารณาก้าวเข้าไป ถอยออกมาเป็นอนุโลม ปฏิโลม
คือเข้าไปสงบในจิต แล้วถอยออกมาพิจารณากาย...
อย่าพิจารณากายอย่างเดียว หรือสงบที่จิตแต่อย่างเดียว...

พระโยคาวจรเจ้าพิจารณาอย่างนี้ชำนาญแล้ว หรือชำนาญอย่างยิ่งแล้ว
คราวนี้แลเป็นส่วนที่จะเป็นเอง คือ จิต...ย่อมจะรวมใหญ่

เมื่อรวมพึ่บลง...ย่อมปรากฏว่าทุกสิ่งรวมลงเป็นอันเดียวกัน
คือหมดทั้งโลกย่อมเป็นธาตุทั้งสิ้น นิมิตจะปรากฏขึ้นพร้อมกันว่าโลกนี้ราบเหมือนหน้ากลอง
เพราะมีสภาพเป็นอันเดียวกัน ไม่ว่า ป่าไม้ ภูเขา มนุษย์ สัตว์
แม้ที่สุดตัวของเราก็ต้องลบราบเป็นที่สุดอย่างเดียวกันพร้อมกับญาณสัมปยุตต์
คือรู้ขึ้นมาพร้อมกัน ในที่นี้ตัดความสนเท่ห์ในใจได้เลย
จึงชื่อว่า ยถาภูตญาณทัสสนวิปัสสนา คือทั้งเห็นทั้งรู้ตามความเป็นจริง


..........................................

ปล...อยากเสนอให้สังเกตุว่า

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านกล่าวถึง จิตที่สงบ ในตอนแรก
ที่น่าจะเป็นผลของสมาธิภาวนาเอาไว้ในตอนแรก คู่กับการพิจารณากาย
(จาก อย่าพิจารณากายอย่างเดียว หรือสงบที่จิตแต่อย่างเดียว...)

จากนั้นท่านจึงกล่าวถึง “จิตรวมใหญ่” ที่เป็นญาณสัมปยุตต์อันเป็นของที่เป็นเอง ภายหลัง
(จาก คราวนี้แลเป็นส่วนที่จะเป็นเอง คือ จิต...ย่อมจะรวมใหญ่)

ความเห็นส่วนตัวน่ะครับ

สมาธิภาวนาในช่วงแรก น่าจะตรงกับ สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
(ข้อ ๓ ในสมาธิภาวนา ๔ ประเภท พระบาลีโรหิตัสวรรค)

ส่วนสมาธิภาวนา ที่ท่านเรียกว่า “จิตรวมใหญ่” อันเป็นญาณสัมปยุตต์นั้น
น่าจะตรงกับ สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
(ข้อ ๔ ในสมาธิภาวนา ๔ ประเภท พระบาลีโรหิตัสวรรค)

หน้า 1 จากทั้งหมด 4 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/